ประสิทธิผลการใช้กระบวนการสร้างพลังเพื่อพัฒนาศักยภาพของผู้นำชุมชนในการดำเนินงานป้องกันแก้ไขปัญหายาเสพ


งานวิจัยจาก ส.ม1 มมส
ผู้วิจัย นางกชกร ชูแก้ว
ส.ม.1 มมส. สาขาพฤติกรรมศาสตร์และการส่งเสริมสุขภาพ


บทคัดย่อ

ปัญหายาเสพติดมีผลกระทบต่อทุกคน โดยเฉพาะผลกระทบต่อความมั่นคงของประเทศ การแก้ไขปัญหาดังกล่าวได้มีการดำเนินงานมาเป็นระยะเวลายาวนาน แต่ปัญหาของยาเสพติดยังไม่ลดลงเท่าที่ควรและขาดความต่อเนื่อง ดังนั้น ผู้ศึกษาจึงดำเนินการศึกษาประสิทธิผลการใช้กระบวนการสร้างพลังเพื่อพัฒนา ศักยภาพของผู้นำชุมชนในการดำเนินงานป้องกันแก้ไขปัญหายาเสพติดอย่างยั่งยืน การศึกษาค้นคว้าอิสระฉบับนี้ มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงการดำเนินงานป้องกันแก้ไขปัญหายาเสพ ติดของผู้นำชุมชนที่เกิดจากกระบวนการสร้างพลัง ในด้านความรู้เกี่ยวกับยาเสพติด ทัศนคติทางบวกต่อผู้เสพผู้ติดยาเสพติดและปัญหายาเสพติด การรับรู้บทบาทหน้าที่ความเชื่อมั่นในความสามารถของตนเองและการนับถือตนเอง ในการดำเนินงานป้องกันแก้ไขปัญหายาเสพติดอย่างยั่งยืน หรือกิจกรรม การดำเนินงานป้องกันแก้ไขปัญหายาเสพติดในชุมชน ประชากรที่ศึกษา คือ ผู้นำชุมชนในจังหวัดยโสธร อำเภอคำเขื่อนแก้ว ตำบลกู่จาน กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้นำชุมชน ตำบลกู่จานจำนวน 48 คน คัดเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) รูปแบบการศึกษาเป็นแบบกึ่งการทดลอง (Quasi-Experimental Design) ในวันที่ 20-22 พฤศจิกายน 2546 กิจกรรมประกอบด้วยการศึกษาดูงาน 1 วัน การอบรมเชิงปฏิบัติการ 2 วัน โดยใช้กระบวนการสร้างพลังร่วมกับการเรียนรู้และวางแผนแบบมีส่วนร่วม

ผลการศึกษาพบว่า หลังการดำเนินการพัฒนาศักยภาพผูนำชุมชนความรู้เกี่ยวกับยาเสพติด ทัศนคติทางบวกต่อผู้เสพ/ ผู้ติดยาเสพติดและปัญหายาเสพติด การรับรู้บทบาทหน้าที่ ความเชื่อมั่นในความสามารถของตนเองและหลังการทดลองมากกว่าก่อนการทดลองอย่าง มีนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 แต่การนับถือตนเองภายหลังการพัฒนาศักยภาพไม่มีความแตกต่างกัน หลังการพัฒนาศักยภาพของผู้นำชุมชน พบว่า มีการเปลี่ยนแปลงทางชุมชน เช่น การแบ่งหน้าที่การดำเนินงาน และแผนงานโครงการป้องกันแก้ไขปัญหายาเสพติดอย่างต่อเนื่อง เพื่อสร้างความยั่งยืนในการดำเนินงานป้องกันแก้ไขปัญหายาเสพติดต่อไปในชุมชน

สรุปผลการศึกษาครั้งนี้ สามารถใช้กระบวนการสร้างพลังเพื่อพัฒนาศักยภาพของผู้นำชุมชนในการดำเนินการ ป้องกันแก้ไขปัญหายาเสพติดอย่างยั่งยืน ในเขตตำบลอื่นๆ อาจนำรูปแบบนี้ไปใช้ดำเนินการแก้ไขปัญหายาเสพติดได้ หรืออาจนำไปประยุกต์ใช้กับงานอื่นๆได้

ความมุ่งหมายของการศึกษา

เพื่อศึกษาประสิทธิผลของกระบวนการสร้างพลังเพื่อการพัฒนาศักยภาพของผู้นำชุม ชนในการดำเนินงานป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด ตามบทบาทหน้าที่ในเรื่อง

1. การเปลี่ยนแปลงที่เกิดจากกระบวนการสร้างพลัง ในด้านความรู้เกี่ยวกับยาเสพติด ทัศนติทางบวกต่อผู้เสพ/ผู้ติดยาเสพติด การรับรู้ปัญหายาเสพติด การรับรู้บทบาทหน้าที่ การนับถือตนเอง ความเชื่อมั่นในความสามารถของตนเอง และความสามารถในการดำเนินงานด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด

2. การเปลี่ยนแปลงกิจกรรมการดำเนินงานป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในชุมชน

ความสำคัญของการศึกษา

1. ผู้นำชุมชนมีความรู้เกี่ยวกับยาเสพติดที่ถูกต้องมีทัศนคติทางบวกต่อผู้เสพ/ ผู้ติดยาเสพติด การรับรู้ปัญหายาเสพติด การรับรู้บทบาทหน้าที่ การนับถือตนเอง ความเชื่อมั่นในความสามารถของตนเองและความสามารถในการดำเนินงานด้านป้องกัน และแก้ไขปัญหายาเสพติด

2. ปัญหายาเสพติดได้รับการางแผนแก้ไขปัญหาอย่างต่อเนื่อง โดยผู้นำในชุมชนเป็นแกนหลักสำคัญในการดำเนินงานร่วมกับทุกคนในชุมชน

3. ผู้นำชุมชนที่ได้รับการพัฒนาศักยภาพ มีการกำหนดนโยบายในการจัดทำแผนงานโครงการการระดมความร่วมมือ การกำหนดผู้รับผิดชอบในการดำเนินงานแก้ไขปัญหายาเสพติด

คำสำคัญ (Tags): #ส.ม.1#มมส#research
หมายเลขบันทึก: 19086เขียนเมื่อ 21 มีนาคม 2006 11:46 น. ()แก้ไขเมื่อ 1 มิถุนายน 2012 14:46 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่าน


ความเห็น
ขอบคุณคุณบอนที่นำเอาบทคัดย่องานวิจัยที่ดีๆและเป็นประโยชน์(ใช้ได้จริง)ที่เผยแพร่ค่ะ หวังว่าจะมีมาให้อ่านอยู่เรื่อยๆนะค่ะ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท