แบบจำลองปลาทู งานบริการวิชาการมวล.(3)


KMใช้หลัก เสริมพลังการระเบิดจากภายในของคน ด้วยความรู้และการใช้ความรู้โดยไม่มีตัวตน

http://gotoknow.org/file/pakamatawee/Acade.ppt

แบบจำลองปลาทูระบบรวมบริการประสานภารกิจงานบริการวิชาการมวล.

ส่วนหัวประกอบด้วย เป้าหมายบริการวิชาการและระเบียบสนับสนุนซึ่งมีทั้งคุณค่าและมูลค่า
แล้วใครจะเป็นผู้กำหนด
ผมเห็นว่าผู้กำหนดคือ สภามหาวิทยาลัย คณะผู้บริหาร หน่วยจัดการบริการวิชาการโดยเฉพาะสำนักวิชาและผู้เชี่ยวชาญ รวมทั้งพนักงานทั้งหมดซึ่งรวมเป็นประชาคมมวล.
ประชาคมต้องร่วมกันประเมินศักยภาพและรู้/เข้าใจความต้องการภายนอก ทั้งจากชุมชน สังคม ภาคใต้ตอนบน ชาติและนานาชาติ แยกเป็นภาครัฐ/ท้องถิ่น ภาคชุมชนและประชาสังคม รวมทั้งภาคธุรกิจเอกชน โดยมีตัวชี้วัดของสกอ.และสมศ.เข้ามาประกอบการพิจารณาด้วย
ฝ่ายต้องทำหน้าที่สนับสนุนการเรียนรู้(KM)เพื่อให้มวล.กำหนดเป้าหมายและมีระเบียบที่สนับสนุนการขับเคลื่อนสู่เป้าหมาย เพื่อให้มีตัวชี้วัดงานบริการวิชาการของสภามหาวิทยาลัยเองด้วย

ส่วนตัวปลาคือการจัดการความรู้ทั้งจัดตั้งและสนับสนุนให้เกิดเครือข่ายบริการวิชาการที่มีจำนวนเพิ่มขึ้นและมีความเข้มแข็งขึ้นด้วย โดยการจัดวงเรียนรู้หน่วยบริการวิชาการและผู้เชี่ยวชาญทั้งภายในและภายนอก เชื่อมโยงกับหน่วยรับบริการซึ่งเป็นความต้องการจากภายนอก ให้รู้และเพิ่มศักยภาพภายใน      รวมทั้งผสานศักยภาพทวีคูณร่วมกับหน่วยบริการภายนอก เพื่อตอบสนองความต้องการที่กำหนดไว้ในส่วนหัวปลา

ส่วนหางคือ การจัดทำฐานข้อมูล เผยแพร่ เชื่อมโยงและสร้างเครือข่ายสื่อ รวมทั้งประเมินผลงานบริการวิชาการและจัดทำรายงานจากงานบริการวิชาการที่ส่วนตัวปลาดำเนินการมาทั้งหมด
ซึ่งต้องเชื่อมโยงกับส่วนหัวปลาเพื่อนำไปสู่การทบทวนเป้าหมายและชี้ทิศ หมุนเกลียวเรียนรู้ต่อๆกันไป
ฐานข้อมูลของส่วนหางจะครอบคลุมทั้งความต้องการภายนอก และศักยภาพของมหาวิทยาลัย/    เครือข่าย หน่วยบริการวิชาการและผู้เชี่ยวชาญ ตลอดจนเครือข่ายสื่อเพื่อการเผยแพร่ขยายผลด้วย

ทั้งหมดนี้ต้องทำงานร่วมกับหน่วยสนับสนุนอื่นๆในมหาวิทยาลัย ทั้งส่วนแผนงาน ส่วนส่งเสริมวิชาการ ส่วนการเจ้าหน้าที่ เป็นต้น เพื่อขับเคลื่อนงานบริการวิชาการบนหลักการ "รวมบริการประสานภารกิจ" ของมหาวิทยาลัย

KMใช้หลัก เสริมพลังการระเบิดจากภายในของคน ด้วยความรู้และการใช้ความรู้โดยไม่มีตัวตน
ด้วยความเชื่อ "มนุษย์ใคร่รู้ ต้องการอิสรภาพ และมีความสุขจากการแบ่งปัน"
จึงต่างจากการบริหารที่ต้องการเข้าไปควบคุมสั่งการ

หมายเลขบันทึก: 193943เขียนเมื่อ 13 กรกฎาคม 2008 15:20 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 มิถุนายน 2012 12:54 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

สวัสดีค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท