รวมบริการภาคปฏิบัติ


ต้องทำโครงงานที่มาจากการผสมผสานวิชาความรู้และแบบฝึกหัดย่อยๆมาอยู่ในชิ้นงานเดียว ซึ่งผมคิดว่าชิ้นงานฝึกหัดที่ผ่านมาน่าจะยากกว่านี้

ผมกำลังนำประสบการณ์การจัดการความรู้ในโครงการวิจัย "การจัดการความรู้เพื่อพัฒนาองค์กรการเงินชุมชน"ในพื้นที่5จังหวัด และ "KMชุมชนอินทรีย์จังหวัดนครศรีธรรมราช" มาทดลองใช้กับงานสนับสนุนบริการวิชาการด้วยระบบรวมบริการประสานภารกิจ

ต้องนับว่ามวล.เป็นมหาวิทยาลัยต้นๆที่เรียนรู้เรื่องนี้ผ่านทางสคส.โดยการผลักดันสนับสนุนของอาจารย์วิจารณ์ พานิช ผมเองก็ได้เรียนรู้จากเครือข่ายgotoknowนี้ด้วย

ผมเสนอแบบจำลองปลาทูว่ายฝ่ากระแสน้ำ และวงเรียนรู้คุณเอื้อ อำนวย กิจเป็นชั้นๆในหลายระดับและหลายวง ซึ่งไม่สามารถทำอะไรได้มากนักในการขับเคลื่อนชุมชนอินทรีย์ของจังหวัด เนื่องจากเป็นงานเชิงปริมาณที่ต้องสร้างความเข้าใจกับคนหลากหลายระดับอย่างกว้างขวางและต้องมีทีมคุณอำนวยที่มีทักษะจำนวนมาก ที่สำคัญคือ ต้องทำงานกับโครงสร้างเชิงอำนาจ แต่เราก็ฝันฝ่าจนสามารถสร้างความเข้าใจกับองค์กรในจังหวัดได้พอสมควร ก็ขึ้นกับแนวทางของผู้ว่าราชการคนต่อไปว่าจะรับลูกต่อหรือไม่ อย่างไร?

 

คราวนี้ถือเป็นโอกาสทดลองความรู้ในความรับผิดชอบใหม่ เหมือนกับตอนเรียนปี4ในมหาวิทยาลัยที่ต้องทำโครงงานที่มาจากการผสมผสานวิชาความรู้และแบบฝึกหัดย่อยๆมาอยู่ในชิ้นงานเดียว ซึ่งผมคิดว่าชิ้นงานฝึกหัดที่ผ่านมาน่าจะยากกว่านี้ โดยเฉพาะงานจัดการความรู้ชุมชนอินทรีย์จังหวัดนครศรีธรรมราช

เราจะไม่เพิ่มภารกิจขึ้นมาใหม่ ไม่ว่าจะเป็นคณะทำงานตามคำสั่ง หรือคนทำงานใหม่ ซึ่งเราใช้เวลาวิเคราะห์ภาระงานในบทบาทที่แสดงไว้ใน power point  http://gotoknow.org/file/pakamatawee/Acade.ppt ตามแนวทางรวมบริการประสานภารกิจ  ซึ่งสรุปได้ 7 คน และหากเข้าใจระบบก็จะทราบว่าจำนวนคนตามภารกิจสนับสนุนบริการวิชาการ มีมากกว่านี้ คือ กระจายอยู่ตามหน่วยงานต่างๆอีก
หน่วยงานที่มีภารกิจร่วมหลักๆมีดังนี้
ส่วนหัวปลาคือ ส่วนส่งเสริมวิชาการ ส่วนแผนงาน หน่วยพัฒนาองค์กร รวมทั้งส่วนการเจ้าหน้าที่ และส่วนการเงิน/บัญชี โดยที่ส่วนการเจ้าหน้าที่และส่วนการเงิน/บัญชีเน้นไปทางเทคนิคเกี่ยวกับระเบียบสนับสนุนงานบริการวิชาการ ซึ่งผมคิดว่าจะต้องสร้างวงเรียนรู้แยกเป็น2วงคือ   วงในเพื่อสร้างทีมคุณอำนวย เพื่อจัดวงเรียนรู้กับประชาคมมวล.อย่างต่อเนื่องให้เกิดความฝันและข้อตกลงร่วมกันว่า เราจะบริการวิชาการไปในทิศทางใด และอย่างไร?

http://gotoknow.org/file/pakamatawee/Acade3.ppt

การทำงานเชิงระบบในแนวตั้งอยู่ในความรับผิดชอบของส่วนแผนงาน โดยการรวบรวมข้อมูลจากประชาคม ผ่านที่ประชุมบริหารก่อนจะเสนอสภามหาวิทยาลัยเห็นชอบ

สิ่งที่ฝ่ายจะเข้ามาเสริมคือ กระบวนการเรียนรู้ในแนวนอน โดยที่ทีมของเราในฝ่าย1.5คนจะเข้ามาช่วยงานนี้ในส่วนของงานบริการวิชาการ(ส่วนแผนจะวางแผนทั้ง4ภารกิจ) ซึ่งก็จะเชื่อมโยงกับภารกิจอื่นด้วย หน่วยพัฒนาองค์กร ส่วนส่งเสริมวิชาการ ส่วนกิจการนักศึกษา ส่วนการเจ้าหน้าที่ส่วนการเงินและบัญชี รวมทั้งสำนักวิชาจึงควรเข้ามาร่วมในกระบวนการเรียนรู้นี้ด้วย
ฝ่ายของเราในศบว.จะเป็นคุณอำนวยในคณะทำงานรวมบริการประสานภารกิจงานบริการวิชาการนี้ กระบวนการนี้เป็นการสร้างทีมเรียนรู้ในวงหลักตามภารกิจ ซึ่งจะเป็นคณะทำงานหรือทีมคุณอำนวยเพื่อนำสู่การเรียนรู้ของประชาคมมวล.ในวงนอกทั้งหมด
ผมทราบว่าส่วนแผนงานกำลังเตรียมการประชุมเพื่อนำเสนอแผนพัฒนาเชิงกลยุทธ์มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์พ.ศ.2551-2555ต่อประชาคมมวล.3วัน2คืนที่เขื่อนเชี่ยวหลาน ประมาณวันที่28-30ส.ค.(รอคำยืนยันจากวิทยากร) เพื่อปรับปรุงแก้ไขนำเสนอที่ประชุมสภามหาวิทยาลัยครั้งต่อไป   ในเดือนก.ย.

ผมทราบว่าคณะทำงานพัฒนาระบบความก้าวหน้าในอาชีพจะสัมมนาเรื่องนี้ในวันที่21-22ก.ค.นี้โดยมีวิทยากรผู้เชี่ยวชาญจากภายนอกเป็นผู้จัดกระบวนการด้วยค่าตัววันละ20,000บาท

หลังจากที่ฝ่ายสนับสนุนบริการวิชาการทำวิจัยเพื่อกำหนดตำแหน่งและบทบาทของตนเองในมหาวิทยาลัยค่อนข้างชัดเจนแล้ว โดยใช้เวลา2เดือน ต่อไปจึงเป็นความรับผิดชอบของผู้บังคับบัญชาการที่จะพิจารณาเสนอต่อมหาวิทยาลัย ฝ่ายของเราก็ประชุมเรียนรู้กันเพื่อทำหน้าที่ตามแบบจำลองที่เสนอไว้ตามกำลังที่มีอยู่ โดยเตรียมวงเรียนรู้หลัก3วงร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในส่วนหัว ส่วนลำตัวและส่วนหางปลา โดยเริ่มจากนำแผนปฏิบัติการของแต่ละหน่วยมาดูกัน และคงมีการพูดคุยกันอย่างเป็นทางการและไม่เป็นทางการมากยิ่งขึ้นhttp://gotoknow.org/file/pakamatawee/Acade2.ppt

หมายเลขบันทึก: 194578เขียนเมื่อ 16 กรกฎาคม 2008 16:52 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 01:04 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

สวัสดีค่ะหัวหน้าภีม

นอกจากการใช้ KM และทฤษฎี LO ของเชงเก้แล้ว อยากเสนอให้ลองวิเคราะห์ด้วยทฤษฎีหินสามเส้าคือ "กลไก องค์กร และปัจเจกบุคคล" ซึ่งจากเวทีสัมมนาสวัสดิการที่บ้านริมน้ำแม่กลองของพวกเราให้ชื่อว่าทฤษฎีของ "ฉัน" หรือ "MOI" Theory คิดว่าทฤษฎีนี้น่าสนใจและน่านำมาใช้เพื่อช่วยค้นหาเครื่องมือทางยุทธศาสตร์ของการขับเคลื่อนระบบรวมบริการประสานภารกิจให้บรรลุเป้าหมายได้มากขึ้นนะคะ

สิ่งสำคัญคือ ทำอย่างไรจะ "ร้อยใจ" ผู้คนที่กำลังเคลื่อนงานต่างๆ ในทุกระดับที่เกี่ยวข้องเข้าด้วยกันได้...การมี "เป้าหมายร่วม"จะสามารถหลอมรวมใจคนในองค์กรได้มากน้อยเพียงใด เพราะหากเป้าหมายนั้นเป็นไปแบบโลก ๆ ...เป้านั้นก็เคลื่อนได้ตลอดเวลาตามเหตุปัจจัย...อีกทั้งยังมี "อคติ ๔ ประการ" ที่ยังคลุมใจมนุษย์...

อย่างไรก็ตาม เป็นว่าขอเอาใจช่วยหัวหน้าภีมแล้วกันนะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท