การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา / ท้องถิ่น


ขั้นตอน วิธีการพัฒนาหลักสูตร

การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา

การพัฒนาหลักสูตรสถานสามารถดำเนินการตามขั้นตอนและวิธีการ ซึ่งอำภา บุญช่วย (2533 : 34 – 35) กล่าวไว้ดังนี้

1.      การแปลงหลักสูตรไปสู่การสอน หมายถึงการตีความหมายและกำหนดรายละเอียดหลักสูตร สิ่งที่ผู้นำไปใช้จะต้องตีความหมายก็คือ ความมุ่งหมายของหลักสูตร เพราะหลักสูตรแม่บทกล่าวไว้อย่างกลาง ๆ ผู้นำไปใช้จะต้องกำหนดรายละเอียด จะต้องพิจารณาว่ามีความมุ่งหมายอย่างไร จะสอนใคร ระดับไหน อย่างไรและต้องการให้เกิดอะไรขึ้นในตัวผู้เรียน หลังจากทำความเข้าใจจุดมุ่งหมาย ตลอดจน หลักการและโครงสร้างแล้ว จะต้องกำหนดรายละเอียดของหลักสูตรว่าจะให้ผู้นำไปใช้กำหนดรายละเอียดให้ผู้เรียนได้เรียนเกี่ยวกับเรื่องอะไร โดยมีคณะกรรมการจัดทำประมวลการสอน โครงการสอนหรือแผนการสอน กำหนดการสอนและบันทึกการสอนประจำวัน ซึ่งจะออกมาในรูปของเอกสารหลักสูตร
2.    ปัจจัยและสภาพแวดล้อมต่าง ๆ ในสถานศึกษาการนำหลักสูตรไปปฏิบัติเกิดขึ้นที่สถานศึกษา ผู้บริหารจำเป็นต้องสำรวจดูปัจจัย และสภาพต่าง ๆ ของสถานศึกษา ว่าเหมาะสมกับการนำหลักสูตรไปใช้หรือไม่ ปัจจัยเหล่านี้ได้แก่ จำนวนนักเรียน ขนาดห้องเรียน ห้องสมุด วัสดุอุปกรณ์สื่อการสอนต่าง ๆ แผนการสอน กำหนดการสอนแบบเรียน หนังสืออ่านประกอบตลอดจนการจัดครูเข้าสอน
3.     การสอนของครู เป็นขั้นตอนสำคัญที่สุดของการนำหลักสูตรไปใช้ ถึงแม้จะมีสิ่งต่าง ๆ พร้อมมูล หลักสูตรก็ยังไม่บรรลุผลสัมฤทธิ์ได้หากครูยังไม่ได้ลงมือสอน ครูมีส่วนสำคัญที่สุดในการนำหลักสูตร การเลือกวิธีการสอนที่เหมาะสม ฯลฯ เป็นสิ่งที่มีความสำคัญต่อผลสัมฤทธิ์ หรือความล้มเหลวของหลักสูตร
            บทบาทหน้าที่ของผู้บริหารต่องานหลักสูตรและการนำหลักสูตรไปใช้
          ในการจัดกระบวนการเรียนการสอนให้บรรลุจุดมุ่งหมายนั้น ผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอนจะต้องรู้ว่าอะไรบ้างที่ควรจัดให้ผู้เรียน และมีความมุ่งหวังที่ให้ผู้เรียนรู้มากน้อยเพียงใด ทั้งนี้ย่อมขึ้นอยู่กับองค์ประกอบหลายด้าน เช่น ความแตกต่างระหว่างบุคคล ความสนใจและความถนัดของแต่ละคน มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช (2526:174) ได้เสนอแนะแนวทางที่ผู้บริหารสถานศึกษาจะต้องปฏิบัติเกี่ยวกับการบริหารหลักสูตรให้เกิดผลดี ดังนี้
1.     ผู้บริหารสถานศึกษาจะต้องมีความเข้าใจหลักสูตรอย่างชัดแจ้ง โดยเฉพาะในเรื่องหลักการจุดมุ่งหมาย และโครงสร้างของหลักสูตร ตลอดจนต้องเข้าใจถึงความสัมพันธ์ระหว่างหลักสูตรและสื่อการเรียนต่าง ๆ เป็นอย่างดี
2.     ผู้บริหารสถานศึกษาจะต้องเป็นผู้นำในการนำหลักสูตรไปใช้ โดยการให้ความสนใจเอาใจใส่และติดตามผลการปฏิบัติของครูอย่างต่อเนื่อง ความเอาใจใส่ของผู้บริหาร สถานศึกษาจะช่วยให้การปฏิบัติของครูเกิดผลดียิ่งขึ้น
3.     ผู้บริหารสถานศึกษาจะต้องติดตามนิเทศช่วยเหลือ ให้คำแนะนำให้ครูมีความเข้าใจในหลักสูตรไปใช้อยู่เสมอ แม้ว่าหลักสูตร พ.ศ. 2521 จะใช้กันมาหลายปีแล้วก็ตาม  ผู้บริหารสถานศึกษาจะต้องระลึกอยู่เสมอว่า มีความจำเป็นที่จะต้องย้ำเตือนกันอยู่เสมอ
4.     ผู้บริหารสถานศึกษาต้องเอาใจใส่สนับสนุนส่งเสริมให้ครูได้ผลิตและใช้สื่อการสอนเพื่อให้การเรียนการสอนมีผลดีและเกิดประโยชน์แก่เด็กตามจะมุ่งหมายของหลักสูตร
5.     ผู้บริหารสถานศึกษาจะต้องประชาสัมพันธ์หลักสูตรให้ผู้เกี่ยวข้องได้ทราบโดยทั่วกัน เช่น ผู้ปกครองนักเรียน ให้มีความรู้ความเข้าใจหลักสูตร เพื่อจะได้รับความร่วมมือในการเรียนการสอนอย่างเต็มที่
6.     ผู้บริหารสถานศึกษาจะต้องจัดสิ่งอำนวยความสะดวกในการที่จะนำหลักสูตรไปใช้ เช่น

เอกสารหลักสูตร วัสดุหลักสูตร สื่อการเรียนการสอน
7.     ผู้บริหารสถานศึกษาจะต้องจัดสภาพแวดล้อมในสถานศึกษา ให้เอื้ออำนวยต่อการจัดการเรียนการสอน เช่น บริเวณสถานศึกษา โต๊ะ เก้าฮี้นักเรียน ห้องน้ำห้องส้วมถูกสุขลักษณะและเพียงพอ มีมุมหนังสือหรือห้องสมุด แม้สิ่งเหล่านี้อาจจะจัดให้มีอย่างสมบูรณ์ได้ยาก เพราะขัดสนด้านงบประมาณสนับสนุน แต่หากผู้บริหารได้ตระหนักถึงความจำเป็นและความสำคัญ มีความคิดในเรื่องเหล่านี้อยู่ตลอดเวลา ความฝันอาจจะเป็นความจริงขึ้นมาได้ แม้จะเป็นความฝันที่สูงเกินไป
          ไพโรจน์ นาคะสุวรรณ (2528:26) ได้อธิบายถึงบทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาในการนำหลักสูตรไปใช้ พอสรุปได้ดังนี้
1.     ต้องมีความเข้าใจหลักสูตรอย่างแจ่มแจ้ง และต้องศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างหลักสูตรกับการเรียนการสอนและวัสดุประกอบอื่น ๆ
2.     ต้องเป็นผู้นำในการนำหลักสูตรมาใช้
3.     ต้องเป็นผู้เสริมขวัญและกำลังใจแก่ครูแลผู้ปฏิบัติงาน
4.     ต้องจัดการด้านบริการใช้หลักสูตรแก่บุคลากรในสถานศึกษา
5.     ต้องจัดประชุมเพื่อวางแผน แลกเปลี่ยนความคิดเห็นในกาจัดดำเนินการ
6.     ต้องประสานงานการดำเนินการใช้หลักสูตร
7.     ติดตามผลการปฏิบัติงานและนิเทศ
8.     ประชาสัมพันธ์
9.     ส่งเสริมกิจกรรมเสริมหลักสูตร
อำภา  บุญช่วย (2533:38-40) ได้อธิบายถึงแนวปฏิบัติของผู้บริหารสถานศึกษาในการบริหารหลักสูตรดังนี้
1.  จัดให้มีปรัชญาและเป้าหมายการจัดการศึกษาของสถานศึกษา
2.  จะต้องมีการกำหนดนโยบายทางด้านวิชาการของสถานศึกษาไว้ให้ชัดเจน และแจ้งให้ครูทุกคนทราบและเข้าใจ
3.  ต้องทำความเข้าใจองค์ประกอบและโครงการศึกษาที่มีขึ้นภายในสถานศึกษาทั้งหมดและสื่อสารให้ครูทุกคนเข้าใจ
4.  เข้าใจหลักสูตรและองค์ประกอบของหลักสูตรและมีการฝึกอบรมให้มีความรู้ในด้านนี้ให้ได้ทุกคน
5.  จัดให้มีและทำเอกสารหลักสูตรที่ครูจะต้องใช้ในสถานศึกษา เช่น หลักสูตร โครงการสอน แผนการสอน หนังสือเรียน คู่มือหนังสือเรียน หนังสือส่งเสริมการอ่านประกอบ
6.  การคัดเลือกและใช้ครูให้ถูกต้องตามความถนัด ความสามารถและวิชาการที่ได้ศึกษาและให้เหมาะกับระดับชั้นเรียน
7.  จัดให้มีและอำนวยความสะดวกในด้านอาคารสถานที่และสื่อการสอน เช่น ห้องสมุด ห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์ สนามฝึกพลานามัยและกีฬา วัสดุอุปกรณ์และการใช้วัสดุท้องถิ่นในการผลิตอุปกรณ์และการสอน ฯลฯ
8.  ดำเนินการเกี่ยวกับการนิเทศการศึกษาภายในสถานศึกษา โดยการพัฒนาครู ทางด้านการสอน เช่น ให้ครูสังเกตการสอน เยี่ยมเยียนดูการสอน เข้ารับการอบรม ประชุมทางวิชาการ ศึกษาต่อ อ่านวารสาร เขียนบทความ ร่วมกับกลุ่ม ดำเนินงานด้านวิชาการและขอความช่วยเหลือจากศึกษานิเทศก์
9.  ก่อนเปิดภาคเรียนสัก 2 สัปดาห์ ควรมีการประชุมครู ชี้แจงหลักสูตร แผนการสอน จัดประชุมปฏิบัติการ เกี่ยวกับการสอนและปัญหาการสอน จัดทำวัสดุอุปกรณ์และอาจมีการสาธิตการสอนแลกเปลี่ยนความรู้กัน
10. การจัดตารางสอน มีความสำคัญมากประการหนึ่ง หลักสูตรได้กำหนดคาบเวลาไว้แล้ว
11.  การจัดกิจกรรมเสริมหลักสูตร ให้กับนักเรียนเป็นสิ่งจำเป็นและความสำคัญมากสำหรับวัยเด็กและเป็นจุดเริ่มต้นของการพัฒนาลักษณะนิสัย
12. จัดโครงการสอนซ่อมเสริมสำหรับเด็กที่เรียนอ่อนและการสอนซ่อมเสริมเด็กเรียนเร็ว

13. รู้จักการประเมินผลหลักสูตร โดยประเมินได้จาก
13.1 ผลการศึกษาของนักเรียนที่ครูวัดผลได้เป็นประจำ
13.2 การใช้แผนการสอนของครู
13.3 ติดตามนักเรียนที่สำเร็จการศึกษาไปแล้ว
13.4 ความเป็นผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา
13.5 องค์ประกอบอื่นๆ ที่มีผลต่อการใช้หลัดสูตร เช่น อาคารสถานที่ ครู เครื่องอำนวยความสะดวก สิ่งแวดล้อม ฯลฯ
            สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ (2528:17) กล่าวเน้นว่า ผู้บริหารสถานศึกษามีบทบาทหน้าที่ในการดำเนินการเกี่ยวกับหลักสูตรและการนำหลักสูตรไปใช้ให้เกิดประสิทธิภาพ ดังนี้
1.  อบรมครูให้มีความรู้ ความเข้าใจหลักสูตรและวิธีการใช้หลักสูตรให้สัมฤทธิ์ผลรวมประชาสัมพันธ์หลักสูตรให้ผู้ปกครองและนักเรียนได้ทราบ เพื่อจะช่วยส่งเสริมให้การใช้หลักสูตรเกิดผลดียิ่งขึ้น
2.  จัดทำแผนการเรียนการสอนตารางสอน เพื่อให้การใช้หลักสูตรเป็นไปอย่างราบรื่นจัดครูเข้าสอนตามความเหมาะสมกับความรู้ความสามารถ และมอบหมายให้มีครูอีกจำนวนหนึ่งเป็นครูฝ่ายบริหารหลักสูตร เช่น ครูโสตทัศนศึกษา ครูบรรณารักษ์ ครูแนะแนว 
3.  จัดเตรียมสถานที่ที่จะใช้ประกอบการเรียนการสอน  เช่น ห้องสมุด ห้องวิชาการต่าง ๆ สนามกีฬา แปลงเกษตร และอื่น ๆ
4.  หาวิธีการส่งเสริมความรู้แก่ครูด้วยวิธีต่าง ๆ เช่น ประชุมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นส่งครูไปดูงานสังเกตการสอนในสถานศึกษาอื่น จัดหนังสือและแนะนำหนังสือให้อ่าน รับวารสารวิชาการ แต่ก่อนอื่นผู้บริหารสถานศึกษาต้องแสดงตนให้ประจักษ์ว่า เป็น ผู้นำในการแสวงหาความรู้อยู่เสมอ
5.  ประสานงานกบบุคคลหรือหน่วยงานต่าง ๆ  เช่น ประชุมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นส่งครูไปดูงานสังเกตการสอนในสถานศึกษาอื่น จัดหนังสือและแนะนำหนังสือในการแสวงหาความรู้อยู่เสมอ
6.   ประสานงานกับบุคคลหรือหน่วยงานต่าง ๆ ภายนอก รวมทั้งประชาสัมพันธ์ กิจการต่าง  ๆของสถานศึกษาให้ผู้ปกครองทราบ เพื่อจะได้รับความช่วยเหลือสนับสนุน ส่งเสริมการใช้หลักสูตรให้เกิดผลดี
7.  พยายามสร้างขวัญและกำลังใจให้แก่ครู เพื่อประสิทธิภาพของงาน เช่น มอบหมายงานให้รับผิดชอบตามความเหมาะสมและทั่วหน้ากัน วางตนเสมอต้นเสมอปลาย ให้เกียรติแก่ครู แสงตนเป็นผู้ปกป้องผลประโยชน์ของครู  พิจารณาความดีความชอบด้วยความเป็นธรรม โดยดูคุณภาพของผลงานมิได้ดูแต่เพียงหน้า หรือใช้ความพอใจส่วนตัวเป็นที่ตั้ง
8.  พยายามส่งเสริมสนับสนุนให้กิจกรรมหลักสูตรมีขึ้นอย่างเหมาะสม เช่น จัดตั้งชุมนุมวิชาการต่าง ๆ ชุมนุมกีฬา ชุมนุมยุวกสิกร ชุมนุมประเพณีท้องถิ่น
9.  พยายามจัดหาวัสดุและส่งเสริมอำนวยความสะดวกให้ครูทำอุปกรณ์การสอนหรือใช้สิ่งที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์
          
 

การพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น

เหตุผลต้องมีการพัฒนาหลักสูตรระดับท้องถิ่น คือ

 1. การพัฒนาหลักสูตรระดับชาติ เปิดกว้างให้ท้องถิ่นมีส่วนร่วมในการปรับ หรือพัฒนาให้เหมาะสมกับท้องถิ่น

2. ประสบการณ์ในหลักสูตรระดับชาติ บางอย่างมีความจำเป็นมากกว่าหรือน้อยกว่าในระดับท้องถิ่น

 3. ประสบการณ์ที่จำเป็นบางอย่างของท้องถิ่นไม่มีในหลักสูตรระดับชาติ

4. ประสบการณ์บางอย่างเป็นความต้องการของท้องถิ่น ซึ่งมีข้อมูลในเชิงวิชาการ ผู้ทำหน้าที่ในการพัฒนาหลักสูตรระดับท้องถิ่น ได้แก่ ศึกษานิเทศก์ในท้องถิ่น ผู้ช่วยฝ่ายวิชาการของแต่ละ โรงเรียน ครูผู้สอนซึ่งเป็นบุคคลที่มีความสำคัญยิ่ง คุณสมบัติของนักพัฒนาหลักสูตรระดับท้องถิ่น ได้แก่มีโลกทัศน์กว้างขวาง ใฝ่หาความรู้อยู่เสมอ รู้แจ้ง รู้จริง ยึดมั่นในหลักวิชาการ มีความทันสมัย เคารพความคิดเห็นของบุคคลอื่น ทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ดี มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี มีความคิดสร้างสรรค์ และมีความมั่นใจในตนเอง การหาข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนาหลักสูตรนี้ทำได้โดย การศึกษาเอกสาร การใช้แบบสอบถาม การสัมภาษณ์ การประชุม สัมมนา และความคิดเห็นของผู้ทรงคุณวุฒิ การวางแผนเพื่อให้งาน มีความละเอียดรอบคอบควรทำดังนี้

1. สำรวจและวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐาน

 2. ประชุมคณะกรรมการดำเนินงาน

 3. ดำเนินการพัฒนา หลักสูตรระดับท้องถิ่น

 4. ทดลองใช้ครั้งที่ 1

 5. ปรับปรุง แก้ไข

6. ทดลองใช้ครั้งที่ 2

เมื่อผลงานเป็นที่น่าพอใจจึงนำไปเผยแพร่ สิ่งที่สามารถพัฒนาได้ในระดับท้องถิ่น ได้แก่

 1. การปรับหรือขยายหลักสูตรแกนกลาง

 2. การสร้างหลักสูตรย่อยเสริมหลักสูตรแกนกลาง

3. การเขียนเอกสารประกอบหลักสูตร

4. การผลิตสื่อการเรียนการสอน และ

 5. การสร้างเครื่องมือวัดผลการเรียนรู้

นวัตกรรมทางด้านหลักสูตร เป็นการใช้วิธีการใหม่ๆ ในการพัฒนาหลักสูตรให้สอดคล้อง

กับสภาพแวดล้อมในท้องถิ่นและตอบสนองความต้องการสอนบุคคลให้มากขึ้น เนื่องจากหลักสูตรจะต้องมีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอเพื่อให้สอดคล้องกับความก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยีเศรษฐกิจและสังคมของประเทศและของโลก นอกจากนี้การพัฒนาหลักสูตรยังมีความจำเป็นที่จะต้องอยู่บนฐานของแนวคิดทฤษฎีและปรัชญาทางการจัดการสัมมนาอีกด้วย การพัฒนาหลักสูตรตามหลักการและวิธีการดังกล่าวต้องอาศัยแนวคิดและวิธีการใหม่ๆ ที่เป็นนวัตกรรมการศึกษาเข้ามาช่วยเหลือจัดการให้เป็นไปในทิศทางที่ต้องการ นวัตกรรมทางด้านหลักสู
หลักสูตรบูรณาการ เป็นการบูรณาการส่วนประกอบของหลักสูตรเข้าด้วยกันทางด้านวิทยาการในสาขาต่างๆ การศึกษาทางด้านจริยธรรมและสังคม โดยมุ่งให้ผู้เรียนเป็นคนดีสามารถใช้ประโยชน์จากองค์ความรู้ในสาขาต่างๆ ให้สอดคล้องกับสภาพสังคมอย่างมีจริยธรรม
2หลักสูตรรายบุคคล เป็นแนวทางในการพัฒนาหลักสูตรเพื่อการศึกษาตามอัตภาพ เพื่อตอบสนองแนวความคิดในการจัดการศึกษารายบุคคล ซึ่งจะต้องออกแบบระบบเพื่อรองรับความก้าวหน้าของเทคโนโลยีด้านต่างๆ
3หลักสูตรกิจกรรมและประสบการณ์ เป็นหลักสูตรที่มุ่งเน้น กระบวนการในการจัดกิจกรรมและประสบการณ์ให้กับผู้เรียนเพื่อนำไปสู่ความสำเร็จ เช่น กิจกรรมที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในบทเรียน ประสบการณ์การเรียนรู้จากการสืบค้นด้วยตนเอง เป็นต้น

4หลักสูตรท้องถิ่น เป็นการพัฒนาหลักสูตรที่ต้องการกระจายการบริหารจัดการออกสู่ท้องถิ่น เพื่อให้สอดคล้องกับศิลปวัฒนธรรมสิ่งแวดล้อมและความเป็นอยู่ของประชาชนที่มีอยู่ในแต่ละท้องถิ่น แทนที่หลักสูตรในแบบเดิมที่ใช้วิธีการรวมศูนย์การพัฒนาอยู่ในส่วนกลาง

                 สรุปว่า หลักสูตรเป็นเครื่องมือสำคัญที่สุดของการจัดการศึกษา ผู้บริหารสถานศึกษามีบทบาทสำคัญยิ่งในการนำหลักสูตรไปสู่การปฏิบัติ จำเป็นต้องศึกษาเอกสารหลักสูตรและเอกสารประกอบหลักสูตร ให้เข้าใจในหลักการ จุดหมาย และโครงสร้างอย่างแจ่มชัด สามารถแนะนำช่วยเหลือครูในการวางแผนการเรียนการสอนให้เป็นไปตามหลักการ จุดมุ่งหมาย เนื้อหาสาระ และกิจกรรมของหลักสูตร จัดหาเอกสารหลักสูตรและเอกสารประกอบหลักสูตรให้พร้อมและเพียงพอ ทั้งยังต้องประเมินผลการใช้หลักสูตร ตลอดจนให้ความคิดเห็นต่อผู้บริหารระดับสูงเพื่อการปรับปรุง พัฒนาหลักสูตรต่อไป

หมายเลขบันทึก: 196555เขียนเมื่อ 25 กรกฎาคม 2008 21:57 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 19:34 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท