ผู้นำสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนขั้นสูง รุ่นที่ 1


หลักสูตรผู้นำสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนขั้นสูง รุ่นที่ 1

เมื่อวันที่ 28 ก.ค. ผมและคณะจากมูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศ ได้มีโอกาสไปเยี่ยมชุมนุมสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนแห่งประเทศไทย เพื่อประชุมเตรียมการจัดอบรม "หลักสูตรผู้นำสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนขั้นสูง" รุ่นที่ 1 ซึ่งผมได้เห็นการทำงานของชุมนุมสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนแล้ว มีความประทับใจมาก ที่ทางมูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศ ได้รับเกียรติให้เข้าร่วมการจัดอบรมในครั้งนี้ ซึ่งถือว่าเป็นหลักสูตรที่มีประโยชน์มาก

 ซึ่งทางมูลนิธิฯ จะได้รายงาน ให้ ฯพณฯท่าน อาสา สารสิน , ท่านชวรัตน์ ชาญวีรกูล และ ดร.ชุมพล พรประภา ทราบในรายละเอียดต่อไป

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

 

 

 

 

             เมื่อวันที่ 29 สิงหาคม 2551 ฯพณฯ อำพล เสนาณรงค์ องคมนตรีและกรรมการมูลนิธิชัยพัฒนาให้เกียรติมาเป็นประธานพิธีเปิด"หลักสูตรผู้นำสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนขั้นสูง" รุ่นที่ 1

 

 งานวันเครดิตยูเนี่ยนสากล จ.จันทบุรี

หมายเลขบันทึก: 197569เขียนเมื่อ 30 กรกฎาคม 2008 15:21 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 19:21 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (190)

จากวันที่ไปประชุม ผมประทับใจในการต้อนรับของท่านผู้นำ และคณะกรรมการของชุมนุมสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนมาก อันได้แก่

คุณ สุริยา มนตรีภักดิ์ ประธาน ชสค.,ดร.ปรีชา ,ผศ.ดร.รังสรรค์, คุณพีระพันธ์, คุณชาญชัย ,คุณดาบชัย ,คุณคันศร ,คุณจันทร์จิรา และคณะกรรมการท่านอื่นทุกๆท่าน ซึ่งได้ต้อนรับผมเป็นอย่างดี ผมขอขอบคุณที่ทุกท่านให้เกียรติ

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

ผมกำลังรอวันเปิดโครงการพัฒนาผู้นำสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนขั้นสูง รุ่นที่ 1 ในวันที่ 29 ส.ค. นี้ อย่างใจจดใจจ่อ  เราจะสร้างผู้นำเครดิตยูเนี่ยนที่มีคุณภาพ ผมมีความกระตือรือร้น ในการมีส่วนร่วมพัฒนาผู้นำครั้งนี้ โดยคราวนี้ มูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศ จะสร้างทุนมนุษย์ที่มีศักยภาพ ให้เพิ่มพูนขึ้นต่อไป

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

พิธีเปิดน่าสนใจมากครับ มีท่านองคมนดรี อำพล เสนาณรงค์ ให้เกียรติมาร่วมเป็นประธานในพิธีเปิดครั้งนี้ครับ

กลุ่ม 1

ตั้งเป้าหมายปลูกฝังให้สมาชิกใฝ่รู้ เข้าใจปรัชญาของสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนและเศรษฐกิจพอเพียง แล้วนำไปปฏิบัติจริงอย่างต่อเนื่อง

กลุ่ม 2

เราคิดว่าดร.จีระกำลังท้าทายเราอยู่ เราคิดว่าจะสร้างมูลค่าเพิ่มอย่างไรในการบริการ เราต้องดูแลสมาชิกให้ดี

กลุ่ม 3

1. เห็นด้วยกับท่านองคมนตรีที่บอกว่า กับเศรษฐกิจพอเพียง

2. สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนต้องพัฒนาสิ่งใหม่ๆ ไม่ย่ำเท้าอยู่กับที่

 

กลุ่ม 4

1. เมื่อจบหลักสูตรนี้ไปแล้ว เราต้องมีความเปลี่ยนแปลง ต้องพัฒนาตนเองก่อน คิดใหญ่ คิดเป็น วิเคราะห์เป็น สร้างภาพลักษณ์ขององค์กรให้ดี

2. จุดอ่อนในสังคมคือเรื่องการออม ธนาคารแห่งประเทศไทยมักมองเรื่องใหญ่ แต่ลืมเรื่องนี้เพราะเป็นจุดสำคัญและเป็นจุดแข็งของสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยน ควรสร้างจุดแข็งไปแก้ปัญหาสังคม

 

กลุ่ม 5

1. ส่วนภูมิภาคยังไม่เข้าใจแบรนด์ ต้องสร้างความเข้าใจให้ชุมชน แม้เราเป็นเครื่องบินบินต่ำ แต่ต้องมองสูงและจะทำให้ดีที่สุด

2. ทำเทคโนโลยีมาใช้ในองค์กร

กลุ่ม 6

1. ผู้นำที่มีแนวคิดใหม่แตกต่างไปจากเดิม คิดแค่เรื่องเงินฝาก เงินกู้ แต่ยังไม่คิดจะทำอะไรให้ดีขึ้น

2. เราต้องปรับตัวและสร้างโอกาสในโลกาภิวัตน์เพื่อให้สหกรณ์จะไม่ด้อยพัฒนา

กลุ่ม 7

1. ชอบคำพูดของดร.จีระว่า สหกรณ์เครดิตยูเนียนชอบบินต่ำ เรากลัวตกแล้วเจ็บ แต่ก็ทำให้เราอยากบินสูงขึ้น

2. ผมก็เหมือนนักมวยที่เรื้อเวที ผมได้ไปรับการอบรมเมื่อ 30 ปีที่แล้ว คนไม่ค่อยรู้จักสหกรณ์ของผม แต่วันนี้ได้มารับการอบรมใหม่ ก็เหมือนชกเป็นแล้ว

สิ่งที่ได้เรียนรู้จาก การบรรยายเรื่อง การชี้แจงความเป็นมา/วิธีการศึกษา/กติกาโครงการ โดย ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ เลขาธิการมูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศ

  • หลักสูตรนี้จะช่วยให้อยู่ในโลกที่มีความเปลี่ยนแปลงได้อย่างยั่งยืน
  • ควรนำความรู้ที่ได้มาแก้ปัญหาจัดการความไม่แน่นอนและอนาคตของสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยน ต้องมีวิธีการทำงานและสร้างโอกาสใหม่ๆ
  • ในรุ่นที่ 2 ต้องเชิญแขกจากภายนอกมาร่วมงานด้วย เช่นผู้แทนจากธกส. ธนาคารกสิกรไทย และกระทรวงการคลัง เชิญม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุลมาเป็นวิทยากร และรู้จักคนเก่งในวงการอื่นๆ
  • ควรสร้างจิตวิญญาณ อุดมการณ์สหกรณ์มากขึ้น
  • ต้องมีอุปนิสัยในการหาความรู้ร่วมกัน นำความรู้ไปสร้างความมูลค่าเพิ่ม ปรึกษาเพื่อน มีความใฝ่รู้
  • สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนต้องให้ความสำคัญกับการตลาด สนใจลูกค้า
  • ควรร่วมมือกับธนาคารแห่งประเทศไทยจัดทำการออมเป็นวาระแห่งชาติ
  • สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนควรมีการสอนทางไกลใช้ simulation จำลองสถานการณ์
  • สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนควรให้ความสำคัญเรื่องประกัน
  • ควรปรับปรุงภาพลักษณ์สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนให้อยู่ในระดับที่สูงขึ้น

1. ชอบคำพูดของดร.จีระว่า สหกรณ์เครดิตยูเนียนชอบบินต่ำ เรากลัวตกแล้วเจ็บ แต่ก็ทำให้เราอยากบินสูงขึ้น

2. ผมก็เหมือนนักมวยที่เรื้อเวที ผมได้ไปรับการอบรมเมื่อ 30 ปีที่แล้ว คนไม่ค่อยรู้จักสหกรณ์ของผม แต่วันนี้ได้มารับการอบรมใหม่ ก็เหมือนชกเป็นแล้ว

เหรียญทองโอลิมปิคสมัยหน้าจะต้องเป็นของผม เพราะอาจารย์คือโค้ชของผม

ขอบคุณอีกครั้งนะครับ

ชอบหลักสูตรนี้จังเยย อ. จีระ อธิบายเข้าใจได้เป็นฉากๆ เราโชคดีนิ

ขอบคุณครับที่ให้ความสนใจและส่งความเห็นมา

สู้ๆๆๆๆๆๆ เพื่อวันของเราท่านผู้นำทั้งหลาย

นายคำจันทร์ จันทน์จำปา


       29-30 สิงหาคม 2551

       เรียนกับท่านดร.จีระแล้วทำให้เกิดความคิดที่จะค้นหาผลกระทบกับสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนของตนเองในสภาวะปัจจุบัน เพื่อหาทางแก้ไขโดยเร่งด่วน

       ต้องขอบคุณท่านดร.จีระเป็นอย่างยิ่งที่ชี้แนะ

Workshop ผลกระทบเศรษฐกิจต่อสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนด้านโอกาสและปัญหา

กลุ่ม 1

กองทุน SML และกองทุนหมู่บ้านทำให้ขาดวินัย เพราะได้เงินมาฟรี

Workshop ผลกระทบเศรษฐกิจต่อสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนด้านโอกาสและปัญหา

กลุ่ม 2

 

-รายจ่ายเพิ่มจากเงินเฟ้อ หนี้คั่งค้าง เพราะสมาชิกไม่มีเงินจ่าย

-ผลจากภาครัฐ ทำให้สหกรณ์ไม่ค่อยโต

-สมาชิกต้องลดค่าใช้จ่าย อยู่อย่างพอเพียง

-ความแตกต่างจากธนาคารสหกรณ์เรา สมาชิกเป็นเจ้าของ

-สหกรณ์เราจัดสวัสดิการให้สมาชิก ถือเป็นจุดแข็ง

ขอขอบคุณอาจารย์มากค่ะที่ช่วยฉุดขึ้นมาบ่อความคิดเก่าสู่ความคิดใหม่ที่ดีกว่าเดิม

สมาชิกกลู่ม Best of the Best

กลุ่ม 3

-เศรษฐกิจปัจจุบันทำให้สมาชิกรายจ่ายมากกว่ารายรับ เขาออมไม่ได้ ส่งเงินคืนสหกรณ์ไม่ได้ เกิดหนี้คั่งค้าง

-การเมืองของไทยไม่นิ่งทำให้ประชาชนไม่กล้าลงทุนหรือฝากสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยน ทำให้ต้องบริหารความเสี่ยงมากขึ้น

-นโยบายธนาคารแห่งประเทศไทยลดดอกเบี้ยเงินฝาก ทำให้คนมาฝากเงินที่เครดิตยูเนี่ยนมากขึ้นเพราะอัตราดอกเบี้ยดีกว่า

Workshop ผลกระทบเศรษฐกิจต่อสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนด้านโอกาสและปัญหา

กลุ่ม 4

นโยบาย 6 มาตรการของรัฐ เริ่มติดขัดแล้ว กระทบชาวบ้านซึ่งเป็นสมาชิกเครดิตยูเนี่ยนให้ลดค่าใช้จ่ายลง ถ้ารัฐบาลลาออก 6 มาตรการจะหายไปต้องซื้อน้ำมันในราคาแพง

Workshop ผลกระทบเศรษฐกิจต่อสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนด้านโอกาสและปัญหา

กลุ่ม 5

 

การนำเข้าน้ำมัน ทำให้ประเทศไทยเสียดุลการค้ากระทบต่อสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยน คือ ราคาน้ำมันค่าใช้จ่ายสูงขึ้นกระทบต่อต้นทุนการขนส่ง การบริโภค การออม ชำระคืนมีภาระมากขึ้น

Workshop ผลกระทบเศรษฐกิจต่อสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนด้านโอกาสและปัญหา

กลุ่ม 6

 

-ค่าเงินบาทกระทบต่อรากหญ้าขายผลผลิตไม่ได้ ถ้าบาทแข็ง ชาวต่างชาติจะไม่มาซื้อ

-นักการเมืองพยายามยื้อยุดกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร

กลุ่ม 7

 

-ราคาน้ำมัน ทำให้ค่าใช้จ่ายของสมาชิกเพิ่มขึ้น ทำให้ต้นทุนการลงทุนสูงขึ้น ทำให้ความสามารถในการชำระคืนและการออมลดลง ทำให้สมาชิกปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตรู้จักการใช้เงินมากขึ้น

 

-ทำให้โครงการการออมของสมาชิกได้ผล สนใจออมพร้อมๆไปกับการถือหุ้น ทำให้ชักจูงง่ายขึ้น

 

-นโยบายรัฐ เช่น กองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร นำมาหาเสียงให้เงินมา ทำให้คนนำมาหารายได้ให้ตนเองชักชวนในทางที่ผิดไม่ให้สมาชิกใช้หนี้ สมาชิกขาดวินัยทางการเงินมีเงินแต่ไม่ใช้หนี้ เกิดหนี้คั่งค้าง ทำให้ผลประกอบการของสหกรณ์ลดลง

 

-สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนต้องให้การอุดหนุนการเงินเพื่อช่วยคนใช้หนี้ที่เกิดจากกองทุนหมู่บ้าน ถ้าไม่ช่วย คนจะไปกู้นอกระบบซึ่งมีความโหดร้ายกว่า

พงษ์ศักดิ์ ศรีวานิชภูมิ

ความจริงของ สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนในประเทศไทย ???????????????

ไม่แน่ใจว่าผมจะพูดเร็วเกินไปหรือเปล่าสำหรับการเข้าร่วมอบรมในหลักสูตร “ผู้นำสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนชั้นสูง รุ่นที่ 1”ได้เพียง 2 วัน ว่า สาเหตุที่ทำให้สหกรณ์ฯของพวกเรายังไม่ได้เป็นองค์กรในฝันสมกับที่การเกิดขึ้นของสหกรณ์นั้นมาจากกลุ่มคนที่มีอุดมการณ์ร่วมกันในการดำเนินกิจกรรมตามปรัชญาของสหกรณ์ เพราะไม่แน่ใจว่าผู้ที่เข้ามาร่วมกันเป็นสหกรณ์ฯ มีความรู้และความเข้าใจเพียงใดในหลักการของสหกรณ์ฯ หรือเห็นว่าสหกรณ์ฯก็เป็นอีกแหล่งหนึ่งของเงินทุนที่ซึ่งสามารถหาเอามาใช้ได้โดยอ้างหรือเสนอสิทธ์ให้ว่า ถ้าเป็นสมาชิกและออมได้บ้างแล้วก็สามารถจะกู้ยืมเอาไปใช้ได้ตามที่แต่ละสหกรณ์ฯ กำหนดไว้ และอาจจะด้วยความที่เป็นคนไทยที่พวกเราก็น่าจะรู้อยู่ว่ายังหย่อนยานในเรื่องวินัย โดยเฉพาะวินัยด้านการออม กอรปกับกระแสโลกาภิวัฒน์ที่ถาโถมเข้ามาอย่างไม่มีทางปิดกั้น และไม่มีผู้นำหรือผู้ใดที่จะตั้งใจให้ความรู้หรือชี้นำไปในทางที่ดี หรือเหมาะสมกับพวกเราอย่างแท้จริง

ผมจึงเห็นว่าคงจะไม่ช้าเกินไปที่เราจะหยุดคิดสักนิดก่อนที่เราจะก้าวเดินต่อไปอย่างช้าและไร้จุดหมาย (ที่สมาชิกทุกคนควรจะได้ หรือสหกรณ์ควรจะเป็น) ด้วยการยอมเปิดใจให้กว้าง คิดทบทวนอย่างละเอียด มองใหม่ให้กว้างและไกล มาดูว่าเรากำลังทำอะไร จะทำอะไร และจะไปถึงไหน (หรือไม่เคยคิดว่าเลยว่าจะให้ไปถึงไหน)

สหกรณ์ทุกสหกรณ์ของพวกเราภายใต้การอาสาเข้ามาดูแล บริหารจัดการ และบริการเพื่อสมาชิกนั้น เขาได้ให้ความไว้วางใจและกำลังรอคอยให้พวกเราทุกคนนำเอาความรู้ ความเข้าใจที่จะได้มา เอาไปปรับใช้อย่างจริงจัง และขยายผลให้ได้

สุดท้ายนี้ผมเชื่อว่าเราจะได้พบกับความสำเร็จตามที่ได้ตั้งเป้าหมายไว้ ถ้าเป้าหมายนั้นตั้งอยู่บนความจริงใจ ความมุ่งมั่น ความเสียสละเพื่อหมู่มวลสมาชิกอย่างแท้จริง

ท้ายนี้ขอฝากข้อคิดว่า “ ทำอะไรก็ไม่ติด ถ้าคิดดี”

30 สค. 2551

ได้เรียนกับอาจารย์มา 2 วันรู้สึกว่าการเรียนรู้ไม่มีวันสิ้นสุดเพราะเมื่อไรที่เราไม่หาความรู้ใหม่ ๆ เราก็จะไม่ทันคนอื่น แต่ก็อยากจะเสนอความคิดเห็นสักนิดหนึ่งเพื่อให้อาจารย์ได้รู้ว่าสหกรณ์ของเราเติบโตมาจากรากหญ้าเพราะฉะนั้นการที่จะให้สมาชิกได้รับรู้ข้อมูลต่าง ๆ ก็เป็นปัญหาสำหรับสหกรณ์ ฯ พอสมควรเพราะสมาชิกส่วนใหญ่จะไม่ค่อยเข้าใจในเรื่องเทคโนโลยีหรือสิ่งใหม่ ๆ ที่มันเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาการที่เราไปรับรู้เรื่องต่างๆมาแล้วจะกลับมาปรับใช้กับสมาชิกสมาชิกก็ไม่ค่อยจะยอมรับซักเท่าไรเพราะติดอยู่กับรูปแบบเดิม ๆ บางครั้งการทำงานก็ติดอยู่กับท่านคณะกรรมการเพราะคณะกรรมการบางท่านก็ไม่มีความรู้ในเรืองการบริหารงานสหกรณ์ แต่อำนาจต่าง ๆ อยู่ที่คณะกรรมการจึงทำให้เกิดปัญหาในการที่จะเปลี่ยนแปลงให้การทำงานเป็นไปตามสถานการณ์ในปัจจุบัน

ขอขอบคุณอาจารย์ที่ได้ชี้แนวทางให้เพื่อจะได้เพิ่มดีกรีแห่งการเรียนรู้ใหม่ ๆ และจะตั้งใจและจดจำคำพูดของอาจารย์มาเป็นแนวทางในการทำงาน

ไม่เคยรู้จักอาจารย์ ศ.ดร.จีระ มาก่อน ทราบเพียงพื้นๆตื้นๆ เพิ่งมีวาสนาได้เข้าร่วม"โครงการผู้นำสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนชั้นสูงรุ่นที่ 1" จึงได้สัมผัสตัวตนที่แท้จริงรู้สึกทึ่งมากขอบคุณอาจารย์ที่ยังมองสังคมรากหญ้าผู้ด้อยโอกาส ด้อยประสบการณ์และด้อยความรู้ แต่เต็มเปี่ยมด้วยคุณธรรมจริยธรรม สิ่งที่อยากแลกเปลี่ยนกับท่านอาจารย์คือในมุมมองของผมสังคมเมืองมักอ่อนด้อยในเรื่องคุณธรรมจริยะธรรมในทางกลับกันสังคมชนบทสังคมรากหญ้าด้อยความรู้แต่มักยึดคุณจริยธรรมเป็นแบบแผนในการพัฒนา ผมจะใช้ว่าทฤษฎีหางอึ่งได้ไหมครับ สมัยที่เรียนรู้แค่ระดับประถมนักเรียนจะเคร่งครัดเรื่องคุณธรรมจริยธรรม โตขึ้นระดับมัธยมยิ่งหดสั้นมีน้อยลง และจะเลือนหายไปเกือบหมดในระดับอุดมศึกษา ทำไมเราไม่สร้างคนทั้งตัวไม่ใช่สร้างแค่หัว(สมอง)ยิ่งสร้างคนที่หัวยิ่งคิดเอาเปรียบมันอันตรายที่สุด

นายบุญชู เนาวรัตน์

                ผมเคยคิดว่า เทคโนโลยี ไม่จำเป็นกับชีวิตผมเท่าไร โดยเฉพาะคอมพิวเตอร์ IT e-mail อินเตอร์เน็ต เพราะผมอยู่ในฐานะผู้บริหาร ไม่ใช่ฝ่ายปฏิบัติการ แต่ ณ วันนี้ ผมรู้แล้วว่า ผมคิดผิด ผมล้อมวงให้ตัวเองเกินไป ปิดหูปิดตาตัวเอง จนเป็นคนล้าหลังเรื่องเทคโนโลยี

                แต่ต่อนี้ไป อาจารย์ครับ ผมจะกลับตัวกลับใจให้ความสนใจมันให้มาก จนสามารถส่ง e-mail กับอาจารย์ได้ ผมให้สัญญา

                จากวันที่ 29-30 .. 51 ของหลักสูตรผู้นำขั้นสูงที่ได้เรียนจาก ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ สิ่งแรกที่รู้ลึกคือ เราจะติดการเรียนรู้แบบไม่มีที่สิ้นสุด กล้าที่จะคิด กล้าตัดสินใจ พร้อมที่จะได้เรียนรู้สิ่งใหม่ๆ ท่านพูดถูกที่บอกว่าเราไม่ใฝ่ที่จะรู้ ทำให้พวกเราพยายามที่จะเรียนรู้จากท่านให้ได้มากที่สุดโดยเฉพาะวันที่ 30 .. 51 เราได้เข้าใจเรื่องเศรษฐศาสตร์ที่เราสามารถนำไปคิดพิจารณาในการบริหารงานเพื่อมวลสมาชิกของสหกรณ์ ซึ่งแต่ละกลุ่มได้จับประเด็นที่มีประโยชน์และผลกระทบต่อสหกรณ์หลากหลาย ขอบคุณท่านศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ที่ทำให้ "เรา" ,"พร้อม" "กล้า" "คิด" "ทำ" เพราะท่านบอกว่าสิ่งที่ท่านเน้นในการอบรมในครั้งนี้คือทุกคนเริ่มมองเศรษฐศาสตร์เป็นคอนเซ็ป สิ่งที่เราจะตระหนักคือ การบริหารความเสี่ยง

                สุดท้ายมองให้ไกลและมองให้กว้าง

 

มยุรา จิตเกื้อกูล

29 ส.ค. 51

ดร.จีระ ท่านสอนให้คิดว่า

  • ผู้นำต้องคิดนอกกรอบไปสู่ในโลกที่เรามองไม่เห็น และคิดอย่างเดียวไม่ได้ ต้องปฏิบัติด้วย เราจะอยู่นิ่งๆ ปฏิบัติแบบเดิมไม่ได้ มีวิสัยทัศน์ให้กว้างไกล

30 ส.ค.51

  • วันนี้เรื่องเศรษฐศาสตร์มหภาค เครียดเนื่องจากไม่มีความรู้เรื่องนี้เท่าไรนัก แต่จากที่เรียนวันนี้ ทำให้ต้องศึกษาเรื่องนี้เพิ่มเติมให้มากๆ 
นายอดิศักดิ์ คลับคล้าย

จากการที่ได้เข้ารับการอบรมในวันที่ 29-30 สิงหาคม 2551 ทำให้ผมมีความรู้สึกถึงความกระตือรือล้น การเตรียมพร้อมของความคิดในทุกๆด้าน เพื่อให้ทันกับโลกทัศน์และจะทำให้เรารู้สึกตื่นตัวตลอดเวลา เหตุที่ทำให้ผมคิดอย่างนี้เป็นเพราะท่านอาจารย์ ศ.ดร.จิระ หงส์ระดารมภ์ เป็นผู้จุดประกายความคิดให้กับผมครับ....ขอบคุณท่านอาจารย์ครับ.....

รู้สึกว่าเป็นโชคดีมากเลยที่ได้มีโอกาสเข้าร่วมอบรมโครงการพัฒนาผู้นำสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนขั้นสูงรุ่นที่ 1 จากที่ได้เข้ารับการอบรมในวันที่ 29 - 30 สิงหาคม 2551 ที่ผ่านมาทำให้ได้มีโอกาสได้รู้จัก อาจารย์ จีระ หงส์ลดารมภ์ บอกตามตรงว่าหนูเคยรู้จักอาจารย์ตามแผงหนังสือหนูเคยหยิบหนังสือขึ้นมาอ่านแต่หนูไม่เคยซื้อกลับมาอ่านต่อที่บ้านเลยและถือว่าเป็นโอกาสดีอย่างมากที่ได้รู้จักตัวจริงของอาจารย์และอาจารย์เป็นผู้จุดประกายให้หนูอยากจะอ่านหนังสือมากขึ้นโดยเฉพาะหนังสือแปลซึ่งไม่เคยชอบอ่านเลย 2 วันที่ผ่านมาที่ได้เรียนกับอาจารย์ทำให้เปิดมุมมองในการเรียนรู้ในการคิดได้ดีขึ้นและหนูขอสัญญาว่าจะเป็นลูกศิษย์ที่ตั้งใจเรียนของอาจารย์ให้สมกับที่ได้มีโอกาสเป็น1ใน 40 คน ของผู้มาเข้ารับการอบรมในครั้งนี้ และที่สำคัญในวันแรกหนูรู้สึกว่าอาจารย์น่ากลัวมากเลยเราจะเรียนด้วยได้หรือไม่แต่พอวันที่สองหนูรู้สึกว่าดีขึ้นมากที่อาจารย์เป็นกันเองและพร้อมจะเป็นผุ้ให้เราอย่างเต็มใจขอบคุณท่านอาจารย์มากคะ

ตื่นๆ ดร.จีระ หงษ์ลดารมภ์ สอนแล้ว

สำนึกผิดจริงๆ ที่ผ่านมาหายใจทิ้งไปวันๆ ทำตัวเป็นผู้พอแล้ว ไม่ทะเยอทะยาน

ขอบคุณ อาจารย์ ดร.จีระ หงษ์ลดารมภ์ มากค่ะ ที่ช่วยมอบแนวความคิดที่ดีๆ ให้ ขอบคุณค่ะ

ขอบคุณอาจารย์มากค่ะที่มอบโอกาสดีดี ให้กับเพื่อนมนุษย์ที่คิดว่าตนเองดีแล้ว พอแล้ว แต่แท้จริงแล้วยังเลย ยังไม่มีการเริ่มต้นอะไรเลย อาจารย์เชื่อไหมค่ะ ก่อนที่จะมาเรียนกับอาจารย์ไม่เคยรู้จักอาจารย์มาก่อนเลย ไม่เคยอ่านหนังสือของอาจารย์ ไม่เคยฟังรายการของอาจารย์ ไม่รู้จักอาจารย์จริง เชยมาก ๆ เลย แต่พอได้เรียนกับอาจารย์แล้วคิดเลยว่าแบบนี้มีด้วยหรือ ระยะเวลาเพียง 2 วัน (29-30 สค.51)อาจารย์ทำให้มีความเป็นคนมากขึ้น ยอมรับก่อนหน้านี้เป็นคนไม่ไฝ่รู้เลย รู้แค่ไหนทำแค่นั้นไม่กระตือรือร้น แต่อาจารย์ทำให้อยากอ่านหนังสือมากขึ้น ใช้ อินเตอร์เน็ตมากขึ้น อยากที่จะบินให้สูงขึ้น ขอบคุณอาจารย์มากค่ะ ขอบคุณค่ะ

ข้าพเจ้ารู้สึกดีใจและภูมิใจมากที่ได้เข้าร่วมโครงการในครั้งนี้และพบกับอาจารย์ ที่เป็นผู้ที่มีความรู้ ความสามารถ และชี้ทางสว่างให้กับเราชาวเครดิตยูเนี่ยน เพื่อจะได้นำไปพัฒนาสหกรณ์ให้มีความก้าวหน้า ทันสมัย ต่อไป เพื่อเครดิตยูเนี่ยนของเรา สู้ ๆ ๆ ๆ ๆ ๆ

ดีใจที่ผู้นำทุกคนมีความสุข และพร้อมจะปรับเปลี่ยน ขอเป็นอีกหนึ่งแรงใจให้ทุกคนก้าวต่อไป

ยินดีรับใช้ เต็มใจบริการ

มีความรู้สึกภูมิใจที่ได้มีโอกาสเรียนกับอาจารย์จีระ ก่อนเรียนมีความคิดที่แคบคิดมองเพียงแค่ หมู่บ้าน ตำบล อำเภอ ที่สมาชิกอาศัยอยู่ ว่าจะช่วยเหลือสมาชิกของ

สหกรณ์ให้มีความกินดีอยู่ดีอย่างไร มองไกลขึ้นมาอีกนิด มองที่จังหวัดว่าจะช่วยเหลือเพื่อน ๆสหกรณ์ อย่างไร พอได้เรียนรู้ทำให้รู้ว่าเราจะต้องมองให้ไกลและศึกษาหาความรู้อยู่ตลอดเวลา แต่ทั้งนี้มีความเชื่อมั่นว่าระบบสหกรณ์ส่งเสริมการออมอย่างยั่งยืนเป็นฐานรากของประเทศได้อย่างแน่นอน

วันที่ 19 กันยายน 2551 เราจะพบกันเกี่ยวกับเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงเรามาเดรียมความพร้อมในการ การอบรมครั้งไป อยากบอกเล่า และให้เพื่อนๆลองเปิด เว๊บไช เรื่องเศรษฐกิจพอเพียงของเขตหนองจอก ชุมชนดอยลุ๊กตั๊กวา ซึ่งมีครอบครัวหนึ่ง ดำรงชีวิตอยู่แบบพอเพียง เราขอเรียกว่าเขาว่า มนุษย์ทดลอง เขามีความรู้นิดเดียว แต่มีคนจำนวนมากเข้าไปศึกษาวิถีชีวิตแบบเศรษฐกิจพอเพียง ของเขา ปีละเป็นหมื่นคน ทั้งหน่วยงานราชการและนักศึกษาหลายสถาบัน ถ้าเพื่อนได้มีโอกาศไปดูก็ขอแนะนำว่าน่าศึกษามาก

ไม่น่าเชื่อว่าในกรุงเทพจะมีพื้นที่หนึ่ง ชุมชนหนึ่ง

มีการดำรงชีวิตที่เรียบง่าย

มีโฮมสเต

ผักปลอดสารพิษ จากครอบครัวทดลอง

ขอต่ออีกนิดนะคะ เขาได้เปรัยบเทียบว่าหลักเศรษฐกิจพอเพียง กับหลักการของสหกรณ์นั้นเหมือนกัน ลองเข้าไปศึกษาดูนะคะ

เพื่อนๆ ลอง Search ชื่อนายสมชาย สมานตระกูล ก็ได้ค่ะข้อมูลมากหน่อยนะคะ หรือจะเป็นลำไทรฟาร์ม ก็อยู่ในชุมชนเดียวกันค่ะ เราเคยให้ อ.สมชาย สมานตระกูล ไปเป็นวิทยากร ให้กับสมาชิกด้วย

สุริยา มนตรีภักดิ์

ขอต้อนรับความเปลี่ยนแปลงใหม่ๆ

มาอีกแล้วครับ.....นิพนธ์ สมพื้น เจ้าเก่า...

หลังจากการอบรมครั้งแรกๆๆเพื่อนๆๆของผมไปทำการบ้านเรื่องไรบ้าง...กะทู้บอกกันบ้างนะ..จได้เตรียมตัวในครั้งต่อไปได้ถูก

หวัดดีครับ....

          เสียดายมากๆๆวันที่30 สค.ที่ผ่านมาไม่ได้เข้าอบรม..แต่ก้อดีใจสุดๆๆที่ได้มีโอกาสเข้าร่วมโครงการ...ต่อไปจะมาเข้าอบรมทุกครั้ง...สัญญากับตัวและหัวใจ

          ยิ่งได้ทราบว่าอาจารย์จิระฯของผมเป็นศิษย์เก่ารุ่นพี่ของผมที่ ร.ร.เทพศิรินทร์  ยศเส  ด้วยแล้ว  ผมจะพยายามสุดชีวิต...เพื่อนำสิ่งดีๆประสบการณ์ตลอดจนวิธีคิดแนวคิดที่เป็นตรรกะและเป็นวิทยาศาสตร์ในมุมบวก..ที่ได้รับถ่ายทอดได้รับจากการบรรยายและแนะนำจากอาจารย์ทุกๆๆๆท่านไปปรับใช้ต่อไป....

          คิดถึงเพื่อนๆๆ..พี่ๆๆ...น้องๆๆ.....ร่วมรุ่นทุกคนครับ....

            คิดถึงท่านอาจารย์ที่ทรงคุณวุฒิอย่างหามิได้อีกแล้ว.....

                  ขอบคุณ ชสค...โดยเฉพาะทีมงานผู้บริหารโครงการนี้เป็นอย่างสูง

         วันที่ 19-20 นี้พบกันครับ

เพื่อนๆๆ....ครับ....แนะนำทักทายกันบ้างนะครับบบบ

-ขอบคุณกะทู้ที่ 38 นะครับ...เดี๋ยวผมจะลองเข้าไปดู....ตามที่คุณแนะนำมา

เพื่อนๆๆมีไรจะบอกกล่าวแนะนำ...ขอน้อมรับครับ...เพื่อเป็นข้อมูลและก้อร่วมกันแสดงความคิดน่ะครับ...

แถมอีกนิดนะครับเพื่อนๆร่วมรุ่น....ขอเชิญร่วมงานวันเครดิตยูเนียนสากลปี 51

ณ.จังหวัดจันทบุรี ระหว่าง วันที่ 9-13 ธันวาคม 2551 โดย ชสค.ร่วมกับ อบจ.จันทบุรี งานยิ่งใหญ่มากเป็นงานของขบวนการเครดิตยูเนียนทั้งปวง....ร่วมกับทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง..มีกิจกรรมที่ดีที่เป็นประโยชน์ต่อสังคมต่อส่วนรวมต่อสิ่งแวดล้อมของโลกเรา ...แล้วพบกันนะครับ...งานวันเครดิตยูเนียนสากล ปี 51 ""เปิดโลกอัญมณี ศรีบูรพาทิศ...วันเครดิตยูเนียนสากล ปี 51""""""

อนุวัตร ประทุมวรรณ์

        เป็นบุญในชีวิตที่ ฯพณฯอำพล  เสนาณรงค์  องคมนตรี    ให้เกียรติมาเป็นประธานการอบรมผู้นำสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนขั้นสูง รุ่นที่ 1   มีท่าน  ศ.ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์    เป็นอาจารย์ ถ่ายทอดความรู้  และขอขอบคุณคณะผู้บริหาร  เจ้าหน้าที่ ชสค.ทุกคน    ที่จัดให้มีโครงการนี้ขึ้นมา                                              

ตั้งใจที่จะสมัครตั้งแต่ทราบข่าวว่าทางชุมนุมสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนแห่งประเทศไทย จำกัดจะจัดโครงการพัฒนาผู้นำสหกรณ์ หลักสูตรผู้นำสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนขั้นสูง รุ่นที่ 1 ร่วมกับ มูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศ โดย ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ แต่ก็เกือบพลาดโอกาสที่ดีนี้ไป...ดีใจที่จะได้เรียนรู้เพิ่มขึ้นหลังจากที่เคยพบกับอาจารย์ในการสัมมนาวิชาการเรื่อง "ผู้นำกับการบริหารการเปลี่ยนแปลง"เมื่อเดือนเมษายน ที่ผ่านมา

สวัสดีครับ

......ผมนิพนธ์ฯมารายงานตัว..สวัสดี อ.ธีรชัยฯ...เจ้าเของกระทู้46

ผมอยู่ร่วมกลุ่มของอาจารย์ธีระชัยฯนะครับ....วันที19-20กย.พบกันนะครับ...ผมก้อเหมือนกับผู้เข้ารับการอบรมหลักสูตรนี้นะครับ...ที่อดจะตื่นเต้นระคนกับการยินดีเป็นอย่างยิ่งที่จะมีโอกาสได้รับการถ่ายทอดแนะนำวิธีคิด,หลักการ,เหตุผล ตลอดจน...ประสบการณ์อันยิ่งใหญ่ของเหล่าคณาจารย์ซึ่งโดยการนำทีมของท่านอาจารย์ ดร.จิระฯที่เคารพของผม....

รู้สึกว่าการอบรมหลักสูตรนี้คณะผู้บริหารโครงการ  ซึ่งมีคุณคันศร  คมภักดี   ผู้จัดการฝ่ายวิชาการและพัฒนา (ชสค.) พร้อมทีงานของท่านฯ เป็นแม่งานจะได้รับคำชมไปเต็มๆๆนะครับ....จากใจจริง...อยากให้รักษาศักยภาพเช่นนี้ตลอดไปเพื่อเป็นแกนนำในการพัฒนาและยกระดับคุณภาพของบุคคลากรในขบวนการเครดิตยูเนียนต่อไปนะครับ...เป็นกำลังใจ

   อีกนิดนึง....ที่ปรึกษาโครงการด้วยนะครับ....มาเยี่ยมเยียนเวลาที่อมรมด้วยนะครับ...เพื่อเป็นกำลังใจนะครับ...ขอบคุณเป็นอย่างสูง

สวัสดีครับ

......ผมนิพนธ์ฯมารายงานตัว..สวัสดี อ.ธีรชัยฯ...เจ้าเของกระทู้46

ผมอยู่ร่วมกลุ่มของอาจารย์ธีระชัยฯนะครับ....วันที19-20กย.พบกันนะครับ...ผมก้อเหมือนกับผู้เข้ารับการอบรมหลักสูตรนี้นะครับ...ที่อดจะตื่นเต้นระคนกับการยินดีเป็นอย่างยิ่งที่จะมีโอกาสได้รับการถ่ายทอดแนะนำวิธีคิด,หลักการ,เหตุผล ตลอดจน...ประสบการณ์อันยิ่งใหญ่ของเหล่าคณาจารย์ซึ่งโดยการนำทีมของท่านอาจารย์ ดร.จิระฯที่เคารพของผม....

รู้สึกว่าการอบรมหลักสูตรนี้คณะผู้บริหารโครงการ  ซึ่งมีคุณคันศร  คมภักดี   ผู้จัดการฝ่ายวิชาการและพัฒนา (ชสค.) พร้อมทีงานของท่านฯ เป็นแม่งานจะได้รับคำชมไปเต็มๆๆนะครับ....จากใจจริง...อยากให้รักษาศักยภาพเช่นนี้ตลอดไปเพื่อเป็นแกนนำในการพัฒนาและยกระดับคุณภาพของบุคคลากรในขบวนการเครดิตยูเนียนต่อไปนะครับ...เป็นกำลังใจ

   อีกนิดนึง....ที่ปรึกษาโครงการด้วยนะครับ....มาเยี่ยมเยียนเวลาที่อมรมด้วยนะครับ...เพื่อเป็นกำลังใจนะครับ...ขอบคุณเป็นอย่างสูง

หวัดดีครับอาจารย์อนุวัตร  ประทุมวรรณ์  จากสหกรณ์เครดิตยูเนียนบ้านดุง จำกัด  ใช่มั๊ยครับ.....ผมจำได้แต่ก้อไม่แน่ใจ

สวัสดีครับ...อาจารย์สุริยา มนตรีภักดิ์....ประธาน ชสค.

ผมรู้สึกกระทู้ของท่านประธานสั้นๆแต่ได้ความหมายดีนะครับ

"ขอเชิญทุกท่านพบกับความเปลี่ยนแปลง....นับจากนี้และตลอดไป"

อนุวัตร ประทุมวรรณ์

        สวัสดีเช่นกันครับท่านนิพนธ์ ท่านจำไม่ผิดหรอกครับ ผมอนุวัตร จากสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนบ้านดุงสามัคคี จำกัด ที่ท่านและคณะให้เกียรติ แวะเยี่ยมชมเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ความรู้ซึ่งกันและกันเมื่อเดือนสิงหาคม 2551 ที่ผ่านมา.. 

         ผมเริ่มรู้สึกดีที่ได้เป็นลูกศิษย์ท่านอาจารย์จีระ  ที่ได้สัมผัสกับท่านเมื่อ 2 วัน ที่ผ่านมา

สวัสดีครับ อ.อนุวัตรฯ...จันทบุรีฝนตกมากครับ..ไม่ทราบว่าที่บ้านดุงอากาศเป็นอย่างไรบ้าง...ผมคิดว่าก็คงจะคล้ายๆกัน

วันที่19 กย.นี้ไม่ทราบเหมือนกันนะครับว่า อาจารย์จิระฯ ท่านจะมาให้ความรู้พวกเราได้หรือไม่...ผมทราบข่าวว่าท่านน่าจะติดภารกิจ..แต่ก็ไม่แน่ใจว่าจะจริงหรือไม่

ผมจะเดินทางไปวันที่ 18 ท่านอนุวัตรฯไม่ทราบว่าจะเดินทางถึง ชสค.วันไหนครับ

สวัสดี เพื่อผู้นำเครดิตยูเนี่ยนรุ่น 1 ที่นับถือทุกคน

เป็นอย่างไรครับท่านผู้นำหลักจากที่ได้กลับจากการอบรมหลักสูตรผู้นำ cu รุ่นหนึ่งแล้วภาระกิจหลักของท่านคงจะรวบรื่นดีตามปกติ แต่สิ่งหนึ่งที่พวกเราต้องเก็บมาคิดอยู่ตลอดเวลาคือการที่เราได้มาเปิดใจในการเรียนครั้งแรกและได้แนวความคิดใหม่ๆจากท่านประธานในพิธีเปิดและท่าน อาจารย์ ศ.ดร.จิระ หงส์ลดารมภ์ ทุกคนกลับไปด้วยความเต็มเปี่ยม ด้วยความคิดใหม่ๆ และกลับไปทบทวนความคิดและมุมมองใหม่

วันนนี้วันที่ 17 ก.ย. 51 ใกล้วันที่พวกเราจะได้พบในครั้งที่ 2 ในวันที่ 19-20 ก.ย.51ต่างคนต่างก็ตื่นเต้นโดยเฉาะผู้นำใน จังหวัดเพขรบุรี เมื่วันที่ 14 ก.ย. มีการศึกษาดูงานเรื่องของการผลิตปุ๋ยอินทร์ ผู้นำได้แสดงความคิดเห็นอย่างหลากหลายจนท่าน ผศ.สุวิทย์ เปียผ่อง อดชื่นชมไม่ไดว่าสิ่งที่ผู้นำไปอบรมมาไดด้แนวคิดใหม่ๆหลายอย่าง

วันนี้อดที่จะนึกถึงประเด็นที่ท่านอาจารย์ จิระให้ไว้ไม่ได้ว่าผลกระทบที่มีต่อเครดิตยู่เนี่ยนมมีอะไรบ้าง ไม่ว่าการเมืองกับนายกคนใหม่ชื่อสมชาย, กฏหมาย, ระบบเศรษฐกิจของโลก, การที่นำมันมีราคาแพง,ฯลฯ วันนี้เห็นได้ชัดกรณี "เลยห์แมน"ล้อมกระทบกับบ้านเรา โดยเฉพาะ เอไอเอ หุ้นตก ได้นายกใหม่ ราคาทองไม่นิ่ง กลุ่มพันธมิตรเคลื่อนต่อ ทุกอย่างเป็นไปได้หมดที่จะกระทบกับเพื่อสมาชิกทั้งทางตรงและทางอ้อม

แต่ขบวนการสหกร์ยังต้องก้าวเดินต่อไปอย่างมั่นคงและร่วมมือร่วมใจกันต่อไป พร้อมยึดหมั้นในคุณธรรม จิตรารมณ์ และอุดมการณ์ของเราต่อไป นะ พี่น้อง

เป็นไงท่าน นิพนธ์ กระทู้นี้ยาวไปหรือเปล่า อย่าลืมเตรียมอาหารเมืองจันทบุรีไปเผื่อที่บังคลาเทศด้วยเพราะช่วงนี้เขาถือศลีอดหรือที่เรียกว่า เทศกาลรามาดอล ต้องบอก ACCUด้วยว่าให้เราไปในช่วงศลีอดก็อดกันทั้งคณะใช่หรือไม่?

ไม่แน่ใจว่าจะมาท้ายสุดรึเปล่าค๊ะ... แต่ที่แน่ๆคงรู้สึกไม่ต่างจากทุกท่านที่ร่วมเข้าอบรม ดีใจ มีความสุข และรอคอย เกือบ สองอาทิตย์แล้วสิที่ไม่ได้เจอกัน ขอบคุณกระทู้ ของท่านประธาน สั้นๆ แต่มีความหมายดีจัง แหม แต่ถ้ายาวก็เจ๋งไม่ใช่เล่น เจอกันคราวนี้ เรามีนายกคนใหม่ อะไรๆคงต้องเปลี่ยนตามกันไปอีกมากมาย อยากเจออาจารย์จีระจังเลย ว่าจะมองอนาคตไว้ อย่างที่เราคาดหมายกันไว้หรือไม่ นิ๊ดหนึ่งนะค๊ะอาจารย์เวลาที่เฉยๆนิ่ง หน้าอาจารย์ดุ๊ดุ ...ยิ้มบ้างนะค๊ะ น่ารักจะตาย วันนี้จะเดินทางออกจาก อ.ฝาง 4โมงเย็น ไว้เจอกันพรุ่งนี้เช้า ที่เดิม ห้อง(เรียน)เดิม นะค๊ะ บ๊ายบาย...โป๊ะเช๊ะ

ปล.ทางคณะกรรมการดำเนินการขอขอบคุณท่านประธานอีกครั้งที่ให้เกีรยติสหกรณ์เล็กๆแวะมาเยี่ยมเยือนเราถึงบ้าน ในวันที่ 6 กันยา ที่ผ่านมา งานนี้ปลื้มกันเป็นแถว

วันที่ 16 ก.ย.51 ผมได้มีโอกาสได้ไปร่วมงานของสถาบันวิชาการด้านสหกรณ์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้แสดงแนวความคิในหัวข้อ"ชวนกันคิดเรื่องการนำคุณค่าในการพัฒนาสหกรณ์” เสียดายเวลาที่ให้เราชวนคิดเพียง 15 นาที่ แต่ให้นั่งคิดอยู่ 3 ช.ม. แต่สิ่งหนึ่งที่ได้แนวคิดมาคือเรื่องระว่าง เศรษฐกิจ สหกรณ์ สังคม ความว่าสหกรณ์นั้นเป็นองค์กรที่อยู่ระหว่าง เศรษฐกิจกับสังคม เพราะสหกรณ์เป็นองค์กรที่ดูแลทั้งด้านเศรษฐกิจเรื่องรายได้เรื่องการออม การทำมาหากินแต่ขณะเดียวกันต้องดูแลเรื่องการศึกษาอบรม การให้ความรู้ การช่วยเหลือผู้อื่น การเอื้อเฝื้อเผื่อแผ่กันและกัน การถ่ายทอดความรู้ชาการ เอาละไว้แค่นี้ก่อนเดียวจะวิชาการมากไปพบกันวันพรุ่งนี้

เรียนท่านอาจารย์ ดร.จิระ ที่เคารพ

ประโยชน์จากการเรียนรู้เนื้อหาหลักเศรษฐศาสตร์มหภาคเบื้องต้นเพื่อการทำงานของสกรณ์และได้เรียนรู้ประสบการณ์ชีวิตจากท่าน ได้ประโยช์อย่างยิ่ง ขอสรุปดังนี้

หลักเศรษฐศาสตร์ คือ ศาสตร์ที่ศึกษาเกี่ยวกับทางเลือกในการใช้ทรัพยากร การผลิต อันมีจำกัด สำหรับการผลิตสินค้าและบริการเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด

การเป็นผู้นำต้องรู้จักหลักเศรษฐศาสตร์รู้ทันการเปลี่ยนแปลงซึ่งอาจจะส่งผลกระทบต่อสหรกรณ์ เช่นการเกิดปัญหาอัตราแลกเปลี่ยน ปัญหาอสังหาริมทรัพย์ ปัญหาหนี้เสีย การปิดตัวของสถาบันการเงิน ปัญหาการค้า การส่งออก การนำเข้า ปัญหาผลกระทบจากโรคภัยไข้เจ็บ เช่นไข้หวัดนก เอดส์ ปัญหาภัยธรรมชาติ แผ่นดินไหว โลกร้อน ปัญหาเศรษฐกิจน้ำมันแพง ค่าครองชีพสูง สิ่งเหล่านี้อาจเกิดผลกระทบทั้งทางตรง และทางอ้อมต่อสหกรณ์ เมื่อเป็นผู้นำต้องบินให้สูง มองภาพรวมให้ออก มีความเชื่อมั่นที่จะพัฒนาตนเองและองค์กรไปสู่จุดหมายได้ ทั้งการสร้างภาพลักษณ์ในตัวผู้นำ สร้างขบวนการเรียนรู้ สร้างทีมงาน สร้างสัมพันธ์ภาพ ระหว่างองค์กร กับภายนอก ทั้งรัฐและเอกชน สร้างเครือข่ายมุ่งประโยชน์พัฒนาร่วมกันทั้งในเชิงธุรกิจการเงิน เพื่อพัฒนาองค์กรให้ยั่งยืน โดยมีพื้นฐานความเชื่อมั่นและศรัทธา ทั้งนี้ผู้นำต้องดำรงตนอย่างมีคุณธรรม จริยธรรม อันดีงาม กล้าที่จะใช้วิกฤตให้เป็นโอกาส โดยมองความจริงให้ตรงประเด็น จุดประกายความคิดของตน มองให้เห็นในสิ่งที่มองไม่เห็น และเน้นสร้างสัมพันธมิตร เพื่อร่วมมือกันเชื่อมโยงธุรกิจแบบมืออาชีพ

เรียนท่านอาจารย์ ดร.จิระ ที่เคารพ

ประโยชน์จากการเรียนรู้เนื้อหาหลักเศรษฐศาสตร์มหภาคเบื้องต้นเพื่อการทำงานของสกรณ์และได้เรียนรู้ประสบการณ์ชีวิตจากท่าน ได้ประโยชน์อย่างยิ่ง ขอสรุปดังนี้

หลักเศรษฐศาสตร์ คือ ศาสตร์ที่ศึกษาเกี่ยวกับทางเลือกในการใช้ทรัพยากร การผลิต อันมีจำกัด สำหรับการผลิตสินค้าและบริการเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด

การเป็นผู้นำต้องรู้จักหลักเศรษฐศาสตร์รู้ทันการเปลี่ยนแปลงซึ่งอาจจะส่งผลกระทบต่อสหกรณ์ เช่นการเกิดปัญหาอัตราแลกเปลี่ยน ปัญหาอสังหาริมทรัพย์ ปัญหาหนี้เสีย การปิดตัวของสถาบันการเงิน ปัญหาการค้า การส่งออก การนำเข้า ปัญหาผลกระทบจากโรคภัยไข้เจ็บ เช่นไข้หวัดนก เอดส์ ปัญหาภัยธรรมชาติ แผ่นดินไหว โลกร้อน ปัญหาเศรษฐกิจน้ำมันแพง ค่าครองชีพสูง สิ่งเหล่านี้อาจเกิดผลกระทบทั้งทางตรง และทางอ้อมต่อสหกรณ์ เมื่อเป็นผู้นำต้องบินให้สูง มองภาพรวมให้ออก มีความเชื่อมั่นที่จะพัฒนาตนเองและองค์กรไปสู่จุดหมายได้ ทั้งการสร้างภาพลักษณ์ในตัวผู้นำ สร้างขบวนการเรียนรู้ สร้างทีมงาน สร้างสัมพันธ์ภาพ ระหว่างองค์กร กับภายนอก ทั้งรัฐและเอกชน สร้างเครือข่ายมุ่งประโยชน์พัฒนาร่วมกันทั้งในเชิงธุรกิจการเงิน เพื่อพัฒนาองค์กรให้ยั่งยืน โดยมีพื้นฐานความเชื่อมั่นและศรัทธา ทั้งนี้ผู้นำต้องดำรงตนอย่างมีคุณธรรม จริยธรรม อันดีงาม กล้าที่จะใช้วิกฤตให้เป็นโอกาส โดยมองความจริงให้ตรงประเด็น จุดประกายความคิดของตน มองให้เห็นในสิ่งที่มองไม่เห็น และเน้นสร้างสัมพันธมิตร เพื่อร่วมมือกันเชื่อมโยงธุรกิจแบบมืออาชีพ

หิรัญ เรืองสว้สดิ์

ขอชื่นชมทุกท่านที่มีความตั้งใจที่จะใฝ่หาความรู้ไปพัฒนาสหกรณ์ของท่านให้มีความก้าวหน้าต่อไป นอกจากนี้ตัวผู้เข้าอบรมเองก็จะได้พัฒนาตัวเองและได้ความรู้อีกมากมาย

ขอบคุณ อ.จิระ และทีมงานมากครับ

อนุวัตร ประทุมวรรณ์

สวัสดีท่านผู้นำ รุ่นที่ 1 ทุกท่านครับ

      ได้มาพบกันอีกเป็นครั้งที่ 2  (19 กันยายน 2551)

  • อาหารเช้าอิ่ม และอร่อยดี
  • การจัดเตรียมบรรยากาศในห้องประชุมจัดได้ดี  ผมเข้ามาแล้วมีความรู้สึกที่ดี ขอชื่นชม

เศรษฐศาสตร์เกี่ยวข้องกับสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนในด้านเศรษฐกิจและสังคม ซึ่งมีผลกระทบกับสมาชิกสหกรณ์ ดีใจมากครับที่ได้เรียนรู้เรื่องเศรษฐศาสตร์เพิ่มมากขึ้น

ยินดีที่ได้เข้าร่วมโครงการจะได้นำความรู้ไปปรับปรุงการทำงานให้ดียิ่งขึ้น

เรียน อาจารย์จีระ

ขอบคุณอาจารย์ที่ทำให้คนที่ไม่เคยชอบเศรษฐศาสตร์ สามารถกลับมาสนใจและรู้สึกสนุกในการเรียนรู้

ขอบคุณที่ทำให้ผู้เข้าอบรมได้มีโอกาสเรียนรู้เศรษฐศาตร์ที่มาจากชีวิตของอาจารย์

ขอบคุณค่ะ

สวัสดีครับ.....ผมนิพนธ์ สมพื้น...มารายงานตัวต่อเพื่อนร่วมรุ่นฯที่รักและคิดถึงทุกท่านแล้วคร๊าบบบบบบบ

ความจริงผมเดินทางมาแต่เมื่อวานนี้ครับ...เพราะว่ามีภาระกิจเป็นประธานฯปิดการอบรมสัมมนาหลักสูตรเจ้าหน้าที่สหกรณ์ ที่ ชสค.....และวันนี้ก็มาเข้าอบรมเป็นสัปดาห์ที่สอง.....วันนี้ไม่เห็นท่านประธานฯสุริยา....ของผมนะครับ....น่าจะติดภาระกิจในพื้นที่

ขอบคุณผู้บริหารโครงการนะครับ..อาหารกลางวันอร่อยและมีพอเพียง...ช่วงเช้าที่ผ่านมาจากการเรียนผมเชื่อว่าทุกท่านคงค้นพบความเป็นผู้นำ...และเชื่อว่าจะสามารถสร้างภาวะผู้นำให้กับตัวเองได้....เป็นอย่างดี...ผมเชื่อเช่นนั้น...เพระฉะนั้นวันนี้...เราก็จะมีผู้นำที่มีภาวะผู้นำเพิ่มขึ้นอีกสี่สิบคนนะครับ.....อิอิ.....รวมทั้งผมด้วย....อ้อ...เกือบลืมไปอาจารย์อนุวัตรด้วยครับ....ผมไม่คัดชื่ออาจารย์ออกหรอน่า......วันนี้เราอยู่กลุ่มเดียวกันนะครับ....

.................บ๊าย....บาย..............

นายคำจันทร์ จันทน์จำปา

ภาวะผู้นำ

            ผู้นำที่เกิดโดยธรรมชาติ จะเป็นผู้นำที่สังคม หมู่บ้านชุมชน เคารพนับถือและปฏิบัติตามด้วยความศรัทธา ผู้นำแบบนี้จะมีเอกลักษณ์ประจำตัว เช่น ซื่อสัตย์ เสียสละ รับผิดชอบ เอื้ออาทร เห็นใจกัน สนใจกัน ห่วงใยกัน ผู้นำแบบนี้พบได้ในชนบททั่วไป โดยไม่มีใครแต่งตั้ง

ผลการเลือกตั้งคณะกรรมการรุ่น 1

ประธาน   

อาจารย์สุริยา มนตรีภักดิ์

รองประธาน

คุณธีระชัย สราญรมย์

เลขานุการ

คุณวีรยุทธ์ รุจิเรข

เหรัญญิก

อาจารย์บุญชู เนาวรัตน์

 

คำจันทร์ จันทน์จำปา

เศรษฐกิจพอเพียงกับสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยน

ย้อนอดีตไปประมาณ ๕๐ ปี ประขาชนในชนบทไทยจะดำเนินชีวิตที่เรียบง่าย อยู่กันอย่างผาสุกตรงตามทฤษฎีเศรษฐกิจพอเพียงจริงๆ แต่เมือกระแสโลกาภิวัตน์เข้ามา ทำให้คนทุกๆพื้นที่ไม่เว้นแม้แต่ในชนบทวิ่งตามกระแสรวัตถุนิยม ทำให้การดำเนินชีวิตความเป็นอยู่ขัดสนขึ้น แต่ยังโชคดีที่มีกระบวนการสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนขึ้นมา เพื่อฟื้นฟูจิตวิญญาณคน ให้รวมกันอย่างเป็นระบบ เริ่มจากเรืองวินัยในตนเอง การออม การเอื้ออาทรกัน อันเป็นเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงอย่างแท้จริง

สวัสดีครับ..เพื่อนๆๆนักสหกรณ์ขั้นสูง รุ่นที่1 ชสค.ทุกท่าน

นอนหลับสบายดีทุกคนนะครับ...

อนุวัตร ประทุมวรรณ์

                  การสร้างและการพัฒนาภาวะผู้นำ

ผู้นำต้องสร้างงาน 4 อย่างคือ

  1. สร้างความไว้วางใจ
  2. สร้างพันธกิจที่ชัดเจน
  3. สร้างระบบงานที่ดี
  4. ดึงศักยภาพของผู้ร่วมงานออกมาให้มากที่สุด

และ  ผู้นำต้องมีทัศนคติที่ดีต่อทุกคนด้วยครับ

ผู้นำต้องไม่เป็นคน  เจ้าอารมณ์ หงุดหงิดง่าย หลงและหวงอำนาจ กลัวต่างๆนานา ขาดความเที่ยงธรรม ขาดเหตุผล และหูเบา

หวัดดีครับ...อาจารย์อนุวัตร

เจ้าของกระทู้ 67.........ใช่เลยครับ กระทู้ของอาจารย์เป็นสิ่งที่เป็นจริงที่สามารถที่พิสูจน์ได้ตามที่พวกเราทุกคนได้เรียนมา....สิ่งที่สำคัญที่สุดหัวใจของผู้นำคือ....ความเชื่อมั่นและวางไว้วางใจในตัวของผู้นำของผู้ตาม.....สำคัญรองลงมาคือการวางตัวให้สม่ำเสมอ.....เป็นทั้งผู้นำที่ดี และเป็นทั้งผู้ตามที่ดีในบางครั้ง...จะสามารถเป็นผู้นำที่มีภาวะเป็นผู้นำได้ตลอดไป

นายคำจันทร์ จันทน์จำปา

การบริหารการเงินกับความเสี่ยง

  • การบริหารการเงิน ต้องรู้ที่มาของแหล่งเงินทุนว่ามีต้นทุนมากน้อยเพียงใด แล้วจึงได้พิจารณาการลงทุน การลงทุนต้องคำนึงถึงความเสี่ยง
  • ถ้าไม่มีความเสี่ยง ก็ดีมาก
  • ถ้ามีความเสี่ยงน้อย ก็ดี
  • ถ้ามีความเสี่ยงมาก ก็ไม่ควรลงทุน

สรุปการบรรยายเรื่อง การสร้างและพัฒนาภาวะผู้นำ โดย อาจารย์คมทวน ยันต์เจริญ ในวันที่ 19 กันยายน 2551

 

กิจกรรม 1 ดูสไลด์บทสะท้อนชีวิต มีชายคนหนึ่งเข้าป่ากับลูก ลูกสะดุด ร้องดัง มีเสียงสะท้อนจากเขา ลูกก็ถามคุณเป็นใคร เสียงสะท้อนกลับมาเหมือนกัน ทำให้เขาโกรธ เขาตะโกนตอบ คนขี้ขลาด เสียงก็สะท้อนกลับมาเหมือนกัน ลูกถามพ่อว่ามันคืออะไร พ่อก็บอกว่าให้ตั้งใจพิจารณา เขาก็ร้องออกไป ฉันชื่นชมคุณ เสียงก็สะท้อนเหมือนกัน พ่อบอกว่านี่คือชีวิตจริง ไม่ใช่แค่เสียงสะท้อน เราทำอะไร ก็ได้อย่างนั้น

บทเรียน สิ่งที่เราทำมันจะสะท้อนกลับมาเรา เราต้องเป็นผู้นำที่ดี

 

กิจกรรม 2 ตอบคำถาม โดย ผู้เข้าร่วมโครงการท่านอื่นๆ

1.       รู้สึกอย่างไรที่ต้องเรียนภาวะผู้นำอีกแล้ว

ตื่นเต้น เราลังเลว่าตนยังไม่ใช่ผู้นำ

อยากเป็นผู้นำและใช้ภาวะผู้นำมาบริหารองค์กร

รู้สึกดีที่ได้เรียนกับวิทยากรใหม่ ได้มุมมองใหม่มาต่อยอดความคิด

2.       อยากได้อะไรจากการบรรยายครั้งนี้ 2 ข้อ

เนื้อหาวิชาการ เทคนิค วิธีใหม่ๆ

3.       คำนิยาม ผู้นำคือใคร

ผู้มีอิทธิกลต่อกลุ่มนำกลุ่มบรรลุเป้าหมายองค์กรได้

4.       ผู้นำกับระบบงานสอดคล้องกันอย่างไร ให้คะแนน 1-10

9 คะแนน

5.       ภารกิจและบทบาทผู้นำคืออะไร

ปฏิบัติตามแผนที่วางไว้ได้มากสุด

6.       พฤติกรรมและลักษณะผู้นำที่ดี 2 ข้อ

มีวิสัยทัศน์

ซื่อสัตย์ เสียสละ รับผิดชอบ มีความไว้เนื้อเชื่อใจ

7.       สิ่งที่ผู้นำต้องหลีกเลี่ยงและขจัดออกไป 2 ข้อ

การใช้อำนาจทางที่ผิด

8.       ชื่อผู้นำที่เรารู้จัก (มีอะไรประทับใจเรา)

นายสนธิ ลิ้มทองกุล

พลตรีจำลอง ศรีเมือง

9.       จงเลือก  1 ข้อ ที่เป็นคุณสมบัติสำคัญของผู้นำ

ทัศนคติ

เนื้อหา

·       ผู้นำที่ดีต้องทำให้คนอื่นอยากเดินตาม

·       ผู้นำที่ดีคิดไกล ใฝ่สูง ทำสิ่งที่ควรทำและทำถูกต้องตามหลักเกณฑ์ต่างๆ

·       คนขับเคลื่อนองค์กรสู่ความสำเร็จ ต้องมีผู้นำ

·       ผู้นำที่ยิ่งใหญ่ต้องเข้าใจคน ร่างกาย จิตใจ ความคิด จิตวิญญาณ จะได้ขับเคลื่อนองค์กรได้ดี เพราะเข้าลึกถึงคน

·       ปัญหา 4 เรื่องของผู้นำ

o      ลูกน้องหรือทีมงาน มีความไว้วางใจต่ำต่อผู้นำ หมดศรัทธา ถ้าเขาศรัทธา บอกให้ทำอะไร ก็ทำ

o      วัตถุประสงค์ไม่ชัด ขาดเป้าหมายที่ชัดเจน

o      ระบบไม่สอดคล้อง

o      ไม่รู้จักดึงศักยภาพคนในองค์กรมาใช้ให้เกิดประโยชน์

·       Covey มองผู้นำเป็นขั้นเป็นตอน

·       ภารกิจ  4 ประการของผู้นำ

o      สร้างความไว้วางใจ นับเป็นหัวใจสำคัญ

o      สร้างพันธกิจที่ชัดเจน

o       สร้างระบบที่สอดคล้อง

o       ดึงศักยภาพคนในองค์กรมาใช้ให้เกิดประโยชน์

·       การสร้างความไว้วางใจ

o      จากวิจัย ต้องมีความซื่อสัตย์ต่อตนเองและผู้อื่น เป็นอันดับแรก มันอยู่ในจิตใต้สำนึก ต้องมีความรัก ความดี ความยุติธรรม ถ้ามี high trust จะมี high speed และ low cost

·       องค์ประกอบ trust  ความไว้วางใจ

o      บอกคุณลักษณะ + competency (ความสามารถ) เกิดความน่าเชื่อถือ

·       Competency (ความสามารถ) ของผู้นำ

o      วางแผนเก่ง

·       คุณลักษณะที่ดีของผู้นำ

o      ทัศนคติที่ดี

·       ผู้นำที่มีความไว้วางใจสูงต้อง

o      พูดตรงและพูดจริง

o      มีความเคารพต่อคน

o      สร้างความโปร่งใส ไม่มีวาระซ่อนเร้น

o      แก้ไขสิ่งผิด ถ่อมตัว

o      ซื่อสัตย์

o      ทำให้สำเร็จและไม่แก้ตัวในสิ่งที่ตนเองทำ

o      พัฒนาตนเองตลอดเวลา

o      เผชิญกับความจริง

o      บอกความคาดหวังให้ชัดเจน

o      รับผิดและรับชอบต่อผลลัพธ์

o      ฟังก่อน ( เวลาฟังต้องมองปฏิกิริยาโต้ตอบ สิ่งที่เขาพูดสื่ออะไร ต้องการบอกอะไร

เช่น ลูกน้องขาดงานประจำ เราเรียกเขามาคุย ต้องถามเหตุผลการขาดงาน อย่าตำหนิก่อน ลูกน้องบอกยายป่วยมาก ต้องดูแล)

o      รักษาสัญญา ถ้าทำไม่ได้ ต้องชี้แจงให้ชัดเจน

        ·       Competency ความสามารถ มีทักษะ (มองเห็นและวัดได้)coaching, feedback, planning, innovate แก้ปัญหา ควรเน้นการสื่อสารในองค์กรให้ดี เป็นทักษะที่สำคัญ อย่าสั่ง แต่เป็นการเชิญชวนขอความร่วมมือ

·       ทัศนคติ(สิ่งที่มองไม่เห็น) Commitment proactive รับผิดชอบ win-win

 

กิจกรรม 3 นำตัวอักษรภาษาอังกฤษมารวมกันได้ 100 ซึ่งเป็นคำที่ทำให้เกิดความสำเร็จในชีวิต

คือ Attitude ทัศนคติ ผู้นำต้องส้ร้างทัศนคติก่อน เพราะทัศนคติเปลี่ยนโลกได้ เช่นคนที่ทำโรงแรม 7 ดาวในทะเลทราย หรือทำโรงแรมใต้ทะเลได

 

เนื้อหา (ต่อ)

·       คิดต่าง พฤติกรรมต่าง

·       คนมีทัศนคติไม่ดีต่อองค์กร มีมาก

·       ทัศนคติต่างเพราะอายุ การศึกษาและประสบการณ์ต่างกัน

·       เมื่อทัศนคติเปลี่ยน ทุกอย่างเปลี่ยน

·       ต้องรักในสิ่งที่ทำ ทำในสิ่งที่ดี

·       ต้องสร้างพันธกิจที่ชัดเจน มีกลยุทธ์สอดคล้องกัน งานชัดเจน ทุกคนมีส่วนร่วมรับฟังความคิดเห็น เน้นการเงิน เช่น หารายได้ปล่อยกู้ ลูกค้า เช่น ดึงคนมา อบรมให้รู้จักบริหารเงินระบบภายใน เช่นปรับมาตรฐาน การเรียนรู้ เช่นพัฒนาทัศนคติ

·       จะแก้ผู้นำทัศนคติไม่เปลี่ยนเลยได้โดยเราต้องคิดบวก ทำบวก และพูดบวก เข้าไปหาเขาด้วยความปรารถนาดี

·       การฝึกทัศนคติบวกได้ เช่น สวัสดี ชมคนตอนเช้า

·       ต้องสร้างพันธกิจที่ชัดเจนโดยวิเคราะห์ว่า ลูกค้าคือใคร มีเป้าหมาย ความต้องการอะไร วิเคราะห์ความเชื่อมโยงต่อกลยุทธ์ วิเคราะห์ผลกระทบทางการเงิน

·       สร้างระบบที่สอดคล้อง ต้องส่งเสริมผลงานของคน

·        ระบบต้องยั่งยืนกว่าตัวผู้นำ แต่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ เช่น ระบบไอที ระบบพัฒนาคน ระบบประเมินคุณภาพงาน ระบบการจัดการระบบการควบคุมภายใน ระบบติดตามผลงาน ระบบไอเอสโอ ระบบขนส่ง ระบบการผลิต ระบบ CRM บริหารข้อมูลลูกค้า ระบบ KPI, Balance scorecard ระบบ top talent ระบบ recruit, on the job training, work flow, best practices เพราะต้องนำมาสนับสนุนการทำงาน

·       ดึงศักยภาพคนในองค์กรมาใช้ให้เกิดประโยชน์

·       ต้องสนใจเสียงภายใน ต้องรู้จักคน ว่าเขามีศักยภาพ มีศรัทธาในเขา

·       เสียงภายในที่ต้องฟังคือ ความต้องการ พลังใจ ความสามารถ จิตสำนึกโดย

·       ต้องให้เขาทำในสิ่งที่เขาอยากทำ

·       ต้องให้เขาทำในสิ่งที่เขาชอบ จะได้ทุ่มเทพลังลงไป

·       ต้องให้เขาทำในสิ่งที่เขาถนัด

·       ต้องให้เขาทำในสิ่งที่เขาตรงกับจิตสำนึก

·       ต้องบริหารผลงานแบบชนะ-ชนะ คือ

§       อย่าสั่งอย่างเดียว

§       กำหนดเป้าหมายที่วัดได้

§       มีประเมินอย่างสม่ำเสมอ

§       เกิดแรงจูงใจสูง

§       กำจัดอุปสรรค เป็นแหล่งช่วยเหลือ ต้องพูดจาดีห่วงใยเขา

 

พิพัฒน์พงศ์ พัชรวิโรจน์สกุล

ครับ! ก็ผ่านไปเป็นครั้งที่ 2 แล้วสำหรับการการอบรมสัมมนาหลักสูตรนี้ ก็เป็นสิ่งที่ดีและมีประโยนช์อย่างสูงเลยทีเดียว เพราะนอกจากจะใช้หลักสูตรไปนำไปพัฒนา ปรับปรุงระบบงานสหกรณ์ของกระผม ในส่วนตัวกระผมรู้สึกเปิดความรู้ความคิดนำไปปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม และยังพบปะกับผู้นำแต่ละที่ นำความรู้ นำความคิดประสบการณ์ต่างๆ แต่ละที่มาคุยกัน ขอบคุณสำหรับทุกท่าน เจ้าหน้าที่ทุกคน น่าจะทำต่อไปในหลายๆรุ่น ขอบคุณครับ

สรุปการบรรยายเรื่อง เศรษฐกิจพอเพียง โดย ดร.ธันวา จิตต์สงวน

·       เศรษฐกิจพอเพียงไม่ได้ห้ามใช้ของแพง แต่ต้องดูเหตุผล

·       ไม่ควรใช้ของปลอมเพราะมีสิทธิบัตรแต่บางอย่างใช้ปลอมได้เช่น ยาและหนังสือเพราะแพง

·       ปฏิวัติขัดต่อกรอบโลก

·       การกีดกันการค้าเสรีไม่ได้ เราต้องพัฒนาตนให้แข็งแกร่ง

·       คนจนต้องรวมตัวกันเป็นกลุ่มจะได้มีพลัง

·       ภูฏานเน้นความสุขมวลรวม ได้แก่ เศรษฐกิจยั่งยืน ประเพณีเข้มแข็ง (ต้องทำแบบเชิงรุกเหมือนเกาหลี)  อนุรักษ์สิ่งแวดล้อม การบริหารจัดการแบบธรรมาภิบาล

·       วิสัยทัศน์ประเทศไทย 2550-2555 จะเป็นสังคมที่อยู่เย็นเป็นสุขร่วมกัน ใช้ประโยชน์จากเงิน กลุ่มสหกรณ์(ทุนสังคม) และสิ่งแวดล้อม

·       เป้าหมายพัฒนา

o      ทานอาหารเน้นผักผลไม้ ออกกำลังกาย อารมณ์ ดี อากาศดี อินเลิฟ(มีความรักตลอดเวลา จะมีเอ็นโดรฟิน ทำให้ร่างกายแข็งแรง)

o      มีความภูมิใจในตนเองและความเป็นไทย

o      มีเสรีภาพ  มีเวลา เงินทอง

·       สหกรณ์เน้นทุนสังคมเป็นหลัก  เศรษฐกิจแบบสหกรณ์โตแบบค่อยเป็นค่อยไป ไม่หวือหวา สอดคล้องกับเศรษฐกิจพอเพียง

·       ปัญหาการพัฒนา

·             คนไทยขาดแผนมหภาคและระยะยาว

·             พึ่งพาตะวันตกมากเกินไป

·             เรียนไปไม่ค่อยได้นำไปใช้ประโยชน์

·             การเสื่อมถอยของประเพณี ศาสนา และวัฒนธรรม

·       แนวทางการพัฒนา

o            หาศักยภาพในการพัฒนา เช่น ทำเกษตรให้แพง สะอาดสุด แปรรูปดี ทำบรรจุภัณฑ์ให้ดี กินข้าวป้องกันอัลไซเมอร์ นำข้าวมาทำเครื่องสำอาง ไทยยังขาดงานวิจัยวัชพืชนำมาทำยา

o            พึ่งตนให้มากขึ้น

o            ลดภัยจากโลกาภิวัตน์

o            ไทยควรเน้นทุนสังคมเช่นวัฒนธรรมประเพณีและสถานที่ท่องเที่ยวให้ประทับใจต่างชาติ

·       เศรษฐกิจพอเพียง

·             คุณลักษณะ

o            พอประมาณ เช่น จัดสรรเงิน เวลาดี ตั้งกลุ่มแบบพอประมาณ

o            มีเหตุผล เช่น ไทยควรเน้นพัฒนาเกษตรเพราะเหมาะสมกับทรัพยากร

o            มีภูมิคุ้มกันในตัวเอง เช่น มีเพื่อน กลุ่ม ชมรม ออมทรัพย์ ประกันชีวิต มีเส้นสายช่วยเหลือในสิ่งที่มีเหตุผล มีหลายอาชีพรองรับ

·             ต้องมีความสมดุล ความมั่นคง ความยั่งยืน

·             2 เงื่อนไข คือ ความรู้และ คุณธรรม

·             ต้องมีชีวิตเหมาะสมตามอัตภาพ มีหนี้แต่ต้องใช้คืนได้ มีการสังสรรค์พอประมาณเพื่อสร้างเครือข่าย

·             รู้จักพัฒนาตนเองให้สมกับความเก่งของตนเอง ใช้ศักยภาพที่มีอยู่

·             สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนไม่ควรเติบโตเร็วเกินไป มีเครือข่าย เงินออม

·             ต้องมีแผนชุมชน มีการจัดการสิ่งแวดล้อมวัฒนธรรมชุมชน

·             จัดตั้งกลุ่มเชื่อมโยงต่างๆ

·             ต้องคิดมองไกล อย่าหวังผลตอบแทนมากเกินไป

·             ดูปัจจัยภูมิสังคม

·             ดึงภาคส่วนต่างๆมาเป็นแนวร่วม ควรใช้มหาวิทยาลัยราชภัฏในท้องถิ่นด้วย

·             ทุกภาคส่วนควรมีการออม วิสาหกิจชุมชน

·             หนีจากการครอบครองจากต่างชาติ เครดิตยูเนี่ยนควรช่วยกันปกป้อง

·             มีส่วนร่วมวางแผนการศึกษา ค่านิยม

·             ควรคิดในระยะยาว

·             เศรษฐกิจพอเพียงหมายถึงรวยได้แต่ต้องมีศีลธรรม ขยันและพัฒนา

·             ใช้ของแพงได้แต่ต้องเหมาะสมกับอัตภาพ

·             ต้องช่วยกันผลักดันเศรษฐกิจพอเพียง

·             ควรจัดประกวดสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนดีเด่นตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง

·             ควรจัดประกวดสมาชิกสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนที่ประพฤติตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง

·             ควรส่งเสริมให้มีการดูงานการจัดการแบบเศรษฐกิจพอเพียงที่สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยน

สรุปการบรรยายเรื่อง จิตตารมณ์ โดย คุณพ่อศวง  ศุรศรางค์

  •  เครดิตยูเนี่ยนคือ การรวมกลุ่มกันด้วยความรักเพื่อช่วยเหลือกันอย่างจริงจังและจริงใจอยู่บนหลักคุณธรรม 5 ประการ
  • ตั้งเครดิตยูเนี่ยน เพื่อช่วยแก้ปัญหาเศรษฐกิจ การเงิน ช่วยให้คนจนช่วยตนเอง

หลักคุณธรรม 5 ประการ

 

ความซื่อสัตย์       คนรู้แต่ไม่ทำ ขาดแบบฝึกหัด ต้องรู้จักประหยัด นำเงินมาฝากเครดิตยูเนี่ยน

-มีศาสนาประจำใจ และปฏิบัติตามหลักธรรมจริงๆ

-ขยัน อดทนในการทำมาหากิน

-ประหยัดอดออม

-เลิก ละ ลดอบายมุข

-ฝากเงินเครดิตยูเนี่ยนเป็นประจำตามสัญญา

 

เสียสละ ช่วยเหลือผู้อื่นในเรื่องที่ช่วยได้

ช่วยทันที ด้วยความเต็มใจและจริงใจ

 

รับผิดชอบ เงิน หน้าที่

คนดี ทำหน้าที่ของคนโดยดี

 

ความเห็นอกเห็นใจกัน ทำงานร่วมกับคนอื่นได้ อดทนและอภัยกัน

 

ความไว้ใจ

ก่อนค้ำประกัน ควรพิจารณาหลักฐาน ว่าซื่อสัตย์ ขยัน มีหนี้สินไหม อย่าค้ำประกันเพราะความเกรงใจ

การที่ไม่ค้ำประกันใครเลย ถือว่าขาดความเห็นอกเห็นใจกัน

 

ขอให้เครดิตยูเนี่ยนอย่าท้อแท้

ถ้ามีจิตตารมณ์ เครดิตยูเนี่ยน มั่นคง น่าเชื่อถือ

สวัสดี พี่ ๆ ทุกคน วันนี้ เป็นวันที่ 22 กันยายน 2551 ได้กลับมาจากการสัมนาแล้ว ก็มาเปิดเว็บ ของ ดร.จิระ และก็ได้รู้ สึกว่า ในการสัมนา ครั้งนี้ มีอะไรที่น่าสนใจมาก โดย เฉพาะ ท่านอาจารย์ที่ เป็นวิทยากร แต่ละท่านก็มีความสามารถแตกต่างกันคนละรูปแบบ

1. อาจารย์คมทวน เป็นบุคคลที่มี Power ทางเสียงมาก คือมีเสียงที่มีพลัง เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว

2. ดร.ธันวา เป็นบุคคลที่มีอารมณ์สนุกดี มีเรื่องขัน ๆ มาเล่าให้ฟัง

3. ดร.กุศยา ต้องยอมรับเลย น่ะค่ะ....ว่าเป็นผู้หญิงเก่งอีกท่านหนึ่ง และก็คิดว่า หัวข้อ ที่ ดร.กุศยา.... พูดนั้นเป็นเรื่องที่ใช้เวลาในการสัมมนา ***น้อยไป**** ก็ฝากถึง ท่านประธาน สุริยา และฝ่ายจัดอรมด้วย น่ะค่ะ

และฝากถึงผู้นำ ของจังหวัดเพชรบุรีด้วย อยากจะให้จัดสัมมนา ที่จังหวัดเพชบุรีบ้างจังเลย เพื่อให้กรรมการ และฝ่ายจัดการ ที่ไม่ได้มาในครั้งนี้ได้มีโอกาสรับ..สาระ..ความรู้....เหมือนกันจังเลย

4.คุณพ่อศวง ได้ทราบประวัติของท่าน ท่านเป็นบุคคลที่น่านับถือ มาก ๆ ขอให้ คุณพ่อ.. มีสุขภาพที่แข็งแรง ****และ เป็น ที่ปรึกษา.... ให้กับพวกเรา ชาวเครดิตยูเนี่ยน ตลอดไป น่ะค่ะ

********** สุดท้ายขอให้ทุกท่านมีความสุขกับการสัมมนาและการพูดคุยกันในบล็อกทุกครั้ง แล้วค่อย เจอกันใหม่ วันที่ 3 - 4 ตุลาคม พ.ศ. 2551 น่ะจ๊ะ

****************************Goodby**********************

คุณนิพนธ์ครับ

วันนี้ (23) ช่วงบ่าย คุณวาสนา เพิ่มลาภ จะไปดูเรื่องสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยน ที่สหกรณ์แห่งหนึ่งที่จันทบุรี ผมจำชื่อสหกรณ์ไม่ได้ น่าจะอยู่ใกล้บ้านของท่าน (คุณนิสา จนท ที่สาขาจันทบุรี ทราบ) เพราะผมได้พยายามชวนท่านให้เข้ามาศึกษาและสมัครเป็นสมาชิกหลายครั้งแล้ว

ล่าสุดเมื่อวันเสาร์ จึงโทรคุยกับท่านอีกครั้ง ท่านจึงรับปากว่าจะมาดูที่สหกรณ์ จึงอยากฝาก ถ้าไม่รบกวนเกินไป ช่วยดูแลแทนผมด้วย ขอบคุณครับ

ขอบคุณอาจารย์ฉลองและเพื่อนๆทุกคนที่เสนอชื่อผมให้เข้ามาเป็นรองประธานรุ่นเพื่อทำงานให้เพื่อนๆ (ไม่รู้ว่าจะต้องทำขนาดไหน?) ซึ่งเป็นประเด็นพอสมควร

ครั้งหนึ่ง นานมาแล้ว อาจารย์เคยเสนอชื่อผมเข้ามาเป็นกรรมการอย่างหนึ่ง ผมขอถอนตัวด้วยเหตุผลบางอย่างที่ผมไม่ค่อยชอบ แล้วก็เป็นเรื่อง...

ครั้งนี้จึงไม่กล้าถอน และไม่ได้คิดจะแข่งกันนะครับ เพราะรู้ว่าถ้าโหวตกันผมก็แพ้อาจารย์อยู่ดี แต่ไม่ทันไรอาจารย์กลับถอนตัวก่อนปล่อยผมอยู่คนเดียว ก็เป็นเรื่องอีกเหมือนกัน คือผมต้องเป็นรองประธานรุ่น...ขอบคุณครับ

สิ่งที่เกิดขึ้นในอเมริกาเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว เป็นเรื่องที่ทำให้บรรดานักวิขาการ นักเศรษฐศาสตร์และผู้อยู่ในแวดวงการเงินนำมาเป็นประเด็นถกเถียงกันอย่างกว้างขวาง ไม่ว่าจะเป็น Lehman Brothers หรือ AIG และอีกหลายสถาบันที่กำลังถูกจับตามอง

ในฐานะที่เป็นคนหนึ่งที่ได้ศึกษาเรื่องราวของอนาคตโลกมาตั้งแต่ปี 1991 ทั้งๆที่ไม่ได้มีความรู้เรื่องการเงิน ไม่ได้มีความรู้เรื่องเศรษฐศาตร์ แต่ได้เรียนรู้บางอย่างที่น่าสนใจและได้ประกาศกับผู้คนมากมายไปว่า ในอนาคตอันใกล้ ประเทศมหาอำนาจอย่างอเมริกาเศรษฐกิจจะต้องล่มสลาย หมดอำนาจ หมดบารมีไป แล้วจะมีชาติใหม่ขึ้นมาแทน

มีคอลัมน์หนึ่งในหนังสือพิมพ์พูดถึงเรื่องที่เกิดขึ้นนี้ว่าเป็น the beginning of the end ของวิกฤตการทางการเงินของอเมริกา

ก็คงต้องติดตามกันต่อไปว่า เหตุการณ์นี้นอกจากจะเป็น the beginning of the end ของอเมริกาแล้ว จะเป็นของโลกด้วยหรือไม่? ที่ผมกำลังเฝ้าติดตามคือ "อวสานของโลก" หรือ the end of the world ซึ่งเชื่อว่าพวกเราในยุคนี้จะได้เห็น หรืออีกนัยหนึ่งคือ เราทุกคนที่อยู่ในขณะนี้ คือคนรุ่นสุดท้ายของโลก

ฟังดูแล้วอาจจะน่ากลัวกว่าเรื่องของ ดร.สมิทธิ์!

ได้เข้ารับการเรียนรู้และได้แลกประสบการณ์จากผู้รู้เป็นครั้งที่ 2 แล้วก็รู้สึกว่าได้รับความรู้ต่าง ๆ เพื่มอีกมากมายท่านอาจารย์ที่มาสอนก็เป็นผู้ที่มีความรู้มากและมีประสบการณ์สูงทำให้เราได้รับความรู้มากมายและได้รู้ถึงแนวทางในการที่เราจะนำมาใช้ในองค์กรของตัวเองและจะได้แบ่งปันความรู้ที่ได้รับมามาบอกต่อกับผู้อื่นได้อีกด้วยเช่นการอบรมเรื่องการระวังเกี่ยวกับการบริหารการเงินกับความเสี่ยง การที่เราได้รับความรู้จากผู้ที่มีประสบการณ์ถือว่าเราได้รับข้อมมูลที่ดีเยี่ยม และจากการที่คุณพ่อสวง ท่านได้มาพูดเกี่ยวกับเรื่องของจิตตารมณ์ ผู้ที่จะพูดเรื่องนี้ได้จะต้องเป็นผู้ที่มีความรู้และมีประสบการณ์เป็นอย่างดีถึงจะถ่ายทอดได้ดี ขอบคุณอาจารย์ทุก ๆ ท่านที่ได้เสียสละเวลามาให้ความรู้กับลูกศิษอย่างพวกเรา

สำนักข่าวต่างประเทศรายงาน(19 ก.ย.) อ้างนิตยสาร "ฟอร์บส์" นิตยสารที่มีความเชี่ยวชาญในการจัดอันดับเศรษฐีทั่วโลก ได้จัดอันดับบรรดามหาเศรษฐีชาวอเมริกัน จำนวน 400 อันดับ เปิดเผยเมื่อ 18 ก.ย. พบว่านายบิล เกตส์ผู้ก่อตั้งบริษัทไมโครซอฟ ยังครองแชมป์อันดับ 1 ผู้ร่ำรวยที่สุดในประเทศสหรัฐอเมริกา มีทรัพย์สินมูลค่า 57,000 ล้านดอลลาร์ หรือประมาณ 1,938,000 ล้านบาท ลดจากปีก่อนที่มี 59,000ล้านดอลลาร์ รายงานระบุว่า อันดับ 2 คือ นายวอร์เรน บัฟเฟ็ตต์ เจ้าพ่อนักค้าหุ้น มีทรัพย์สิน 50,000 ล้านดอลลาร์ (ราว 1,700,000 ล้านบาท) ลดลงจากปีที่แล้ว ที่มี 52,000 ล้านดอลลาร์ อันดับ 3นายลอว์เรนซ์ เอลลิสัน ผู้ก่อตั้ง "ออราเคิล คอร์ป" มีทรัพย์สิน 27,000 ล้านดอลลาร์ (ราว 918,000 ล้านบาท)ขณะที่ 4 พี่น้องตระกูล "วอลตัน" ทายาทของแซม วอลตันผู้ก่อตั้งห้างวอลมาร์ท พุ่งขึ้นมาติดอันดับ 4-7 ด้วยทรัพย์สินราว 23,000 ล้านดอลลาร์ ส่วนนายก-เทศมนตรีมหานครนิวยอร์ก นายไมเคิล บลูมเบิร์ก ติดอันดับ 8 ด้วยทรัพย์สินรวม 20,000ล้านดอลลาร์ จากธุรกิจด้านข่าวสารและเครือข่ายข้อมูลการเงินด้านอันดับ 9-10 เป็น 2 พี่น้องตระกูลโคช ชาร์ลส และเดวิดผู้บริหารบริษัทโคช อินดัสทรี ทำธุรกิจด้านการผลิตและพลังงานมีทรัพย์สินคนละ 19,000 ล้านดอลลาร์ นายแมตธิว มิลเลอร์ บรรณาธิการการจัดอันดับของฟอร์บส์กล่าวว่า ข้อเท็จจริงที่ว่าบุคคลผู้ร่ำรวย ไม่ได้ ร่ำรวยมากขึ้นกว่าเดิมบ่งบอกให้รู้ว่าเศรษฐกิจถูกล็อกหยุดชะงัก การที่ไม่มีการต่อสินเชื่ออีกทั้งตลาดมีสภาพคล่องน้อย สัญญาทางธุรกิจก็ไม่เกิดเป็นปัจจัยทำให้ภาพรวมเศรษฐกิจหดตัว .....

,,,,อาจเป็นการส่งสัญญาณอะไรบางอย่างให้เราต้องระวังผลกระทบเพราะ บางที่การเด็ดดอกไม้ก็อาจจะกระเทือนถึงดวงดาวได้ บ๊ายบาย...เน้อเจ้า

สุรารักษ์ กิจนิจศีล

เรียน ท่านอาจารย์จิระ และสมาชิกที่เคารพ

ได้มีโอกาสเข้ามารับการอบรมพัฒนาตามโครงการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์

หลักสูตรผู้นำสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยน ขั้นสูง รุ่นที่ 1 เป็นครั้งที่สองแล้ว สภาพโดยทั่วไปคิดว่าเป็นเรื่องที่ดีมาก ได้รู้ในเรื่องที่ไม่เคยรู้ ได้พบในสิ่งที่ไม่เคยพบ นับว่าเป็นการสร้างประสบการณ์ใหม่จากผู้รู้โดยตรง ต้องขอขอบคุณทางฝ่ายจัดการและเจ้าของโครงการเป็นอย่างสูงที่จัดให้มีรายการนี้ขึ้น แต่คิดว่าน่าจะมีบางเรื่องที่ต้องเติมเต็มเพื่อประโยชน์สูงสุดของมวลสมาชิก เช่น

1.วิทยากรที่มาบรรยายบางท่านไม่ทราบถึงธรรมชาติและวัฒนธรรมหรือวิถีของสหกรณ์ทำให้ประเด็นที่ควรเน้นไม่ตรงจุด เรียกว่าเกาไม่ถูกที่คัน หรือใช้ยาดีแต่ไม่แสลงโรค

2.ยังขาดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน

เรียน อ.ธีรชัย

ต้องกราบขออภัยด้วยครับ...ผมเพิ่งทราบว่าคุณวาสนาฯเดินทางไปดูงานในพื้นที่ จ.จันทบุรี...เพราะว่าผมออกเดินทางจากจันทบุรีเข้ากรุงเทพตั้งแต่วันที่ 22 กย.วันที่ 23 กย.ประชุมดำเนินการ ชสค. วันที่ 24เพิ่งกลับมาถึงเมื่อวานนี้ครับ...-28 เดินทางไปประชุม ที่ประเทศบังคลาเทศ....เสียดายที่ไม่มีโอกาสได้ต้อนรับท่านวาสนา เพิ่มลาภ....แทนท่านอาจารย์ธีรชัย....

วันที่ 3-4 ตค.พบกันนะครับอาจารย์ในการอบรมครั้งที่ 3 คิดถึงเพื่อนๆพี่ๆน้องๆร่วมรุ่นทุกคนครับ....ไปบังคลาเทศกลับมามีเรื่องมากมายที่จะมาแบ่งปันครับ...แล้วพบกันทุกๆคนครับ....หวัดดีน้องบงกช...เด็กดอย...คนสวยด้วยครับ...

ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

ผมติดตาม blog นี้อย่างใจจดใจจ่อและในขณะนี้เราอยู่ที่ระดับที่ 628 คลิกแล้ว อาทิตย์นี้ เวลา 9.00น. กับเวลา 22.00น. ทาง TNN2 เราจะมีรายการที่ฯพณฯ อำพล เสนาณรงค์ องคมนตรีและกรรมการมูลนิธิชัยพัฒนาให้เกียรติมาร่วมรายการและพูดถึงสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนด้วยขอให้พวกเราติดตามชมซึ่งจะมีประโยชน์ต่อทุกท่าน

สวัสดีครับ...อาจารย์จิระ หงส์ลดารมภ์ ,คณาจารย์ทุกๆท่าน,เพื่อๆพี่ๆน้องๆร่วมรุ่น 1 ชสค. ที่นับถือ

วันนี้เป็นอีกหนึ่งวันที่ผมมีความสุขเพราะว่าเห็นบล๊อกของอาจารย์จิระฯที่ผมนับถือและท่ายยังเป็นศิษย์รุ่นพี่ของผม ที่ ร.ร.เทพศิรินทร์ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นสิ่งที่ผมตัดสินใจเข้ารับการอบรมหลักสูตรนี้เพื่อเรียนรู้หาประสบการณ์เสริมให้กับตัวเอง...และจะขอร่วมแบ่งปันความรู้สึกและสิ่งที่ดีๆๆร่วมกับอาจารย์,ทีคณาจารย์และเพื่อนๆๆทุกคน

สัปดาห์ที่ผ่านมาผมมีโอกาสได้เดินทางไปร่วมประชุมที่บังคลาเทศ ในนามของ คณะกรรมการ ชสค.โดยมีประธานกรรมการดำเนินการ ชสค. ท่านสุริยา มนตรีภักดิ์ เป็นหัวหน้าทีม ชสค.(ไทยแลนด์)สิ่งที่ได้พบสิ่งที่ได้เห็น...ผมเชื่อว่าผู้นำขบวนการเครดิตยูเนียนนานาชาติเขาให้การยอมรับ ชสค.ในฐานะขององค์กรระดับประเทศ...ในสายตาของต่างประเทศเราเป็นหนึ่งได้อย่างภาคภูมิ....ผมขอยืนยัน.และขอให้ทุกท่านได้ภาคภูมิใจในเกียรติที่ ชสค.ได้รับการยอมรับจากนานาชาติ สิ่งหนึ่งที่เราชาว ชสค.ซึ่งเป็นคนไทยอาจจะยังด้อยกว่านานาชาติคือการศื่อสารเป็นภาษาอังกฤษทั้งการพูดและการฟัง...สิ่งนี้ผมเห็นว่าเรายังต้องพัฒนาอีกมากถึงจะเดินบนเวทีนานาชาติได้อย่างสมเกียรติ....นิดเดียวนะครับ...ฝากถึง ท่านผู้จัดการฝ่ายวิชาการและพัฒนา ชสค. (คุณคันศร คมภักดี) ท่านรักษาการผู้จัดการใหญ่ (คุณดาบชัย ใจสู้ศึก) ท่านประธานฯ ชสค. (คุณสุริยา มนตรีภักดิ์) ทั้ง 3 ท่านในนามของ ชสค.คงต้องเร่งพัฒนาความรู้และการวสื่อสารเป็นภาษาอังกฤษให้กับบุคลากรของขบวนการ ชสค.ไม่ว่าจะเป็นเจ้าหน้าที่,กรรมการ,ผู้ตรวจสอบกิจการ ให้สามารถกล้าที่จะแสดงออกและสื่อสารได้อย่างเข้าใจ,มั่นใจ ส่วนวิธีการและโครงการดังกล่าวจะดำเนินการอย่างไรก็ขอให้นำไปพิจารณาด้วยครับ...เพื่อในวันข้างหน้าเรา ชสค.จะสามารถยืนและก้าวเดินบนเวทีเครติดยูเนียนของโลกได้อย่างสง่างามสมเกียรติ ชสค.ตลอดไป

วันศุกร์ที่ 3 และ วันเสาว์ที่ 4 ตุลาคม กับโครงการอบรมผู้นำสหกรณ์ขั้นสูง...เพื่อนๆๆมีโครงงานไปอวดกันบ้างหรือยังครับ...อาจารย์คันศรฯกำชับว่าขอให้ทุกท่านได้ตั้งชื่อโครงงานและให้นำไปเสนอด้วย....ลองดูนะครับ...ผมตั้งชื่อโครงงานไว้ 3 ชื่อ...จะให้ อาจารย์คันศรฯช่วยวิจารณ์ด้วยครับ..และก้อจะขอคำแนะนำจากตัวอย่างของท่านในครั้งนี้ด้วย..หวังว่าคงไม่เป็นการรบกวนนะครับ...อาจารย์ใหญ่ (คุณคันศรฯ)

สวัสดีครับ......

เรียน ท่านอาจารย์จิระ  ท่านประธานสุริยา ท่านรองนิพนธ์ สมพื้น และ ท่านผู้นำฯ รุ่น 1 ที่เคารพ

        ขอขอบพระคุณท่านอาจาร์จิระ  คณาจารย์ผู้สอน และทีมงานมูลนิธิฯ  รวมทั้ง    คณะกรรมการดำเนินการ ช.ส.ค. และ ท่านผู้นำฯ รุ่น 1ทุกท่านที่ทำให้โครงการนี้ดำเนินการได้อย่างดี    และประสบความสำเร็จตามที่มุ่งหวัง  เป็นความภาคภูมิใจแก่ชาวสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยน  และ เป็นกำลังใจที่ดีแก่ทีมบริหารโครงการนี้    หากมีสิ่งใดที่ยังไม่เต็มร้อย กรุณาบอกกล่าว ผมและทีมงานบริหารโครงการ  ขอน้อมรับไปดำเนินการแก้ไขด้วยความเต็มใจครับ  

        มีข่าวดีมาบอกครับ ทางมูลนิธิได้ติดต่อท่าน ศ.ดร ปุรชัย เปี่ยมสมบูรณ์ สุดยอดปรมาจารย์ มาบรรยายพิเศษ (Dinner Talk) ในวันที่ 28 พ.ย. 51  เวลา 17.00 - 18.00 น. ถือเป็นโชคดีของพวกเราแล้วครับ  พลาดไม่ได้ช่วยบอกต่อกันด้วยครับ   

       ท่านรองนิพินธ์ครับ ผมแอบชื่นชมท่านด้วยความจริงใจ    ท่านActive และให้ความสนใจ และเป็นกำลังใจแก่ผู้นำ และ ทีมบริหารเป็นอย่างดี ขอน้อมรับคำแนะนำจากท่าน    เรื่องการพัฒนาบุคลากรด้านภาษาอังกฤษ เห็นด้วยว่าเป็นเรื่องที่สำคัญและจำเป็นอย่างมาก คิดว่าน่าจะบรรจุเป็นโครงการส่งเสริมทักษะด้านภาษาอังกฤษ  ในแผนงานงบประมาณ ช.ส.ค. ในปี 2552     สำหรับเรื่อง โครงงานที่จะต้องส่งในการอบรมครั้งต่อไป ท่านผู้นำทุกท่านอย่ากังวลนะครับหากยังเขียนบทนำความสำคัญของปัญหาไม่ทันก็ไม่เป็นไรครับ อย่างน้อยให้มีชื่อเรื่อง หรือ เค้าโครงที่จะทำโครงการมาให้ชื่นชมกันหน่อยก็ได้ครับ 

       พบกันวันศุกร์ที่ 3 ต.ค. 51 ขอขอบพระคุณทุกท่านอีกครั้งครับ

สวัสดี เพื่อนสมาชิกผู้นำCU รุ่นที่ 1ที่นับถือทุกท่าน

เป็นเวลาหลายวันที่ไม่ได้เข้า blog ผมกลับมาจากงานของ accuจัดประชุมใหญ่สามัญประจำปี 2551 ที่ประเทศบังคลาเทศ มีประเทศสมาชิกเข้าร่วมประชุม ประเภทสามัญ 14 ประเทศ นอกจากนั้นยังเป็นสมาชิกประเภทสมทบและประเภทกิตติมศักดิ์และประเภทสนับสนุน การประชุมดำเนินการไปด้วยดี เราเดินทางไป วันที่ 24 ก.ย. 51 บางคณะกลับในวันที่ 28 ก.ย. 51 ส่วนผมกับรักษาการ ผู้จัดการใหญ่ คุณวีระยุทธ กลับในวันที่ 29 ก.ย. 51 เพราะต่ออยู่ประชุมใหญ่ฯอีกหนึ่งวัน ในวันประชุมใหญ่มีการเลื่อกตั้งกรรมการ accu จำนวน 5 คน มีประเทศที่เสนอเข้ารับการคัดเลือก 11 ประเทศ ตัวแทนของ ช.ส.ค. โดยมีผมเป็นตัวแทนถูกเลือกให้เป็นกรรมการ accu 1ใน 5 โดยมีตัวแทนของ ประเทศเกาหลี เป็นประธานส่วนผมเป็นเหรัญญิกของคณะกรรมการชุดนี้ ก็นับว่าเป็นภาระงานหนึ่งที่ต้องรับมาเพื่อเป็นตัวแทนของขบวนการสกรณ์ในระดับภาคพื้นเอเซีย สิ่งที่ต้องทำคือประสานการเป็นเจ้าภาพในการจัดการประชุมใหญ่สามัญประจำปี ในปีหน้าซึ่ง accu ร่วมกับช.ส.ค. ช.ส.อ. ร่วมกันเป็นเจ้าภาพ

การไปประชุมคราวนี้เราเป็นกรู๊ปที่ใหญ่ที่สุดในการไปร่วมประชุมรองจากประเทศเจ้าภาพ เรานำการแสดงแบบไทยๆไปโชว์ให้นานาประเทศได้เห็นเกิดการยอมรับในสายตาชาวต่างชาติ คือการแสดงรำพลายชุมพล การแต่งตัวลิเก เราได้ลิเกมืออาชีพซึ่งเป็นกรรมการผู้ตรวจสอบกิจการ คือคุณสุวัฒน์ (อั๋น)งานนี้ทุ่มเทเต็มที่เพื่อไทยแลนด์

อย่าลืมติดตามข่าวสารบ้านเมืองเรื่องสังคม เศรษฐกิจ โลกด้วยนะครับวันนี้ไม่รู้เป็นอย่างไร ยักษ์ใหญ่ยังล้มได้เราๆเป็นใครจะล้มไม่ได้ควรระมัดระวังแต่ที่เราเชื่อกันว่าระบบสหกรณ์เป็นระบบที่เข้มแข็งสามารถผ่านเหตุการณ์อย่างนี้มาหลายครั้งหลายคราวแต่ถ้าครั้งนี้เหตุการณ์ผ่านไปได้ก็ยืนยันได้ว่าขบวนการสหกรณ์มีความแขงแกร่งจริงแต่เราอย่าประมาท

เอาไว้คุยกันแค่นี้ก่อนเรื่องของบังคลาเทศจะเล่าให้ฟังในหน้าห้องถ้ามีเวลาอย่าลือมคิดค้นหาปัญหามาเขียนโครงการก็แล้วกัน

สรุปการบรรยายเรื่อง โลกาภิวัตน์ ผลกระทบ และการเตรียมความพร้อมเชิงรุกและเชิงรับ โดย ดร.เฉลิมพล เกิดมณี ในวันที่ 3 ตุลาคม 2551

 

ความเห็นก่อนเรียน จะได้เรียนรู้อะไร

  • การปรับตัวของสหกรณ์ให้เข้ากับโลกาภิวัตน์
  • เตรียมพร้อมต่อผลกระทบโลกาภิวัตน์

 เนื้อหา

  • ในยุคโลกาภิวัตน์ ต้องจัดการ สังเคราะห์ข้อมูลให้ได้ นำมาจัดการ ทุน และคนและสินค้า
  • สิ่งที่สำคัญสุดคือ คน ในอดีต ไทย เมื่อ 30-50 ปีที่แล้ว ขับเคลื่อนโดยทรัพยากร ทำให้ทรัพยากรหมด ต่อมาก็ส่งคนไปทำงานต่างประเทศซึ่งนับเป็นรายได้สูงสุด สังเกตจากรายได้ภาคบริการ
  • เศรษฐกิจล่มเพราะไทยนำเข้าเทคโนโลยีมหาศาล เช่นรถ ก็ต้องหันมาจัดการกับคน
  • ยุคสงครามโลก ฝรั่งเศสปิดอ่าวไทย ไทยเจรจาสงบศึกเพราะฝรั่งเศสมีอาวุธเทคโนโลยี
  • คณะปฏิวัติสิ่งแรกที่ทำคือยึดสื่อ กรมประชาสัมพันธ์ คือ เทคโนโลยี การสื่อสารสำคัญ
  • เศรษฐกิจ อเมริการบกับรัสเซีย ญี่ปุ่นใช้เทคโนโลยีขับเคลื่อนเป็นมหาอำนาจ
  • เทคโนโลยีเป็นเบื้องหลังความสำเร็จของหลายอย่าง
  • อาหารใช้ เทคโนโลยีพันธุ์พืชลูกผสม ปรับปรุงให้มีผลผลิตสูงขึ้นและดีขึ้น
  • นำยีนของมะเขือเทศเขียวตลอดกาล นำไปใส่หนูทำให้หนูอายุยืนถึง 3 เท่า
  • ในอนาคต บัตรประชาชนจะมีการบันทึกรายละเอียดพันธุกรรมของแต่ละคน จะรักษาพยาบาลง่ายขึ้น ทราบว่าเป็นโรคอะไร แพ้ยาอะไร รักษามะเร็ง โดยให้กินแคปซูล ฆ่าเซลล์มะเร็ง
  • GMO เคลื่อนย้ายพันธุกรรมไปใส่ในอีกชนิด นำยีนต้านทานโรคจากสัตว์ไปใส่ถั่วเหลือง แต่อาจมีผลข้างเคียงคือสร้างโปรตีนแปลกปลอม บางคนกินเข้าไปแล้วแพ้ 
  •  เทคโนโลยีพลังงานไม่มีปัญหาถ้ามีแสงแดด
  • เทคโนโลยีพลังงานที่มาแรงคือไฮโดร และพลังงานลม ทำในยุโรป จะใช้มากขึ้น
  • ไทยใช้พลังงานชีวภาพ หมักจากอ้อย มันสำปะหลัง อเมริกานำข้าวโพดมาหมักพลังงานชีวภาพ ยุโรปใช้พลังงานนิวเคลียร์ผลิตไฟฟ้า ฝรั่งเศสใช้ผลิตไฟฟ้าเลี้ยงทั้งทวีปยุโรป
  • ยุคโลกาภิวัตน์ ต้องทำให้คนมีวิจารณญาณวิเคราะห์ข้อมูล
  • วิทยาศาสตร์ ในอนาคตจะเป็นหนึ่งอธิบายทุกศาสตร์ ใช้พลังงานอธิบายสิ่งมีชีวิตและไม่มีชีวิต
  • นาโนเทคโนโลยีมาอธิบายได้เช่น นำน้ำมนต์มาวิเคราะห์ มีการบิดตัวมากกว่าน้ำอื่น นำไปรดต้นไม้โตเร็วกว่า 30%
  • ปี 2006 ความสามารถในการแข่งขันของไทยลดลง  แต่ดีขึ้นในปี 2008 สหกรณ์ต้องคิดสินค้าให้เหมาะสม
  • อัจฉริยะสร้างได้
  • มนุษย์พันธุกรรมต่างกันไม่มาก แต่มีตัวอื่นทำให้เราต่างคือสภาพแวดล้อม
  • หัวหน้าต้องจัดสภาพแวดล้อมให้ลูกน้องนำศักยภาพจากพันธุกรรมมาใช้ในการทำงาน ต้องให้โอกาสคน
  • มนุษย์มีสมองทำให้คนต่างกัน แกนสมอง เป็นสมองดึกดำบรรพ์ มีในไดโนเสาร์ แต่มนุษย์ก็ยังมีอยู่ ทำให้ไม่รู้สึกอะไร สมองแบบสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม เก็บข้อมูล สมองส่วนหน้า (แบบมนุษย์)
  • พัฒนาคนให้มีนวัตกรรมต้องพัฒนา IQ EQ ความฉลาดทางอารมณ์ MQ จริยธรรม สำคัญสุด SQ การเอาตัวรอด
  • บุคลิกคนไทยมี S คือเป็นผู้ฟัง แต่องค์กรต้องมีทั้ง C คนยึดความถูกต้อง D คนกล้าตัดสินใจ S ผู้ฟัง I ชอบเข้าสังคม
  • การพัฒนาลูกน้อง ถามให้คนอยากรู้อยากเห็น ให้กระแทกใจ ให้ลูกน้องคิด  พัฒนาการทำงานเป็นทีมโดยให้รู้ว่าทำงานไม่ได้ถ้าขาดใครไป
  • ถ้ามีปัญญาจะบริหารอื่นๆได้ดีด้วย
  • จากนักจิตวิทยา สามารถพัฒนา EQ ได้ก่อน คือเรียนศิลปะได้ดีก่อน 9 ขวบ และ IQ พัฒนาภายหลังเมื่อโตขึ้น ช่างถาม คิดเชิงเหตุผล
  • คนไทยไม่เก่งคิดนวัตกรรม 
  • กลไกทางปัญญาเกิดขึ้นโดยกระตุ้นให้ใช้ประสาทสัมผัสเก็บข้อมูลให้ได้มากสุดเพื่อนำไปวิเคราะห์และสังเคราะห์
  • ต้องแก้ปัญหาโดยใช้เหตุผลและข้อมูล ณ ขณะนั้น มีประเมินเชื่อความสามารถมนุษย์ คิดเชิงบวก
  • สหกรณ์ต้องศึกษาจุดด้อย จุดเด่น เช่น แก้ปัญหาหนี้นอกระบบ  จุดเด่น เริ่มทำจากสมาชิก มีความพร้อม มีเงิน มีเครือข่าย จุดด้อย การปรับเปลี่ยนคุณภาพสมาชิก แก้โดยอบรมดูงาน ให้โอกาส ช่วยเหลือให้คนได้ประโยชน์ร่วมกับเรา
  • กระบวนการคิดต้องมีเป้าหมายชัด รู้ความถนัดแต่ละคนและคิดนอกกรอบ
  • ปัญหาคือคนไทยมีเป้าหมายไม่ตรงกัน
  • นวัตกรรมต้องเกิดใหม่ ใช้ได้จริง
  • อุปสรรคนวัตกรรมคือ วิถีชีวิตเดิมๆ งานมาก เฉื่อย
  • วิธีสร้างนวัตกรรมคือ เรียนรู้จากประสบการณ์ เทียบจากสิ่งมีชีวิตและไม่มีชีวิต เช่น ญี่ปุ่นสร้างเครื่องทำอุโมงค์โดยดูการทำงานของไส้เดือน
  • การคิดนวัตกรรมแบบง่าย ทำได้โดยเปรียบเทียบของสองสิ่งแล้วนำมาหาจุดร่วมให้ได้ แล้วสร้างสิ่งใหม่ขึ้น
  • คนแต่ละบุคลิกคิดนวัตกรรมต่างกัน
  • นวัตกรรมมีหลายระดับ เช่น ร้านโชห่วย พัฒนาเป็นซุปเปอร์มาร์เก็ตแล้วเป็นค้าทางคอมพิวเตอร์
  • ทำงานต้องเน้นเป้าหมายก่อนเวลา
  • ทำตารางจัดสรรชีวิตเรา อย่าทำแต่งาน
  • ควรมีวิสัยทัศน์กว้างไกล เห็นหรือดูมาก คิดเป็นกลยุทธ์ ทำอย่างมีระบบ

 

 

 

 

 

สวัสดีครับ...เพื่อนผู้นำสหกรณ์ขั้นสูง รุ่น 1 (ชสค.).ผู้บริหารโครงการและเจ้าหน้าที่ ชสค.ที่เกี่ยวข้องทุกท่าน

         เช้าวันนี้เริ่มต้นด้วยบรรยากาศที่สดใส  เพื่อนๆๆต่างทยอยกันเข้าห้องอบรมจนครบ...มีบางท่านที่ต้องบริจากเงินบ้างเนื่องจากอาจจะลืมป้ายชื่อหรืออาจจะมาเข้าห้องประชุมไม่ทันเวลา...แต่ก้อเป็นบรรยากาศที่ชื่นมื่นและเป็นกันเองดีครับ

          เริ่มด้วยเรื่องโลกาภิวัฒน์และผลกระทบรวมทั้งกลยุทธ์เชิงรุกและรับ...ทำให้เราทราบว่าโลกทุกวันนี้เต็มไปและขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยี่ซึ่งล้ำสมัยและพัฒนาด้วยนวัตกรรมตลอดเวลา...อยู่ที่เราจะสามารถปรับตัวให้เข้ากับและอยู่ในโลกแห่งโลกาภิวัฒน์แห่งเทคโนฯเหล่านี้ได้อย่างไร...อาจารย์เฉลิมพลฯ ได้แนะนำได้เติมเต็มซึ่งความรู้ที่เรายังไม่มีหรือยังขาด.ปรับทัศนและจัดกระบวนการทางความคิดให้กับทุกท่านได้เป็นอย่างดี...ขอขอบคุณอาจารย์เฉลิมพลฯ..มา ณ.โอกาสนี้

             เพื่อนๆหลายท่านคงได้ทราบแล้วว่าในปีนี้ ท่านประธานฯ ชสค.ได้รับการคัดเลือกให้ดำรงตำแหน่งเหรัญญิกของ accu ถือว่าท่านประธานฯในนาม ชสค.ได้รับเกียรติอย่างสูงในเวทีเครดิตยูเนียนนานาชาติ  สมควรอย่างยิ่งที่พวงเราทุกคนจะต้องขอแสดงความยินดีและภาคภูมิใจในเกียรติที่ท่านประธานสุริยาฯ ในนามชสค.ได้รับในครั้งนี้

สรุปการบรรยายเรื่อง Team Building โดย รศ.ดร.มนตรี บุญเสนอ ในวันที่ 3 ตุลาคม 2551

  •  ในการทำงานยุคปัจจุบัน ต้องปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง ในรูปแบบที่เหมาะสมกับท่านมากสุด ต้องทำวิเคราะห์จุดอ่อนและจุดแข็ง ทำงานเป็นทีมให้ทุกคนมีส่วนร่วม
  • เวลาทำงานต้องเน้นคุณภาพมาก่อน เน้นความต้องการของลูกค้าที่มีหลากหลาย เน้นปรับปรุงที่กระบวนการลดขั้นตอนให้น้อยลง มีความร่วมมือร่วมใจในทีมงาน มีวินัยในการทำงานของแต่ละคน
  • ปัจจัยความสำเร็จคือ ต้องปรับกระบวนทัศน์ ไม่มีอะไรที่เป็นไปไม่ได้ มีทัศนคติที่ดีมีความคิดเชิงบวก เชื่อมั่นแผนที่วางร่วมกัน
  • บทเรียนจากเกมไม้จิ้มฟัน คือ ต้องคิดนอกกรอบ เพราะคิดแบบเดิมทำให้เปลืองพลังงานแล้วทำไม่สำเร็จ ต้องมีการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง
  • บทเรียนจากเกมตัวเลขคือ เวลารวมกลุ่มใหญ่ต้องมีผู้นำทำกิจกรรม 
  • ผู้นำต้องใช้คนเป็น เช่นใช้คนอายุน้อยทำงานตัวเลข และใช้ผู้อาวุโสทำงานแก้ปัญหาจากประสบการณ์
  • ผู้นำต้องมีจิตใจกว้างขวาง ฟังความเห็นจากผู้ร่วมงาน สร้างศรัทธาบารมี พูดเหมาะสมกับกาลเทศะ มีความยุติธรรม
  • ผู้นำต้องรู้ธรรมชาติของมนุษย์  เช่น บางคนพัฒนาตนเอง บางคนโกงตลอด บางคนนิสัยไม่ดี บางคนเป็นมนุษย์ X ไม่พัฒนาตน บางคนเป็นมนุษย์ Y สนใจใฝ่รู้ รับผิดชอบ
  • ผู้นำต้องทำคนให้เป็นมนุษย์ Y ต้องใช้การกระตุ้น ตัวผู้นำห้ามทำตัวเป็นมนุษย์ X ต้องเข้มงวดต่อตนเอง
  • ต้องเข้าใจความต้องการของมนุษย์  ผู้นำต้องทราบว่า เพื่อนร่วมงานอยู่ในระดับใด ต้องการอะไร เช่น พนักงานภารโรงดีเด่นควรได้รับเงินเพิ่มด้วย นอกเหนือประกาศนียบัตรเชิดชูเกียรติแล้ว 
  • ผู้นำต้องมีข้อมูลมากสุดก่อนตัดสินใจ
  • ผู้นำต้องสร้างบารมีและศรัทธาโดยอย่าปิดข่าวไม่ดี ต้องพูดจริงซื่อสัตย์ตลอดไป อย่ารับรองในสิ่งที่ไม่อยู่ในอำนาจตน อย่าให้เพื่อนร่วมงานเสียหน้า อย่าตำหนิต่อหน้าสาธารณชน ให้เชิญมาคุยตัวต่อตัว ขอบคุณเพื่อนร่วมงานที่สนับสนุนต่อหน้าสาธารณชน
  • ผู้นำต้องมีพลังในตัวสูงและเชื่อมั่นในตนเองแต่อย่าสูงเกินไป ต้องช่วยเหลือผู้อื่นด้วยความเข้าใจอย่างเอื้ออาทร 
  • ผู้นำต้องเก่งคิด เก่งคน เก่งงาน มีสำนึกในบริการ สื่อสารเป็น ซื่อสัตย์และพร้อมรับผิดชอบ
  • บทเรียนจากเกมร้อยใจเป็นหนึ่ง คือเราชนะวันนี้ เราอาจไม่ชนะในอนาคตถ้าไม่ปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง
  • ผู้นำต้องใส่ใจรายละเอียด ต้องไว้ใจเพื่อนร่วมงาน แบ่งปันผลประโยชน์ที่จับต้องได้ ให้คนร่วมทีมแบบเต็มใจ เปิดให้สมาชิกมีโอกาสเจริญเติบโตพอๆกัน มีการยอมรับซึ่งกันและกัน ถ่ายโอนความรู้กันและกัน รวมพลัง
  • บทเรียนจากเกมกู้ระเบิดคือ ต้องบริหารการเปลี่ยนแปลง การสื่อสารในทีมต้องดี
  • ในการทำทีมให้สำเร็จ ต้องเน้นความร่วมมือ ทำให้ความคิดเป็นจริง ตัดสินใจแล้วอย่าเปลี่ยนแปลง มีความแน่นอนชัดเจน ใช้ประโยชน์จากความแตกต่างในทีม ให้รางวัลซึ่งกันและกันในการทำงาน เวลามีอุปสรรค ก็ต้องแสวงหาความช่วยเหลือ อย่าหมดกำลังใจ

 

 

 

ขอบใจมากนะจ๊ะที่ได้สรุปหัวข้อการสัมมนาแต่ละไว้ ซึ่งบางครั้งก็จำไม่ได้ทั้งหมดจะได้มาดูทบทวน

ขอเสนอแนะ อยากให้ทีมงานนำรูปมาลงบ้างเพื่อจะได้มีความรู้จักกันมากขึ้นเพราะบางครั้งในห้องสัมมนาอาจจะต้องสนใจในเนื้อหาการเรียนรู้มากด้วย และการได้ดูรูปเป็นการกระตุ้นความรู้จัก ความคุ้นเคยอีกช่องทางนะคะ

คนกรุงเทพขอค่ะ

nTrang Web nay coi cung hay, vao coi thu di http://thucaithoi.xlphp.net

Trang Web nay coi cung hay, vao coi thu di http://thucaithoi.xlphp.net

คำจันทร์ จันทน์จำปา

โลกาภิวัฒน์ เกิดผลกระทบทางลบให้กับ cu เป็นอย่างมาก เนื่องจากสมาชิกส่วนหนึ่ง วิ่งตามความเจริญทางวัตถุ จึงลืมสัญญา ภารกิจกับcu พอรู้ตัวก็สายเสียแล้ว ไม่สามารถส่งงวดชำระหนี้ได้

ดังนั้นเราจึงต้องพัฒนาบุคคลากรใน cu ให้มีความรู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงสังคมสามารถทวนกระแสได้

เมื่อวานได้ข้อคิดจากการเล่นเกมซึ่งทำให้เห็นว่าผู้นำต้องใช้บุคคลากรให้ถูกกับงานที่ทำจะทำให้องค์กรได้ผลงานที่ดีมีประสิทธิภาพ และต้องมองให้กว้าง การคิดนอกกรอบบ้างบางครั้งจะทำให้เราได้ผลงานทีดีกว่า

เมื่อวานนี้ได้เรียนรู้สิ่งใหม่ในการเป็นผู้นำมากมายเหลือเกิน อาจารย์ถ่ายทอดความรู้และเทคนิคต่างได้ดีเหลือเกิน ขอบคุณอาจารย์มากค่ะ

 

สรุปการบรรยายเรื่อง Leadership in a changing world โดย Mr. Peter Bjork ในวันที่ 4 ตุลาคม 2551

  • สวีเดนเป็นสมาชิกของสหภาพยุโรปอยู่ทางเหนือของยุโรป พื้นที่ใหญ่สุดของยุโรปเหนือ เท่ากับกทม.
  • มี 4 ฤดู หนาวสุด 20 องศาเซลเซียส
  • ประชากร 5%ของสวีเดน  มาเที่ยวไทยแต่ละปี
  • พระราชวงศ์สวีเดนมาไทยทุกปีมีความสัมพันธ์แน่นแฟ้นกับพระราชวงศ์ไทย
  • สวีเดนมีบริษัทข้ามชาติมากอาจเป็นเพราะคนตั้งรางวัลโนเบลตั้งบริษัทขึ้นมา
  • มีอนุสาวรีย์รัชกาลที่ 5 สร้างโดยสวีเดน มีสถาปัตยกรรมไทยและสวีเดน โครงการนี้เป็นหนึ่งในโครงการพระราชดำริ
  • มีงานวิจัยของสวีเดนเกี่ยวกับภาวะผู้นำในโลกที่เปลี่ยนแปลง พบว่า สิ่งทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง คือ กฎหมายเปลี่ยน องค์กรต้องปรับระเบียบด้วย การเปิดการค้าเสรี เช่น การแข่งขันในอุตสาหกรรมการบินต้นทุนต่ำ อุตสาหกรรมการสื่อสารมีคู่แข่งมาก โลกาภิวัตน์ เป็นการเชื่อมต่อกันใช้อินเตอร์เน็ต ปัญหาทางการเงินสวีเดนก็ทราบของไทย ไทยก็ทราบของสวีเดน แต่ละสินค้ามีวัฏจักรสั้นลง เช่นโทรศัพท์มือถือ และคอมพิวเตอร์ออกมาใหม่เรื่อย ทำให้เกิดการพัฒนา และเป็นที่มาของภาวะผู้นำ
  • กลยุทธ์การเปลี่ยนแปลง ได้แก่ การพัฒนาองค์กรโดยกลยุทธ์การเรียนรู้ จากล่างขึ้นบน ทำให้ผลงานและผลทางเศรษฐกิจดีกว่า เพราะให้ทุกคนมีส่วนร่วมในการเรียนรู้การแก้ปัญหาจริงๆ และ การพัฒนาองค์กรโดยจากบนลงล่าง ผู้จัดการส่งผ่านให้ลูกน้อง 
  • ภาวะผู้นำ ในศตวรรษที่ 21 ได้รับความกดดันจากโลกาภิวัตน์และสินค้ามีวัฏจักรสั้นลง องค์กรต้องปรับตัว
  • ภาวะผู้นำสำคัญมากขึ้นเห็นได้จากหลายอย่าง 
  • รูปแบบภาวะผู้นำ ได้รับอิทธิพลจากวัฒนธรรม บริบทองค์กร เครดิตยูเนี่ยนต่างจากธนาคารทำให้ผู้นำไม่เหมือนกัน ผู้นำด้วยกันก็มีอิทธิพลต่อเราเพราะต้องประสานงานกัน รวมทั้งผู้ตามก็มีอิทธิพลต่อรูปแบบภาวะผู้นำ
  • ภาวะผู้นำสามารถเรียนรู้และพัฒนาได้
  • จากวิจัยภาวะผู้นำของอเมริกา วิเคราะห์ผู้นำโดย Managerial Grid ว่ามีแบบที่เน้นคนและแบบที่เน้นงาน ผู้นำที่เน้นคน แต่ไม่เน้นงาน คือ ผู้นำแบบสบายๆ ผู้นำที่เน้นงาน แต่ไม่เน้นคน คือ ผู้นำแบบบังคับบัญชา
  • ผู้นำที่เน้นคนและแบบที่เน้นงานดีที่สุด
  • ต่อมาพบว่ามีความเปลี่ยนแปลงเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย ทำให้เกิดการพัฒนาขึ้น เพราะเป็นการคิดใหม่ ทำใหม่
  • เมื่อวิเคราะห์จะพบรูปแบบผู้นำเพิ่มเติมอีก คือ ผู้นำสบายๆ อ่อนทุกเรื่อง ผู้นำความคิดสร้างสรรค์ เก่งคิดใหม่ แต่อ่อนโครงสร้าง ผลผลิตและความสัมพันธ์ ผู้นำคนดี เก่งความสัมพันธ์ อ่อนคิดใหม่และโครงสร้าง ผลผลิต ผู้นำเป็นทางการ เก่งโครงสร้าง ผลผลิต แต่อ่อนความสัมพันธ์และการคิดใหม่ ผู้นำคนสวน เก่งในการสร้างความเปลี่ยนแปลงและความสัมพันธ์ สนับสนุนให้คนก้าวหน้าแต่ขาดโครงสร้างและการควบคุม ทำให้ผลผลิตไม่เป็นไปตามเป้าหมาย ผู้นำแบบ Transaction เก่งมนุษยสัมพันธ์และผลผลิต แต่คิดใหม่ไม่เป็น ผู้นำแบบผู้ประกอบการ เก่งคิดใหม่ทำใหม่ และทำให้เกิดผลผลิต ในไทยมีผู้ประกอบการมาก ผู้นำชัดเจน เก่งทุกด้าน แต่พบน้อยมาก
  • พัฒนาภาวะผู้นำคือ กระบวนการระยะยาว  ผู้นำเราต้องการแบบผู้นำชัดเจน โครงการนี้เป็นส่วนที่สำคัญในการพัฒนาภาวะผู้นำ
  • ภาวะผู้นำวัดโดยใช้วิธีวัด 360 องศา Farax วัดโครงสร้าง ความสัมพันธ์และการเปลี่ยนแปลงโดยเปรียบเทียบการประเมินตนเองกับการประเมินจากผู้อื่น
  • เราต้องให้ความสำคัญกับความสัมพันธ์ และต้องค่อยๆพัฒนา
  • ต้องนำมาใช้ให้เหมาะสมกับวัฒนธรรมและสภาพแวดล้อม

 

Mr. Peter Bjork ตอบคำถาม

1. ในสวีเดน มี credit union หรือเปล่า

ตอบนสวีเดน มี credit union บางแห่งเปลี่ยนเป็นธนาคารแล้ว และก็มีสหกรณ์ประเภทอื่นด้วย

 

2. สมาชิก credit union ไทยมีพื้นฐานต่างกันจะทำ'งานร่วมกันอย่างไร

 ตอบ นำความแตกต่างมาถ้าให้คนมีส่วนร่วมกำหนดวิสัยทัศน์ เป้าหมายให้ชัดเจน

สรุปการบรรยายเรื่อง จากแนวคิดทางการตลาดสู่การปรับใช้กับการทำงานของสหกรณ์  โดย  อาจารย์สมชาย สาโรวาท ในวันที่ 4 ตุลาคม 2551

  • PHILLIP  KOTLER กล่าวว่า การตลาด  คือ ขบวนการทางสังคม ซึ่งบุคคลและกลุ่มได้รับสิ่งที่เขาจำเป็นและต้องการผ่านการสรรสร้างและการแลกเปลี่ยนผลิตภัณฑ์และมูลค่าจากผู้อื่น
  • การตลาดสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นของคน แต่ผลิตภัณฑ์ใหม่ๆก็ไปทำลายสิ่งแวดล้อม ทำลายวิถีชีวิตแบบชาวบ้าน
  • การตลาดมีความสำคัญต่อเศรษฐกิจโลก ตอนหลังก็มีการขยายตลาดไปตามภูมิภาคต่างๆ
  • วิสัยทัศน์การตลาด มีหลากหลาย สังเกตจากตัวอย่าง เช่น บริษัทอเมริกา นูสกิน ขายข้อมูลลูกค้า ทำให้รายได้เพิ่มขึ้นและ ได้เงินมากกว่าขายสินค้าKTC เพิ่มยอดบัตรเครดิตได้มากที่สุด มีโปรโมชั่นมาก มีลูกค้ามากแต่ขาดทุน 
  • การตลาดมีความซับซ้อนมากขึ้น คู่แข่งมากขึ้นจากทั่วโลก ต้องใช้กลยุทธ์มากมายจัดการกับปัจจัยแวดล้อม
  • ความต้องการ (Demand) ในทางการตลาด หมายถึง ความต้องการที่มีกำลังซื้อเท่านั้น มีเงินซื้อ
  • ตลาดมีความหมายกว้างขึ้น รวมถึงตลาดในต่างประเทศและการค้าทางอินเตอร์เน็ต
  • ต้องมีการวิเคราะห์ทางการตลาดก่อนทำธุรกิจ คนไทยมักไม่ค่อยติดตามผลจึงทำไม่สำเร็จ
  • PHILLIP  KOTLER มีหลักการกำหนดพื้นฐานทางการตลาดของธุรกิจดังนี้

   1.    เน้นผลิตสินค้าคุณภาพ Production Concept บางทีก็เน้นผลิตสินค้าพอใช้ได้ไม่ต้องมีคุณภาพสูงนัก

   2.    เน้นการขาย Selling Concept ต้องนำสินค้าไปเสนอลูกค้า ใช้กับธุรกิจที่ต้องกระตุ้นจึงซื้อ เช่น ประกันภัย

   3.    เน้นการตลาด Marketing Concept มองความพอใจของลูกค้า และสินค้าต้องดีกว่าคู่แข่ง

   4.    Social Marketing Concept นับเป็นสุดยอดการตลอด ต้องทำให้สังคมดีขึ้นด้วย

  •  ขบวนการการตลาด

         1.วิเคราะห์ทางการตลาด เช่น คู่แข่ง ช่องทาง การเจริญเติบโตของลูกค้า มีการพัฒนาสินค้าเพื่อผู้สูงอายุมากขึ้น พฤติกรรมการบริโภคของสังคม วิกฤติต่างๆต้องนึกถึงเพราะโลกเล็กลง

         2. เลือกตลาดเป้าหมาย เช่น ตามภูมิศาสตร์ ตามประชากรศาสตร์ ตามจิตวิทยาบุคลิก ตามพฤติกรรมการซื้อ ต้องเลือกตลาดที่ถนัดและได้เปรียบกว่าคนอื่น

         3. เลือกกลยุทธ์ เช่น ใช้ส่วนผสมทางการตลาด 4P ของ PHILLIP KOTLER คือสินค้า (Product) ราคา (Price) การส่งเสริมการตลาด (Promotion) ช่องทางการจัดจำหน่าย (Place)

         4. วางแผน ใช้ 1 ใน 4P เป็นตัวนำ เช่น สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนใช้สินค้าเป็นตัวนำ หลักอุดมการณ์ บริการ เงินปันผล

        5. ปฏิบัติการและประเมินผล เช่นประเมินฝ่ายการตลาด การเปลี่ยนแผนสู่การปฏิบัติ การรายงานผล

  • กลยุทธ์จะอยู่ในส่วนสุดท้ายของแผน กลยุทธ์คือ แผนงานหลักขององค์กรในรูปแบบของการดำเนินการในกรอบของนโยบาย เพื่อให้เกิดความสำเร็จตามเป้าหมายเพื่อวัตถุประสงค์องค์กร
  • อาจารย์สมชายสำรวจภาพลักษณ์สหกรณ์ พบว่า คนนอกมองว่า สหกรณ์เป็นองค์กรของคนที่รวมตัวกัน ซึ่งส่วนมากเป็นเกษตรกรและผู้ใช้แรงงาน มุ่งอำนาจต่อรองกับส่วนอื่นๆ เพื่อประโยชน์ของสมาชิก  เป็นเครื่องมือของรัฐ ในการพัฒนาเศรษฐกิจ  ไม่มุ่งเน้นผลกำไรแบบธุรกิจ  ระบบงานแบบพื้นฐาน ไม่ทันสมัย
  • ควรชี้แจงให้คนนอกรู้ความจริงเกี่ยวกับสหกรณ์
  • การประยุกต์ใช้การตลาดในการทำงานสหกรณ์ ได้แก่ การวิเคราะห์สิ่งแวดล้อมทางการตลาด การเลือกตลาดเป้าหมายให้ถูกต้อง การเลือกกลยุทธ์ทางการตลาดอย่างมีประสิทธิภาพ การดำเนินงานและการควบคุมอย่างได้ผล

 

แสดงความเห็นวิสัยทัศน์การตลาดสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยน

  • สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนเน้นวิสัยทัศน์การตลาด คือ เพิ่มคุณภาพชีวิตให้แก่ผู้บริโภค กินดีอยู่ดี แก้ปัญหาชีวิตประจำวัน เพิ่มความมั่นคงมีสวัสดิการช่วยให้มีเงินเก็บ มีที่ปรึกษาที่ดีด้านการประกอบอาชีพ
  • สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนแพร่ มีวิสัยทัศน์ กินอิ่ม นอนอุ่น และมีออม
  • สร้างสมาชิกให้เกิดปัญญา มีศีลธรรม มีอบรมเรื่องจิตตารมณ์

 ความเห็นอาจารย์สมชาย

  • ความมั่นคงทำให้สมาชิกมีความมั่นใจและสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนควรเน้นด้านนี้
  • สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนควรเน้นที่เหมาะกับวัตถุประสงค์ ไม่ใช่เน้นกำไรอย่างเดียว
  • การตลาดที่ดีต้องตอบสนองความต้องการและความพอใจของผู้ซื้อและผู้ขาย
  • ต้องทำการตลาดให้มีความรับผิดชอบต่อสังคม

การแลกเปลี่ยนความเห็นระหว่างอาจารย์สมชาย สาโรวาทและผู้เข้าร่วมสัมมนา

คำถามจากอาจารย์สมชาย

แอมเวย์มีจุดแข็งอะไร

 

ตอบ แอมเวย์มีจุดแข็งคือ แผนการตลาด แบ่งปันผลประโยชน์ลงตัว ผลิตสินค้าตรงตามความต้องการลูกค้า ไม่พอใจยินดีคืนเงิน 100% แต่ผมไม่ชอบรูปแบบการขายเพราะราคาแพง แต่เป็นเพราะคุณภาพดีเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

 

ความเห็นจากอาจารย์สมชาย

แอมเวย์มีช่องทางจัดจำหน่ายที่ดี

 

คำถามจากอาจารย์สมชาย

สินค้าอะไรของสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนดีกว่าธนาคาร และชนิดใดเสียเปรียบ

 

ตอบ

สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนมีทุกคนเป็นเจ้าของ แต่ธนาคารมี บางตระกูลเป็นเจ้าของ

หุ้นมาก เสียงมาก สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยน มีเจ้าของและลูกค้าคนเดียวกัน

กู้เงินแล้วตาย ไม่ต้องใช้คืน คนค้ำประกันไม่เดือดร้อน ถ้าเสียชีวิต แต่มีเงินฝาก ทางสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนจะสมทบให้อีก 100 % บริการกู้ยืมได้รวดเร็ว ใช้เครดิตค้ำ กู้เงิน 300,000 บาท ไม่ต้องใช้หลักทรัพย์ แต่ก็ไม่มีหนี้สูญ ส่วนธนาคาร มีเจ้าของและลูกค้าไม่ใช่คนเดียวกัน

 

คำถามจากอาจารย์สมชาย

สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนคิดพัฒนาสินค้าอะไรเพิ่มหรือไม่

ตอบ

สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยน ให้สวัสดิการแก่สมาชิกทุกกรณี และมีสวัสดิการช่วยเหลือชุมชนที่เราอยู่ มีเงินให้ผู้สูงอายุอายุเกิน 70 ปี

 

ความเห็นจากอาจารย์สมชาย

สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนมีตลาดที่กว้างมาก ต้องเลือกลูกค้ากลุ่มเป้าหมาย ระบบสำคัญกว่าบุคคล

 

ความเห็นของผู้เข้าร่วมสัมมนา

สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนมีการดำเนินการที่ไม่เหมือนกัน ผู้นำต้องมีจริยธรรม จะทำให้มีสมาชิกมาก

 

 

 

 

 

จากการที่ได้เข้ารับฟังการอบรมจากอาจารย์ทั้ง 2 วัน ทำให้เราได้รับความรู้ใหม่ ๆ มากมายและเทคนิคในการทำงานกับคนส่วนมากการบริหารงานในองค์กรต้องทำอย่างไรและต้องมีวิสัยทัศน์ใหม่ ๆ ในการบริหารงานกับลูกน้องการใช้คนให้ถุกกับงานการคิดนอกกรอบบ้างไม่ใช่คิดอยู่แบบเดิม ๆ ก็จะไม่ทันกับเหตุการณ์บ้านเมืองที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาเราต้องหมั่นหาความรู้ใหม่ ๆ และต้องอ่านหนังสืออ่านข่าวอยู่ตลอดเวลา หลักสูตรนี้เรียนแล้วคุ้มจริง ๆ

ผลการประชุมกลุ่มย่อย

ตอบคำถาม Mr. Peter Bjork ต่อไปนี้

1.       รูปแบบภาวะผู้นำในสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนเป็นแบบใด

2.       ผู้นำแบบใดสำคัญที่สุด ต้องการให้มีผู้นำแบบใดในอนาคต

3.       ยกตัวอย่างผู้นำที่เก่งด้านความสัมพันธ์ โครงสร้าง (ผลผลิต) และการเปลี่ยนแปลง

กลุ่มที่นำเสนอเป็นลำดับที่ 1

  • เจ้าสัวธานินทร์ เจียรวนนท์ กล้าเปลี่ยนแปลงประเทศ ไทย ครัวไทยสู่ครัวโลก เปลี่ยนวิกฤติให้เป็นโอกาส รวมสหกรณ์ปลูกข้าวในพื้นที่ ทางเหนือปลูกส้ม นำส่งออก นี่คือนวัตกรรม ผู้นำต้องลดโครงสร้าง ทำงานให้เร็วสุด มองทุกคนให้มีค่าเท่ากัน ใช้ระบบเชื่อมโยงโครงสร้างความสัมพันธ์และการเปลี่ยนแปลง เจ้าสัวธานินทร์นำทุกอย่างมาปฏิบัติได้จริง

กลุ่มที่นำเสนอเป็นลำดับที่ 2

  • เรามีผู้นำมีแบบสบายๆ
  • ต้องการผู้นำเก่ง 3ด้านคือ ด้านโครงสร้าง ความสัมพันธ์และการเปลี่ยนแปลง
  • ตัวอย่างผู้นำ ได้แก่
  • ธานินทร์ เจียรวนนท์
  • พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเชิงบวกตลอด
  • พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตรเก่งเปลี่ยนแปลงบวกและลบ
  • ต้องการผู้นำชัดเจน

กลุ่มที่นำเสนอเป็นลำดับที่ 3

  • ต้องการผู้นำชัดเจน

กลุ่มที่นำเสนอเป็นลำดับที่ 4

  • ผู้นำที่สำคัญสุด super leader กล้าคิด กล้าทำ กล้าตัดสินใจ โปร่งใส
  • ตัวอย่างผู้นำ ได้แก่ Jack Welch

กลุ่มที่นำเสนอเป็นลำดับที่ 5 

  • สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนเรามีผู้นำคนดี และ transactional 
  • เราต้องการผู้นำความคิดสร้างสรรค์และtransaction
  • ตัวอย่างผู้นำ ได้แก่ ลีกวนยู

กลุ่มที่นำเสนอเป็นลำดับที่ 6

  • ประธานฟรีเทรดเครดิตยูเนี่ยนเป็นผู้นำคนดีและผู้นำแบบผู้ประกอบการ
  • ตัวอย่างผู้นำ ได้แก่ นายสนธิ ลิ้มทองกุล เป็นผู้นำชัดเจน วิสัยทัศน์ชัดและนำประเทศไทยไปสู่ประชาธิปไตย

 กลุ่มที่นำเสนอเป็นลำดับที่ 7

  • ผู้นำแบบ Nominee ได้แก่ นายสมัคร สุนทรเวช และนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์
  • ผู้นำการเปลี่ยนแปลงได้แก่ นายสนธิ ลิ้มทองกุล

 

 

สวัดีครับ......

         หลังจากจบการอบรมเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมาผมยังไม่ได้เข้ามาในบล๊อกของอาจารย์จิระฯเลยครับ....เพื่อนๆๆเป็นอย่างไรกันบ้าง...คงบายดรกันทุกคน...หรือว่ากำลังเตรียมตัวเตรียมใจเพื่อเข้ารับการอบรมและไปดูงานที่ธนาคารกสิกรไทย...ตลอดจนเดือนหน้าเราจะเดินทางไปดูงานสถานที่จริงที่ประเทศเกาหลีใต้....ถือเป็นประสบการณ์อันมีค่าสูงุดนะครับ

           พูดแล้วก้ออดที่จะชมเชยฝ่ายวิชาการและพัฒนาโดยคุณคันศร คมภักดี ผู้จัดการฝ่าย..และที่จะละเลยเสียมิได้ก้อคือกลุ่มงานฝึกอบรมและวิจัย...โดยหัวหน้างานฝึกอบรมและวิจัย..คุณจันทร์จิราฯ.คนเก่งของ ชสค.  ถึงแม้จะน้อยด้วยบุคคลากรแต่คุณภาพของงานอบรมและวิจัยมิได้อยคุณภาพแต่อย่างใด...ขอชมเชยครับ

             ส่วนเรื่องการฝึกทักษะภาษาต่างประเทศให้แก่บุคคลากรของ ชสค...ก้อขอฝากให้ฝ่ายวิชาการและพัฒนาช่วยเป็นธุระเพื่อให้โครงการดังกล่าวเกิดขึ้นให้ได้เป็นรูปธรรมเสียที...อย่างน้อยก้อเป็นการเตรียมพร้อมเพื่อการเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมใหญ่ของ ACCU  ของประเทศไทยในปีหน้านะครับ

สรุปการบรรยายเรื่อง เทคโนโลยีสารสนเทศสำหรับผู้บริหารสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยน โดย ดร.ปรีชา สิทธิกรณ์ไกร ในวันที่ 17 ตุลาคม 2551

        ·       สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนหลายประเทศบริการสมาชิกผ่านระบบโทรศัพท์

·       เทคโนโลยีสารสนเทศไม่ใช่คอมพิวเตอร์อย่างเดียว เช่น เครดิตยูเนี่ยนมีทีวีวงจรปิดเพื่อป้องกันการโจรกรรม นับเป็นเทคโนโลยีสารสนเทศไว้บันทึกเหตุการณ์

·       บางเครดิตยูเนี่ยนในบางประเทศเปิดเป็นแผงให้บริการ เครดิตยูเนี่ยนไทยอยู่ในระดับกลางๆ

·       การจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศเน้นถูกต้อง ทันต่อการใช้งาน เน้นความสมบูรณ์รวบรวมข้อมูล มีแฟ้มเป็นระบบ บางอย่างเปลี่ยนเป็นดิจิตอลไม่ได้ เช่น สัญญากู้ต้องลงลายมือชื่อ แต่ก็ถือเป็นสารสนเทศ เวลาค้นให้ดูจากคอมพิวเตอร์ เก็บสัญญากู้ไว้ที่ห้องมั่นคง ตู้เซฟ บริษัทฝากเก็บ โดยมีรหัสฝากเก็บ

·       ข้อมูลสารสนเทศที่ดีต้องมี

o      ความกะทัดรัด

o      ความละเอียดแม่นยำ แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าจะถูกต้องเสมอไป

o      ความน่าเชื่อถือ โปรแกรมบัญชีที่ดีต้องมี ไม่ควรใช้เอ็กเซลทำบัญชีเพราะไม่รู้แก้อย่างไร ตรงไหน

o      การยอมรับจากกลุ่มผู้ใช้ ควรมีข้อมูลหลายรูปแบบ

o      ง่ายในการใช้

·       ข้อมูลสารสนเทศส่วนใหญ่อยู่ในทะเบียน ควรจัดเป็นระบบ เป็นหลักฐานประกอบการลงบัญชี เขียนด้วย Visual Basic, Oracle (เชื่อมเอทีเอ็มออนไลน์กับธนาคาร) ถ้าไม่เชื่อม ควรใช้ Microsoft SQL (ทำรายการผ่านระบบอินเตอร์เน็ต)

·       ต้องวางฐานข้อมูลให้ใช้ได้ในระยะยาวด้วย ต้องสามารถ upgrade ได้ เพราะเทคโนโลยีก้าวไปไกล

·       โปรแกรมเงินฝาก ทะเบียนสมาชิก ต้องแยกเป็นโปรแกรมย่อยๆ เพราะมีรายละเอียดต่างกันไป คนเขียนโปรแกรมก็ต้องคิดถึงเรื่องนี้ด้วย

·       ตอนนี้มีสถาบันการเงินมากมาย ทุกอย่างต้องเรียนรู้จากกัน แต่ละประเทศมีระบบที่พัฒนาต่างกัน ที่เกาหลีมีสหกรณ์ ใหญ่สุดคือชุมนุมสหกรณ์การเกษตร เครดิตชุมชน(ออมทรัพย์) และเครดิตยูเนี่ยนตามลำดับ

·       บางประเทศดูลายเซ็นในระบบ แต่สหกรณ์ไทยอยู่ในระยะที่สอง ใช้ไฟม่วงส่องลายเซ็น แต่สหกรณ์การเกษตรยังใช้เปรียบเทียบกับการ์ด ทั้งสองระบบนี้โกงง่าย

·       ต้องทำสารสนเทศในเครื่องให้มั่นคง หลายอย่างไม่มีโปรแกรมที่เขียน

·       การทำรายงานประชุม เรายังใช้ Word อยู่ ปัญหาคือลืมเปลี่ยนของเดิม ควรใช้ Mail merge ปรับสัญญา Word ให้เปลี่ยนเฉพาะชื่อผู้กู้ วันที่ และจำนวนเงินแต่ อย่างอื่นเหมือนเดิม

·       อนาคต สหกรณ์จะมี e-document เพราะมีการสแกนเอกสาร เวลาดู ก็ให้ดูในคอมพิวเตอร์

·       ควรทำไฟล์เป็น Query ไว้เป็นรายงานแบบยืดหยุ่นนำไปต่อยอดได้

·       สหกรณ์ยังมีปัญหาความปลอดภัยของระบบ

·       สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนต่างประเทศมีการบริการออนไลน์ผ่านเว็บไซต์

·       บริการ e-commerce เช่น ผ้าไหมขายผ่าน ตู้โชว์เครือข่าย และ e-commerce

·       e-business ธุรกิจเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์

·       นักศึกษาปริญญาโทของดร.ปรีชาวิจัยพบว่า ปัจจัยในการซื้อเทคโนโลยีสารสนเทศ คือ ง่าย ใช้สะดวก ตรงตามความต้องการ มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ราคาถูก

·       สารสนเทศสหกรณ์ขาดความเชื่อมโยงกับระบบงานอื่นได้ยังไม่ตอบสนองระดับการตัดสินใจของผู้บริหาร ยังตัดสินใจจากประสบการณ์มากกว่า

·       จ้าง software house ของสหกรณ์มักไม่ใหญ่เพราะมีเอกชนเข้ามาทำให้ไม่มาก มีปัญหาในการส่งต่องาน

·       Software ของกรมตรวจบัญชีเหมาะสมกับสหกรณ์ระดับเล็กมีข้อจำกัดการเชื่อมโยง

·       ในอนาคต ชสค.ต้องทำ software มาตรฐานคือระบบกลาง แล้วใช้ทุกกับสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยน  ตอนใหม่ๆจะต้องกำหนดมาตรฐาน เหมาะกับสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยน ขนาดเล็กและกลาง เน้น ขั้นตอนบริการ บัญชีทุกรายการที่ดีต้องลงบัญชีในตัวเอง ต้องทำมาตรฐานตามขนาดขององค์กรด้วย ตามต้นทุนค่าใช้จ่ายที่ต่างกันไปต้องมีโปรแกรมมาตรฐาน รหัสมาตรฐาน (ทำให้ทราบว่ามาจากสหกรณ์ใด)  ต้องทำมาตรฐานความปลอดภัยเครือข่าย ป้องกันการเข้าถึงโจรภัย สามารถบริการตอนไฟดับได้ 120 นาที มีสำรองข้อมูลไว้เป็นระยะไปที่ห้องมั่นคง

·       ซอฟแวร์หลักต้องเน้นทะเบียนสมาชิก เงินฝาก เงินกู้

·       ในอนาคต สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยน ควรมี

o      เอทีเอ็ม

o      สาขาออนไลน์

o      บริการสหกรณ์ 24 ชั่วโมง มีเอทีเอ็มออนไลน์ มีระบบเว็บไซต์เช็คยอดเงิน มีบริการทางโทรศัพท์ มีแห่งแรกในไทยที่สหกรณ์ออมทรัพย์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มีบริการฝากถอนผ่านธนาคารไทยพาณิชย์ (บัญชีเดินสะพัด) ปรับสมุดคู่ฝาก มีรายการข้อมูลสมาชิกสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนควรทำเชื่อมโยงสหกรณ์กับชุมนุม

o      ควรมีทางเชื่อมทางพิเศษมาทำงานตอนโปรแกรมเมอร์ไม่อยู่ ทำให้เจ้าหน้าที่ทำงานต่อยอดได้

 

·       การประยุกต์เทคโนโลยีเช่น

o      สำนักงานอัตโนมัติ เช่น แฟ็กซ์ คอมพิวเตอร์ ระบบคิวทำให้ทราบระยะเวลาในการบริการ

o      ประเมินผลการทำงานได้ ปัจจุบันสมาชิกต้องการบริการที่รวดเร็ว

o      Intranet เช่น e-report, e-form ต้องมีรหัสผ่านจึงจะเข้าได้ เป็นข้อ มูลสำหรับคนวงใน

o      Internet Application (.net) ใช้ visual basic เขียนได้ ต้องออกแบบให้ดี อ่านเฉพาะที่จำเป็น

o      Teleconference ประชุมทางไกล สหกรณ์ออมทรัพย์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์มีแล้ว

o      สามารถทำได้ง่ายๆโดยใช้ Microsoft MSN แต่คุณภาพยังไม่ดี

o      บริการสอบถามข้อมูลอัตโนมัติหน้าจอสัมผัส (KIOSK) ต้องมีรูปแบบง่ายๆ และรูดบัตรสมาชิกก่อน

o      บริการสหกรณ์ทางอินเตอร์เน็ต ต่างประเทศทำแล้ว เช่น ออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ครอบคลุมพื้นที่กว้าง ไทยทำไม่ได้เพราะทับเส้นทางทำกินของสหกรณ์อื่น

o      เว็บบอร์ด ต้องระวังคดีหมิ่นประมาทและพระราชบัญญัติข้อมูลคอมพิวเตอร์ ทำแบบฟอร์มคำร้องอินเตอร์เน็ต

·       ในสหกรณ์ มีวัตถุประสงค์พิเศษ print ใบจดจำนอง รูป ต้องออกแบบการใช้งาน printer ให้เหมาะสม ต้องมองสารสนเทศอย่างเป็นระบบ ทำให้ทุกอย่างเป็นระบบสารสนเทศ เช่น ระบบคิว บันทึกเวลาเข้าออกของพนักงาน Teleconference โทรทัศน์วงจรปิด การสำรองไฟให้ทั้งระบบ โทรศัพท์ โทรสาร SMS MMS

·       E-Office เน้นใช้กระดาษให้น้อยในการแจ้งข้อมูล

·       ระบบบริการสาขาแบบเคลื่อนที่ สหกรณ์การไฟฟ้านครหลวงทำแล้ว แจ้งวันว่ารถบริการจะไปที่ใด เพื่อให้บริการ จะทำให้เกิดการฝากในพื้นที่ไกล และเก็บหนี้ ตอนนี้ดร.ปรีชากำลังให้นักศึกษาปริญญาโททำวิจัยพยายามค้นหาต้นทุน อุปกรณ์ที่เหมาะสม คลื่นไมโครเวฟสำหรับออนไลน์ ควรทำกิจกรรมเป็นวันๆเพื่อส่งเสริมระบบบริการสาขาแบบเคลื่อนที่

·       เทคโนโลยีที่เข้าถึงคนต้องมีกิจกรรมเชิงรุกเข้าหาคน มีการพัฒนาต่อเนื่อง ต้องลงทุนระยะยาว

·       ควรเพิ่มสาขาต้นทุนต่ำในพื้นที่ที่ไกล ใช้คนน้อย อุปกรณ์มาก

·       การใช้เทคโนโลยีอย่างฉลาดต้องเน้นความเหมาะสมเป็นสำคัญไม่ต้องล้ำสมัยเกินไป

 

ช่วงถาม-ตอบ

 

ถาม วิธีป้องกันการปลอมแปลงบัตรเครดิตเป็นอย่างไร

ตอบ ในมาเลเซียและอิตาลี มีแก๊งปลอมแปลงบัตรเครดิตมาก แก๊งจีนมีการปลอมบัตรเอทีเอ็มโดยมีนกต่อมาหลอกว่าถูกรางวัลแล้วหลอกถามเลขบัญชี เลขบัตรประชาชนแล้วถอนเงินออกไป

 

ถาม การทำธุรกรรมผ่านอินเตอร์เน็ตก็เป็นการดี มีการทำรถmobile ปัญหาคือบางแห่งไม่มีไฟฟ้า ไม่มีอินเตอร์เน็ต อยากให้ชำระเงินข้ามพื้นที่ได้ ยังมีปัญหาระบบ

ตอบ ต้องปรับให้เป็นมาตรฐานกลางก่อนจะได้โอนเงินกันได้ ต้องใช้คลื่นไมโครเวฟในการทำสาขาเคลื่อนที่เพราะเป็นพลังงานมาจากฟ้ามีทุกแห่ง

สรุปความรู้ที่ได้รับจากการดูงาน ณ ธนาคารกสิกรไทย ในวันที่ 17 ตุลาคม 2551

วีดิทัศน์ แนะนำธนาคารกสิกรไทย

·       ธนาคารกสิกรไทยมีนวัตกรรมทางการเงินเพิ่มความสะดวกและสร้างกิจการให้เข้มแข็ง

·       แบรนด์ของธนาคารกสิกรไทยเน้นประสบการณ์ที่ลูกค้าได้รับ ธนาคารอยากให้บริการที่ดีที่สุดแก่ลูกค้า มีมาตรฐานเป็นหนึ่งเดียวโดยมุ่งตอบสนองลูกค้าทุกกลุ่ม

·       เป็นเวลากว่า 60 ปีมาแล้วที่ธนาคารกสิกรไทยได้วางรากฐาน ตั้งแต่นายโชติ ล่ำซำตั้งธนาคารกสิกรไทยขึ้นเมื่อวันที่ 8 มิถุนายน 2488

·       ธนาคารกสิกรไทยเติบโตพร้อมกับการขยายตัวทางเศรษฐกิจ มีการปฏิวัติระบบธนาคาร เมื่อปี 2538 ได้ย้ายสำนักงานใหญ่มาที่ราษฎร์บูรณะ ทำงานมีประสิทธิภาพสูงขึ้นและใช้พนักงานน้อยลง

·       ธนาคารกสิกรไทยได้คิดค้นบริการให้เป็นที่ยอมรับทั้งในและต่างประเทศ มีดารพัฒนาคุณภาพโดยใช้เทคโนโลยี มีการป้องกันความเสี่ยงและมีระบบสารสนเทศให้ข้อมูลธุรกิจเพื่อให้สามารถบริหารความเสี่ยง

·       นอกจากนี้มีกิจกรรมช่วยเหลือสังคม

·       ธนาคารกสิกรไทยมุ่งทำงานตอบสนองปณิธานบริการทุกระดับประทับใจ

การบรรยายเรื่อง การบริหารการเงินอย่างมีประสิทธิภาพ

โดย คุณวีระชัย อมรรัตน์ ผู้บริหารผลิตภัณฑ์เงินฝากและค่าธรรมเนียมธุรกิจลูกค้า สายงานธุรกิจลูกค้าบุคคลและเครือข่ายบริการ ธนาคารกสิกรไทย

·       ในความเห็น คิดว่า สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนบริหารเงินได้ดีมาก มีส่วนต่างจากเงินกู้และเงินฝากสูงมาก

·       โครงสร้างสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนจะเน้นการบริหารลูกค้า

·       โฆษณาของธนาคารกสิกรไทยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ลูกค้ารู้จัก เมื่อก่อน ทางธนาคารปล่อยสินเชื่อแต่จะไม่ค่อยเข้าใจลูกค้า

·       ผู้บริหารต้องสื่อสารออกมาว่าลูกค้ามีแบบที่เป็นบริษัทใหญ่และบุคคลธรรมดา

·       แนวคิดเน้นธุรกิจไร้ขีดจำกัดสื่อให้เห็นว่า ในปัจจุบันนี้บริษัทใหญ่ๆต้องหาตลาดใหม่ และต้องพัฒนาคนให้มีความรู้และตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้

·       แนวคิดเน้นชีวิตเอกเขนก ก็ทำให้ธนาคารพัฒนาบริการที่ตอบโจทย์วงจรชีวิตลูกค้าได้

·       ธนาคารกสิกรไทยมี Segment Manager เพื่อดูแลลูกค้า 7 กลุ่ม

·       ธนาคารกสิกรไทยมีกรอบในการพัฒนาผลิตภัณฑ์คือ

1.       วิเคราะห์ตลาดโดย วิเคราะห์ความต้องการของชุมชนแล้วนำมาพัฒนาการบริการ ศึกษาประชากรศาสตร์ พฤติกรรมผู้บริโภคและคู่แข่ง

2.       วางแผนผลิตภัณฑ์ เช่นการปรับปรุงเงินฝาก เงินกู้ วิเคราะห์ความเป็นไปได้ของการลงทุน

3.       พัฒนาผลิตภัณฑ์โดยมีการสื่อสารข้อมูลผลิตภัณฑ์ ประเมินผลสำเร็จในการสื่อสาร

·       มุมมองที่มีต่อสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยน

o      ปัจจุบันมีสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยน 1,200 แห่ง

o      ในปี 2540 ชุมนุมสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนมีการเติบโตมากทั้งในด้านเงินกู้ เงินฝาก ทรัพย์สิน และเงินกู้ค้างชำระ

o      แต่สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนก็เท่ากับสร้างความสำเร็จในชุมชน เพราะการปล่อยกู้ของสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนมีทั้งในกรณีฉุกเฉินและกรณีสามัญเพื่อส่งเสริมอาชีพ

o      ในการบริหารความเสี่ยง สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนควรดูกระแสรับ-จ่าย สภาพคล่องว่าผู้กู้เงินมีความสามารถในการจ่ายคืนหรือไม่และมีประโยชน์ในการวางแผนระดมเงินฝากมาสนับสนุนในการปล่อยสินเชื่อ

 

คำถามจากผู้ฟัง

ถาม        วิกฤติแฮมเบอร์เกอร์มีผลกระทบอย่างไรต่อธนาคาร

ตอบ       ธนาคารที่ลงทุนตราสารหนี้แล้วมีสินเชื่อ Back up ตราสารนั้นถูกประเมินแล้วมูลค่าลดลง ธนาคารต้องสำรองไปก่อน แต่ธนาคารกสิกรไทยไม่ลงทุนตราสารแบบนั้น เราลงทุนแต่ตราสารรัฐบาลเพราะความเสี่ยงต่ำนอกจากนี้ วิกฤติแฮมเบอร์เกอร์มีผลต่อความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจหลายบริษัทที่จะระดมทุน พอตลาดทุนมีปัญหา ก็จะไปตลาดเงิน พยายามขอวงเงินสินเชื่อใช้ ไทยต้องพึ่งพารายได้จาดการส่งออกไปยังสหรัฐและยุโรป ทำให้เกิดปัญหาในการส่งออกไปยังสหรัฐและยุโรป ต้องเช็คเครดิตของลูกค้ามากขึ้นและมีความระมัดระวังในการ Support ลูกค้า อัตราดอกเบี้ยอ้างอิงระยะสั้นของยุโรปและสหรัฐลดลงทำให้อัตราดอกเบี้ยอ้างอิงระยะสั้นของไทยลดลงด้วย

ถาม        ธนาคารกสิกรไทยมองดอกเบี้ยปีหน้าเป็นอย่างไร

ตอบ       ตอนนี้ตลาดต่างประเทศกระทบทำให้ธนาคารกสิกรไทยต้องปรับตัวลดดอกเบี้ยเหมือนธนาคารในเอเชีย

ถาม        ตลาดหลักทรัพย์กำลังอยู่ในขาลง ธนาคารกสิกรไทยวิเคราะห์ว่าตลาดหลักทรัพย์จะลงต่อไหม

ตอบ       ปัจจัยขึ้นอยู่กับนักลงทุน มันเป็นเรื่องจิตวิทยาที่คาดการณ์ลำบาก พวกเก็งกำไรมักขายออก แต่พวกลงทุนระยะยาวไม่ขายออก แต่ก็มีการขายมากเพราะเก็งกำไรคนไทยลงทุนรายย่อย มีโอกาสขายน้อยเพราะซื้อแบบระยะยาว นักลงทุนแบบ Value Investor ซื้อเฉลี่ย ทยอยเก็บเพราะรอปันผลได้ พวกเก็งกำไรไม่ควรเสี่ยง

ถาม        ในฐานะที่สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนเป็นสถาบันการเงินต้องทำธุรกรรมผ่านธนาคาร จะขอยกเว้นค่าธรรมเนียมได้ไหม

ตอบ       ต้องดูบริการและเหตุผลในการยกเว้น

ถาม        สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนควรลงทุนประเภทใด

ตอบ       ควรปล่อยสินเชื่อเพราะนับว่าดีที่สุด สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนบริหารสินเชื่อได้ดีกว่าธนาคารกสิกรไทย นอกจากนี้แล้ว ควรลงทุนตั๋วเงินคงคลังที่รัฐบาลออกมาเป็นช่วงสั้นๆเพื่อระดมเงินฝากเพราะมีความเสี่ยงต่ำและผลตอบแทนสูง

ถาม        ธนาคารกสิกรไทยมีอะไรคืนสู่สังคมบ้าง

ตอบ       ธนาคารกสิกรไทยจัดรถรับ-ส่งนักเรียนในพื้นที่ และเมื่อมีหน่วยงานอื่นขอให้ร่วมกิจกรรม ก็ให้ความร่วมมือ ธนาคารยังช่วยพัฒนาชุมชนและสังคมอย่างต่อเนื่อง

ถาม        สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนเป็นสถาบันการเงิน มีชุมนุมสหกรณ์เครดิต

ยูเนี่ยนเป็นแม่ข่าย มีสมาชิกเป็นสหกรณ์ เราทำธุรกรรมด้วยธนาคาร ช่วงนี้มีสถานการณ์ปั่นป่วน จะได้รับผลกระทบเพียงใด มีแนวทางใดช่วยชาวรากหญ้าบ้าง

ตอบ       เท่าที่เราเห็น บริษัทต่างๆมีสภาพคล่องที่ตึง ให้เครดิตลดลงและขอเก็บเงินสด ธนาคารต้องติดตามดู ธนาคารต้องช่วยผู้ประกบการ ธนาคารมี Segment Manager คอยดูแลความสัมพันธ์กับลูกค้า ธนาคารให้ความสนใจทำความเข้าใจธุรกิจลูกค้า เครื่องมือ สภาพคล่อง ช่วยรับชำระเงิน

ถาม        ช่วงนี้ธนาคารมีปัญหาการชำระเงินระหว่างประเทศด้วย LC ธนาคารกสิกรไทยพบปัญหาการเคลียร์เงินในระบบการค้าหรือไม่

ตอบ       LC เปิดสินเชื่อสั้น แต่ปัจจุบันชำระเงินสด และต้องดูบริษัทที่เปิด LC ว่ามีความน่าเชื่อถือเพียงใด และผู้บริหารต้งบริหารให้มีสภาพคล่องพอ ธนาคารกสิกรไทยมีคณะกรรมการปล่อยเงินกู้ วิเคราะห์เงินกู้เพื่อควบคุมความเสี่ยง

ถาม        สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนมองตลาดล่าง ธนาคารกสิกรไทยมองตลาดบน ผมชอบที่ธนาคารมีการวิเคราะห์และวิจัย ส่วนทางเราดูแลระดับรากหญ้าดี อยากให้หารือความร่วมมือกัน

ตอบ       อยากจะเสนอผู้จัดเรื่องนี้ ธนาคารกสิกรไทยวิเคราะห์แต่ยังไม่ดี จะให้ผู้จัดการสาขาวิเคราะห์พื้นที่และธุรกิจเป้าหมาย เพื่อดูว่าธนาคารจะช่วยพัฒนาและอำนวยความสะดวกอะไรได้บ้าง

ถาม        จากวิกฤติแฮมเบอร์เกอร์ ธนาคารมีคำอธิบายอย่างไร เพราะธนาคารถูกมองว่าปล่อยกู้ไม่มาก แต่ระดมเงินฝากมาก

ตอบ       สถาบันการเงินต้องบริหารเงินผู้ฝากเหมือนเป็นนายหน้าซื้อข่ายหลักทรัพย์ ธนาคารกสิกรไทยใช้การจัดการความเสี่ยงโดยแยกผู้ดูแลลูกค้าจากผู้อนุมัติสินเชื่อ ธนาคารกสิกรไทยมีหนี้เสีย แต่เราต้องวิเคราะห์โดยดุโครงสร้างการบริหาร ประเมินอันดับความน่าเชื่อถือและสร้างวัฒนธรรมเครดิตใหม่ ซึ่งสหกรณ์ก็ควรจะทำเรื่องนี้ ธนาคารกสิกรไทยลงทุนระบบนี้มา 10 ปี แต่ลูกค้าบางรายไม่พอใจเพราะพอร์ตเราเต็ม จึงมีการจำกัดจำนวนปล่อยกู้ในแต่ละกลุ่มธุรกิจ

สวัสดีครับ..

ผมนิพนธ์  ฯเจ้าเก่ามาพบกับเพื่อนๆนักสหกรณ์ขั้นสูง รุ่น 1 (ชสค) อีกแล้วครับท่าน  ในสัปดาห์นี้การอบรมเนื้อหาเข้มข้นและเป็นประโยชน์มากตามความรู้สึกของผมนะครับ...เราได้มีโอกาสศึกษาดูงานสถาบันการเงินยักษ์ใหญ่ของประเทศ.คือธนาคารกสิกรไทย จำกัด..ได้รับข้อมูลและเปรียบเทียบในข้อคิดต่างๆๆๆ....ส่วนเราจะเอาไปปรับใช้ได้มากน้อยแค่ไหนก้อต้องดูแต่ละสถานการณ์...ผมไม่อยากจะใช้คำว่าคิดใหม่ทำใหม่  แต่อยากจะให้เราทุกคนคิดให้กว้างขึ้นเปลียนมุมมองรอบด้านให้กว้างและมองด้วยความเป็นกลางตามข้อเท็จจริงพร้อมทั้งวิเคราะห์ถึงสถานะการณ์ของประเทศของโลก...ตองร่วมมือร่วมแรงร่วมใจกันอีกมากครับ...อย่าท้อถอย..ไม่มีอะไรที่เราทำไม่ได้ถ้าเราตั้งใจจริงโดยความซื่อสัตย์สุจริต....สักวันหนึ่งในไม่ช้าความสำเร็จของขบวนการสหกรณ์จะเป็นที่ยอมรับ

การบรรยายเรื่อง เศรษฐศาสตร์การเมืองกับสหกรณ์ โดย รศ.ดร.ณรงค์ เพ็ชรประเสริฐ ในวันที่ 18 ตุลาคม 2551

 

·       เศรษฐศาสตร์การเมือง เกิดโดย Adam Smith แล้วถูกพัฒนาออกมาเป็น 2 สาขา คือ เศรษฐศาสตร์แบบ Neo Classic (ที่นักศึกษาเรียนในปัจจุบัน) และเศรษฐศาสตร์การเมือง

·       เศรษฐศาสตร์การเมืองสาขาที่รู้จักมากที่สุดคือ มาร์กซิสม์ Karl Marx แล้วถูกปิดไป ปี 2545 มีเศรษฐศาสตร์การเมืองปริญญาโท

·       เศรษฐศาสตร์การเมืองพูดถึงปฏิสัมพันธ์เชิงอำนาจของกลุ่มคน ชนชั้นในการจัดสรร แบ่งปัน แบ่งสรร ช่วงชิงผลประโยชน์ในสังคม สิ่งเหล่านี้เป็นเรื่องชีวิตประจำวัน

·       สหกรณ์หนึ่งมีดร.ที่เก่ง ทำให้สหกรณ์เจริญ แต่บริษัทใหญ่ๆก็พยายามซื้อตัว

·       จากประวัติศาสตร์ ประเทศมหาอำนาจส่งคนเก่งรัฐบาลเรา เราก็เชื่อแล้วทำตามทุกอย่าง ดูผิวเผินแล้วเราได้ประโยชน์ ถ้าเราเจ๊งถือว่าเราผิดพลาด เช่น วิกฤติเศรษฐกิจของไทยในปี 2540 ไอเอ็มเอฟแนะนำให้เปิดกู้เสรี ทำให้บ้านขายไม่ทัน ถูกทวงหนี้ก่อน และขึ้นบัญชีดำ  เวลากู้ กู้ถูกแต่คืนแพงเพราะอัตราแลกเปลี่ยนที่เปลี่ยนไป แล้วรัฐบาลถูกบอกว่าไม่ให้ช่วย

·       ดร.ณรงค์เคยทำวิจัยเสนอให้รัฐบาลช่วยแล้วนำบ้านมาขายคนจน แต่รัฐบาลไม่ทำตาม

·       การแข่งขันมีทั้งทำให้ตนเข้มแข็งและคู่แข่งอ่อนแอ แต่เศรษฐศาสตร์บอกว่าเงื่อนไขเป็นตัวบอกว่าใครจะชนะ นี่ถือว่าเป็นปฏิสัมพันธ์เชิงอำนาจ ทำให้ความอ่อนแออาจชนะความเข้มแข็งได้

·       แต่เราไม่ได้มองเป็นเศรษฐศาสตร์การเมืองเพราะถูกเศรษฐศาสตร์ครอบงำ

·       ปฏิสัมพันธ์เชิงอำนาจร้ายแรงสุดคือระหว่างทุน ขึ้นกับกลไกตลาด

·       กลไกตลาดคือ Demand และ Supply หรือเป็นการต่อสู้ระหว่างอำนาจซื้อกับอำนาจกรรมสิทธิ์ อำนาจทุนชี้ว่าใครชนะ

·       ทุนมีทั้งเป็นเงินและไม่ใช่เงิน ในระบบทุนนิยม ใครมีทุนมาก จะมีอำนาจซื้อมาก เพราะอำนาจทุนกำหนดอำนาจกรรมสิทธิ์และทรัพย์สิน

·       สังคมทุนนิยมตั้งอยู่บนลักษณะ 5 ประการ

1.       ทรัพย์สินเป็นของส่วนบุคคล

2.       บุคคลใช้ทรัพย์สินเพื่อประโยชน์ส่วนรวม

3.       การใช้ประโยชน์กระทำผ่านกลไกตลาด ระบบสหกรณ์ถูกตั้งเพื่อถ่วงดุลกลไกตลาด

4.       ทุกอย่างเป็นสินค้า แม้แต่ตำแหน่งงานก็เป็นสินค้าสาขาใดคนน้อยค่าจ้างแพง เสียงก็มี

        การซื้อขาย

5.       มีคน 2  กลุ่มคือ นายทุนกับลูกจ้าง

·       ข้อ 3 และ 4 บอกว่าสังคมอยู่ได้ด้วยทุนและเงิน

·       ในประเทศทุนนิยม ทุกคนมีเสรีภาพไม่เท่ากัน เพราะถูกจำกัดด้วยทุน ทุนจึงเป็นเครื่องมือในการแย่งชิงทรัพยากร

·       การจัดสรรและแบ่งปันมีภาพดูดีกว่าช่วงชิง มันไม่เกี่ยวกับความเข้มแข็งและความอ่อนแอ แต่อาจไม่ยุติธรรมถ้าทำโดยคนมีอำนาจจัดสรรแบ่งปัน มันจึงเกี่ยวการเมือง เพราะการเมืองคือการใช้อำนาจจัดสรรแบ่งปัน คนที่มีอำนาจจัดสรรก็จะจัดทรัพยากรชาติให้ตนเองและฝ่ายทุนมากกว่าฝ่ายอื่น ถ้ารัฐบาลมาจากธุรกิจ รูปแบบจัดสรรก็จะให้ประโยชน์แก่ทางธุรกิจ

·       อำนาจมี 5 แบบคือ

1.       โภคาพลัง มีทุน สมัยนี้มีอำนาจมากกว่าเพราะเป็นยุคทุนนิยม จึงอยู่ในมือคนสะสมทุน

ได้นั่นคือ นายทุน นักธุรกิจ คนมีอำนาจรัฐ ใช้ทุนซื้ออำนาจได้ และนำอำนาจไปหาทุนได้ การลงทุนการเงินใหญ่มาก ดังนั้นต่างชาติต้องการยึดครองโดยเปิดเสรีการเงิน และก็บอกว่าประเทศไทยก็เป็นประเทศที่เหมาะสมที่จะเปิดเสรีการเงิน แต่ไทยเจ๊งในขณะที่สิงคโปร์และอเมริการวย นี่มาจากทฤษฎีแย่งตลาดในสามก๊ก วิธีการทำลายคู่แข่งคือชี้ว่าทำแบบนี้แล้วได้ประโยชน์ แล้วกินผลประโยชน์ต่อ

2.       พหุพลัง  มีอาวุธ สมัยก่อนมีอำนาจมากกว่า

3.       ปัญญาพลัง

4.       ปริหารพลัง

5.       สามัคคีพลัง ทำให้ทุนเล็กสู้ทุนใหญ่ได้เพราะทุนเล็กรวมตัวกันเหมือนสหกรณ์

·       โลกาภิวัตน์ต้องการให้เปิดเสรีของทุน ทำให้ยอมรับผ่านฉันทามติวอชิงตัน เช่นแก้ระเบียบให้ชาวต่างชาติเช่าที่ดินได้ 100 ปี พอคนยอมรับเงินไหลเข้ามาอย่างไม่หยุดยั้ง ทุนต่างชาติมากินเราตลอด คนจำนวนน้อยได้ประโยชน์ ถึงเวลาที่จะต้องสร้างทุนมวลชนมาตอบโต้สิ่งเหล่านั้น ต้องทำให้ทุนสหกรณ์ขยายไปธุรกิจอื่นเช่นค้าปลีก ในอิสราเอล ห้างใหญ่ๆเป็นของสหกรณ์ ในเยอรมนีธนาคารสหกรณ์ใหญ่ที่สุด แต่ปัญหาคือทุนต่างชาติสร้างง่ายมาก ไม่เหมือนไทย

·       การที่อเมริกาผลิตเงินได้ง่ายสามารถนำมาซื้อทุกอย่างทั่วโลก อเมริกาเป็นประเทศที่ค้าขายสินค้าแล้วขาดทุนมากที่สุดในโลก จึงพยายามหาเงินมาเติมโดยขายพันธบัตรรัฐบาลอเมริกา ขายเป็นดอลล่าร์มีดอกเบี้ยให้ คนก็อยากได้จึงนำดอลล่าร์มาซื้อมากขึ้น ทำให้มีความต้องการดอลล่าร์มากขึ้น จึงขายดีมาก และอเมริกาเป็นประเทศที่สามารถพิมพ์ธนบัตรโดยไม่ต้องมีเงินค้ำ ดอลล่าร์อยู่ได้เพราะความเชื่อมั่นของคน อเมริกาจึงไม่กลัวขาดดุลการค้า ใครมีดอลล่าร์มาก ก็มีอำนาจมาก

·       อเมริกานำตราสารหนี้(สัญญา)มาขายและที่ขายดีมากคือที่เกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ นำสัญญาไปขายในตลาด จึงผลิตมากและโฆษณาให้คนกู้เงินเพื่อที่จะขายต่อ ทำให้เกิดเงินกู้ด้อยคุณภาพ Sub-prime loan ปัญหาคือคนไม่มีความสามารถในการชำระหนี้ ธนาคารต้องจ่ายเงินให้แก่ผู้ซื้อสัญญาแทน ทำให้ธนาคารล้ม แต่ถ้าลูกค้าคืนเงินธนาคาร ธนาคารจะนำรายได้มาคืนผู้ถือสัญญาเมื่อสัญญาหมดอายุ ทำให้อเมริกาเป็นนายทุนที่ใหญ่สุดในโลกเพียงแค่ออกตราสารเท่านั้น มาซื้อธุรกิจของไทย พออเมริกาเจ๊งทำให้ไทยเจ๊งด้วย พออเมริกาเจ๊ง ทำให้ทั่วโลกช่วยกันอุ้ม แต่เวลาประเทศอื่นมีปัญหาอเมริกากลับปล่อยวาง

·       ตั้งแต่อดีตมา ประเทศไทยเน้นการส่งออกเพราะกำลังซื้อในประเทศมีน้อย จีนพึ่งส่งออกแค่ 40% อเมริกาเป็นตลาดใหญ่ถือเป็นร้อยละ 17 ของตลาดส่งออกของไทย

·       ปีหน้า ตลาดอัญมณีจะหดตัว

·       ไทยจะอยู่ได้ ต้องขยายตลาดภายใน จึงควรหันกลับมาหาสหกรณ์ ทำสหกรณ์ให้ใหญ่ มีห้างเป็นของตนเอง ในไทยมีแค่สหกรณ์ออมทรัพย์ที่โต แต่ชนิดอื่นเล็กลง

·       เศรษฐกิจต้องโตด้วยการเงิน การผลิต การค้า

·       สหกรณ์ออมทรัพย์บางแห่งถูกขายให้กับนายทุน

·       ตลาดหุ้นมีประโยชน์เมื่อเราขายหุ้นได้กำไรแล้วนำมาเป็นปัจจัยการผลิต สร้างงานให้ประเทศ

·       สหกรณ์มีสมาชิกมากแต่ทุนสหกรณ์มีแค่แสนล้านบาทแล้วรวมกับกองทุนอื่นๆ เป็น 1.4 ล้านล้านบาท สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนมีเงินมากนำไปฝากธนาคาร นายทุนนำเงินไปใช้ แต่สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนใช้เงินของนายทุนไม่ได้ และทำให้สหกรณ์ไม่โต

·       ทุนนิยมบอกว่า เงินออมมีประสิทธิภาพเมื่อนำไปลงทุน แต่คนไทยนำไปใช้ ทำให้เงินไปอยู่ในมือนายทุน ถูกต่างชาติแย่งชิง เพราะคนไทยไม่นำเงินมาสร้างโอกาสการลงทุน

·       สหกรณ์ควรตั้งห้างของตนผูกขาดลูกค้าในพื้นที่ และตั้งโรงแรมของตนเพื่อเป็นที่พักและประชุมเหมือนวายเอ็มซีเอในต่างประเทศ ทำให้สหกรณ์มีรายได้มากขึ้นและเป็นเศรษฐกิจหลักของประเทศ วิธีนี้คือการสร้างมวลชน

·       ในช่วงเศรษฐกิจถดถอยเพราะทุนการเงิน สหกรณ์ควรสร้างทุนการเงินของตนเองมารองรับ

·       สหกรณ์ต้องออกเครือข่ายให้มากและดีกว่าเดิม

·       ตลาดภายในที่ดีที่สุดคือตลาดเครือข่ายสมาชิกสหกรณ์ต้องเป็นทั้งตลาดค้าและตลาดลงทุนด้วย

·       ที่สหกรณ์ที่ทะเลน้อย มีเสื่อกกเป็นสินค้า สานเสื่อได้วันละ 2 ผืน ต้นทุนผืนเล็ก 30 บาท พ่อค้ารับไปขาย 50 บาท กำไรแค่ 20 บาท ถ้าพ่อค้าส่งออก จะขายได้ผืนละ 100 บาท

·       สหกรณ์ควรจ่ายค่าตอบแทนแรงงานเท่าๆกับตลาด คนเก่งจะได้มาทำงานให้แทนที่จะทำงานให้นายทุน

·       เครือข่ายที่เข้าใจชุมชนมากที่สุดคือ สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยน

·       ถ้าจะทำธุรกิจแข่งกับนายทุน สหกรณ์ต้องใช้วิธีการนายทุน คือลงทุนคู่กับวิธีสหกรณ์ ถ้ามีธนาคาร ควรมีบริการประกัน และบริหารแบบทุน ไม่ใช่สหกรณ์

·       แต่หลักเครดิตยูเนี่ยนเดิมคือออมเพื่อเกื้อกูล แต่การไม่มีการจดทะเบียนทำให้มีสภาพคล่องมากกว่า แต่สหกรณ์ออมทรัพย์ทำได้ การตั้งเป็นธนาคารทำให้กระทรวงเกษตรกลัวว่าสหกรณ์จะหลุดมือไป จึงมีกฎว่าสหกรณ์ห้ามลงทุนอย่างอื่น เขาเห็นว่าสหกรณ์จะไปแย่งตลาดนายทุน ถ้าจดทะเบียนตั้งเป็นธนาคาร ธนาคารแห่งประเทศไทยจะมาดูแลให้

·       ความคิดในการแข่งขัน มันมีการสกัดกั้นด้วย แต่สหกรณ์ควรเน้นทำตนให้ดีขึ้น ไม่ใช่ทำให้คนอื่นแย่ลง ต้องมีกลไกแก้ปัญหา คือ มีสถาบันกลางเป็นตัวประสาน  ตรวจสอบและดูแล เพราะธนาคารแห่งประเทศมองธนาคารเป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจแต่กระทรวงเกษตรมีมาตรการควบคุม แต่ไม่พัฒนาสหกรณ์ให้โต เขามองว่าเป็นส่วนที่ช่วยบรรเทาเศรษฐกิจ

·       ต้องมีระบบควบคุมตรวจสอบจะได้เสี่ยงน้อยลง

·       หลักการสหกรณ์ ไม่ควรเอากำไรเป็นตัวตั้ง แต่ควรเน้นคุณภาพชีวิตผ่านการเกื้อกูลกัน มันมีค่ามากกว่าเงิน

 

 

สรุปการบรรยายเรื่อง หลักเศรษฐศาสตร์จุลภาคเบื้องต้นเพื่อการบริหารงานสหกรณ์ โดย รศ.ดร.รังสรรค์ ปิติปัญญา ในวันที่18 ตุลาคม 2551

        ·       เศรษฐศาสตร์หมายถึง ในโลกเรามีคนและมีของ คนมีความอยากและไม่มีที่สิ้นสุด แต่ทรัพยากรมีจำกัด เศรษฐศาสตร์จะทำให้ทรัพยากรมีจำกัดสนองความต้องการของคนที่มีไม่จำกัดให้ได้ผลดีที่สุด

·       ทรัพยากรแบ่งเป็น

                1.ทรัพยากรธรรมชาติ ได้แก่

·       เศรษฐทรัพย์ มีอยู่จำกัดนำมาเป็นสินค้าได้ และมีราคา

·       ทรัพย์เสรี มีอยู่มาก ทรัพย์เสรีมีโอกาสเป็นเศรษฐทรัพย์แล้ว เช่น อากาศบริสุทธิ์ น้ำ

       สะอาด

                2. ทรัพยากรมนุษย์ มีความสำคัญที่สุด

·       จากวิจัย พบว่า สังคมไทยรวมตัวหลวมกว่าญี่ปุ่นและเกาหลีเพราะพฤติกรรมคนไทย ญี่ปุ่นและเกาหลีมีความมุ่งมั่นมากกว่าและถือว่างานสำคัญกว่าครอบครัว

                3. ทรัพยากรทุน

·       ปัจจัยการผลิตแบ่งเป็น

o      ที่ดิน รวมถึงทรัพยากรธรรมชาติอื่นๆด้วย

o      แรงงาน พัฒนาศักยภาพได้

o      ทุน

o      การประกอบการหรือการจัดการ ประเทศที่มีทรัพยากรน้อยมักจัดการทรัพยากรดี เช่น เกาหลีและญี่ปุ่น ส่วนประเทศที่มีทรัพยากรมากมักจัดการทรัพยากรไม่ดี เช่น ไทย อินโดนีเซียและเวียดนาม

·       โภคภัณฑ์ เป็นสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นจากปัจจัยการผลิต (สินค้า/บริการ)

o      สินค้า แบ่งเป็นสินค้าเพื่อการบริโภค สินค้าทุน

o      บริการ ลักษณะที่สำคัญของบริการคือจับต้องไม่ได้ ผลิตขึ้นมาแล้วจะหมดไป

·       ข้อสมมุติทางเศรษฐศาสตร์คือ มนุษย์ต้องการหรือแสวงหาความพึงพอใจสูงสุด

·       แต่สหกรณ์ต้องการสวัสดิการของสังคมที่ดีที่สุด

·       การหายากเป็นตัวกำหนดราคาสินค้า

·     จากหนังสือยูโธเปียของโทมัส มอร์ กำหนดราคาตามประโยชน์ของของสิ่งนั้น เหล็กมีค่ามากกว่าทองเพราะมีประโยชน์กว่า เราตีค่าผิดมาตลอด ควรเน้นคุณค่าทางจิตใจด้วย สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนน่าจะทำเรื่องนี้ได้ดีกว่า

·       ทุกคนมีทางเลือกตลอดเวลา การเลือกว่าจะ ผลิตอะไร อย่างไร เท่าไร เพื่อใคร

·       ต้องคิดค่าเสียโอกาส ถ้าไม่ทำอีกอย่าง คุณจะสูญเสียอะไรบ้าง

·       ระบบเศรษฐกิจถูกกำหนดโดย สภาพสังคม วัฒนธรรม ประเพณี และ ความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากร

·     แต่สภาพภูมิศาสตร์กำหนดระบบทั้งหมด ได้แก่ รูปแบบกรรมสิทธิ์ในอำนาจการตัดสินใจปัญหาพื้นฐานทางเศรษฐกิจ และวิธีการจัดสรรทรัพยากร

·       เศรษฐกิจแบ่งเป็น

o      ทุนนิยม เอกชนเป็นเจ้าของทรัพย์สินและจัดการ เช่น ประเทศไทย

o      สังคมนิยม รัฐเป็นเจ้าของทรัพย์สินและจัดการ เช่น คิบบุชในอิสราเอล

·       หน่วยเศรษฐกิจ และ กิจกรรมทางเศรษฐกิจ

o      ครัวเรือน : กิจกรรมทางเศรษฐกิจคือ บริโภค และ ขายบริการปัจจัย

เป้าหมายของครัวเรือนคือ ความพึงพอใจสูงสุด ซึ่งเป็นข้อสมมุติพื้นฐานของ Theory of demand

o    องค์กรธุรกิจ : กิจกรรมคือจัดหาปัจจัย ผลิต และ ขายผลผลิต โดยมีจุดมุ่งหมายที่กำไรสูงสุด ซึ่งเป็นข้อสมมุติพื้นฐานของ Theory of supply

o    รัฐ : เป็นองค์กรที่มีอำนาจทางกฎหมาย โดยทฤษฎีแล้วจะทำหน้าที่ในการกำกับดูแลให้สังคมอยู่ในความสงบสุขและเจริญก้าวหน้า เป้าหมายสำคัญของรัฐ คือ welfare maximization

·       ตลาดในระบบเศรษฐกิจมีระดับการแข่งขันของตลาดขึ้นอยู่กับ

(1) จำนวนผู้ซื้อและผู้ขาย

          (2) ความเหมือนของสินค้า

          (3) ความยากง่ายของการเข้าออกจากตลาด

          (4) ความรู้ของทุกฝ่ายในตลาด

·       ถ้าราคาสูงขึ้น คนซื้อน้อยลง เกิดสินค้าล้นตลาด

·       ถ้าราคาต่ำลงคนอยากซื้อมาก แต่คนไม่อยากขาย เกิดสินค้าขาดตลาด

นายสมบัติ อินสว่าง

ขอคุณ บอลๆๆๆ สำหรับแผ่น CD ตำรวจฆ่าประชาชนมาก  เป็นประโยชน์จิงๆคร๊าบๆๆๆๆ

           สวัสดี ทุกคนเลยจ้า หายไปนาน ... แสนนาน รักจาง คิดถึงจาง เป็นไงบ้างจ๊ะ คุยกันบ้างสิ อุ๊ย! ดึกแล้วนี่นา แต่ยังนอนไม่หลับ แอบเปิดอ่าน blug เผื่อจะมีใครแวะมาคุยกันบ้าง แหมหรอมแหรมเหลือเกิน ยิ่งว่างตั้ง 2 อาทิตย์แน๊ะ ว่างงานมาก แต่จะทำโครงการก็ยังเขียนไม่ออก คุยกันบ้างจิ เผื่อจะมีอะไรแจ่มๆไปโม้ได้มั่ง ... พี่นิพนธ์(เจ้าเก่า )เป็นงัยบ้าง งานยุ่งเหรอรึป่าว รึว่าซุ่มกับโครงการค๊ะ หายไปเลยจิงๆ รู้มั้ยว่ามีใครคิดถึง ครั้งที่ผ่านมาก็แอบไปนั่งกลุ่มอื่น งอนนะเนี่ย ....พี่บอส มาเรียนบ้างนะ (ไม่ใช่มาทานข้าวเที่ยงแล้วก็กลับ)เฮ้อ!กลุ้มพึ่งพี่ไม่ได้เลย ...พี่แมวรู้ยังไปดูงานคราวนี้เราได้นอนด้วยกันแหละ เย้ ...เรียนท่านประธานรุ่นค๊ะไม่อยากสนวิกฤตแฮมแล้วหละ มันเครียด ตอนนี้สนแต่ปรากฎการณ์กิมจิเท่านั้น ได้มั้ยเนี่ย เอ๊า!งงเลย(เกี่ยวไรเนี่ย) ...ขอบคุณพี่ชาญสำหรับรูปนะจ๊ะ น่ารักดี ...ขอบคุณพี่อ้อด้วยจ้าสำหรับไส้อั่ว อร่อยม๊ากมาก(มีอีกมั้ย) ...พี่หิรัญอย่าลืมของฝากคราวหน้าด้วยนะ (อิอิ..ทวงล่วงหน้าผ่านblogเลยนะพยานเยอะดี)ถ้าลืมละก็ ฮึ่ม!น่าดู โอ๊ะโอ!เที่ยงคืนครึ่งแล้วรึนี่ เริ่มง่วงแล้วสิ อากาศก็เริ่มเย็นลงเรื่อยๆไปนอนก่อนเน้อเจ้า พี่ๆก็อย่ามัวทำแต่งานนะ ออกกำลังกาย ดูแลสุขภาพกันบ้างนะค๊ะ (อย่าลืมดูแลคนที่คุณรักด้วยค๊ะ)เป็นห่วง ราตรีสวัสดิ์ค่ะ ... บ๊ายบาย ....แล้วเจอกัน....

ถามข่าวท้าวคำจันทร์

ไม่ทราบว่าท่านพี่ คำจันทร์ จันทร์จำปา ของเราได้เป็นายยกเทศมนตรีคนใหม่ไหมนะ ใครพอรู้ส่งข่าวกันหน่อย จะได้แสดงความดีใจด้วย

สวัสดีท่านผู้นำรุ่น 1 อยากทราบว่าการเดินทางไปประเทศเกาหลีในวันที่ 9 พฤศจิกายน นี้จะต้องเตรียมเสื้อผ้าอย่างไรและจะต้องเตรียมอะไรไปบ้างถ้าใครเคยไปแล้วช่วยกรุณาบอกผู้ที่ไม่เคยเดินทางไปต่างประเทศให้ทราบด้วยจะเป็นพระคุณอย่างสูงเพราะครั้งนี้เป็นการเดินทางไปต่างประเทศครั้งแรกเลยเตรียมตัวไม่ถูก

สวัสดีครับ..ท่านอาจารย์จิระฯ , ท่านอาจารย์ที่รักและเคารพทุกท่าน..เพื่อนผู้นำ ชสค.รุ่น 1 ที่คิดถึง

     หายหน้าหายตาไปหลายวันครับ..ด้วยภารกิจงานหลวงงานและงานไม่หลวง...คิดถึงทุกๆท่านครับ นับจากวันนี้เราก้อเหลือเวลาอีกไม่กี่วันนะคับที่จะได้ร่วมเดินทางไปต่างประเทศ (เกาหลีใต้)  เข้าใจว่าอากาศของประเทศเกาหลีฯคงจะหนาวเอาการครับ...ฝากเรียนทุกท่านจัดเตรียมเครื่องกันหนาวไปด้วยนะครับ...จะได้ท่องเที่ยงศึกษาดูงานอย่างมีความสุข

      แจ้งข่าวนิดนะครับ...ได้ทราบข่างมาจากท่านเกียงเฮงฯว่าท่าน อ.คำจันทร์ฯ ไม่ได้รับการเลือกตั้งเป็นนายกเทศมนตรีบ้านดุง...ซึ่งท่าน อ.คำจันทร์ฯก็มิได้เสียใจหรือดีใจครับ..ผมเชื่อมั่นอย่างนั้นเพราะว่าท่านฯ เป็นคนดีมีหลักการ  จะมีตำแหน่งหรือมิได้รับตำแหน่งท่านก็สามารถสร้างประโยชน์ให้ชุมชนให้สังคมได้...แต่ก้อขอเป็นกำลังใจให้ท่านฯจงอย่าได้หยุดการทำงานเพื่อประชาชนต่อไป  เพราะว่าเป็นหลักการและแนวทางของเครดิตยูเนียนของพวกเราทุกคน

          อีกเรื่องหนึ่ง...ผมรู้สึกว่าเพื่อนผู้นำรุ่น 1 มี 40 คน แต่ไม่ค่อยมีข่าวคราวติดต่อกันบ้างเลย...อย่าได้ละเลยนะครับ..บล๊อกนี้เปิดขึ้นมาเพื่อเราทุกๆคนเราต้องใช้ให้เป็นประโยชน์ให้เป็นเครื่องมือสื่อสารและแสดงความคิดเห็น ฯลฯ..ตามที่ท่าน อ.จิระฯได้ชี้แนะนะครับ  ท่านผู้รับผิดชอบโครงการไม่ว่าจะเป็นส่วนของ ชสค.หรือส่วนของมูลนิธิฯกำลังจับตาดูพวกเราทุกคน...อย่าลืมนะครับ...

 วันนี้ขอแค่นี้ก่อนครับ....ขอให้เพื่อนๆทุกคนมีความสุขมาก.ๆๆ..รักษาสุขภาพด้วย

ถูกต้องที่สุดเลยค๊ะ ถูกต้องอย่างยิ่ง เห็นด้วยม๊ากมากกับพี่นิพน์ ขอเป็นอีกหนึ่งกำลังใจให้กับพี่คำจันทร์ คนเก่งตลอดกาลของเรา อย่าหยุดนะค๊ะ ทำต่อไปค่ะ เพื่อสังคม เพื่อประชาชน และเพื่อเครดิตยูเนี่ยน เชื่อมั่นว่าพี่คำจันทร์ต้องไม่ท้อแน่นอน สู้สู้...สู้

เรียน พี่ๆทุกท่านค๊ะ ใครที่เกรงว่าการเดินทางไปดูงานครานี้จะปรับอุณหภูมิร่างกายไม่ทัน แนะนำค่ะแนะนำ ให้ชิวชิวมาลองปรับสภาพร่างกายที่เชียงใหม่ก่อนก็ได้ อากาศเริ่มเย็นแล้วละค่ะ แต่ถ้าเป็นยอดดอยละก็ ไม่ว่าจะ อินทนนท์ อ่างขาง สุเทพปุย หรือว่าผ้าห่มปกแล้วละก็ คงไม่ต่าง(เกาหลีใต้)แน่ๆ จะต่างก็คงจะมีผักกาดส้มดอง แทน กิมจิ ก็เท่านั้นละมั้ง """555"""

อากาศเริ่มเปลี่ยน ใจคนก็เปลี่ยน ดูแลตัวเองอย่าให้เปลี่ยนไปตามใจคนและอากาศนะค๊ะ

จากมานาน....คิดถึงจังเลย

ดีใจมากครับที่จะได้พบอาจารย์จีระ อีกครั้งในวันที่ 8 พ.ย. 51

เรียนผู้เข้าร่วมสัมมนาทุกท่าน

วันอาทิตย์ที่ 9 พ.ย. นี้ เวลา 6.00-7.00 น. โปรดฟังรายการ Human Talk ของดร.จีระ ทางสถานีวิทยุ FM 96.5 MHz. คลื่นความคิด หรือ

คลิกที่ลิ้งค์นี้ http://radio.mcot.net/fm965/  

แล้วคลิกที่รูปวิทยุเพื่อฟังรายการสดในเวลาดังกล่าว

http://gotoknow.org/file/chiraacademy/Live965.gif

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

        ผมดีใจมากที่จะได้มีโอกาสมาพบกับทุกท่านอีกครั้งในวันที่ 9 พ.ย. นี้ ซึ่งจะเป็นวันที่ทุกท่านจะได้เดินทางไปดูงานที่ประเทศเกาหลี ซึ่งผมก็หวังเป็นอย่างยิ่งว่า นี่จะเป็นอีกช่องทางหนึ่งที่จะเปิดโลกทัศน์ และความคิดของทุกท่านให้กว้างไกล ได้รู้เห็นในสิ่งแปลกใหม่ ขอให้ท่านใช้โอกาสนี้ให้เป็นประโยชน์ ศึกษา เก็บเกี่ยวความรู้ และประสบการณ์ ให้ได้มากที่สุด ขอให้ทุกท่านโชคดี

พบกันพรุ่งนี้ครับ

จีระ หงส์ลดารมภ์

สรุปการบรรยายเรื่อง HR for Non-HR โดย คุณศิริลักษณ์ เมฆสังข์  ในวันที่ 8 พฤศจิกายน 2551

 

·       การบริหารคนในองค์กรเป็นเรื่องที่สำคัญและจำเป็น

·       HR ไม่ใช่แผนก แต่คือบุคลากรในองค์กร

·       งานบริหารคนในองค์กร เป็นหน้าที่ของผู้บริหารทุกคน ไม่ใช่งานของฝ่าย HR เพียงผู้เดียว

·       ผู้จัดการ ต้องเป็น นักบริหารคน เพราะ

                - เป็นผู้ที่คัดเลือกพนักงาน ถ้ามาทำงานในสายงานของท่าน

                - เป็นผู้บังคับบัญชาโดยตรงของพนักงานในฝ่าย

                - เป็นผู้กำหนดเป้าหมายในการทำงานกับลูกน้อง และประเมินผลการทำงาน

                - ให้คำแนะนำ สอนงาน เป็นที่ปรึกษา และให้ Feedback

                - พัฒนาพนักงาน

                - สร้างขวัญกำลังใจ และแรงจูงใจในการทำงาน

                - ให้คุณ ให้โทษแก่พนักงาน

·       สรุปงานหลัก HR คือ หาคนมา พัฒนาเขา รักษาคนไว้

·       คนลาออก เพราะ

·       ที่อื่นให้เงินเดือนสูงกว่า

·       อยากพักผ่อนเนื่องจากสูงอายุแล้ว

·       ปัญหาครอบครัว

·       แกลล็อปทำวิจัยว่า 60% ของพนักงานลาออกเพราะหัวหน้างาน ซึ่งมักไม่ค่อยมีใครพูด ถึง

·       ผลกระทบจากสถานการณ์ภายนอก

·       จะทำให้นักศึกษาจบใหม่ว่างงาน ทำให้ผู้บริหารต้องบริหารจัดการคนให้ดี

·       แต่ละประเทศต้องพัฒนาคนเพื่อแข่งขันได้ ทรัพยากรมนุษย์ได้เปลี่ยนมาเป็นทุนมนุษย์ ต้องสร้างคนในหน่วยงานให้มีความรู้ ทักษะ ภาวะอารมณ์ ในแต่ละองค์กรต้องการสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน องค์กรที่มีคนมีความสามารถย่อมผลิตสินค้าและให้บริการได้ดีกว่า  ถ้าพนักงานขาดความเข้าใจ ขาดการทำงานที่ดี ก็ไม่สามารถบริการคนภายนอกได้

·       ต้องสร้างให้มีกลยุทธ์บริหารคน สร้างความสามารถขององค์กร  สร้างภาวะผู้นำ หลายองค์กรเริ่มพัฒนาภาวะผู้นำของผู้บริหาร พนักงานทุกระดับก็ต้องมีภาวะผู้นำด้วย ใช้ข้อมูลในการตัดสินใจ

·       ในการประชุม HR อาเซียน สรุปได้ว่า เมื่อมองแนวโน้มองค์กร จะมีการสร้างความสามารถขององค์กร องค์กรต้องไม่ซับซ้อน มีการกระจายอำนาจทำให้เกิดความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรม ทำให้องค์กรตอบสนองต่อเรื่องต่างๆได้อย่างรวดเร็วจะได้ไม่ล้าหลังคู่แข่ง

·       ต้องมีความยืดหยุ่น เรียนรู้ บริหารตนเอง

·       และที่สำคัญที่สุดคือ ธรรมาภิบาล มีการตรวจสอบการทำงานเพื่อไม่ให้ผิดระเบียบและศีลธรรม ถ้าทำผิด บริษัทเสียชื่อและอาจถูกปิดตัวลง

·       ค่าใช้จ่ายในการบริหารงานสูงขึ้น

·       คนที่มีศักยภาพที่มีอยู่ในตลาดแรงงานยังมีไม่มากจึงมีการแย่งชิงตัว

·       แรงงานสูงอายุมีมากขึ้น มีการจ้างหลังเกษียณเป็นที่ปรึกษาหรือวิทยากรถ่ายทอดความรู้ในองค์กร และส่งเสริม succession plan

·       วิถีชีวิตคนเปลี่ยนไป คนรุ่นใหม่ต้องการเงินและตำแหน่ง ตำแหน่งก็ต้องมี executive ในตำแหน่งเช่น sales และมีการเปลี่ยนงานบ่อย

·       คนมีความหลากหลายและความแตกต่างมากขึ้นทำให้ต้องปรับองค์กร

·       ต้องการพนักงานที่มีความรู้ ในแผน 8 รัฐบาลเน้นการสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้

·       สหภาพแรงงานมีผลกระทบสูง

·       ช่วงหลังมีการปรับโครงสร้างธุรกิจมาก

·       ต้องมีการวิเคราะห์ภายในและภายนอกองค์กร

·       การบริหารคนกับการพัฒนาคนต้องไปด้วยกัน

·       ต้องมีการวางแผนอัตรากำลังคน จำนวน ทักษะ หน้าที่

·       บริหารการทำงานของคนในองค์กรจำเป็นมาก

·       การฝึกอบรมและพัฒนา

·       แรงงานสัมพันธ์ ต้องสร้างให้เกิดความสัมพันธ์ที่ดีจะได้ช่วยการทำงาน

·       การพัฒนาสายอาชีพ ให้คนเติบโตได้ในองค์กร เปิดโอกาสให้หมุนเวียนไปทำงานในสายงานอื่นได้

·       มีค่าตอบแทนทั้งที่เป็นตัวเงินและไม่ใช่ตัวเงิน (การพัฒนาสายอาชีพ การฝึกอบรม เปิดโอกาสให้แสดงความคิดเห็น ใช้ความคิดสร้างสรรค์)

·       การสรรหาคน

·       การรักษาคนไว้ให้ได้ถือเป็นความท้าทาย

·       ตอนนี้มี engagement ทำให้พนักงานมีความผูกพันกับองค์กร มีกิจกรรมสร้างแรงจูงใจ ทำให้

เขารู้สึกว่างานของเขามีคุณค่า ผู้บริหารต้องให้การสนับสนุน

·       บทบาทด้านอื่นๆ ของ HR

·       รับผิดชอบในการสื่อสาร ระหว่างหน่วยงานต่างๆ ในองค์การ เช่น หาเจ้าของเรื่องมาอธิบายให้ฟัง วางแผนว่าควรสื่อสารเวลาใด

·       เป็นส่วนหนึ่งในความสำเร็จขององค์การ

·       รับผิดชอบในการจัดการความหลากหลายของพนักงาน

·       รับผิดชอบเรื่องของทุนมนุษย์ (Human Capital)

·       รับผิดชอบในการจัดการองค์การ เพื่อให้มีประสิทธิภาพ

·       ดังนั้นคนดูแลเรื่องคนต้องมี

·       ความรู้ในงานทรัพยากรมนุษย์และต้องมีแนวร่วมคือหัวหน้างาน

·       ความรู้ในเรื่องธุรกิจ จะได้หาคนได้เหมาะสม

·       การจัดการความเปลี่ยนแปลงเป็นเรื่องที่ต้องเรียนรู้เพิ่มเติม ทำได้โดยสำรวจสภาพแวดล้อมในองค์กรและหารือว่าควรเปลี่ยนอะไรและความพร้อม ควรหาแนวร่วมผู้นำการเปลี่ยนแปลง

·       ระบบการคิดเชิงกลยุทธ์

·       ความรู้ในเรื่องเทคโนโลยีสารสนเทศ

·       สิ่งที่นักทรัพยากรมนุษย์ต้องการเรียนรู้เพิ่มเติม

       Change Management

        Performance Management System

        Organization Development

        Human Resource Planning

       หัวหน้างานต้อง

       เปลี่ยนบทบาทใหม่โดยเปลี่ยนทัศนคติก่อน ค่อยๆ เปลี่ยนทีละจุด

       มีวิธีการที่ดีในการนำเสนอผู้บริหารโดยเน้นที่ประโยชน์ที่จะได้รับก่อน

       มีวิสัยทัศน์

       ต้องสร้างให้ผู้บริหารเป็นโค้ช (หลักการทำงานเหมือนโค้ชฟุตบอล) ผู้นำต้องสังเกตเป็น

       สร้างขวัญกำลังใจ สามารถสื่อสารกับคนทุกระดับได้ ทำให้คนเปลี่ยนแปลงด้วยตัวเขาเอง

       มีความไว้วางใจลูกน้อง สร้างความผูกพัน ต้องเป็นผู้นำที่ทำให้คนอยากเดินตาม

       เปลี่ยนแปลงก่อนถูกบังคับให้เปลี่ยน

       องค์กรต้องการสร้างความเป็นเลิศ ต้องอาศัย คน แรงจูงใจและระบบ องค์กรต้องมีวัฒนธรรมและค่านิยมเป็นฐานหรือจิตวิญญาณให้เดินไปในทิศทางเดียวกันด้วย เช่น เครดิตยูเนี่ยนเน้นจิตตารมณ์ 5 ประการคือ ความซื่อสัตย์ เสียสละ รับผิดชอบ ความเห็นอกเห็นใจกัน ความไว้ใจนอกจากนี้ คนต้องมีความสามารถ (Competence) และทัศนคติ (Attitude) ที่ดีในการทำงาน มีความรักในงานที่ทำ และมีความผูกพัน (Engagement) กับองค์กร

       ปรัชญาและการจัดการองค์กร

                การจัดการและการปฏิบัติ

          โครงสร้าง (Structure) บอกว่านี่คือสายงานที่จำเป็นที่ทำให้เราบรรลุผลสำเร็จ บอกสถานะผู้กำกับดูแล แต่บางองค์กรสร้างโครงสร้างเพื่อหาตำแหน่งให้คนทำงานซึ่งไม่จำเป็น

          ระบบ (Systems) สร้างให้งานมีความต่อเนื่อง เช่นการสื่อสารทางอีเมล เสียงตามสาย รู้จักฟัง พูดและให้ feedback และสื่อสารกันให้รู้เรื่อง เข้าใจตรงกันโดยต้องเปิดใจและไม่ด่วนสรุป  มีการฝึกอบรมและพัฒนาบุคลากร มีการควบคุม ให้เป็นระเบียบ

          กระบวนการ (Processes)

                รากฐานของการดำรงอยู่ขององค์กร

       ปรัชญา  วิสัยทัศน์  ค่านิยมร่วม  กลยุทธ์

       คุณลักษณะสำคัญขององค์กรที่มีสมรรถนะสูง ได้แก่

       ค่านิยมร่วมวัฒนธรรมองค์กร มีความเป็นเลิศปรับปรุงและพัฒนาอย่างต่อเนื่อง

       ทีมงานผนึกกำลังเป็นทีมที่ไม่เป็นทางการ

       สไตล์ของผู้นำ ผู้นำแบ่งการเรียนรู้สร้างแรงจูงใจ กระตุ้นและนำการเปลี่ยนแปลง

       โครงสร้างเครือข่ายที่ขับเคลื่อนไปในทิศทางเดียวกันอย่างมีพลวัต

       พนักงานรักการเรียนรู้ และถ่ายทอดความรู้ มีการแบ่งงานดีให้มีเวลา หาเวทีให้พนักงาน

        แลกเปลี่ยนความเห็น

       ยุทธ์ศาสตร์ที่ทุกฝ่ายร่วมกันแสดงความคิดเห็น และเรียนรู้ร่วมกัน

         กิจกรรม HR ที่ผู้บริหารฝ่ายต่างๆ ต้องรู้ และสามารถทำได้

       การคัดเลือกบุคลากร  ต้องมีทักษะที่จำเป็นคือ การสัมภาษณ์ และการสื่อสาร ควรยกตัวอย่างสถานการณ์ให้แก้ไข ดูความรู้ ทักษะและวุฒิภาวะที่ผู้สมัครแสดงออกมา

       การบริหารผลการปฏิบัติงาน เจ้านายกับลูกน้องต้องหารือกันเรื่องความคาดหวัง หัวหน้าต้องสังเกตการทำงาน สอนงาน ให้ Feedback จัดให้มีการฝึกอบรมและการพัฒนา และมีการให้รางวัลเมื่อมีผลงานดี

การบรรยายเรื่อง การบริหารและการจัดการสหกรณ์ขั้นสูง โดย ผศ.ส่งเสริม หอมกลิ่น

 

คำถาม เป้าหมายเครดิตยูเนี่ยนคืออะไร

ความเห็นจากผู้เข้าร่วมสัมมนา

·       เป้าหมายเครดิตยูเนี่ยนคือ

·       ให้สมาชิกกินอิ่ม นอนอุ่น มีออม

·       พัฒนาคนให้คนมีคุณธรรม (ซื่อสัตย์  เสียสละ รับผิดชอบ เห็นใจ และไว้ใจ) โดยใช้การออมเป็นเครื่องมือในการพัฒนา

 

เนื้อหา

·       ผู้บริหารต้องมีการบูรณาการ

·       การบริหารสหกรณ์คือ การร่วมกันวางแผนและดำเนินงานเพื่อไปสู่วัตถุประสงค์ โดยต้องรู้วัตถุประสงค์หลัก มีทรัพยากรการบริหาร ต้องมีกระบวนการบริหาร ต้องวางแผน จัดองค์กร จัดคนเข้าทำงาน และดำเนินงานธุรกิจในสภาพของการเปลี่ยนแปลง เพราะสหกรณ์อยู่ภายใต้การเปลี่ยนแปลง 

·       สิ่งที่ต้องทำ คือ การจัดการตลาดของสหกรณ์ เช่นปล่อยสินเชื่อให้ได้มาก ต้องตอบสนองความต้องการให้สมาชิกมีความพึงพอใจและใช้บริการอย่างต่อเนื่อง สหกรณ์มีจุดเด่นเพราะอยู่ในชุมชนใกล้ลูกค้า ทำเงินฝากเพื่อระดมเงินฝากให้ได้มาก แต่เราไม่ได้ทำกับทุกคน ต้องดูตลาดเป้าหมาย มีการโฆษณาประชาสัมพันธ์ ต้องพัฒนาผลิตภัณฑ์ดึงดูดสมาชิก สหกรณ์มีจุดเด่นคือ จิตวิญญาณนั่นคือ จิตตารมณ์

·       การจัดการการตลาดโดยตอบคำถามต่อไปนี้

1.       ธุรกิจของสหกรณ์คืออะไร

2.       สินค้าหรือบริการคืออะไร

3.       ลูกค้าเป้าหมายคืออะไร

4.       ทำอย่างไรให้ซื้อ

5.       ทำอย่างไรให้พึงพอใจและซื้อซ้ำ

·       สหกรณ์ต้องบริหารคนได้แก่ สมาชิก กรรมการและฝ่ายจัดการ

·       การบริหารคนมีเป้าหมายเพื่อให้คนทำงานอย่างมีประสิทธิภาพโดยวัดผลจากความสำเร็จของงานตามเวลา ให้คนทำงานอย่างมีความสุขโดยวัดจากผลตอบแทน และต้องรู้จักพัฒนาคนด้วย

·       ควรสร้างสหกรณ์ให้โตมีสาขาแล้วสร้างเครือข่ายสมาชิกให้ไปทำงานต่างสหกรณ์และมีโอกาสเติบโตได้

·       การบริหารการเงินของสหกรณ์ ต้องมีการทำงบต่างๆ มีการวิเคราะห์ต่างๆมีการเปลี่ยนแปลงอย่างไรแล้วนำไปวางแผน

·       การวางแผนการเงินต้องสอดคล้องกับแผนการตลาดและต้องมุ่งหวังให้สมาชิกมั่งคั่งและสหกรณ์มีความมั่นคง

·       หลังจากวางแผนการเงิน ก็ต้องจัดหาเงินทุนโดยมีต้นทุนต่ำที่สุด ควรมีทุนสำรองมากๆ แต่การจ่ายเงินปันผลก็เป็นเรื่องสำคัญ ควรบริหารเงินสดให้มีสภาพคล่อง

·       แผนกลยุทธ์ต้องเน้นให้สหกรณ์อยู่รอดและความได้เปรียบในการแข่งขัน

·       สหกรณ์ไม่ควรลงทุนเรื่องที่เสี่ยงมากๆ

·       ปัจจัยความสำเร็จของการจัดการเชิงกลยุทธ์

·       การวิเคราะห์เชิงกลยุทธ์(SWOT)

·       การวางแผนกลยุทธ์(การกำหนดกลยุทธ์)

·       การดำเนินตามกลยุทธ์

·       การควบคุมเชิงกลยุทธ์

·       การปรับปรุงโครงสร้างองค์การ ทรัพยากรมนุษย์ กระบวนการผลิต/บริการและเทคโนโลยี

·       ความคิดเชิงกลยุทธ์

·       ควรวัดการจัดการเชิงกลยุทธ์โดยใช้ BSC( Balanced Scorecard) โดยดูด้านการเงิน ลูกค้า กระบวนการภายใน การเรียนรู้และการพัฒนา

·       ต้องมีการจัดโครงสร้างเงินทุนให้ต้นทุนต่ำสุด เพิ่มทรัพย์สิน กระจายรายได้ การเพิ่มมูลค่าให้ลูกค้า

·       ควรทำตามวงจรเดมิ่ง (วงจรอมตะ)P D C A

·       Plan (วางแผน)

·       Do(ทำ)

·       Check(ตรวจสอบ)

·       Action (แก้ไข)

 

กิจกรรม ระบุธุรกิจสหกรณ์ ประกอบด้วยกิจกรรมอะไร มีวัตถุประสงค์คืออะไร วัดจากอะไร

กลุ่ม 5

·       ส่งเสริมการออม มีวัตถุประสงค์คือ เพิ่มเงินออม มีภูมิคุ้มกันตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง วัดจากมีทุน

·       การฝึกอบรม มีวัตถุประสงค์คือ ให้เข้าใจ จิตตารมณ์ วัดจากมีคุณภาพชีวิตที่ดี สามารถควบคุมรายรับจ่ายได้

กลุ่ม 6

·       ปล่อยสินเชื่อ มีวัตถุประสงค์คือ บรรเทาความเดือดร้อน วัดจากไม่เป็นหนี้นอกระบบ วัดจากหนี้ค้างน้อยกว่า 3%

กลุ่ม 7

·       ระดมเงินฝาก มีวัตถุประสงค์คือ ให้สมาชิกมีเงินออมมากขึ้น วัดจากจำนวนเงินจำนวนหุ้น

-      เงินกู้ มีวัตถุประสงค์คือ ช่วยเหลือผู้มีเงินน้อยให้ลงทุนได้ วัดจากจำนวนสมาชิกที่กู้เพิ่มขึ้น

กลุ่ม 4

·       ระดมเงินออม มีวัตถุประสงค์คือ ให้สมาชิกมีทุนใช้จ่ายและเก็บรักษาเสถียรภาพการเงินและเพิ่มทุนให้สหกรณ์ วัดจากเงินออมจำนวนสมาชิก คุณภาพชีวิต

·       ให้สินเชื่อ มีวัตถุประสงค์คือ เป็นทุนประกอบอาชีพ ลดเงินกู้ดอกเบี้ยสูง วัดจากสมาชิกนำสินเชื่อไปใช้ประโยชน์ มีทุนไปประกอบอาชีพ

กลุ่ม 3

·       เงินฝากมีวัตถุประสงค์คือ ส่งเสริมการออม มีความมั่นคงในชีวิต วัดจากสหกรณ์มีเงิน สมาชิกเพิ่มขึ้น

·       เงินกู้ มีวัตถุประสงค์คือ พัฒนาอาชีพ สมาชิกไม่เป็นหนี้นอกและในระบบ วัดจากสมาชิกมีรายได้เพิ่มขึ้น

กลุ่ม 2

·       สะสมหุ้นและการออมมีวัตถุประสงค์คือ เงินฝากมากขึ้น

·       เงินกู้มีวัตถุประสงค์คือ บรรเทาความเดือดร้อน วัดจากปริมาณเงินกู้

กลุ่ม1

·       ระดมเงินออมมี วัตถุประสงค์คือ ส่งเสริมเงินออม ปลูกฝังนิสัยการออม วัดจากจำนวนเงินฝาก สมาชิก

·       ให้กู้ วัตถุประสงค์คือ ประกอบอาชีพให้มีความมั่นคง สร้างอาชีพ เป็นแหล่งเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำวัดจากรายได้สมาชิกเพิ่ม จำนวนคนกู้มากขึ้น เงินกู้ นำเงินชำระคืนได้มากขึ้น

ความคิดเห็นจากผศ.ส่งเสริม หอมกลิ่น

·       มีเงินออมหลายชนิด เพื่อให้เงินเข้ามาที่สหกรณ์มากๆ

·       ธุรกิจสินเชื่อ ทำอย่างไรปล่อยเงินได้มากแต่ก็เรียกคืนได้

-       สหกรณ์ต้องเข้มแข็งก่อนจึงจะช่วยสมาชิกได้

ไชโย นับถอยหลังจากนี้ไปอีก ๑๒ ชั่วโมง ฉันคงไปยืนยืดอกอยู่ที่นามบินสุวรรณภูมิแล้ว ตื่นเต้นจังเลยไม่เคยเห็นและไม่เคยได้ขี่เครื่องบินเลย ก่อนมานี่บอกเพื่อนอย่างยืดอกว่าจะไปเมืองนอก แต่เอเกาหลีหนาวมากไหนนะ จะไปนอนขดตัวเหมือนลูกแมวไหมนะ ตื่นเต้นๆๆๆๆๆจังเลยๆๆๆ

ขอชื่นชมวิทยากรที่เคารพทุกท่านที่ให้ความรู้ และแนวคิด ได้ยอดเยี่ยมครับ วันนี้ดีใจมากครับที่ได้พบอาจารย์วีระ อีกครั้ง

ขอบพระคุณอย่างสูงยิ่งครับ

9 พฤศจิกายน 2551

สรุปอภิปรายกลุ่มในประเด็นดังนี้

·       เรื่องโค้ช

 

·       การพัฒนาผู้นำแบบเก่าและแบบใหม่

กลุ่มที่นำเสนอเป็นลำดับที่ 1

·       เรื่องโค้ช

o      เห็นด้วยเรื่องโค้ช ว่าสำคัญ

o      ในการทำงานร่วมกันมากกว่าโค้ช เราดูแลเหมือนคนในครอบครัว

o      เราอยากเป็นโค้ช เราไม่กลัวลูกน้องเก่ง เพราะเขาช่วยให้เราไม่เหนื่อย

o      ครั้งนี้น่าจะมีแนวทางดูแลลูกน้องให้ไปในทิศทางเดียวกัน

 ·       เปรียบเทียบการพัฒนาผู้นำแบบเก่าและแบบใหม่

o      ชอบวิธีใหม่และพยายามพัฒนาแต่ยังไม่กล้าตัดสินใจลูกน้องน่าจะได้แบบอย่างที่ดีจากเราด้วย

o      โค้ชต้องกล้าปรับเปลี่ยน เมื่อเราเห็นศักยภาพในตัวลูกน้องว่าทำงานอื่นได้ดี ก็ต้องกล้าปรับเปลี่ยน

o      ทุกคนต้องมีพลังในการทำงาน ต้องเสริมสร้างให้เขามีส่วนร่วมให้มากที่สุดและต้องให้เขาอยู่ในองค์กรอย่างมีความสุข

ความเห็นจากดร.จีระ

·       เราเป็นโค้ชแล้วแต่ยังไม่มีทิศทาง

·       ต้องมีความสามารถเสนอทางออก

·       ผู้นำต้องปรับเปลี่ยนตัวเองได้

·       แต่ละคนไม่จำเป็นต้องมีความสามารถที่เหมือนกัน

·       ต้องให้งานที่คนชอบ

 

กลุ่มที่นำเสนอเป็นลำดับที่ 2

·       เรื่องโค้ช

                o      เพิ่งทราบว่าตนเองทำงานเป็นโค้ชอยู่แบบพี่น้องแต่ลูกน้องไม่

                        กล้าแสดงความคิดเห็น เราต้องปรับตัวเอง

·       เปรียบเทียบการพัฒนาผู้นำแบบเก่าและแบบใหม่

o      เจอประธานคนใหม่เป็นผู้นำแบบใหม่เพื่อให้เจ้าหน้าที่มีกำลังใจในการทำงาน

o      เราใช้ 4E แล้ว แต่เจ้าหน้าที่บางคนยังไม่แสดงพลังออกมา

ความเห็นจากดร.จีระ

·       โค้ชที่ดีอย่าไปดุลูกน้องมาก ต้องมีความสัมพันธ์ที่ดี ยกย่องลูกน้องเหมือนเพื่อนร่วมงาน สร้างบรรยากาศให้ลูกน้องกล้าแสดงความคิดเห็น แต่ต้องใช้เวลา

·       ต้องนึกถึงลูกน้องก่อนแล้วสร้างคนรุ่นใหม่ขึ้นมา

·       สหกรณ์ทั้งระบบอยู่ที่ทีมงานเรา

·       ต้องกระตุ้นให้ลูกน้องมีไฟโดยเราต้องเป็นแบบอย่าง

·       ควรแนะนำความคิดสร้างสรรค์ให้ลูกน้อง

·       ควรมีเครือข่าย

 

กลุ่มที่นำเสนอเป็นลำดับที่ 3

·       เรื่องโค้ช

o      เห็นด้วยว่าการเป็นผู้นำเหมือนเป็นโค้ชฟุตบอล คือมีการแก้เกม กระตุ้น

o      โค้ชยังขาดเป้าหมายเพราะติดเรื่องกรรมการ

ความเห็นจากดร.จีระ

·       เป้าหมายเครดิตยูเนี่ยนยังไม่ชัด จึงยังทำไม่สำเร็จ ดังนั้นการทำหน้าที่โค้ชจึงยังไม่สำเร็จ

·       การอยู่ที่สหกรณ์ต้องมีอุดมการณ์และต้องมีความสุขคือการเรียนรู้ แลกเปลี่ยนและทำงานร่วมกัน

 

กลุ่มที่นำเสนอเป็นลำดับที่ 4

·       เรื่องโค้ช

o      ในสหกรณ์ มีแนวความคิดระหว่างเก่าและใหม่ รุ่นเก่ายึดกฎ แต่รุ่นใหม่มีความคิดสร้างสรรค์แต่ถูกคัดค้าน โค้ชต้องหลอมความคิดสองฝ่ายให้เป็นที่ยอมรับเพื่อบริหารสหกรณ์ให้ไปในทิศทางเดียวกัน พยายามกระจายอำนาจให้กลุ่มต่างๆแสดงผลงานออกมา

ความเห็นจากดร.จีระ

·       บางทีลูกน้องยังไม่มองเป้าหมายองค์กร บางครั้งเราก็ต้องไปเปลี่ยน

 

กลุ่มที่นำเสนอเป็นลำดับที่ 5

·       เรื่องโค้ช

o      ปัญหาคือ การถ่ายทอดความเป็นโค้ชและ 4E ให้ลูกน้อง คือ คณะกรรมการขัดขวาง มีการสั่งการที่ต่างกันทำให้ลูกน้องสับสน น่าจะไปแก้ปัญหานี้

ความเห็นจากดร.จีระ

·       ควรกลับไปเขียนกรณีศึกษาที่สำเร็จและมีอุปสรรคด้วย และต้องเรียนรู้จากกัน

 

กลุ่มที่นำเสนอเป็นลำดับที่ 6

·       เรื่องโค้ช

o      โค้ชฟุตบอลต่างจากโค้ชเครดิตยูเนี่ยนเพราะประตูกว้าง วันนี้จะรู้ว่าควรจะเตะเข้าประตูใด

o      ก่อนสอนคนอื่นต้องพัฒนาตนเอง

·       เปรียบเทียบการพัฒนาผู้นำแบบเก่าและแบบใหม่

o      ต้องนำของเก่ามาเป็นครูเพื่อสร้างของใหม่ขึ้น

ความเห็นจากดร.จีระ

·       ผู้นำรุ่นเก่าเรียนในตำรา ผู้นำรุ่นใหม่ฝึกลูกน้องโดยดูศักยภาพลูกน้อง

·       นำของเก่ามาสอนเรื่องความสำเร็จ

สรุปการบรรยายเรื่อง ภาวะผู้นำในโลกที่เปลี่ยน โดย ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

ในวันที่ 9 พฤศจิกายน 2551

 

·       ผู้นำต้องเป็นโค้ชด้วย คือ ให้คำปรึกษา เป็นพี่เลี้ยงด้านงานและชีวิตส่วนตัวด้วย กระตุ้นให้งานสำเร็จ

·       ผู้นำต้องอย่าสั่งลูกน้องแต่ต้องฝึกลูกน้องด้วย อย่ากลัวว่าลูกน้องจะเก่งกว่า

·       Coaching เป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาคนแบบครบวงจร ต้องรู้จักจุดอ่อนและจุดแข็งของลูกน้อง ต้องมีความสามารถในการเสนอทางแก้ปัญหา

·       โค้ชที่ดีต้องสร้างความสัมพันธ์ที่ดีก่อน

·       ผู้นำต้องแบ่งความสุขกันระหว่างเจ้านายกับลูกน้อง ยกย่องลูกน้องให้เขามีศักดิ์ศรีและอยู่แบบยั่งยืน

·       ปัญหาที่เกิดขึ้นในการโค้ชลูกน้อง

·       ผู้ฝึกมีเวลาน้อย

·       ขาดความอดทน

·        ไม่มีความสามารถพอ มองอะไรไม่ครบถ้วนขาดจุดที่เป็น Intangible มอง Explicit ไม่

        มอง Tacit ข้างใน ต้องมีความละเอียดอ่อนในการมองคน

·        ไม่ต่อเนื่อง

·        ไม่ชอบเรียนรู้ ก่อนจะเรียน ก็ควรไปอ่านหนังสือของวิทยากรก่อน

·       สิ่งที่เคยประสบความสำเร็จในอดีตอาจจะไม่สำเร็จในอนาคต

·       ควรไปสำรวจลูกน้องท่าน ศึกษาว่าเขามีศักยภาพอะไรบ้าง แล้วสร้างเขาเป็นผู้นำ

·       ผู้นำไม่จำเป็นต้องเหมือนกัน

·       ควรมีโครงการร่วมกับธนาคารแห่งประเทศไทยเรื่องการออม

·       ผู้นำที่ดีต้องมีพลังคือทำงานสนุก ทำงานใหม่ๆ ปลดปล่อยสิ่งไร้สาระ มีความคิดสร้างสรรค์ คิดนอกกรอบ

·       ผู้นำที่ดีต้องทำให้ลูกน้องมีพลัง

·       ผู้นำที่ดีต้องกล้าตัดสินใจ

·       ผู้นำที่ดีต้องเอาชนะอุปสรรค

·       เครดิตยูเนี่ยนวางแผนมากแต่ย่อท้อต่ออุปสรรค

 

·       ทุนแห่งความสุขเป็นเรื่องใหญ่ ต้องทำงานอย่างมีความสุข และมีความสุขที่ได้ทำงาน อย่าทำงานเพื่อเงิน

·       นักปราชญ์จีน กล่าวว่าเป้าหมายของชีวิตคือความสุข

·       ประเทศที่เจริญ ความสุขของคนน้อยลง

·       จากการวิจัยพบว่า คนไม่มีความสุขในชั่วโมงการทำงาน

·       เทคนิคการทำงานอย่างมีความสุข ได้แก่

o            สุขภาพทั้งกายและใจต้องพร้อมทำงาน จะได้ทำงานได้ดี

o            ชื่นชอบในงานที่ทำและอาชีพ

o            รู้วัตถุประสงค์และเป้าหมายของงาน อาชีพของเครดิตยูเนี่ยนควรภูมิใจที่บริหารเงินให้เป็นประโยชน์และส่งเสริมการออม ช่วยให้คนมีความมั่นคงในชีวิตซึ่งถือว่าดี

o            รู้ความหมายของงาน

o            ต้องมีความสามารถที่จะทำให้สำเร็จ อย่าอยู่ในกะลาครอบ

o            เรียนรู้ตลอดเวลา

o            หาความรู้จากลูกค้าและเพื่อนร่วมงานตลอดเวลา

o            มีการเตรียมตัวดี

o            ทำงานในสิ่งที่ถนัด

o            ควรทำงานเป็นทีม

o            ทำงานที่ท้าทาย

o            ทำงานที่มีคุณค่า

·       คนในเครดิตยูเนี่ยนถือว่ามีความสุขในการทำงานมาก เพราะมาทำงานด้วยใจ

·       เครดิตยูเนี่ยนไม่ถือว่ากำไรเป็นผลสำเร็จ แต่มีเป้าหมายเพื่อชุมชนก็คือทำงานอย่างมีคุณค่า

·       คนในเครดิตยูเนี่ยนมีความสุขในการทำงานโดยได้ใช้ศักยภาพตนเองอย่างเต็มที่

·       คนในเครดิตยูเนี่ยนยังขาดการเชื่อมโยงในการทำงาน

·       คนในเครดิตยูเนี่ยนถือว่าการทำงานที่เครดิตยูเนี่ยนเป็นสิ่งที่ใจปรารถนา นี่คือศักยภาพของเครดิตยูเนี่ยน

·       อย่าให้งานมากำหนดชะตาชีวิตของเรา แต่เราต้องกำหนดอนาคตของเราเอง

 

 

 

ความเห็นผู้เข้าร่วมสัมมนา เรียนแล้วได้อะไร

·       คนเราต้องเปลี่ยนพฤติกรรรมการเรียนรู้ ต้องพัฒนาตน ลูกน้อง และเพื่อนร่วมงานด้วย

·       การทำงานเป็นทีมต้องมองจุดเด่นของลูกน้องเราจะเก่งคนเดียวไม่ได้

hello leader cult1.

today ourgroup in the national folk museum of Korea

have funny trip and the nagufok is the best practice

model for cult,cu.

the supercomputer show everything.

see u soon.

จากการได้ไปศึกษาดูงานที่ประเทศเกาหลีในส่วนของNACUFOXจะเป็นการเชื่อมโยงเครือข่ายของทุกสหกรณ์ สหกรณ์แต่ละสหกรณ์จะใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์เหมือนกันหมด และข้อมูลทั้งหมดจะถูกส่งกลับมาที่สำนักงานใหญ่ จะเป็นเหมือนระบบธนาคารของประเทศไทย เทคโนโลยีจะทันสมัยมาก ๆ มีการทำธุรกิจที่ครบวงจร มีการเชื่อมโยงเครื่อข่ายกับธนาคาร สำหรับสหกรณ์ขั้นปฐมนั้นจะมีบริการแบบ365(มีตู้ATMบริการตลอด24ชม.)เครดิตยูเนี่ยนในประเทศเกาหลีจะมีสัญญลักษณ์(แบรนด์)ที่เหมือนกันหมดจะเน้นเรื่องแบรนด์, การประชาสัมพันธ์จะดีมาก ๆ

สำหรับประเทศเกาหลีนั้นมีความทันสมัยในเรื่องเทคโนโลยีมาก ๆ ไม่ว่าจะไปไหนเมืองหลวงหรือต่างจังหวัดเทคโนโลยีทันสมัยมาก ๆ การจัดระบบจราจร การวางผังเมืองจะเป็นระเบียบเรียบร้อย ผังเมืองจะเหมือนกันทั้งประเทศ มีการปลูกฝังให้ประชาชนมีความรักชาติ รักษาสภาพแวดล้อม

การศึกษาดูงานในครั้งนี้นับว่ามีประโยชน์มาก ๆ ความรู้หรือข้อมูลต่าง ๆ ที่ได้นับว่ามีประโยชน์ในการนำมาพัฒนาสหกรณ์ให้ดียิ่งขึ้น พัฒนาบุคคลากรในสหกรณ์ให้ดีขึ้นรวมถึงการพัฒนาสภาพความเป็นอยู่ของสมาชิกด้วย

สวัสดีครับเพื่อนๆพี่น้องๆ ร่วมรุ่น 1 ที่คิดถึงทุกท่าน

กลับจากการทัศนศึกษาดูงานต่างประเทศ (เกาหลีใต้)ผมยังไม่มีโอกาสเข้ามาทักทายหวัดดีเพื่อนๆๆเลยครับ...เพราะว่าเกิดไม่สบายเป็นไข้เสียหลายวัน..คงเป็นผลเกี่ยวเนื่องจากการไปต่างประเทศน่ะครับ..แต่ตอนนี้แข็งแรงดีครับ...เพื่อนๆไม่ต้องเป็นห่วง นับถอยหลังอีกไม่กี่วันก้อจะถึงวันจัดงาน cu.สากล 2551 ครั้งที่ 10 ที่ จ.จันทบุรี เรียนย้ำไปยังเพื่อนๆทุกคนครับ...แล้วพบกันที่จันทบุรีนะครับ.......ชาวเครดิตยูเนียนภาคตะวันออกกำลังรอคอยการมาเยือนยังดินแดนศรีบูรพาทิศของเพื่อนๆพี่ๆน้องๆทุกๆท่าน

การอบรมครั้งต่อไปหวังว่าคงจะได้พบเพื่อนๆๆพร้อมหน้าพร้อมตานะครับ.......ดูแลรักษาสุขภาพด้วย..อากาสหนาวเย็น..ร่างการจะไม่สบายได้นะครับ...

คิดถึงอย่างแรง

นายอดิศักดิ์ คลับคล้าย

จากการที่ได้ไปศึกษาดูงานที่ประเทศเกาหลีใต้เมื่อวันที่ 10 ถึงวันที่ 12 พฤศจิกายน 2551 นั้น ได้รับความรู้และสิ่งใหม่ๆมากมายครับ สิ่งที่ผมเห็นด้วยอย่างยิ่งทีจะนำมาพัฒนาสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนบ้านเรา หรือโดยเฉพาะที่จังหวัดเพชรบุรี ก็คือการเชื่อมโยงระบบเครือข่าย เพื่อที่จะได้รู้ว่าสมาชิกท่านใดนั้นเป็นสมาชิกซ้ำซ้อนกับที่อื่นหรือไม่ และผมมองเห็นถึงระบบการวางผังเมืองของเกาหลี ดูจากถนนที่ใช้สัญจร , ระบบไฟฟ้า , ป้ายโฆษณาขนาดใหญ่ อาคารต่างๆซึ่งดูแล้วเป็นระบบและมีระเบียบมากครับ อื่นๆ ฯลฯ

กลับจากการดูงานที่ประเทศเกาหลี ได้หอบหิ้วเอาประสบการณ์ดีๆมามากมาย เทคโนโลยีที่ทันสมัยหลายด้าน น่าสนใจมาก

เพื่อนๆรู้หรือเปล่าว่า กลับถึงเมืองไทยแล้วคิดอะไร บอกให้ก็ได้ อยากมีตึกสำนักงานสวยๆ ระบบงานดีๆ ใช้เทคโนโลยีสูง ให้บริการได้ทุกด้าน ฯลฯ ถ้าทำได้ก็ดีนะ และอยากเห็นความเข้มแข็งของเครดิตในเมืองไทยจังเลย

กลับไปถึงสหกรณ์ก็เริ่มวางแผนการพัฒนาบุคคลกร ตั้งแต่เขียนแผน ตั้งงบประประมาณเพื่อเปิดโอกาสให้กับเพื่อนร่วมงานท่านอื่นได้มีโอกาสแบบนี้บ้าง

ประสบการณ์ที่ได้มาจากการดูงานที่ประเทศเกาหลีและได้ฟังคำบรรยายหลายสัปห์ที่ผ่านมา ทำให้เห็นมุมมองที่ไม่เคยมองเห็น คิดไม่ได้ เปลี่ยนเป็นมองเห็นคิดได้และต้องทำได้

กลับจากดูงานที่เกาหลืก็ไม่ได้มีโอกาสทักทายกันนะ เนื่องจากมาภาระกิจมากมาย วันนี้ก็เลยมาทักทายกันหน่อย สวัสดีค่ะ

กลับจากดูงานที่ประเทศเกาหลีก็ต้องขอส่งความคิดเห็นบ้างเนื่องจากการไปดูงานครั้งนี้มีความประทับใจไม่ว่าจะเป็นคณะที่ไปดูงานด้วยกันและจากไกด์เพราะไกด์ก็ได้ให้ข้อมูลกับเราได้มากได้มีความรู้ในเรื่องราวความเป็นอยู่ขนบธรรมเนียมของประเทศเกาหลีอันนี้รู้มาจากไกด์พูดให้ฟังรู้สึกน่าสนใจว่าบ้านเมืองเขาอยู่กันอย่างเป็นระเบียบไม่มีสิ่งที่น่ากลัวสำหรับประชาชน

การดูงานที่ NACUFOX เขาได้มีการทำงานแบบใช้ระบบ IT เข้ามาช่วยในเรื่องการจัดเก็บข้อมูลของสาขาย่อยได้เป็นอย่างดีมีทีมงานนั่งวิเคราะห์ว่าแต่ละสหกรณ์มีปัญหาในด้านใดเมื่อที่ใดเกิดปัญหาก็จะส่งเจ้าหน้าที่ที่มีความรู้ในแต่ละเรื่งอเข้าไปช่วยแก้ไขทำให้ขบวนการจึงไม่ค่อยมีปัญหามากและการที่สหกรณ์ได้ใช้โปรแกรมระบบเดียวกันทำให้ดูแลได้ง่าย

สวัสดีครับ เพื่อนๆผู้ร่วมโครงการทุกท่าน ขอบคุณสำหรับประสบการณ์ดีๆจากการศึกษาดูงานที่ประเทศเกาหลี คงได้นำความรู้และแนวทางการทำงานที่ดีมาใช้ ในบ้านเราบ้าง นอกจากนี้ยังได้ ทีมใหม่ๆด้วย โดยมีการจัดตั้งขึ้น ที่ประเทศเกาหลี ชื่อ เซเว่นทีม มีสมาชิกร่วมงานหลายท่าน (สนใจสอบถามได้ที่ อ.ฉลอง แป้นน้อย ที่ปรึกษาทีม ) แต่ตอนนี้ต้องขอไปช่วยสมาชิกที่โดนนำท่วมอย่างหนัก ก่อนครับ บ๊าย บาย

สวัสดีพี่ ๆ ทุกคน ห่างหายไปนาน วันนี้มีเวลาเข้ามาใน blog มาแชร์ความรู้สึก จากการได้ไปศึกษาดูงานแล้ว มีความประทับใจมากและ เสียดายว่า เวลาที่ไปศึกษาดูงาน ดูจะน้อยไปหน่อย ว่าไหมค่ะ มองเป็นประเทศ เกาหลีใต้ แล้ว มีความรู้สึกว่า อยากจะกลับไปอีกสักครั้ง อากาศหนาวพอดี บ้านเมืองเป็นระเบียบมาก และการเยี่ยมชม NACUFOX ก็เช่นกัน อยากให้ประเทศไทย มีระบบ IT ในการควบคุมระบบการทำงานของสหกรณ์บ้างจังเลย ฝาก ทาง ช.ส.ค. ไว้ด้วยน่ะค่ะ แล้วเจอกันใหม่ 28-29 พ.ย.51

สวัสดี

สวัสดีเพื่อนผู้นำเครดิตยูเนี่ยนรุ่นที่ 1 ทุกท่าน โครงการฯได้ดำเนินการมาใกล้จะจบสิ้นแล้วเหลือเวลาที่เราจะพบกันอีกไม่กี่ครั้งก็จะปิดโครงการแล้วตลอดเวลาที่เราได้มาสร้างเสริมประสบการณ์โดยการรับฟังความรู้จากท่านวิทยากรการได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้การได้ศึกษาดูงานสถานที่ต่างๆร่วมทั้งการได้เดินทางไปดูงานที่ประเทศเกาหลี พวกเราต่างก็มีความตั้งอกตั้งใจเป็นอย่างยิ่งเท่าที่ผมสังเกตุดูพวกเรามีความตั้งใจเข้าร่วมกิจกรรมและเปลี่ยนแปลงภาวะผู้นำ เป็นผู้นำที่มีประสบการณ์ อยากจะฝากเพื่อนๆผู้นำได้นำแนวคิด ความรู้ ประสบการณ์เหล่านี้กลับมาพัฒนาองค์กรและขบวนการสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนอย่างน้อยก็คือการนำเอาความรู้มาเขียน projet

กลับจากเกาหลีผมเองก็ได้มีโอกาสได้ต้อนรับเจ้าหน้าที่จาก World Bank ต่อไปด้วยการเดินทางไปร่วมแถลงข่าวการจัดกงาน วัน CU สากลที่จังหวัดจันทรบุรี วันที่ 21-23 พ.ย.51 ได้ปร่วมกิจกรรมการสัมมนาวิชาการและประชุมใหญ่สามัญประจำปีของชมรม จ.นท.สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนภาคเหนือ ของท่านประธานชมรม อนันต์ ซึ่งเป็นชมรมที่เข้มแข็ง

ขอให้กำลังใจกับเพื่อนผู้นำทุกๆท่าน

สวัสดีครับผู้นำสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนขั้นสูง รุ่น1กท่าน 28-29 พ.ย. นี้พลาดไม่ได้กับการอบรมที่เข้มข้นไปด้วยเศรษฐกิจระดับโลกและไทยที่จะส่งผลกระทบถึงสหกรณ์  กระบวนการวางแผนกลยุทธ์และที่สำคัญมาก ๆ คือกฏหมายที่เกี่ยวข้องกับสหกรณ์โดยอัยการปรเมศรวร์ คงไม่เปลี่ยนแปลงโปรงแกรมนะคร๊าบๆๆๆๆ

กำลังฟัง ดร. ธนวรรธน์ บรรยายเกี่ยวกับเศรษฐกิจโลก ได้ความรู้มากมาย ดีมากๆครับ

การบรรยายเรื่อง เศรษฐกิจโลก-เศรษฐกิจไทยและผลกระทบต่อการทำงานของสหกรณ์ โดย ผศ.ดร.ธนวรรธน์ พลวิชัย ในวันที่ 28 พฤศจิกายน 2551

 

·       เวลาดูเรื่องเศรษฐกิจต้องมีเป้าหมาย ได้แก่

·       รัฐบาล ต้องการสร้างความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ (เหมือนเครดิตยูเนี่ยน)

·       รัฐบาล ต้องการให้เศรษฐกิจมั่นคง รัฐบาลจะต้องดูแลเงินเฟ้อไม่ให้สูง เพราะจะทำร้ายเศรษฐกิจในระยะยาว ถ้าขาดดุลบัญชีเงินสะพัด (งบกำไร-ขาดทุน) มาก ประเทศจะแย่ ต้องทำให้กระแสเงินสดในประเทศสูงขึ้น จะได้มีความมั่นคง

·       รัฐบาลต้องการกระจายรายได้ คนจนก็ต้องรวยขึ้น

·       เศรษฐกิจโตน้อยเพราะ Sub-prime และน้ำมันแพง

·       ตอนนี้เศรษฐกิจไทยกำลังถดถอย

·       ปีหน้าโลกเข้าสู่เศรษฐกิจถดถอยอย่างรุนแรง ต้องระวังภาวะ NPL และการชำระคืนให้ดี

·       เป้าหมายการทำธุรกิจเครดิตยูเนี่ยนคือเติบโตยั่งยืนต้องมีกำไรสูง ต้นทุนต่ำ ครองส่วนแบ่งการตลาดสูงด้วย

·       การมีพื้นฐานเศรษฐศาสตร์จะทำให้บริหารธุรกิจให้ดี

·       เครดิตยูเนี่ยนต้องบริการลูกค้าและสมาชิกให้ดี

·       เครดิตยูเนี่ยนต้องใช้ระบบข้อมูลในการบริการลูกค้าที่ทันสมัย

·       เครดิตยูเนี่ยนต้องตอบสนองต่อความต้องการของชุมชน บริการลูกค้าได้มาตรฐาน

·       เศรษฐกิจกำหนดรายรับ เงินฝาก ค่าจ้าง ดอกเบี้ย

·       ไม่ควรลดดอกเบี้ยเงินฝาก แต่อาจปล่อยดอกเบี้ยเงินกู้ให้ลดลง เพราะเครดิตยูเนี่ยนอาจเป็นแหล่งการเงินแหล่งสุดท้ายได้

·       เครดิตยูเนี่ยนต้องกลับไปดูงบการเงิน

·       เครดิตยูเนี่ยนดูคุณภาพสินทรัพย์ ลูกหนี้ อาจมีการค้างชำระหนี้

·       ความสามารถในการบริหารงาน ต้องลดงบบางส่วนลง อย่าให้สินค้าคงคลังสูงมาก ต้องสั่งของตามกำลังซื้อ จะได้ไม่ขาดทุน

·       ถ้าไม่มีใครปล่อยกู้ คนจะมาที่เครดิตยูเนี่ยนก่อน ต้องประคองกำไรและเงินสดให้ดี แต่สภาพคล่องจะหนัก สินเชื่อนอกระบบจะมาก จุดนี้เครดิตยูเนี่ยนดูแลสังคมได้

·       ต้องดูความผันผวน เครดิตยูเนี่ยนต้องมีคณะกรรมการบริหารความเสี่ยง ปีหน้าจะแย่กว่านี้

·       ทิศทางเศรษฐกิจโลกจะประสบวิกฤติเศรษฐกิจทุกๆ 12 ปี

·       เครดิตยูเนี่ยนต้องพล็อตกราฟ จะได้ทราบทิศทางการเปลี่ยนแปลงของเศรษฐกิจ

·       เศรษฐกิจทรุดตัวเร็วและแรงแต่ยังไม่ถึงจุดต่ำสุด

·       เวลาทำSWOT (วิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาสและภัยคุกคาม) เครดิตยูเนี่ยนต้องกำหนดวิสัยทัศน์ วางแผนเพื่ออนาคต อย่ามัวแต่ดูงบการเงิน ต้องมีอบรมพัฒนาระบบฐานข้อมูลเทคโนโลยีสารสนเทศ มีการวิเคราะห์ข้อมูลลูกค้า ปรับการทำงานให้คล่องตัวขึ้น ให้ลูกค้าอยู่กับเราอย่างคงเส้นคงวา แล้วเงินจะมาเอง

·       ไอเอ็มเอฟประกาศว่าประเทศพัฒนาแล้วเศรษฐกิจจะถดถอยในปีหน้า ถ้าไม่ฟื้น จะมีการปลดคนงานแต่เอเชียยังพอมีความหวัง

·       ทุกประเทศมีการกระตุ้นเศรษฐกิจ

·       ปีหน้า จะมีวิกฤติ มีการใช้เทคโนโลยีลดต้นทุน มีคนตกงาน อาชญากรรมเพิ่ม

·       ไทยต้องพยายามเชื่อมโยงกับโลก เช่น WTO, AFTA, GMS, ACMECS

·       GMS มีผลต่อภาคเหนือและตะวันออกเฉียงเหนือมาก ทุกจังหวัดในภาคนี้จะใช้ประโยชน์จากกรอบนี้ ทำให้คนไทยจะรวยขึ้นในอนาคต

·       สภาพแวดล้อมเชิงแข่งขัน ต้องดูว่าเครดิตยูเนี่ยนเด่นอะไร ต้องสร้างความมั่นใจให้สมาชิก ไม่ควรแข่งด้วยดอกเบี้ย เพราะจะถูกแย่งสมาชิก ควรเน้นความแตกต่าง

·       ถ้าการลดราคามีทั่วไป แต่ดอกเบี้ยลดลง แสดงว่าเศรษฐกิจผิดปกติ ธุรกิจแย่

·       มีการจ้างงานลดลง แต่ยังไม่ลดเงินเดือน แสดงว่าเศรษฐกิจผิดปกติ

·       ประเทศไทยมีการส่งออกเป็นเปอร์เซ็นต์ที่สูง แต่มีการบริโภคภายในที่ไม่มั่นคง

·       ตลาดส่งออกของไทยหลักๆคือ สหรัฐ ญี่ปุ่น อียูและอาเซียน ถ้าประเทศเหล่านี้มีปัญหา ไทยก็จะมีปัญหาด้วย

·       76 จังหวัดพึ่งพาภาคเกษตร แต่ก็ยังมีอนาคตไม่สดใสในปีหน้า ต้องมีการประกันราคา

·       ภาคอุตสาหกรรมกำลังแย่ เช่น สิ่งทอ เครื่องหนัง การก่อสร้าง อุปกรณ์อิเลคทรอนิกส์ ยานยนต์ตามลำดับ มาจากสถานการณ์การเมืองและวิกฤติโลก

·       การท่องเที่ยวลดลงมากเพราะสถานการณ์การเมืองและเศรษฐกิจ

·       วิกฤติเศรษฐกิจกระจายตัวไปทั่วประเทศ เพราะมีฐานการผลิตในจังหวัดต่างๆ

·       การบริโภคลดลงเพราะการเมืองไม่นิ่งแม้เงินเดือนจะเท่าเดิมก็ตาม

·       การลงทุนภาคเอกชนลดลง

·       รัฐบาลกระตุ้นเศรษฐกิจได้น้อยลง เพราะการเมืองมีปัญหา

·       การส่งออกได้รับผลกระทบจากวิกฤติเศรษฐกิจโลก

·       เศรษฐกิจแย่ทำให้รายได้คนแย่ด้วย

·       ปีหน้า เงินเดือน ค่าเช่า ดอกเบี้ย กำไรน้อยลง

·       ดอกเบี้ยต้องลงตามเงินเฟ้อเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ

·       การว่างงานมีน้อยไม่ถึง 5 แสนคน คนจบใหม่อีก 5 แสนคน แต่มีบางส่วนที่จบแล้วเรียนต่อ

·       รัฐบาลมีความมั่นคงและสามารถอัดฉีดเงินกระตุ้นเศรษฐกิจได้อีกสองปี

·       มีการปล่อยสินเชื่อมากขึ้น สินเชื่อนอกระบบมากขึ้น คนจะมาหาสหกรณ์มากขึ้น

·       แนวโน้มเศรษฐกิจปี 2551

·       เศรษฐกิจโลกจะถดถอยลง

·       ความผันผวนดอลล่าร์ ราคาทองคำ ตลาดหุ้นตก

·       ภัยธรรมชาติ

·       ปัญหาชายแดนภาคใต้

·       การบริโภคติดลบ

·       เอเชียยังเติบโต

·       ราคาน้ำมันยังไม่แพง

·       เงินเฟ้อลด

·       รัฐบาลกระตุ้นเศรษฐกิจ

·       เศรษฐกิจไทยน่าจะฟื้นตัวได้ในครึ่งปีหลัง มีโอกาสโต 3% ส่งออก 0%

·       ควรใช้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ต้องรู้รอบ มีคุณธรรม และจะมีภูมิคุ้มกันดี เพราะตัดสินใจด้วยเหตุผล ใช้จ่ายให้พอต่อรายได้

 

คำถาม

1.เศรษฐกิจประเทศมักลงเอยด้วยระบบสหกรณ์และเศรษฐกิจพอเพียง ทำไมรัฐบาลไม่สนับสนุนสหกรณ์

ตอบ ประเทศไทยรู้จักสหกรณ์น้อย ต้องเชื่อมโยงให้ระบบสหกรณ์มีบทบาทเชิงธุรกิจมากขึ้น ต้องมีการสร้างแบรนด์ สมาชิกกระจายเงินทุนพัฒนาการผลิต สหกรณ์เป็นแกนผลักดันเศรษฐกิจพอเพียง

 

2.ในไตรมาสที่ 3 และ 4 สถาบันการเงินเร่งระดมเงินฝาก เงินหายไปไหนจากระบบ ภาครัฐรวยขึ้นแต่ทำไมประชาชนจนลง

ตอบ เพราะเขาต้องการกันเงินไม่ให้ออกจากระบบธนาคาร เงินมันจะออกไปตลาดหุ้น และจะระดมไว้ปล่อยสินเชื่อให้เอกชนลงทุน และรับจะมีการลงทุนเมกกะโปรเจ็ค แต่คนไทยจนลงเพราะดอกเบี้ยเงินฝากต่ำ คนฝากเงินน้อยลง

กลับจากเกาหลียังไม่มีโอกาสได้ทักทายใครเลย ไม่ได้พูดคุยกัน คงไม่ลืมกันนะ ไม่อยากบรรยายลักษณะงานเพราะคิดว่าทุกคนต่างก็มีภาระกิจเช่นกัน สวัสดีทุกคนค่ะ

ฮันเซนาโย! สวัสดีครับงัย อือ! เกีอบลืมเกาหลีซะแล้ว แต่ไม่เป็นไรแค่คิดถึงเพื่อนๆ ผู้นำขั้นสูงรุ่น 1 ก็พอ ผมเสียใจและขอโทษเพื่อนๆ ที่ไม่ได้นำซีดีรูปภาพที่ผมได้ถ่ายภาพที่ไปดูงานที่ประเทศเกาหลีมาในครั้งนี้ขออภัยจริงๆ คราวหน้าจะเอามาใก้น่ะ เพราะเอามาช้าดีกว่าไม่เอามาจริงมั๊ย พูดถึงความประทับใจที่ประเทศเกาหลี ประทับใจหลายเรื่องทั้งเรื่อง IT,เรืองความเป็นระเบียบและเวลาเพราะว่าที่เราจะเข้าไปดูงานถ้าไม่ถึงเวลา เขาจะไม่เปิดพิธีการหรือเข้าไปดูงานของเขาได้ และกระผมก็นำกลับไปพัฒนาปรับใช้กับสหกรณ์ของหนองขานาง พนักงานรู้สึกดีขึ้น อีกเรื่อง สำหรับทีม 7 เราได้นำเอาความรู้ไปใช้ได้อย่างทันควัน แหมเห็นไหมครับ กลับมาเรามีทีมงาน 7 เกิดขึ้นแล้วครับ ใครสนในเรียนเชิญสมัครได้ที่ ผอ.ฉลอง แป้นน้อย ครับ ไม่จำกัดสมาชิก

สรุปการบรรยายเรื่อง ผู้นำสหกรณ์กับการพูดต่อหน้าสาธารณชน โดย อาจารย์ทินวัฒน์ มฤคพิทักษ์  ในวันที่ 28 พฤศจิกายน 2551

·       การพูดมีความสำคัญมากที่สุด

·       ควรพูดให้ถูกจังหวะไม่ให้เกิดความเสียหาย

·       ผู้นำต้องพูดมากกว่าทำ เพราะทำงานมาจนมีความสามารถโดดเด่น ต้องบอกให้คนอื่นทำ ชมเชยเมื่อทำดี แต่ให้คำแนะนำเมื่อมีปัญหา

·       วีรบุรุษมาจากการที่มีปากที่ดี พูดดี มีความสามารถในการถ่ายทอด

·       ภารกิจผู้นำคือได้รับเชิญไปกล่าวในงานต่างๆ แต่ต้องรู้จักดัดแปลงตามสถานการณ์ด้วย

·       ผู้ทรงอิทธิพลของโลกและนายกรัฐมนตรีที่มาจากการเลือกตั้งของไทยไม่มีใครที่ไม่ใช่นักพูด ผู้โต้วาทีชนะได้เป็นประธานาธิบดีสหรัฐ

·       การพูดยากขึ้นตามจำนวนคนฟัง

·       การพูดมี 3 แบบ

1.       การพูดจูงใจคน เช่น ปลุกม็อบ สลายม็อบ ใช้ในสถานการณ์คับขัน

2.       การพูดแบบบรรยาย การนั่งพูดง่ายที่สุดแต่น่าเบื่อที่สุด

3.       การพูดแบบบันเทิง ทำให้ไม่น่าเบื่อ

·       นักพูดที่ดีควรใช้ทั้ง 3 แบบแต่ต้องถูกกาลเทศะ

·       วิธีการพูด

1.       ท่องมาพูด

2.       อ่านจากร่างหรือต้นฉบับ ใช้ในโอกาสที่เป็นทางการ

3.       พูดจากความเข้าใจหรือจดเฉพาะหัวข้อ

4.       พูดแบบกะทันหันไม่เตรียมตัว

·       นักพูดที่ดีควรพูดจากความเข้าใจหรือจดเฉพาะหัวข้อ

·       หลักการสำหรับนักพูดที่ดี

1.ควรพูดในเรื่องที่คุณรู้ดีที่สุด

2.เตรียมตัวให้พร้อม มีเวลาพูดน้อยต้องใช้เวลาเตรียมมาก เวลาพูดมากใช้เวลาน้อยในการเตรียมน้อยได้ เพราะการพูดสั้นๆต้องให้ได้ใจความมากที่สุดและผิดไม่ได้

3.สร้างความเชื่อมั่นในตนเอง

4.แต่งกายสะอาดและเหมาะสมกับงาน ทำให้บุคลิกดี

5.ปรากฏกายอย่างกระตือรือร้น

6. จงใช้ท่าทางประกอบการพูด

7.จงสบสายตากับผู้ฟัง

8.จงใช้น้ำเสียงให้เป็นธรรมชาติ

9.พูดภาษาเดียวกับผู้ฟัง (ให้เหมาะสมกับผู้ฟัง) เพราะจะเข้าถึงผู้ฟังได้ง่าย ไม่จำเป็นต้องใช้ภาษาไทยหมดก็ได้ คำภาษาอังกฤษหลายคำก็ใช้กันแพร่หลายแล้ว

10. ยกตัวอย่างและแทรกอารมณ์ขันพอเหมาะสมกับกาลเทศะและผู้ฟัง เช่น เรแกนพูดแล้วมีอารมณ์ขัน อย่าว่าปมด้อยของผู้ฟัง ถ้าคนไม่ฟัง ให้นิ่งสักครู่แล้วคนจะหันมาฟัง

·       การพูดในโอกาสต่างๆ ต้องวิเคราะห์จุดมุ่งหมาย ลำดับรายการ บรรยากาศ สถานการณ์และผู้ฟัง

·       เคล็ดลับการพูดแบบกะทันหันคือ

·       นึกถึงประโยคแรกๆ

·       กล่าวสั้นๆ

·       พูดให้สอดคล้องกับบรรยากาศงานนั้นๆ

·       เตรียมพร้อมอยู่เสมอโดยคิดว่าถ้าหากถูกเชิญจะพูดว่าอย่างไร

วันนี้เป็นโอกาสที่ดีมาก ๆ เลยได้รับความรู้จากท่านอาจารย์ทั้งในเรื่องของเศรษฐกิจโลกที่มีผลกระทบต่อสหกรณ์และช่วงบ่ายเรื่องผู้นำกับการพูดในที่สาธารณชนและช่วงบ่ายได้ฟัง ดร.ปุรชัย พูด ดีมาก ๆ เลยคิดว่าโครงการนี้มีประโยชน์มากเลยสามารถพัฒนาได้ทั้งองค์กร และบุคคลที่เข้าอบรมได้เป็นอย่างดี โครงการเช่นนี้คิดว่าน่าจะจัดต่อเนื่องเป็นประจำ และตลอดไปเพราะสภาวะโลกเปลี่ยนแปลงตลอดจะได้นำความรู้ที่ใหม่ ๆ ไปพัฒนาสหกรณ์เพื่อให้สหกรณ์มีภูมิคุ้มกันต่อการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาเหมือนเช่นขณะนี้

สรุป Dinner Talk เรื่อง ภาวะผู้นำในมุมมองของท่านที่มีผลกระทบต่อสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยน โดย ศ.ดร.ปุระชัย เปี่ยมสมบูรณ์ ในวันที่ 28 พฤศจิกายน 2551

 

·       ภาวะผู้นำ เดิมเรียกว่า ประมุขศิลป์ เป็นเรื่องเฉพาะบุคคล ต่อมากลายเป็นศาสตร์ที่ถ่ายทอดได้และเป็นศิลป์ที่ต้องนำไปประยุกต์ใช้

·       ภาวะผู้นำหมายถึง กล้าคิด กล้าทำในสิ่งที่คนอื่นไม่กล้า เหมือนแม่ทัพต้องไม่กลัวเวลานำทัพออกรบ

·       คนมีสมอง 3 ส่วนคือ

·       สมองส่วนล่างใช้ดำรงชีพ

·       สมองส่วนกลางเกี่ยวข้องกับอารมณ์ ความจำ คุมสมองส่วนบน

·       สมองส่วนบนเกี่ยวข้องภาวะผู้นำ ข่มความกลัวที่เกิดจากสมองส่วน

        กลาง และต้องปลุกคนอื่นให้มีความกล้า เช่น พระนเรศวรอยู่ในวง

        ล้อมพม่า ท่านก็ท้าทายพระมหาอุปราชาให้ทำยุทธหัตถี แล้วพระ

        นเรศวรก็ชนะ แต่ท่านก็รับฟังข้อมูลจากรอบข้าง ชำระ

       โทษแม่ทัพนายกองที่ตามทัพ ผู้นำฝ่ายสงฆ์ทูลยกเว้นโทษตายแม่ทัพ

        นายกองเพราะการชนะต้องอาศัยพวกเขาเหมือนกัน

·       ภาวะผู้นำสามารถมีได้ในวงการอื่นด้วย เช่น กาลิเลโอพบความจริงว่าระบบสุริยะมีดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลาง ถูกวาติกันลงโทษให้กลับคำพูดให้ตรงกับคำสอนศาสนาคริสต์ที่เคยกล่าวว่าโลกเป็นศูนย์กลางของจักรวาล ต่อมาพระสัตปาปาจอห์นปอลที่ 2  มีภาวะผู้นำคือ ตามหาลูกหลานกาลิเลโอเพื่อขอโทษที่ศาสนาได้ทำผิดต่อกาลิเลโอ

·       ภาวะผู้นำต้องยืนหยัดในสิ่งที่ถูกต้องในสังคม

·       ภาวะผู้นำต้องมีคุณสมบัติคือ

·       มีทศพิธราชธรรม เช่น ลดความโลภ โกรธ หลง รู้จักพอ

·       บิล เกตส์ รวยมากแต่รู้จักพอ ก้าวลงจากประธานไมโครซอฟท์

        แล้วมาทำงานการกุศล

·       มีความคิดริเริ่มใหม่ๆ สร้างนวัตกรรม ทดลองทำของใหม่จะได้ไม่

        เสียหายมาก

·       ใช้คนเหมาะสม อ่านคนออก บอกคนได้ ใช้คนเป็น ควรยินดีใน

        ความสำเร็จของลูกน้องและสนับสนุน ควรสร้างบารมีขึ้นมาแล้ว

        ลูกน้องจะรัก ต้องยุติธรรมกับลูกน้อง และคอยสอนและแนะนำ        

·       ต้องมีการติดตามงานของลูกน้อง ให้ลูกน้องเริ่มทำงานที่เล็กก่อน

        เช่น นโปเลียนกล่าวว่า ควรให้คนฉลาดและขยันเป็นเสนาธิการวาง

        แผน ให้คนที่ฉลาดและขี้เกียจเป็นแม่ทัพ ส่วนคนโง่และขี้เกียจเป็น

        พลทหาร และไม่ใช้คนโง่แต่ขยันเพราะสร้างความวุ่นวาย ถ้าจะใช้

        พวกนี้ ต้องติดตามดูแลใกล้ชิด

·       อ่อนน้อมถ่อมตน

·       ปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดีเพื่อสร้างศรัทธา ในหลวงบอกว่า ทำดีคือ

        ถูกวิชาการ ถูกหลักสุจริต มีการแผ่เมตตาถึงผู้อื่นด้วย ต้องคิดดี ทำดี

        และพูดดี คิดก่อนพูด มีความปรารถนาดีต่อผู้ฟัง หนักแน่น ฟังหูไว้หู

·       ต้องหวังผลดีที่จะเกิดขึ้น คิดถึงประเทศชาติก่อนเป็นอันดับแรก แล้วนึกถึงตนเองเป็นคนสุดท้าย ต้องมีภาวะผู้นำที่จะพาชาติก้าวไปข้างหน้าโดยมีแนวคิดที่ถูกต้อง เช่นผู้กองแคนกับหมวดตี้เสียสละตนไปปกป้องชายแดนภาคใต้

·       ผู้นำคือ ผู้ที่เป็นพลังขับเคลื่อนให้คนอื่นคิด เชื่อฟังและทำการเพื่อเกิดประโยชน์ต่อส่วนรวมและประเทศชาติ คิดถึงอนาคตมากกว่าปัจจุบันหรือระยะสั้น

·       ผู้นำสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนควรทำงานเพื่อประชาชน ต้องดูแลจุดให้บริการลูกค้าให้ดี

อดิศักดิ์ คลับคล้าย

สวัสดีท่านผู้นำสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนขั้นสูง ทุกท่านครับ 28-29 ผมไม่ได้เข้าร่วมสัมนาด้วย เนื่องจากต้องไปศึกษาต่อ จึงวางโปรแกรมไว้เข้าสัมนาในคราวหน้า รู้สึกเสียดายครับที่ไม่มีโอกาสได้ฟังท่าน ศ.ดร.ปุระชัย เปี่ยมสมบูรณ์ บรรยาย หากท่านใดบันทึกไว้ต้องขอความอนุเคระห์ด้วยนะครับ แล้วครั้งหน้าเจอกนครับ

อาจารย์ดร.จิระ ได้นำหลักสูตรที่ดีมีประโยชน์ต่อขบวนการสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนในการเพิ่มพูนความรู้ประสบการณ์จากอาจารย์และวิทยากรหลายท่านหลายหัวข้อถึงแม้ผมจะไม่ได้เข้ารับฟังโดยตลอดแต่ได้ศึกษาจากเอกสารประกอบเพิ่มเติม และเมื่อ 28พ.ย. 51ได้รับฟังการบรรยายของอาจารย์ดร.ปุระชัย หัวข้อภาวะผู้นำฯตรงใจและสามารถนำไปปรับใช้ได้ในการดำเนินชีวิตและในงานได้เลยครับ

จาก ดาบชัย

29 พฤศจิกายน 2551

การบรรยายเรื่อง กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับสหกรณ์ โดย อัยการปรเมศวร์ อินทรชุมนุม

·       สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนเป็นสังคมอุดมคติ

·       วิถีชีวิตคนสหกรณ์

·       รวมกลุ่มดำเนินการ

·       กิจการนั้นต้องเพื่อประโยชน์ทางเศรษฐกิจและสังคม

·       โดยช่วยตนเองและช่วยเหลือซึ่งกันและกัน

·       จดทะเบียนสหกรณ์และมีฐานะนิติบุคคล

·       โครงสร้างประกอบด้วย

·       สมาชิกคือบุคคลที่รวมตัวกัน

·       คณะกรรมการดำเนินการคือผู้บริหารสหกรณ์ (ดำเนินกิจการ)

·       ผู้ตรวจสอบกิจการและผู้สอบบัญชีคือผู้ควบคุม

·       รัฐคือผู้กำกับดูแล และผู้มีหน้าที่ส่งเสริมสนับสนุน

·       หน้าที่

·       ประธานจะออกเสียงชี้ขาดเมื่อคะแนนเท่ากันเท่านั้น นี่คือภาวะผู้นำที่กฎหมายให้แก่ประธาน

·       คณะกรรมการดำเนินการสหกรณ์ เป็นผู้ดำเนินการกิจการและเป็นผู้แทนของสหกรณ์ในกิจการอันเกี่ยวกับบุคลภายนอก  และคณะกรรมการดำเนินการสหกรณ์ดังกล่าวนั้นต้องประกอบไปด้วยประธานกรรมการหนึ่งคนและกรรมการอื่นอีกไม่เกินสิบสี่คนซึ่งที่ประชุมใหญ่เลือกตั้งจากสมาชิก

·       ข้อคิดการเป็นกรรมการดำเนินการสหกรณ์

·       เปรียบเสมือนเป็นคณะรัฐมนตรีผู้มีหน้าที่ในการบริหารงานและ

        กิจการสหกรณ์ 

·       มิใช่เป็นผู้แทนชนชั้นที่ต้องเข้ามารักษาผลประโยชน์ของกลุ่มที่

       สนับสนุนตนหรือพวกพ้องของตน

·       สหกรณ์มิใช่เรื่องของการเมืองหรือผลประโยชน์ของกลุ่ม แต่เป็น

        เรื่องความมั่นคงในการดำรงชีวิตของมวลสมาชิกทุกคนที่จะร่วมมือ

        กันทำ

·       หน้าที่สมาชิก

·       สมาชิกสหกรณ์ต้องมีส่วนร่วมในการบริหารสหกรณ์มีสิทธิที่จะ

        ออกเสียงเพื่อการตัดสินใจในกิจการของสหกรณ์ โดยเฉพาะเรื่อง

        ที่มีผลกระทบต่อความอยู่รอดของสหกรณ์

·       ออกได้เพียงหนึ่งเสียงไม่ว่าสมาชิกสหกรณ์ผู้นั้นจะถือหุ้นจำนวน

        เท่าใดก็ตาม 

·       สมาชิกต้องมีอุดมการณ์อันมั่นคงและแน่วแน่ที่จะร่วมกันเสริม

        สร้างเศรษฐกิจที่มั่นคงเพื่อก้าวไปสู่สังคมที่ดีโดยการมีวินัยทางการ

        เงินต่อตนเองและเอื้ออาทรต่อเพื่อนสมาชิกด้วยกัน

·       เข้าร่วมประชุมใหญ่สามัญประจำปี/วิสามัญหรือเข้าชื่อ ขอเปิด

        ประชุมใหญ่วิสามัญ

·       ที่ประชุมใหญ่อาจจัดสรรกำไรสุทธิประจำปีที่เหลือจากการจัดสรร

        เป็นทุนสำรองและค่าบำรุงสันนิบาตสหกรณ์ภายใต้ข้อบังคับ

·       จ่ายเป็นปันผลตามหุ้นที่ชำระแล้ว

·       จ่ายเป็นเงินเฉลี่ยคืนให้แก่สมาชิก

·       จ่ายเป็นโบนัสให้แก่กรรมการและเจ้าหน้าที่ของสหกรณ์

·       จ่ายเป็นทุนสะสมไว้

·       ตรวจดูรายงานประจำปี และข้อบังคับ แต่ดูรายงานการประชุมบางเรื่องไม่ได้

·       งานสหกรณ์ (นายทะเบียนเรียกเอกสารได้)

·       การกำหนดให้มีคณะกรรมการดำเนินการสหกรณ์เป็นผู้บริหาร

        สหกรณ์

·       ใครเป็นผู้แทนของสหกรณ์

·       การจัดทำข้อบังคับ

·       การแก้ไขข้อบังคับ

·       การจัดทำทะเบียนสมาชิกและทะเบียนหุ้น

·       การจัดทำบัญชี การบันทึกรายการในบัญชีและการลงบัญชี

·       การจัดทำงบดุล

·       การจัดทำรายงานประจำปีแสดงผลการดำเนินงาน

·       การเก็บรักษาเอกสาร

·       การประชุมสมาชิก

·       การจัดสรรกำไรสุทธิ

·       การจัดการกับทุนสำรองและเงินของสหกรณ์

·       กิจการสหกรณ์ (นายทะเบียนเรียกเอกสารไม่ได้)

·       ดำเนินกิจธุรกิจ การผลิต การค้า การบริการ และอุตสาหกรรมเพื่อ

        ประโยชน์ของสมาชิก

·       ให้สวัสดิการสงเคราะห์ตามสมควรแก่สมาชิกและครอบครัว

·       ให้ความช่วยเหลือทางวิชาการแก่สมาชิก

·       ขอรับความช่วยเหลือทางวิชาการจากทางราชการ หน่วยงานอื่นๆ

        และบุคคลอื่นๆ

·       รับฝากเงินออมทรัพย์

·       ให้กู้ ให้สินเชื่อ ให้ยืม ให้เช่า ให้เช่าซื้อ โอน รับจำนองหรือรับ

        จำนำซึ่งทรัพย์สินแก่สมาชิกหรือของสมาชิก

·               จัดให้ได้มา ซื้อ ถือกรรมสิทธิ์หรือทรัพย์สิทธิ

·       ให้สหกรณ์อื่นกู้ยืมเงิน

·       ดำเนินกิจการอย่างอื่นบรรดาที่เกี่ยวกับหรือเนื่องในการจัดให้

        สำเร็จตามวัตถุประสงค์ของสหกรณ์

·       สหกรณ์ที่แข็งแรงคือสหกรณ์ที่มีทุนสำรองมาก

·       การพิจารณาในการปล่อยกู้

1.       คุณลักษณะผู้กู้  เช่น เป็นใคร มีฐานะอย่างไร มีสัมมาอาชีพอย่างไร

2.       กู้เงินไปเพื่อการอันใด ต้องก่อให้เกิดรายได้ต่อเศรษฐกิจและสังคม

        ของสมาชิก

3.       มีศักยภาพในการชำระหนี้ไหม คือมีความสามารถในการชำระหนี้

        และความสามารถในการดำรงชีพ

4.       มีหลักประกันในการชำระหนี้หรือไม่

 

อบรมวันที่ 28 พฤศจิกายน 2551 มี อ. ธนวรรธน์, อ. ทินวัฒน์ และ ดร.ปุระชัย เห็นว่าเป็นวันอบรมที่มีคุณค่าที่สุด วิทยากรมีความรู้ความสามารถ ได้ความรู้มากมาย อยากให้มาบรรยายอีกครับ

วันนี้ได้รับฟังจาก อ. จีระ เห็นว่าอาจารย์ท้าทายพวกเราชาวเครดิตยูเนี่ยนมากขึ้น ให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีโดยมองภาพกว้าง ภาพใหญ่ (Big Picture, Macro)อาจารย์ได้ให้การบ้านมา 3 ข้อ อยากจะตอบและแบ่งปันดังนี้ครับ

1. แต่ละหน่วยงาน/องค์กรต้องมีการวาง 'วิสัยทัศน์' ของตนเอง อยากเห็นว่าจะไปไหนและเป็นอะไรในช่วง 5-10 ปีข้างหน้า จากนั้นนำวิสัยทัศน์มาแปลงเป็น 'ภารกิจ' และใช้กลยุทธ์ด้านต่าง ๆ มาทำให้ภารกิจนั้นบรรลุวัตถูประสงค์ ที่สำคัญเวลาสหกรณ์มี Planning อย่า plan แล้ว 'นิ่ง' อ่ะครับ

2. เศรษฐกิจโลก อยากจะแบ่งปัน 3 คำในเรื่องนี้คือ 1. 'โลกาภิวัฒน์' (Globalization) เห็นว่าโลกแคบลง การติดต่อสื่อสารเร็วขึ้นผ่านช่องทางเทคโนโลยี่ (Internet, Web site) เราไม่สามารถปฏิเสธเทคโนโลยี่จึงจำเป็นต้องอยู่กับมันและใช้ให้เกิดประโยชน์ตรงวัตถุประสงค์ 2. 'การค้าเสรี' (Free Trade Market) ไทยไม่ใช่เป็นประเทศที่ปิดอีกต่อไปแล้ว มีการเปิดการค้าเสรีให้กับต่างประเทศและบริษัทข้ามชาติมากขึ้น อย่างไรก็ตามห้างต่าง ๆ จากต่างประเทศ เช่น MAKRO, LOTUS, CAREFOURRE, BIG C ก็ก่อให้เกิดผลกระทบต่อระบบการค้าโดยส่วนรวมเหมือนกัน โดยเฉพาะกับสมาชิกของเครดิตยูเนี่ยน ร้านค้าปลีก ย่อย ของสมาชิกก็เกิดความเสียหาย 3. 'บริโภคนิยม' (Consumerism) เนื่องจากผลจากการค้าเสรี ทำให้สินค้า (Product) เข้ามาหลากหลาย ทำให้คนสามารถมีทางเลือกมากขึ้น จึงต้องแข่งขัน (Competition) และให้บริการที่ประทับใจ (Serivce Mind, Impressive Service) ดังนั้นเครดิตยูเนี่ยนจึงต้องแข่งขันกับองค์กรการเงินอื่นเพื่อสร้างความแตกต่าง (M.A.D. = Make A Difference) และจัดบริการให้เกิดความประทับใจให้มากที่สุดต่อสมาชิกและสาธารณชน

3. โอบามา กำลังจะเป็นประธานาธิบดี เห็นว่าเป็นคนหนุ่มไฟแรง และต้องการให้เกิดการเปลี่ยนแปลง (Change) เนื่องจากเห็นว่าการเปลี่ยนแปลงย่อมนำมาสิ่งซึ่งดีกว่า

4. มีความเห็นว่า Hamburger Crisis ไม่มีผลกระทบมากต่อระบบสหกรณ์เนื่องจากสหกรณ์ใช้ทุนของตนเองเป็นหลัก อาจมีผลบ้างแต่เป็นปลายห่วงลูกโซ่ และเป็นเฉพาะสำหรับสหกรณ์ที่ตั้งในผู้มีรายได้ประจำ (สหกรณ์ออมทรัพย์ส่วนใหญ่ หรือเครดิตยูเนี่ยนบางแห่งที่ตั้งในสถานประกอบการ)

VR393

การบรรยาย โดย ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ เลขาธิการมูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศ

  • ผู้นำต้องมองไกลและข้ามศาสตร์ และมีการปรึกษาหารือ
  • ต้องมองวัฒนธรรมองค์กร สมาชิก ชุมชน
  • สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนต้องให้ความรู้แก่สังคมข้างนอกด้วย ต้องสร้างสังคมการเรียนรู้
  • สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนต้องรับคนเก่งๆรุ่นใหม่เข้าทำงานให้ได้ในอนาคต ควรกลับไปดูลูกน้อง ศึกษาเขาอย่างรอบคอบและสนับสนุนเขา
  • ทำในสิ่งที่ตนเองเก่ง
  • ควรของบวิจัยจากธนาคารแห่งประเทศไทยทำวิจัยเรื่องการออม
  • ควรมีที่ปรึกษาเป็นนักธุรกิจ ผู้เชี่ยวชาญทางการเงิน
  • ควรเผยแพร่กิจกรรมสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนผ่านสื่อมากขึ้น

การชมวีดิทัศน์ สัมภาษณ์รศ.ดร.สมชาย ภคภาสน์วิวัฒน์

·        โอบามามีความมุ่งมั่นในชีวิตมหาศาล

·        โอบามายอมรับความจริง ไม่ได้ทิ้งต้นตอของเขา

·        โอบามาเคยเป็นผู้ประสานงานชุมชน

·        โอบามานำมาซึ่งโอกาสแห่งการเปลี่ยนแปลงในการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจ

        พลังงาน ภาษี สาธารณสุข การศึกษา

·         สถานการณ์เศรษฐกิจไทย

·        การส่งออกลดลง

·        การบริโภคลดลง

·        เอกชนถูกกระทบจากการลงทุนโดยตรง

·        ภาครัฐก็เหมือนกันกับทุกประเทศต้องสร้างความเชื่อมั่น

·        มีการประกันเงินฝาก

·        การคลังต้องการการเมืองที่มีความโปร่งใส มีจริยธรรม และรัฐธรรมนูญ

        ต้องไม่มีผลประโยชน์

·        รัสเซียพึ่งพาน้ำมันมากเกินไป เศรษฐกิจไม่ดี ความต้องการก็ลดลง

·        จีนอัตราเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจหายไป 7%

·        สินเชื่อควรจะน้อยลง เพราะจะทำให้เกิดหนี้เสีย

·        แต่ประหยัดเกินไปก็ทำให้เศรษฐกิจพัง

การชมวีดิทัศน์ สัมภาษณ์คุณชาญชัย ตั้งชูและคุณคันศร คมภักดี

  • สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนเป็นองค์กรการเงินของประชาชน ดำเนินงานโดยประชาชน เพื่อประชาชนทุกระดับ
  • สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนเป็นการรวมตัวของคนที่มีปัญหาการเงิน ร่วมแก้ปัญหา สร้างโอกาสการออม นำเงินมาเป็นเครื่องมือในการพัฒนา
  • สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนเกิดในประเทศเยอรมนีเป็นแห่งแรก
  • สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนเกิดกลุ่มเครดิตยูเนี่ยนศูนย์กลางเทวาในปี 2508 เป็นแห่งแรกของไทย
  • สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนมีเงินออมรวม 30,000 ล้านบาท
  • สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนเน้นคุณธรรมและเห็นแก่ เราต้องการจะสร้างธนาคารชุมชนขึ้นมา สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนแนะนำการบริหารจัดการให้
  • สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนเน้นพัฒนาคนมาตลอด
  • สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนเน้นจิตตารมณ์ คือ ซื่อสัตย์ เสียสละ รับผิดชอบ เห็นอกเห็นใจ และไว้วางใจกัน ทำให้ไม่โกงกัน
  • ชุมนุมสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนมีหลักสูตรเกี่ยวกับหน้าที่ บริหารจัดการ ทำบัญชี
  • โครงการพัฒนาผู้นำสหกรณ์ หลักสูตรผู้นำสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนขั้นสูง รุ่นที่ 1

·        มีผู้เข้าร่วมจากชุมนุมสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนและคัดเลือกผู้สมัครมาจากผู้นำ

        สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนอื่นๆด้วย

·        โครงการนี้ได้รับเกียรติจากฯพณฯ อำพล เสนาณรงค์ องคมนตรีมาเป็น

        ประธานพิธีเปิด

·        ผู้เข้าร่วมโครงการได้มีโอกาสเรียนรู้จากอาจารย์ชั้นนำของประเทศ

·        มีการไปดูงานที่ธนาคารกสิกรไทย

  • ขณะนี้ชุมนุมสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนได้แนะนำให้สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนปรับโครงสร้างหนี้เพื่อช่วยเหลือลูกหนี้
  • สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนเป็นทางเลือกและทางรอดของประชาชนที่ประชาชนสามารถเข้าถึงได้

จากการบ้านที่ท่านอาจารย์ดร.จิระได้ให้กับพวกเราผู้นำเครดิตยูเนี่ยนขั้นสูงรุ่นที่ 1จำนวน 3 ข้อจึงขอตอบรวมๆด้านแผนยุทธศาสตร์ของเครดิตยูเนี่ยน ด้วยปรัชญาความเชื่อว่าประชาชนเป็นองค์ประกอบรากฐานที่สำคัญที่สุดของชุมชนดังนั้นการพัฒนาให้เกิดผลสำเร็จได้ต้องเริ่มจากการพัฒนา "คน"ให้มีจิตารมย์แห่งการให้มากกว่าการเป็นผู้รับและมีปัจจัยที่เกี่ยวข้องต่อการดำเนินงานพอสรุปเป็นด้านๆคือ ปัจจัยด้านเศรษฐกิจและสังคม ซึ่งมีการแข่งขันกันสูงมากโดยเฉพาะเศรษฐกิจแบบเสรีนิยมทำให้โครงสร้างทางสังคมมีความอ่อนแอ มีการพึ่งพาอาศัยกันน้อยลงเกิดปัญหาทางสังคมมากมายขึ้น ปัจจัยอีกตัวคือด้านนโยบายของรัฐที่เน้นประชานิยมอันเป็นการทำลายวินัยทางการเงินของประชาชน ดังนั้นการกำหนดยุทธศาสตร์จึงต้องหลักแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ภายยใต้การพัฒนาที่ยึด"คนเป็นศูนย์กลางการพัฒนา" มุ่งสร้างดุลยภาพการพัฒนาระหว่างความเข้มแข็งในการพึ่งตนเองของประชาชนโดยใช้ความรู้คู่คุณธรรม ความเพียรในกระบวนการพัฒนาที่อยู่บนหลักความพอประมาณ ความมีเหตุผล ตลอดจนมีภูมิคุ้มกันที่ดีให้พร้อมรับต่อการเปลี่ยนแปลง อันเป็นแนวทางของสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยน..ครับ

อีกด้านหนึ่งเศรษฐกิจโลกเราคงปฏิเสธไม่ได้ว่าได้ส่งผลกระทบต่อประเทศไทยเราแต่ถ้าเรามีพื้นฐานที่ดี พึ่งพากันเองยึดแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงรู้จักการประหยัดอดออมผลกระทบคงน้อยลง

สุดท้ายว่าที่ประธานาธิบดีบารัคโอบามา เป็นคนหนุ่มไฟแรง มุ่งสู่การเปลี่ยนแปลงแต่จากความสลับซับซ้อนของปัญหาต่างๆการดำเนินการคงไม่ง่ายนักและต้องอาศัยเวลาและไม่ลืมว่าการเปลี่ยนแปลงต้องไม่ลืมพื้นฐานเดิม...แต่เขาคือความหวังของคนอเมริกาและของคนทั่วโลก......

พีๆเพื่อนๆน้องๆที่รักและเคารพทุกท่านอีกประมาณสัปดาห์กว่าๆเรากำลังจะจบหลักสูตรแล้วผมเชื่อมั่นว่าจากระยะเวลากว่า 5 เดือนเราได้รับความรู้มากมายจากอาจารย์วิทยากรชั้นแนวหน้าของประเทศเราได้รับโอกาสจากมูลนิธิฯโดยอ.ดร.จิระที่ให้กับขบวนการสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยน อย่าลืม..เรื่องโครงการนะครับแต่ละท่านเราจะใช้โครงการไปปฏิบัติการให้ได้ และเราสัญญากันไหมครับว่าเรารุ่นที่ 1 จะผลักดันให้เกิดรุ่นที่ 2 ให้ผู้นำที่ไม่ได้เข้ารุ่นที่ 1 ได้มีโอกาสเหมือนกับเรา...

สวัสดีครับ...เพื่อนๆทุกท่าน..ผู้อำนวยโครงการหลักสูตรผู้นำสหกรณ์ขั้นสูง รุ้นที่ 1 ชุมนุมสหกรณ์เครดิตยูเนียนแห่งประเทศไทย จำกัด

สืบเนื่องจากการอบรมในวันที่ 29 พย.51 ได้รับเกียรติอย่างสูงจากท่านอาจารย์จิระ ฯ ได้มาติวเข้มเพิ่มเติมได้รับชมเทปบันทึกรายการทาง ที.วี.ของท่านอาจารย์.....และท่านอาจารย์จิระฯ ยังให้โจทก์เพื่อที่จะให้ผู้เข้ารับการอบรมได้ไปคิดแล้วแสดงความคิดเห็นในความรู้สึกในความคิดของแต่ละท่าน

ผมคิดว่า คุณโอบามาฯในขณะนี้เป็นอัศวินม้าขาวของอเมริกันชนๆ..ฝากความหวังเอาไว้กับคนๆนี้มาก เพือที่จะให้อเมริกากลับมายิ่งใหญ่เป็นพี่เบิ้มของโลกใบนี้...แต่ผมคิดว่าคนอเมริกันจะผิดหวัง....โอบามาไม่ใช่คนที่นำพาอเมริกาให้มาโดดเด่นบนเวทีโลกได้ในระยะเวลาอันสั้น....โอบามายังอ่อนเกินไปสำหรับการเป็นผู้นำหมายเลข 1 ของโลกใบนี้ โอบามาคนเดียวไม่สามรถจะทำงานใหญ่คับโลกได้..แล้วคนอย่างโอบามาฯ...จะหาคนมาร่วมงานได้ยาก..ข้อนี้เป็นอุปสรรคในการทำงาน..การเป็นคนเก่งมิใช่แค่พูดเก่งเท่านั้น...แต่ต้องทำเก่งด้วย..ที่ผ่านมาตลอดชีวิตทางการเมือง โอบามาได้แสดงอะไรที่เป็นคนเก่งในทางปฏิบัติบ้าง..นอกจากพูดเก่งเท่านั้น..ยังมีอีกหลายประเด็นที่ผมวิเคราะห์...แต่สรุปว่า โอบามา ไม่ใช่คนที่จะเป็นผู้นำอย่างที่ทุกคนหวัง..

ส่วนเครดิตยูเนียนจะได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจถดถอยของโลกและประเทศไทยอย่างไรหรือไม่เพียงใด...ผมคิดว่าแน่นอนโลกใบนี้เป็นโลกแห่งการเปิดเสรีทางการค้าการเงินและการลงทุน...ทุกๆจุดๆที่วงจรการเงินการค้าการลงทุนเคลื่อนไหวหากมีจุดหนึ่งจุดใดอ่อนแอ...หรือเกิดวิกฤติย่อมจะต้องมีผลกระทบให้วงการการคลื่อนไหวในจุดต่างๆสะดุดหยุดหรืออาจจุเกิดวิกฤติร้ายแรงต่อเนื่องใด้อย่างแน่นอนตามสถานะการโลกที่อ่อนไหว...เครดิตยูเนียนในประเทศไทยก็มิอาจจะหลีกเลี่ยงได้..และอาจจะมีผลถึงขั้นร้ายแรงได้ในอนาคต....เพราะว่าในปัจจุบันนี้ผู้คนในขบวนการเครดิตยูเนียนได้เปลี่ยนไปตามกระแสบริโภคนิยมกระแสทุนนิยม..แห่งโลกาภิวัฒน์และการสื่อสารที่ไร้พรมแดน...อันตรายครับๆๆๆ...

สวัสดีค่ะ ผู้เข้ารับการอบรม การได้อบรมหลักสูตรผู้นำรุ่น 1 รู้สึกคุ้มค่ามากเพราะว่าอาจารย์ที่มาสอนแต่ละคนล้วนแต่เป็นผู้ที่มาเปิดแนวคิดใหม่ ๆ ให้กับเราเพราะได้รับรู้เรื่องราวต่าง ๆ ได้อย่างมากในโลกแห่งการแข่งขันด้วยมนุษย์ที่มีความรู้มากแต่ขาดคุณธรรมเพราะเป็นสังคมใครดีใครเก่งก็สามารถอยู่ได้ รู้สึกประทับใจในคำพูดของดร.ปุระชัย เพราะท่านสอนในเรื่องของความไม่แน่นอนของสัตว์โลกที่หลงอยู่กับการสวมหัวโขนถ้าผู้นำมีความคิดที่ไม่เห็นแก่ตัวประเทศก็คงจะดีขึ้นกว่านี้แน่

การที่ ดร.จีระได้ให้การบ้านเกี่ยวกับการวางแผนยุธทศาสตร์แผนยูธทศาสตร์มีความสำคัญกับองค์กรเพราะเมื่อมีแผนทุกคนก็จะได้เดินได้อย่างถูกเป้าหมายแต่แผนก็สามารถปรับเปลียนได้ตามสถานการณ์เพราะบางครั้งคนที่วางแผนก็ไม่ใช่ผู้ปฏิบัติผู้ปฏิบัติก็ไม่ได้เป็นผู้วางแผน

ส่วนโอบาม่าเป็นผู้ที่มีความสามารถและเป็นผู้ที่สนใจในเรื่องเทคโนโลยีเป็นผู้ที่มีความสามารถไม่งั้นคงไม่ชนะการเลือกตั้งในครั้งนี้ได้การที่จะนำพาสหรัฐให้พ้นจากวิกฤติได้หรือไม่ก็ต้องรอดูผลงานกันต่อไป

ส่วนผลกระทบด้านนเศรษฐกิจถดถอยของโลกที่เกิดขึ้นก็มีผลกระทบกับสหกรณ์บ้างในเรื่องของการปล่อยกู้เพราะรายได้ของสมาชิกลดลงและการตกงานก็มีเพิ่มขึ้นการชำระหนี้ของสมาชิกก็จะต้องมีปัญหาในการชำระหนี้กับสหกรณ์อย่างแน่นอนแต่สหกรณ์ก็จะระมัดระวังและเตรียมรับมือกับเหตุการณ์ในครั้งนี้

สวัสดีครับ...เพื่อนรุ่น 1 (ชสค.)

ก่อนอื่นต้องขอบคุณเพื่อนๆทุกคนนะครับที่ได้ให้เกียรติ ไปร่วมงานวันเครดิตยูเนียนสากล ครั้งทืั้ 10 ที่ จ.จันทบุรี ในฐานะที่ผมเป็นประธานฯจัดงานรู้สึกเป็นเกียรติอย่างสูงที่ได้มีโอกาสรับใช้เพื่อนๆๆพี่ๆๆน้องๆๆทุกคนที่ไปร่วมงาน

กราบขอบคุณอาจารย์ ดร.จิระฯ เป็นอย่างสูงที่ให้เกียรติเดินทางไปร่วมงานในครั้งนี้เป็นการส่วนตัว..และ ให้คำแนะนำที่เป็นประโยชน์มีคุณค่าหาอะไรมาเปรียบมิได้..เป็นคุณกับขบวนการเครดิตยูเนียนเป็นอย่างสูงเหลือคณานับ..กราบขอบคุณท่านอาจารย์จิระฯเป็นอย่างสูงอีกครั้งครับ...อีกท่านหนึ่งคืออาจารย์ ดร.ปรีชาฯที่ได้ขับรถยนต์ส่วนตัวไปร่วมงานในกิจกรรมปล่อยกุ้งด้วยตนเอง ที่อู่ต่อเรือสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช...เป็นกิจกรรมที่พี่น้องชาวเครดิตร่วมกันทำความดีอนุรักษ์ และฟื้นฟูสภาพสิ่งแวดล้อม..แต่บังเอิญท่านอาจา่รย์ ดร.ปรีชาฯท่านมีภาระกิจในการบรรยาที่หาดใหญ่จึงไม่อาจจะอยู่ร่วมงานในค่ำคืนราตรีสังสรรค์วันที่ 13 ต้องกราบขอบคุณมา ณ โอกาศนี้ครับ

งานวันเครดิตยูเนียนผ่านไปเราสัญญาว่าจะไปพบกันอีกครั้งในปีหน้าที่สาขาฯภาคกลางปี 52 ...ขอขอบคุณทุกๆท่านทุกๆคนครับ...สวัสดี

สรุปการบรรยายเรื่อง การสร้างนวัตกรรม โดย ดร.ศุภชัย หล่อโลหะการ

·       นวัตกรรมไทยเกิดขึ้นเมื่อวิกฤติต้มยำกุ้ง และมีการศึกษาโดยทีดีอาร์ไอพบว่า ถ้าจะแก้ปัญหาเศรษฐกิจต้องทำนวัตกรรม

·       นวัตกรรมคือ ทำอย่างไรให้เงินน้อยสามารถสร้างมูลค่าเพิ่มได้มหาศาล พูดได้แต่ทำยาก

·       นวัตกรรมต้องอาศัยความคิดสร้างสรรค์แต่ความรู้ก็สำคัญด้วย

·       ที่รัสเซียเมื่อ 10 ปีที่แล้ว มีความรู้วิทยาศาสตร์ดีมากส่งยานอวกาศได้ แต่ประเทศจน ตอนนี้รัสเซียรวย

·       เด็กไทยชนะเลิศวิทยาศาสตร์โอลิมปิกแต่ประเทศไม่เจริญ

·       ความรู้สำคัญแต่ไม่สร้างความมั่งคั่งให้ประเทศ แต่ความคิดสร้างสรรค์บวกความเป็นผู้ประกอบการ(ความพยายามในการหาเงิน) สร้างความมั่งคั่ง

·       นวัตกรรมจึงเป็นเรื่องความคิดสร้างสรรค์บวกความเป็นผู้ประกอบการ

·       นวัตกรรมสามารถเป็นสิ่งเก่าที่นำมาพัฒนาใหม่ได้ เช่น โออิชินำชาเขียวมาทำเป็นรูปแบบใหม่

·       ถ้าต้องการประสบความสำเร็จ ต้องลงทุนวิจัยมาก เหมือนบริษัทโนเกีย โซนี่ โตโยต้า

·       ข้าวและน้ำมันเป็นสินค้าที่อยู่บนพื้นฐานทรัพยากร ควรจะทำข้าวให้เสริมสุขภาพเช่นกินแล้วอายุยืนขึ้น กินแล้วไม่เป็นอัลไซเมอร์ ต้องสร้างคุณค่าใหม่ให้สินค้า

·       โอลิมปิกที่ปักกิ่งมีความเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นมาก เทคโนโลยีช่วยให้นักกีฬาทำลายสถิติได้มากขึ้น

·       นิตยสารระดับนานาชาติทำให้ทราบว่าแต่ละประเทศจะไปในทิศทางใด เช่น เกาหลีสร้างกระแสวัฒนธรรมเกาหลีให้เป็นที่นิยมของโลก เขามีศูนย์วัฒนธรรมและเนื้อหา สร้างรูปแบบขึ้นมาถือเป็นการสร้างนวัตกรรมเชิงยุทธศาสตร์

·       นวัตกรรมคือบริหารจัดการการเปลี่ยนแปลง ทำน้อยแต่ได้มาก

·       สุดยอดของนวัตกรรมคือการสร้างแบรนด์ออกมา

·       บริหารจัดการนวัตกรรมต้องอาศัยเทคโนโลยี

·       จากผลสำรวจ Business Week คนที่จะเป็นผู้บริหารในอนาคตต้องเป็น

·       The Brain ฉลาดมากๆ

·       The Ambassador มีประสบการณ์มาก

·       The Dealmaker ประสานและทำข้อตกลงได้

·       The Conductor ผู้จัดการ นำ

·       The Casting Agents เลือกคนให้เหมาะกับงาน

·       เมื่อมี 5 คุณสมบัตินี้จะเป็นผู้นำนวัตกรรมได้

·       ประเทศร่ำรวยทรัพยากรธรรมชาติแต่จน ส่วนประเทศที่รวยมักมีทรัพยากรธรรมชาติน้อย

·       สังคมเปลี่ยนแปลงเร็วขึ้นเรื่อยๆ เพราะเทคโนโลยี สินค้าเปลี่ยนจากขนาดใหญ่ให้มีขนาดเล็กลงและมีความแตกต่าง

·       นวัตกรรมคือการสร้างความแตกต่าง สหกรณ์ควรให้บริการที่เป็นทางเลือกใหม่

·       นวัตกรรมจริงๆ แล้วเป็นกระบวนการ แต่สินค้าเป็นผลของนวัตกรรม

·       นวัตกรรมแบ่งเป็น

·       เชิงเทคโนโลยี

·       เชิงการจัดการ (ของเป็นของคนอื่นแต่ผลประโยชน์เป็นของเรา) เช่น เคาน์เตอร์เซอร์วิสของ

        เซเว่นอีเลฟเว่น

·       ไทยมีความคิดสร้างสรรค์ดีแต่ชาวต่างชาติมักซื้อไป

·       นวัตกรรมคือสิ่งใหม่ที่เกิดจากการใช้ความรู้และความคิดสร้างสรรค์ที่มีประโยชน์ต่อเศรษฐกิจและสังคม

·       มีเป้าหมายชัดเจน

·       เห็นผลเร็ว

·       คุมได้

·       มีการมอบอำนาจ

·       นวัตกรรมคือการบริหารจัดการความรู้เพื่อมีเป้าหมายเพื่อสร้างรูปแบบการจัดการแบบใหม่ ถือเป็นพื้นที่ทับซ้อนที่อยู่ระหว่างเทคโนโลยี ธุรกิจและสังคม ทุกคนมีความสุข

·       ต้องมองในสิ่งใหม่ มองในสิ่งที่คนอื่นไม่มองหรือมองไม่เห็น

·       นวัตกรรมเป็นการผสมผสานระหว่างศาสตร์กับศิลป์

·       นวัตกรรมเป็นสิ่งเก่าสำหรับผู้สร้างสรรค์ได้แต่ต้องใหม่สำหรับคนอื่น

·       นวัตกรรมมาจาก

·       ความคิดสร้างสรรค์

·       วิจัยและพัฒนา

·       การจัดการความรู้

·       นวัตกรรมอาจมีโอกาสไม่ประสบความสำเร็จ แต่หน่วยงานใดที่ไม่มีนวัตกรรมเลยก็จะตาย

·       ในการสร้างนวัตกรรม ต้องถามว่า หน่วยงานของตนเองคือใคร มีเป้าหมายอย่างไร และสร้างความแตกต่างจากหน่วยงานอื่นอย่างไร ทำแล้วต้องมีกำไร

·       การบริหารจัดการนวัตกรรมที่ประสบความสำเร็จต้องมีกลยุทธ์ มีการเชื่อมโยงภายนอก เจ้านายสนับสนุนและมีการจัดการที่มีประสิทธิภาพ

·       ควรใช้ของที่มีนำมาประกอบกันเป็นนวัตกรรมของไทย

ท่านผู้นำเครดิตยูเนี่ยนขั้นสูงรุ่นที่ 1 สัปดาห์นี้เป็นสัปดาห์สุดท้ายของหลักสูตรแล้วนะครับในการเรียนรู้ร่วมเพิ่มทักษะ ความรู้ร่วมกัน ผมได้เห็นความสนใจ ตั้งใจของทุกท่านแล้วเชื่อว่าขบวนการเครดิตยูเนี่ยนคงจะก้าวไปข้างหน้าอย่างแน่นอน

หวัดดีครับ..อาจารย์ทุกท่านฯและเพื่อนๆที่รักทุกคน

เสียใจจริงๆครับที่ผมไม่สามารถไปร่วมอบรมสัปดาห์สุดท้ายและก็ไม่สามารถไปล่องเรือชมเจ้าพระยาราตรี..ร่างกายไม่สบายอย่างมากครับไข้หวัดทั้งเล็กทั้งใหญ่เล่นงานผมจนอยู่หมัดเลย คาดว่าคงจะพักใน รพ.อีก 2 วัน ก็ไปพักรักษาตัวที่บ้านได้ครับ..ขอบขุณทุกความห่วงใย โอกาศต่อไปคงมีโอกาสได้รับใช้แบ่งปันความรู้สึกดีๆๆความเป็นพี่เป็นน้อง....อย่างไรก็ตาม....ในโอกาสส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ที่จะถึงนี้ ผมขออวยพรให้ทุกท่านมีความสุขทั้งกายทั้งใจ...ขอให้มีกำลังจิตใจที่มั่นคงเข้มแข็งมีความคิดที่ดีๆๆเพื่อองค์กร โดยเฉพาะ ชสค.....และเจริญก้าวหน้าในหน้าที่การงานตลอดชนชีวิตครอบครัว....สวัสดีครับ....

อบรมช่วงสุดท้ายแล้วครับ เวลาผ่านไปเร็วมากเลย พรุ่งนี้ก็จบโครงการแล้ว อยากให้ช่วยนำสิ่งใหม่ๆที่ได้รับจากการอบรมครั้งนี้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดในสหกรณ์ของแต่ละที่นะครับ เป็นกำลังใจให้เสมอ

ควันหลงจากการจัดงานวันเครดิตยูเนี่ยนสากล จ. จันทบุรี (ไม่บอกไม่ได้ครับ)

เห็น ศ. ดร. จีระ ท่านให้เกียรติไปร่วมงานวันเครดิตยูเนี่ยนสากลที่ จ. จันทบุรี เมี่อวันที่ 13 ธ.ค. แล้วรู้สึกปลื้มใจมากอ่ะครับ ท่านเป็นคนที่มีคิวยาวเหยียด แต่ก็เสียสละเวลาไปร่วมงาน และแสดงความชี่นชมต่อการจัดงาน เห็นท่านไปยืนหน้าเวทีตอนช่วงแสดง 'เมีองจันท์พันปี' ดูการแสดงตลอดจนจบ เห็นแล้วก็เป็นปลื้มอ่ะครับ แสดงว่าท่านชอบเรื่องนี้มากเลย ก็อยากจะให้ผู้นำ ผู้มีชื่อเสียงได้กรุณาให้เกียรติไปเยี่ยมเยียน เป็นกำลังใจให้ผู้นำ ฝ่ายจัดการ และขบวนการเครดิตยูเนี่ยนตลอดไปครับ

VR

การนำเสนอโครงการ

1. สายัณห์ เขียวอินทร์ สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนวัดป่าแป้น จังหวัดเพชรบุรี

โครงการส่งเสริมกลุ่มอาชีพ

·       หาอาชีพเสริมให้สมาชิกทำพรมเช็ดเท้า

·       3-5 ม.ค. 52

·       งบประมาณ 15,000 จากศูนย์เรียนรู้นอกระบบตามอัธยาศัย

·       สมาชิกได้ความรู้และอาชีพ มีรายได้ชำระหนี้

·       พัฒนาการตลาด ได้ทำกิจกรรมร่วมกับสหกรณ์อื่น

ข้อเสนอแนะ

ดร.รังสรรค์ ปิติปัญญา

ข้อมูลบางอย่างไม่ได้ระบุ

การส่งเสริมอาชีพต้องดูเรื่องตลาด ขายที่ไหน

ปัจจัยในการผลิตมีในพื้นที่ไหม มีคนทำงานไหม

เรื่องงบประมาณต้องมีการจัดเตรียมซื้อผลประโยชน์ ช่วยทำตลาด

ดร.ปรีชา สิทธิกรณ์ไกร

ต้องระบุชนิดพรมด้วย

ควรมีกลุ่มเป้าหมายชัดเจน จำนวนคน

คุณคันศร คมภักดี

·       หัวข้อครบ

·       แต่ต้องขยายความเป้าหมายเพิ่ม

 

2. เกียงเฮง แซ่ตั้ง ชมรมสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนลุ่มน้ำสงคราม

โครงการสหกรณ์กู้วิกฤติ เครดิตยูเนี่ยนกู้ชาติ

·       เพื่อมีวิธีถูกต้องในการกู้วิกฤติโดยใช้สหกรณ์เพราะมีความสมบูรณ์ในการแก้ปัญหา

·       ทำสหกรณ์ให้มีคุณภาพต้องเริ่มที่พัฒนาคน (เหมือนสหกรณ์เกาหลี) ใส่จิตวิญญาณลงไป จะเกิดเครดิตยูเนี่ยนที่เข้มแข็งให้เกิดขึ้นไปทั่ว

·       กลุ่มเป้าหมาย ในเมือง ชนบท องค์กร

·       งบ 100,000 บาท

·       จัดงานโดยชมรมสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนลุ่มน้ำสงคราม

ข้อเสนอแนะ

 

ดร.ปรีชา สิทธิกรณ์ไกร

·       เป็นเรื่องที่ดี

·       ควรระบุกลุ่มเป้าหมายให้ชัดเจน

·       ขั้นตอนยังขาดรายละเอียดการดำเนินงานที่ชัด

·       ระยะเวลาควรชัด ตั้งกี่แห่งในเวลาเท่าไรจะได้ประเมินได้ชัด

ดร.รังสรรค์ ปิติปัญญา

·       ชื่อดี ควรเปลี่ยนเป็นแก้วิกฤติมากกว่ากู้

 

3.อดิศักดิ์ คลับคล้าย สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนโรงเรียนบ้านท่าโล้

โครงการสร้างทุนเพื่อลูกรัก

·       ในอนาคต เด็กๆจะโต แล้วเขาต้องมาทำงาน พ่อแม่ต้องสร้างทุนไว้ให้

·       โครงการนี้จะช่วยสร้างนิสัยรักการออม พ่อแม่ส่งเงินแต่เบิกถอนไม่ได้จนกว่าลูกจะบรรลุนิติภาวะ

·       มีสมาชิกเพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่า 300 ราย มีสุขภาพดี ลูกหลานมีอนาคต มีทุนหมุนเวียนระยะยาว

·       งบประมาณ 6,000 บาท

ข้อเสนอแนะ

ดร.รังสรรค์ ปิติปัญญา

·       ยังงง

·       ปัญหาจะถอนหุ้นคืนได้ไหมต้องแก้ไขระบบระเบียบ

·       โครงการน่าสนใจ สร้างเงินกองทุนมากขึ้น

·       ควรสร้างนิสัยการออมเข้าไปสู่นักเรียนด้วย

ดร.ปรีชา สิทธิกรณ์ไกร

·       คล้ายสร้างทุนทรัพย์เพื่อลูก

·       ควรทำวัตถุประสงค์ให้ชัดเจน เหมือนเป็นการเพิ่มสมาชิกสมทบและเพิ่มการออมด้วย

·       ระบุว่าจะทำผ่านสื่ออะไร

 

4. คำจันทร์ จันทน์จำปา

โครงการขยายเครดิตยูเนี่ยนในพื้นที่ชนบท

·       ตั้งเครดิตยูเนี่ยนได้ บริหารได้มีประสิทธิภาพ

·       จัดงานโดยสหกรณ์เครดิตบ้านดุงสามัคคีและชมรมสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนลุ่มน้ำสงคราม

·       พื้นที่เป้าหมาย 3 ตำบลในจังหวัดอุดรธานี

·       เป้าหมาย 1 ปี

·       ตั้งตำบลละ 1 กลุ่ม

·       อบรม 2 วัน ให้บริหารเครดิตยูเนี่ยน

·       ประเมินทุก 3 เดือน

·       งบจากสหกรณ์เครดิตบ้านดุงสามัคคีและชมรมสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนลุ่มน้ำสงคราม 32,350 บาท

ข้อเสนอแนะ

ดร.ปรีชา สิทธิกรณ์ไกร

·       วัตถุประสงค์ จัดอบรมคนใน 3 พื้นที่ แล้วตั้งกลุ่มเครดิตยูเนี่ยน ควรขยายเพิ่ม และควรเป็นพี่เลี้ยงให้กลุ่มด้วย

·       กำหนดวันชัดเจน มีเป้าและประเมินชัด

ดร.รังสรรค์ ปิติปัญญา

·       ควรเพิ่มวัตถุประสงค์ขยายการตั้งกลุ่มร่วม

·       ผลที่คาดว่าจะได้รับที่ซ้ำควรตัดออก

·       โดยรวมขอชื่นชม

คุณคันศร คมภักดี

·       ขอชมเชยงบวัดได้ ควบคุมได้เป็นไปตามคาดหวังได้

 

5. พิพัฒน์พงษ์ พัชรวิโรจน์สกุล

โครงการพัฒนาระบบเทคโนโลยีการบริหารงานและระบบบัญชี

·       เพื่อสร้างความเชื่อมั่น ทันสมัย ลดขั้นตอนการทำงาน สร้างความพึงพอใจให้สมาชิก รองรับสมาชิกและธุรกรรมเพิ่มขึ้น

·       เขียนโปรแกรมมาใช้เองให้เหมาะกับงานสหกรณ์

·       ทำ หนองขานางอินเตอร์เน็ตคู้ปปิ้ง ใช้ ID login เข้าทำงาน จัดทำบัตรสมาชิกแบบสมาร์ทการ์ด ถอนเงินผ่านเอทีเอ็ม

·       มีรถโมบายบริการ

·       ทำบริการผ่านโทรศัพท์มือถือ

·       งบรวม 500,000 บาท

·       จัดโดยสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนหนองขานาง จ.เพชรบุรี

ข้อเสนอแนะ

ดร.รังสรรค์ ปิติปัญญา

·       โครงการนี้เป็นเรื่องที่ดี

·       ควรปรับโครงการว่าจะต่อยอดอย่างไร

ดร.ปรีชา สิทธิกรณ์ไกร

·       วัตถุประสงค์เน้นพัฒนาระบบมารองรับงานสหกรณ์

·       โครงการใหม่ต้องพัฒนาต่อยอดจากโครงการเดิมที่ประสบความสำเร็จ

·       อุปกรณ์ต้องครอบคลุมเฟสใหม่ ต้องเตรียมบุคลากร อนาคตอาจมีไมโครเวฟ

·       ควรแก้ชื่อเป็น Internet Coop Accounting

·       ควรมีสารสนเทศต่อเนื่อง

คุณคันศร คมภักดี

·       โครงการนี้เป็นโครงการที่ดี

·       ควรมีโครงการติดตามประเมินผลโครงการด้วย

การนำเสนอโครงการ (ต่อ)

6. สุริยา มนตรีภักดิ์

โครงการการพัฒนาสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนในพื้นที่จังหวัดขอนแก่นโดยศึกษารูปแบบการพัฒนาสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนจังหวัดเพชรบุรี

·       ที่ขอนแก่นมี 10 อำเภอไม่มีเครดิตยูเนี่ยน แต่ที่เพชรบุรีมีเครดิตยูเนี่ยนมาก

·       เป้าหมายตั้งเครดิตยูเนี่ยนให้ครบในทุกอำเภอของขอนแก่นและพัฒนาผู้นำให้มีความเข้าใจในเครดิตยูเนี่ยน

·       กิจกรรม

·             นำเครดิตยูเนี่ยนที่มีในขอนแก่นไปหาสมาชิกในอำเภอที่ยังไม่มี จะพัฒนาผู้นำ 50

            คน นำมา

·             ดูงานที่ชสค.เรียนรู้กระบวนการเครดิตยูเนี่ยน1วัน             

·             ดูงานเครดิตยูเนี่ยนที่เพชรบุรี 1วัน

·             ดูกลุ่มสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนต่างๆที่เพชรบุรี 1วัน

·             ดูกลุ่มเครดิตยูเนี่ยนใหม่ๆที่เพชรบุรี 1วัน

·             สรุป1วัน

·             งบอปท.

·             จัดโดยสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนบ้านทับคาง จ.เพชรบุรี

ข้อเสนอแนะ

 

ดร.รังสรรค์ ปิติปัญญา

·       แนวคิดดี

·       ควรเริ่มในทุกจังหวัดไม่ใช่แค่ขอนแก่น

·       วิธีการเป็นไปได้ ควรจะกระจายผู้เชี่ยวชาญจากเพชรบุรีไปจังหวัดอื่นๆ

·       อาจมีสัมมนาให้โครงการเป็นจริง

·       ความชัดเจนงบประมาณยังไม่มี

ดร.ปรีชา สิทธิกรณ์ไกร

·       ช่วงแรกเกริ่นย้อนไกลมาก

·       ควรกล่าวถึงสภาพปัญหาในขอนแก่นด้วย

·       ควรมีตัวเลขจำนวนเงินและจำนวนเงิน

·       ชสค.สามารถทำได้โดยกระจายสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนไปในแต่ละพื้นที่

 

7. คุนัญญา รุณพันธ์

โครงการอบรมฟื้นฟูความรู้สมาชิก

·       เป้าหมายสมาชิกเลขที่ 1-2,000 (สมาชิกเก่า)

·       อบรมบทบาทสมาชิกยุคใหม่ สิทธิหน้าที่ สวัสดิการใหม่ๆเพิ่มเติม 5 รุ่นรุ่นละ 200 คน 6 ชั่วโมง

·       งบเบิกจ่ายจากทุนการศึกษา

·       จัดโดยสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนวัดยางเขาย้อย จ.เพชรบุรี

ข้อเสนอแนะ

ดร.ปรีชา สิทธิกรณ์ไกร

·       วัตถุประสงค์ชัดเจน มีทั้งความรู้เดิมและความรู้ใหม่

·       ควรเปลี่ยนหัวข้อในการอบรมใหม่ จะดีขึ้น

·       เป้าหมายมาก

ดร.รังสรรค์ ปิติปัญญา

·       โครงการนี้เป็นโครงการที่ดี แต่ไม่มีจุดเด่น

คุณคันศร คมภักดี

·       เป้าหมายชัดเจน

·       ควรใส่การดำเนินงานและประเมินผล

 

8. ภัทรภร พันธุ์แดง สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนฟรีเทรด

โครงการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์

·       เพื่อให้เจ้าหน้าที่พัฒนาทักษะเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน และให้คนทั่วไปเข้าใจสหกรณ์

·       เป้าหมาย 300 คน

·       จัดฝึกอบรมเป็นโครงการต่อเนื่อง(เรียนต่อปริญญาโท) มีสัมมนา กรณีศึกษา

·       จัดวันที่ 24 พ.ค. 52

·       งบ 30,000 บาท (จากงบการศึกษาของสมาชิก)

ข้อเสนอแนะ

ดร.รังสรรค์ ปิติปัญญา

·       การนำเสนอกลอนนำเพราะมากแต่เนื้อหาข้างในควรสอดคล้องกับบทนำ

·       วัตถุประสงค์มีบุคคลทั่วไปเข้าร่วมโครงการ แต่วิธีการทำงานไม่ได้จูงใจให้มีบุคคลทั่วไปมาร่วมด้วย

·       การดูงานไม่แน่ใจว่าเกี่ยวข้องกับโครงการนี้และวิธีการดำเนินการ

·       เนื้อหาควรเพิ่มเติม

·       ผลที่คาดว่าจะได้ยังไม่ชัดเจนว่ามีเป้าหมายเท่าไร ควรเขียนเป็นจำนวน

·       ควรมีประเมินผลด้วย

·       โครงการนี้น่าสนใจ

ดร.ปรีชา สิทธิกรณ์ไกร

·       ความคิดดีแต่ควรฝึกทักษะในการเขียนโครงการให้ดี

·       กรอบอบรมกว้างมาก ขาดรายละเอียด

·       งบประมาณ 30,000 บาทอาจไม่พอ

·       ควรประเมินรายโครงการ จะชัดเจนกว่า

·       ควรเน้นโครงการเดียวแต่มีรายละเอียดมาก

 

9. กุลณัฏฐ์ พานข้าวตอก

โครงการลดหนี้คั่งค้างของสหกรณ์

·       ปัญหาความไม่แน่นอนของอาชีพเกษตรขึ้นกับทรัพยากรทำให้เกิดหนี้สิน

·       ให้ความรู้ที่ถูกต้องในการชำระหนี้

·       วิเคราะห์

·       ติดตามหนี้

·       แบ่งทีมติดตามหนี้

·       มีการให้แต้มตามความสามารถในการติดตามหนี้และให้รางวัล

·       งบ 80,000 บาทของสหกรณ์

·       ทำโดยสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนธรรมรังสี จ.เพชรบุรี

ข้อเสนอแนะ

ดร.ปรีชา สิทธิกรณ์ไกร

·       น่าจะดำเนินงานได้

·       มีรูปธรรมดำเนินงานชัดเจน

·       ควรมีเป้าลดหนี้ที่ชัด มีกรอบระยะเวลา ติดตามผลเป็นช่วง

·       ถ้านำไปทำจริง ก็จะดี

ดร.รังสรรค์ ปิติปัญญา

·       มีองค์ความรู้ดีมาก

·       โครงการนี้ได้ถูกพัฒนาอย่างดี

·       ทำให้เกิดการกระตุ้นเจ้าหน้าที่ในการเก็บหนี้ แต่อาจละเลยการดูแลสมาชิก

·       โครงการนี้เป็นโครงการที่ดี

                                                           

10.  สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนพัฒนาชุมชนบ้านพุตะแบก จ.ประจวบคีรีขันธ์

โครงการการแก้ไขปัญหาหนี้คั่งค้างของสหกรณ์

·       สมาชิกมีรายได้ไม่พอ ขาดเงินทุนหมุนเวียน ทำให้เป็นหนี้

·       หนี้ลด 5% ภายใน 1ปี

·       การดำเนินงาน

·       ประชุมวางแผนม.ค.ปีหน้า

·       ตรวจสอบหนี้

·       ติดตามลูกหนี้

·       ปรับโครงสร้างหนี้

·       ปรับดอกเบี้ย

·       ฟ้องร้อง

·       ประเมินผล

·       งบประมาณ 120,000 บาท

ข้อเสนอแนะ

ดร.รังสรรค์ ปิติปัญญา

·       รายละเอียดดี มีการวางแผนดี

·       หนี้คั่งค้างต้องมีคำจำกัดความที่ชัด

·       การปรับโครงสร้างหนี้ เป็นเรื่องที่ดีมาก

·       น่าชื่นชมและทำได้เลย

ดร.ปรีชา สิทธิกรณ์ไกร

·       โครงการนี้เกิดจากการระดมสมองและแก้ปัญหาของสหกรณ์

·       ควรแยกชนิดหนี้

·       ควรตั้งว่าจะลดหนี้คั่งค้างเป็นจำนวนเท่าไร

คุณคันศร คมภักดี

·       มีความชัดเจนดี

·       มีการติดตามผลได้

การนำเสนอโครงการ (ต่อ)

11.สุวรัตน์ สอนขำ  สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนมิตรชาวสวน จ.สุราษฎร์ธานี

โครงการพัฒนาบุคลากรสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนมิตรชาวสวน จำกัด

·       พัฒนาคนให้อยู่ดี กินดี มีความสุข

·       เป้าหมายพัฒนาสมาชิก กรรมการและฝ่ายจัดการ

·       สมาชิกยังขาดความรู้ความเข้าใจด้านสหกรณ์

·       กรรมการความรู้ความเข้าใจหน้าที่และการบริหารงานสหกรณ์

·       ฝ่ายจัดการขาดทักษะการทำงาน ความรับผิดชอบและความกระตือรือร้นในการทำงาน

·       โครงการสำหรับสมาชิกเริ่มม.ค.-ธ.ค. 52 อบรมกลุ่มย่อย 9 กลุ่ม

·       จะมีสมาชิกเพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่า 500 คน

·       งบมาจากทุนการศึกษาสหกรณ์

ดร.ปรีชา สิทธิกรณ์ไกร

·       ควรปรับเป็นแผนพัฒนาบุคลากรจะดีกว่า แล้วมีรายละเอียดของแผน  

ดร.รังสรรค์ ปิติปัญญา

·       โครงการครบถ้วน

·       ต้องเขียนเป็นกรอบใหญ่แล้วมีรายละเอียด

คุณคันศร คมภักดี

·       โครงการย่อยเยอะ หลายโครงการรวมกันได้ ควรทำให้สอดคล้องกันกับเป้าหมาย

12.  บุญลภ ไชยหล่อ สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนบ้านคลองใหญ่ จำกัด จ.พัทลุง

โครงการยกระดับมาตรฐานบุคลากร

·       บรรยาย ระดมสมอง  1 เดือน

·       ที่เขาปู่เขาย่า

·       เป้าหมาย กลุ่มกรรมการ สมาชิก 20 คน

·       งบ 30,000 บาท

ข้อเสนอแนะ

ดร.รังสรรค์ ปิติปัญญา

·       วัตถุประสงค์ยังกระโดดไปมา ควรเขียนให้สอดคล้องกัน

·       การประเมินผลยังไม่เห็นในวัตถุประสงค์ ควรมีแนวทางการวัด ต้องมีกรอบเวลาระบุ

ดร.ปรีชา สิทธิกรณ์ไกร

·       โครงการนี้เหมือนหยุดแค่แผนกลยุทธ์

·       วันที่ไม่ควรกระโดด

·       ควรมีกรอบมาพอสมควร

คุณคันศร คมภักดี

·       ระยะเวลากระชั้นชิดมากเกินไป ควรปรับเวลา

 

13.

โครงการจัดสร้างศูนย์ฝึกอบรมขบวนการสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคพื้นอินโดจีน

·       จัดโดยชุมนุมสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนแห่งประเทศไทย

·       เพื่อถ่ายทอดวิชาการพัฒนาชุมชน

·       ส่งเสริมให้ผู้นำมีความรู้

·       ส่งเสริมให้มีความมั่นคง

·       เป็นเครือข่ายกับต่างประเทศ อินโดจีนมีความต้องการด้านเครดิตยูเนี่ยนและไทยควรเป็นศูนย์กลางในการฝึกอบรม

·       ระดมทุนในรูปหุ้น รับบริจาค

·       ศูนย์พึ่งตนเองได้ภายใน 5 ปี

·       อบรมปีละ 9,000 คน

·       งบ 25 ล้านบาท

·       ดำเนินการปี 2551 - 2555

ข้อเสนอแนะ

ดร.ปรีชา สิทธิกรณ์ไกร

·       มีรายละเอียดดี กรอบคิดดี

·       ควรแบ่งขั้นตอนระยะเวลาดำเนินงานให้ชัดเจนขึ้น

·       การให้บริการต้องลงเวลาให้ชัดเจน

ดร.รังสรรค์ ปิติปัญญา

·       บางประเด็นยังไม่เข้าใจ เช่น กายภาพ คน หลักสูตร

·       หลังศูนย์เสร็จ จะดำเนินงานอย่างไร มีความผูกพันอะไรหรือไม่

·       การบริหารงานจัดการงานบางทีอาจไม่ได้ประสานงานภายในกันเอง

·       ถ้าสร้างแล้วก็ควรใช้ให้คุ้มค่า

 

14. บุษบา อ่อนวงศ์ สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนบ้านทับคาง

โครงการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์

·       จัดฝึกอบรม ดูงาน

·       เป้าหมาย เจ้าหน้าที่ได้รับการอบรมคนละ 3 ครั้งต่อปี ผู้ตรวจสอบ 1 ครั้งต่อปี

·       วัดผลทำแบบทดสอบก่อนและหลังอบรม การนำแนวคิดไปใช้

ข้อเสนอแนะ

คุณคันศร คมภักดี

·       บทนำสอดคล้องชื่อเรื่อง

·       ชอบเป้าหมายชัดเจน ปฏิบัติได้จริง มีประโยชน์ต่อสหกรณ์

·       ชอบตัวชี้วัด

·       ควรกำหนดระยะเวลา

ดร.รังสรรค์ ปิติปัญญา

·       ต้องมีการวิเคราะห์ในระดับบุคคลและองค์กร

·       สหกรณ์ไม่จำเป็นต้องจัดโครงการเองทุกอย่าง อาจไปร่วมกับหน่วยงานอื่นแล้วต้นทุนจะถูกลง

15.  ภาณิสา อินทะนิล สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนโรงเรียนบ้านท่าโล้ จังหวัดเพชรบุรี

โครงการส่งเสริมอาชีพทอผ้า

·       มีพื้นฐานการทอผ้า

·       เป้าหมาย สมาชิกแรกตั้ง 20 คน

·       ทำในปี 2552

·       ประชุมสมาชิก เลือกกรรมการกลุ่ม เตรียมวัสดุ ทำการตลาด ดูงานกลุ่มอื่นๆ ทำบัญชีรับจ่าย

·       งบจากจังหวัดเพชรบุรีและอบต.

 

 

ข้อเสนอแนะ

ดร.รังสรรค์ ปิติปัญญา

·       เนื้อหาประเด็นครอบคลุม

·       วัตถุประสงค์ต้องเป็นสิ่งที่ทำได้ ประโยชน์ที่ได้จากโครงการไม่ใช่วัตถุประสงค์

·       งบประมาณอาจมากเกินไปเมื่อเปรียบเทียบกับรายได้ที่เพิ่มขึ้น

คุณคันศร คมภักดี

·       ข้อมูลค่อนข้างครบ

·       ควรระบุวิธีเลือกสมาชิก

·       ควรระบุตลาด

16. บงกช ทรายคำ  สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนเพิ่มพูนทรัพย์เวียงฝาง จ.เชียงใหม่

โครงการเพิ่มจำนวนสมาชิก

·       ชาวบ้านอยากมีเงินเก็บจึงตั้งสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนขึ้น

·       มีจำนวนสมาชิกน้อยเมื่อเทียบกับจำนวนประชากรในพื้นที่

·       วัตถุประสงค์ สร้างวัฒนธรรมการออมให้กับสมาชิก ให้บริการสมาชิกที่อยู่ห่างไกล

·       มีทุน 20 ล้าน

·       ต้องการเพิ่มสมาชิกปีละ 1,000 คน (ที่มีคุณภาพสำหรับสหกรณ์)

·       วิธีการดำเนินการ ใช้รถตู้บริการออนไลน์เชื่อมต่อโน้ตบุ๊คเคลื่อนที่ไปให้บริการ มีโปรเจ็คเตอร์ให้ความรู้สมาชิก

·       มีโครงการต่อเนื่อง ทำโครงการกู้เพื่อการท่องเที่ยว กระตุ้นเศรษฐกิจ ใช้รถตู้บริการออนไลน์บริการสมาชิกท่องเที่ยว

ข้อเสนอแนะ

ดร.ปรีชา สิทธิกรณ์ไกร

·       วัตถุประสงค์ สร้างวัฒนธรรมการออมให้กับสมาชิก ให้บริการสมาชิกที่อยู่ห่างไกลใช้รถตู้บริการออนไลน์

·       กระบวนการให้ความรู้ ควรใช้ทีวีจอแบน

·       ควรดูความเป็นไปได้ในรายละเอียด

·       ขาดรายละเอียดในบางขั้นตอน

ดร.รังสรรค์ ปิติปัญญา

·       ยังไม่ค่อยพอใจ เพราะยังไม่มีการเพิ่มจำนวนสมาชิก

·       จำนวนที่เพิ่มทำได้ยาก

·       ควรระบุรายละเอียดงบประมาณ

·       ถ้าใช้อุปกรณ์แพงๆควรคิดเป็นค่าใช้จ่าย ไม่ใช่ค่ารถ เพราะรถใช้ในกิจอื่นได้

·       วิธีการยังไม่ชัดเจน แต่ใช้รถตู้ถือเป็นเครื่องมือ

คุณคันศร คมภักดี

·       โครงการนี้ ถ้าทำได้จะเยี่ยมมาก

·       ควรใส่รายละเอียดเพิ่มเติม

17. พูลศักดิ์ วรรณา สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนครูฝาง

โครงการจัดตั้งธนาคารสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยน

·       จัดตั้งธนาคารสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนบริหารสภาพคล่อง

·       วิธีดำเนินการ จัดตั้งคณะทำงานจากผู้เข้าร่วมโครงการรุ่น 1

·       ทุนจากสหกรณ์ ชสค. หุ้น รวม 3-4 พันล้านบาท

·       จะทำวิจัยวิเคราะห์ความเป็นไปได้

·       รับผิดชอบโครงการโดยชสค.

ข้อเสนอแนะ

ดร.รังสรรค์ ปิติปัญญา

·       นี่เป็นเรื่องวิจัยไม่ใช่การจัดตั้ง เคยมีการวิจัยไปแล้วหลายครั้ง

·       เก่งมากที่เขียนโครงการของบจากชสค.

·       ขาดแผนงานและระยะเวลา

·       ตอนนี้มีกระแสการตั้งธนาคารภาคประชาชน

ดร.ปรีชา สิทธิกรณ์ไกร

·       เมื่อศึกษาแล้ว ควรหาคำตอบได้

·       ทำได้ยากพอสมควร

·       ขาดเป้าหมาย

·       ต้องมีพระราชบัญญัติมารองรับธนาคารด้วย

·       สหกรณ์ตอนนี้ทำธุรกรรมได้เหมือนธนาคารแล้ว

คุณคันศร คมภักดี

·       เคยมีคนทำวิจัยเรื่องนี้แล้ว

 

18. อนันต์ ประกอบของ สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนบ้านหนองสามัคคี

โครงการพัฒนาศักยภาพชมรมเจ้าหน้าที่เครดิตยูเนี่ยนเขตภาคเหนือ

·       วัตถุประสงค์ ประสานความสัมพันธ์ระหว่างเจ้าหน้าที่และช่วยเหลือให้คำปรึกษาในการทำงาน พัฒนาศักยภาพ สร้างขวัญกำลังใจ

·       วิธีดำเนินการ จัดสัมมนา กิจกรรมสันทนาการ (สร้างสัมพันธ์กับบุคลากร)

ข้อเสนอแนะ

ดร.รังสรรค์ ปิติปัญญา

·       ยังงงว่าการพัฒนาศักยภาพอยู่ตรงไหน เห็นแค่ในงานสัมมนา

·       การพัฒนาศักยภาพต้องดูความขาดแคลน

·       ประเด็นระยะเวลายังไม่ชัดเจน

·       งบยังไม่ระบุ

·       เปลี่ยนชื่อโครงการเป็น โครงการพัฒนาศักยภาพและความร่วมมือ

ดร.ปรีชา สิทธิกรณ์ไกร

·       กิจกรรมโครงการวางแผนยาวมาก เพราะไม่ซับซ้อน

·       ต้องดูความลึกในการพัฒนา ศักยภาพอาจจะคนละอย่างกับจริยธรรม

·       ควรมีเสื้อแจกให้ดูเป็นทีม

·       ควรมีการต่อยอดที่ดีกว่านี้

19. วีระยุทธ์ รุจิเรข ชสค.

โครงการ ACCESS Branding

·       ประเมินคุณภาพสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนโดยใช้ Balance Scorecard

·       มีการให้เหรียญรางวัลตามลำดับ

ข้อเสนอแนะ

ดร.รังสรรค์ ปิติปัญญา

·       เนื้อหานำไปปรับใช้ได้เลย

·       ควรจะเตรียมงบ

ดร.ปรีชา สิทธิกรณ์ไกร

·       ควรปรับการเขียนให้สั้นกว่านี้ เขียนตามลำดับ

·       รายละเอียดดี

 

20. กรณิศ พงษ์ตุ้ย

มูลนิธิเศรษฐศาสตร์ชุมชนเพื่อการพัฒนา

โครงการพัฒนาบุคลากร

·       งบประมาณ 170,000 บาท

·       ผลที่จะได้รับ กรรมการและผู้ตรวจสอบกิจการบริหารงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ข้อเสนอแนะ

ดร.ปรีชา สิทธิกรณ์ไกร

·       รูปแบบชัดเจน น่าจะทำได้เลย

·       ชื่อหลักสูตรกับเนื้อหาไม่ค่อยจะสอดคล้องกัน

·       ระยะเวลาการบรรยายแต่ละเรื่องมีความกระชับสั้น เนื้อหาสลับไปมา

ดร.รังสรรค์ ปิติปัญญา

·       โครงการนี้เขียนค่อนข้างดี

·       ขั้นตอนประสานงานควรลดลงบ้าง

·       คุณสมบัติผู้เข้าอบรมควรเป็นเป้าหมาย

·       งานนี้อาจกินเวลางานประจำไปหมด แต่ถ้าทำได้ก็ดี

คุณคันศร คมภักดี

·       เนื้อหาดี

·       วิธีการน่าจะเป็นเป้าหมาย

การนำเสนอโครงการต่อ

21. บุญชู เนาวรัตน์ สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนวัดใหม่ประเสริฐ

โครงการอบรมผู้นำเพื่อเตรียมการเป็นกรรมการสหกรณ์

·       อบรมคนให้มีความเข้าใจสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนอย่างจริงจังและมีความพร้อมเป็นกรรมการ

·       วิธีดำเนินการ ให้แต่ละเขตตั้งกรรมการแล้วนำกรรมการมาอบรม และให้แต่ละเขตเลือกกรรมการมา 1 คนมาแทนกรรมการที่หมดวาระ

·       ใช้งบ 30,000 บาท

ข้อเสนอแนะ

ดร.รังสรรค์ ปิติปัญญา

·       อธิบายดีกว่าเอกสาร

·       วัตถุประสงค์ยังไม่สอดรับกัน

·       เป้าหมายยังไม่มี

·       ควรระบุเนื้อหาสัมมนา

ดร.ปรีชา สิทธิกรณ์ไกร

·       นอกจากอบรม ควรเปิดเวทีให้ผู้นำแสดงความคิดเห็น

·       ควรเพิ่มรายละเอียดเนื้อหา

22. พงษ์ศักดิ์ ศรีวานิชภูมิ สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนเอ็น เอช เค สปริง

โครงการพัฒนาสหกรณ์ให้เป็นศูนย์กลางทางการเงิน

·       ปัญหาคือสมาชิกใช้จ่ายเกินตัว มีหนี้สินมาก ขาดวินัยในการออม ขาดความรู้และความเข้าใจในสหกรณ์

·       วัตถุประสงค์ ส่งเสริมการออม สร้างความเชื่อมั่น

·       จะเพิ่มการบริการในหลายพื้นที่ เพิ่มผลิตภัณฑ์สินเชื่อเพื่อศึกษาต่อและสินเชื่อเพื่อการท่องเที่ยว

·       เป้าหมายคือ เพิ่มจำนวนสมาชิกอีก 10%

·       งบประมาณ 34,000 บาท

·       ประเมินผลโดยใช้แบบสำรวจแล้วให้คะแนน ต้องได้คะแนนไม่น้อยกว่า 80%

ข้อเสนอแนะ

ดร.ปรีชา สิทธิกรณ์ไกร

·       อาจเขียนว่าเป็นโครงการย่อยภายใต้โครงการใหญ่ก็ได้

·       ในอนาคต สถานประกอบการที่มีรายได้ไม่ประจำ ก็ต้องใช้การออมนำสินเชื่อ

ดร.รังสรรค์ ปิติปัญญา

·       ในส่วนชื่อเรื่องกับวัตถุประสงค์ควรจะชัดเจนกว่านี้

·       ควรเปลี่ยนชื่อเป็น ปรับปรุงและพัฒนาบริการสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยน

23. กัญญา บุญรอด สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนบ้านซ่อง จ.เพชรบุรี

โครงการออมทรัพย์เพื่อเป้าหมายแห่งชีวิต

·       งบประมาณ 100,000 บาท

·       ประโยชน์ที่จะได้รับ สมาชิกมาใช้บริการเงินออมมากขึ้น 10 ล้านบาท สหกรณ์มีเงินทุนช่วยเหลือสมาชิกมากขึ้น

ข้อเสนอแนะ

ดร.รังสรรค์ ปิติปัญญา

·       โครงการนี้ดี

·       ตัวสินค้าใหม่ยังไม่ชัด ควรระบุว่าต่างจากเดิมอย่างไร

·       วัตถุประสงค์มากไป

·       ขาดเป้าหมายที่ชัดเจน ระบุจำนวนบัญชีหรือจำนวนคนด้วย นอกเหนือจากจำนวนเงิน

ดร.ปรีชา สิทธิกรณ์ไกร

·       การออมแบบนี้ต้องมีแรงจูงใจพิเศษ

·       ควรเพิ่มการกระจายกลุ่มออมด้วย รวมถึงระดับล่างด้วย

·       เป็นแนวคิดที่ดี ทำให้การออมมีเป้าหมายชัดเจน

 

คุณคันศร คมภักดี

·       การออมเป็นโครงการที่สำคัญมาก

การนำเสนอโครงการต่อ

24.มยุรา จิตเกื้อกูล สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนสมอสาม

โครงการทักษะการถ่ายทอด

 

25. ดุสิต ลาภมาก ก.ดอนแท่น 2544

โครงการขยายสมาชิกเครดิตยูเนี่ยน

·       ใช้วิทยุชุมชน

·       สมาชิกบอกต่อ

·       แผ่นป้ายและแผ่นพับ

·       พูดในงานสำคัญต่างๆ

·       พบผู้ใหญ่

·       เพิ่ม 5000 คน

·       อบรม 1 ครั้งต่อเดือน

ข้อเสนอแนะ

ดร.ปรีชา สิทธิกรณ์ไกร

·       โครงการดีมีความชัดเจน

ดร.รังสรรค์ ปิติปัญญา

·       เห็นด้วยที่ว่า เงินในมือคนจนมีค่ามากกว่าเงินในมือคนรวย เพราะในทางเศรษฐศาสตร์บอกว่าจะทำให้เกิดการหมุนเวียน

·       วิธีการ ขยายสมาชิกควรย้ายไปอยู่ในวัตถุประสงค์

·       ควรมีการติดตามประเมินผล

คุณคันศร คมภักดี

·       ชอบใจตรงไม่กลัวสมาชิกมาก เพราะหลายหัวดีกว่าหัวเดียว

 

26. ปราณี อินทจักร สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนบ้านซ่องจันทร์

โครงการขยายสมาชิกและส่งเสริมการตลาดเยาวชน

·       เครดิตยูเนี่ยนขาดตลาดที่เป็นเยาวชน

·       ปลูกฝังการออม

·       ฝึกให้เด็กวางแผนชีวิตในอนาคต

·       ประชาสัมพันธ์เครดิตยูเนี่ยนเข้าในสถานศึกษา

·       สร้างสมาชิกรุ่นใหม่มาทดแทน

·       งบประมาณ จัดสรรจากกำไรสุทธิ

·       เป้าหมาย 22 โรงเรียน

ข้อเสนอแนะ

ดร.รังสรรค์ ปิติปัญญา

·       โครงการดีมาก

·       ควรใช้ชื่อว่า การฐานสมาชิกสู่เยาวชนมากกว่า

ดร.ปรีชา สิทธิกรณ์ไกร

·       โครงการดีมาก

·       ความคิดคล้ายต่างประเทศ

·       มีวิธีการที่เป็นรูปธรรม สามารถนำไปใช้กับสหกรณ์อื่นได้

คุณคันศร คมภักดี

·       ควรเขียนโครงการต่อยอดมากกว่า

 

27. ขวัญ เขาแก่ง สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนฟรีเทรด

โครงการพัฒนาสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนฟรีเทรด

·       จัดอบรมจิตตารมณ์

·       จัดอบรมการบริหารการเงิน

·       จัดทำอบรมการสะกดรอยเงิน รู้จักการทำบัญชี

·       เป้าหมาย สมาชิก 300 คนต่อปี

ข้อเสนอแนะ

ดร.รังสรรค์ ปิติปัญญา

·       ดูจากชื่อเรื่องแล้วกว้าง แต่ดูเนื้อหาเน้นเรื่องคน ควรเขียนหัวข้อให้ชัด

·       ควรระบุว่าสำหรับสมาชิกเก่าหรือใหม่

·       ควรระบุจำนวนคนต่อครั้ง

·       ผลไม่ชัดเจน

ดร.ปรีชา สิทธิกรณ์ไกร

·       ชื่อโครงการกับวัตถุประสงค์ไม่ค่อยสอดคล้องกัน

·       เป้าหมายกว้างไป

·       ต้องจำกัดขอบเขตหัวข้อ

·       รายละเอียดใช้ได้

 

28. ไพรัตน์ ยิ่งยง สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนพันธกิจร่มเย็น

โครงการการฝึกอบรมเพื่อพัฒนาอาสาสมัครเครดิตยูเนี่ยน

·       จะเสนอผ่านชสค.ให้รับผิดชอบ

·       สร้างอาสาสมัครให้เป็นโค้ชหรือวิทยากร

ข้อเสนอแนะ

ดร.ปรีชา สิทธิกรณ์ไกร

·       น่าจะทำได้

·       รายละเอียดชัดเจน

·       แต่การจะทำให้มีโค้ชมีความรู้ความสามารถ

ดร.รังสรรค์ ปิติปัญญา

·       คุณสมบัติไม่ควรบังคับว่าต้องจบปริญญาตรี คนจบป.4 บางทีผลงานเด่นกว่า

·       ควรเพิ่มเรื่องกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับสหกรณ์และการบริหารการเงิน

คุณคันศร คมภักดี

·       เรื่องนี้ผมก็ได้เขียนโครงการแล้ว

·       อาจไปดูงานสวีเดนและแคนาดาได้

 

30. สมบัติ อินสว่าง สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนบ้านชุมทหารสามัคคี

โครงการสร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างสหกรณ์ของสหกรณ์เขตอำเภอห้วยคต

·       ต้องการให้เป็นที่พึ่งของสมาชิกอย่างแท้จริง

·       เป้าหมาย 8 แห่ง 60 คน ผู้เข้าร่วมต้องบริหารจัดการตรวจสอบความซ้ำซ้อนของสมาชิกได้

·       จัดฝึกอบรม

ข้อเสนอแนะ

ดร.รังสรรค์ ปิติปัญญา

·       น่าสนใจ

·       ควรทำหัวข้อและเนื้อหาให้สอดคล้องกัน

·       ควรมีภาพใหญ่ก่อนลงรายละเอียด

ดร.ปรีชา สิทธิกรณ์ไกร

·       ควรแยกเป็น 2 โครงการคือ โครงการสร้างเครือข่ายและโครงการฝึกอบรม

·       เป้าหมายยังไม่ชัดเจน

·       ขั้นตอนอบรมคาดหวังสูงเกินกว่าเหตุ

คุณคันศร คมภักดี

·       ดูข้อบังคับชมรม

·       ควรเลื่อนวันจัดเพราะตรงกับวันสหกรณ์แห่งชาติ

การนำเสนอโครงการต่อ

31. วิเชียร บางเหลือง สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนตำบลหนองกรด

โครงการส่งเสริมการเรียนรู้และพัฒนาทักษะทางคอมพิวเตอร์ของ สมาชิก บุตรหลานสมาชิกเครดิตยูเนี่ยนหนองกรด

·       ฝึกใช้คอมพิวเตอร์หาความรู้

·       จัดสวัสดิการอินเตอร์เน็ต

ข้อเสนอแนะ

ดร.ปรีชา สิทธิกรณ์ไกร

·       งบน้อยไป

·       ควรเน้นไมโครซอฟออฟฟิศ

คุณคันศร คมภักดี

·       ควรของบภาครัฐและเอกชน

·       อาจจะเช่าคอมพิวเตอร์ก็ได้

 

32. อนุวัตร ประทุมวรรณ์ สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนบ้านดุงสามัคคี

โครงการเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยน

·       เป้าหมาย โรงเรียนในพื้นที่ ร้อยละ 30 เข้าใจหลักสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยน นักเรียนรู้จักออมทรัพย์ร้อยละ 40

·       ประเมินผลก่อน ระหว่างและหลังโครงการ

·       งบประมาณ 10,000 บาท

ข้อเสนอแนะ

ดร.ปรีชา สิทธิกรณ์ไกร

·       ชื่อโครงการน่าจะเป็นโครงการสร้างความสัมพันธ์กับโรงเรียนในเขตเครดิตยูเนี่ยน

·       วัตถุประสงค์คือให้ความรู้

·       กรอบงบประมาณน้อยไป

คุณคันศร คมภักดี

·       สอดคล้องกับนโยบายชสค.

·       ควรใช้ชื่อโครงการประชาสัมพันธ์ความรู้เกี่ยวกับสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนไปสู่สถานศึกษา

33. จันทกานต์ พุ่มเพ็ชร สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนหนองขานาง

โครงการร้านค้าสหกรณ์

·       งบเบื้องต้น 4 ล้านบาท

·       ลดต้นทุนให้สมาชิก ติดต่อโรงงานโดยตรง ช่วยลดค่าใช้จ่ายและเพิ่มรายได้ให้สมาชิก

·       มีการหาตลาดต่างประเทศไว้ให้ด้วย

ข้อเสนอแนะ

ดร.ปรีชา สิทธิกรณ์ไกร

·       ควรนำเสนอเป็นโครงการต่อยอด

·       วัตถุประสงค์ดูมีมาก

·       ในอนาคตอาจมีปัญหาภาษี ควรเป็นร้านค้าภายใต้สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยน หรือจดทะเบียนแยกไปเลย

คุณคันศร คมภักดี

·       โครงการดีมาก

·       ควรหารือวิธีการด้วย

·       ควรพาไปดูความสำเร็จของโครงการ

 

34. พรรณิภา ศรีสำราญ สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนไทยฮอนด้า

โครงการพัฒนาบุคลากร หลักสูตร ยุทธศาสตร์พัฒนาผู้บริหารมืออาชีพ

·       เกิดจากการมีการทำงานแบบมองต่างมุมเกิดความขัดแย้ง

·       จัดอบรมในส่วนที่ขาดคือ ทักษะสื่อสารไทย อังกฤษ เจรจาต่อรอง บุคลิกภาพ ไอที

·       เป้าหมาย กรรมการ 15 คน สมาชิกแนวหน้า

·       งบรวม 400,000 บาท

·       ทำในเดือนเมษายนถึงธันวาคม

·       มีการประเมินปีละ 4 ครั้ง

·       ตัวชี้วัด นำความรู้มาประยุกต์ใช้ เกิดการเปลี่ยนแปลงเชิงบวก

ข้อเสนอแนะ

ดร.ปรีชา สิทธิกรณ์ไกร

·       ควรระบุหัวข้อให้ชัดเจน

·       ควรเน้นกลยุทธ์ข้อใดข้อหนึ่งจะดีกว่า

คุณคันศร คมภักดี

·       น่าจะนำไปใช้ได้จริง

35. อรรถสิทธิ์ สงสะนะ เจ้าหน้าที่สนท.

โครงการการจัดตั้งเครดิตยูเนี่ยนในสถานประกอบการ

·       เป้าหมายตั้งได้ 11 แห่งในปี 2552

·       วัตถุประสงค์ ช่วยเหลือสมาชิกที่ไม่ใช่สหภาพ และเผยแพร่เครดิตยูเนี่ยนในสถานประกอบการ

·       การดำเนินงาน แยกความต่างระหว่างสหกรณ์ออมทรัพย์กับสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยน ขอให้สถานประกอบการมาดูแบบอย่างเครดิตยูเนี่ยน มีการพัฒนาเทคโนโลยี

·       งบประมาณจากสาขาและชมรม

·       ประชุม 2 เดือนครั้งเพื่อรายงานผล

ข้อเสนอแนะ

ดร.ปรีชา สิทธิกรณ์ไกร

·       ควรเน้นการต่อยอด

·       ควรเจาะประเด็นที่ยังไม่เคยทำ

·       ควรมีรายชื่อสถานประกอบการที่เกี่ยวข้อง

คุณคันศร คมภักดี

·       น่าจะจัดสัมมนาผู้นำสถานประกอบการ จะได้มีข้อมูลสำหรับทำโครงการนี้

36. ธีระชัย สราญรมย์ สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนพันธกิจร่มเย็น

โครงการสุขภาพ สุขกาย สุขใจ ไร้กังวลบนพื้นฐานความพอเพียง

·       ปัญหาเศรษฐกิจส่งผลต่อสุขภาพ

·       ส่งเสริมให้สมาชิกพึ่งพาตนเอง ลดค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล

·       เป้าหมาย 300 คน ได้แก่สมาชิก คนในชุมชน เจ้าหน้าที่

·       วิธีการดำเนินการ ให้ความรู้ดูแลสุขภาพ จัดกิจกรรมพิเศษ

·       ประเมินผลจากผลทดสอบสมรรถภาพ การใช้สวัสดิการ แบบสอบถาม

ข้อเสนอแนะ

คุณคันศร คมภักดี

·       มีหัวข้อครบ

·       มีรายละเอียดมาก เป็นวิจัยที่มีคุณภาพมาก

·       ทำแล้ววัดผลได้แน่นอน

การนำเสนอโครงการต่อ

37. ปัทมา  ศรีตรัย สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนเวลธ

โครงการทำตามกระแสพระราชดำรัสเศรษฐกิจพอเพียง

·       ทำบัตรเอทีเอ็มสำหรับเข้าออกที่อยู่อาศัย

·       เพื่อช่วยวางแผนการใช้เงิน แก้ปัญหาหนี้นอกระบบ

·       เป้าหมาย พนักงานออมได้มากขึ้น หนี้นอกระบบได้รับการชำระ มีสมาชิกมากขึ้นประมาณ 1,000 คน

ข้อเสนอแนะ

คุณคันศร คมภักดี

·       ชื่อโครงการดีมากแต่ต้องปรับให้เข้ากับวัตถุประสงค์ ควรเปลี่ยนเป็น โครงการส่งเสริมการออมของสมาชิกตามกระแสพระราชดำรัสเศรษฐกิจพอเพียง

·       โครงการนี้มีโครงการหลักและโครงการต่อยอด ควรมีการระบุระยะเวลา

·       ควรใส่ขั้นตอนการดำเนิน

·       การทำซอฟต์แวร์ถือว่าดีทำให้สะดวก แต่การมีเอทีเอ็มทำให้สมาชิกเป็นหนี้ฉุกเฉินทันทีไม่สอดคล้องกับหลักเครดิตยูเนี่ยน

·       โครงการที่อยู่อาศัย ลดต้นทุนการเดินทาง

38. นายหิรัญ เรืองสวัสดิ์

โครงการพัฒนาธุรกิจสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนอำเภอไชยา

·       โครงการนี้ได้ดำเนินการไปบ้างแล้ว

·       วัตถุประสงค์เพื่อสร้างความเข้มแข็งในการดำเนินธุรกิจสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนอำเภอไชยา

·       ทำให้เกิดความร่วมมือระหว่างสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนอำเภอไชยา และทำให้ได้รับสิทธิพิเศษ

·       ได้มีการเชิญประชุมตัวแทนเครดิตยูเนี่ยนอำเภอไชยา

·       สหกรณ์แต่ละแห่งออกแบบสอบถามความต้องการของสมาชิก แผนดำเนินธุรกิจ ดำเนินการ

·       ติดตามผลแล้วทำโครงการทำปุ๋ย โครงการยานพาหนะ โครงการอุปกรณ์การเกษตร โครงการอาหาร โครงการของใช้ในชีวิตประจำวัน (จำหน่ายสินค้า) เช่าพื้นที่ขายของ ร้านเสริมสวย คาร์แคร์

·       อำเภอไชยาหารือเพื่อลงทุนร่วมกันระหว่างสหกรณ์ลงทุนสหกรณ์ละ 4 ล้านบาท

·       มีการรับจำนำยางพารา

·       ผู้รับผิดชอบโครงการคือ สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนอำเภอไชยาจะส่งผู้แทนสหกรณ์ละ 2 คนมาร่วมทำโครงการ

ข้อเสนอแนะ

คุณคันศร คมภักดี

·       ควรเปลี่ยนชื่อเป็นโครงการจัดตั้งศูนย์พัฒนาธุรกิจธุรกิจสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนอำเภอไชยา

·       ควรหารือสหกรณ์จังหวัดเรื่องกฎหมาย

·       โครงการนี้ลงทุนสูงเรื่องที่ดิน และสร้างสิ่งก่อสร้างและซื้อรถ ควรทำความเป็นไปได้ของโครงการจะได้ทราบความคุ้มทุน

 

 

 

 

1.ได้ประโยชน์อะไรบ้างจากโครงการนี้

·       ได้มุมมองในมิติใหม่ คิด วิเคราะห์เชิงสร้างสรรค์

·       มิตรภาพ สร้างนวัตกรรมในองค์กร

·       ดูงานเพื่อพัฒนาองค์กรไปสู่ความสำเร็จ

·       การเปลี่ยนแปลง

2.ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับโครงการนี้

·       เป็นโครงการที่ดีดี แต่ระยะเวลาสั้นเกินไป

3.มีความคิดเห็นอย่างไรกับการจัดโครงการผู้นำรุ่น 2

·       ดี เพราะได้รับการเปลี่ยนแปลง รับแนวคิดที่หลากหลายสร้างผู้นำองค์กร สร้างความเชื่อถือจากศักยภาพของผู้นำ ควรจัดต่อไป

1.ได้ประโยชน์อะไรบ้างจากโครงการนี้

·       ได้รู้จักผู้นำได้หลากหลายที่เป็นเครือข่าย

·       ความรู้ในและนอกห้อง

·       รู้จักวิทยากรชั้นนำ

·       วิธีการเรียนรู้ใหม่  มีประสบการณ์มากขึ้น

·       ดูงานทั้งในและต่างประเทศ

·       แนวคิดไปประยุกต์ใช้

·       มีทีมงานเพิ่มขึ้น

2.ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับโครงการนี้

·       สถานที่ดูงานน้อยไปและเวลาน้อยไป ควรไปเกาหลี 1 เดือน

·       ควรเพิ่มวันในการอบรม ลดความถี่ในการเดินทาง

·       เรียงลำดับเนื้อหาให้สอดคล้อง นวัตกรรมควรอยู่อันดับแรก และควรเรียงจากง่ายไปยาก

·       ควรไปที่แต่ละสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยน

 3.มีความคิดเห็นอย่างไรกับการจัดโครงการผู้นำรุ่น 2

·       สมควรจัดอย่างยิ่งและปฏิบัติจริงอย่างต่อเนื่อง แล้วทุกสหกรณ์ก็ต้องประชาสัมพันธ์ที่อื่นด้วย

1.ได้ประโยชน์อะไรบ้างจากโครงการนี้

·       ได้ความรู้การเงินและบริหารงาน

·       มุมมองและวิสัยทัศน์กว้างไกลขึ้น

·       ได้รับความรู้ใหม่ๆและทันต่อเหตุการณ์ปัจจุบันมากขึ้น

·       ได้เรียนรู้และแลกเปลี่ยนกับท่านวิทยากรที่มีความรู้และประสบการณ์เฉพาะด้านซึ่งเป็นที่ยอมรับระดับประเทศ

·       ได้เรียนรู้และแลกเปลี่ยนสร้างความคุ้นเคยกับผู้เข้าร่วมอบรมที่มาจากที่ต่างๆสามารถเชื่อมโยงในการทำธุรกิจร่วมกันในปัจจุบันและในอนาคต

2.ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับโครงการนี้

·       ปรับในเรื่องระยะเวลาลงไปคือให้จบหลักสูตรภายใน 3 เดือน (เนื้อหาเท่าเดิม)

·       ควรแจ้งรายละเอียดในการใช้สื่อให้ชัดเจน เช่น Powerpoint

·       ควรขยายโครงการนี้ไปสู่ภูมิภาค

·       การดูงานในประเทศควรจะมีมากกว่า 1 แห่ง

·       ดูงานต่างประเทศควรเน้นวิชาการมากกว่านี้

·       ควรติดตามโครงการของแต่ละคนที่นำเสนอด้วย

·       รวบรวมโครงการทั้งหมดและรายชื่อผู้จัดทำแจ้งให้ทุกคนทราบเพื่อสหกรณ์สนใจในโครงการอื่นๆจะได้ติดต่อผู้นำโครงการได้โดยตรง

3.มีความคิดเห็นอย่างไรกับการจัดโครงการผู้นำรุ่น 2

·       ควรจัด

1.ได้ประโยชน์อะไรบ้างจากโครงการนี้

·       ได้ความรู้ใหม่ๆมากขึ้น

·       มีเพื่อน

·       แลกเปลี่ยนเรียนรู้

2.ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับโครงการนี้

·       ขอให้ชสค.จัดโครงการนี้ได้เอง

·       ผู้เข้าร่วมโครงการควรมาอบรมทุกครั้ง

·       ควรติดตามผลทุกสหกรณ์ ควรมีคณะกรรมการติดตามผล

·       อยากเห็นชสค.เป็นที่พึ่งสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนทั่วประเทศ

·       ควรวิเคราะห์ความคุ้มค่าคุ้มทุนของโครงการ

·       ใช้วิทยากรที่มีประสบการณ์จริงและเข้าใจระบบสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนมากกว่านักวิชาการ

3.มีความคิดเห็นอย่างไรกับการจัดโครงการผู้นำรุ่น 2

·       รากฐานเครดิตยูเนี่ยนมาจากรากฐาน

·       โครงการนี้ดี อยากให้ชสค.ติดตามประเมินผลด้วย

1.ได้ประโยชน์อะไรบ้างจากโครงการนี้

·       เปิดโลกทัศน์ในระดับมหภาค บินสูงขึ้น มีมุมมองในภาพกว้าง

·       วิทยากรคนนอกทำให้เราทราบว่าคนนอกมองเราอย่างไร เราอ่อนประชาสัมพันธ์

·       เพิ่มทักษะ โดยการศึกษาดูงานทั้งในและต่างประเทศ

2.ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับโครงการนี้

·       รวบรวมโครงการเป็นรูปเล่มแล้วแจกทุกคน

·       บางเนื้อหาวิชาเช่นเศรษฐศาสตร์ต้องนำไปคิดเพื่อปรับใช้

·       การสื่อสารแจ้งข้อมูลไม่ตรงกัน

·       เสื้อแจ็คเก็ตใช้ไม่คุ้ม ควรนัดว่าจะใส่วันใดพร้อมกันเป็นทีม

3.มีความคิดเห็นอย่างไรกับการจัดโครงการผู้นำรุ่น 2

·       อยากได้วิทยากรที่พูดแล้วพวกเรานำไปปฏิบัติได้ เพราะเราต้องนำไปทำในพื้นที่ ผมได้มีโอกาสพัฒนาภาษาอังกฤษ ต้องเข้าใจผู้นำที่ไม่รู้ภาษาอังกฤษ

·       ขอให้วิทยากรพูดเรื่อง

·       เทคนิคในการจัดตั้งกลุ่มสหกรณ์

·       เทคนิคการระดมสมาชิก หุ้น เงินฝาก เงินออม เทคนิคโน้มน้าวใจคน

·       เทคนิคผูกใจสมาชิก

·       การบริหารจัดการ 4 M

·       การสื่อสาร การประชาสัมพันธ์

·       การสร้างเครือข่าย

·       การตรวจสอบอย่างมีประสิทธิภาพ

·       การตลาดอย่างมืออาชีพ ชสค.ทำแล้วไปสู่สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนทั่วประเทศ

·       ควรเชิญคุณจันทกานต์พูดเรื่อง เทคนิคการระดมสมาชิก

·       ควรมีรุ่นที่ 2  แต่ชสค.จะรองรับงบได้มากแค่ไหน

·       ควรเชิญหน่วยงานอื่นมาร่วมจัดด้วย

·       ควรเป็นเจ้าภาพร่วมสันนิบาตสหกรณ์ แต่ควรให้เขาทราบเรื่องเครดิตยูเนี่ยนมากหน่อย

1.ได้ประโยชน์อะไรบ้างจากโครงการนี้

·       ได้พันธมิตรและเครือข่าย

·       ได้ความรู้ต่างๆครบถ้วน

·       ได้วิธีการวิเคราะห์ปัญหาต่างๆ เช่นเศรษฐกิจในปีหน้า

·       ได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์กัน นำตัวอย่างไปใช้สหกรณ์

·       ฝึกบริหารเวลา

·       รู้จักอุปนิสัยผู้นำแล้วนำมาเสริมบุคลิก ปรับตัวเป็นผู้นำที่ดี

2.ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับโครงการนี้

·       เนื้อหาไม่ค่อยเจาะลึก  โดยเฉพาะ เรื่องธนาคารเครดิตยูเนี่ยน

·       ช่วงเวลาค่อนข้างห่าง ทำให้สนิทสนมค่อนข้างยาก น่าจะรวบรัดเวลาให้สั้นกว่านี้

·       ควรมีเวลาแนะนำสหกรณ์ตนเองในช่วงต้น

·       มีกิจกรรมสัมพันธ์ให้มากกว่านี้

·       เพิ่มเนื้อพัฒนาบุคลิกภาพผู้นำ การฝึกการพูด มีการฝึกปฏิบัติ

·       การดูงานควรมีหลากหลายมากขึ้น ทำให้มีประสบการณ์และมีความสัมพันธ์อันดีระหว่างผู้เข้ารับการอบรม

·       ผู้เข้าร่วมควรมาจากสหกรณ์ที่หลากหลายเพื่อสหกรณ์เล็กๆจะได้รับประสบการณ์

 3.มีความคิดเห็นอย่างไรกับการจัดโครงการผู้นำรุ่น 2

·       ควรมีรุ่นที่ 2

·       ด้านงบประมาณ ชสค. ควรสนับสนุนและควรมีการคำนวณให้ค่าใช้จ่ายครอบคลุมเลยครั้งเดียว เช่นการจัดงานเลี้ยงปิดโครงการ

·       ควรประชาสัมพันธ์ให้แพร่หลายให้สหกรณ์อื่นๆได้เข้าร่วมโครงการควรมีการเปลี่ยนสถานที่จัดอบรมบ้างเพื่อลดค่าใช้ในการเดินทางของบางสหกรณ์

ผลประกวดโครงการ

 

รางวัลที่ 1 โครงการพัฒนาศักยภาพคณะกรรมการและผู้ตรวจสอบกิจการสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนจังหวัดเชียงใหม่ โดย คุณกรณิศ พงษ์ตุ้ย มูลนิธิเศรษฐศาสตร์ชุมชนเพื่อการพัฒนา

 

รางวัลที่ 2

โครงการออมทรัพย์เพื่อเป้าหมายแห่งชีวิต โดย คุณกัญญา บุญรอด สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนบ้านซ่อง จ.เพชรบุรี

 

รางวัลที่ 3

โครงการสุขภาพ สุขกาย สุขใจ ไร้กังวลบนพื้นฐานความพอเพียง โดย คุณธีระชัย สราญรมย์ สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนพันธกิจร่มเย็น

 

รางวัลชมเชย

โครงการการแก้ไขปัญหาหนี้คั่งค้างของสหกรณ์ โดย คุณทิพย์ สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนพัฒนาชุมชนบ้านพุตะแบก จ.ประจวบคีรีขันธ์

 

โครงการขยายเครดิตยูเนี่ยนในพื้นที่ชนบท โดย คำจันทร์ จันทน์จำปา

 

 

คำกล่าวปิด

โครงการพัฒนาผู้นำสหกรณ์

หลักสูตรผู้นำสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนขั้นสูงรุ่นที่ 1

(The Diploma on Credit Union Leadership)

วันที่ 20 ธันวาคม 2551

โดย คุณสุพัตรา ธนเสนีวัฒน์

อธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์

ณ ห้องประชุมชุมนุมสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนแห่งประเทศไทย จำกัด

คณะกรรมการดำเนินการชุมนุมสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนแห่งประเทศไทย จำกัด

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ เลขาธิการมูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศ

ผู้มีเกียรติและผู้เข้ารับการอบรมทุกท่าน

               ดิฉันมีความยินดีและรู้สึกเป็นเกียรติที่ได้มาเป็นประธานในพิธีปิดโครงการพัฒนาผู้นำสหกรณ์ หลักสูตรผู้นำสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนขั้นสูงรุ่นที่ 1 ในวันนี้

              ตามที่ชุมนุมสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนแห่งประเทศไทย จำกัดร่วมมือกับมูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศได้จัดการอบรมดังกล่าวขึ้นนั้น นับเป็นโอกาสอันดีที่ท่านผู้นำจากทั่วทุกภูมิภาคได้มาสร้างภาวะผู้นำและสร้างองค์ความรู้ ความเข้าใจ ทัศนคติ และทักษะด้านการบริหาร ตลอดจนเป็นการเสริมสร้างความสัมพันธ์เอกภาพและครือข่ายความร่วมมือของผู้นำสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนในการพัฒนาสหกรณ์ให้เข้มแข็งและยั่งยืนตลอดไป

                ดิฉันขอขอบคุณทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องที่ทำให้การดำเนินการฝึกอบรมในครั้งนี้สำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี โดยเฉพาะวิทยากรทุกท่านซึ่งเป็นผู้ทรงคุณวุฒิได้กรุณามาถ่ายทอดความรู้ ทักษะต่างๆให้กับผู้เข้ารับการอบรม ดิฉันหวังเป็นอย่างยิ่งว่า ผู้เข้ารับการอบรมที่ผ่านการฝึกอบรมในครั้งนี้จะนำความรู้ และประสบการณ์อันเกิดจากการเรียนรู้ไปพัฒนางานในหน้าที่ของตนเองที่รับผิดชอบอยู่อย่างเต็มกำลังความสามารถและขออวยพรให้ทุกท่านจงประสบความสำเร็จ ความเจริญก้าวหน้าในหน้าที่การงงานและขอให้ทุกท่านเดินทางกลับสู่ภูมิลำเนาโดยสวัสดิภาพ

สวัสดีค่ะเพื่อน ๆ ผู้เข้าอบรมโครงการผู้นำขั้นสูงทุก ๆ คน(ตอนนี้เราเป็นเพื่อนร่วมรุ่นกันนะ)เป็นอย่างไรกันบ้าง หลังจบหลักสูตรนี้ หวังว่า คงได้หอบหิ้วความรู้ที่ได้(แฟ้มเอกสารอันใหญ่อยู่ในกระเป๋าใบโต)นำไปพัฒนาสหกรณ์ให้เจริญก้าวหน้าต่อไป

ถามว่า ความรู้ที่ได้สามารถนำไปปรับใช้ได้หมดไหม ตอบว่านำไปใช้ได้แต่คงไม่เต็มหมดทั้ง100%เพราะต้องนำไปปรับและปรุงอีกเยอะมากในการนำไปประยุกต์ใช้ในสหกรณ์ แต่ก็ได้ความรู้เยอะมาก

เพื่อน ๆ ค่ะ ตอนนี้ก็ใกล้ปีใหม่แล้ว ก็จะถือโอกาสนี้อวยพรปีใหม่ ให้เพื่อน ๆ ทุกคนนะค่ะ

"ในวาระขึ้นปีใหม่นี้ ขออวยพรให้เพื่อน ๆ ทุกคนประแต่ความสุขความเจริญ ก้าวหน้าทั้งชีวิตครอบครัวและในหน้าที่การงานทุกๆ คนค่ะ สุขภาพร่างกายแข็งแรง" ภายใต้สโลแกน "อย่าได้เจ็บ อย่างได้จน" ทุก ๆ คนนะค่ะ Happy New Year 2552 ค่ะ

อ้าว !!!!! อวยพรซะยาวเลย ลืมบอกไปว่าเพื่อนคือใคร

คุณัญญา รุณพันธุ์ ค่ะ มอบให้ทุกคนเลยนะค่ะ

สวัสดีปีใหม่.....ขออวยพรให้เพื่อนๆรุ่น 1 ทุกคนมีความสุข สมหวัง คิดสิ่งใดก็ให้สมปราถนาตลอดปี 2552 นะจ๊ะ..สวัสดีจ้า.............

ปีใหม่ไปเที่ยวที่ไหนเล่าสู่กันฟังหน่อยนะ ส่วนเราไปนอนค้างที่อัมพวามา 2 คืน ก็ดีนะพบวัฒนธรรมแบบเก่าที่น่าสนใจ หลายด้าน เป็นถิ่นประวัติศาสตร์ โดยเฉพาะเรื่องการทำเครื่องเบญจรงค์ ซึ่งได้สอบถามแล้วช่างฝีมือดี คือชาวบ้านที่ไม่ได้เรืยนจบสูงเลย แต่เป็นการฝึกฝนด้วยใจรัก และทุกวัดจะมีเรือนไม้สัก ศาลาไม้สัก ใหญ่มากและสวยมากทุกวัดเลย อุทยาน ร.2 ก็สวยมาก

อ้อ..มีเรื่องที่น่าประทับใจอีกเรื่องคือ ที่วัดจุฬามณี ซึ่งเราไปหลายครั้งแล้ว แต่วันนี้ขับรถไปจอดด้านหลังวัดก็เห็นโบสถ์ใหญ่มาก..แต่เก๊าเก่า .. พอเดินขึ้นบันใด ช่วงก่อนเข้าประตูโบสถ์ เริ่มเห็นพื้นโบสถ์มีหินสีเขียวสลับกับหินอ่อนทั่วๆไป แต่พอมองเข้าไปในโบสถ์ เขียวทั้งหมดเลย เรานั่งลงแล้วพิจารณา สวยมั๊ก..มากไม่เคยเห็นหินอ่อนสีเขียวผนังโบสถ์มีรูปวาดที่งดงาม แต่นั่นเรายังไม่สนใจเท่ากับหินสีเขียว เรานั่งพิจารณาไปเรื่อยๆ สีของหินแต่ละก่อนช่างสวยงามมาก บางแผ่นก็มีหินสีอื่นปะปนตามธรรมชาย ด้วยความดื่นตาตื่นใจในสิ่งที่ได้พบ มีพระองค์หนี่งนั่งอยู่ที่นั่นจึงได้ไปสอบถามความเป็นมา ท่านเล่าให้ฟังว่า นี่คือแผ่นหยก(หรือหินที่มีอายุที่เป็นหยกแล้วนั่นเอง) เป็นหินที่เจ้าอาวาส คือหลวงปู่เนื่อง ท่านได้ไปนำมาจากประเทศปากีสถาน ซึ่งเป็นหินชุดสุดท้ายก่อนทื่จะห้ามนำหินหยกออกนอกประเทศ(ปากีสถาน)

ไปชมให้เป็นบุญตานะ เราขอนะนำ

P
71. เล็กๆน้อยๆ
เมื่อ ส. 03 ม.ค. 2552 @ 10:15
1051741 [ลบ]

สวัสดีครับครูปู

         เห็นครูปูเข้าไปสวัสดีปีใหม่ใน Blog ของผู้นำสหกรณ์ชั้นสูงรุ่นที่ 2 จึงติดตามมาดู ได้อ่านบันทึกแล้วรู้สึกดี อยากจะ Copy ไปให้เพื่อน ๆ ชาว สหกรณ์ได้อ่านบ้าง เพื่อเป็นแนวทางไม่ทราบว่าจะอนุญาติหรือเปล่าครับ

         นพคุณ

ด้วยความยินดีและถือเป็นเกียรติอย่างยิ่งเลยค่ะ

ขอบพระคุณที่ให้เกียรติมาเยี่ยมถึงบันทึกนะคะ

หากสะดวกเมื่อไร ก็ขอเรียนเชิญอีกนะคะ

ขอบพระคุณค่ะ

(^___^)

สวัสดี พี่ ๆ เพื่อน ๆ ผู้นำสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยน รุ่ง 1 ทุกท่าน หลังจากที่จบการอบรมแล้ว เรายังคิดถึงกันอยู่ใช้ ม้าย ๆๆๆๆๆ เดือนนี้เป็นเดือนปีใหม่ คงยังไม่สายไปที่จะขออายพรให้ ทุก ๆ ท่าน อย่าเจ็บ อย่าจน เหมือน คำอวยพร ของบิดา (ผศ.สุวิทย์ เปียผ่อง ) และขออวยพรให้ ท่าน ดร.จิระ มีร่างกาย แข็งแรง สมบูณร์ ตลอดปีและตลอดไป และสุดท้าย นี้ อยากให้พี่ ๆ เพื่อน ๆ รุ่น หนึ่ง ได้มีโอกาส พบปะสังสรรค์กัน สัก ครั้ง ดีมั้ย ถ้าเห็นด้วย โปรดยกมือขึ้น

แล้วค่อยเจอกันใหม่ น่ะครับ น่ะค่ะ

คิดถึงเพื่อน ๆ พี่ๆ น้องๆ ทุกคนเลย คิดว่าทุก ๆ สหกรณ์คงรับเงินปันผลกันไม่หวาดไม่ไหว

ละมั๊งก็เลยไม่มีเวลาโทรมาคุยยังคิดถึงอยู่เสมอนะถ้ามีโอกาสเราคงได้ล่องเรือสำราญร่วมกันอีกครั้งนะถ้ามากรุงเทพก็อย่าลืมมาเที่ยวที่สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนฟรีเทรดบ้างนะอยากชวนเพื่อน ๆ ผู้นำรุ่น 1 ทุกคนลงทะเบียนเรียน MICRO MBA กันทุกคนช่วย ๆ มาลงทะเบียนกันหน่อยนะหลักสูตรจะได้เปิดได้

ยกมือแล้ว นับด้วยกี่คน

เป็นหลักสูตรที่ดีครับ น่าสนับสนุน แวะไปทำบุญกันหน่อยก็แล้วกัน <a href=http://www.thaimerits.com/><b>ทำบุญวันเกิด</b></a>

มูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศ

ขอเชิญเข้าร่วมสัมมนา“ปัจจัยท้าทายประเทศไทยปี 2553 อยู่รอดหรือยั่งยืน?”

วันที่ 8 ธันวาคม 2552

ณ มหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมฟอร์ด แคมปัสพระรามเก้า 

มีรายละเอียดในลิ้งค์นี้

http://gotoknow.org/blog/chiraacademy/317427

มูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศ

ขอเชิญร่วมสัมมนา โปรดคลิกที่นี่เพื่อดูรายละเอียด

 

http://gotoknow.org/blog/chiraacademy/352750

 

ดิฉันมีความรู้สึกถึงความกระตือรือล้น การเตรียมพร้อมของความคิดในทุกๆด้าน เพื่อให้ทันกับโลกทัศน์และจะทำให้เรารู้สึกตื่นตัวตลอดเวลา

มูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศ

เรียนทุกท่าน

ขอเชิญเข้าร่วมหลักสูตร “พัฒนาผู้นำ ... การบริหารภายใต้วิกฤตและความเสี่ยง” มีรายละเอียดในลิ้งค์นี้

http://www.gotoknow.org/blog/chiraacademy/446835

มูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศ

ขอเชิญร่วมสัมมนา โปรดคลิกที่นี่เพื่อดูรายละเอียด

http://www.gotoknow.org/blogs/posts/464540

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท