CAR


การวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน (CLASSROOM ACTION RESEARCH : CAR)

การวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน (CLASSROOM ACTION RESEARCH : CAR)
                                                                   การวิจัยหน้าเดียว การปฏิบัติการในชั้นเรียน
             วิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน หมายถึง การทำงานที่เป็นระบบเพื่อแก้ปัญหา และพัฒนาในสิ่งที่เกี่ยวข้องกับการเรียนการสอน เพื่อให้ปัญหาหมดไป หรือทำสิ่งที่ดีอยู่แล้วให้ดียิ่งๆ ขึ้น การวิจัยในชั้นเรียนนี้จะไม่เน้นเรื่องรูปแบบ ระเบียบวิธีการวิจัย เพราะการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน ไม่เน้นการออกแบบวิจัยที่ซับซ้อน ทำได้โดยอาศัยประสบการณ์ของครูในการเก็บข้อมูลด้วยการสังเกต การบันทึกเป็นหลักเหตุผลของธรรมชาติในการวิจัยนั้น และผลของการวิจัยจะขึ้นอยู่กับความถนัดและความสนใจของแต่ละคน ดังนั้นผู้ที่ไม่มีความรู้เรื่องสถิติก็สามารถทำวิจัยในชั้นเรียนได้
            
ปัญหาที่อาจจำมาเป็นหัวเรื่องในการทำวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน สิ่งที่เป็นปัญหาหรือประเด็นที่น่าจะนำมาเป็นหัวเรื่องในการวิจัย เช่น วิธีสอนในเนื้อหาเฉพาะของวิชาต่างๆ ปัญหาขนาดของห้องเรียน ปัญหาด้านการเรียนรู้ของนักเรียน ปัญหาด้านภาษา ด้านบุคลิกภาพ การอ่าน การเขียน เวลา บรรยากาศ แรงจูงใจ เจตคติของนักเรียน การทำแผนการสอน สื่อการเรียนการสอน การวัดผลประเมินผล ระเบียบวินัย เป็นต้น หรืออาจมีสิ่งอื่นที่ครูค้นพบในห้องเรียน และเห็นว่าสิ่งนั้นมาขัดขวางการเรียนการสอน ก็สามารถนำมาเป็นประเด็นการวิจัยได้ทั้งสิ้น
              การนำหัวเรื่องหรือปัญหาลงสู่การทำวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนได้อย่างไร ดังที่กล่าวมาแล้วว่า การวิจัยคือการทำงานที่เป็นระบบ เป็นขั้นเป็นตอน หากท่านทำงานอย่างมีแบบแผนอยู่แล้ว ก็ทำวิจัยได้ง่ายๆ การทำงานที่เป็นระบบ ก่อให้เกิดผลงานนำสู่กระบวนการวิจัย ดังนี้

              1. การกำหนดปัญหา เช่น นักเรียนอ่านหนังสือไม่ออก ปัญหานี้ครูรู้ดี เห็นอยู่กับตาตนเอง เป็นปัญหาใกล้ตัว เป็นปัญหาที่แท้จริง หากแก้ไขได้ก็จะช่วยให้นักเรียนสามารถเรียนรู้ได้ดีขึ้น
              2. การเตรียมงาน ก็คือ การวางแผน เช่น พูดคุย ประชุมร่วมกับเพื่อนครูว่าจะทำอย่างไร ก่อน/หลัง เพื่อให้นักเรียนอ่านหนังสือออกและเรียนรู้ได้ดีขึ้น
              3. ลงมือแก้ปัญหา คือ การดำเนินการวิจัย เช่น ลงมือพัฒนาการเรียนการสอนตามขั้นตอนต่างๆ ที่ได้วางแผนไว้แล้ว และที่สำคัญ คือ ควรมีการปรับปรุง แก้ไขปัญหา อุปสรรค ทุกระยะอย่างต่อเนื่อง
             4. สรุปผล คือ ขั้นตอนของการรายงานผลการวิจัย อาจเขียนเป็นรายงานสั้นๆ เพื่อให้ทราบว่า การวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนประสบความสำเร็จมากน้อยเพียงใด
         สำหรับการเขียนรายงานการวิจัยควรเขียนให้ครอบคลุมขั้นตอนทั้งหมด ดูได้จากตัวอย่างตัวอย่างการเขียนรายงานการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน

               วันที่ 10 กันยายน 2550 การเข้าคิวในชั้นเรียน ฉันพบว่า นักเรียนในห้อง (ม.1/4) จะเข้าคิวเพื่อให้ตรวจงานหรือให้ตรวจการบ้าน ที่หน้าโต๊ะครูยาวขึ้นเรื่อยๆ ฉันหารือปัญหานี้กับนักเรียนในห้อง ก็ได้ข้อสรุปว่า ต่อไปนี้จะมีนักเรียนคนหนึ่งคอยจับเวลา ในทุกๆ 4 นาที มีนักเรียนกี่คนที่ยืนเข้าคิด และตัวฉันเองก็จะจดบันทึกว่า นักเรียนที่มายืนรอหน้าโต๊ะแต่ละคนมาด้วยปัญหาอะไร ต้องการความช่วยเหลืออะไร ทุกวันตอนเช้า ฉันจะประกาศว่า เมื่อวานจำนวนนักเรียนที่เข้าคิวโดยเฉลี่ยมีกี่คน หลังจากสัปดาห์แรกผ่านไป ฉันก็พบว่า จากจำนวนนักเรียนในห้องทั้งหมด 40 คน มีนักเรียน 8 คน ใช้เวลามากกว่าคนอื่น ฉันก็เลยพูดคุยกับนักเรียนกลุ่มนี้ถึงความสำคัญของการเรียนรู้ด้วยตนเอง การพึ่งตนเอง และฉันก็เปลี่ยนระบบการส่งงานจากที่เคยให้กองซ้อนกันบนโต๊ะ เป็นให้วางในถาดตระแกง 2 อันที่หลังห้อง ในปลายสัปดาห์ที่ 2 ฉันพบว่าคิวเริ่มหดสั้นลงจาก 6 คน โดยเฉลี่ย เหลือเพียง 2 คน พวกเราเห็นพ้องต้องกันว่าการศึกษาครั้งนี้คุ้มค่า และตกลงกันว่า เมื่อไรที่คิวยาวอีก เราจะใช้วิธีกระตุ้นแบบเดิมซ้ำอีก ฉันไม่คิดว่าคำพูดที่จริงจังของฉัน หรือการวางถาดตระแกง 2 อันนั้น จะอธิบายการเปลี่ยนแปลงนี้ได้ ฉันเดาว่าสาเหตุดังกล่าวน่าจะมาจากนักเรียนในห้องกำลังสนใจการทำให้คิวสั้นลง แต่การลงมือแก้ปัญหาครั้งนี้ก็บรรลุเป้าหมายตามที่ฉันต้องการ และนักเรียนก็รู้สึกสนุกที่ได้ร่วมอยู่ในการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนครั้งนี้
               ท่านคงมองเห็นภาพของการทำวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนด้วยกระดาษหน้าเดียว ว่าง่ายแสนง่าย และเกิดการพัฒนาผู้เรียนอย่างแท้จริง การวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนนั้นมีความยืดหยุ่นมากกว่าการวิจัยโดยทั่วไป ไม่ต้องมีการเขียนรายงานเสนอแนะสาระ
5 บท คือ เขียนบทนำ เอกสารที่เกี่ยวข้อง วิธีดำเนินการ เหมือนกับงานวิจัยเชิงวิชาการ เพียงเขียนอธิบายสั้นๆ ด้วยกระดาษ A4 เพียงหน้าเดียวก็ถือว่าเป็นการวิจัย เช่นกัน   อย่างไรก็ตาม ขอให้ผู้ที่จะทำการวิจัย ตระหนักอยู่เสมอว่าแม้การวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนจะทำโดยครูเพียงคนเดียว ทำวิจัยกับกลุ่มนักเรียนที่ครูสอนเท่านั้น ก็ไม่ควรทำอย่างโดดเดี่ยว แบบข้ามาคนเดียว ควรมีลักษณะเป็นการวิจัยแบบร่วมมือ (Collaborative Research) มีเพื่อนครูร่วมมือในทุกวงจรของการทำงาน ตั้งแต่ การวางแผน ลงมือวิจัย สังเกตการสอน และสะท้อนผลการทำงาน (Plan-Act-Observe-Reflect :PAOR)
                ซึ่งจะช่วยให้การวิจัยได้รับการตรวจสอบ และปรับปรุงพัฒนาจากผู้ปฏิบัติให้เข้าใจปัญหาร่วมกันอยู่เสมอ ทำให้การวิจัยสามารถนำไปใช้ประโยชน์แก้ปัญหาในชั้นเรียนได้อย่างแท้จริง (Research Utill-Zation)

               การวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน คือการลงมือแก้ปัญหา ไม่ใช่การสร้าง หรือการทดสอบความเป็นจริงของทฤษฎี ฉะนั้นเมื่อสามารถแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นในชั้นเรียนได้จริง ก็ไม่ต้องวิตกกังวลว่าวิธีการที่ใช้นั้นจะถูกหรือผิดอย่างไร เพราะจุดประสงค์ที่แท้จริงของการทำวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน ก็เพื่อต้องการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น และพัฒนาการเรียนการสอนในสถานการณ์จริง ประโยชน์ที่เกิดสามารถใช้ได้จริงกับนักเรียน
ที่มา : พิชัย ญาณศิริ. 2545. วิจัยหน้าเดียวการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน : Classroom Action Research : CAR.
วารสารวิชาการ . ปีที่ 5, ฉบับที่ 2, (กุมภาพันธ์) : 31-40.
ครูอภิชัย โรงเรียนนิคมสร้างตนเองจังหวัดระยอง 1  www.nikom1.net

หมายเลขบันทึก: 193007เขียนเมื่อ 9 กรกฎาคม 2008 10:54 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 มิถุนายน 2012 21:12 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

ขอบคุณมากที่ให้คำแนะนำ ตอนนี้เครียดมากกับ CAR นี่แหล่ค่ะโดยเฉพาะ CAR2 ไม่เข้าใจเลย มันคืออะไรกันแน่ มีตัวอย่างไหมคะ รบกวนด้วย

From

รตา

สวัสดีค่ะ ครูอภิชัย

หายไปนานเลย สบายดีนะค่ะ....แวะมาบอกว่าอากาศหนาวแล้ว อย่าลืมดูแลสุขภาพด้วยนะค่ะ....

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท