ห้องสมุดกับการลดภาวะโลกร้อน


การเสด็จเยือนประเทศโปรแลนด์ ณ หอสมุดมหาวิทยาลัยวอซอร์ (Warsaw University) ประเทศโปแลนด์ ของสมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าจุฬาภรณ์วลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี

เมื่อคืน  (วันอาทิตย์ที่  15  มิถุนายน  2551)  ผู้เขียนได้ดูข่าวในพระราชสำนัก  เปิดเจอพอดี  น่าสนใจ เลยอยากนำมาถ่ายทอดให้คนอื่นได้อ่าน  หรือบางคนที่ไม่ได้ดู  การเสด็จเยือนประเทศโปรแลนด์    หอสมุดมหาวิทยาลัยวอซอร์  (Warsaw  University)  ประเทศโปแลนด์ ของสมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าจุฬาภรณ์วลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี  โดยเสด็จถึงกรุงวอซอร์  ประเทศโปรแลนด์  เมื่อวันที่  13  มิถุนายน  2551  เวลา  13.52  น.  และในวันที่  14  มิถุนายน  2551  สมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าจุฬาภรณ์วลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี  ได้เสด็จหอสมุดมหาวิทยาลัยวอซอร์  ทอดพระเนตรแนวความคิดสิ่งแวดล้อมเป็นส่วนใหญ่  ซึ่งหอสมุดแห่งนี้เป็นหอสมุดที่ใหญ่ที่สุดในทวีปยุโรปก็ว่าได้  สูง  4  ชั้น  ซึ่งชั้น  4  เดิมทีติดตั้งเครื่องระบายแอร์ซึ่งผู้บริหารหอสมุดเห็นว่าภูมิทัศน์ไม่สวยงาม  จึงปรับเปลี่ยนนำเอาพันธุ์ไม้ดอกนานาชนิด  พันธุ์ไม้เลื้อยนานาพันธุ์  ทำให้ภูมิทัศน์สวยงาม  ร่มรื่นสบายตา  และยังเป็นแหล่งเปิดให้เข้าชม และได้พระราชทานหนังสือไทย  ผลงานวิจัยต่างๆ  หนังสือความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์  สร้างความปรามปลื้มใจให้กับผู้บริหารหอสมุดมหาวิทยาลัยวอซอร์  โดยหอสมุดแห่งนี้  สร้างเมื่อ  ค.ศ.1995  โดยใช้งบประมาณของมหาวิทยาลัยวอซอร์  ซึ่งประกอบด้วย 

        ชั้น  1                เป็นชั้นภาษาศาสตร์  และเจ้าหน้าที่หอสมุด

        ชั้น  2                เป็นชั้นอ้างอิง

        ชั้น  3                เป็นชั้นอ่านหนังสือ  ตำรา  นิตยาสาร  วารสาร

        ชั้น  4                เป็นชั้นหนังสือ  ตำรา

        ชั้นลอยหรือดาดฟ้า        เป็นสวนพฤกษศาสตร์  แบ่งเป็น  2  ส่วน  คือ  ส่วนบน  พื้นที่  20,000  ตารางเมตร  กับส่วนล่าง  พื้นที่  15,000  ตารางเมตร (ถ้าจำไม่ผิด)

        โดยหอสมุดแห่งนี้รองรับชั้นหนังสือได้  จำนวน  2  ล้านชั้นเห็นจะได้  มีชั้นหนังสือขณะนี้จำนวน  200,000  ชั้น  โดยที่น่าดีใจก็คือ  มีหนังสือตำราภาษไทยของเราด้วย  จำนวน  400  เล่ม โดยส่วนใหญ่เป็นหนังสือพระราชกรณียกิจของในหลวงเราและพระราชวงศ์ของประเทศไทยเรา โดยระบบการจัดหมวดหมู่หนังสือคือ  L.C  ห้องสมุดแพทย์แห่งชาติของสหรัฐอเมริกา  ซึ่งสำนักหอสมุด ม.นเรศวรของเราก็ใช้ระบบนี้เหมือนกัน 

 

        แต่สิ่งหนึ่งที่ผู้เขียนสนใจมากๆคือ  ชั้นลอยหรือดาดฟ้า  ซึ่งได้จัดทำเป็นสวนพฤกษศาสตร์  สวยมากๆ  ไม่น่าเชื่อจะสามารถนำพันธุ์ไม้ต่างๆ  ขึ้นมาปลูกได้อย่างสวยงาม  ตอนที่ดูในโทรทัศน์  แล้วมีความรู้สึกว่าเหมือนอยู่ในงานพืชสวนโลกเลย

 

ถ้าหากใครมีไอเดียเพิ่มเติมก็สามารถนำไปปรับใช้ในหน่วยงานได้เหมือนกัน  อีกอย่าง  ช่วยลดภาวะโลกร้อนของเราด้วย 

รูปภาพ  :  พอดีผู้เขียนดูจากทางโทรทัศน์ไม่ได้เก็บภาพไว้ เลยหารูปมาให้ชมเว็บไซต์  http://picasaweb.google.com/martinjon/WarsawBuildings/photo#5111632320159769586

หมายเลขบันทึก: 188388เขียนเมื่อ 16 มิถุนายน 2008 16:56 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 19:10 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)

จริงๆการมีต้นไม้ในหอสมุด ช่วยให้ดูร่มรื่นนะในมุมของคนที่รักต้นไม้

แต่ว่าตอนนี้....หอสมุดเอาต้นไม้ออกมาไว้ข้างนอกแล้วล่ะ

เพราะว่า ทำให้หนังสือเกิดความชื้น มีเชื้อรา ต้นไม้ส่วนใหญ่ที่เคยอยู่เลยต้องมาประดับอยู่หน้าหอสมุดซะแล้ว....

น่าสงสารต้นไม้จัง

ธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ ก็มีเชื้อรา กำจัดได้ แต่คงไม่หมดเพราะมีอยู่ในท่อแอร์

ห้องสมุดที่ CQU,Australia ไม่มีต้นไม้ ดอกไม้ กระถางต้นไม้ ในห้องสมุดเลย ปลูกข้างนอกหมด และรอบ ๆ จะมีแต่ต้นไม้ใหญ่ สนามหญ้า ไม่มีไม้พุ่ม เพราะคนที่ห้องสมุดที่นี่ ก็บอกเหมือนกันว่าเชื้อรา อันตรายสุดๆ สำหรับหนังสือ แต่ดูจากห้องสมุดที่ผู้เขียนบันทึกนำมาให้ดู น่าจะมีความชื้นมาก ๆ ก็แปลกใจเหมือนกันว่าเขาดูแลหนังสือกันอย่างไร

ผู้เขียนเองก็แปลกใจเหมือนกัน ว่าเค้าดูแลอย่างไร ถึงสามารถปลูกได้ขนาดนี้ โดยส่วนใหญ่จะปัญหาเรื่อง เชื้อรา และความชื้น

ห้องสมุดที่โรงเรียนก็พยายามนำต้นไม้เข้ามาปลูกและมีปัญหาเหมือนกับเพื่อนๆ เลยใช้กลยุทธ์ใหม่ นำมาจัดเฉพาะกิจที่จัดนิทรรศการ

รออ่านบันทึกของคนนี้อยู่     P แก่นจัง   อิอิ

 

ดีครับเป็นแบบอย่างที่ดีในการแก้ปัญหาโลกร้อน

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท