..ทางสายกลาง และ ความจริงอันประเสริฐ กับวันอาสาฬหบูชา(ASALAHA BUCHA DAY)..


15 ค่ำ เดือน 8 วันอาสาฬหบูชา วันประกาศศาสนา เป็นวันที่พระสงฆ์เกิดขึ้นองค์แรก

การดำเนินชีวิตด้วยเหตุผล  ด้วยเส้นทาง..แห่งความดี  ชีวิตก็จะมีแต่สิ่งดีๆ  อุปสรรค ผ่านพ้น  ไปจนได้  ในมุมมอง  ธรรมะ  คือความเป็นจริง ที่พึงให้ความสำคัญ  และน้อมนำไปเป็นแนวทางในการพิจารณา..ใคร่ครวญ กับการก้าวเดินของชีวิต  ด้วยเหตุผลและความถูกต้อง อาสาฬหบูชา เป็นวันสำคัญทางศาสนา  เป็นวันที่พระพุทธเจ้าแสดงธรรมครั้งแรก  หลักธรรมที่แสดง  คือ ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร (มัชฌิมปฏิปทา และ อริยสัจ 4)  เป็นวันที่พระสงฆ์เกิดขึ้นองค์แรกของโลก  คือ อัญญาโกณฑัญญะ

“อาสาฬหบูชา” (อา-สาน-หะ-บู-ชา/อา-สาน-ละ-หะ-บู-ชา) ประกอบด้วยคำ ๒ คำ คือ อาสาฬห (เดือน ๘ ทางจันทรคติ) กับบูชา (การบูชา) เมื่อรวมกันจึงแปลว่า การบูชาในเดือน ๘ หรือการบูชาเพื่อระลึกถึงเหตุการณ์สำคัญในเดือน ๘ หรือเรียกให้เต็มว่า อาสาฬหบูรณมีบูชา

     โดยสรุป วันอาสาฬหบูชา แปลว่า การบูชาในวันเพ็ญ เดือน ๘ หรือ การบูชาเพื่อระลึกถึงเหตุการณ์สำคัญในวันเพ็ญ เดือน ๘ คือ

๑. เป็นวันที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงปฐมเทศนา
๒. เป็นวันที่พระพุทธเจ้าเริ่มประกาศพระศาสนา
๓. เป็นวันที่เกิดอริยสงฆ์ครั้งแรกคือการที่ท่านโกณฑัญญะรู้แจ้งเห็นธรรม เป็นพระโสดาบัน จัดเป็นอริยบุคคลท่านแรกในอริยสงฆ์
๔. เป็นวันที่เกิดพระภิกษุรูปแรกในพระพุทธศาสนา คือ การที่ท่านโกณฑัญญะขอบรรพชาและ ได้บวชเป็นพระภิกษุ หลังจากฟังปฐมเทศนาและบรรลุธรรมแล้ว
๕. เป็นวันที่พระพุทธเจ้าทรงได้ปฐมสาวกคือ การที่ท่านโกณฑัญญะนั้น ได้บรรลุธรรม และบวชเป็นพระภิกษุ จึงเป็นสาวกรูปแรกของพระพุทธเจ้า

หลักธรรมในการแสดงปฐมเทศนาครั้งแรกของพระพุทธเจ้ามี ๒ ประการคือ

ก. มัชฌิมาปฏิปทาหรือทางสายกลาง เป็นข้อปฏิบัติที่เป็นกลาง ๆ ถูกต้องและเหมาะสมที่จะให้บรรลุถึงจุดหมายได้ มิใช่การดำเนินชีวิตที่เอียงสุด ๒ อย่าง หรืออย่างหนึ่งอย่างใด คือ

   ๑. การหมกหมุ่นในความสุขทางกาย มัวเมาในรูป รส กลิ่น เสียง รวมความเรียกว่า เป็นการหลงเพลิดเพลินหมกหมุ่นในกามสุข หรือ กามสุขัลลิกานุโยค

   ๒. การสร้างความลำบากแก่ตนดำเนินชีวิตอย่างเลื่อนลอย เช่น บำเพ็ญตบะการทรมานตน คอยพึ่งอำนาจสิ่งศักดิ์สิทธิ์ เป็นต้น การดำเนินชีวิตแบบที่ก่อความทุกข์ให้ตนเหนื่อยแรงกาย แรงสมอง แรงความคิด รวมเรียกว่า อัตตกิลมถานุโยค

ดังนั้นเพื่อละเว้นห่างจากการปฏิบัติทางสุดเหล่านี้ ต้องใช้ทางสายกลาง ซึ่งเป็นการดำเนินชีวิตด้วยปัญญา โดยมีหลักปฏิบัติเป็นองค์ประกอบ ๘ ประการ เรียกว่า อริยอัฏฐังคิกมัคค์ หรือ มรรคมีองค์ ๘ ได้แก่

     ๑. สัมมาทิฏฐิ เห็นชอบ คือ รู้เข้าใจถูกต้อง เห็นตามที่เป็นจริง
     ๒. สัมมาสังกัปปะ ดำริชอบ คือ คิดสุจริตตั้งใจทำสิ่งที่ดีงาม
     ๓. สัมมาวาจา เจรจาชอบ คือ กล่าวคำสุจริต
     ๔. สัมมากัมมันตะ กระทำชอบ คือ ทำการที่สุจริต
     ๕. สัมมาอาชีวะ อาชีพชอบ คือ ประกอบสัมมาชีพหรืออาชีพที่สุจริต
     ๖. สัมมาวายามะ พยายามชอบ คือ เพียรละชั่วบำเพ็ญดี
     ๗. สัมมาสติ ระลึกชอบ คือ ทำการด้วยจิตสำนึกเสมอ ไม่เผลอพลาด
     ๘. สัมมาสมาธิ ตั้งจิตมั่นชอบ คือ คุมจิตให้แน่วแน่มั่นคงไม่ฟุ้งซ่าน

ข. อริยสัจ ๔ แปลว่า ความจริงอันประเสริฐของอริยะ ซึ่งคือ บุคคลที่ห่างไกลจากกิเลส ได้แก่

   ๑. ทุกข์ ได้แก่ ปัญหาทั้งหลายที่เกิดขึ้นกับมนุษย์ บุคคลต้องกำหนดรู้ให้เท่าทันตามความเป็นจริงว่ามันคืออะไร ต้องยอมรับรู้กล้าสู้หน้าปัญหา กล้าเผชิญความจริง ต้องเข้าใจในสภาวะโลกว่าทุกสิ่งไม่เที่ยง มีการเปลี่ยนแปลงไปเป็นอย่างอื่น ไม่ยึดติด

   ๒. สมุทัย ได้แก่ เหตุเกิดแห่งทุกข์ หรือสาเหตุของปัญหา ตัวการสำคัญของทุกข์ คือ ตัณหาหรือเส้นเชือกแห่งความอยากซึ่งสัมพันธ์กับปัจจัยอื่น ๆ

   ๓. นิโรธ ได้แก่ ความดับทุกข์ เริ่มด้วยชีวิตที่อิสระ อยู่อย่างรู้เท่าทันโลกและชีวิต ดำเนินชีวิตด้วยการใช้ปัญญา

   ๔. มรรค ได้แก่ กระบวนวิธีแห้งการแก้ปัญหา อันได้แก่ มรรคมีองค์ ๘ ประการดังกล่าวข้างต้น
    

ความเป็นมา และความสำคัญ  ของวันอาสาฬหบูชา

วันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๘ นับเป็นวันที่สำคัญในประวัติศาสตร์แห่งพระพุทธศาสนา คือวันที่พระพุทธองค์ทรงแสดงธรรมเทศนาหรือหลักธรรมที่ทรงตรัสรู้ เป็นครั้งแรกแก่เบญจวัคคีย์ทั้ง ๕ ณ มฤคทายวัน ตำบลอิสิปตนะ เมืองพาราณสี ในชมพูทวีปสมัยโบราณซึ่งปัจจุบันตั้งอยู่ในประเทศอินเดีย ด้วยพระพุทธองค์ทรงเปรียบดังผู้ทรงเป็นธรรมราชา ก็ทรงบันลือธรรมเภรียังล้อแห่งธรรมให้หมุนรุดหน้า เริ่มต้นแผ่ขยายอาณาจักรแห่งธรรม นำความร่มเย็นและความสงบสุขมาให้แก่หมู่ประชา ดังนั้น ธรรมเทศนาที่ทรงแสดงครั้งแรกจึงได้ชื่อว่า ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร แปลว่า พระสูตรแห่งการหมุนวงล้อธรรม หรือพระสูตรแห่งการแผ่ขยายธรรมจักร กล่าวคือดินแดนแห่งธรรม

   เมื่อ ๒๕๐๐ กว่าปีมาแล้วนั้นชมพูทวีปในสมัยโบราณ กำลังย่างเข้าสู่ยุคใหม่แห่งความเจริญก้าวหน้า รุ่งเรืองเฟื่องฟูทุกด้านและมีคนหลายประเภททั้งชนผู้มั่งคั่งร่ำรวย นักบวชที่พัฒนาความเชื่อและ ข้อปฏิบัติทางศาสนา เพื่อให้ผู้ร่ำรวยได้ประกอบพิธกรรมแก่ตนเต็มที่ ผู้เบื่อหน่ายชีวิตที่วนเวียน ในอำนาจและโภคสมบัติที่ออกบวช หรือบางพวกก็แสวงหาคำตอบที่เป็นทางรอกพ้นด้วยการคิดปรัชญาต่าง ๆ เกี่ยวกับเรื่องที่เหลือวิสัยและไม่อาจพิสูจน์ได้บ้าง พระพุทธเจ้าจึงทรงอุบัติในสภาพเช่นนี้ และดำเนินชีพเช่นนี้ด้วยแต่เมื่อทรงพบว่าสิ่งที่เกิดขึ้นในตอนนั้นขาดแก่นสาน ไม่เป็นประโยชน์อย่างแท้จริง แก่ตนเองและผู้อื่น จึงทรงคิดหาวิธีแก้ไขด้วยการทดลองต่าง ๆ โดยละทิ้งราชสมบัติ และอิสริยศแล้วออกผนวช บำเพ็ญตนนานถึง ๖ ปี ก็ไม่อาจพบทางแก้ได้ ต่อมาจึงได้ทางค้นพบ มัชฌิมาปฏิปทา หรือทางสายกลาง เมื่อทรงปฏิบัติตามมรรคานี้ก็ได้ค้นพบสัจธรรมที่นำคุณค่า แท้จริงมาสู่ชีวิต อันเรียกว่า อริยสัจ ๔ ประการ ในวันเพ็ญเดือน ๖ ก่อนพุทธศก ๔๔ ปี ที่เรียกว่า การตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า จากนั้นทรงงานประกาศศาสนาโดยทรงดำริหาทางที่ได้ผลดีและรวดเร็ว คือ เริ่มสอนแก่ผู้มีพื้นฐานภูมิปัญญาดีที่รู้แจ้งคำสอนได้อย่างรวดเร็วและสามารถนำไปชี้แจงอธิบาย ให้ผู้อื่นเข้ามาได้อย่างกว้างขวาง จึงมุ่งไปพบนักบวช ๕ รูป หรือเบญจวัคคีย์ และได้แสดงธรรม เทศนาเป็นครั้งแรกในวันเพ็ญ เดือน ๘

พิธีกรรมที่กระทำในวันนี้ โดยทั่วไป คือ ทำบุญ ตักบาตร รักษาศีล เวียนเทียน ฟังพระธรรมเทศนา (ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร) และสวดมนต์ ดังนั้นในวันนี้จึงถือว่า พุทธศาสนิกชนควรได้รับประโยชน์ ที่เป็นสาระสำคัญจากอาสาฬหบูชา กล่าวคือ ควรทบทวนระลึกเตือนใจสำรวจตนว่า ชีวิตเราได้เจริญงอกงามขึ้นด้วยความเป็นอยู่อย่างผู้รู้เท่าทันโลกและชีวิตนี้บ้างแล้วเพียงใด เรายังดำเนินชีวิตอยู่อย่างลุ่มหลงมัวเมา หรือมีจิตใจอิสระปลอดโปร่งผ่องใสบ้างแล้วเพียงใด

ขอบคุณ  และ  อ่านเพิ่มเติม  ที่นี่ ค่ะ

                            http://www.dhammathai.org/day/asarahabucha.php

ASALAHA BUCHA DAY
HONORING SANGHA DAY
The Full Moon Day of The Asalaha (the eighth lunar month)

After The Lord Buddha enlighten on the full moon day of the sixth lunar month (Visakha), he spent seven weeks near by the Bodhi Tree. Afterward, he decided to teach the Dhamma to the others, even though there were difficulties for ordinary people to understand. His former teachers were dead, the next group of people he thought of were five ascetics called "Pancavaggi", group of five, who, at that time, lived in a forest named "Isippatanamarukatayawan", the deer park near Baranasi.

On the day before the full moon day of the eighth lunar month, Asalaha, there he was. The next day, the full moon day, The Lord Buddha gave them his FIRST SERMON called "Dhamma-cakkappavattana Sutta" or the Discourse on Setting the Wheel of Dhamma in Motion. Not long after that, the head of the Five Ascetics, named "Kondanna" got "The Eye of Dhamma" and asked for ordination from The Lord Buddha. He became the FIRST MONK in Buddhism. The full moon day of the eighth lunar month became the day that honored the Sangha, or the community of the monks.

ACTIVITIES TO BE OBSERVED ON
ASALAHA BUCHA DAY

'TUM BOON': Making merit by going to temples for special observances, making merit, listening to Dhamma preaching, giving some donations and join in the other Buddhist activities.


'RUB SIL': Keeping the Five Precepts, including abstinence from alcoholic drinks and all kinds of immoral acts.


'TUK BARD': Offering food to the monks and novices (in the alm bowl).


Practice of renuciation: Observe the Eight Precepts, practice of meditation and mental discipline, stay in the temple, wearing white robes, for a number of days.


VIEN TIEN': Attending the Candle Light Procession around the Uposatha Hall, in the evening of the Vesak full moon day.

ขอบคุณ และอ่านเพิ่มเติม ที่นี่ค่ะ

 http://www.dhammathai.org/e/day/asarahabucha_eng.php

หมายเลขบันทึก: 194210เขียนเมื่อ 15 กรกฎาคม 2008 05:49 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 19:17 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)

สวัสดีตอนเช้าครับ แวะมารับข้อธรรม ทำให้อิ่มอกอิ่มใจ แถมมีเพลงเพราะฟัง เที่ยงวันนี้ผมจะไปงานบวชน้องที่ทำงาน เขาลาบวช 1 พรรษา ดีจัง น่าอนุโมทนา สมัยตอนที่ผมบวชได้ 30 กว่าวันเท่านั้น

โรงเรียนอุตรดิตถ์แวะเข้ามาน้อมรับสิ่งดีงามที่มอบให้ด้วยครับ

ในช่วงเข้าพรรษาก็ต้องลด ละ หรือเลิกอบายมุขทั้งปวง

ขอให้พบแต่สิ่งที่ดีๆตลอดไปนะครับ

ขึงสายพิณตึงนักสายมักขาด

ขึงหย่อนไปไม่อาจมีเสียงได้

ขึงพอดีดีดไพเราะเสนาะใจ

ทำสิ่งใดพอดีมี"มัชฌิมา"

กินอาหารมากเกินไปไร้ประโยชน์

กินน้อยก่อทุกข์โทษเกิดปัญหา

กินพอดีไม่เกิดทุกข์สุขอุรา

"มัตตัญญุตา"เป็นผู้รู้ประมาณ

ใช้เงินสุรุ่ยสุร่ายกลายเป็นหนี้

ใช้ตระหนี่เกินไปให้ร้าวฉาน

ใช้เงินควรประหยัดรู้จัดการ

"มัธยัสถ์"ท่านบอกไว้ให้พอดี

ยามพูด ทำสิ่งใดควรได้คิด

มากเกินผิดครรลองอาจหมองศรี

หากน้อยนักก็จักไม่เข้าที

สรุปที่สุดท้ายยึด"สายกลาง"

P

ขอบคุณค่ะ คุณเอกราช แก้วเขียว

        มีแต่สิ่งดีๆ  สุขภาพแข็งแรงค่ะ

                            

 

                      

P

ขอบคุณค่ะ คุณ โต

มีความสุข  เช่นกันนะคะ

            มีแต่สิ่งดีๆค่ะ

                         

P

ขอบคุณค่ะ คุณคนพลัดถิ่น

       ทางสายกลาง....ดีอย่างนี้  นี่เอง  นะคะ

                     มีแต่สิ่งดีๆ    สุขภาพแข็งแรง

                                 

 

 

 

P

ขอบคุณค่ะ ท่าน ผอ.ประจักษ์

     ที่กรุณาแวะมาทักทาย

               สุขภาพกายแข็งแรง  สุขภาพใจแข็งแกร่ง  ค่ะ

                        

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท