นักศึกษาต่างชาติกับห้องสมุด


ห้องสมุดเพร้อมสำหรับการให้บริการนักศึกษานานาชาติหรือยัง

บรรณารักษ์อย่างเราๆ ทราบมั๊ยค่ะว่าในมหาวิทยาลัยของท่านแต่ละปีจะมีนักศึกษาเพิ่มขึ้นจำนวนเท่าไหร่? และในจำนวนนั้นจะเป็นจำนวนนักศึกษาต่างชาติจำนวนเท่าไหร่?  แล้วหลักสูตรนานาชาติตอนนี้ในมหาวิทยาลัยของท่านมีจำนวนกี่หลักสูตร?....

คำถามข้างต้นสิริพรไม่เคยสนใจเลยค่ะ เพราะว่าในแต่ละวันก้อก้มหน้าก้มตาทำงานประจำไปวันๆ หากมีเวลาว่างก็หันเข้าหาเข้า blog เพื่อได้ Shop ความรู้มาใช้ประโยชน์ในงานบ้าง แต่พอถูกส่งตัวไปร่วมการประชุมระดมสมองและสัมมนาเชิงปฏิบัติการเครือข่ายด้านวิเทศสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น หัวข้อ บทบาทเชิงรุกของวิเทศสัมพันธ์ต่อการพัฒนามหาวิทยาลัยขอนแก่นให้ก้าวไกล เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม 2551  ณ ห้องราชาวดี อาคารศูนย์บริการวิชาการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น  โลกทัศน์ก็เริ่มมีแววขยายวงออกจากะลา ทำให้โลกทัศน์กว้างขึ้น และได้รู้ในสิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อไปในการดำเนินงาน การปรับตัว และเตรียมเผชิญหน้ากับสภาวะการเปลี่ยนแปลง วิทยากรที่มาถ่ายทอดความรู้ได้แก่ รศ.ดร.กุลธิดา ท้วมสุ รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการและวิเทศสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น คุณพรทิพย์ กาญจนนิยต ผู้อำนวยการบริหารมูลนิธิการศึกษาไทย-อเมริกัน (ฟูลไบร์ท) และ รศ.ดร.อัศนี ปาจีนบูรวรรณ์ คณบดีคณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ประเด็นในการประชุมมีหลากหลายประเด็น ตั้งแต่การเปิดเสรีทางการศึกษา โอกาสในการพัฒนาสถาบันที่มาจากการสร้างองค์ความรู้ร่มกัน การสร้างรายได้ และดัชนีบ่งชี้คุณภาพ ตลอดจนแนวโน้มของการรับนักศึกษาชาวต่างชาติ  ที่ทำให้สถาบันการศึกษาต่างๆ พิจารณาจัดทำหลักสูตรนานาชาติขึ้น เรื่องของหลักสูตรนี้ว่าไปแล้วก็คงเป็นภารกิจด้านการเรียนการสอนของคณะวิชาไป แต่ว่าไปแล้ว ห้องสมุดก็ไม่รอดตัวจากสภาวการณ์นี้

ดังกล่าวไว้แล้ว คำถามที่จั่วหัวไว้ไม่เคยมีความสำคัญกับสิริพร แต่โอกาสที่เข้าไปร่วมประชุมในครั้งนี้ ทำให้เกิดภาพสะท้อนอย่างมาก โดยเฉพาะเมื่อหันไปมองวิสัยทัศน์และพันธกิจขององค์กร ที่บางแห่งมุ่งสู่ความเป็นนานาชาติ บางแห่งมุ่งเน้นการตอบสนองการเรียนการสอนและการวิจัย  ซึ่งภาวะปัจจุบันคือการสอนนักศึกษานานาชาติด้วย...เรื่องอย่างนี้คงไม่ใช่เรื่องของกลุ่มผู้บริหารที่จะนำพาห้องสมุดบรรลุเป้าหมายได้เพียงกลุ่มเดียว แต่ผู้ปฏิบัติงานหล่ะ เคยได้ทราบข้อมูลที่เป็นข้อเท็จจริงหรือไม่ว่า ห้องสมุดของเราทุกวันนี้กำลังเผชิญหน้ากับอะไร

ความเป็นนานาชาติไม่ใช่สิ่งน่ากลัวสำหรับผู้เก่งกาจทางภาษา แต่อาจจะเป็นความเครียดเมื่อต้องเผชิญหน้ากับชาวต่างชาติสำหรับผู้ที่รู้ว่าตนเองด้อยทักษะในด้านนี้ ปัจจุบันนี้ไม่เฉพาะภาษาอังกฤษแล้ว แต่ภาษาอื่นๆ ก็เริ่มมาแรงแซงทางโค้งแล้ว เช่น ภาษาจีน เป็นต้น และจะน่ากลัวมากขึ้นเมื่อนักศึกษาต่างชาติเหล่านั้นมาเป็นผู้ใช้ห้องสมุด ซึ่งแม้ว่าบุคลากรห้องสมุดอยากจะปฏิเสธแต่ไม่สามารถปฏิเสธการให้บริการได้ ทำให้วันนี้บรรณารักษ์อย่างเราๆ ต้องหันมาใส่ใจในภาษาอังกฤษมากขึ้น

วันนี้ห้องสมุดของเราๆ ท่านๆ มีสารสนเทศภาษาอังกฤษ (ว่ากันว่าเป็นภาษาสากล) เพื่อช่วยอำนวยความสะดวกในการใช้ห้องสมุดของนักศึกษาต่างชาติแล้วหรือยัง อาทิ

  • ป้ายประชาสัมพันธ์ เช่น ป้ายบอกทาง ป้ายบริการต่างๆ ระเบียบห้องสมุด
  • เว็บไซต์
  • เอกสารแจก เช่น แผ่นพับ แผ่นปลิวต่างๆ
  • บุคลากรสามารถสื่อสารและให้บริการกับชาวต่างชาติได้หรือไม่
  • CD แนะนำการใช้ห้องสมุดเป็นภาษาอังกฤษ
  • เสียงต่างสายภาษาอังกฤษ

หากบุคลการสื่อสารยังไม่เก่ง  สื่อข้างต้นควรมีให้มาก ถ้าเมื่อไหร่พูดไม่ออก บอกไม่ถูก แบะ แบะ แบะ ก็หยิบเอกสารในเรื่องที่เกี่ยวข้องใส่มือเสียก็จบ .... 555

 

พูดไปก้อพูดง่าย แต่เมื่อเผชิญหน้ากับนักศึกษาต่างชาติแล้ว สื่อสารไม่ได้ เราเองก็รู้สึกแย่ในการให้บริการ โดยเฉพาะงานที่รับผิดชอบเป็นเรื่องส่งเสริมการเรียนรู้...ต้องถามเสมอว่า มีนักศึกษาชาวต่างชาติหรือไม่? กลัวง่ะ แบบว่าภาษานี้เป็นจุดด้อยของตนเองเลย ตอนนี้สร้างเลยทักษะให้กับตัวเองโดย จัดทำ power point เป็นภาษาอังกฤษแม้ว่าจะสอนนักศึกษาชาวไทย (โดยเฉพาะใช้กับกลุ่มนักศึกษาระดับอุดมศึกษา-แบบว่าพัฒนาทักษะด้านภาษาให้ นศ.ด้วย) และใช้ศัพท์เทคนิคหรือศัพท์ภาษาอังกฤษในการใช้ฐานข้อมูลมากกว่าจะแปลหรือหาคำที่เป็นภาษาไทย

 

สำหรับภาพรวมของห้องสมุด คงไม่อยากให้ฝรั่งหรือชาวต่างชาติมาทีต้องเป็นหน้าที่ของผู้บริหารทำการต้อนรับฝ่ายเดียว หันมาหาลูกน้อง ก็ แบะ แบะ เฮ้อจะทำยังงัยกันดี

มีข้อเสนอค่ะ....งานฝ่ายพัฒนาทรัพยากรมนุษย์รับผิดชอบไปสิคะ  ห้องสมุดท่านมีหรือยัง ถ้ามีแล้วแต่งานด้านพัฒนาบุคลากรด้านภาษายังไม่ชัด ก้อทำเป็นแผนประจำปีไป มีแผนระยะสั้น และระยะยาว เพื่อจัดการอบรม ซึ่งจะทำให้มีงบประมาณรองรับ ไม่มีแผนก็ไม่มีงบประมาณนะจ๊ะ...อย่าลืมทุนมนุษย์นี้องค์กรสมัยใหม่ต้องลงทุนอย่างมาก อย่าลืมว่าการใช้ภาษาอังกฤษเป็นทั้งความรู้และทักษะ  อบรมมาแล้วความรู้ยังอยู่แต่ทักษะไม่เกิดเพราะไม่มีโอกาสในการพัฒนาทักษะ...ก็ถือเป็นโจทย์ที่ยากประการหนึ่ง หากห้องสมุดมีสวัสดิการให้กู้ยืมเงินสำหรับการเรียนภาษา โดยห้องสมุดสมทบทุนครึ่งหนึ่งก็ยิ่งแจ๋วไปเลย

เวลาคัดเลือกลูกน้องไปอบรม กลยุทธ์การขู่ที่ว่า กลับมาจากอบรมภาษาอังกฤษแล้ว ต้องทำอันนั้นให้ได้ ต้องรับผิดชอบอันนี้ได้  นั้นเป็นแรงผลักลงล่างนะคะ ด้วยว่าการวัดสมรรถนะเรื่องการใช้ภาษาอังกฤษยังไม่ชัดเจนและการให้ขั้นก็ไม่รุบุว่า คนที่พูดภาษาอังกฤษได้จะได้ขั้นในปีนี้  และการไปเรียนแบบต่อเนื่องนั้นทำให้เสียเวลาส่วนบุคคลไปมาก เพราะส่วนใหญ่ไปเรียนตามสถาบันภาษามักจะเป็นช่วงนอกเวลา แม้ว่าบุคลากรเกิดทักษะแก่ตัวแล้ว ทักษะนั้นก็คืนสนองแก่หน่วยงานไม่ใช่หรือ ขอให้คิดแบบ Win-Win ก็แล้วกัน หากใช้แนวคิดส่งเสริมให้บุคลากรพัฒนาทักษะด้านการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อเกิดความภาคภูมิใจในตนเอง เป็นการมอบหมายงานที่ท้าทาย และเป็นคนสำคัญที่ทำให้องค์กร look smart น่าจะกระตุ้นให้บุคลากรสนใจในเรื่องนี้มากยิ่งขึ้น

 

ต่อมาห้องสมุดของเราๆ ท่านๆ มี Foreigner Unit หรือหน่วยที่รับผิดชอบด้านภาษาต่างประเทศหรือยัง ขั้นแรก Scope เฉพาะภาษาอังกฤษก่อนก้อพอ หน่วยนี้จัดตั้งขึ้นมาได้นะคะ อาจจะเป็นหน่วยงานเถื่อน ไม่ต้องประกาศในราชกิจจานุเบกษาก้อได้ แต่ความชัดเจนในการทำงานจะชัดเจนกว่าการแต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นมาดูแลเป็นคราวๆ ไป  เพราะคงไม่ปฏิเสธหรอกนะคะว่าห้องสมุดหนึ่งๆ จะไม่มีผู้เก่งภาษาอังกฤษเลย  ด้วยคาดหวังว่าหน่วยนี้จะทำหน้าที่เป็นพี่เลี้ยงดูแล ให้คำแนะนำในการใช้ภาษาอังกฤษให้กับบุคลากรในการผลิตสื่อ เอกสาร เว็บไซต์ ก่อนที่จะถึงมือวิเทศสัมพันธ์...ซึ่งจะทำให้การทำงานของห้องสมุดรวดเร็วมากยิ่งขึ้น ทั้งนี้รวมถึงการเป็นผู้ต้อนรับนำชม และช่วยในการนำเสนอข้อมูล หากมีชาวต่างชาติมาเยี่ยมชม ... ว้าว...เยี่ยมมากหากทำได้

 

เทคนิคการทำ KM ด้านภาษาก็เป็นเครื่องมือที่ดี แต่ห้องสมุดจะยอมให้บุคลากรสละเวลาจากงานประจำมาฝึกปรือทักษะต่อเนื่อง อย่างน้อยสัปดาห์ละ 3 ชม มั๊ยอ่ะ...ถ้านโยบายจากผู้บริหารสนับสนุนเรื่องนี้ไม่ชัดเจน หัวหน้างานทั้งหลายก็ไม่ปล่อยลูกน้องมาหรอก...กลัวสถิติงานประจำหด แล้วบรรณารักษ์อย่างเราๆ จะทำอย่างไรในโลกของความเปลี่ยนแปลงนี้ สื่อสารด้วยภาษาอังกฤษด้วย ก็รู้สึกถึงความ Smart ในตนเอง  ก็อาจเริ่มด้วยความสนใจเรียนรู้ด้วยตนเอง ซึ่งทำได้หลายวิธี เล่น Web แถเข้าไปเมื่อเจอชาวต่างชาติ (หน้าด้านเข้าไว้  อาศัยการ speak out)  คุณพรทิพย์ กาญจนนิยต ให้คำแนะนำว่าจะเก่งภาษาได้ต้องไม่ขี้เกียจฝึก ให้เริ่มจากการดูหนัง Sound track (แต่อย่าแอบอ่านบรรทัดแปลหล่ะ) ฟังเพลงสากลเมื่อแปลเนื้อแล้วก็ลองศึกษาแกรมม่า ทุกเพลงจะมีไวยากรณ์ซ่อนอยู่  ส่วนเรื่องของระบบอาจจะเป็นเรื่องใหญ่ที่จะเปลี่ยนแปลง รู้ว่ายากแต่ก็ยังอยากฝากความหวัง...

 

หมายเลขบันทึก: 198937เขียนเมื่อ 5 สิงหาคม 2008 18:46 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 มิถุนายน 2012 18:11 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (9)
  • มายิ้มๆๆ
  • เพราะเคยช่วยเจ้าหน้าที่ห้องสมุดสื่อสารกับนักศึกษาชาวต่างประเทศหาหนังสือจากห้องสมุดครับ
  • เอาใจช่วย
  • ฝึกฟังบ่อยๆๆ ฝึกพูดบ่อยๆๆแล้วจะพูดได้เองครับ
  • สู้ๆๆครับ

ขอบคุณค่ะ

รู้มั๊ยคะอาจารย์ขจิตได้เป็นพระเอกขี่ม้าขาวชนะคะนั่น

สวัสดีค่ะ

  • หอสมุด มช. ก็ปวดหัวมาก เจ้านายสั่งให้ปรับปรุงป้ายมีสองภาษา หวังให้โกอินเตอร์โดยเร็ว
  • ขำแทบตาย www คนของเราดันแปลเป็น World Wind Web เสียนี่
  • ติดขัดอะไรก็...แอบคิดถึง คนนี้ P บ่อยๆค่ะ
  • ที่มน.ผอ คนใหม่มีนโยบายให้ทุนบุคลากรไปดูงาน/ฝึกภาษาที่ต่างประเทศด้วยค่ะ และก็กำลังส่งเสริมให้ staff ฝึกภาษากันมากๆ เพราะมีนักศึกษาต่างชาติเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ
  • ตอนนี้ที่ web หอสมุดหน้าแรกของเรา มี VDO ฝึกภาษาให้ดูด้วยนะคะ เด็กทางฝั่งวิทย์สุขภาพชอบกันมาก
  • เดินผ่านไปผ่านมาหอสมุดมข. เห็น tuk-a-toon บ่อย แต่ไม่ได้คุยกันซะทีนะคะ ^-^

สวัสดีค่ะ คุณดาวลูกไก่
ตอนปิดเข้าพรรษาไปเที่ยวปายมาค่ะ ยังคิดถึงคุณดาวลูกไก่และน้องต้อมเนปาลีอยู่เลย ด้วยว่าแวะมา Sheer up จน trip นี้สำเร็จลงได้ด้วยดี สำหรับเรื่องป้ายสองภาษานี้ ตอนนี้ที่ มข.จะว่าไปก็มีปัญหาเหมือนกัน เห็นว่าต้องอาศัยคนนอกให้ช่วย เนี่ยหากอาจารย์ขจิต อยู่ใกล้ สงกาสัยต้องให้ความอนุเคราะห์แน่นอน

สวัสดีค่ะ ท่าน ผอ.ประจักษ์

หลานตาน่ารักจังเลยนะคะ

ขอบคุณสำหรับการแวะมาเยี่ยมชมให้กำลังใจ

ขอให้มีสุขภาพที่ดีเช่นเดียวกัน...นะคะ

สวัสดีค่ะ คุณศศิธร

เรียนหนักหรือเปล่าค่ะช่วงนี้

เสียดายที่ไม่ได้เม้าท์กันนะคะ แว๊บไปแว๊บมา

เจอตุ่นก้มหน้าก้มตา งุดงุด...ทักเลยนะคะ อยากทำความรู้จักมักคุ้นค่ะ

ชื่นชมการทำงานของ มน.นะคะ

  • อาจารย์ขจิตจะอยู่ไกลจากพวกเราค่ะ
  • แต่ใกล้ใน..ความรู้สึก ^^
  • อีเมลถามหน้าตาเฉยเลยค่ะ (น้องเราเป็นคนของชาวโกทูโนวไปแล้วนี่คะ)
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท