1..รูปแบบของการนิเทศ


กิจกรรมการนิเทศการศึกษา

รูปแบบของการนิเทศ

กิจกรรมการนิเทศการศึกษา (Ben M.Harris, 1963)

 


1. การระดมสมอง (Brainstorming)

            เป็นกิจกรรมการประชุมอย่างหนึ่ง ซึ่งเป็นการรวมเอากำลังความคิดระดมสมองร่วมกัน บุคคลที่เข้าประชุมควรจะเป็นผู้มีความรู้และใจกว้างพอที่จะรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นด้วยลักษณะของกลุ่มที่ประชุมอาจเป็นกลุ่มใหญ่หรือเล็กก็ได้ คุณภาพของความคิดขึ้นอยู่กับความรู้ความสามารถของบุคคลผู้เข่าร่วมกลุ่ม ความคิดจะต้องได้รับการพิจารณาร่วมกัน ซึ่งจะเป็นที่ยอมรับของกลุ่มหรือไม่ก็ตาม แต่จะไม่มีการตัดสินว่าถูกหรือผิด วิธีการประชุมแบบนี้จะได้ประสบการณ์น้อย เพราะเป็นการประชุมลึกลงไปในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง แต่สิ่งที่จะเกิดขึ้นคือ ผู้เข้าร่วมประชุมจะได้รับความรู้จากการประชุม

 

2. การประชุม 6-6 (Buzz Session)

            เป็นการประชุมอีกแบบหนึ่งที่ไม่มีพิธีรีตรองมากนัก แต่เดิมกำหนดว่ากลุ่มละ 6 คน ใน 6 นาที แต่ปัจจุบันนี้การจัดการประชุมแบบนี้แล้วแต่ปริมาณที่เข้าร่วมกลุ่ม แต่ไม่ควรเป็นกลุ่มใหญ่นัก เวลาที่ใช้ก็ขึ้นอยู่กับผู้เข้าร่วมประชุม เป็นการเปิดโอกาสให้ทุกคนได้พูดโดยไม่มีการจำกัด ทุกคนมีสิทธิ์แสดงความคิดเห็นอย่างเต็มที่ จุดมุ่งหมายสำคัญคือ ต้องการให้ทุกคนในกลุ่มได้มีการปะทะสังสรรค์กันมากกที่สุด การประชุมอาจมีการจัดประธาน เลขา สำหรับดำเนินการหรือไม่ก็ได้ วิธีการนี้ได้ประสบการณ์มากกว่าการะดมสมอง ทั้งนี้เนื่องจากว่าไม่มีการจำกัด ใครพูดเรื่องอะไรก็ได้ จึงทำให้ได้ประสบการณ์กว้างขึ้น แต่การประชุมแบบนี้จะไม่มีกาตัดสินใจว่าความคิดใครถูกหรือผิด เช่นเดียวกับการระดมสมอง

 

3. คณะกรรมการ (Committee)

            หมายถึงกลุ่มเล็ก ๆ ตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป ซึ่งจัดตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เฉพาะ และวัตถุประสงค์นี้ไม่ใช่เพื่อตัวคณะกรรมการเอง ซึ่งก็หมายถึงว่า คำว่าคณะกรรมการมีความหมายแตกต่างไปจากการอภิปรายหรือกลุ่มเยียวยา (Therapy Group) ซึ่งมีความหมายของมันก็คือ เพื่อการตอบสนองสำหรับตนเอง คณะกรรมการจะมีความเกี่ยวกันกับการประชุมกลุ่มใหญ่ ซึ่งจะต้องมีอนุกรรมการในการตีปัญหาให้แตกหรือโครงการต่าง ๆ โดยเหตุที่มีลักษณะค่อนข้างเฉพาะนี่เองเป้าประสงค์(ภารกิจ)ที่ได้รับมอบหมายจึงมีลักษณะโครงสร้างที่ค่อนข้างจะเป็นพิธีการมากกว่ากลุ่มอื่น

                งานใด ๆ อาจจะเป็นการดำเนินการโดยคณะกรรมการ เช่น การคัดเลือกวัสดุ การกลั่นกรอง พิจารณาเลือกสมาชิกใหม่ในหน่วยงาน การร่างนโยบาย และคณะกรรมการกำหนดสเปคของเครื่องมือ ซึ่งเป็นเรื่องที่ต้องใช้คณะกรรมการการประชุมแต่ละกรณี สำหรับนักเรียนในชั้นพิเศษที่ได้รับมอบหมาย อาจจะดำเนินการโดยนักจิตวิทยาหรือคนอื่นที่เกี่ยวกับปัญหาพิเศษของนักเรียนคนนั้นที่คณะกรรมการมอบหมาย

                ตราบที่กิจกรรมของคณะกรรมการถูกนำไปใช้ในกรณีที่ต้องการการตัดสินใจโดยอาศัยความคิดเห็นของกลุ่ม จะช่วยให้เกิดการประสานงานและร่วมมือกันปฏิบัติงาน แต่ขณะเดียวกันก็จะมีข้อเสียหายเช่นกัน การใช้คณะกรรมการอาจทำให้เกิดการสิ้นเปลืองค่าใช้จ่าย หรือการตัดสินใจต่าง ๆ ที่เคยมุ่งหวัง จะกระทำให้ได้ดีขึ้นนั้น อาจกลับกลายเป็นเลวลงหรือบางครั้งการใช้คณะกรรมการมักจะก่อให้เกิดการล่าช้าในการตัดสินใจ และบางครั้งก็กลายเป็นข้อยุติไม่ได้ เพราะการถกเถียงที่บานปลายและขัดแย้งกันโดยหาเหตุผลไม่ได้

 

4. การสาธิต(Demonstration)

            การสาธิตเป็นกิจกรรมที่เกี่ยวกับการนำเหตุการณ์ที่จัดเรียงลำดับไว้แล้ว มาเสนอต่อกลุ่มเพื่อให้ผู้นั้นสังเกตการสาธิตมีลักษณะที่เป็นจริง แต่โดยธรรมชาติมักจะเน้นด้านพฤติกรรมในการปฏิบัติ ซึ่งผู้สังเกตจำเป็นจะต้องดู กลุ่มจะเป็นขนาดใดก็ได้ แต่เวลาและการเตรียมตัวที่ใช้ในการสาธิต น่าจะใช้กลุ่มที่มีขนาดใหญ่พอสมควร

                การสาธิตนั้นไม่เพียงพอ แต่จะนำมาใช้กับความต้องการของผู้ที่สังเกตเท่านั้น ยังใช้ได้กับเรื่องความคิด วัสดุอุปกรณ์ ขั้นตอนของการดำเนินงาน หรือเทคนิคซึ่งสามารถสังเกตแล้วเกิดประโยชน์ ผู้ทำการสาธิตเลือกจากคนที่มีความชำนาญ สิ่งแวดล้อมทางกายภาพจะถูกจัดการสาธิตเป็นอุดมคตินั้น จะมีการวางแผนด้วยรายละเอียด และมีการซับซ้อน ผู้สังเกตก็เตรียมสังเกตอย่างพินิจพิเคราะห์แนะนำในการสังเกตควรจะใช้ที่ต้องการให้ผู้สังเกตไม่เพียงแต่มองดูเท่านั้นแต่ต้องวิเคราะห์บันทึก หรือสังเกตอย่างจริงจัง กิจกรรมติดตามผลคือ ให้มีส่วนร่วมในการประทับใจ การวิเคราะห์บันทึกต่าง ๆ สรุปกฎเกณฑ์และการนำไปใช้

                การสาธิตจะมีประสิทธิภาพเมื่อทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างทักษะที่เรียนรู้แล้วกับความมุ่งหมายที่เป็นไปตามที่ตั้งไว้ให้เป็นที่เข้าใจชัดเจนแก่ผู้เข้าร่วมกิจกรรมหรือผู้สังเกต

 

5. การทดลองปฏิบัติการ (Laboratory)

            การทดลองเพื่อค้นคว้าหาข้อสรุปในบางเรื่องเป็นวิธีนิเทศอีกวิธีหนึ่งที่ผู้นิเทศและครูสามารถทำร่วมกันได้ เช่น การทดลองวิธีสอน ทดลองกิจกรรมในโรงเรียน ทดลองการใช้วัสดุอุปกรณ์และแบบเรียน ทดลองใช้ข้อทดสอบ ฯลฯ การทดลองเช่นนี้ เริ่มต้นที่ผู้นิเทศเป็นผู้เป็นผู้คิดและวางแผน แล้วทดลองร่วมกับครู โดยผู้นิเทศปฏิบัติร่วมกับครูเป็นประจำในระหว่างการทดลอง ครูในโรงเรียนนั้น ๆ ได้รับความรู้จากการทดลองเมื่อการทดลองนั้นสิ้นสุดลง ผู้นิเทศนำผลการทดลองไปเผยแพร่ นำผลการทดลองไปประยุกต์ใช้ เช่น ทดลองเรื่องการสอน คัดลายมือ และการสะกดคำในชั้นประถมศึกษาตอนต้น

หมายเลขบันทึก: 188023เขียนเมื่อ 14 มิถุนายน 2008 14:56 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 12:09 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท