ความคิดสร้างสรรค์ในการจัดทำนวัตกรรมทางการศึกษา


ความคิดสร้างสรรค์ในการจัดทำนวัตกรรมทางการศึกษาของครูมืออาชีพ

เอกสารหมายเลข 4

 ผลการศึกษาข้อมูลรายบุคคลในฐานข้อมูลหมวดความรู้จากหนังสือ 

 1. เรื่องที่อ่าน/จากหนังสือ/ผู้เขียน/ปีที่พิมพ์

   เรื่องที่อ่านความคิดสร้างสรรค์ในการจัดทำนวัตกรรมทางการศึกษา   จากหนังสือ คู่มือความคิดสร้างสรรค์ในการจัดทำนวัตกรรมทางการศึกษา ถวัลย์    มาศจรัส  กรุงเทพ ฯ , ธารอักษร. 2548

 

2. สาเหตุที่ให้ความสนใจกับเรื่องนี้/เหตุผลที่เลือกอ่านเรื่องนี้

     ได้อ่านงานวิจัยเล่มหนึ่งเกี่ยวกับการจัดทำนวัตกรรมการเรียนรู้ของครู  แล้วคิดว่าเราในฐานะผู้บริหาร  งานวิชาการเป็นหัวใจของการจัดการศึกษา  และกระบวนการพัฒนาการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพเท่านั้นจึงจะสามารถทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้อย่างยั่งยืน   และนวัตกรรมทางการศึกษานับได้ว่าเป็นเครื่องมือที่สำคัญในการพัฒนาศักยภาพในการเรียนรู้ของผู้เรียน ดังนั้นผู้บริหารจำเป็นจะต้องมีความรู้ความเข้าใจเป็นอันดับแรก  เพื่อประโยชน์ในการวางแผนการบริหารจัดการได้อย่างเป็นระบบ 

     จากการที่ตัวเองได้เรียนวิชาที่เน้นทักษะปฏิบัติเป็นวิชาเอกตั้งแต่ ม.1 จนถึงปริญญาตรี (วิชานาฏศิลป์ ) จึงค่อนข้างจะชัดเจนในเรื่องของการเรียนรู้ด้วยการปฏิบัติจริง หรือที่เรียกว่า "Learning  by  doing" เพราะไม่ว่าจะเป็น  การฝึกร้องฝึกรำ  ฝึกเล่นดนตรี  ฝึกแกะสลัก  ฝึกติดพิมพ์  ฝึกทำหัวโขน  ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นการลงมือทำเองทั้งสิ้น โดยครูผู้สอนเป็นผู้แนะนำ ดังนั้นจึงสรุปได้ว่านวัตกรรมการเรียนรู้ที่ดีที่สุดคือ  นักเรียนต้องลงมือทำเองทุกขั้นตอน   มันจึงจะเกิดทักษะนั้นฝังลึกในตัว หรือที่เราเรียกกันว่า Tacit  Knowledge (ซึ่งตอนนี้เรียกได้ว่า ได้ยินเพลงพื้นเมืองอีสานบอกได้เลยว่าเป็นลายอะไร   ได้ยินเพลงไทยเดิมรู้เลยว่าจะต้องรำท่าไหน  มันเป็นทักษะที่เป็นอัตโนมัติ สามารถดึงมาใช้ได้ทุกวินาทีก็ว่าได้) แต่นั้นมันก็เป็นนวัตกรรมอีกอย่างหนึ่งที่เราใช้กันมาตั้งแต่โบร่ำโบราณ ซึ่งจากการอ่านหนังสือเล่มนี้บวกกับประสบการณ์การเรียนรู้ของตนเองก็ได้ concept ว่า การที่ครูเราสร้างนวัตกรรมทางการศึกษาในปัจจุบันจะต้องมีความคิดสร้างสรรค์ในการพัฒนานวัตกรรมการเรียนรู้เพื่อให้ผู้เรียนมีทางลัดในการเรียนรู้เพื่อให้เขาได้เรียนรู้ได้มากที่สุดตามศักยภาพและความสามารถของตนเองโดยครูต้องใช้นวัตกรรมการเรียนรู้เป็นไฟส่องทาง (ปัญญา) เพราะปัจจุบันมีองค์ความรู้มากมายเหลือเกินที่เด็ก ๆ จะต้องเรียนรู้เพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิต

      ซึ่งหลักความคิดสร้างสรรค์ในการพัฒนานวัตกรรมการเรียนรู้นั้นเราในฐานะชาวพุทธสามารถประยุกต์ใช้ หลักอริยสัจสี่ได้ เช่น ทุกข์ (ต้นเหตุของปัญหา)  สมุทัย(สาเหตุของปัญหา) นิโรธ (การแก้ไขปัญหา) มรรค (นวัตกรรมทางการเรียนรู้เพื่อแก้ปัญหาและพัฒนาการเรียนรู้) ซึ่งหากเปรียบเทียบกับทางการแพทย์แล้วนวัตกรรมการเรียนรู้  ก็คือยารักษาโรค นั้นเอง  ถ้าหากเรารู้ว่าครูเราหรือลูกศิษย์ของเรามีปัญหาอะไร(เป็นโรคอะไร) นั้นก็คือการวินิจฉัยโรค และการคิดสร้างสรรค์พัฒนานวัตกรรมมาแก้ปัญหา นั่นก็คือการสั่งยารักษาโรคนั้นเอง  ซึ่งในกระบวนการแก้ปัญหานี้เราอาจจะใช้กระบวนการวิจัยมาเป็นส่วนหนึ่งในการการดำเนินการก็จะเป็นการพัฒนางานอย่างเป็นระบบมากขึ้น

 

3. การนำไปใช้ (เพื่อพัฒนาตนเอง/พัฒนาองค์กร)

      นำองค์ความรู้  แนวคิดที่ได้ไปเป็นแนวทางในการพัฒนาบุคลากรในด้านการจัดทำนวัตกรรมการเรียนรู้เพื่อแก้ไขปัญหาที่เกิดกับผู้เรียน   และสร้างองค์กรให้เกิดความเข้มแข็งทางวิชาการ และส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ของข้าราชการครูในการพัฒนานวัตกรรมการเรียนรู้ตามมาตรา 75 (เงินวิทยพัฒน์)

 

ลงชื่อ   มยุรฉัตร    ธรรมวิเศษ ผู้บันทึก

 

หมายเลขบันทึก: 195948เขียนเมื่อ 23 กรกฎาคม 2008 12:10 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 01:11 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (9)

เป็นแนวคิดที่ดี อ่านแล้วได้ concept ชัดเจนดี ผมเคยเรียนเทคโนโลยีทางการศึกษามาเขาก็บอกว่า "สื่อการสอนที่ดี คือสื่อที่นักเรียนใช้เอง" (มันเข้ากันไหมนี่)

ประโยคที่ว่า นวัตกรรมการเรียนรู้ คือยารักษาโรค ผมคิดว่าน่าจะเป็นยาขนานใหม่หรือสูตรใหม่เพื่อนำไปรักษาโรค เคยมีคนเคยบอกว่า นวัตกรรม คือ สิ่งใหม่ แต่สิ่งใหม่ของคนหนึ่งอาจเป็นสิ่งเก่าของอีกคนก็ได้ นั่นคือเราจะสร้างนวัตกรรมหรือจะต่อยอดนวัตกรรม เป็นสิ่งที่ต้องเลือก แต่ทั้งหลายทั้งปวงก็เกิดประโยชน์ด้วยกันทั้งนั้น สำคัญว่านำไปใช้แล้วผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้อย่างที่หวังไว้หรือไม่เท่านั้น เริ่มงงในตัวเองแล้ว ปิยสนธิ์..

คุณ muc.ครับ ขอคิดด้วยคนนะ ผมอ่านแล้วและมองอย่างคนเป็นครูได้conceptว่า ความคิดสร้างสรรค์เป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับคนสร้างคน(ครู)เพราะคนจะสร้างชาติให้รุ่งเรื่อง.. ผมว่านะ ที่เด็กไทยคิดเองไม่ค่อยเป็นเพราะครูไม่สอนให้เขาคิด ครูชอบจับวางมากกว่า จัดการความคิดให้เขาเรียบร้อย ประกอบกับครูเราก็ไม่ชอบคิดอะไรที่ยุ่งยากซับซ้อน บางคนบอกว่าลำพังจะเอาตัว เอาครอบครัวให้รอดในสังคมทุกวันนี้ก็จะตายอยู่แล้ว จะมีเวลาที่ไหนมาคิดอะไรที่ยุ่งยากซับซ้อน... จริงๆแล้ว ผมคิดว่าครูทุกคนมีความคิดสร้างสรรค์อยู่ในตัวอยู่แล้ว อาจมากน้อยต่างกันตามการฝึกฝน(จนเกิดทักษะ)สังเกตการประสบการณ์ที่ผ่านมา ผมมองว่าเขาอาจถูกปิดกั้นความคิดสร้างสรรค์จากการเลี้ยงดู ครอบครัว เพือนร่วมงาน ผู้บังคับบัญชา..เอาอย่างนี้ดีมั๊ยครับ เราชาววิชาชีพครู มาลองเรียบเรียง ลำดับ เส้นทางชวิตของเราที่ผ่านมาตั้งแต่จำความได้ จนถึงปัจจุบัน..คิดเล่นๆก็ได้ครับ คิดถึงตอนที่เรามีความสุขนั่นแหล่ะ.. แล้วเล่าให้เพื่อน คนใกล้ชิดฟังบ้างก็ดีนะครับ...อยากฟังจังเลยๆๆๆๆ

นวัตกรรม เป็นสิ่งที่ดีและมีประโยชน์ ถ้าเราสามารถนำมาใช้อย่างจริงจังและถูกต้องกับปัญหาที่พบ ครับนวัตกรรมที่คิดค้นใหม่บางอย่างไม่สามารถนำมาแก้ปัญหาได้ บางครั้งการนำสิ่งที่ไม่ใช้แล้วนำมาใช้ใหม่ ผลอกมากลับดีกว่าเดิม เช่นที่โรงเรียนผม นักเรียนชั้น ป.1 ป.2 อ่าน เขียนหนังสือไม่ได้กันหลายคน ผมก็ใหครูลองนำวิธีการสอนแบบเดิมๆมาใช้ ก็คือ เช้าสอนเลข บ่ายสอนการอ่านและเขียน ใน 3 วันแรกของสัปดาห์ โดยภาษาไทยเน้นการแจกลูก ไม่อ่านเป็นคำ ซึ่งผมก็ถือว่าเป็นการนำนวัตกรรมเก่ามาใช้ใหม่ ผลออกมานักเรียนสามารถทำเลขได้ อ่านเขียนหนังสือได้ ผลการสอบวัดพื้นฐานผลสัมฤทธิ์การเรียนระดับเขตพื้นที่ ปี 2550 นักเรียนช้น ป.2 ได้คะแนนทั้งภาษาไทยและคณิตศาสตร์ เป็นอันดับที่หนึ่งของเขตพื้นที่ ดังนั้นนวัตกรรมใหม่ที่ครูพยามยามสร้างขี้นมาใหม่บางครั้งก็ไม่สามารถนำมาใช้และเกิดความสำเร็จตามต้องการ

นวัตกรรมบางอย่างอาจใช้ไม่ได้กับเด็กทุกคน บางครั้งที่มีความพร้อมทางการอ่านแล้วเราก็ควรให้เค้าเรียนทางลัดได้เค้าก็จะเรียนรู้ได้เร็วนะคะ โดยการใช้นวัตกรรมใหม่ ๆ เพราะมัวแต่ไปแจกลูกเด็กเก่งเบื่อแย่ แต่การแจกลูกก็เหมาะกับเด็กทีมีปัญหาเรื่องการอ่านการเขียน หรือการปูพื้นฐาน การอ่านเป็นคำก็เหมาะสมหรับเด็กเก่ง เราควรแบ่งเด็กตามศักยภาพการเรียนรู้ก่อนลงมือใช้นวัตกรรมน่าจะดีค่ะ เพราะฉะนั้นคำว่าใหม่หรือเก่า คงไม่ใช่ตัวชี้วัดคุณภาพของนวัตกรรมที่พัฒนาขึ้น แต่

น่าสนใจ เป็นความคิดที่สร้างสรรค์ที่นำเอาแนวคิดพุทธศาสนามาเป็น สิ่งที่สร้างนวัตกรรม ครับ

เป็นเรื่องทีกำลังสนใจอยู่พอดีเลยค่ะ เพราะทำนวัตกรรมเรื่องการพัฒนาการคิดของผู้เรียนอยู่ ขอบคุณมากค่ะที่ทำให้ได้ข้อมูลเพิ่มเติม

ได้อ่านบทสรุปแล้วเห็นด้วยครับ เพราะสภาพความเป็นจริงทุกช่วงเวลาของการดำเนินชีวิตและการปฏิบัติงานต้องพบกับปัญหาแน่นอน ปัญหาหรือความจำเป็นเป็นบ่อเกิดของนวัตกรรม ซึ่งถ้ามองในแง่ของการจัดการศึกษาคงไม่ต้องรอให้มีปัญหาเสียก่อนถึงคิด/สร้างนวัตกรรมมาแก้ไข แต่ควรมีนวัตกรรมสำหรับการสร้าง/เตรียมมรรควิถีเพื่อการจัดการกับปัญหานั้น ๆ อย่างได้ผล การเรียนการสอนก็เช่วนเดียวกัน ในเมื่อทักษะ/ความสามารถในการคิดเป็นเป้าหมายสำคัญของการจัดการศึกษา และนวัตกรรมก็คือเครื่องมืออันทรงพลังเพื่อการจัดการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพ คงต้องช่วยสร้าง/ช่วยการสนับสนุน/ช่วยการใช้ประโยชน์เพื่อคุณภาพการศึกษาของชาติต่อไปครับ....มานะ สามัคคี

อ. (น้อง) คะ เข้ามาเยี่ยมช่วงเย็นวันศุกร์ สมาชิกร่วมแสดงความคิดเห็น..ตรึม.. แสดงว่าอยู่ในความสนใจ ไว้จะเข้ามา share ทีหลังค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท