บันทึกการเรียนรู้ของกลุ่มสัปดาห์ที่ 2 กลุ่ม 1 วิริยะ


การพัฒนาสมรรถนะบุคคลส่งผลต่อความสำเร็จขององค์กร

 

 

ผู้บันทึก  นางอุไรวรรณ   ปัญญาอุทัย

วันที่บันทึก   25  กรกฎาคม  2551

 

« ประมวลกิจกรรมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (ลปรร.) ของสมาชิกในกลุ่มในสัปดาห์ที่ 2

          หลังจากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในสัปดาห์ที่ 1 ทำให้ได้ข้อสรุปที่ที่ชัดเจนตรงกัน สมาชิกในกลุ่มที่ 1  มีความสนใจและเลือกศึกษาเรื่องที่เกี่ยวกับการบริหารพัฒนาทรัพยากรบุคคลโดยเจาะลึกเรื่องสมรรถนะของตัวเองเพื่อนำไปสู่การพัฒนาตนเอง และพัฒนางานได้ในที่สุด  (สอดคล้องกับเป้าหมายของกลุ่มเด๊ะ)   ดังนั้นในสัปดาห์ที่ 2  สมาชิกในกลุ่มต่างมุ่งมั่น  ตั้งใจ และพยายามใช้เทคโนโลยีเพื่อการสื่อสารพัฒนาการเรียนรู้ของตนเองให้มากที่สุด   แม้จะมีอุปสรรคทั้งด้านเวลา  ภาระงานที่มากมาย  เครื่องมือสื่อสารไม่เอื้ออำนวยเท่าที่ควร  ที่สำคัญทักษะการใช้เทคโนโลยีก็จะต้องเริ่มเรียนรู้ไปพร้อม ๆ กัน สนุกกับการได้เรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ (เครียดนิด ๆ เพราะมีงานต้องส่งตามเวลา....หากต้องส่งช้าโปรดให้อภัย...)  กิจกรรมการ ลปรร. ของสมาชิกในกลุ่ม 1  สัปดาห์ที่ 2  มีดังนี้

1.   กลุ่ม 1 นัดสมาชิก share  กันในวันพุธ  ที่  23  กรกฎาคม  2551 เวลา 05.00 น. ที่เก่าเวลาเดิม  ไม่เปลี่ยนแปลง แต่จำนวนวันลดลง  จาก 5 วัน  เหลือ  1  วัน (บางคนมาทุกวันเผื่อโชคดีเจอกัน  แต่ก็แห้ว)

2.   สมาชิกศึกษาเพื่อต่อยอดในสัปดาห์ที่ 1 ในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการประเมินเพื่อพัฒนาสมรรถนะของตนเอง  นำขึ้นบล็อก เพื่อให้สมาชิกได้อ่านและแสดงความคิดเห็นในวันที่นัดหมายและวันอื่น ๆ หากมีโอกาสและโชคดีเมื่อ  Online เวลาที่ตรงกัน

3.   ในช่วงเวลาอื่น ๆ หากว่างจากภารกิจ  สมาชิกได้เข้ามาแลกเปลี่ยนเรียนรู้โดยใช้โปรแกรม   Skype   กับสมาชิกในกลุ่มและต่างกลุ่ม  รวมทั้ง อ.ปัดด้วย ตามแต่จะสะดวก   ซึ่งสามารถเติมเต็มองค์ความรู้ของตนเองได้มากยิ่งขึ้น นอกจากนั้นยังได้พัฒนาทักษะการใช้เทคโนโลยี (กำไรจริง ๆ )

4.   วันพุธ  ที่  23  กรกฎาคม  2551 เวลา 05.00 น. ตามเวลาที่นัดหมาย  ท่านสัมพันธ์  ท่านสุวิทย์ และศน.อุไรวรรณ  ร่วม ลปรร. โดยใช้โปรแกรม Skype ท่านมานะ ติดราชการ Online ไม่ได้ ส่วนท่านวัชรพงษ์   ติดภารกิจ(อันใดยังไม่แจ้ง)  ผลการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เริ่มชัดขึ้น   ต่างก็ได้เติมเต็มให้กันและกัน  แล้วจะนำไปขยายต่อให้กับสมาชิกที่ไม่ได้เข้ามาร่วม Share   

5.   วันพฤหัสที่  24  กรกฎาคม  2551 เวลา 19.00 น.    กลุ่ม 1 กับกลุ่ม 2  พบกับผู้เชี่ยวชาญ       ดร.สนธิรักและ อ.วีระชัย มี อ.ปัด หัวหน้าโครงการร่วม Share ด้วย   สมาชิกกลุ่ม  1 เข้าร่วม ลปรร.กับ ผชช.  3 ท่าน คือท่านสัมพันธ์  ท่านสุวิทย์ และศน.อุไรวรรณ อีก 2 ท่านติดภารกิจ 

6.   วันศุกร์  ที่ 25  กรกฎาคม  2551  บันทึก  สรุปเนื้อหา และนำเสนอขึ้นบล็อกกลุ่ม 1 วันเสาร์ที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2551 (ช้าไป 1วัน  เฮ้อ! โล่งใจ....สมาชิกกลุ่ม 1 โล่งอกไปตาม ๆ กัน)  ไชโย้......สุดแสนดีใจ

«ผลการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับผู้เชี่ยวชาญ

สมาชิกที่เข้าร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับผู้เชี่ยวชาญได้รับข้อเสนอแนะในเรื่องต่าง ๆ เช่น

การประเมินสมรรถนะ  ผู้ประเมินเป็นผู้เกี่ยวข้องแวดล้อม ทั้งในหน่วยงานและนอกหน่วยงาน  จำนวนยิ่งมากยิ่งดี จะทำให้สมบูรณ์ ข้อมูลน่าเชื่อถือขึ้น และต้องประเมินทั้ง 2 ทาง คือตนเองประเมินตัวเองด้วย   ในการจัดลำดับความสำคัญของจุดพัฒนา ควรเหมาะสมและสอดล้องกับบริบทของหน่วยงาน   นอกจากนั้นยังได้รับความรู้ในเรื่องอื่น ๆ เช่น การจัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่าน เพื่อแก้ปัญหาการอ่านนั้น  ต้องหาสาเหตุของปัญหาการอ่าน และเลือกหาวิธีแก้ปัญหาให้เหมาะสมกับสาเหตุของปัญหาควบคู่กับหลักจิตวิทยา   การปฏิบัติงานต้องตรงตามมาตรฐานตำแหน่งหากไม่ตรงก็จะส่งผลต่อความก้าวหน้าในตำแหน่ง  ดังนั้นงานที่มอบหมายต้องสอดคล้องกับตำแหน่ง 

                                      ผลการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับผู้เชี่ยวชาญ   สมาชิกได้ข้อสรุปในการปฏิบัติงานที่ชัดเจนยิ่งขึ้น  นั่นคือต้องดำเนินการตามแผนเพื่อให้บรรลุตามเป้าหมายของตนเองและของกลุ่มต่อไป

«สรุปสาระสำคัญที่กลุ่มได้เรียนรู้

การพัฒนาระบบราชการของแผนการบริหารราชการแผ่นดิน (พ.ศ. 2548-2551) และแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบราชการไทย (พ.ศ. 2546-2550) ให้หน่วยงานภาครัฐจัดทำเกณฑ์การพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการเป็นกรอบในการประเมินส่วนราชการด้วยตนเองเพื่อยกระดับคุณภาพมาตรฐานการทำงานไปสู่ระดับมาตรฐานสากล เกณฑ์ดังกล่ฤวประกอบด้วยหมวดต่างๆ รวม 7 หมวด ได้แก่ การนำองค์การ การวางแผนเชิงยุทธศาสตร์ การให้ความสำคัญกับผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย การวัด การวิเคราะห์ และการจัดการความรู้ การมุ่งเน้นทรัพยากรบุคคล การจัดการกระบวนการ และผลลัพธ์การดำเนินการ

                        การนำโมเดลสมรรถนะ (Competency  Model)  มาใช้ในองค์กรแล้ว จะช่วยให้การบริหารทรัพยากรมนุษย์  มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น  การจัดตำแหน่งต่าง ในภาคราชการในแต่ละกลุ่มงานได้กำหนดสมรรถนะประจำกลุ่มงาน มีจุดประสงค์เพื่อให้ข้าราชการแสดงพฤติกรรมที่เหมาะสมกับหน้าที่และส่งเสริมให้ปฏิบัติภารกิจในหน้าที่ได้ดียิ่งขึ้น  และกำหนดให้ข้าราชการทุกคนมีสมรรถนะหลักร่วมกัน 5  สมรรถนะ  ซึ่งเป็นลักษณะร่วมกันของข้าราชการพลเรือน  มีจุดมุ่งหมายเพื่อหล่อหลอมค่านิยมและพฤติกรรมที่พึงประสงค์ร่วมกัน  และได้ให้นิยามของสมรรถนะคือ คุณลักษณะเชิงพฤติกรรมที่เป็นผลมาจากความรู้  ทักษะ/ความสามารถ  และคุณลักษณะอื่นๆ  ที่ทำให้บุคคลสามารถสร้างผลงานได้โดดเด่นกว่าเพื่อนร่วมงาน อื่นๆในองค์กร

                                สมรรถนะหลักที่เป็นลักษณะร่วมกัน ไม่ได้ยึดเป็นขององค์กรใดองค์หนึ่ง มี  5 ด้านดังนี้คือ

1.      ความสามารถในเชิงการคิดวิเคราะห์

2.      ความสามารถในเชิงการจัดการ

3.      ความสามารถเพื่อตอบสนองปัจจัยความเปลี่ยนแปลงและสนับสนุนการปรับเปลี่ยน

4.      ความสามารถในการปฏิบัติร่วมกับบุคคลและกลุ่มบุคคล

5.      คุณลักษณะเฉพาะบุคคลที่สำคัญต่อผลสำเร็จของงาน

                               ความสามารถในการจัดการ-ตอบสนอง-และให้การสนับสนุนในการเปลี่ยนแปลงที่ส่งผลต่อองค์กรและบุคคล  โดยต้องทำให้ผู้ที่เกี่ยวข้องเกิดความเข้าใจ  ยอมรับ  และสามารถนำไปปฏิบัติรวมทั้งกำหนดกระบวนการทำงาน  เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นนั้น 

สมรรถนะในตัวบุคคลย่อมส่งผลต่อความสำเร็จขององค์กร  การบริหารบุคคลโดยยึดสมรรถนะ (Competency  Approach) บุคคลแต่ละคนมีศักยภาพและความสามารถซ่อนอยู่ในตัวเองหน่วยงาน/องค์กรใดสามารถนำศักยภาพและความสามารถที่ซ่อนอยู่ของบุคคลมาใช้จะก่อประโยชน์สูงสุดให้กับหน่วยงาน/องค์กร   ดังนั้น  การพัฒนาสมรรถนะของบุคคลจะส่งผลต่อความสำเร็จขององค์กร    สมรรถนะของบุคคลประกอบด้วยสมรรถนะหลัก และสมรรถนะเฉพาะงาน หรือสมรรถนะในตำแหน่งงาน  หน่วยงาน/องค์กรจะมีรูปแบบการประเมินสมรรถนะบุคลากร  ที่แตกต่างกัน   แต่ก็มาจากแนวคิดเดียวกัน  คือ เป็นการวัดและประเมินผลการเรียนรู้และความสามารถของมนุษย์  ด้วยเครื่องมือประเมินสมรรถนะที่มีความเหมาะสม มีทั้งที่เป็นการทดสอบ  มาตราส่วนประมาณค่า และแบบบันทึกผลงาน  วิธีการประเมินสมรรถนะให้ได้ผลเที่ยงตรง  น่าเชื่อถือ ได้ข้อมูลจากหลายมุมมอง  เห็นจุดแข็งและขอบเขตการพัฒนาที่กว้างขวางขึ้น  มีความเป็นกลาง  สร้างแรงจูงใจ  มีความยืดหยุ่น ควรเป็นการประเมินแบบ  360 องศา คือการให้บุคคลแวดล้อมเป็นผู้ประเมินผลพฤติกรรมคุณลักษณะที่แสดงออก 

«ข้อสังเกตจากผู้บันทึก (ถ้ามี)

                                      - การพบ ผชช.หากเป็นไปได้น่าจะเป็นกลุ่มเล็ก  หากมีมากเกินไปบางคนขาดโอกาสในการ ลปรร.กับผชช. หรือหากแสดงความคิดเห็นนานเกินไปก็เกรงใจสมาชิก  เวลา 1 ชั่วโมงเพียงพอสำหรับกลุ่มขนาดเล็ก 

                                      - การ ลปรร.ในเวลาที่จำกัด  หากเป็นเรื่องเดียวกันจะได้ความรู้มากยิ่งขึ้น  และตรงตามความต้องการ สอดคล้องกับภาระงาน แต่ถ้าหากไม่ได้กำหนดภาระงานให้สิ่งที่ได้ย่อมมหาศาล มีประโยชน์และคุ้มค่า  แต่ทั้งนี้อุปกรณ์ต้องพร้อม ดีและต้องมีเวลา  ที่สำคัญกระบวนการในการ ลปรร.ทำอย่างไรจึงจะไม่เกิดการพูดพร้อม ๆ กัน เพราะผู้พูดต่างก็มีความรู้สึกอยาก ลปรร. แต่ไม่เห็นหน้า/อากัปกิริยาของคนอื่น ๆ ทำให้ไม่สามารถเปิดโอกาสให้คนอื่นพูด....ผลที่เกิดคือพูดพร้อม ๆ กัน

                                      - งานครั้งต่อไป....ในสัปดาห์ที่ 3  ก็คงเป็นเรื่องของการประเมินสมรรถนะของแต่ละคน จะเสร็จทันสรุปผลการประเมินหรือไม่....คอยติดตามตอนต่อไป

 

อย่าลืมร่วมแสดงความคิดเห็นกันเยอะ ๆ ด้วยนะ....

 
หมายเลขบันทึก: 196675เขียนเมื่อ 26 กรกฎาคม 2008 13:04 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 01:14 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)

สัปดาห์ที่ 2 ...เริ่มเข้าร่องเข้ารอยแล้วนะคะ ปัดว่าการ ลปรร. กับ ผชช.กลุ่ม "วิริยะ" ส่งตัวแทนเข้ามาถาม "ผชช." ได้คม-ชัด-ลึก มากค่ะ เพราะเจาะประเด็นเรื่องสมรรถนะล้วน ๆ ทั้งท่าน ผอ. อาวุโส ทั้ง อ. อุ๊ working woman คนสวยของกลุ่ม อย่างไรก็ตาม การ ลปรร. ในคืนวันพฤหัสที่ผ่านมา ต้องขอขอบคุณ อ. จรัญ ไชยศักดิ์ สมาชิกกลุ่ม 2แห่ง "ปรินส์รอยแยลวิทยาลัย เชียงใหม่" เป็นอย่างสูงที่ช่วยอำนวยการเป็น host กิตติมศักดิ์ให้ เพราะสัญญาณของปัดก็ "weak" เช่นกัน (ดร. สนธิรัก โวยวายตามมาภายหลังว่า "ทิ้งเราเลยนะ" ... จริง ๆ ไม่ได้ทิ้งค่ะ แค่สัญญาณไม่เป็นใจ)

-ประเด็น ลปรร. กลุ่มย่อยนะคะ ปัดก็อยากให้เป็นกลุ่มเล็ก ๆ ทีละกลุ่มเช่นกัน ปัญหาคือบางกลุ่มเค้ามาไม่ได้ในวัน-เวลาที่กำหนด ในขณะที่บางกลุ่ม 3-4 คนมาได้ตลอด

-ปัญหาอีกอย่างคือ ผชช. ของปัดติดภารกิจต่างจังหวัด (เสมอ) การประสานให้ท่านขึ้นเวลานั้นเวลานี้ จึงค่อนข้างลำบาก เพราะท่านต้องบรรยาย...

"ปัญหา 2 ข้อนี้ปัดจะพยายามปรับปรุงค่ะ ขออภัยในความไม่สะดวก"

-การแก้ปัญหาการพูดพร้อม ๆ กัน ผู้อำนวยความสะดวกต้องเป็นผู้ "จัดคิว" ค่ะ เทคนิคนี้สอบถามจาก อ. ไก่ "มยุรฉัตร" ได้ค่ะ ท่านเชี่ยวชาญ

สำหรับการส่งงาน ถือว่า "ไม่ช้า" นะคะ ... รู้สึกเหมือนเป็นคนใจร้าย ใช้งานสมาชิกหนักเกินไป.. เนอะ!

อยากเห็นงานสัปดาห์ที่ 3 มาก ๆ ค่ะ อ้อ! ข่าวดีคือ ปัดประสาน อ. ระวีวรรณ ต้นตำรับ "สมรรถนะ" ของ สคบศ. ที่คู่กะ อ. วีระชัย ได้แล้วนะคะ ถ้าเปรียบ อ. วีระชัยเป็น "เสธฯ" ด้านสมรรถนะของ สคบศ. อ. ระวีวรรณ ก็คือ "แม่ทัพ" ค่ะ

ขอบคุณ อ.ปัดที่ให้กำลังใจทุกเรื่อง ทุกอย่าง ที่ทำไปก็คลำไป ถูก ๆ ผิด ๆ ไม่แน่ใจ กลัวจะไปไม่ถูกทาง เพราะแต่ละกลุ่มไม่เหมือนกัน (กลุ่ม 1 share กับกลุ่มอื่น ๆ)ไม่ว่าจะเป็นเรื่องที่นำมา ลปรร.กัน ผลที่คาดว่าจะได้รับ แตกต่างกัน แต่อย่างไรซะกลุ่ม 1 ก็ต้องเดินหน้าต่อไป ใบงาน 3 ครั้ง ก็ 3 รูปแบบ กลับตัวไม่ทันจริง ๆ แต่จะพยายามจ๊ะ เกิน 100 อยู่แร้ว....

สำหรับประเด็นที่เจาะลึกนั้น...กลุ่ม 1 ต้องการพัฒนาสมรรถนะ Share กันก็เรื่องนี้ล้วน ๆ เป้าหมายคือ IDP ดังน้น เลยต้องการความชัดเจนในแต่ละขั้นตอนที่ปฏิบัติค่ะ

สัปดาห์ที่ 3 นี้ กลุ่ม 1 ทุกคนจะพยายามพบ ผชช.ให้ครบให้ได้ เพราะจะได้รับประโยชน์อย่างมากที่ได้พบทั้ง แม่ทัพและเสธ

ผอ.อาวุโส (แต่ไม่แก่)

ปัญหาเขามีไว้ให้แก้ ปัญหาจึงอยู่คู่กับการทำงานเสมอ การพัฒนางานจึงอยู่ที่การแก้ปัญหาสำเร็จ เช่น การแก้ปัญหาไม่ให้สมาชิกพูดพร้อมกัน ก็ต้องอาศัยผู้ดำเนินรายการเป็นคนกำหนด เชิญพูดเป้นคน ๆ ไป เหมือนที่ท่านวิชัยใช้เมื่อครั้งที่แล้ว อีกปัญหาที่ต้องให้สมาชิกแก้กันเองคือเรื่องคุณภาพของเน็ต ซึ่งถ้าเป็นเน็ตความเร็วสูงจะไม่มีปัญหา ก็ดีใจที่ใคร ๆบอกว่า เน็ตของผู้เฒ่าอย่างผมเสียงดังฟังชัดทุกครั้ง อย่างนี้หรือเปล่าที่เขาเรียก "ถึงจะแก่แต่ก็มีไฟอยู่"

กลุ่ม 1 ก็ได้มาดามอุ๊ นี่แหละ ทำหน้าที่เลขาฯได้ยอดเยี่ยม เรียกส่า ทั้งสวยทั้งเก่งไม่แพ้ ไก่ มยุรฉัตร เลยทีเดียว พูดจริง ๆ ไม่ได้โม้

ดู ดู้ ดู ดู อุ๊ ทำ

มาดามทำดีแล้ว

มันเป็นความพยายามของคนที่จะวัดคน

มันอาจได้เพียงนิดๆ

นิดๆ แต่หลานคนก็พอใจ

นายวิชากร มาแจม

ไม่รู้จะแก้ที่ไหน

พิมพ์ไปแล้ว

ขอเปลี่ยนจาก หลาน เป็น หลาย

จากนายวิชากร

เก่งจริง ๆ ครับเลขาของเรา เอาไปเลย เต็ม 10 .......

เยี่ยมยอดมากครับพี่อุ ตอนนี้เครื่องที่บ้านมีปัญหาเข้า Skype เข้าไปแป๊ะ ๆ ก้อหลุด เลยใช้วิธีเข้ามาแชร์ในบอร์ด ครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท