การแพทย์แผนไทยอุดรธานีกับโรคเบาหวาน
คณะทำงานจัดการความรู้ การแพทย์แผนไทยอุดรธานีกับโรคเบาหวาน

ถอดบทเรียนความก้าวหน้าของการบริการแพทย์แผนไทย รพร.บ้านดุง ปี 2551


ถอดบทเรียนความก้าวหน้าของการบริการแพทย์แผนไทย รพร.บ้านดุง ปี 2551

ถอดบทเรียนความก้าวหน้าของการบริการแพทย์แผนไทย รพร.บ้านดุง ปี 2551

                งานบริการแพทย์แผนไทย ของโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชบ้านดุง จุดเริ่มต้นก็จะอยู่ในช่วงเดียวกับหลาย ๆ โรงพยาบาล คือในช่วงปี 2542  ซึ่งช่วงนั้นเภสัชกรที่ทำงานในโรงพยาบาลตามอำเภอของจังหวัดอุดรธานีลงมาทำงานนี้กันพอสมควร ช่วงแรกถ้าจำไม่ผิดเป็น ภญ.ภาวดี ขาวสนิท เภสัชป๋อม ซึ่งมีกิจกรรมพาผู้สูงอายุ หรือผู้ป่วยรอรับยาออกกำลังกายตอนเช้ามืดกัน ขยันดีครับ พอระยะหลังมามีการบรรจุน้องๆ อายุรเวท ซึ่งโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชบ้านดุง มีถึง 2 คน และงานก็เริ่มดำเนินไปอย่างรวดเร็ว รวมทั้งได้รับการสนับสนุนจากผู้อำนวยการโรงพยาบาล และที่ทำให้รวดเร็วและสวยงามยิ่งขึ้นก็ได้รับความสนับสนุนจาก คุณติ๊ก (ภรรยาท่านผู้อำนวยการ) ซึ่งเป็นหัวเรี่ยวหัวแรงในการจัดห้อง ตกแต่งในรูปแบบพื้นเมือง สวยและดูดีมากครับ และในความสวยนั้นยังมีงานบริการที่ดีขึ้น มีคุณภาพมากขึ้น ไม่ใช่สวยสถานที่อย่างเดียว  การขยับขยายปรับปรุงถึงแม้ว่าช่วงปรับปรุงแรก ๆ นั้นจะมีบางข้อที่ไม่ได้มาตรฐานบ้างแต่ก็เป็นไปด้วยความเรียบร้อยและดีขึ้นเรื่อย ๆ มาถึงปัจจุบันมีเภสัชกรที่เข้ามาดูแล คือ ภญ.จีรภา การคุโน และ ภก.ประเสริฐ  ฤทธิศรธนู ซึ่งทำหน้าที่ควบคุมกำกับ วางแผน ประเมินผล และหาแนวทางพัฒนา ร่วมไปกับหนูแดง  (นภาพร) ซึ่งอายุรเวทอีกคนหนึ่งย้ายไปทำงานที่สถานีอนามัย ที่นี่งานบริการให้กับคนไข้เป็นที่รู้จักดีครับ เข้าใจว่าการประชาสัมพันธ์จะดีมาก ทำให้เป็นที่นิยมมาก เพราะผมนั่งอยู่ 25 นาที มีคนมาขอใช้บริการที่ไม่สามารถให้บริการได้เพราะคิวเต็มถึง 2 คน   เอาละทีนี้มาลองดูสถานภาพตามที่ผู้ประเมินเห็นนะครับ

                สำหรับสถานที่นั้นการจัดสถานที่แบบเรียบง่ายผสมผสานไปกับมีของพื้นเมืองประดับตกแต่ง ดูดี ไม่มากไปไม่น้อยไป มีตู้ยาสำหรับท่านที่ต้องการเลือกซื้อ ก็เป็นผลิตภัณฑ์จากโรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศวร์นั่นเอง การลงทะเบียนของที่นี่ใช้ระบบคอมพิวเตอร์ มีเตียงนวด 3 เตียง ยังไม่มีการอบสมุนไพร บรรยากาศในห้องอบอวลด้วยกลิ่นแบบที่ใคร ๆ เดินเข้าไปก็จะรู้ได้ว่าเข้าสู่แดนแพทย์แผนไทยแล้ว (กลิ่นลูกประคบ กลิ่นการบูร)  ถ้าว่ากันเรื่องสถานที่ด่านหน้านี้ก็จัดได้ว่าอยู่แถวหน้า ๆ ของจังหวัดอุดรธานีได้เลย  การเปลี่ยนเสื้อผ้าจะมีห้องที่มีตู้เก็บเป็นตู้เหล็ก (ยังไม่หรูขนาดโรงพยาบาลโนนสะอาด) แต่ก็ใช้การได้ดี ในห้องจะมีฉากพับแบ่งเป็นส่วนหญิงกับชาย  (ผมสงสัยแต่ว่าคนไข้ไม่ค่อยที่จะมาพร้อมกันมาก ๆ เหมือนโรงพยาบาลอุดรธานี การแบ่งนี้จะทำให้ม่ข้อจำกัดอะไรหรือเปล่า)  ทีนี้ก็มาถึงเรื่องเสื้อผ้า ก็เป็นอีกเรื่องหนึ่งที่เป็นต้นแบบให้กับหลาย ๆ ที่คือใช้ผ้าพื้นเมือง ห้องส้วมของส่วนบริการนี้มีจัดเอาไว้ค่อนข้างเฉพาะส่วนเลย สรุปแล้วเรื่องสถานที่ ดีครับ

                มาดูเรื่องบุคลากรบ้าง ทีมนำหรือหัวหน้างาน ไม่แน่ใจว่าเป็นเภสัชกร หรือน้องหนูแดง แต่จะเป็นใครก็ไม่น่าจะมีปัญหาอะไร เพราะการควบคุม กำกับ วางแผน ประเมินผล พัฒนา ย่อมเกิดจากคนในเข้าถึงและเข้าใจอยู่แล้ว พนักงานนวดที่นี่นอกจากหนูแดงแล้ว มีหมอนวดอีก 3 คน ขนาดนั้นก็ยังมีการ Loss คนที่มาขอรับบริการ

                โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชมีการพัฒนาเรื่องของคุณภาพดีอยู่แล้ว การกำหนดบทบาทหน้าที่ การกำหนดวิธีการปฏิบัติงานก็ย่อมได้มาตรฐานแล้ว

                ในเรื่องของงานบริการก็ครบถ้วน ขาดแต่เรื่องการใช้ยาสมุนไพรสำเร็จรูป ตรงนี้เห็นว่าเภสัชกรน่าจะเข้ามามีบทบาทในเรื่องนี้ให้มากขึ้นในการคิดกลวิธีการส่งเสริมการใช้ยาสมุนไพรสำเร็จรูป

หมายเลขบันทึก: 193807เขียนเมื่อ 12 กรกฎาคม 2008 15:57 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 01:00 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท