พัดชา
สุภัสตรา เก้าประดิษฐ์ ทรัพย์ชุกุล

ปัญหาไม่เล็กของขบวนการค้าเด็กและขอทานข้ามชาติ


ปัญหาไม่ใช่ว่าเล็กหรือใหญ่ แต่เป็น "ปัญหาสำคัญ"

เมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม 2551 ภาควิชาสังคมวิทยา ม.บูรพาได้นำอาจารย์และนิสิตเข้าร่วมฟังการเสวนาปัญหาการค้ามนุษย์ในหัวข้อ "ปัญหาไม่เล็กของขบวนการค้าเด็กและขอทานข้ามชาติ" ซึ่งจัดโดย กระทรวงพัฒนาสังคม ฯ อสมท. ร่วมกับจังหวัดชลุบรี  ที่รร.เมอร์เคียว โดยสรุปได้ว่า

1. คุณศุภกร โนจา(ครูจา) จากศูนย์คุ้มครองสวัสดิภาพและพัฒนาเด็ก ได้บอกว่า เด็กผู้เป็นเหยื่อ เป็นขอทาน มีอายุตั้งแต่ 1 ปี - 15 ปี  การค้าเด็กเปลี่ยนมาก บางทีมีการนำเด็กเล็กใส่กระเป๋าไปโรงแรม เด็กชายได้ครั้งละ 500-700 บาท มากกว่าเด็กหญิง ชาวต่างชาติทำผู้ใหญ่ไม่ได้ ก็มาใช้เด็กเพราะเด็กไร้เดียงสา ไม่มีปากเลียง บางคนโรคจิตขนาดให้เด็กใส่pampersเพื่อให้ดูเป็นเด็กทารก  สถานการณ์เด็กจะมีความรุนแรงขึ้น เป็นคำถามที่ใหญ่มากที่เมื่อเด็กโตขึ้นแล้วจะมาทำอาชีพอะไร จะเกิดอะไรขึ้นกับเค้าบ้าง

2. คุณศรีศักดิ์ ไทยอารี สภาองค์การพัฒนาเด็กและเยาวชน บอกว่า ทางต่างประเทศได้มีการจัดลำดับการทำงานด้านการค้ามนุษย์เป็น 3 ระดับ คื อ 1) ได้แก้ไขปัญหา จนปัญหาหมดแล้ว  2)มีกลไก แต่ไม่มีประสิทธิภาพมาก แต่พยายามที่จะแก้ไขปัญหาข้ไทยอยู่ในระดับนี้  3)มีกลไก กฎหมาย แต่ไม่ทำหรือทำแล้วไม่ได้ผล รัฐบาลไม่สนใจ  ในการแก้ไขปัญหาด้านโครงสร้าง ก็คือ ตอนนี้มี พรบ.การค้ามนุษย์ ปี 2551 เป็นฐานในการทำงาน ข้อดีคือ 1) ให้อำนาจทางกฎหมาย กับจังหวัดเป็นศูนย์ โดยจะมีชุดปฎิบัติการจากหลากวิชาชีพ เช่น นักกฎหมาย หมอ ครู ฯลฯ ร่วมกัน หากมีเบาะแส มีหลักฐานที่เพียงพอ ก็สามารถเข้าไปช่วยเหลือ และฟื้นฟู เยียวยาได้ โดยไม่ต้องรอหมายศาล  นอกจากนี้ก็มีการแยกต่างชาติ ด้วยเด็กจะถูกได้เสี้ยมสอนให้บอกว่า เป็นคนไทย และอายุมากกว่า 18 ปี และสมัครใจมา ตรงนี้ก็ต้องทำการสอบสวนได้ผล 2) สามารถเอาผิดกับผู้กระทำการค้ามนุษย์ แม้โทษจะน้อยแค่ 4-10ปี ปรับหมื่นไม่ถึงแสนแต่ก็ดีกว่าไม่มี ปัญหาของโทษไม่หนัก ก็มีการประกัน จับมาได้ สองวันก็ได้คนช่วยแล้วก็ไปทำต่อ  3) ให้กระบวนการจัดการ รัฐมีส่วนอย่างมาก การทำงานก็พบเจ้าหน้าที่ไม่รู้เป็นตำรวจหรือแมงดาเอง มีการร่วมมือกับอาชญากร เลยอยากเรียกร้องว่า การค้ามนุษย์เป็นเรื่องของ ศักดิ์ศรีของมนุษย์ มากกว่า ร่างกาย

3.คุณสมชาย  ศิโรรัตน์ พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ จ.ชลบุรี  เราต้องแก้ไขปัญหาเชิงปฎิบัติการ และต้องร่วมมือกันทุกฝ่าย จนท.รัฐต้องมิใช่ขนมหวานแต่เป็นยาขมที่จะสร้างภูมิคุ้มกันให้กับสังคม โดยวิธีคิดเป็นสิ่งสำคัญ คือ อย่าขี้สงสารและอย่าขี้รำคาญ                                               

อย่าขี้สงสารคือ เห็นคนขอทานเป็นหญิงอุ้มลูกเล็ก ก็ให้เงิน ขอทานบางคน เอาผ้ายัดให้ดูว่าท้อง บางคนก็ใส่กางเกงขายาวๆเลยข้อเท้า เอาเจลมาทาฉ่ำๆ แล้วก็นอนเถือกไปกับถนน

อย่าขี้รำคาญ คือ เห็นคนขอทานมาตื๊อ ก็ให้ๆไปเพื่อขจัดความรำคาญ หรืออาย

พวกเราต้องประกาศให้สาธารณะรู้ถึงต้องร่วมกันเฝ้าระวังเป็นหูเป็นตา รับรู้หรือเห็นการค้ามนุษย์ /ขอทานให้โทร 1300

4.รศ.บุญมา ไทยก้าว รองอธิการบดีฝ่ายกิจการนิสิต ม.บูรพา  มหาวิทยาลัยผลิตบัณฑิตไปทำงานมิใช่ไปทำการค้าตนเอง เราพยายามทุกกระบวนการในการสอดแทรกเรื่องคุณธรรมนำชีวิต รวมทั้งมีการทำงานทางวิชาการเพื่อเป็นการเผยแพร่ปัญหาการค้ามนุษย์และร่วมหาทางออก

ทัศนะของผู้เชียวชาญดังกล่าวคงจะเป็นข้อมูลส่วนหนึ่ง แต่ทางแก้สำคัญคงเป็น ความจริงใจของรัฐในการจัดการ คือ ส่งเสริมการศึกษา และอาชีพให้ทั่วถึง แต่ทางที่ทุกคนจะกระทำได้คือ การเป็นหูเป็นตาให้กับบ้านเมืองหากพบเห็นความผิด ท่านพมจ.ท่านยืนยันอย่างหนักแน่นว่า ท่านทำงานจริงในการจัดการปัญหานี้ค่ะ

   

หมายเลขบันทึก: 194705เขียนเมื่อ 17 กรกฎาคม 2008 11:38 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 01:05 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

human trafficking ถือว่าเป็นเรื่องที่ต้องให้ความสำคัญมากๆค่ะ ในประเทศที่พัฒนาแล้ว เพราะถือว่าเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนรูปแบบหนึ่งที่สำคัญและนำไปสู่ปัญหาสังคมอื่นๆ ตามมาอีก

แอมมี่ว่า เราแก้ปัญหาและหาหนทางรองรับปัญหาไม่ครบวงจรค่ะ มันเลยไม่จบง่ายๆ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท