ตนกูตายก็จะตายผู้เดียวใครจะแลดู


สมุทรโฆษคำฉันท์ ตอน วิทยาธร ผู้มีนามกร ว่า รณาภิมุข คร่ำครวญ สำนวนพระราชนิพนธ์ในสมเด็จพระนารายณ์มหาราช โดยใช้ สัททุลวิกกีฬิต ฉันท์ ๑๙ บรรยายความ ความว่า


แต่นี้พี่อนุช(ะ)ถึงแก่กรรม(ะ)พิกล             เรียมฤๅจะยากยล  พธู
ตนกูตายก็จะตายผู้เดียวใครจะแลดู          โอแก้วกับตนกู      ฤเห็น



สมเด็จพระนารายณ์มหาราช ทรงพระราชนิพนธ์สมุทรโฆษคำฉันท์ ตอน รณาภิมุข คร่ำครวญ ขณะนั้นทรงประทับอยู่ ณ พระตำหนักนารายณ์ราชนิเวศน์ จังหวัดลพบุรี และทรงประชวรหนัก ในปี พ.ศ. ๒๒๓๑   พระเพทราชา ผู้สำเร็จราชการได้กระทำรัฐประหาร โดย กำจัดพระปีย์ พระโอรสบุญธรรมในสมเด็จพระนารายณ์ ฯ แล้วจับเจ้าพระยาวิชาเยนทร์ประหารชีวิต และได้ส่งกำลังไปควบคุมทหารฝรั่งเศสที่ประจำอยู่ที่ป้อมบางกอก คือ ป้อมวิชัยดิษฐ์ในปัจจุบัน เมื่อสมเด็จพระนารายณ์ ฯ เสด็จสวรรคต บรรดาข้าราชการได้อัญเชิญพระเพทราชาขึ้นครองราชย์ ทรงพระนามว่า พระบาทสมเด็จพระมหาบุรุษวิสุทธิเดชอุดม พระองค์ได้ทรงสถาปนาราชวงศ์ใหม่คือ ราชวงศ์บ้านพลูหลวง


อนุสติจากสมุทรโฆษคำฉันท์ : เวลาจะสร้างบ้าน ควรสร้างให้อยู่ใกล้ๆ พี่ๆ น้องๆ เวลาเจ็บไข้ได้ป่วย จะได้ไม่ตายอย่าง อนาถา (อ+นาถ =ไม่มี+ที่พึ่ง) หรือเวลาที่ พี่ๆ น้องๆ เจ็บไข้ได้ป่วย เขาจะได้ไม่ตายอย่างอนาถา เพราะมีเราคอยดูแล  คนอื่นจะรักเราเสมอเหมือนพี่น้องร่วมอุทรเดียวกันหรือ? (พี่และน้องย่อมออกมาจากท้องแม่คนเดียวกัน) และเราจะรักคนอื่นได้มากกว่าพี่น้องของเราหรือ?  รอให้เจ็บไข้ได้ป่วยอีกครั้งแล้วจะมานั่งคร่ำครวญอีกหนว่า

"ตนกูตายก็จะตายผู้เดียวใครจะแลดู          โอแก้วกับตนกู      ฤเห็น"

ถึงตอนนั้นก็เปล่าประโยชน์

ปล. แก้วกับตน แปลว่า (สิ่งประเสริฐที่อยู่กับตน) ผู้ที่ตนรัก (รักษาแก้วมณีอันมีค่าไว้กับตัวเองตลอดเวลาด้วยความรักและหวงแหน) 

หมายเลขบันทึก: 200126เขียนเมื่อ 11 สิงหาคม 2008 10:18 น. ()แก้ไขเมื่อ 9 เมษายน 2012 17:25 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)

สวัสดีครับ น้องกวิน

  • แวะมาเยี่ยมและมาอ่านบันทึกครับ
  • สบายดีนะครับ
  • ระลึกถึงเสมอครับผม
  • รักษาสุขภาพด้วยครับ

สวัสดีครับพี่โย่ง ขอบคุณที่แวะมาเยี่ยมชมนะครับ ขอโทษที่ไม่ได้ไปต่อกลอนนะครับ แฮ่ะ พอดีช่วงนี้เข้าพรรษา (เกี่ยวกันมั้ยนี่ เกี่ยวเพราะ กวีส่วนมากจะขี้เหล้า แป่ว...)

  • สวัสดีค่ะ น้องกวิน...

  • เมื่อก่อน..นานมาแล้วพี่เคยทำงานอยู่ตึกคนไข้รวม..ซึ่งเรียกคนไข้ในตึกว่า คนไข้อนาถา..ฟังแล้วดูอ้างว้างว้าเหว่เสียเหลือเกิน(ยิ่งดูจากน้องกวินอธิบายขยายความแล้วดูเหมือนจะไม่มีที่พึ่งไปใหญ่)อย่ากระนั้นเลยไม่รู้เป็นไปเป็นมาอย่างไร การเรียกชื่อเปลี่ยนเป็น

  • "ตึกสามัญ" ค่อยฟังดูดีรู้สึกสบายใจขึ้นถ้ามีโอกาสได้ไปเป็นคนไข้และคงจะมีที่พึ่งมากขึ้น ...หรือว่าไงคะ

อ่านแล้ว ...ก็ได้ถ้อยคำใหม่ๆสำหรับผมครับ ซึ่งผมไม่ค่อยถนัดในวาทกรรมแนวนี้

 

ขอบคุณมากครับ

 

บทนี้ความหมายดีนะครับ

มโนปุพฺพงฺคมา ธมฺมา     มโนเสฎฺฐา มโนมยา
มนสา เจ ปสนฺเนน         ภาสติ วา กโรติ วา
ตโต นํ สุขมเนฺวติ          ฉายาว อนุปายินี ฯ

ตนกูตายก็จะตายผู้เดียวใครจะแลดู @ 200126

สวัสดีครับพี่ nussa-udon ขอบคุณสำหรับประสบการณ์การทำงานในตึก คนไข้อนาถา นะครับ การเปลี่ยนแปลง ถ้าเป็นไปในทางที่ดี เขาเรียกว่า วัฒนา/พัฒนา/พัฒนะ นะครับ แต่ถ้าเป็นไปในทางที่ตรงกันข้าม เขาเรียกว่า หายนา/หายนะ ในกรณีที่เปลี่ยนชื่อจาก ตึกคนไข้อนาถา เป็นตึกคนไข้สามัญ นั้นคนป่วยที่ไม่มีที่พึ่ง/ไม่มีญาติ ก็ยังอนาถา เหมือนเดิม แต่ทว่าย่อมมีผลทางด้านจิตใจ ต่อตัวคนไข้เองนะครับ

เคยได้ยินนักวิชาการเขาพูดกันว่า "จะปลูกพืชต้องเตรียมดิน จะกินต้องเตรียมอาหาร จะพัฒนาการต้องพัฒนาประชาชน จะพัฒนาคนต้องพัฒนาที่จิตใจ แต่ก่อนจะพัฒนาใครๆ ต้องพัฒนาตัวเราก่อน "

จะเห็นได้ว่า การเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดี หรือที่เรียกว่า พัฒนา นั้นมูลเหตุสำคัญเริ่มต้นที่ใจ พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า

มโนปุพฺพงฺคมา ธมฺมา     มโนเสฎฺููฐา มโนมยา
มนสา เจ ปทุฎฺเฐน         ภาสติ วา กโรติ วา
ตโต นํ ทุกฺขมเนฺวติ        จกฺกํว วหโต ปทํ ฯ

ธรรมทั้งหลายมีใจเป็นหัวหน้า มีใจประเสริฐที่สุด สำเร็จได้ด้วยใจ หากว่าบุคลมีใจถูกกิเลสประทุษร้ายแล้ว กล่าวอยู่หรือกระทำอยู่ก็ตาม เพราะใจถูกกิเลสประทุษร้ายแล้วนั้น ความทุกข์ย่อมติดตามเขาไป ประดุจล้อติดตามรอยเท้าโคตัวที่กำลังลากเกวียน(ซึ่งบรรทุกสัมภาระอันหนักอึ้ง)ไปอยู่ฉะนั้น ฯ

มโนปุพฺพงฺคมา ธมฺมา     มโนเสฎฺฐา มโนมยา
มนสา เจ ปสนฺเนน         ภาสติ วา กโรติ วา
ตโต นํ สุขมเนฺวติ          ฉายาว อนุปายินี ฯ

ธรรมทั้งหลายมีใจเป็นหัวหน้า มีใจประเสริฐที่สุด สำเร็จได้ด้วยใจ หากว่าบุคคลมีใจผ่องใสแล้ว กล่าวอยู่หรือกระทำอยู่ก็ตาม  เพระใจผ่องใสนั้น ความสุขย่อมติดตามเขาไป ประดุจเงาติดตามเจ้าของเงาไปอยู่ฉะนั้น ฯ

ช่างเป็นโวหารที่คมคายจริงๆ พระผู้มีพระภาคทรงเปรียบเทียบว่า ความทุกข์/บาปนั้น หนักเหมือน เกวียน ส่วนความสุข/บุญนั้น เบา เหมือน เงา

เกวียน นั้นย่อม เคลื่อนไปตาม โค ผู้ลาก
เงานั้นก็ย่อมเคลื่อนไปตาม      เจ้าของเงา

แต่ว่า เกวียนและเงา นั้นย่อมมีน้ำหนักที่ต่างกัน ถ้าให้เลือก ท่านผู้อ่านอยากเป็น โค หรืออยากเป็น คน  ถ้าเป็นคน ทำดีเข้าไว้สิ จะได้ไม่ต้องลากเกวียนแห่งความทุกเหมือนโค และเมื่อเลือกเป็นคนแล้ว ท่านผู้อ่านจะเลือกที่จะ พัฒนา หรือ เลือกที่จะ หายนะ ถ้าเลือก แนวทางแห่งการพัฒนา ก็เริ่มกันเลย เริ่มพัฒนาที่จิตใจของเรา เร็วๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ

เอ พูดเรื่อง คนไข้อนาถา อยู่ดีๆ ไฉนจึงมาลงเอยที่ โคเทียมเกวียนกันได้ล่ะนี่ เพี้ยนจริงๆ เรา

สวัสดีครับพี่เอก  จตุพร วิศิษฏ์โชติอังกูร กำลังแก้คำผิดอยู่เลยรีบพิมพ์มีคำผิดเยอะ ขอบคุณครับ :) เดี๋ยวเอาไปเป็นบันทึกใหม่

อยากชวนมากำแพงเพชร ฮือๆๆๆๆๆๆๆๆว่างไหมๆๆๆ

ขอบคุณครับอาจารย์ขจิต พอดีพรุ่งนี้วันพระ นึกขึ้นได้ว่า ต้องไปเป็นมัคทายกที่วัดแถวๆบ้าน เอ้ย ไปทำบุญ ยังไม่เก่งพอที่จะไป สมาทานศีล ยังท่องบ่ได้   โอกาสหน้า นะครับขอบคุณมากๆๆ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท