การอ่านจับใจความด้วยผังมโนทัศน์


ชื่อเรื่อง    การพัฒนาความสามารถในการอ่านจับใจความ  กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนบ้านคลองหวะ(ทวีรัตน์ราษฎร์บำรุง ) ด้วย

ผังมโนทัศน์

ชื่อผู้ศึกษา  นางฐิติกมณฑ์   จันทโกศล  ครูชำนาญการพิเศษ โรงเรียนบ้านคลองหวะ

(ทวีรัตน์ราษฎร์บำรุง ) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสงขลา เขต 2

ความสำคัญของปัญหา

            จากการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนในสาระการเรียนรู้ภาษาไทยชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 นั้น ปัญหาหนึ่งที่พบ คือการอ่านจับใจความ มีนักเรียนจำนวน 25 คน ไม่สามารถอ่าน     จับใจความได้  และขาดทักษะในการจับประเด็นในเรื่องการอ่านได้ สรุปใจความสำคัญจากเรื่องที่อ่านไม่ได้    

จากการสอบถามและสัมภาษณ์นักเรียน ถึงสาเหตุดังกล่าว สรุปได้ว่า

            1 นักเรียนขาดความเข้าใจในเรื่องที่อ่าน

            2.นักเรียนขาดนิสัยที่ดีในการอ่าน

            3.นักเรียนไม่รู้จักความหมายของคำศัพท์

            ดังนั้นจึงได้ทำนวัตกรรมขึ้นมาเพื่อเป็นการฝึกทักษะการอ่านใจความ และศึกษาผลของการจัดการเรียนการสอน โดยใช้แบบฝึกการอ่านจับใจความด้วยผังมโนทัศน์  ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 25 คน โดยพัฒนาการเรียนรู้ภาษาไทยในเรื่องการอ่านจับใจความ  ฝึกฝนการอ่านอย่างสม่ำเสมอเพื่อให้อ่านได้รวดเร็วและจับใจความได้ถูกต้องเพราะการอ่านเป็นเครื่องมือที่สำคัญที่สุดในการแสวงหาความรู้     

วัตถุประสงค์ของการศึกษา

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านจับใจความโดยใช้แบบฝึกทักษะการอ่าน ด้วยผังมโนทัศน์  กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย  ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4โรงเรียนบ้านคลองหวะ(ทวีรัตน์ราษฎร์บำรุง) อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา  เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางด้านการอ่านจับใจความก่อนและหลังการใช้แบบฝึกทักษะการอ่านจับใจความ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนบ้านคลองหวะ(ทวีรัตน์ราษฎร์บำรุง)   และเพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้แบบฝึก การอ่านจับใจความ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนบ้านคลองหวะ(ทวีรัตน์ราษฎร์บำรุง)

แนวคิด

การสร้างแบบฝึกทักษะการอ่านจับใจความ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ด้วยผังมโนทัศน์  ผู้สอนได้ประยุกต์แนวคิดของโทนี่  บูซาน (Buzan  Tony) ชาวอังกฤษที่เป็นผู้ริเริ่มนำเอาความรู้เรื่องสมองมาปรับใช้กับการเรียนรู้ โดยการใช้ผังมโนทัศน์  เป็นแผนภาพที่ใช้แสดงความสัมพันธ์ของความคิดหลักและความคิดรอง โดยมีคำหรือข้อความเป็นตัวเชื่อม

การสอนโดยใช้ผังมโนทัศน์ เป็นวิธีสอนอีกรูปแบบหนึ่งที่เปิดโอกาสให้นักเรียนได้มีส่วน

ร่วมในการเรียนรู้อย่างเต็มที่ เนื่องจากนักเรียนได้เรียนรู้ด้วยตนเอง สรุปความคิดสร้างเป็นองค์ความรู้เอง นักเรียนนำเนื้อหาสาระจากการเรียนรู้มาจัดระบบ รู้จักการสังเกต เปรียบเทียบ สรุปและจำแนกแยกแยะสิ่งต่าง ๆ 

กระบวนการพัฒนา

ผู้สอนได้วิเคราะห์ปัญหาและสาเหตุของปัญหาแล้ว จึงได้สร้างแบบฝึกเพื่อพัฒนาความสามารถในการอ่านจับใจความ  กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ด้วยผังมโนทัศน์ ซึ่งมีขั้นตอนที่สำคัญคือ

1.      กำหนดบทอ่านจากข่าวสารในชีวิตประจำวัน บทความ สื่อโฆษณา คำประพันธ์     

บทเพลง   จำนวน  5  ชุด

2        ให้นักเรียนค้นหาประเด็นต่างๆในข้อมูล(ค้นหาคำสำคัญ) แยกแยะประเด็นหลัก

ประเด็นรองในรูปแบบของผังมโนทัศน์

3. นักเรียนตอบคำถามด้วยเทคนิค 5 W 1 H (What  Who  Where Why When How

4. นักเรียนเขียนสรุปใจความสำคัญ

หลังจากนั้น ได้ออกแบบแผนการจัดการเรียนรู้การอ่านจับใจความด้วยผังมโนทัศน์  ให้นักเรียนได้ทำแบบฝึกทักษะการอ่านจับใจความ  โดยมีการประเมินผลก่อนเรียน              (Pre-test)  โดยใช้แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการอ่านภาษาไทยเพื่อจับใจความ แบบปรนัยชนิด 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อและนำนวัตกรรมแบบฝึกการอ่านจับใจความมาใช้ประกอบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้  เมื่อจัดการเรียนการสอนครบทุกแผนแล้วจึงได้ประเมินผลหลังเรียน(Post -test)และประเมินความพึงพอใจของนักเรียนต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้แบบฝึกการอ่านจับใจความ รวมทั้งการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางด้านการอ่านจับใจความก่อนและหลังการใช้แบบฝึกทักษะการอ่านจับใจความ

ผลการพัฒนา

          ผลการศึกษาพบว่า  การอ่านจับใจความของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนบ้านคลองหวะ(ทวีรัตน์ราษฎร์บำรุง) อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลาดีขึ้น    นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4  โรงเรียนบ้านคลองหวะ(ทวีรัตน์ราษฎร์บำรุง ) มีคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียน เพิ่มขึ้นจากก่อนเรียน โดยนักเรียนร้อยละของความก้าวหน้าในการอ่านจับใจความร้อยละ 16.27   และพบว่านักเรียนที่เรียนด้วยแบบฝึกทักษะการอ่านจับใจความด้วยผังมโนทัศน์  มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก

 

หมายเลขบันทึก: 193809เขียนเมื่อ 12 กรกฎาคม 2008 16:02 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 16:44 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ขอบคุณอาจารย์มาก กำลังหาตัวอย่างอยู่พอดี จะขออนุญาตใช้เป็นแม่แบบนะคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท