คุยสบายๆ...เรื่อง Lab กับพยาบาล….


การสื่อสารตรงกัน...สร้างความสัมพันธ์ที่ดี

                     

พยาบาลอยากถามและ Lab อยากอธิบาย

          พยาบาลกับห้องปฏิบัติการตรวจวิเคราะห์หรือเรียกสั้นๆว่า ห้องLab ได้ทำงานร่วมกันตลอดไม่ว่าคนไข้หรือผลการตรวจวิเคราะห์ ซึ่งทำให้บางครั้งมีความเข้าใจไม่ตรงกันในด้านต่างๆ เลยเกิดความสัมพันธ์ไม่ค่อยราบรื่นในการสื่อสาร ดังนั้นพยาบาลอยากถามและห้องLab ก็อยากอธิบาย และได้จัดทำคู่มือสำหรับการเก็บสิ่งส่งตรวจสำหรับห้องปฏิบัติการ เพื่อให้ได้เข้าใจตรงกัน จึงมีงานวันนี้ขึ้นมาเป็นการคุยสบายๆ...เรื่อง Lab กับพยาบาล ซึ่งได้เชิญพยาบาลที่ทำงานเกี่ยวข้องกันทุกฝ่ายมาทำการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างกัน

              

                                  ......การมาพบกันเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างกัน.....

            

                ......เปิดงานและแนะนำตัววิทยากรทั้งสองท่านจากกลุ่มงานพยาธิวิทยาคลินิก.....

               

เปิดบ้านแนะนำ

          ตัวแทนห้องปฏิบัติการคือ คุณศิริรัตน์ ตันสกุล ¸และคุณอารีย์ ประสิทธิพยงค์ นำเปิดประตูบ้านและแนะนำสมาชิกของงานในกลุ่มงานพยาธิคลินิก ให้กลุ่มงานการพยาบาลได้รู้จักมากขึ้นทุกห้องปฏิบัติการ รวมทั้งวิธีการทำงาน วิธีเก็บสิ่งส่งตรวจ และการควบคุมคุณภาพ เพื่อเพิ่มความเชื่อมั่นในการตรวจให้ทราบ เป็นการ Open heart and  Open mind

       

 

วิธีการทำงาน

          ทางห้องLab ได้แจ้งวิธีการทำงานของแต่ละห้องปฏิบัติการว่าจะรับสิ่งส่งตรวจอะไรบ้าง เวลาเท่าไหร่ถึงเท่าไหร่ ต้องใช้เวลาในการตรวจนานไหม? ทำไม? การอธิบายให้ทราบ ทำให้ได้รู้ว่าเวลาส่งตรวจแล้วต้องได้ผลทันทีตามที่คุณพยาบาลต้องการไม่ได้ ซึ่งต้องมีขั้นตอนต่างๆมากมายกว่าผลจะออก ดังนั้นต้องใช้เวลาพอสมควร

 

สิ่งส่งตรวจ

·       การเก็บสิ่งส่งตรวจเป็นสิ่งหนึ่งที่จะทำให้ผลการตรวจวิเคราะห์ออกมาได้ถูกต้องตามความเป็นจริง

·       ความผิดพลาดจากการเก็บสิ่งส่งตรวจผิดหรือไม่ถูกต้อง ซึ่งได้นำมาอธิบายให้ทราบเพื่อจะได้แนะนำคนไข้ได้ถูกต้องต่อไป เช่น

-          การเก็บปัสสาวะ ต้องให้ได้ปริมาณ 10 CC. ขึ้นไป

-          การเก็บอุจจาระ เมื่อก่อนต้องงดเนื้อสัตว์และอาหารหรือยาบางชนิด ซึ่งอาจจะไปรบกวนผลการตรวจ Occult blood แต่ตอนนี้ไม่ต้องงดอาหารและอื่นๆแล้ว เนื่องจากได้พัฒนามาใช้น้ำยาที่ไม่มีผลต่อสิ่งเหล่านั้น

-          อุจจาระเวลาเก็บต้องไม่ใส่ทิสซูหรือไม้พันสำลีลงไปด้วย ให้ใส่ในภาชนะที่เตรียมไว้ และปริมาณพอตรวจตามคำแนะนำที่แจกให้ ไม่มากหรือน้อยเกินไป

·       การเจาะเลือด ให้งดอาหารนาน 8-12 ช.ม หรือหลัง 2 ทุ่มงดอาหารมาเจาะเลือดตอนเช้า ทานน้ำเปล่าได้อย่างเดียว เพื่อจะได้ผลการตรวจที่ถูกต้องและตรงกับความเป็นจริง และไม่รบกวนผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ เช่น ถ้าทานอาหารมา อาจทำให้การอ่านค่าเช่น น้ำตาลในเลือด กลายเป็นผิดปกติได้ หรือทำให้ส่วนที่จะตรวจ(น้ำเหลือง)มีสีขุ่นข้น รบกวนการตรวจได้ เป็นต้น

·       บางการทดสอบเลือดต้องใส่สารกันเลือดแข็งด้วย ต้องรู้ว่าใช้กับ test อะไร บางการทดสอบก็ใช้เฉพาะ clotted blood

เกณฑ์การปฏิเสธสิ่งส่งตรวจ

          ทางห้องLab จะมีเกณฑ์การปฏิเสธสิ่งส่งตรวจในห้องปฏิบัติการ เนื่องจากว่าทำให้ผลการตรวจอาจผิดพลาดหรือคลาดเคลื่อนได้ และไม่สามรถนำมาทดสอบได้  เช่น ชื่อ-นามสกุลไม่ตรงกับหลอดเลือดที่ส่งตรวจคู่มากับใบสั่งตรวจ จำนวนสิ่งส่งตรวจน้อยเกินไป การเก็บสิ่งส่งตรวจผิดวิธี  เป็นต้น สิ่งเหล่านี้มีความสำคัญทั้งสิ้น จึ่งปฏิเสธสิ่งส่งตรวจกลับไปยังผู้ที่ส่งมาให้แก้ไข และส่งมาใหม่ให้ถูกต้อง

            

ถาม-ตอบข้อข้องใจให้เข้าใจตรงกัน

          การถาม-ตอบข้อข้องใจให้เข้าใจตรงกันนี้ นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมาก ทำให้สิ่งที่เป็นช่องว่างของปัญหาหมดไปและคนไข้ที่มารับบริการก็ได้รับคำแนะนำที่เป็นประโยชน์ในการมาตรวจและผลการตรวจที่ได้ก็ถูกต้องตามความเป็นจริง ทำให้การรักษาได้ผลดีมีประสิทธิภาพและการพบกันของห้อง Lab กับพยาบาลก็จบลงด้วยความเข้าใจและรอยยิ้มมีความสัมพันธ์ที่ดีร่วมกัน.

                                             

                                                                                                             IMM2...post

หมายเลขบันทึก: 191629เขียนเมื่อ 1 กรกฎาคม 2008 17:20 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 19:14 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
สุดารัตน์ ดรพลก้อม

ชอบแนวคิดนี้มากเลยค่ะ อยากจะจัดแบบนี่ที่โรงพยาบาลของตัวเองบ้าง แต่ไม่แน่ใจว่าควรมีขอบเขตของการอธิบายแต่ละ Lab ยังไง เพราะเป็น Lab รวม (เอกชน)

สวัสดีค่ะคุณสุดารัตน์

·       การคุยกันแบบสบายๆเรื่องLabกับพยาบาลนั้นเป็นสิ่งสำคัญมาก เนื่องจากทั้งสองฝ่ายให้บริการผู้ป่วยและมักมีสิ่งที่เข้าใจไม่ตรงกันในหลายเรื่อง ซึ่งจุดนี้เองหากมีโอกาสพูดคุย ทำความเข้าใจกันจะทำให้ผู้ป่วยได้รับผลประโยชน์มากขึ้น

·       ขั้นตอนแรก ควรสำรวจคำถามหรือปัญหาที่ต้องการคำอธิบายจากพยาบาล มารวบรวมไว้ก่อน

·       จัดทำคู่มือการใช้บริการตรวจทางห้องปฏิบัติการเทคนิคการแพทย์ ซึ่งมีรายละเอียดการใช้บริการทางห้องปฏิบัติการทั้งหมดให้ทราบ

·       การพูดคุยกัน จะพูดถึงขอบเขตการบริการทั้งหมด แนะนำการทำงาน การควบคุมคุณภาพ วิธีการเก็บสิ่งส่งตรวจที่ถูกต้องและบอกให้ทราบถึงผลที่เกิดขึ้นจากความผิดพลาดของการเก็บสิ่งส่งตรวจไม่ถูกต้อง

·       กำหนดเกณฑ์การปฏิเสธสิ่งส่งตรวจ

·       สุดท้ายต้องให้เวลา ถาม-ตอบข้อข้องใจให้เข้าใจตรงกัน

·       อย่าลืมกลับมาเล่าสู่กันฟังบ้างนะคะ ขอบคุณที่แวะมาเยี่ยมค่ะ.

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท