maximuz


ผลการศึกษาข้อมูลรายบุคคลในฐานข้อมูลหมวดความรู้จากการปฏิบัติ

ผลการศึกษาข้อมูลรายบุคคลในฐานข้อมูลหมวดความรู้จากการปฏิบัติ“Story Telling  สัปดาห์ที่ 3”

 

1. กล่าวนำ

          การทบทวนสภาพแวดล้อมและการพัฒนาที่มีอิทธิพลต่อการจัดการศึกษาในปัจจุบันและแนวโน้ว ต่อไปภายหน้า  โดยเฉพาะจากการศึกษาโดย สกศ. พบว่า ด้านการพัฒนาคุณภาพการศึกษาอยู่ในขั้นน่าเป็นห่วง โดยเฉพาะการพัฒนาบุคลากรเพื่อให้มีองค์ความรู้ในด้านการพัฒนานวัตกรรมการเรียนการสอนเป็นเรื่องที่น่าสนใจ  เพื่อให้ครูเองมีนวัตกรรมในการพัฒนาตนเองสู่การพัฒนาองค์กรสู่ความเป็นเลิศ  เพราะบุคลากรถือว่าเป็นหัวใจของการบริหารองค์กร  บทสรุปจากกรอบทิศทางการพัฒนาการศึกษา ในช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 10 (2550-2554) ที่สอดคล้องกับแผนพัฒนาการศึกษาแห่งชาติ (2545-2559) พอสรุปได้ว่า

          1 โครงสร้างองค์กรของกระทรวงศีกษาธิการยังคงเป็นกระทรวงใหญ่ที่มีบุคลากรมากที่สุดของประเทศ การบริหารจัดการเป็นไปอย่างล่าช้า แม้จะมีการกระจายอำนาจแต่ก็ไม่มีการนำไปสู่การปฏิบัติเท่าที่ควร

          2 การเปลี่ยนแปลงผู้กำหนดนโยบายทางการศึกษาบ่อยครั้ง ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงนโยบายตลอดเวลา ผลสัมฤทธิ์จึงไม่เกิดกับผู้เรียนเท่าที่ควร ผลประเมินผู้เรียนต่ำกว่ามาตรฐาน

          3 การขาดแคลนครูทั้งในเชิงปริมาณและคุณภาพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งครูด้านคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ภาษา ครูวิชาเฉพาะ นอกจากนี้ยังพบว่าการผลิตครูยังไม่สามารถคัดเลือกคนดี คนเก่งมาเป็นครู ผู้สำเร็จการศึกษารู้เนื้อหาสาระและวิธีการสอนแต่ไม่สามารทำการสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพ

          4 สถาบันการศึกษายังไม่สามารถผลิตกำลังคนสนองนโยบายในการพัฒนากำลังคนเพื่อพัฒนาประเทศ ยังคงเน้นสังคมศาสตร์มากกว่าวิทยาสาสตร์และเทคโนโลยี ทำให้นักศึกษาที่จบมาขาดคุณภาพและสมรรถนะ ความพร้อมรับการเปลี่ยนแปลงตามกระแสโลกาภิวัฒน์

         จากข้อสรุปดังกล่าว ข้าพเจ้าจึงมีความสนใจที่จะศึกษาวิธีการและรูปแบบที่เหมาะสมในการพัฒนาศักยภาพของบุคลากรผู้มีสมรรถนะในการปฏิบัติงานสูง   มุ่งให้เป็นผู้มีวิสัยทัศน์กว้างไกลและชาญฉลาด  ความรู้ความสามารถที่หลากหลาย  มีความคล่องตัวและปรับตัวได้ดีต่อสภาพการเปลี่ยนแปลงในปัจจุบัน  และโดยการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับผู้เชี่ยวชาญและผู้ร่วมกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้  โดยคาดหวังว่าจะได้องค์ความรู้ที่เป็นรูปธรรมเพื่อนำไปพัฒนาครูให้เป็นแบบอย่างและสามารถเป็นต้นแบบที่ดี ( Clone )   ลงสู่นักเรียนในสถานศึกษาของตนเองต่อไป 

2. ที่มาของแนวคิด/ทฤษฎีที่ใช้

            1 ความหมาย ที่มา และแนวคิดของ Competency

            2 ประเภทของ Competency

            3 Competency กับการบริหารคน

            4 คุณธรรม จริยธรรมและวัฒนธรรมการดำรงชีวิต กับ Competency

            5 มาตรฐานวิชาชีพของบุคลากร  กับ Competency

            6 ระบบเทคโนโลยีกับการพัฒนา Competency

3. นำเสนอเรื่องที่อยากทำ

          วิธีการและรูปแบบที่เหมาะสมในการพัฒนาศักยภาพของบุคลากรเพื่อนำไปพัฒนาครูให้เป็นแบบอย่างและสามารถเป็นต้นแบบที่ดี ( Clone ) ลงสู่ตัวนักเรียนอันจะส่งผลให้เป็นผู้มีสมรรถนะในการปฏิบัติงานสูง   โดยมุ่งให้เป็นผู้มีวิสัยทัศน์กว้างไกลและชาญฉลาด  ความรู้ความสามารถที่หลากหลาย  มีความคล่องตัวและปรับตัวได้ดีต่อสภาพการเปลี่ยนแปลงในปัจจุบัน  และโดยการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับผู้เชี่ยวชาญและผู้ร่วมกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ 

 

ลงชื่อ มีเกียรติ  นาสมตรึก    ผู้บันทึก

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 199032เขียนเมื่อ 6 สิงหาคม 2008 09:15 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 01:25 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

เป็นเรื่องที่น่าสนใจคะพี่ เป็นกำลังใจให้นะคะ วางกรอบได้แล้วซิเนี้ย

ตอนนี้ใน สป. กำลังดำเนินโครงการ "HIP" อยู่นี่แหละค่ะ โครงการพัฒนาบุคลากรผู้มีสมรรถนะสูง ประกอบกับเมื่อประมาณปี 49 เคยศึกษาเรื่องโครงการพัฒนาผู้มีสมรรถนะสูงของกรมราชฑัณฑ์ เดี๋ยวจะลอง recall ข้อมูล ไว้มา share กันนะคะ สู้สู้ค่ะ

ทึ่งมาก วิสัยทัศน์ยาวไกลค่ะ ทำให้ฉุกคิดว่าประเด็นที่ตนเองกำลังทำอยู่นั้น เน้นอะไร

ท่านมีเกียรติ สนใจเรื่อง Competency ซึ่งเป็นสมรรถนะของบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับวงวการศึกษา ก็จะเหมือนกับของกลุ่ม 1 ที่แต่ละคนคงแยกย่อยไปตามสมรรถนะของตนเอง เพราะฉะนั้นการที่คนเราอย่างรู้เรื่อง สมรรถนะ ถือว่าเป็นสิ่งดี ที่จะได้นำไปพัฒนาตนเองและเพื่อนร่วมงาน “ คนเรามักสนใจจะเปลี่ยนคนอื่น แต่ไม่สนใจที่จะเปลี่ยนตนเอง ดังนั้น ก่อนคิดปรับปรุงคนอื่น ควรปรับปรุงตัวเองก่อน” ครับ

เป็นแนวคิดที่ดีครับ ท่านลองคิดรูปแบบวิธีการที่เหมาะสมดูนะครับ จะรอขอไปปรับใช้..คงไม่ว่ากันนะครับ..

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท