ปัญหาที่พบของเกษตรกรและเทคนิคการทำปุ๋ยหมักชีวภาพ


ปัญหาที่และเทคนิคการทำปุ๋ยหมักชีวภาพ

 

ปัญหาที่พบในการทำปุ๋ยหมัก

-          เกษตรกรทำตามเอกสารที่ศึกษามาหรือบอกต่อกันมา  ไม่ได้ปรึกษาผู้รู้  ดังนั้นจึงใช้ผ้ายางปิดกองปุ๋ยอย่างมิดชิด ทำให้เกิดแอมโนเนียมาก

-          เกษตรกรปิดหน้ากองปุ๋ยด้วยมูลสัตว์  ซึ่งควรจะเป็นกากทะลายปาล์มหรือเศษหญ้า

 

-          เกษตรกรไม่รู้ว่าความชื้นขนาดไหนที่เหมาะสม  เมื่อกลับกองปุ๋ยไม่ได้รดน้ำเพิ่ม  ทำให้การเกิดปุ๋ยยหมักช้า จนเข้าใจว่าปุ๋ยหมักนั้นคงจะใช้กับพืชผักไม่ได้ผล

 

เทคนิคการทำปุ๋ยหมักชีวภาพ

-          การทำปุ๋ยหมักไม่ควรใส่ยูเรีย มากเกินไป  จะทำให้เกิดแอมโมเนีย (NH3)มาก

-          ควรย่ำให้แน่น  เพื่อปุ๋ยจะได้หมักดีขึ้น

-          หลังกลับกองปุ๋ย  ห้ามรด สาร พด.1 เพิ่ม  เพราะจะทำให้เชื้อเดินอีการอบ  จะทำให้อุณหภูมิกองปุ๋ยสูงขึ้น (คล้ายเริ่มใหม่)  จึงใช้เวลานาน

-          ไม่ควรคลุมกองปุ๋ยนานเกินไป  ในที่ร่มที่มีความชื้นสูง ไม่จำเป็นต้องคลุมกองปุ๋ย

 

 

 

-          ที่อำเภอพระพรหม  จ. นครศรีฯ เกษตรกร (ลุงช่วง) เอาหญ้าที่จะทำปุ๋ยหมักกองไว้ในคอกวัวให้วัวนอน ก่อนจะนำมาทำปุ๋ยหมัก  วิธีนี้ทำให้ได้ทั้งปุ๋ยขี้วัว  ฉี่วัวผสมหญ้า เพิ่มธาตุอาหารให้ปุ๋ยหมัก

 

หมายเลขบันทึก: 198089เขียนเมื่อ 1 สิงหาคม 2008 15:05 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 22:31 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

หวัดดีครับ

  • น่าจะ นำ  ตย.ของลุงช่วง มาส่งเสริม ให้ทำที่ สฎ.บ้างนะ ..ลองดู..
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท