พ่อกับบทบาทใหม่ที่สำคัญ


การให้คำปรึกษาแบบคู่

เมื่อวันที23-25 เดือนมิถุนายน  2551  ได้ไปประชุมหาแนวทางการดำเนินงานเรื่องการให้คำปรึกษาแบบคู่  โดยให้คู่เพศสัมพันธ์  โดยเฉพาะสามีของหญิงตั้งครรภ์   ให้เข้ามารับการปรึกษาร่วมกับภรรยา  เพื่อจะได้ร่วมรับรู้และร่วมตัดสินใจ      ในการดูแลรักษาอาจจะเป็นทั้งของสามีเองหรือภรรยาก็ได้   เพราะตอนนี้ต้องให้สามีเข้ามามีบทบาทมีส่วนร่วม  ทำหน้าที่ของการเป็นพ่อตั้งแต่ภรรยาเริ่มตั้งครรภ์ ในอดีตถ้าภรรยาตั้งครรภ์สามีจะไม่เข้ามามีส่วนร่วมเพราะถือว่าเป็นเรื่องของภรรยา กับหมอและพยาบาล  สามีไม่เกี่ยวทั้งๆที่การทำให้ภรรยาตั้งครรภ์นั้นสามีเป็นคนเกี่ยวข้อง ร้อยเปอร์เซ็นต์   หมอและพยาบาลไม่ได้เกี่ยวข้องเลย  และภาระในการตั้งครรภ์และดูแลครรภ์เพื่อลูกตัวน้อยๆ   ก็เป็นหน้าที่ของภรรยาคนเดียว  ซึ่งก็เป็นอย่างนั้นมาตลอดและภรรยาทั้งหลายก็ก้มหน้าก้มตารับไป   โดยไม่ถามถึงหน้าที่บทบาทของพ่อเลย  และคิดว่าเป็นหน้าที่ของคนที่เป็นแม่ ที่จะต้องอุ้มท้องและดูแลลูกในท้องเอง  แม้บางครั้ง  อาจจะต้องการความเอาใจใส่  ความห่วงใย  และการดูแลจากสามีบ้าง   

              แต่ในปัจจุบันนี้ได้มีโรคที่ถ่ายทอดทางพันธ์กรรม  หรือถ่ายทอดจากพ่อแม่ไปสู่ลูกได้  ไม่ว่าจะเป็นโรคธาลัสซีเมียโรคดาวส์ซินโดรมแม้กระทั่งโรคที่ติดต่อทางเพศสัมพันธ์  ที่มีผลต่อลูกในครรภ์ เช่นโรค  กามโรค  ซิฟิลิส  หนองใน แผลริมอ่อน/ริมแข็ง  รวมทั้งโรคเอดส์   ในด้านการดูแลรักษา เมื่อเราตรวจพบก็จะให้การดูแลรักษาได้แต่เฉพาะภรรยา   เพราะสามีส่วนใหญ่ ่่จะไม่ยอมเข้ามารับการปรึกษาหรือดูแลรักษาด้วย  เพราะคิดว่าตรวจพบที่ภรรยา การรักษา ก็เป็น เรื่องของภรรยา    แต่หารู้ไม่ว่าโรคบางโรค  ที่ตรวจจากภรรยาไม่พบแล้วถ้าไม่ได้ตรวจสามีด้วย ลูกที่เกิดมา อาจจะติดโรคที่มีในพ่อแต่ไม่มีในแม่ได้    ก็จะทำให้เด็กไม่ได้รับการป้องกันแก้ไข  หรือการรักษาตั้งแต่อยู่ในครรภ์ 

จะเห็นได้ว่าโรคบางโรคสามารถป้องกันไม่ให้เกิดขึ้นได้   แต่ไม่มีการป้องกัน เพราะอาจจะ ไม่รู้มาก่อนก็ได้  เช่นโรคเอดส์   เพราะยังมีผู้ติดเชื้อรายใหม่เพิ่มขึ้น  ทั้งๆที่มีการให้ความรู้  การรณรงค์  กันมาตลอด  และในกลุ่มหญิงตั้งครรภ์ที่มาฝากครรภ์ที่โรงพยาบาล  ที่เราพบกันว่า  เมื่อตอนตั้งท้องแรก  มีการตรวจหาเชื้อเอช ไอ วี  แล้วตรวจไม่พบว่าติดเชื้อ  แต่จะมาติดเชื้อในท้องที่ 2 หรือ ท้องที่ 3  เป็นที่รู้ดีว่า  ภรรยาถ้ายังอยู่กันกับสามีคนเดิมแล้วติดเชื้อเอดส์  ก็แสดงว่าติดมาจากสามี  แต่สามีไม่เคยตรวจเชื้อเอดส์มาก่อน  จึงนำไปติดที่ภรรยาและมีโอกาสที่จะติดไปถึงลูกในท้องด้วย    ส่วนภรรยาที่ติดเชื้อเอดส์แล้วถ้าแยกทางกับสามี  หรือสามีเกิดมาเสียชีวิตก่อน  ก็ต้องหาหัวหน้า ครอบครัวใหม่คือมีสามีใหม่  เพื่อมาดูแลตนเองและลูก   ก็ไม่กล้าที่จะเปิดเผยผลเลือดตนเอง กับสามีใหม่   ก็จะเป็นการแพร่เชื้อไปสู่สามีใหม่ (เนื่องจากกลัวสามีแยกทาง  จึงทำให้สามีเป็นผู้ติดเชื้อ รายใหม่ได้)

       ดังนั้นในบทบาทของผู้ที่ให้การสนับสนุนการดำเนินงานแก่ผู้ปฏิบัติจึงต้องคิดหากลวิธี  ที่จะนำมาใช้ในระบบบริการ  เพื่อให้บริการแก่ประชาชนโดยคำนึงถึงสิทธิ และประโยชน์ ที่ประชาชนจะได้รับมากกว่าสิ่งอื่นใด  จึงต้องปรับบทบาทของความเป็นพ่อให้เพิ่มขึ้น   โดยหลังจากที่ภรรยาตั้งท้องแล้วสามีจะต้องเข้ามามีส่วนรับผิดชอบดูแลช่วยเหลือภรรยาอย่างไรบ้าง เริ่มตั้งแต่การมารับการปรึกษา  แล้วมาเข้าโรงเรียนพ่อแม่  เพราะการที่จะเป็นพ่อเป็นแม่คน  ควรจะมีการเรียนรู้ที่จะดูแลลูกตั้งแต่อยู่ในครรภ์  เพื่อจะได้เติบโตเป็นเด็กมีสุขภาพและพัฒนาการดี  และเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพในสังคม    ตอนนี้กรมอนามัยกำลังที่จะหาแนวทางลงสู่การปฏิบัติ  ก็ต้องติดตามกันต่อไปว่า  จะได้ผลมากน้อยเพียงใด   ที่ภรรยาไม่ติดเชื้อยังจะคงไม่ติดเชื้อตลอดไป และสามีที่ไม่ติดเชื้อก็จะไม่ติดเชื้อตลอดไปด้วย

              ความจริงแล้วปัญหาเหล่านี้จะไม่เกิดขึ้นเลย  ถ้าคนเรามีความรับผิดชอบต่อตนเอง  ต่อครอบครัว  และต่อสังคม  โดยการมีรักเดียวใจเดียว ถ้าเผลอใจไปก็ต้องใช้ถุงยางอนามัยทุกครั้ง   ไม่ว้าคุณผู้หญิงหรือคุณผู้ชายถ้าเห็นฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งพกถุงยางอนามัย  หรือเรียกร้องให้ใช้ถุงยางอนามัยก็อย่าได้ปฏิเสธเลย    เพราะคนรุ่นใหม่ต้องยืดอกพกถุงแล้วค่ะ   

           

 

 

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 191810เขียนเมื่อ 2 กรกฎาคม 2008 15:24 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 มิถุนายน 2012 09:50 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

* เป็นความรู้ที่ดีมากเลยครับคุณหมอ ผมมีเรื่องปรึกษาขอคำแนะนำได้ไหมครับ

คือว่า ตอนนี้ภรรยาของผมตั้งครรภ์ได้ ๖ เดือน ไปซาวด์ดูหมอบอกว่า"รกเกาะต่ำ" ผมและภรรยควรระมัดระวังในเรื่องใดบ้างครับ ขอบคุณมากนะครับถ้าคุณหมอจะกรุณาให้คำปรึกษา

* ผมจะติดตามตลอดไปนะครับ

  • ระวังการยกของหนัก การออกแรงมาก หรือการกระทบกระเทือน  การเดินมากๆ   การนั่งรถกระเทือน    งดการมีเพศสัมพันธ์ 
  • ควรอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์ มีการติดตามการรักษาอย่างใกล้ชิด    
  • หากพบว่าหากมีเลือดออกทางช่องคลอดต้องรีบไปพบแพทย์ทันที เพราะอาจจะเป็นอันตรายต่อทารกในครรภ์ได้ อีกทั้งถ้าเลือดออกมาจะส่งผลให้มารดาต้องเสียเลือดอีกด้วย
  • มีเลือดออกทางช่องคลอด ลูกดิ้นน้อยกว่า 10 ครั้ง/วัน มีอาการท้องแข็งตึงบ่อยๆ แนะนำให้รีบไปพบแพทย์ทันทีค่ะ
  • ขออนุญาตร่วมแชร์ค่ะ

 

  • สวัสดีค่ะพี่จันทร์เจ้า
  • แวะมาเยี่ยมบล็อกตามสัญญาแล้วนะคะ...
  • กอยเป็นพยาบาลอยู่ตึกหลังคลอด ได้สัมผัสชีวิตในบางมุมของที่พี่จันทร์เจ้าทำงาน (กับหญิงผู้ติดเชื้อที่คลอดบุตร)
  • ตอนเรียนโททำวิทยานิพนธ์การส่งเสริมพัฒนกิจของพ่อที่มีลูกคนแรก
  • ชื่นชมมากสำหรับผู้ที่เห็นความสำคัญของการส่งเสริมบทบาทพ่อ  ในทุกระยะของครอบครัว
  • ขอบคุณที่เราจะเป็นมิตรกันใน G2K นะคะ

ขอบคุณค่ะทั้งคำถามของนักรบพเนจร

และคำตอบของคุณสุธิดา

โลกของg2k ดีแบบนี้เอง

จะมีกัลยาณมิตรมาช่วยตอบปัญหาให้

ทำให้ผู้ถามได้คำตอบเลย

และขอชื่นชมคุณนักรบพเนจร

ที่ได้ทำบทบาทของพ่อเป็นอย่างดี

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท