Planning Division KKU
กองแผนงาน สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยขอนแก่น

การจัดการความรู้ กองแผนงาน มหาวิทยาลัยขอนแก่น ปี2551 เรื่องที่ 1


การวิเคราะห์ภาวะ การหางานทำของบัณฑิต

การจัดการความรู้  กองแผนงาน  มหาวิทยาลัยขอนแก่น ปี  2551

เรื่อง การวิเคราะห์ภาวะ การหางานทำของบัณฑิต  

โดย  นายกฤษฎี  ปทุมชัย นักวิเคราะห์นโยบายและแผน  6

วันอังคารที่  25  มิถุนายน  2551  ณ  ห้องประชุมกองแผนงาน  เวลา 10.00-12.00  น.

                 การวิเคราะห์ภาวะ การหางานทำของบัณฑิต มีขั้นตอน  ดังนี้

                ขั้นตอนการเก็บแบบสำรวจการหางานทำบัณฑิต

1.       แบบสำรวจจาก  สกอ.(ต้นเดือน ธ.ค.)

2.       ประสานงานกับคณะในการรวบรวมแบบสำรวจ( ธ.ค. ก่อนรับปริญญา)

3.       รวบรวมแบบสำรวจจากทุกคณะ(ธ.ค.-ม.ค.)

4.       บันทึกข้อมูลด้วยโปรแกรมบนเว็บไซต์ของ  สกอ.(ธ.ค.-ม.ค.)

5.       วิเคราะห์ด้วยโปรแกรม  MS-Excel(ก.พ.)

6.       จัดทำรายงานผลการวิเคราะห์(ก.พ.)

7.       ตรวจสอบ  แก้ไข/จัดทำรูปเล่ม(มี.ค.-เม.ย.)

8.       นำเสนอ/เผยแพร่ภายใน-ภายนอก  มข. (เม.ย.)

      กลุ่มตัวอย่าง  ผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี และเป็นบัณฑิตที่มาลงทะเบียนรับพระราชทานปริญญาบัตร 

      ระยะเวลาการเก็บข้อมูล จากบัณฑิตที่มารายงานตัวเข้ารับพระราชทานปริญญาบัตร

วิิธีการวิเคราะห์์    ค ่าร้อยละ การแจกแจงความถี่

การบันทึกข้อมูลให้สกอ. ในโปรแกรมระบบการหางานทำบัณฑิต  ของ  สกอ. ระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต  ที่ URL : http://www.job.mua.go.th

              ข้อมูลจากการวิเคราะห์

1.       จำนวนบัณฑิตระดับปริญญาตรี

2.       จำนวนบัณฑิตที่ลงทะเบียนรับพระราชทานปริญญาบัตรและนำเข้าฐานข้อมูล  สกอ.

3.       จำนวนบัณฑิตผู้ตอบแบบสำรวจ

4.       จำนวนบัณฑิตที่มีงานทำ

5.       จำนวนบัณฑิตที่ไม่มีงานทำ

6.       จำนวนบัณฑิตที่ศึกษาต่อ

สถานภาพการทำงานปัจจุบัน  มีงานทำ  ไม่มีงานทำ  และศึกษาต่อ

1.ประเภทงานที่ทำ

2. ความรู้ความสามารถพิเศษ

3.ภาคที่ทำงาน

4.เงินเดือนหรือรายได้เฉลี่ยต่อเดือน

5.  ความพอใจ  และสาเหตุต่องานที่ทำ

6.ระยะเวลาการได้งานทำหลังสำเร็จการศึกษา

7.       ลักษณะงานที่ทำ

8.       การนำความรู้มาประยุกต์ใช้กับงานที่ทำอยู่ในปัจจุบัน

9.    การศึกษาต่อ

10.    ระดับการศึกษาที่ต้องการศึกษาต่อ

11.    สาขาวิชาที่ต้องการศึกษาต่อ

12.    ประเภทของสถาบันที่ต้องการศึกษาต่อ

13.    เหตุผลที่ทำให้ตัดสินใจศึกษาต่อ

14.    ปัญหา  และสาเหตุของการศึกษาต่อ

16.    สาเหตุสำคัญที่ยังไม่ได้ทำงาน

17.    ปัญหาในการหางานทำ

                หลังจากนั้น ได้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้  ระหว่างกัน  ได้ความรู้สำคัญ  ดังนี้

                ปัญหาที่พบจากการเก็บข้อมูล

1.       โปรแกรมระบบการหางานทำบัณฑิต  ของ  สกอ.  มีตำแหน่งงานไม่ครบ  ในบางตำแหน่งต้องลงในตำแหน่งที่ใกล้เคียง  ทำให้ข้อมูลที่ได้ไม่  100%

2.       แบบสอบถามให้กรอกข้อมูลมาก   ทำให้นักศึกษาบางคนกรอกข้อมูลไม่ครบถ้วน  หรือไม่กรอกข้อมูลเลย 

3.    รูปแบบการเก็บข้อมูลเป็นการขอข้อมูลจากแบบสอบถาม  ทำให้มีนักศึกษาบางคนไม่กรอกข้อมูล  ซึ่งอาจเป็นเพราะการไม่เข้าใจว่าข้อมูลนั้นจะไปทำประโยชน์ในส่วนใด  ทำให้ได้ตัวอย่างน้อยหรือข้อมูลไม่ครบถ้วน  

ข้อเสนอแนะแนวทางการแก้ปัญหา

1.       ให้บัณฑิตที่มาลงทะเบียนบัณฑิตกรอกแบบสอบถามก่อนถึงจะอนุญาตให้ลงทะเบียนบัณฑิตได้

(เพื่อให้ได้ข้อมูลครบจากทุกคน)

2. จัดตั้งจุดกรอกข้อมูลภาวะการหางานทำของบัณฑิตโดยจัดตั้งเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อรองรับบัณฑิต

ที่มากรอกข้อมูล  โดยกำหนดให้ทุกคณะสับเปลี่ยนหมุนเวียนในการกรอกข้อมูล

3.ก่อนการแจกแบบสอบถามควรอธิบายเหตุผลความจำเป็นและประโยชน์ที่บัณฑิต รุ่นน้อง และมหาวิทยาลัยได้รับจากการกรอกข้อมูลในแบบสอบถามนี้

  note taker รายงาน : วิทยา  บุญนำ  ปรับปรุง : pure

                                                                            

หมายเลขบันทึก: 190394เขียนเมื่อ 25 มิถุนายน 2008 15:42 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 00:44 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท