คนตานี
saifuddeen Abu Ni-nasreen (سيف ألدين) ibn ni-umar ibn ni-kejik An-nuree

90.ขอเท็จจริงของ ปตท เป็นอย่างนี้จริงหรือ


ปตท

จริงอย่างนี้ไหม กำไรของ ปตท

 

หากคุณเห็นด้วย.. รบกวนช่วยส่งต่อกันเยอะๆ เพื่อส่วนรวม

ใครดูรายการของคุณสัญา คุนากร
ได้คุยเรื่องน้ำมันในประเทศไทย ฟังเเล้วช๊อคจริงๆครับเพื่อนๆ
ทางคุณสัญาได้เชิญอดีตข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ในกระทรวงพลังงานมาเล่าให้ฟัง
ซึ่งผู้ใหญ่ท่านนี้เป็นข้าราชการระดับสูงในกระทรวงพลังงานในสมัยพลเอกเปรม

ได้ฟังท่านเล่าเเล้วผมขนลุก...ครับ
ผมเข้าใจผิดมาตลอดว่าเมืองไทยไม่สามารถผลิตนำมันได้เองต้องนำเข้าจากต่างประเทศ
ซึ่งท่านบอกว่าเมืองไทยมีกำลังผลิตได้ 1,000,000 บาร์เรล/วัน(ปตท.)
เเละเมืองไทยใช้น้ำมันวันละ 700,000 บาเรล/วัน
เเละเมืองไทยส่งออกน้ำมันประมาณ 100,000 บาเรล/วัน

ฟังเเล้วเพื่อนคิดยังงัยครับ
เเละที่เเย่กว่านั้น..น้ำมันที่ส่งออกไปขายในต่างประเทศราคาถูกกว่าที่ขายในเมืองไทยหลายบาทถ้าเทียบต่อลิตร
ตอนนี้มาเลเซียใช้น้ำมันเบนซินเเละดีเซลประมาณลิตรละ 20 บาทต้นๆ
ท่านบอกว่าสาเหตุที่ทำให้น้ำมันราคาเเพง เพราะว่าอธิบดีหรือผู้บริหารระดับสูงในกระทรวงพลังงานถือหุ้นบริษัทโรงกลั่น
ทำให้ไม่มีการเข้ามาจัดการเเละดูเเล ราคาที่ปรับขึ้นทีละ .50 บาทเป็นการขึ้นจากโรงกลั่นซึ่งราคาที่ปรับขึ้นไม่ได้มาจาก cost ต้นทุน เเต่ป็นราคาที่ตั้งขึ้นมาลอยๆ โดยอ้างอิงจากตลาดที่ผันผวนมากที่สุด ในที่นี้ท่านยกตัวอย่างตลาดสิงคโปร์ เเต่จริงๆเราซื้อจากตะวันออกกลาง

เเละอีกอย่างที่น่าตกใจ ท่านบอกว่าในประเทศไทยมี stock น้ำมัน 2 เดือนเเละหมุนเวียนอย่างนี้เรื่อยๆ พอเวลากระทรวงปรับน้ำขึ้นพวกพ่อค้าเอาน้ำมันใน stock มาปรับขึ้นด้วย
คิดดูเอาเองว่าเป็นเงินเท่าไหร่ ไทยใช้ 700000 บาเรล/วัน 2 เดือนกี่ลิตร ลิตรละ .50 บาท ลองคูณดู
บริษัทที่ได้กำไรเยอะมากคือ ปตท เพราะมีโรงกลั่น 5 โรง อีก 2 โรงเป็นของเอกชน
รวมในประเทศไทยมีโรงกลั่น 7 โรง เป็นของ ปตท 5 โรง

เเล้วท่านสรุปกำไรของปตทในรอบ 10 ปีที่ผ่านมา ประมาณปี 2540-2544 ปตท กำไรปีละ 22,000 ล้านบาทครับ

 ฟังเเล้วเป็นงัยครับพี่น้อง... กำไรเท่ากับงบประมาณ 1 กรมเลยทีเดียว

เเละที่สุดยอดกว่านั้น ปี 2545-2550 ปตทกำไรเพิ่มเป็น 50,000ล้านบาท/ปี
เเละที่สุดๆ คือ ในปี 2548 กำไร 195,000 ล้านบาท
ฟังเเล้วอยากให้ลูกทำงานบริษัท ปตท มั้ยครับเพื่อนๆ
กำไรดังกล่าวมาจากอะไรลองคิดดูครับ
ประชาชนตาดำๆอย่างเราเสียค่าน้ำมันลิตรละ 36 บาท
ถ้าเป็นรัฐบาลก่อนๆ น้ำมันขึ้น 3 บาท รัฐมนตรี นายก ต้องก้นร้อนเเล้ว
เเล้วรัฐบาลนี้ล่ะ..ตอนนี้ขึ้นไปกี่บาทเเล้ว เพื่อนๆลองคิดดูเเล้วกัน

ถ้า ปตท ลดกำไรลงเท่ากับ 20,000 ล้านบาท/ปี
เเค่นี้เราก็ใช้นำมันลิตร 20 บาทเเล้วครับ
(นี่เเหละเหตุผลที่ไม่อยากให้เเปรรูปอุตสาหกรรมพวกนี้ ซึ่งเป็นสิ่งที่ต้องใช้ในชีวิตประจำวัน)

นี่คือเหตุผลว่าทำไมพนักงานการไฟฟ้าถึงได้ประท้วงเวลามีการเเปรรูป
เพราะมันจะเป็นเหมือนน้ำมัน ซึ่งพอเข้าตลาดหุ้นจะมีผลประโยชน์ทับซ้อนตามมา
อธิบดี รัฐมนตรี เมียอธิบดี เมียรัฐมนตรี ถือหุ้นโรงกลั่น
ทำให้ไอ้พวกนี้ไม่เข้าไปดูเเลเเละจัดการอย่างจริงจัง
ทำให้น้ำมันเเตะลิตรละ 40 บาทเเล้ว ณ ปัจจุบัน

มาร่วมมือกันดีไหม...
ด้วยการไม่เติม esso, shell
และถ้าจะให้ดีกว่านี้..เราต้องร่วมมือกันไม่ซื้อมากกว่าที่จำเป็นต้องใช้
ถ้าทุกครั้งเราเคยเติม 1000 บาทหรือเต็มถ้ง.. คราวนี้เราจะไม่เติมมากกว่าที่เราจำเป็นต้องใช้

ตัวอย่างเช่น วันนี้จะวิ่ง 30 กม. เราก็เติม 4.5 ลิตรหรือ 200 บาท
จะวิ่งอีก 70 กม. เราก็เติม 10 ลิตรหรือ 400 บาท

จะวิ่งอีก 100 กม. เราก็เติม 14 ลิตรหรือ 500 บาท

อย่าเติมเยอะ...
ไม่ต้องไปตุนเพราะกลัวว่าพรุ่งนี้จะขึ้นราคา

คราวนี้สต็อกน้ำมันในคลังก็จะล้น
เพราะปริมาณที่เคยขายทุกวันก็จะถูกเลื่อนให้ต้องเก็บไปขายในอนาคต
ถ้ามันยังอยากขายก็ต้องลดราคาลงมา ให้มันรู้ว่าไผเป็นไผ
เคยมีคนศึกษากรณีไข่ไก่แพง และได้ลองทำล้กษณะนี้ได้ผลมาแล้ว

สั่งสอนให้บทเรียนมันหน่อย เริ่มลงมือปฏิบัติการได้เลย
ไม่ต้องลงทุนลงแรงอะไรเลย ขอเพียงช่วยกันกระจายข่าวไปให้มากที่สุด

สามัคคีคือพลัง...
ส่งมาให้อ่านกันเพราะอยากให้ราคาน้ำมันลดลงจริงๆ
พวกเราโดนโอเปครวมหัวขึ้นราคาอย่างไม่เป็นธรรม ก็น่าจะมีมาตรการที่จะต่อสู้ ตอบโต้กลับไปบ้าง
ข้อเสนอนี้ก็น่าจะเป็นข้อเสนอหนึ่งที่ถ้าร่วมกันทำจริงๆ ก็น่าจะแสดงอะไรออกมาได้บ้าง

 

คัดลอกมาจากเมลล์ที่เพื่อนๆ ส่งมา จะส่งกลับก็กลัว เลย ถามความคิดเห็น ด้วยความไม่รู้ ข้อเท็จจริง

 

จาก ช้างV8 203.146.16.3 อาทิตย์, 15/6/2551 เวลา : 09:16

คำสำคัญ (Tags): #ปตท
หมายเลขบันทึก: 193010เขียนเมื่อ 9 กรกฎาคม 2008 11:17 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 19:16 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (10)

อ่านแล้วเศร้าจังค่ะ ทุกวันนี้ก็อยู่ลำบากแล้ว ไปไหนมาไหนทีก็เปลืองค่าน้ำมันรถ ผู้ใหญ่ที่มีอำนาจน่าจะลงมาจัดการปัญหาได้แล้วนะคะ

สวัสดีครับ คุณ

Mrs Apinyaka Karomprath

อย่างว่าครับ ประชาชนเดือดร้อนรอได้

แต่นักการเมืองเดือดร้อน นี้........ ต้องมาก่อน ประชาชน

เป็นวิถีชีวิตไปแล้ว

คนไทยฉลาดนะครับ (แกมโกง) เท่าที่ทราบเราสามารถขุดเจาะน้ำมันได้ แต่เราขุดได้เราก็ขายให้ชาติมหาอำนาจกลางทะเล สุดท้ายก๊าซต่างๆส่งขายกลับมายังไทยในราคาโคตะระแพง จากความฉลาดของบางคน ทำเอาคนไทยหลายล้านคน (เดือดร้อน)

น้ำมันถึงแพงขึ้น ความดีจงขึ้นตาม...เป้นกำลังใจในการทำงานน้อง

สวัสดีครับ

เสี่ยงเล็กๆ ที่เข้ามาเยี่ยม

อย่างว่านะครับ เราไม่ใช้เจ้าของก็ลำบาก ประชาชน ก็เป็นแค่ประชาชน ตามบัตร ที่ราชการให้ไว้เท่านั้น

สิทธิอย่างอื่นก็แล้วแต่สถานการณ์ ละครับ ว่าจะให้มากน้อยแค่ไหน

......ประชาชน

.......ประชาชน

.........ประชาชน

อะไรที่จะได้รับ ตามสิทธิของประชาชน

สวัสดีค่ะคุณพี่หนุ่มคนตานี

  • เข้ามาอ่านและรับฟังข้อเท็จจริง...ที่เจ็บปวด...
  • สบายดีนะคะ
  • ระลึกถึงค่ะ

สวัสดีครับ สบายดีครับ พึ่งหายจากอาการปวดท้อง

ข้อเท็จจริงที่ปกปิด....ประชาชน

ระลึกและคิดถึงเช่นกัน

เครือข่าย ‘ทักษิณ’ ไม่เพียงแต่เป็นเชื้อชั่วที่ยังไม่ตาย แต่ยังเป็นเชื้อร้ายที่แข็งแรงคอยทำร้ายประเทศไทย ไม่เว้นแม้กระทั่งเรื่อง 'น้ำมันแพง' และ 'ปราสาทพระวิหาร' ที่กลายเป็นเรื่องสมประโยชน์เติมพลังให้เครือข่ายทักษิณอย่างแทบไม่น่าเชื่อ ขณะเดียวกันคนไทยทั้งประเทศต้องสูญเสียและเจ็บปวดกับความรู้สึกที่ว่า

"คนไทยทำร้ายคนไทยด้วยกันเอง”

น้ำมันแพงทำให้คนไทยน้ำตาเล็ด เพราะข้าวของแพง แต่กลุ่มคนเครือข่ายทักษิณ ตั้งแต่เพื่อนต่างชาติอย่าง 'โมฮัมเหม็ด อัลฟาเยด' เจ้าของห้างสรรพสินค้า แฮร์รอดส์ เพื่อนสนิททักษิณ กุนซือ และลิ่วล้อในคราบของผู้บริหารกิจการด้านพลังงาน และธุรกิจยักษ์ใหญ่อย่าง ปตท. กลับเริงร่ากับเม็ดเงินกำไร รายได้ เงินเดือน หุ้นและโบนัส และยิ่งคนไทยเสี่ยงต้องเสียดินแดนในเขตชายแดนไทย-กัมพูชา หลังจากปราสาทพระวิหารขึ้นทะเบียนเป็นมรดกแล้ว เครือข่ายของทักษิณยิ่งมีโอกาสร่ำรวยมากขึ้นจากบ่อน้ำมันและก๊าซในกัมพูชา

เรื่องราวเหล่านี้เกี่ยวพันกันอย่างทับซ้อน ลึกซึ้ง และเนิ่นนาน ด้วยผลประโยชน์ร่วมกันอย่างลงตัว

น้ำมัน-ก๊าซล้นกัมพูชา

นิตยสาร Positioning ฉบับเดือนกรกฎาคม 2008 รายงานไว้ว่า แหล่งน้ำมันและก๊าซของประเทศกัมพูชายังมีอีกจำนวนมาก ตามรายงานที่เปิดแผยโดย TE DUONG TARA ผู้อำนวยการ Cambodian National Petroleum Authority เมื่อ 2 ปีก่อนระหว่างการประชุมว่าด้วยเรื่องเทคโนโลยีปิโตรเลียมของอาเซียนครั้งที่ 4 ปรากฏแผนที่ประเทศกัมพูชาที่มีการสำรวจแหล่งพลังงาน พบแหล่งก๊าซ และน้ำมันทั้งบริเวณนอกชายฝั่งและชายฝั่งของประเทศ รวมทั้งทะเลสาบโตนเลสาบ ใจกลางประเทศกัมพูชา ซึ่งที่ผ่านมากัมพูชาได้เปิดให้ต่างชาติเข้าไปสำรวจขุดเจาะพื้นที่นอกชายฝั่งในอ่าวไทยแล้วบางส่วน เช่น เชฟรอน และไทยโดย ปตท.สผ. บริษัทลูกของ ปตท. โดยมีข้อตกลงที่ลงตัว แม้ว่าจะเป็นพื้นที่ทับซ้อนกันอยู่

นอกจากนี้ ยังปรากฏชัดว่ามีแหล่งน้ำมันบริเวณชายฝั่ง จังหวัดเกาะกง พื้นที่เป้าหมายที่ทักษิณจะไปลงทุนพร้อมกับโมฮัมเหม็ด อัลฟาเยด อย่างที่ พลเอกเตีย บัญ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม กัมพูชา ให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนไทยว่า ทักษิณจะลงทุนธุรกิจพลังงาน เช่น น้ำมัน ก๊าซธรรมชาติในกัมพูชา หลังจากที่ได้หารือกับ สมเด็จฯ ฮุนเซน นายกรัฐมนตรีกัมพูชาเรียบร้อยแล้ว เป็นขั้นตอนต่อจากที่ไทยให้ความช่วยเหลือกัมพูชามาตั้งแต่สมัยรัฐบาลทักษิณ ในการสร้างถนนหมายเลข 48 ที่เชื่อมต่อการเดินทางจากชายแดนไทย เกาะกง ไปยังพนมเปญให้สะดวกขึ้น ซึ่งการเปิดถนนยังมี สมชาย วงศ์สวัสดิ์ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ในฐานะน้องเขยของทักษิณ ร่วมพิธิเปิดอีกด้วย

และที่เกาะกงนี้ ยังมีแหล่งพักผ่อน รีสอร์ตดังอย่าง สีหนุวิลล์ เป็นจุดขาย อีกในปัจจุบัน

ทักษิณ-อัลฟาเยด-ปตท.สผ.

ทักษิณและกัมพูชากำลังพัฒนาความสัมพันธ์เพื่อผลประโยชน์ด้านพลังงาน นับเป็นการขึ้นมายืนอยู่หน้าฉากอย่างชัดเจนของทักษิณ หลังถูกรัฐประหารออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของไทยเมื่อวันที่ 19 กันยายน 2549

ทักษิณไม่ได้เริ่มธุรกิจพลังงานนี้จากศูนย์อย่างแน่นอน เพราะความร่วมมือกับอัลฟาเยดอย่างที่บิ๊กกัมพูชาให้สัมภาษณ์นั้น คงไม่จบที่การพัฒนาเกาะกงให้เป็นเอนเตอร์เทนเมนต์คอมเพล็กซ์เท่านั้น เพราะอัลฟาเยดหากินกับอ่าวไทยและคนไทยมานาน ผ่าน ปตท.สผ. บริษัทลูกของ ปตท.

ย้อนหลังเมื่อธันวาคม 2542 สื่อต่างชาติอย่างน้อย 2 แห่ง ที่ยังสามารถสืบค้นข้อมูลได้ทางเครือข่ายออนไลน์ คือ Asian Economic News และนิตยสาร Offshore ลงข่าวพร้อมเพรียงกัน ว่า

"หลังจากโมฮัมเหม็ด อัลฟาเยดจัดตั้ง บริษัท แฮร์รอดส์ เอเนอร์ยี (Harrods Energy) ก็ได้สิทธิสำรวจน้ำมันใน 4 แปลงขุดเจาะในอ่าวไทย คือ B2/38, B11/32, B11/38 และ B12/32 ห่างจากชายฝั่งระยอง 150 กิโลเมตร โดยมีศักยภาพในการขุดเจาะน้ำมันวันละ 8,000 บาร์เรล ซึ่งในการสำรวจขุดเจาะครั้งนั้น Harrods Energy ถือหุ้น 50 เปอร์เซ็นต์ในการลงทุนสำรวจขณะที่ ปตท.สผ. ถือหุ้น 50 เปอร์เซ็นต์ที่เหลือ”

นิตยสาร Positioning ยังรายงานด้วยว่า แฮร์รอดส์ เอเนอร์ยี เปลี่ยนชื่อเป็นเพิร์ลออยล์ในเวลาต่อมา มีบริษัทในไทยรวม 8 บริษัท โดยผู้ถือหุ้นใหญ่คือบริษัทที่จดทะเบียนในบริติชเวอร์จิ้น

การเข้ามาของอัลฟาเยด อาจไม่ง่าย หากไม่มีเทคโนแครต เสนาบดีของไทยกรุยทาง นี่คือผลพวงที่สะท้อนให้เห็นชัดเจนถึงองค์กรที่กลวง จนทำให้กลุ่มคนที่ต้องการหาประโยชน์เข้ามาได้อย่างง่ายดาย และเป็นเวลานาน โดยเฉพาะ ปตท. หน่วยงานที่เคยเป็นความหวังของคนไทยด้านพลังงาน

ไม่ผิดหาก ปตท. จะกำไร และมีเป้าหมายอย่างที่ ประเสริฐ บุญสัมพันธ์ ซีอีโอของ ปตท. ตั้งเป้าหมายให้ ปตท. เป็นบริษัทข้ามชาติภายในปี 2555 มีรายได้เพิ่มขึ้นเป็น 94,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ จากปี 2550 ที่มีรายได้ 47,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือเพิ่มขึ้น 15 เปอร์เซ็นต์ต่อปี และตั้งแต่ปี 2555 รายได้เพิ่มอีกปีละ 8 เปอร์เซ็นต์ จนในปี 2563 มีรายได้เพิ่มขึ้นเป็น 176,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ พร้อมกับความเป็นบริษัทชั้นนำ ติดอันดับ 100 บริษัทของฟอร์จูนภายในปี 2555 จากเมื่อปี 2550 ปตท. อยู่ในอันดับ 207

บิ๊ก ปตท. รวยล้น

เมื่อบริษัทร่ำรวยย่อมทำให้ผู้บริหารที่มาทำงานที่นี่ร่ำรวยไปตามกัน รายงานประจำปีของ ปตท. ระบุชัดเจนถึงผลตอบแทนทั้งโบนัส เงินเดือนที่บอร์ด ปตท. ได้รับ และผู้บริหารที่ร่ำรวยจากหุ้น

เฉพาะบอร์ดกว่า 10 คน ได้เบี้ยประชุม โบนัส เฉพาะที่ทำงานให้ ปตท. เท่านั้นรวมกันถึง 42 ล้านบาทโดยมี โอฬาร ไชยประวัติ ซึ่งปัจจุบันมีตำแหน่งกรรมการสภามหาวิทยาลัยชินวัตร และประธานกรรมการตรวจสอบ บริษัท ชิน คอร์ปอเรชั่น จำกัด และ สุชาติ ธาดาธำรงเวช อาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง อดีตที่ปรึกษาผู้ทรงคุณวุฒิของนายกรัฐมนตรี (ทักษิณ) ได้รับสูงสุดคนละกว่า 3 ล้านบาท

สำหรับผู้บริหารระดับสูงของ ปตท. ตั้งแต่ระดับกรรมการผู้จัดการใหญ่ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ และผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ ได้เงินเดือน โบนัส รวมประมาณ 74 ล้านบาท ซึ่งผู้บริหารที่มีหุ้นมากสุดคือ จิตรพงษ์ กว้างสุขสถิตย์ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ กลุ่มธุรกิจสำรวจ ผลิต และก๊าซธรรมชาติ ณ 31 ธันวาคม 2550 มีหุ้นเหลืออยู่ 175,830 หุ้น คิดเป็นมูลค่าประมาณ 65,408,760 บาท เฉพาะประเสริฐที่วันนี้เจ้าตัวยืนยันว่าไม่มีหุ้นแล้ว แต่หากย้อนหลังไปเมื่อปี 2548 เขาได้หุ้น ESOP เมื่อวันที่ 1 กันยายน 2548 จำนวน 243,000 หุ้น (บันทึกราคาที่ 0.00 บาท) และ 1 ปีให้หลังได้โอนออก 60,700 หุ้น และ 29 กันยายน 2549 ได้อีก119,000 หุ้น จากนั้นตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2550 ได้ขายออกครั้งละ 5,000 หุ้นบ้าง 60,000 หุ้นบ้าง ในราคาเฉลี่ย 330-370 บาท จนล่าสุดเมื่อ วันที่ 1 พฤศจิกายน 2550 ได้ ESOP อีก 87,000 หุ้น

นี่คือความร่ำรวยของ ปตท. ซึ่งถูกตั้งคำถามว่าเป็นธรรมหรือไม่ที่รายได้มากมาย มาจากความลำบากของประชาชนคนไทย เพราะการผูกขาด และการคิดราคาน้ำมันอย่างไม่เป็นธรรม

น้ำมันแพงตามสูตรสิงคโปร์

ปตท. ผูกขาดธุรกิจโรงกลั่นทั้งหมด 5 โรงจากที่มีอยู่ทั้งหมด 7 โรง คิดเป็นกำลังการผลิตกว่า 70 เปอร์เซ็นต์ของทั้งประเทศ ปั๊มน้ำมันทั่วประเทศต้องซื้อจากโรงกลั่นในเครือของ ปตท. โรงกลั่นที่ต้องการกำไรทำให้ ปตท. อ้างอิงราคาน้ำมันในตลาดสิงคโปร์ที่เป็นแหล่งซื้อขายและปั่นราคาน้ำมันที่คิดล่วงหน้า 1-2 เดือน ทั้งที่โรงกลั่นซื้อน้ำมันดิบส่วนใหญ่จากตะวันออกกลางและบางส่วนจากในประเทศไทย

แม้จะมีเสียงคัดค้านว่าไม่จำเป็นต้องอ้างอิงราคาสิงคโปร์ แต่ ปตท. ก็พยายามชี้แจงว่าจำเป็นเพราะเป็นไปตามการคิดราคาในกลไกของตลาดโลก แม้จะฟังไม่ขึ้น แต่ ปตท. ก็ยังคงเดินหน้าคิดราคาน้ำมันที่ยึดราคาสูงเป็นที่ตั้ง นอกเหนือจากภาษีต่างๆ และค่าขนส่งหลายส่วนมาประกอบกันจนแพงอย่างที่ต้องจ่ายกัน

ราคาหน้าโรงกลั่น=ราคานำเข้าน้ำมันสำเร็จรูปจากต่างประเทศ (Import parity Price) ที่มาจากราคาน้ำมันจรในตลาดจรที่สิงคโปร์ (FOB)+ค่าขนส่ง+ค่าประกันภัย+ค่าจัดเก็บน้ำมัน+ภาษีศุลกากรนำเข้า

ค่าการตลาด=ค่าสารปรับปรุงคุณภาพ+ค่าขนส่ง+ค่าส่งเสริมการตลาด+ค่าผลตอบแทนในการดำเนินธุรกิจ

ในที่สุดปัญหาจากราคาน้ำมันแพง ไม่ใช่เพราะตลาดโลกหรือเพราะตลาดสิงคโปร์เพียงอย่างเดียวเท่านั้น เพราะประเสริฐได้เฉลยออกมาด้วยตัวเองว่าเพราะ ปตท. ต้องกำไรและ ปตท. อยู่ในตลาดหลักทรัพย์ฯ

“อยู่ที่ว่าสังคมไทยอยากให้ ปตท. เป็นยังไง และวันนี้ ปตท. ก็อยู่ในตลาดฯ (ตลาดหลักทรัพย์ฯ) ก็อยู่ที่สังคมไทยว่าอยากให้อยู่ในตลาดหลักทรัพย์ฯ หรือเปล่า ผมเป็นผู้บริหาร เป็นพนักงาน ปตท. ผมก็อยากทำอะไรให้ดีที่สุดแก่ทุกฝ่าย และสอดคล้องกับแนวทางที่ทั่วโลกทำกัน ถ้าเผื่อว่าเราซึ่งเป็นประเทศ Net Import Country มาบิดเบือนโครงสร้างราคาและเราต้องนำเข้า ประชาชนก็ไม่รู้จักประหยัด เราก็ต้องไปเอาก๊าซหุงต้มเข้ามาแล้ว เราต้องอุดหนุน สุดท้ายจะเอาเงินมาจากไหน ปตท. ก็อุดหนุนไปหลายหมื่นล้านบาทแล้ว ถ้าเอา ปตท. เป็นหน่วยอุดหนุน ปตท. ก็ต้องไปเป็น Non Profit Organization ก็อย่าให้ ปตท. เป็นบริษัทอยู่ในมหาชน ก็เอา ปตท. ออกจากตลาดฯ ปตท. ก็จะเป็นเหมือนรัฐวิสาหกิจที่จะไม่สามารถสนองนโยบายรัฐได้เหมือนในบางรัฐวิสาหกิจ”

ณ วันนี้เค้าลางที่คนไทยจะต้องลำบากต่อไปกับราคาพลังงานที่แพงขึ้นกำลังชัดขึ้น เพราะไม่ว่าจะเป็นก๊าซ แอลพีจี เอ็นจีวี และแม้แต่อี 85 ก็กำลังถูกครอบงำด้วยกลุ่มทุนที่มีรากฐานมาจากธุรกิจที่ต้องการกำไรเป็นที่ตั้งทั้งสิ้น และที่สำคัญคือการผูกขาดโดย ปตท.

กลุ่มทุนฮุบ E85-LPG-NGV

ไม่ว่าจะเป็น E20 หรือ E85 คือหนทางทำให้คนไทยได้ใช้น้ำมันถูกขึ้น เพราะมันเป็นน้ำมันแก๊สโซฮอล์ที่นำเอทานอลมาผสมน้ำมันเบนซิน ซึ่งเอทานอลมาจากพืชและมันสำปะหลัง

โรงงานเอทานอลขนาดใหญ่ ล้วนมาจากทุนระดับบิ๊ก ไม่ว่าจะเป็นของค่ายเบียร์ช้างที่เปิดเผยตัวชัดเจน และยังมีเครือข่ายที่ไม่เปิดเผยตัวชัดเจน ทั้งกลุ่มเบียร์สิงห์ กลุ่มคอมลิงค์ ตัวแทนและกลุ่มของ ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล อดีตผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย จนมาถึงกลุ่มเทมาเส็กที่ยอมจ่ายเงินให้ทักษิณ 73,000 ล้านบาท เพื่อซื้อหุ้นชินคอร์ป

เช่นเดียวกับธุรกิจก๊าซที่ต้องยกให้ว่าเป็นลับ-ลวง-พรางฉบับ ปตท. และเครือข่ายทักษิณที่แนบเนียน เพราะผู้เล่นในตลาดก๊าซ LPG ที่รับช่วงจาก ปตท. ไม่ว่าจะเป็นสยามแก๊สหรือเวิลด์แก๊สล้วนก๊วนเดียวกัน

สยามแก๊ส หรือ สยามแก๊สแอนด์ปิโตรเคมีคัลส์ ที่กำลังเข้าตลาดหุ้นในเร็ววัน ก็พบชื่อ พลเอกชัยสิทธิ์ ชินวัตร อดีตผู้บัญชาการทหารบก ลูกพี่ลูกน้องของอดีตนายกฯ ทักษิณเป็นประธานกรรมการ ส่วน เวิลด์แก๊ส นั้นถือหุ้นเกือบ 100 เปอร์เซ็นต์โดย ปิคนิค คอร์ปอเรชั่น ที่รุ่งเรืองจากธุรกิจก๊าซ และถังก๊าซ จนเข้าตลาดหุ้นได้ในช่วงรัฐบาลทักษิณ มีผู้ถือหุ้นใหญ่คือคนใน ตระกูลลาภวิสุทธิสิน อดีตนายทุนของพรรคไทยรักไทย

นี่คือเครือข่ายที่น่าสะพรึงกลัว เพราะก่อนแปรรูป ปตท. รัฐบาลใช้นโยบายตรึงราคาก๊าซหุงต้ม ขายถังละ 160 บาท หลังเข้าตลาดฯ ราคาเพิ่มมาเป็นถังละ 290-300 บาท

จึงไม่แปลกหาก ปตท. จะเดินหน้าแยก LPG เป็น 2 ราคา เพราะบรรดาโบรกเกอร์ทั้งหลายต่างวิเคราะห์หุ้น ปตท. ว่า ราคาต่ำของ LPG เป็นปัจจัยกดดัน ปตท. ในเชิงสร้างกำไร เนื่องจากปัจจุบันรัฐมีการควบคุมราคาขาย LPG ในประเทศ 315 เหรียญต่อตัน ขณะที่ราคาส่งออกในตลาดโลกสูงถึง 800 - 900 เหรียญต่อตัน ซึ่งเมื่อปีที่แล้ว ปตท. มียอดส่งออก LPG 8.9 พันบาร์เรลต่อวัน ลดลงจากปี 2549 ถึง -51.8 เปอร์เซ็นต์ เพราะมีการใช้ภายในประเทศเพิ่มขึ้น

นี่จึงเป็นนัยสำคัญว่าทำไมจึงต้องดันราคา LPG ในประเทศให้สูง โดยตั้งราคา 2 มาตรฐานเพื่อตรึงราคาภาคครัวเรือนเพื่อรักษาความนิยมของรัฐบาลต่อไป ขณะที่ลอยตัวราคาภาคขนส่งและอุตสาหกรรมจะ ช่วยลด Demand ของ LPG ในตลาดรถ เพื่อให้ปริมาณ LPG เหลือมากพอให้ ปตท. ส่งออกทำกำไรได้มากยิ่งขึ้นกว่าเงินที่ได้รับจากการชดเชยกองทุนน้ำมัน และยังเป็นเครื่องมือช่วย ปตท. ครองตลาดก๊าซเพื่อยานยนต์ด้วย NGV แต่เพียงผู้เดียว ไม่ต่างจากการ“ยิงกระสุนนัดเดียวได้นกสองตัว

ตราบเท่าที่ ปตท. ยังสามารถซื้อสื่อและสร้างภาพด้วยงบโฆษณาพีอาร์และซีเอสอาร์ ปีหนึ่งหลักพันล้านบาท ผนวกเข้ากับเชื้อทักษิณและการผูกขาดของ ปตท. และกลุ่มทุนที่เหนียวแน่น คนไทยคงต้องลำบากกับน้ำมันและก๊าซที่ถูกปั่นราคาไปอีกนาน

******************

LPG หรือก๊าซปิโตรเลียมเหลว มาจาก 2 แหล่ง คือการกลั่นน้ำมันดิบในโรงกลั่นน้ำมันและการแยกก๊าซธรรมชาติ จึงถือเป็นผลพลอยได้สุดๆ โดยมีต้นทางมาจาก ปตท. สำรวจและผลิตปิโตรเลียม (ปตท.สผ.) บริษัทในกลุ่ม ปตท.

นอกจากนี้ ยังให้สัมปทานขุดเจาะ 30 ปีในอ่าวไทย และบางแปลงมีพื้นที่คาบเกี่ยวไทย-กัมพูชา แก่บริษัท เชฟรอน สำรวจและผลิตปิโตรเลียม รวมทั้งร่วมทุน 16 เปอร์เซ็นต์ ในโครงการอาทิตย์ของ ปตท.สผ. อีกด้วย โดยเชฟรอนผลิตก๊าซธรรมชาติเหลวได้ 47,147 บาร์เรลต่อวัน นอกเหนือจากผลิตก๊าซธรรมชาติ 1,668 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน และน้ำมันดิบ 85, 387 บาร์เรลต่อวัน โดยส่งต่อก๊าซธรรมชาติทั้งหมดให้ ปตท. ที่เชฟรอนแจ้งว่า 75 เปอร์เซ็นต์นำไปผลิตกระแสไฟฟ้า 25 เปอร์เซ็นต์เป็นวัตถุดิบในอุตสาหกรรมเคมี

ดังนั้น เมื่อแยกก๊าซเรียบร้อยแล้ว ส่วนหนึ่งจะใช้เป็นวัตถุดิบผลิตกระแสไฟฟ้า ขณะที่ ปตท. ครองตลาดก๊าซธรรมชาติ NGV แต่เพียงผู้เดียวและใช้กับตลาดยานยนต์เท่านั้น โดย ปตท. ใช้เงินลงทุนไปแล้ว 60,000 ล้านบาท แต่ยังอยู่ในภาวะขาดทุนสะสมกว่า 6,000 ล้านบาท

ส่วนที่เป็นก๊าซเหลว LPG นั้น นอกจาก ปตท. จะขายปลีกมีส่วนแบ่งตลาดรวม 45 เปอร์เซ็นต์ยังขายส่งให้บริษัทก๊าซ โดยมีสยามแก๊สแอนด์ปิโตรเคมีคัลส์และเวิลด์แก๊สเป็นยักษ์ใหญ่รองจาก ปตท. ด้วยส่วนแบ่งตลาดประมาณ 25 เปอร์เซ็นต์และ 21 เปอร์เซ็นต์ตามลำดับ

ไอ้พวกนี้เราต้องเอามาประหาร ไอ้ไฝ

พลังงานไทย พลังงานใคร โรงกลั่นก็เป็นธุรกิจที่มีแต่กำไรส่วนคนไทยขาดทุนทั้งปีทั้งชาติ

·  ในการทำธุรกิจ ย่อมมีทั้งขึ้น-ลง เป็นธรรมดา ธุรกิจโรงกลั่นก็เช่นเดียวกัน ที่มีทั้งขึ้นและลง คงไม่มีธุรกิจใดที่จะมีแต่ขึ้นอย่างเดียวหรอก มิเช่นนั้นคนก็คงแห่ไปทำธุรกิจนั้นกันหมดแล้ว ที่ผ่านมาโรงกลั่นก็มีขาดทุน เพราะถ้ามีแต่กำไรจริง ทำไมในปี 2546 บริษัท เชลล์ ถึงต้องขายโรงกลั่นน้ำมันระยอง (RRC)? เหตุผลคือ ไม่สามารถแบกรับภาระขาดทุนได้ และถ้าไปดูข้อมูลผลประกอบการ ปี 2551 จะเห็นได้ว่า โรงกลั่นขาดทุนรวมกันหลายหมื่นล้านบาท

·  ที่สงสัยกันว่าพลังงานไทย พลังงานใคร ทำไมโรงกลั่นถึงส่งออกน้ำมันไปต่างประเทศในราคาที่ถูกกว่าขายให้คนไทย ก็ต้องเข้าใจก่อนว่าโครงสร้างราคาน้ำมันบ้านเราเป็นยังไง มันประกอบด้วย 3 ส่วนหลักคือ

o ต้นทุนเนื้อน้ำมัน

o ค่าภาษีและกองทุน

o ค่าการตลาด

·  แล้วจะให้ทวงคืน ปตท ยังไง ก็ในเมื่อเวลาที่โรงกลั่นส่งออกน้ำมันไปขายต่างประเทศนั้น จะเป็นราคาที่ยังไม่รวมภาษีและกองทุน ซึ่งผู้นำเข้าแต่ละประเทศ จะต้องไปจ่ายภาษีและกองทุนอีกครั้งตามแต่ละประเทศจะเรียกเก็บ จึงทำให้เข้าใจผิดไปว่าโรงกลั่นส่งออกน้ำมันราคาถูกซึ่งจริงๆ แล้วเป็นการคิดกันคนละฐานราคาเท่านั้น

ดูจากกราฟค่าการกลั่นของโรงกลั่นในประเทศไทย



โครงสร้างราคาน้ำมันสำเร็จรูป (เฉลี่ยไตรมาสที่ 1/2555)



จะเห็นได้ว่า ความเป็นจริงที่ว่ากันว่า ปตท ส่งออกน้ำมันออกต่างประเทศถูกกว่าที่ขายในประเทศไทย ก็เพราะว่า ราคานั้นเป็นราคาที่ยังไม่รวมภาษีและกองทุนน้ำมันของแต่ละประเทศ ซึ่งประเทศต่างๆก็เก็บภาษีไม่เท่ากัน แล้วแต่ละประเทศก็คิดราคากันคนละฐานราคาเท่านั้น ดังนั้น ค่าน้ำมันประเทศไทยแพงเพราะภาษีและกองทุนที่เรียกเก็บนั่นเอง


พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท