คู่มือผู้บริหารโครงการ "พัฒนาการจัดการความรู้ใน รพ. ภาคเหนือตอนล่าง" (ตอน 4)


Link ตอนที่ 3

บทที่ 2
การบริหารเครือข่ายการจัดการความรู้

    ในการดำเนินการพัฒนาเครือข่าย การจัดการความรู้ เพื่อให้เกิดการสร้างเครือข่าย,  การขยายตัวและการบูรณะเครือข่ายการจัดการความรู้ที่เป็นไปตามวงจรชีวิตของเครือข่าย จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องมีการบริหารเครือข่าย การจัดการความรู้ โดยอาศัยเครื่องมือทางการบริหารโดยเฉพาะ
การวางแผน  การจัดโครงสร้างและบทบาทหน้าที่ของสมาชิกเครือข่าย การสื่อสาร  การประสาน  ความร่วมมือ  การจัดการความสัมพันธ์ของสมาชิก  การจัดสรรงบประมาณ ตลอดจนการติดตามประเมินผลเพื่อหาโอกาสพัฒนาปรับปรุงแผนงานกิจกรรมโครงการของเครือข่ายจัดการความรู้อย่างต่อเนื่อง ซึ่งการดำเนินการเพื่อบริหารเครือข่าย จะมีความคล้ายคลึงกับการบริหารโครงการทั่วไปเพียงบางส่วนเท่านั้น ผู้เขียนได้ค้นพบปัจจัยที่แตกต่างระหว่างการบริหารเครือข่าย จัดการความรู้ และ การบริหารโครงการ ซึ่งในบทนี้จะได้นำเสนอความแตกต่างลักษณะการบริหารดังกล่าว นอกจากนั้นยังได้กล่าวถึงลำดับขั้นตอนและวิธีการบริหารเครือข่ายจัดการความรู้รซึ่งเป็นเครื่องมือสำคัญที่ช่วยให้การพัฒนากิจกรรมเครือข่ายดำเนินไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตลอดจนโครงสร้างทีมงาน บทบาท หน้าที่ ของสมาชิกทีมงานบริหารเครือข่ายสามารถบรรลุวัตถุประสงค์ของโครงการ ดังรายละเอียดต่อไปนี้

1.1    ความแตกต่างระหว่างการบริหารจัดการเครือข่ายการจัดการความรู้และการบริหารโครงการ

       จากมุมมองของผู้เขียนที่ได้มีประสบการณ์ในการบริหารโครงการ และการบริหารเครือข่ายจัดการความรู้มาเป็นระยะเวลาอย่างน้อย 2 ปี ได้พบถึงความแตกต่างของการบริหารและการดำเนินงาน ระหว่างการบริหารจัดการเครือข่ายจัดการความรู้ และการบริหารโครงการ ดังจะนำเสนอตามตารางข้างล่างต่อไปนี้

ตารางที่ 2.1  แสดงปัจจัยที่แตกต่างระหว่างการบริหารเครือข่ายการจัดการความรู้และการบริหารโครงการ
ปัจจัย
การบริหารเครือข่ายจัดการความรู้
การบริหารโครงการ
เป้าหมายโครงการ
·    มุ่งเน้นการสร้างความสัมพันธ์ร่วมกัน ความไว้วางใจ
·   
สร้างกระบวนการเรียนรู้ร่วมกันระหว่างสมาชิก
·   
พัฒนาวิธีปฏิบัติที่เกิดจากการทำงาน
·   
การให้ Empowerment แก่สมาชิก
·   
เน้นย้ำการมีส่วนร่วมและความยืดหยุ่นของแผนงาน
·    มุ่งเน้นผลลัพธ์ความคุ้มค่าของเวลาต้นทุน คุณภาพ
·   
การมีส่วนร่วมและความร่วมยืดหยุ่นของสมาชิกและแผนงานมีน้อย
·   
เน้นผลสำเร็จของงาน  ซึ่งขาด
การสร้างกระบวนการเรียนรู้ร่วมกันระหว่างสมาชิกในโครงการ
วงจรชีวิตของ
การพัฒนา
   
  ·    มีกำหนดเวลาเริ่มก่อตัวถึงระยะอิ่มตัวและเมื่อถึงวงจรชีวิตระยะอิ่มตัว   หากได้รับการกระตุ้นให้เกิดประเด็นร่วมที่เกิดขึ้นใหม่ด้วยความสนใจของสมาชิกอย่างต่อเนื่อง จะทำให้ขั้นตอนวงจรชีวิตในระยะถดถอยหายไป เกิดการพัฒนาอย่างต่อเนื่องไม่มีวันสิ้นสุด
·   
ไม่มีจุดสิ้นสุดของเครือข่ายหากสมาชิกได้กำหนดประเด็นร่วมการพัฒนาต่อเนื่องโดยต่อยอดพัฒนาความรู้เดิมไปเรื่อย ๆ
·    กำหนดเวลาเริ่มต้นจนกระทั่งปิดโครงการ มีระยะเวลาที่แน่นอน สามารถกำหนดได้
·   
มีจุดสิ้นสุดคือการปิดโครงการที่กำหนดชัดเจนเป็นไปตามวงจรชีวิตของโครงการ
ด้านการวางแผน
·    การวางแผนที่ยืดหยุ่น สามารถปรับเปลี่ยนได้ตามสถานการณ์ สามารถยืดหยุ่นเวลา และค่าใช้จ่ายได้
·    การวางแผนที่ค่อนข้างเข้มงวด เป็นไปตามเวลาและงบประมาณ
ด้านการจัดโครงสร้างการดำเนินงานและบทบาทหน้าที่ทีมงาน
·    โครงสร้างที่หลวม ๆ
·    ไม่เน้นอำนาจเชิงโครงสร้าง
·   
เน้นโครงสร้างความสัมพันธ์แห่งความไว้วางใจ และความร่วมมือของสมาชิก
·   
การบริหารจัดการที่ไม่มีกรอบชัดเจน เน้นความต้องการและความพึงพอใจของสมาชิก
·    โครงสร้างที่ชัดเจน
·   
เน้นย้ำอำนาจตามสายการบริหารงานของโครงการ
·   
การบริหารจัดการที่มีกรอบ, กฎระเบียบที่ชัดเจน
ด้านการติดต่อสื่อสาร
·    สมาชิกและทีมงานเครือข่ายมีการดำเนินการติดต่อสื่อสารและการประสานงานทั้งทางการและไม่เป็นทางการ
·   
จุดมุ่งหมายในการติดต่อสื่อสาร เพื่อการสร้างกระบวนการเรียนรู้ และเพื่อการแลกเปลี่ยนความรู้ระหว่างสมาชิก
·    เน้นการสื่อสารแบบเป็นทางการมากกว่าไม่เป็นทางการ
·   
จุดมุ่งหมายในการสื่อสาร มุ่งเน้นเป้าหมายโครงการ   ด้านความคุ้มค่า ต้นทุน และคุณภาพ
ความร่วมมือและพันธะสัญญา

·    สมาชิกเครือข่ายและทีมงานบริหารเครือข่าย เกิดความร่วมมือด้วยความสมัครใจก่อให้เกิดพันธะสัญญาทางใจโดยความสมัครใจ

·    ความร่วมมืออาจจะโดยสมัครใจหรือไม่สมัครใจก็ได้ในทีมงานบริหารโครงการ
จุดมุ่งหมายในการติดตามและประเมินผล
·    เน้นติดตามประเมินผลนำเอาสิ่งที่ได้ไปปรับปรุงการทำงาน เพื่อหาโอกาสพัฒนางานในครั้งต่อไป
·   
สร้างบทเรียนรู้ในการพัฒนางาน
·    เน้นควบคุมและสั่งการเพื่อผลสำเร็จของโครงการโดยมีการกำหนดตัวชี้วัดที่มีการกำหนดการวัด
อย่างชัดเจน

 

คำสำคัญ (Tags): #คลังความรู้
หมายเลขบันทึก: 19352เขียนเมื่อ 21 มีนาคม 2006 14:27 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 14:33 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท