การจัดการเรียนรู้


4mat

การจัดการเรียนรู้ แบบ 4Mat การจัดการเรียนรู้แบบ 4 Mat เป็นรูปแบบการเรียนการสอนที่พยายามพัฒนาการเรียนรู้ด้านต่างๆของผู้เรียนไปพร้อมกัน โดยใช้การบูรณาการทั้งทางด้านเนื้อหาสาระและวิธีการ สอดคล้องกับหลักทฤษฎีที่มุ่งเน้นการพัฒนารอบด้าน หรือการพัฒนาแบบองค์รวม เพื่อตอบสนองการใช้สมองซีกซ้ายและสมองซีกขวา ในการสร้างความรู้ความเข้าใจให้แก่ตนเอง การจัดการเรียนรู้แบบ 4 Mat ผู้เรียนสามารถสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเองในเรื่องที่เรียน เกิดความรู้ความเข้าใจ สามารถนำความรู้ความเข้าใจไปใช้ได้ และสามารถสร้างสรรค์ผลงานที่เป็นความคิดสร้างสรรค์ของตนเอง วัฏจักรแห่งการเรียนรู้ (4 Mat) สร้างขึ้นโดยใช้วงกลมเป็นสัญลักษณ์แทนการเคลื่อนไหวของกิจกรรมการเรียนรู้ พื้นที่ของวงกลมถูกแบ่งออกโดยเส้นแห่งการเรียนรู้ และเส้นแห่งกระบวนการจัดข้อมูลรับรู้เป็น 4 ส่วนกำหนดให้แต่ละส่วนใช้แทนกิจกรรม การจัดการเรียนรู้ 4 ลักษณะ โดยนิยามว่า (กรมวิชาการ,2544) ส่วนที่ 1 คือ บูรณาการประสบการณ์ให้เป็นส่วนหนึ่งของตน (Integrating Experience with the Self) ใช้คำถามที่เป็นคำถามนำกิจกรรม คือ ทำไม (Why?) ส่วนที่ 2 คือ สร้างความคิดรวบยอด (Concept Formulation)) คำถามที่เป็นคำถามนำกิจกรรมประจำส่วนนี้คืออะไร(What?) ส่วนที่ 3 คือ ปฏิบัติและเรียนรู้ตามลักษณะเฉพาะตัว (Practice and Personalization) คำถามที่เป็นคำถามนำกิจกรรมประจำส่วนนี้ คือ ทำอย่างไร (How does it work?) ส่วนที่ 4 คือ บูรณาการการประยุกต์กับประสบการณ์ของตน (Integrating Application and Experience) คำถามที่เป็นคำถามนำกิจกรรมประจำส่วนนี้ คือ ถ้า (If) เมื่อนำแนวความคิดการจัดกิจกรรมการเรียนเรียนรู้ เพื่อตอบสนองการใช้สมองซีกซ้ายและขวามาเป็นหลักการพิจารณาประกอบทำให้การวางแผนกิจกรรมซอยย่อยเป็น 8 ขั้นตอนซึ่งจะช่วยให้สามารถจัดกิจกรรมได้อย่างหลากหลายและยืดหยุ่นตอบ สนองการพัฒนาศักยภาพทุกด้านของผู้เรียน ซึ่งมีลักษณะการเรียนแตกต่างกันอย่าง การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ แมกคาร์ธี เสนอแนวทางการพัฒนาวงจรการสอนให้เอื้อต่อผู้เรียนทั้ง 4 แบบ โดยกำหนดวิธีการใช้เทคนิคพัฒนาสมองซีกซ้ายซีกขวา กล่าวคือ กิจกรรมการเรียนรู้จะหมุนวนตามเข็มนาฬิกาไปจนครบทั้ง 4 ส่วน 4 แบบ (Why– What– How – If) และแต่ละช่วง จะแบ่งเป็น 2 ขั้น โดยจะเป็นกิจกรรมที่มุ่งให้ผู้เรียนได้ใช้สมอง ทั้งซีกซ้ายและขวาสลับกันไป ดังนั้นขั้นตอนการเรียนรู้จะมีทั้งสิ้น 8 ขั้นตอนดังนี้ ส่วนที่ 1 แบบ Why สร้างประสบการณ์เฉพาะของผู้เรียน ขั้นที่ 1 (กระตุ้นสมองซีกขวา) สร้างประสบการณ์ตรงที่เป็นรูปธรรมแก่ผู้เรียน การเรียนรู้เกิดจากการจัดกิจกรรม เพื่อพัฒนาสมองซีกขวา โดยครูสร้างประสบการณ์จำลอง ให้เชื่อมโยงกับความรู้และประสบการณ์เก่าของนักเรียน เพื่อให้ผู้เรียนเกิดเป็นความหมายเฉพาะของตน ขั้นที่ 2 (กระตุ้นสมองซีกซ้าย) วิเคราะห์ไตร่ตรองประสบการณ์ การเรียนรู้เกิดจากการจัดกิจกรรม เพื่อพัฒนาสมองซีกซ้าย โดยครูให้นักเรียนคิดไต่ตรอง วิเคราะห์ประสบการณ์จำลองจากกิจกรรมในขั้นที่ 1 ในส่วนที่ 1 นี้ ครูต้องสร้างบรรยากาศให้นักเรียนเกิดความใฝ่รู้ และกระตือรือร้นในการหาประสบการณ์ใหม่อย่างมีเหตุผล และแสวงหาความหมายด้วยตนเอง ฉะนั้น ครูต้องใช้ความพยายามสรรหากิจกรรม เพื่อให้บรรลุจุดประสงค์ดังกล่าว ส่วนที่ 2 แบบ What พัฒนาความคิดรวบยอดของผู้เรียน ขั้นที่ 3 (กระตุ้นสมองซีกขวา) สะท้อนประสบการณ์เป็นแนวคิด การเรียนรู้เกิดจากการจัดกิจกรรม เพื่อพัฒนาสมองซีกขวา โดยครูกระตุ้นให้นักเรียนได้รวบรวมประสบการณ์ และความรู้เพื่อสร้างความเข้าใจพื้นฐานของแนวคิด หรือความคิดรวบยอดอย่างชัดเจนแจ่มแจ้ง เช่น การสอนให้ผู้เรียนเข้าใจลึกซึ้งถึงแนวคิดของการใช้อักษรตัวใหญ่ในภาษาอังกฤษ ครูต้องหาวิธีอธิบายให้ผู้เรียนเข้าใจอย่างแจ้งชัดว่า อักษรตัวใหญ่ที่ใช้นำหน้าคำนามในภาษาอังกฤษ เพื่อเน้นถึงความสำคัญของคำนั้น ๆ อาจยกตัวอย่าง ชื่อคน ชื่อเมือง หรือชื่อประเทศ เป็นต้น ขั้นที่ 4 (กระตุ้นสมองซีกซ้าย) พัฒนาทฤษฏีและแนวคิดการเรียนรู้เกิดจากการจัดกิจกรรม เพื่อพัฒนาสมองซีกซ้าย ครูให้นักเรียนวิเคราะห์และไตร่ตรองแนวคิดที่ได้จากขั้นที่ 3 และถ่ายทอดเนื้อหาข้อมูลที่เกี่ยวเนื่องกับแนวคิดที่ได้ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาแนวคิดนั้นๆ ต่อไป พยายามสร้างกิจกรรมกระตุ้นให้นักเรียนกระตือรือร้นในการเก็บรวบรวมข้อมูล และการศึกษาค้นคว้าหาความรู้เพิ่มเติมในส่วนที่ 2 ครูต้องจัดกิจกรรมให้นักเรียนได้คิดเพื่อให้นักเรียนที่ชอบเรียนรู้โดยการลงมือปฏิบัติจริงสามารถปรับประสบการณ์และความรู้สร้างเป็นความคิดรวบยอดในเชิงนามธรรม โดยฝึกให้นักเรียนคิดพิจารณาไตร่ตรองความรู้ที่เกี่ยวข้องในช่วงนี้การจัดกิจกรรมให้นักเรียนได้รับความรู้โดยการคิด และฝึกทักษะในการค้นคว้าหาความรู้ ส่วนที่ 3 แบบ How การปฏิบัติ และการพัฒนาแนวคิดออกมาเป็นการกระทำ ขั้นที่ 5 (กระตุ้นสมองซีกซ้าย) ดำเนินตามแนวคิด และลงมือปฏิบัติ หรือทดลอง การเรียนรู้เกิดจากการจัดกิจกรรม เพื่อพัฒนาสมองซีกซ้าย เช่นเดียวกับขั้นที่ 4 นักเรียนเรียนรู้จากการใช้สามัญสำนึก ซึ่งได้จากแนวคิดพื้นฐาน จากนั้นนำมาสร้างเป็นประสบการณ์ตรง เช่น การทดลองในห้องปฏิบัติการ หรือการทำแบบฝึกหัดเพื่อส่งเสริมความรู้ และได้ฝึกทักษะที่ได้เรียนรู้มาจากช่วงที่ 2 ขั้นที่ 6 (กระตุ้นสมองซีกขวา) ต่อเติมเสริมแต่งและสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง การเรียนรู้เกิดจากการจัดกิจกรรม เพื่อพัฒนาสมองซีกขวา นักเรียนเรียนรู้ด้วยการลงมือปฏิบัติ แก้ปัญหา ค้นคว้ารวบรวมข้อมูล นำมาใช้ในการศึกษาค้นพบองค์ความรู้ด้วยตนเอง ในส่วนที่ 3 ครูมีบทบาทเป็นผู้แนะนำ และอำนวยความสะดวก เพื่อให้นักรียนเรียนรู้อย่างสร้างสรรค์ นอกจากนี้ครูควรเปิดโอกาสให้นักเรียนเข้ามีส่วนร่วมในการวางแผนกิจกรรมการเรียนรู้ ส่วนที่ 4 แบบ If เชื่อมโยงการเรียนรู้จากการทดลองปฏิบัติด้วยตนเอง จนเกิดเป็นความรู้ที่ลุ่มลึก ขั้นที่ 7 (กระตุ้นสมองซีกซ้าย) วิเคราะห์แนวทางที่จะนำความรู้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์ และเป็นแนวทางสำหรับการเรียนรู้เพิ่มเติมต่อไป การเรียนรู้เกิดจากการจัด กิจกรรม เพื่อพัฒนาสมองซีกซ้าย นักเรียนนำสิ่งที่เรียนรู้มาแล้ว มาประยุกต์ใช้อย่างสร้างสรรค์ โดยนักเรียนเป็นผู้วิเคราะห์ และเลือกทำกิจกรรมอย่างหลากหลาย ขั้นที่ 8 (กระตุ้นสมองซีกขวา) ลงมือปฏิบัติ และแลกเปลี่ยนประสบการณ์ การเรียนรู้เกิดจากการจัดกิจกรรม เพื่อพัฒนาสมองซีกขวา นักเรียนคิดค้นความรู้ด้วยตนเองอย่างสลับซับซ้อนมากขึ้นเพื่อให้เกิดเป็นความคิดที่สร้างสรรค์จากนั้นนำมาเสนอแลกเปลี่ยนความรู้ซึ่งกันและกันในส่วนที่ 4 ครูมีบทบาทเป็นผู้ประเมินผลงานของ นักเรียน และกระตุ้นให้นักเรียนคิดอย่างสร้างสรรค์ผลงานใหม่ ๆ ที่มา “การจัดการเรียนรู้ แบบ 4MAT ”. (ออนไลน์).เข้าถึงได้จาก http://210.246.188.53/trang1kmc/modules.php?name=News&pagenum=146

หมายเลขบันทึก: 196349เขียนเมื่อ 24 กรกฎาคม 2008 22:28 น. ()แก้ไขเมื่อ 25 มีนาคม 2012 20:36 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

ไม่อนุญาตให้แสดงความเห็น
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท