การจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ


การจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ

การจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ

โดย สมชาย พงศ์วิลาวัณย์  - 20 มิ.ย. 2547


การจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ

 


      
ปัจจุบันการปฏิรูปการศึกษา ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางการศึกษา ทั้งในระบบโรงเรียน นอกระบบโรงเรียน การศึกษาตามอัธยาศัย การจัดการศึกษาที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ การเรียนการสอนในแนวนี้ ทำให้เด็กเรียนรู้จากการแสวงหาความรู้ด้วยตนเองมากขึ้น การจัดการเรียนการสอนต้องทำให้สอดคล้องกับความสามารถของเด็กแต่ละคน ทำให้ผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์ต่อกันและกัน ได้แลกเปลี่ยนข้อมูล ความรู้ ความคิด และประสบการณ์ ผู้เรียนมีบทบาท และมีส่วนร่วมในกระบวนการเรียนรู้ควบคู่ไปกับผลงานข้อความรู้ที่สรุปได้ ( Process / Product )จากการศึกษาค้นคว้า นำความรู้ที่ได้ไปใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวันได้ ( Application ) ซึ่งแตกต่างจากการเรียนการสอนแบบเก่า ที่ยึดตัวครูเป็นศูนย์กลาง มุ่งสอนโดยการเน้นการท่องจำตามตำรา ผู้เรียนจึงไม่ได้เรียนรู้อย่างแท้จริง มองความสามารถของผู้เรียนไป
      
แนวทางที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ มีความเชื่อพื้นฐานมาจากแนวคิดของ ณอง ณาคส์ รุสโซนักปรัชญาชาวฝรั่งเศล ( ค.ศ. 1712 - 1778 ) แสดงแนวคิดชัดเจนว่า เด็กสามารถเรียนรู้ได้ โดยไม่ต้องมีใครบอกกล่าว สิ่งสำคัญในการให้ความรู้กับเด็ก จึงไม่ใช่การสอน แต่เป็นการเปิดโอกาสให้เด็กคิดด้วยตนเอง

      
จอห์น ดิวอี้ ( ค.ศ. 1859 - 1952 ) เชื่อว่าความสามารถในการเรียนรู้ ของเด็กจะต่างกันไปตามประสบการณ์ และสิ่งแวดล้อม บรรยากาศประชาธิปไตย และสังคมที่เปิดโอกาสให้เด็กเกิด และทำในสิ่งที่ชอบ จะทำให้เด็กพัฒนาความรู้ได้อย่างรวดเร็ว
      
แนวคิด ความฉลาดที่หลากหลาย ( Multiple intelligences : MI ) ของโฮวาร์ด การ์ดเนอร์ เชื่อว่าทุกคนมีความสามารถ 8 ด้าน ติดตัวมาแต่กำเนิดอาจจะมากน้อยแตกต่างกันไปเนื่องจากพันธุกรรม สิ่งแวดล้อม ความสามารถเหล่านี้ผลักดันให้มนุษย์แต่ละคน สนใจเรียนรู้เรื่องราวที่แตกต่างกัน ผู้เรียนแต่ละคนจึงเป็นผู้ที่มีความเหมาะสมที่สุด จะออกแบบการเรียนรู้ด้วยตนเอง เพื่อให้ตรงกับความสนใจ ความสามารถที่มี ความสามารถทั้ง 8 ประกอบด้วยความสามารถด้านตรรกะ ภาษา มิติสัมพันธ์ สัมผัส ดนตรี มนุษยสัมพันธ์ ความเข้าใจตนเองและธรรมชาติ
      
บทบาทของครู ดร.เฟรด เอ็น ฟินลีย์ จากภาควิชาหลักสูตรและการสอน คณะศึกษาศาสตร์และพัฒนามนุษย์ มหาวิทยาลัยมินเน โซตา เสนอว่า ครูยังคงเป็นองค์ประกอบที่สำคัญในการจัดการเรียนรู้ โดยจะมีบทบาทเป็นผู้ช่วยเหลือแนะนำ ซึ่งแบ่งหน้าที่ได้เป็น 4 ขั้นตอน
      1.
เตรียมผู้เรียนให้พร้อม ( Preparation for conceptual change ) วิธีการคือ ครูต้องสังเกตและรับฟังความคิดเห็นของนักเรียนต่อเรื่องที่จะเรียน เพื่อเป็นการทำความเข้าใจว่านักเรียนแต่ละคนมีพื้นฐานความรู้ในเรื่องดังกล่าวมากน้อยเพียงใด จากนั้นครูต้องพยายามทำให้นักเรียนเกิดความรู้สึกไม่พอใจ ในความรู้ที่มีอยู่ และอยากค้นหาความรู้ต่อด้วยตนเอง ท้ายที่สุดครูจะเปิดโอกาสให้เด็กรู้จักตัวเองว่าเขาต้องการอะไร และรู้จักคิดว่าทำอย่างไรจึงจะได้เรียนรู้
      2.
แนะนำองค์ความรู้และทักษะใหม่ๆ ( Introducing new knowledge and skills ) ในขั้นตอนนี้ครูจะต้องช่วยให้นักเรียนพบทางที่ต่างไปจากเดิม ซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นต่อการแก้ปัญหาหรือช่วยให้สามารถทำงานสำเร็จลุล่วงลงได้ และเป็นการเปิดโอกาสให้นักเรียนได้แสดงความสามารถทางปัญญาในการทำความเข้าใจกับเรื่องต่างๆ ท้าทายให้นักเรียนเกิดความคิดใหม่ที่ต่างไปจากเดิมและสามารถหาเหตุผลมาอธิบายความคิดของตนเองได้
      3.
การประยุกต์และบูรณาการ ( Application and integration ) ความรับผิดชอบของครูในขั้นตอนนี้คือ ช่วยให้นักเรียนเข้าใจความคิดและความรู้ใหม่ๆอย่างถูกต้อง สามารถนำความรู้ใหม่นั้นไปบูรณาการเข้ากับความรู้ที่มีอยู่เดิมได้ และทำให้นักเรียนรู้ว่าองค์ความรู้ใหม่ที่ได้มานั้น มีประโยชน์กว่าความรู้ที่มีอยู่เดิมอย่างไร
       4.
ส่งเสริมให้เกิดการปฏิบัติ ( Practice )ครูต้องหาโอกาสให้นักเรียนนำความรู้ใหม่ที่ได้ไปประยุกต์ใช้อย่างอิสระ โดยครูจะเป็นเพียงผู้คอยให้คำแนะนำไม่ใช่ผู้ชี้นำ



      
สำหรับหลักในการจัดการศึกษา ที่ให้ผู้เรียนเป็นส่วนสำคัญที่สุดนั้น บาร์บาร่า แอล มัลคอมม์ นักวิจัยแห่งมหาวิทยาลัยเดนเวอร์ได้นำเสนอว่า การจัดการเรียนการสอนตามแนวดังกล่าวจะประสบความสำเร็จ ถ้ามีความเข้าใจที่ชัดเจนในพื้นฐาน 14 ประการ ซึ่งสามารถสรุปได้เป็นเป็น 4 ประเด็นดังนี้
            1.
ปัจจัยทางด้านพุทธพิสัย ( Cognitive and Metacognitive Factors ) ต้องเข้าใจว่า ธรรมชาติของการเรียนรู้นั้นหากเป็นการเรียนในวิชาที่ยุ่งยากซับซ้อน ผู้เรียนจะประสบผลสำเร็จได้อย่างมากถ้าได้รับรู้ข้อมูลพื้นฐานที่จำเป็น และได้รับการการถ่ายทอดประสบการณ์จากผู้รู้ โดยจะทำให้ผู้เรียนมีฐานความรู้แน่นและพร้อมที่จะนำความรู้เหล่านั้นไปเชื่อมต่อกับความรู้ใหม่ๆ ที่จะได้ในอนาคตได้อย่างมีประสิทธิภาพ
            2.
ปัจจัยทางสังคมและการพัฒนา ( Developmental and Social Factors ) พัฒนาการทางการเรียนของผู้เรียนแต่ละคนจะแตกต่างกันไป ตามโอกาสและประสบการณ์ ผู้เรียนที่ได้
ปฏิสัมพันธ์กับชุมชน ได้สื่อสารกับผู้อื่นอยู่บ่อยครั้ง รวมทั้งผู้ที่มีโอกาสและความพร้อมทางอุปกรณ์ การเรียนและเทคโนโลยีมากกว่าผู้เรียนที่ไม่มีโอกาสและประสบการณ์เหล่านี้
            3.
ปัจจัยด้านแรงจูงใจและลักษณะนิสัย ( Motivational and Affective Factoes ) ผู้เรียนที่จะประสบความสำเร็จในการเรียนรู้ได้คือ ผู้เรียนที่มีความกระตือรือร้นต่อการค้นหาความรู้ ซึ่งความกระตือรือร้นนั้น ส่วนหนึ่งเป็นนิสัยส่วนตัวของผู้เรียนเอง แต่อีกส่วนหนึ่งเป็นสิ่งเร้าภายนอกครูต้องค้นหาว่า สิ่งใดช่วยกระตุ้นความสนใจของนักเรียนแต่ละคนได้ หากหาพบ จะทำให้นักเรียนมีโอกาสประสบความสำเร็จทางการเรียนรู้มากขึ้น
            4.
ปัจจัยที่แตกต่างกันของแต่ละบุคคล ( Individual Differences Factors ) ต้องทำความเข้าใจว่าผู้เรียนแต่ละคนจะมีความสามารถ แนวคิดและกลวิธีในการเรียนที่ต่างกันอาจจะเป็นผลมาจากพื้นฐานทางภาษา สังคมและวัฒนธรรมที่ต่างกัน

รูปแบบและวิธีการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ


            
การเรียนการสอนโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ มีหลายรูปแบบ และหลายวิธีด้วยกัน ซึ่งจะขอนำเสนอไว้เฉพาะชื่อ เพื่อเป็นแนวทางในการศึกษาค้นคว้า และทำความเข้าใจให้ถ่องแท้ครบถ้วนสืบไปดังนี้ ( กรมวิชาการ 2539. และ Apel and Comozzi . 1996 : 98 – 139 )
      
เกมการศึกษา      ( Educational Game )
      
สถานการณ์จำลอง       ( Simulation )
      
กรณีตัวอย่าง            ( Case Study
      
บทบาทสมมุติ ( Role - Play )
      
โปรแกรมสำเร็จรูป      ( Programme Instruction )
      
ศูนย์การเรียน            ( Learning Centre )
      
ชุดการสอน            ( Instructional Package )
      
คอมพิวเตอร์ช่วยสอน      ( Computer Assisted )
      
โครงงาน            ( Project )
      
การทดลอง       ( Experimentary )
      
การใช้คำถาม            
      
อภิปรายกลุ่มย่อย ( Small Group Discuss )
      
การแก้ปัญหา      ( Problem - Solving )
      
สืบสวนสอบสวน      ( Inquiry )
      
กลุ่มสืบค้นความรู้      (Group Investication )
      
การเรียนรู้แบบร่วมมือ ( Cooperative Learning )
      
อริยสัจ 4       ( 4 Noble Truth Method )
      
ทัศนศึกษานอกสถานที่ ( Field Trip )
      
โมเดลซิปปา (CIPPA Model)

เกมการศึกษา ( Educational Game )



      
วิธีการสอนโดยใช้เกม คือกระบวนการที่ผู้สอนใช้ในการช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์ที่กำหนด โดยการให้ผู้เรียนเล่นตามกติกา เงื่อนไข และนำข้อมูลของเกม พฤติกรรมการเล่น วิธีการเล่น และผลการเล่นเกมของผู้เรียนมาใช้ในการอภิปราย เพื่อสรุปผลการเรียนรู้มีขั้นตอนดังนี้
            
ขั้นที่ 1      ผู้สอนนำเสนอเกม ชี้แจงวิธีการเล่น และกติกาการเล่น
            
ขั้นที่ 2      ผู้เรียนเล่นเกมตามกติกา
            
ขั้นที่ 3      ผู้สอนและผู้เรียนอภิปรายเกี่ยวกับผลการเล่นและวิธีการ เล่น หรือพฤติกรรมการเล่นของผู้เรียน
            
ขั้นที่ 4      ผู้สอนประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียน

สถานการณ์จำลอง ( Simulation )



      
วิธีการสอนโดยใช้สถานการณ์จำลอง คือกระบวนการที่ผู้สอนใช้ในการช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์ที่กำหนด โดยให้ผู้เรียนลงไปเล่นในสถานการณ์ที่มีบทบาท ข้อมูล และกติกาการเล่นที่สะท้อนความเป็นจริง และมีปฎิสัมพันธ์กับสิ่งต่างๆ ที่อยู่ในสถานการณ์นั้น โดยใช้ข้อมูลที่มีสภาพคล้ายกับข้อมูลในความเป็นจริง ในการตัดสินใจและแก้ปัญหาต่างๆ ซึ่งการตัดสินใจนั้นจะส่งผลถึงผู้เล่นในลักษณะเดียวกันกับที่เกิดขึ้นในสถานการณ์จริง มีขั้นตอนดังนี้
            
ขั้นที่ 1      ผู้สอนเตรียมสถานการณ์จำลอง
            
ขั้นที่ 2      ผู้สอนนำเสนอสถานการณ์จำลอง บทบาท ข้อมูล และ กติกาการเล่น

หมายเลขบันทึก: 199840เขียนเมื่อ 9 สิงหาคม 2008 20:44 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 01:29 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท