เมืองไทยในอนาคต


อนาคตเมืองไทย
หน้าแรก บทความ Down Load เชื่อมโยง

สมุดเยี่ยม

บทความปี 2004 p2

บทความปี 2004 p1 บทความปี 2003 p2 บทความปี 2003 p1 บทความปี 2002
อนาคตเมืองไทย ใครว่าไม่น่าเป็นห่วง?

คอลัมน์ คมคนคมคิด  โดย จรัญ ยั่งยืน   ประชาชาติธุรกิจ หน้า 8  วันที่ 19 สิงหาคม 2547  ปีที่ 28 ฉบับที่ 3611 (2811)

"รัฐที่มีคุณภาพ สังคมก็จะมีคุณภาพ"ที่ผ่านมาประเทศไทยมีการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจที่มีรากฐานมาจากการใช้ความได้เปรียบทางทรัพยากรตั้งแต่ดิน น้ำ ป่าไม้ แรงงานราคาถูก ผสมกับทุนในชาติและต่างชาติ และการนำเข้าความรู้ทางวิทยาการที่แฝงอยู่ในรูปของทุนและเครื่องจักร รัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เองก็รู้ดีว่าความได้เปรียบทางด้านทรัพยากรและแรงงานราคาถูกหมดไปแล้ว การเพิ่มผลผลิตจากปัจจัยเท่าเดิมของแรงงานและปัจจัยการผลิตอื่นๆ นั่นคือ ปัจจัยชี้ขาดในอนาคตฉะนั้น จะต้องมาจากการลงทุนรอบด้านและการจัดการที่เป็นระบบทั้งเอกชนและรัฐบาล การมีผู้นำที่เข้มแข็ง ฉลาดรอบรู้อย่างเดียวคงไม่พอการเพิ่มขีดความสามารถทางเศรษฐกิจเพื่อยกมาตรฐานการครองชีพของคนไทยให้สูงขึ้น ประสบการณ์จากอดีตน่าจะบอกเราได้ว่า ตลาดต่างประเทศเป็นพลังขับเคลื่อนที่ทำให้เกิดการแข่งขัน การเรียนรู้วิทยาการการผลิต การจัดการ และการตลาดในการเรียนรู้ดังกล่าวแม้ว่าเราจะเก่งขึ้น เราก็ยังห่างไกลจากการเป็นประเทศที่พัฒนา ซึ่งสร้างตลาดและผลิตภัณฑ์จากนวัตกรรมจากการลงทุนใน R&D"ท่านผู้นำของเราพึงตระหนักว่า เราไม่ได้เป็นอิสระอะไรหรอก เรายังต้องพึ่งพาความรู้เทคโนโลยีและการจัดการจากบรรษัทข้ามชาติ"เราเพียงแต่ค่อยๆ ไต่อันดับปรับตัวไปเรื่อยๆ จากรับจ้างทำของใช้ความรู้การออกแบบและ แบรนด์ของผู้ซื้อหรือผู้จ้าง หรือร่วมลงทุนกับบรรษัทข้ามชาติภารกิจที่สำคัญของรัฐบาลพรรคไทยรักไทยถ้าต้องการที่จะ transform ธุรกิจไทยก็คือ การเพิ่มขีดความสามารถของธุรกิจไทยทั้งทางด้านกระบวน การและผลิตภัณฑ์ที่เราสามารถออกแบบและมี แบรนด์ของตัวเองเพื่อสามารถสร้างมูลค่าเพิ่ม และ margin จากกำไรให้สูงขึ้น และตกอยู่กับธุรกิจไทยแทนที่จะเป็นของบรรษัทข้ามชาติรวมทั้งพัฒนาขีดความสามารถในระยะยาวของอุตสาหกรรมในการผลิตสินค้าทุน การลงทุนใน R&D ซึ่งสถานภาพของเรายังห่างไกลกับประเทศเพื่อนบ้านในภูมิภาคนี้มาก ทั้งหมดนี้ต้องการทุ่มเททรัพยากรของรัฐมาที่การศึกษาค้นคว้าวิจัยในระดับสูง โดยเฉพาะทางสายวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีต้องการรัฐที่มีทุนมนุษย์และการจัดการที่มีคุณภาพ ในการร่วมมือกับภาคเอกชนต้องการนโยบายซึ่งสร้างแรงจูงใจให้แก่ภาคเอกชนเพื่อแข่งขันในระดับโลกอีก 5-6 ปีข้างหน้าเมื่อท่านผู้นำทักษิณดำรงตำแหน่งครบ 2 วาระ รายได้ต่อหัวของไทยก็คงไม่เกิน 4,000 ดอลลาร์สหรัฐต่อคน ยังอีกไกลที่เราจะเป็นประเทศที่พัฒนาแล้ว รายได้ต่อหัวยังคงต่ำกว่าสิงคโปร์สิบเท่าตัว คงต่ำกว่าเกาหลีอย่างน้อยสี่เท่าตัว"แม้ว่าคนจนคงมีแนวโน้มลดลง แต่ก็จะไม่หมดไป จริงๆ แล้วแม้ท่านผู้นำทักษิณจะเป็นนายกฯไปอีก 20 ปี คนจนก็จะไม่หมดไปจากประเทศไทย เพราะความยากจนเป็นพลวัตโครงสร้างการกระจายรายได้อาจจะดีขึ้นหรือเลวลง"ท่านผู้นำของเราใช้สถาบันการเงินของรัฐมาเอื้ออาทรแก่คนจนจำนวนหนึ่ง มากกว่าที่จะกล้าปฏิรูประบบภาษีที่เก็บจากความมั่งคั่งของคนรวยแล้วกระจายมาช่วยในกิจการสังคมของคนจน"การไม่เก็บภาษีจากกำไรของการซื้อขายหุ้นของบุคคลธรรมดาควรจะเลิกได้แล้ว ประเทศไทยอาจจะมีเมืองใหม่ที่นครนายกและมีรถไฟใต้ดินที่มีเครือข่ายมากขึ้น แต่ผลของเมืองใหม่แม้จะดีในหลักการที่จะมีผลต่อการกระจายความเจริญจากกรุงเทพฯ หรือลดขนาดของประชากรในกรุงเทพฯ แต่ในระยะยาวยังมีความไม่แน่นอน เศรษฐกิจไทยอาจโตได้สูงถึงร้อยละ 10 แต่ก็อยู่ได้ไม่นานคงจะเริ่มขาดดุลบัญชีเดินสะพัดเหมือนที่ผ่านมาในอดีตและสิ่งที่จะตามมาคือ ปัญหาความรุนแรงของสังคมไม่ว่าจะเป็นเรื่องตั้งแต่โสเภณี อาชญากรรม ยาเสพย์ติด ความฉ้อฉล คอร์รัปชั่นทั้งในภาคธุรกิจและภาครัฐ รวมทั้งความถดถอยและความเสื่อมสภาพของทุนทางสังคม การขาดความไว้ใจซึ่งกันและกัน (trust) ทั้งในระบบชุมชนและครอบครัว องค์กรที่ทำงานสุดท้ายนี้แม้ภาวะผู้นำจะมีความสำคัญต่อการเปลี่ยนแปลงไม่มากก็น้อยในทุกสถานที่ทุกเวลา การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ สังคม และการ เมือง ล้วนมีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน ต้องการการมีส่วนร่วม และ empowerment สู่องค์กรและประชาชน เราไม่อยากเห็นรัฐที่เข้มแข็งรวบอำนาจแต่ภาคประชาชนอ่อนแผู้นำของประเทศควรจะเป็นแบบอย่างของสาธารณชนในการปลอดจากปัญหาการทับซ้อนของผลประโยชน์ทางธุรกิจ จากตำแหน่งทางการเมือง ไม่เป็นการเพียงพอที่รัฐบาลสร้างความมั่นใจให้แก่ประชาชนในเรื่องปากท้องหรือเรื่องเศรษฐกิจ"ผู้นำและรัฐบาลที่ดีจะต้องได้รับความไว้วางใจและเชื่อใจ (trust) จากประชาชนว่าเป็นผู้มาทำงานหรือมาบูรณาการประเทศหรือสังคม ไม่ใช่มา "บูรณากู" อย่างที่ คุณธีรยุทธ บุญมี เคยให้เป็นข้อคิดไว้"

คำสำคัญ (Tags): #อนาคตเมืองไทย
หมายเลขบันทึก: 190045เขียนเมื่อ 24 มิถุนายน 2008 14:25 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 มิถุนายน 2012 13:52 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

                 สวัสดีจ้า..โจโจ้ (Model) ผอมลงไปรึป่าวเนี่ยะ.... สำหรับเรื่องการบ้านการเมือง..ตอนนี้รู้สึกเหมือนกับว่า " ใครที่มีความเห็นเดียวกับ กรู นั่นแหละ ประชาธิปไตย..ถ้าต่างขั้วกะกรู... ขอเรียกพวกมันว่า เผด็จการ..." ( นี่นะหรือคือระบอบประชาธิปไตย)

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท