ครูเมี้ยว
นางจินตนา ครูเมี้ยว ท้วมพงษ์

Balanced Scorecard


การประเมินแบบรอบด้าน

วันนี้ครูเมี้ยว เรียนวิชาการพัฒนาองค์การ อาจารย์ผู้สอนคือ ดร.สมศักดิ์  ดลประสิทธิ์  ได้รับหัวข้อที่ศึกษาค้นคว้าและรายงานคือเรื่อง  Balanced Scorecard   ซึ่งได้ศึกษาบทความที่เขียนโดย  บุรินทร์ อรุณโรจน์ และ สุทธิศักดิ์ ณัฏฐกุล  และได้สรุปย่อเรื่อง Balanced Scorecard  พอได้ความดังต่อไปนี้

ความเป็นมา  Balanced Scorecard

ในปี1990 Robert Kaplan และ David Norton ได้พัฒนาระบบการจัดการยุทธศาสตร์ขององค์กร ขึ้นใหม่นั่นคือ Balanced Scorecard ซึ่งเป็นระบบการจัดการที่ช่วยให้เข้าใจต่อวิสัยทัศน์ขององค์กรและช่วยนำเอากลยุทธ์ขององค์กร ไปสู่การปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม  ปัจจุบันองค์กรทั้งภาครัฐและเอกชน ให้ความสำคัญกับการประเมินผลการดำเนินงาน โดยใช้เครื่องมือการบริหารจัดการ ที่เรียกว่า "Balanced Scorecard  วิธีการของ Balanced Scorecard คือ ให้เรามององค์กรให้เป็น โดยใช้ มุมมอง 4 ด้านคือ

1. มุมมองด้านการเงิน(The Financial Perspective )เป็น เช่น การเพิ่มรายได้, ประสิทธิภาพในการผลิตที่มีต้นทุนต่ำและมีการสูญเสียระหว่างผลิตน้อย

2. มุมมองด้านกระบวนการทำงานภายในองค์กรเอง(The Internal Process Perspective) เป็น เช่นการจัดโครงสร้างองค์กรที่มีประสิทธิภาพ, การประสานงานภายในองค์กร,ระบบและเครื่องมือดำเนินงานที่ทันสมัย ใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่

3. มุมมองด้านลูกค้า (The Customer Perspective) เป็น เช่น ความพึงพอใจของลูกค้า, การจัดการด้านลูกค้าสัมพันธ์ เป็นต้น

4. มุมมองด้านการเรียนรู้และการเติบโต (The Learning and Growth Perspective) เป็น เช่น การพัฒนาความรู้ความสามารถของพนักงาน, ขวัญและกำลังใจของพนักงาน ,สิ่งแวดล้อมในการทำงาน ,ทักษะในการทำงาน ๆ,ระบบสารสนเทศที่ทันสมัย เป็นต้น

หลักของ Balanced Scorecard คือการบริหารจัดการให้สมดุลว่า ไม่ว่าจะเป็นภาครัฐหรือเอกชนจะต้องมีการสื่อสาร เพื่อถ่ายทอดกลยุทธ์ขั้นสูงสุดลงสู่ทุกหน่วยงานขององค์กร มีการติดต่อสื่อสารระหว่างบุคลากรในองค์กรที่เปิดกว้าง ตรงไปตรงมา มีประสิทธิภาพ รวมไปถึงการให้อำนาจแก่พนักงานในการดูแลรับผิดชอบการปฏิบัติงานของพวกเขาด้วย"ต้องมีการพูดคุยและสื่อสารระหว่างหัวหน้า และฝ่ายปฏิบัติการเพิ่มมากขึ้น"

ประโยชน์ที่องค์กรจะได้รับจากการใช้ Balanced Scorecard

1.   ช่วยให้มองเห็นวิสัยทัศน์ขององค์กรได้ชัดเจน

2.  ได้รับการความเห็นชอบและยอมรับจากผู้บริหารทุกระดับ ทำให้ทุกหน่วยงานปฏิบัติงานได้สอดคล้องกันตามแผน

3.   ใช้เป็นกรอบในการกำหนดแนวทางการทำงานทั่วทั้งองค์กร

4.  ช่วยให้มีการจัดแบ่งงบประมาณและทรัพยากรต่าง ๆ สำหรับแต่ละกิจกรรมได้อย่างเหมาะสม

5.  เป็นการรวมแผนกลยุทธ์ของทุกหน่วยงานเข้ามาไว้ด้วยกัน ด้วยแผนธุรกิจขององค์กร ทำให้แผนกลยุทธ์ทั้งหมดมีความสอดคล้องกัน

6.  สามารถวัดผลได้ทั้งลักษณะเป็นทีมและตัวบุคคล

จะเห็นได้ว่า Balanced Scorecard  เป็นทั้งเทคนิคที่ใช้บริหารองค์กรแนวใหม่  และยังเป็นเครื่องมือที่ตรวจสอบการบริหารองค์กรเพื่อให้ทราบสถานะขององค์การจะได้บริหารจัดการได้รงทิศทาง  เป็นการมองรอบด้าน หรืออาจจะเรียกว่าเป็นการประเมินแบบ 360  องศา สามารถนำไปใช้ทุกองค์การ เช่นการให้เงินโบนัสกับข้าราชการครูก็นับว่าเป็นการบริหารแบบใช้ Balanced Scorecard  เช่นกัน

 ที่มา : http://www.dss.go.th/dssweb/st-articles/files/pep_9_2548_bsc.pdf

 

คำสำคัญ (Tags): #balanced scorecard
หมายเลขบันทึก: 200026เขียนเมื่อ 10 สิงหาคม 2008 19:20 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 มิถุนายน 2012 14:02 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
  • ขอบคุณคนพลัดถิ่นที่ให้กำลังใจค่ะ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท