การปรับโครงสร้างของศูนย์ช่วยเหลือประชาชนและพัฒนาทักษะทางกฎหมาย : ก้าวใหม่ครั้งที่ ๑


การขยายขอบเขตงานและการก่อร่างสร้างตัวของศูนย์ให้ความช่วยเหลือประชาชนและพัฒนาทักษะทางกฎหมายของสำนักวิชานิติศาสตร์ ม.นเรศวร พะเยา ได้พยายามที่ดึงสำนักวิชา คณาจารย์ และนิสิตนักกฎหมายออกสู่สังคมรอบตัวในจังหวัดพะเยา และพื้นที่ใกล้เคียงให้มากขึ้น โดยการทำกิจกรรมผ่าน "ศูนย์ให้ความช่วยเหลือประชาชนทางกฎหมาย"(Legal Aid Center) และ "ศูนย์พัฒนาทักษะทางกฎหมาย"Legal Training Center)

วันนี้อยากจะเล่าสู่กันฟังถึงการขยายขอบเขตงานและการก่อร่างสร้างตัวของศูนย์ให้ความช่วยเหลือประชาชนและพัฒนาทักษะทางกฎหมายของสำนักวิชานิติศาสตร์ ม.นเรศวร พะเยา  ซึ่งแต่เดิม ศูนย์ฯ นี้ก็ได้มีการก่อตั้งมาเพียง ร่วม ๖ เดือน  หลังจากที่สำนักวิชานิติศาสตร์ ได้ยกตัวออกมาจากสำนักศิลปศาสตร์ (เดิมเป็นสาขาวิชาหนึ่งของสำนักศิลปะศาสตร์)  แต่การดำเนินงานของศูนย์ฯ ในช่วงระยะเวลาดังกล่าวซึ่งเพิ่งมีการแยกตัวออกมาเป็นสำนักนั้น ยังไม่มีกิจกรรมในเชิงรุกมากนัก คงจะมีแต่เพียงการร้องขอจากองค์กรภายนอกบ้างเท่านั้น และยังขาดทีมงานทำงานอยู่มาก

 

แต่ในวันนี้  ทั้งทางอ.ไพรัช (อ.บอย)รักษาการหัวหน้าสำนักวิชาฯ และ อ.กฤษฎา(อ.อาร์ต) หัวหน้าศูนย์ฯ  มีดำริที่จะปรับเปลี่ยนโครงสร้างงานศูนย์ใหม่ พร้อมด้วยการจัดทำแผนการทำงานของศุนย์ฯ ในมีลักษณะเชิงรุกมากยิ่งขึ้น  จึงได้ให้ข้าพเจ้า (อ.ชลฤทัย)  และอ.พลอยขวัญ (อ.ฝน) เข้ามาช่วยอ.กฤษฎา  ซึ่งเราทั้งคู่ ต่างมีความประสงค์และยินดีที่จะเข้ามาร่วมกันทำงานของศูนย์ฯ  พร้อมกับให้อ.ใหม่ของสำนักอีกสามท่าน  คือ อ.ปราณี (อ.เจมส์) อ.ถิรวรรณ (อ.ผึ้ง ) และ อ.ลลิตา (อ.จิ๊บ) ลองได้แลกเปลี่ยนกันถึงการปรับโครงสร้างงานศูนย์ฯ เดิม และ การระดมความคิดเห็นในการทำงานศูนย์ฯ กันในการประชุมศูนย์ฯ ครั้งที่ ๑ เมื่อวันที่ ๑๒ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๑ เวลา ๑๓.๐๐ ๑๖.๐๐ น. ที่ผ่านมา

 

โดยพอจะมีข้อสรุปจากการประชุมครั้งที่ ๑ / ๒๕๕๑ ของศูนย์ให้ความช่วยเหลือประชาชนและพัฒนาทักษะทางกฎหมายมาแบ่งปันกันในเบื้องต้น ก่อนดังนี้ค่ะ

 

 

การจัดทำแผนและโครงสร้างของศูนย์ช่วยเหลือประชาชนและพัฒนาทักษะทางกฎหมาย

: ประธานในที่ประชุม (อ.กฤษฎา) ได้แจ้งให้ทราบในถึงการจัดทำโครงสร้างของศูนย์ใหม่ เพื่อรองรับการทำงานที่มีขอบเขตกว้างขวางขึ้น ทั้งกำหนดวัตถุประสงค์และขอบเขตของการทำงาน เพื่อให้สอดคล้องกับพันธกิจของสำนักวิชานิติศาสตร์และนโยบายของมหาวิทยาลัย ซึ่งได้มีการประชุมร่วมกันเพื่อกำหนดโครงสร้างดังนี้

 

ที่มาของศูนย์

: เนื่องจากสำนักวิชานิติศาสตร์ได้ด้วยสำนักวิชานิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร พะเยา ได้ตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์ที่สำคัญอย่างหนึ่ง เพื่อการผลิตนักกฎหมายออกไปรับใช้ประชาชน ดังที่ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ พระบิดาแห่งกฎหมายไทย ได้ทรงเป็นแบบอย่างที่ดียิ่งสำหรับนักกฎหมาย ด้วยพระโอวาทของพระองค์ที่ได้กล่าวเอาไว้ว่า ชีวิตของฉันเกิดมาเพื่อรับใช้ประชาชน หรือ “My Life is Service” ให้บรรดานักกฎหมายน้อมนำไปยึดถือปฏิบัติ เพื่อให้นิสิตทางกฎหมายเป็น วิศวกรสังคม”(Social Engineering)  มากกว่าการตีความกฎหมายทียึดแต่ตัวบทกฎหมายเป็นสรณะ ซึ่งจะทำให้เป็นนักกฎหมายที่สามารถพัฒนาตัวเองให้อยู่ในระดับที่สูงขึ้นได้

กระบวนการหนึ่งที่จะผลิตนักกฎหมายเพื่อมุ่งออกไปรับใช้สังคม มากกว่าการกอบโกยผลประโยชน์แบบพ่อค้าก็คือ การกำหนดรูปแบบ/กิจกรรม/วิธีการ เหล่านันเป็นเครื่องมือในการให้นิสิตเกิดสิ่งที่เรียกว่า จิตสำนึกสาธารณะขึ้นมา และปรับเปลี่ยนทัศนะคติให้มุ่งว่า การไปรับใช้ชาวประชา เป็นจุดหมายปลายทางในการเล่าเรียน ทั้งนโยบายของมหาวิทยาลัยนเรศวรที่มุ่งเน้นการเข้าไปมีส่วนร่วมกับประชาชนในท้องถิ่น และการเข้าไปสานสัมพันธ์อันดีระหว่างมหาวิทยาลัยในฐานะที่เป็นแหล่งให้ความรู้กับประชาชนอันถือว่าเป็นเจ้าของภาษี จึงเป็นเหตุให้สำนักวิชานิติศาสตร์ได้จัดตั้งศูนย์ช่วยเหลือประชาชนและพัฒนาทักษะทางกฎหมายขึ้น

 

วัตถุประสงค์ของศูนย์

                ๑.เพื่อสานสัมพันธ์ระหว่างมหาวิทยาลัยกับชุมชน เพื่อให้ศูนย์ฯเป็นตัวกลางในการใช้ข้อกฎหมายแก้ปัญหาสังคม  การเข้าถึงปัญหาประชาชนในการรับเรื่องร้องเรียนซึ่งต้องการความช่วยเหลือทางกฎหมาย และเป็นหน่วยงานที่ออกไปเผยแพร่ความรู้ทางกฎหมายแก่ประชาชนทั่วไป

                ๒.เพื่อเป็นหน่วยงานในการส่งเสริมการพัฒนาทักษะทางกฎหมายแก่นิสิต เพื่อเตรียมพร้อมในการนำเอาวิชาความรู้ไปปรับใช้กับข้อเท็จจริงหรือปัญหาที่เกิดขึ้นจริงในสังคม

                ๓.เพื่อเป็นในงานในการเผยแพร่ความรู้ทางกฎหมาย และเป็นการประชาสัมพันธ์สำนักวิชานิติศาสตร์ โดยทำทั้งในรูปแบบของการเผยแพร่ทางสถานีวิทยุกระจายเสียง หรือผ่านทางจุลสาร

                ๔.เพื่อเป็นฐานข้อมูลของอาจารย์หรือบุคคลากร ในการนำเอาข้อมูลที่ได้มานั้นไปต่อยอดในการทำวิจัยทางสังคม

 

ขอบเขตของศูนย์ช่วยเหลือประชาชนและพัฒนาทักษะทางกฎหมาย

 ได้มีการจัดแบ่งงานและขอบเขตของศูนย์ฯ ออกเป็นดังนี้

                ๑.ศูนย์ช่วยเหลือประชาชน (Legal Aid  Center) มีขอบเขตหน้าที่ในการรับเรื่องร้องเรียน,การตอบข้อซักถามทางกฎหมาย,การให้ความเห็นทางกฎหมาย การสำรวจปัญหาชุมชน และการประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง กับการแก้ไขปัญหา

                ๒.ศูนย์พัฒนาทักษะทางกฎหมาย ( Legal Training Center) มีขอบเขตหน้าที่ในการเข้าไปส่งเสริมและพัฒนาทักษะด้านกฎหมายแก่นิสิต และบุคลากรของมหาวิทยาลัย ทั้งยังเป็นหน่วยงานในการเข้าไปให้ความรู้เกี่ยวกับกฎหมายแก่ชุมชนอันได้แก่ หมู่บ้าน,โรงเรียน และหน่วยงานภายนอกมหาวิทยาลัย

---------------------------------------------------------------------------------------------

 ที่มา : รายงานการประชุมศุนย์ให้ความช่วยเหลือประชาชนและพัฒนาทักษะทางกฎหมาย ครั้งที่ ๑ เมื่อวันที่ ๑๒ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๑ เวลา ๑๓.๐๐ - ๑๖.๐๐ น. ณ ห้องประชุมสำนักนิติศาสตร์

คำสำคัญ (Tags): #legal aid center#legal training center
หมายเลขบันทึก: 195186เขียนเมื่อ 20 กรกฎาคม 2008 02:38 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 มิถุนายน 2012 15:00 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

เดี๋ยวพรุ่งนี้จะมาแนะนำคนทำงานของศูนย์ให้รู้จักกันค่ะ

สวัสดีค่ะ

มาทักทายค่ะ

เข้ามาอ่านหลายครั้งแล้วค่ะ........แต่ไม่ได้ฝากอักษรเสียที

มีรุ่นพี่หลายคนเหมือนกัน...ที่ทำงานที่มน.พะเยา...

เคยอ่านบันทึกก่อนๆ ว่าบรรยากาศ...ล้อมรอบรั้วด้วยภูเขา...

น่าไปเที่ยวจังเลยค่ะ...

นำรูปมาลงบันทึกบ้างนะค่ะ จะรอดูค่ะ...

ขอให้มีความสุขกับสิ่งที่เราชอบค่ะ

ขอบคุณค่ะ

 

ดีใจด้วยนะครับ สู้ๆ ตั้งใจให้เต็มร้อยดีครับ ผมและอาจารย์อุ๋มเอาใจช่วย นับเป็นโชคดีของชาวบ้านที่ได้อาจารย์ไปช่วยเหลือครับ เดินหน้าเต็มตัวนะครับ

ถ้าทางมน.พะเยา มีส่วนในการที่ให้นศ.สำรวจชุมชน เก็บข้อมูล เข้าถึงปัญหาอย่างแท้จริง นศ.เหล่านั้นกจะนำปัญหาต่าง ๆ ไปช่วยเหลือได้ในอนาคต ไม่ว่าเขาเหล่านั้นจะไปประกอบอาชีพอะไรก็ตาม

ขอให้ผีเข้าทุกวันนะคะ

อยากลืมส่งงานที่ กทม.เนอะ ระวังถูกเขาแช่ง

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท