นกเงือก กลับใจ??


กาพย์ห่อโคลงนิราศธารทองแดง พระนิพนธ์ใน สมเด็จเจ้าฟ้ากรมขุนเสนาพิทักษ์ (เจ้าฟ้าธรรมธิเบศร์/เจ้าฟ้ากุ้ง) ได้กล่าวถึงนกเงือกไว้ความว่า



นกเงือกอยู่โพรงไม้            ผัวฟักไข่เมียผันผาย
เล่นชู้อยู่เสบยสบาย            ผัวหมายไว้ให้รังรวง

         นกเงือกอยู่ซอกไม้     เรียงราย
ผัวฟักเมียผันผาย               ด่วนได้
เล่นชู้อยู่เสบยสบาย             ลืมคู่
ผัวอดอาหารให้                   อยู่เฝ้ารวงรัง


ถาม : ซึ่ง เคยอ่านงานเขียนของ มล.ปริญญากร  วรวรรณ ว่านกเงือก(ที่ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าฮาลา-บาลา บริเวณทิวเขาสันกาลาคีรี แนวชายแดนไทย-มาเลเซีย อ.แว้ง จ.นราธิวาส) นี่ตัวเมียฟักไข่  แล้วตัวผู้ออกไปหาอาหารมาป้อน   ถ้าตัวผู้ตาย  ตัวเมียกับลูกก็ต้องอดอาหารตายด้วย  แล้วความจริงคืออะไรฮะ?  ถามโดย mim4042 ที่มา http://www.siamensis.org/board/6604.html

ตอบ :  อาจ อนุมานด้วย วิธีนิรนัย (deduction) และตั้ง สมมติฐาน (Hypothesis) ได้ดังนี้

 1. เจ้าฟ้ากุ้งไม่มีความรู้เรื่อง ปักษีวิทยา (Ornithology) จึงทำให้กล่าวถึงนกเงือก (hornbill)  ไว้อย่างคลาดเคลื่อนจากข้อเท็จจริงในปัจจุบัน
 2. เจ้าฟ้ากุ้ง มีความรู้เรื่อง ปักษีวิทยา กล่าวไว้อย่างถูกต้อง แต่ทว่า นกเงือกสมัยอยุธยา จวบจนถึงสมัยรัตนโกสินทร์ ได้พัฒนาตนว่าด้วยเรื่อง ศีลธรรม จนกลายเป็นสัตว์ที่รักเดียวใจเดียวในที่สุด
3. นกเงือกในสมัยอยุธยา ตัวผู้อาจจะฝักไข่แล้วให้ตัวเมียออกไปหาอาหาร ต่อมาในสมัยรัตนโกสินทร์ นกเงือกตัวผู้สำนึกได้ จึงออกไปหาอาหารเอง และให้ตัวเมียฟักไข่ในรัง เป็นที่น่าศึกษาวิจัยต่อไปว่า ในสมัยปัจจุบัน นกเงือกตัวผู้และตัวเมียมีแนวโน้มออกไปหาอาหารทั้งคู่โดยคาบไข่ไปฝากฟักที่ nursery  หรือไม่ เรื่องมันก็มีอยู่เท่านี้นะนา 

 

อนึ่ง คุณหมอ มัทนา  ได้ให้ทรรศนะเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวไว้ใน อนุทิน  16428  ดังนี้

ลองค้นดูพบว่าตัวเมียฟักไข่ ตัวผู้หาอาหารมาป้อน แต่ว่าที่น่าทึี่งไปกว่านั้นคือมีการให้ญาติช่วยเลี้ยงลูกเมียด้วย!  "Brown, Bushy-crested and White-crowned Hornbills employ a co-operative breeding strategy. This means they have nest helpers, usually yearlings of the same family (ลูกสัตว์อายุเต็ม 1 ปีแต่ไม่ถึง 2 ปี), to assist with the feeding of the female and the chicks." [จาก hornbills in Thailand 1]

ที่แปลกคือตัวเมียมันจะขังตัวเองในรังตลอดไม่ออกมาเลย  125 วัน

"she seals herself into the hole, between 6 and 33 metres above the ground, using semi-digested leaves, oil globules, and regurgitated mud. A slit-shaped entrance is left through which the male feeds the female and their chicks, and the female defecates, creating a large pile of guano at the base of the tree."

จาก arkive.org

นอกจากนี้ถ้าคู่ไม่ตายมันก็มักจะไม่มีใหม่ (เหมือน ห่าน หงส์ เหยี่ยว อินทรีย์ นกแก้วหลายชนิด แอลบะทรอส กาเรเว่น นกเขา นกพิราบ ฯลฯ) ฟังดูโรแมนติก แต่ในเว็บดูนกป่าเค้าเขียนไว้ว่า ถ้าคิดดูแล้วเวลาที่ใช้ในย้ายถิ่น สร้างรัง สร้างอาณาเขต หาคู่ ฟักไข่ เลี้ยงลูก นานแค่ไหน จะให้ไปใช้เวลาหาคู่ ไปอ่อยไปล่อคู่หลายๆทีคงไม่ไหว ไม่น่าใช่วิธีที่ธรรมชาติจะยอม เพราะมันทำให้เวลาแพร่พันธุ์ลดลง สมมติฐานของมัทคือเจ้าฟ้ากุ้งท่านเขียนประชดประชันอะไรบางอย่าง เขียนให้เป็นตรงข้ามไปหมด? (ตอนแรกคิดว่าหรือว่าดูสีนกแล้วเข้าใจเมียเป็นผัวผัวเป็นเมียแต่มามีเรื่องชู้ด้วยนี่คงเป็นการตั้งใจเขียนให้ตรงข้ามความจริงรึเปล่าไม่ทราบเหมือนกันค่ะ) 


คุณหมอมัทนาแสดงทรรศนะเกี่ยวกับเรื่องนี้โดยเชื่อว่าเจ้าฟ้ากุ้งท่านใช้โวหาร การกล่าวถึงความขัดกันเข้าคู่กัน หรือ ปฏิภาคพจน์ (Paradox)   นั่นเอง

ผู้เขียนจึงลองสมมติว่า ผู้คนในสมัยอยุธยาเขามีความรู้เรื่อง ปักษีวิทยา เกี่ยวกับนกเงือก ข้าราชบริภารก็ต้องทักท้วงเจ้าฟ้ากุ้ง ว่า หามิได้พระพุทธเจ้าข้า นกเงือกตัวเมียฟักไข่ และตัวผู้ออกไปหาอาหาร อีกทั้งนกเงือกเป็นนกที่รักเดียวใจเดียว พระพุทธเจ้าข้า  การที่เจ้าฟ้ากุ้งทรงแต่งกาพย์ห่อโคลง  โดยใช้ ปฏิภาคพจน์ ก็คงมีวัตถุประสงค์เพื่อที่จะให้คนอ่านฉุกคิด หรือให้เฉลียวใจ ว่าด้วยเรื่อง รักเดียวใจเดียว เพื่อที่จะได้ ไม่อายนกเงือก  กระมัง หนอ

สำหรับ กาพย์ห่อโคลงนิราศธารทองแดง อีกบทหนึ่งซึ่งเราคุ้นหู ก็คือ บทที่แต่งโดยใช้ กลบทเลื่อนลำ  ที่ว่า



ดูหนูสู่รูงู         งูสุดสู้หนูสู้งู
หนูงูสู้ดูอยู่       รูปงูทู่หนูมูทู
ฯ   (กลบบทกาพย์เลื่อนลำ)  

ดูงูขู่ฝูดฝู้        พรูพรู  
หนูสู่รูงูงู         สุดสู้ 
งูสู้หนูหนูสู้      งูอยู่
หนูรู้งูงูรู้         รูปทู้มูทู
ฯ  (กลบทโคลงบาทเลื่อนลำ) 

คำสำคัญ (Tags): #นกเงือก
หมายเลขบันทึก: 196573เขียนเมื่อ 25 กรกฎาคม 2008 23:19 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 15:16 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (10)

..น่าคิด..นกเงือกปัจจุบัน เฃาจับมาขังกรง และรออาหารจากมนุษย์ค่ะ..

สวัสดีค่ะ

* นกเงือกบางสายพันธุ์พัฒนาลงเป็นนกเงือกชาวเขาโบราณ  นกเงือกตัวผู้อยู่บ้านถุนยา ส่วนนกเงือกตัวเมียออกไปทำงาน..และนำอาหารมาสู่นกเงือกตัวผู้....

* นกเงือกอีกสายพันธุหนึ่งทั้งตัวผู้และตัวเมียออกไปหากินเริงร่าหน้าบาน..โดยคาบไข่ไปให้แม่กาแก่ๆ ฟัก

* อิอิ..มาสนุกกับนกเงือกค่ะ

สวัสดีครับพี่นุส nussa-udon เมนูนกเงือกหรือครับ น่ากินจัง เอ้ย น่าสงสารจังนะครับ นกเงือกเป็นสัตว์ป่าที่ใกล้จะสูญพันธุ์นะครับ อย่าปล่อยให้สัตว์ประเสริฐ แบบนี้สูญพันธุ์เลยนะครับ ว่ามั้ย

สวัสดีครับคุณพี่อาจารย์ พรรณา ผิวเผือก ขอบคุณที่มา ลปรร. ว่าด้วยเรื่องนกเงือกนะครับ กระผม :)

สวัสดีค่ะคุณกวิน

นำภาพมาฝาก...เป็นกำลังใจให้...เดินทางไปในทางที่ดีค่ะ

ทางข้างหน้าดูเหมือนจะไกลมาก....แต่จุดหมายปลายทางอยู่ที่ใจ...ของเราต่างหาก...สู้ ๆ ๆ ๆ นะคะ....^_^....

ขอบคุณ คนไม่มีราก  สำหรับรูปภาพสวยๆครับ

เคยได้ยินว่า นกเงือกเป็นนกที่คู่รักที่ซื่อสัตย์มากๆค่ะ

....  คู่รัก สมัยใหม่ น่าจะเอาตัวอย่าง นกเงือก นะคะ

สวัสดีครับคุณพี่อาจารย์ พรรณา ผิวเผือก ขอบคุณสำหรับ ดอกบัวขาวที่โผล่พ้นน้ำ และภาพการเดินทางของหอยทากนะครับ (นี่ถ้าหอยทากตัวนี้ไปเดินเล่นอยู่แถวฝรั่งเศสคงโดนจับขึ้นโต๊ะอาหารนะครับ)

สวัสดีครับคุณ poo ขอบคุณที่แวะมาอ่านเสมอๆ นะครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท