มัทนา
มัทนา (พฤกษาพงษ์) เกษตระทัต

ความเหมือนและความต่างของการเล็งเป้าแบบคิวโดะและการเจริญสติแบบพุทธเถรวาท


ค้นหาจิตแท้ หรือ ธรรมแท้? - ตรงนี้แหละที่ต้องต่อให้จบถึงจะหลุด ถ้ายังหลงอยู่กับจิตแท้มันก็ยังเป็นอวิชชา เป็นสมุทัย

บันทึกนี้เขียนมาจากการเริ่มอ่านหนังสือคิวโดะเล่นๆเมื่อเช้านี้ อ่านไปอ่านมาดันกลายมาเป็นเรื่องไม่เล่นซะแล้ว : )

http://ecx.images-amazon.com/images/I/5128Y5RKKML._SS500_.jpg

"The practice of kyudo methodically peels away the protective layers of ego that we hide behind, until our true nature is revealed."

  • อ่านเรื่องการค้นหาตัวเอง ทำให้เทียบได้ว่ามันหมือนเรื่องการค้นหาจิตแท้?  ("discovering the true self" หน้า 25)

ปรมาจารย์ ฮิเดฮารุ โอนุมะ (หน้า 26) สอนไว้ว่า ...

การยิงที่เล็งแต่เป้านั้นดูจะไร้ความหมายไปสักหน่อย คิวโดะเป็นทางที่ช่วยให้เรามองเป้าเสมือนเป็นกระจกสะท้อนความเข้มแข็งและความอ่อนแอในตัวเราออกมา ท่าทางและทัศนคติในการยิงนั้นเป็นเครื่องมือที่ช่วยให้เราค้นหาจิตแท้ต่างหาก คิวโดะนำสัญชาตญาณการแข่งขันของมนุษย์มาใช้ในทางบวกซะ ทำให้การยิงเป้ามีความหมายลึกซึ่งยิ่งขึ้น 

ในบางครั้งเรายิงโดนเป้ากระดาษ แต่พลาดเป้าการค้นหาตนเองไป ในบางครั้งเราพลาดเป้ากระดาษ แต่ยิงโดนเป้าในใจ

อย่างไรก็ตาม จุดประสงค์ของการฝึกคิวโดะคือต้องโดนทั้งเป้าและตนเองพร้อมๆกัน (เพราะถ้าทัศนคติถูก + ท่าถูก มันควรจะโดนเป้า) ให้เสียงของลูกธนูที่ผ่านเป้ากระดาษมันปลุกเราให้ตื่นขึ้นมาจากมายาชีวิต ให้เราเห็นความจริงอันเป็นที่สุดนั่นเอง


โอนุมะ เซ็นเซ สรุปว่า "Simply put, kyudo exposes our short comings. It is then up to us to make a thorough self-examination and balance our character accordingly. "

คิวโดะจะเผยอกุศลจิตของเราออกมา มันขึ้นอยู่กับเราว่าจะรู้ตัวแล้วมีใจน้อมที่จะสำรวจรรูปนามตัวเองหรือไม่ มันขึ้นอยู่กับเราว่าจะสร้างสมดุล พัฒนาจิตใจและบุคลิกภาพของเราตามที่มันควรจะเป็นหรือไม่นั่นเอง

ผู้เขียนสังเกตได้ชัดมากว่าเวลาฝึกคิวโดะจะมีอารมณ์หลายแบบผุดขึ้นมา ทั้งอึดอัด สงสัย เหนื่อย สำหรับ ผู้เขียนเองนั้น เจอกับความกลัวและความตื่นเต้นกังวลบ่อยที่สุด

สิ่งที่ถือว่าเป็นอุปสรรคต่อการฝึกให้บรรลุนั้นได้ถูกแบ่งไว้รวม 7 ทั้งหมดประการ (คลิกเพื่ออ่าน เรื่องนี้เทียบกับนิวรณ์ 5 ได้) ตัวที่ร้ายมากคือ "ความสุข" เหมือนกับคนที่นั่งสมาธิแล้วติดปิติ อีกตัวที่ร้ายมากคือ "ความคิด" คิดมาก็จะไม่รู้จริง เพราะมัวแต่คิด


พออ่าน 2 หน้านี้จบก็มาค้นคำว่า "จิตแท้" ต่อ เจอบทความและกระทู้น่าสนใจ ทำให้ตั้งคำถามได้อีกครั้ง สอดคล้องไปกับอนุทินที่เขียนไว้หลายรายการเมื่อสองวันก่อนว่า ... ในการเน้นเรื่องการทำบุญลดบาปเพราะวิญญาณ (หรือท้ายที่สุดคือจิต) จะมาเวียนว่ายตายเกิดตามกรรมและวิบาก วนอยู่ในวัฏจักรสังขารแค่นั้นไม่น่าจะพอ และไม่น่าจะปลอดภัย ทำให้หลงเป้าไปได้ ไม่น่าใช่พุทธศาสนาที่แท้จริง มันจะไปเหมือนศาสนาอื่นที่มีเรื่อง อาตมัน เท่านั้น ???

ถ้าตั้งเป้าเช่นนั้นจะไปไม่ถึง อนัตตา สุญญตา ???


อนัตตา = ไม่ใช่อัตตา, ไม่ใช่ตัวใช่ตน; เป็นสภาวธรรมที่ดำรงอยู่หรือเป็นตามธรรมดาของมัน เช่น ธรรมที่เป็นสังขตะ คือสังขาร ก็เป็นไปตามเหตุปัจจัย ขึ้นต่อเหตุปัจจัย ไม่มีอยู่โดยลำพังตัว แต่เป็นไปโดยสัมพันธ์ อิงอาศัยกันอยู่กับสิ่งอื่นๆ (พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์)

สุญญตา = “ความเป็นสภาพสูญ”, ความว่าง; ภาวะที่ขันธ์ ๕ เป็นอนัตตา คือ ไร้ตัวมิใช่ตน ว่างจากความเป็นตน ตลอดจนว่างจากสาระต่างๆ เช่น สาระคือความเที่ยง สาระคือความสวยงาม สาระคือความสุข เป็นต้น;
           โดยปริยายหมายถึง หลักธรรมฝ่ายปรมัตถ์ ดังเช่นขันธ์ ธาตุ อายตนะ และปัจจยาการ (อิทัปปัจจยตา หรือ ปฏิจจสมุปบาท) ที่แสดงแต่ตัวสภาวะให้เห็นความว่างเปล่าปราศจากสัตว์ บุคคล เป็นเพียงธรรมหรือกระบวนธรรมล้วนๆ (พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์)


http://farm1.static.flickr.com/123/408168508_429284787b_o.gif [ภาพจาก images.google.ca]

ทีนี้กลับมาที่คำถาม: การค้นหาจิตเดิม ("the true self " หรือ จิตแท้ หรือ  จิตประภัสสร) นั้น เป็นเป้าที่ถูกที่ควรหรือไม่


หลวงตาสอนว่า

"...โดยมากนักปฏิบัติถ้าไม่มีครูอาจารย์คอยแนะนำไว้ก่อน จะต้องไปถือเอา"ตัวนั้น"แลว่าเป็นตัวจริง เพราะทุกสิ่งทุกอย่างได้พิจารณาเห็นชัดภายในใจแล้วว่า ได้รู้เท่าและปล่อยวางไปหมดไม่มีสิ่งใดเหลือ แต่"ผู้ที่รู้สิ่งทั้งหลายนั้น" คือ อะไรนั่น ทีนี้ก็ไปสงวนอันนั้นไว้ นี่แลที่ว่าอวิชชารวมตัวแล้ว แต่กลับมาเป็นตัวขึ้นโดยไม่รู้สึก จิตก็มาหลงอยู่นั้น ที่ว่าอวิชชาก็คือหลงตัวเองนี่แหละ ส่วนที่หลงสิ่งภายนอกนั้นยังเป็นกิ่งก้าน ไม่เป็นเรื่องของอวิชชาอันแท้จริง

การมาหลงอันนี้แล มาหลง"ผู้ที่รู้สิ่งทั้งหลาย"นี้แล ผู้นี้เป็นอะไรเลยลืมวิพากษ์พิจารณาเสีย เพราะจิตเมื่อมีวงแคบเข้ามาแล้วจะต้องรวมจุดตัวเอง จุดของจิตที่ปรากฏตัวอยู่เวลานั้นจะเป็นจิตที่ผ่องใส มีความยิ้มแย้มแจ่มใส มีความองอาจกล้าหาญ ความสุข ก็รู้สึกว่าจะรวมตัวอยู่ที่นั่นหมด สิ่งเหล่านี้ทั้งหมดมันเป็นผลของอะไร ถ้าจะพูดว่าเป็นผลก็ยอมรับเป็นผล จะพูดว่าเป็นผลของปฏิปทาเครื่องดำเนินก็ถูกถ้าหากเราไม่หลงอันนี้นะ ถ้ายังหลงอยู่มั้นก็ยังเป้นสมุทัย นี่ละจุดใหญ่ของสมุทัย

แต่ถ้านักปฏิบัติผู้มีความสนใจพิจารณาในสิ่งที่เกี่ยวข้องอยู่เสมอแล้วไม่ มองข้ามไป ยังไงก็ทนไม่ได้ ต้องสนใจเข้าพิจาณาจุดนั้น เพราะทุกสิ่งทุกอย่างเราก็เคยพิจารณา แต่อาศัยการพิจารณาทบทวนด้วยปัญญาอยู่ไม่หยุด เพราะเป็นสิ่งไม่เคยรู้ไม่เคยประสบมาก่อน ว่าทำไมมันจึงรัก ทำไมมันจึงสงวน ถ้าหากว่าเป็นของจริงแล้วทำไม่จะต้องรักสงวนกัน ทำไม่จะต้องรักษากัน ความรักษานี่มันก็เป็นภาระ ถ้าอย่างนั้นอันนี้มันก็ต้องเป็นภัยอันหนึ่งสำหรับผู้สงวนรักษา หรือเป็นสิ่งหนึ่งที่ไม่น่าไว้ใจ ทั้งๆที่ก็ไม่ทราบนะว่านั่นมันคืออะไร จะเป็นอวิชชาจริงหรือไม่ เพราะเราไม่เคยเห็นนี่ว่าวิชชาที่แท้จริงกับอวิชชามันต่างกันอย่างไร วิมุตติกับสมมุติมันต่างกันอย่างไร ปัญญาก็เริ่มสนใจพิจาณาละที่นี่...

...อันนี้รู้สึกว่าพิศดารมาก ถ้าจะพูดตามที่พิจารณามาหรือย่นย่อเข้ามาเฉพาะให้ได้ความตามโอกาสอันควร สรุปกันทีเดียวว่า อันใดที่ปรากฎตัวขึ้นมาให้พิจารณาอันนั้น สิ่งที่ปรากฎตัวขึ้นมานั้นเป็นเรื่องสมมุติทั้งนั้น นี่หมายถึงธรรมละเอียดปรากฎอยู่ที่ใจ แม้ที่สุดจุดที่มีความสว่างไสวอยู่นั้นแลคือจุดอวิชชาแท้ กำหนดลงไปที่นั่นด้วยปัญญา สภาวธรรมทั่วๆไปนั่นเป็นสภาพธรรมอันหนึ่งๆฉันใด ธรรมชาตินี้ก็เป็นสภาพธรรมอันหนึ่งฉันนั้น เราจะถือว่าเป็นเราเป็นของเราไม่ได้ แต่ในความสงวนอยู่นี้แสดงว่าเราถือว่าเป็นเราเป็นของเราซึ่งเป็นความผิด

...เวลาอันนี้จะดับ มันไม่เหมือนสิ่งทั้งหลายดับ สิ่งทั้งหลายดับเป็นความรู้สึกของเราว่าเข้าใจแล้วในสิ่งนี้ แต่อันนี้ดับมันไม่เป็นอย่างนั้น มันดับแบบสลายลงไปทันทีเหมือนฟ้าแลบ คือมันเป็นขณะอันหนึ่งที่ทำงานของตัวเอง หรือว่ามันพลิกก็ได้ มันพลิกคว่ำแล้วหายไปเลย พออันนี้หายไปแล้วถึงจะทราบว่า นี้คืออวิชชาแท้ละที่นี่ เพราะเหตุว่าอันนี้หายไปแล้วมันไม่มีอะไรปรากฎขึ้นมาให้เป็นข้อสงสัย

สิ่งที่เหลืออยู่ก็ไม่เป็นอย่างนี้ แต่เป็นธรรมชาติที่บริสุทธิ์และไม่เคยเห็นก็ตาม แต่เวลาปรากฎในขณะนั้นมันก็ไม่มีอะไรเป็นที่น่าสงสัย นั่นละภาระมันถึงหมดไป คำว่าเราก็หมายถึงอันนี้เอง หมายถึงอันนี้ยังตั้งอยู่ พิจารณาอะไรก็พิจารณาเพื่ออันนี้ คำว่ารู้ก็คือเราตัวนี้รู้ คำว่าสว่างก็เราสว่าง คำว่าเบาก็ว่าเราเบา คำว่าสุขก็ว่าเราสุข คำว่าเราๆก็หมายถึงตัวนี้เอง นี่ละตัวคืออวิชชาแท้ ทำอะไรต้องเพื่อมันทั้งนั้น พออันนี้สลายไปแล้วก็ไม่มีเพื่ออะไรอีก . . . . หมด"

"การก่อภพก่อชาติเป็นเรื่องของจิตผลิตตัวเองอยู่อย่างนั้น มันอยู่เฉยๆไม่ได้ ลักษณะของจิตที่มีกงจักรเป็นเจ้าของงานหรือเป็นหัวหน้างานมันจะต้องหมุนตัว เองเสมอ หมุนอะไรก็เพื่อเรื่องของภพของชาติทั้งนั้น พอกงจักรนั้นสลายตัวลงไปก็ไม่มีอะไรจะก่อภพก่อชาติอีกต่อไป จิตที่ท่านรู้แล้ว ท่านก็ออกอุทานในใจ หรือประกาศธรรมสอนโลกได้เต็มปากเต็มใจ ว่าต่อไปไม่มีภพให้เกิดอีกแล้ว ..."


อ่านแล้วก็มั่นใจขึ้นว่าน่าจะมาถูกทาง ละบาปนั้นลดแน่ แต่เป้าหมายที่แม้ดูไกลไปแต่ก็ต้องเริ่ม ต้องสะสมไปคือให้ถูกทางคือการศึกษาธรรมเพื่อการหลุดพ้น ทีนี้ถ้าเน้นสมถะนั้นผิดมั้ย เน้นทำบุญทำกุศลกรรมผิดมั้ย แน่นอนว่ามันไม่ผิด การค้นหาจิตแท้แบบเซ็นหรือวิปัสสนาให้รู้ถึงจิตแท้นั้นก็ไม่ผิด....แต่มันไม่พอเท่านั้นเอง! ต้องใช้ปัญญาพิจารณาต่อให้สุด ให้สุดๆไปเลย ถึงจะ "หมด" ค่อยๆทำไป สะสมไป กี่ชาติก็ไม่ต้องไปคาดหวัง ไม่ต้องคิดว่าชาตินี้ไม่มีทางด้วย ไม่งั้นไม่ได้เริ่มซักที เป้าหมายคือ ธรรมแท้ คือ ความจริงปรมัตถ์ คือการเดินทางไปนี่แหละ (ทำให้นึกถึงชื่อบล็อกของคุณวิจักษณ์: "The Path is the goal" ขึ้นมาเลย)

สรุปว่าวิธีไหนก็ได้ แต่ต้องไปให้สุดทางเท่านั้นเอง

เหมือนที่ปรมาจารย์คิวโดะเขียนไว้ว่า "Thus, kyudo works in perfect harmony with the ther paths (religions, philosophy, arts). It is not meant to replace any of them, but it very nicely complements them all."


ขอจบที่บทความที่ไปอ่านเจอมาหัวข้ออย่าทำวิปัสสนา-เพื่อหวังเกิดเป็นอะไร

     "เพื่อความเจริญก้าวหน้าของการปฏิบัตินั้น ผู้ปฏิบัติควรมีเป้าหมายที่ความหลุดพ้น (จากความยึดมั่นถือมั่นในสิ่งทั้งปวง) แต่ในขณะเดียวกัน ก็จะต้องไม่มีความยึดมั่นถือมั่นในเป้าหมายนั้นด้วย มีเพียงความรู้สึกที่เป็นกลางๆ อยู่เท่านั้น (ซึ่งเป็นความรู้สึกที่ทำได้ยาก) ถ้าจะให้ง่ายกว่านั้น ก็ไม่ต้องตั้งเป้าหมายใดๆ เลย เพียงแต่ทำวิปัสสนาเพื่อศึกษาธรรมชาติที่แท้จริงของรูปนาม หรือของร่างกายจิตใจเท่านั้น แล้วหลังจากนั้นอะไรจะเกิดขึ้น ก็ปล่อยให้เป็นไปตามธรรมชาติของมัน ซึ่งทุกอย่างจะเป็นไปโดยอัตโนมัติ ตามความเหมาะสมของความรู้และปัญญาที่เกิดขึ้น"

http://61.47.35.137/picturemanagerroom.com/pictures/uploads/Tboon/JittaKusol2.jpg  [ภาพจากคุณ Tboon managerroom.com]

http://www.vimokkha.com/p22.gif [ภาพปฏิจจสมุปบาทจาก www.vimokkha.com]

"ศึกษาธรรมชาติที่แท้จริงของรูปนาม หรือของร่างกายจิตใจเท่านั้น แล้วหลังจากนั้นอะไรจะเกิดขึ้น ก็ปล่อยให้เป็นไปตามธรรมชาติของมัน"

คือการเล็งเป้าแบบไม่ยึดเป้า เจอเป้า โดนเป้าแล้วให้เล็งให้ทะลุเป้า ให้เป้าพลิกคว่ำแล้วหายไปเลย!


 

หมายเลขบันทึก: 195869เขียนเมื่อ 23 กรกฎาคม 2008 03:26 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 01:11 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

พี่ชอบประโยคนี้มาก

"It is not meant to replace any of them, but it very nicely complements them all."

*****************************

และขอเล่านิดว่า ลูกชาย น้องภูน่ะ เขาเคยนั่งสมาธิตามแบบของเขา คือนั่งเฉย ๆ นิ่ง ๆ นาน ๆ ได้

ที่เห็นด้วยตาตัวเองอย่างน้อยสองครั้งที่รู้สึกได้ถึงรัศมีความสงบ เฉย ๆ

ไม่ได้สอนเขา โรงเรียนคงสอนมา

เมื่อพูดคุยกันเขาบอกคล้าย ๆ ...ที่น้องมัทจบไว้ว่า..เล็งเป้าแบบไม่ยึดเป้า

ค่ะ เขาบอกแม่ว่า นั่งสมาธิแบบ"นั่งสมาธิไง"

ตอนเด็ก ผมเคยทำ ธนู เล่นเองกับน้อง แล้วตระเวนออกไปหานกเพื่อจะยิง บาปกรรมแท้ๆ! โชคดีที่ยิงไม่ได้นก (ทำบาปไม่ขึ้น)

อาจจะไม่ได้เกี่ยวข้องโดยสิ้นเชิง แต่ชวนไปอ่านที่เขียนไว้ค่ะ

อ.ตุ๋ยคะ ขอบคุณมากค่ะ ตามไปอ่านแล้ว เกี่ยวอย่างแรงเลยค่ะ

"เราควรพึงระวังและทำความเข้าใจ มองให้เห็นถึงแก่น ว่าสิ่งที่เราเห็นนั้น แท้จริงแล้ว

มี หรือ ไม่มี จริง หรือ ไม่จริง..

เราเป็นเจ้าของหรือไม่ เรายึดถือได้หรือไม่.."

คุณกวินคะ เลี้ยงเด็กยากเนอะคะ : )

พี่หมอเล็กคะ น้องภูนี่ไม่ธรรมดาจริงๆ น้ามัทอยากไปนั่งคุยด้วยซะแล้ว : )

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท