dararat
ดร. ดารารัตน์ อุทัยพยัคฆ์

ยุทธศาสตร์การส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย


ยุทธศาตร์การพัฒนาการศึกษาปฐมวัย

การพัฒนาเด็กปฐมวัยให้มีคุณภาพประสิทธิภาพ  จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมียุทธศาสตร์ในการส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย  สำหรับเด็กอายุ  3-5  ปี  ซึ่งเป็นช่วงที่อยู่ในความรับผิดชอบของ     สังคมเรา เป้าหมายในการพัฒนาเด็กนั้น ครอบครัวยังคงเป็นแกนหลักในการดูแลและส่งเสริมพัฒนาการและให้สถานพัฒนาเด็ก  สถานศึกษา  หรือรูปแบบอื่นทั้งในระบบ  นอกระบบ  และตามอัธยาศัย   เป็นที่ให้บริการคุ้มครองป้องกันและพัฒนาเด็ก  โดยผู้ดูแลเด็กและครู  ฯลฯ ที่มีลักษณะเป็น มืออาชีพ   คือ  มีความรู้   เจตคติ  ค่านิยม  รวมถึงทักษะที่เหมาะสมและดีที่สุดในการคุ้มครอง   ป้องกันและพัฒนาเด็กรอบด้านในสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อพัฒนาการของเด็ก   โดยมีพ่อแม่   ผู้ปกครอง  และครอบครัว  มีส่วนร่วมและให้ความร่วมมืออย่างสม่ำเสมอ

                สำหรับคำว่า มืออาชีพ  โดยเฉพาะครูมืออาชีพ  คือจำเป็นต้องมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องของการนำแนวคิด  ทฤษฏีทางการเรียนรู้และปรัชญา  มาใช้ในการจัดกระบวนการเรียนรู้  ทฤษฎีและหลักการที่สำคัญที่ผู้เขียนขอเสนอไว้คือเรื่องทฤษฎีพหุปัญญา  และเรื่องสมองกับการเรียนรู้ 

 

ทฤษฏีพหุปัญญา   Theory  of  Multiple  Intelligences 

                ทฤษฏีพหุปัญญา  เป็นทฤษฎีที่ศึกษาเกี่ยวกับสติปัญญา  และการทำงานของสมองมนุษย์โดยการ์ดเน่อร์  (Gardner)   นักจิตวิทยาแห่งมหาวิทยาลัยฮาวาร์ด  ได้ศึกษาถึงศักยภาพและความถนัดของคน  ซึ่งให้ความหมายของปัญญาว่าเป็นความสามารถในการแก้ปัญหาหรือการสร้างผลผลิตที่มีคุณค่าต่อสังคม  ซึ่งปัญญาในความคิดของเรา  ไม่ใช่สิ่งใดสิ่งหนึ่งเพียงอย่างเดียว  ในทฤษฎีพหุปัญญา  กล่าวว่า  คนทั่วไปจะมีปัญญาหลายด้าน  อย่างน้อยมี  7  ด้าน  ประกอบด้วย           ด้านภาษา                ด้านตรรกะ /คณิตศาสตร์      ด้านดนตรี

                ด้านมิติสัมพันธ์      ด้านร่างกาย  ด้านความเข้าใจตนเอง     ด้านความเข้าใจผู้อื่น

                โดยปัญญาแต่ละด้านจะขึ้นกับความสามารถที่แอบแฝง  และแสดงออกมาในรูปแบบเดียวกัน  เช่น  ระบบภาษา  ระบบภาพหรือสัญลักษณ์  ระบบเขียน  ซึ่งสิ่งต่าง   เหล่านี้จะแสดงออกมาใน   รูปแบบของระบบวัฒนธรรมของแต่ละแห่ง  ต่อมามีการเพิ่มปัญญาด้านที่  8,9  และ  10  คือ                ด้านธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

                ด้านจิตนิยม / จิตภวนิยม       ด้านจิตวิญญาณ

                จากทฤษฎีพหุปัญญาของการ์ดเนอร์  ได้มีผู้นำมาใช้ในการพัฒนาการศึกษาโดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านการจัดการเรียนการสอน  มีผู้นำไปประยุกต์ใช้ในเรื่องของการทำงานของสมองกับพหุปัญญา  ทฤษฎีพหุปัญญาอาจเขียนย่อ   ว่า  MI  Theory  การ์ดเนอร์ได้สรุปและอธิบายลักษณะสำคัญของทฤษฎีดังนี้

1.        ปัญญามีลักษณะเฉพาะด้าน

2.        ทุกคนมีปัญญาด้านต่าง    ดังที่กล่าวไว้   มากบ้างน้อยบ้างต่างกันไป  ซึ่งบางคนอาจมี

ปัญญาครบตามที่กล่าวสูงทุกด้าน   แต่บางคนอาจมีเพียงหนึ่งหรือสองด้าน  ส่วนด้านอื่นไม่สูงนัก

3.        คนแต่ละคนสามารถพัฒนาปัญญาแต่ละด้านให้สูงขึ้นถึงระดับใช้การได้   ถ้ามีการให้

กำลังใจ  ฝึกฝน  อบรม  มีสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม  เช่น  ความร่วมมือของผู้ปกครอง  การได้ประสบการณ์  ก็อาจจะเสริมสมรรถภาพของปัญญาด้านต่าง   ได้

4.        ปัญญาต่าง   สามารถทำงานร่วมกันได้  การ์ดเนอร์ชี้แจงว่าการแบ่งลักษณะของปัญญา

แต่ละด้านเป็นเพียงการอธิบายลักษณะของปัญญาแต่ละด้านเท่านั้น  แท้ที่จริงแล้วปัญญาหลาย   ด้านจะทำงานร่วมกัน  เช่น  ในการประกอบอาหาร  ก็ต้องสามารถอ่านวิธีทำ  (ด้านภาษา)  คิดคำนวณปริมาณของส่วนผสม  (ด้านคณิตศาสตร์)  เมื่อประกอบอาหารเสร็จ  ก็ทำให้สมาชิกทุกคนในบ้าน   พอใจ  (ด้านมนุษยสัมพันธ์)   และทำให้ตนเองมีความสุข  (ด้านการเข้าใจ  รู้จักตนเอง)  เป็นต้น  การกล่าวถึงปัญญาแต่ละด้านเป็นเพียงการนำลักษณะพิเศษเฉพาะออกมาศึกษา เพื่อหาทางใช้ให้เหมาะสม

5.        ปัญญาแต่ละด้านจะสามารถแสดงถึงความสามารถได้หลายทาง  เช่น  บางคนไม่มีความ

สามารถด้านการอ่าน   ก็ไม่ได้หมายความว่า  ไม่มีความสามารถทางภาษา  เพราะเขาอาจจะเป็นคนที่เล่านิทานและเล่าเรื่องเก่ง  ใช้ภาษาพูดได้คล่องแคล่ว  หรือคนที่ไม่มีความสามารถทางกีฬา  ก็อาจ    จะใช้ร่างกายได้ดีในการถักทอผ้า   หรือเล่นหมากรุกได้เก่ง  ซึ่งจะเห็นได้ว่าแม้แต่ในปัญญาด้านใดด้านหนึ่ง ก็จะมีการแสดงออกถึงความสามารถหลากหลาย

                เมื่อสรุปลักษณะสำคัญของทฤษฎีพหุปัญญาดังกล่าวแล้ว  เราสามารถนำแนวคิดมาใช้ในการจัดการศึกษาได้อย่างไร  การ์ดเนอร์ได้เสนอไว้อย่างน่าสนใจดังนี้  (โดยเฉพาะครูปฐมวัย และ              ผู้เกี่ยวข้องกับการศึกษาปฐมวัย)

                โรงเรียนสำหรับอนาคตควรจะเป็นโรงเรียนที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานที่สำคัญ  3  ประการคือ

                ประการแรก   คนแต่ละคนมีความสามารถและความถนัดที่แตกต่างกัน

                ประการที่สอง    แต่ละคนจะมีลีลาการเรียนรู้ที่แตกต่างกัน  ซึ่งในปัจจุบันมีเครื่องมือวัดความแตกต่างนี้  ไม่มีใครที่จะสามารถเรียนรู้ได้ทุกสิ่งทุกอย่าง  แต่ทุกคนสามารถเลือกเรียนสิ่งที่ต้องการได้

                โรงเรียนสำหรับอนาคตควรตอบสนองความแตกต่างระหว่างบุคคล  โดยการจัดกิจกรรมและหาวิธีการสอนแต่ละวิชาที่จะสนองตอบความสามารถส่วนบุคคล  และเมื่อนักเรียนได้เรียนระดับ    พื้นฐานแล้ว  โรงเรียนควรจะหาวิธีการให้เหมาะกับชีวิตและการทำงานของแต่ละวัฒนธรรมท้องถิ่น ที่เราอาศัยอยู่

                บทบาทของนักการศึกษา  ควรเปลี่ยนแปลงดังนี้

                1.  โรงเรียนควรจะมีผู้ดูแลหลักสูตรที่นักเรียนเป็นศูนย์กลาง  ซึ่งจะช่วยนักเรียนให้สามารถจัดหลักสูตรหรือแผนการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับความสนใจ  เป้าหมาย  พัฒนาการและลีลาการเรียนของตน  โดยใช้นวัตกรรมต่าง   เข้ามาช่วย

                2.  ควรมีผู้เชี่ยวชาญทางการวัดและประเมิน  ที่จะเข้าใจและวัดความสนใจและความสามารถของเด็กที่มีความถนัดต่าง ๆ  กัน  โดยใช้เครื่องมือวัดความสามารถทางปัญญาแต่ละด้าน  ซึ่งจะบอกได้ว่านักเรียนคนไหนมีความถนัดด้านไหน  และควรแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับนักเรียน  ครูและ      ผู้ปกครองเกี่ยวกับผลการเรียนของเด็ก

                3. ควรมีผู้ดูแลโรงเรียนและชุมชนที่จะจัดโอกาสการเรียนรู้ให้นักเรียนได้สัมผัสในวงกว้าง  โดยควรเป็นบุคคลที่รู้ความเคลื่อนไหวต่าง ๆ  ในชุมชนที่หาไม่ได้จากในโรงเรียน

                4. สำหรับเด็กพิเศษมีความสามารถทางสมองไม่ปกติ  เด็กเหล่านี้ควรมีบุคคลที่เป็นผู้ฝึก        ผู้ช่วยเหลือ  หรือผู้ฝึกงาน  ซึ่งเป็นผู้ที่เด็กรู้สึกปลอดภัยที่จะอยู่ด้วย  และผู้ดูแลทางการศึกษาควรจัด ให้เด็กเหล่านี้ได้มีโอกาสเติบโตในสังคม

                5.  สำหรับครูและครูต้นแบบ  ครูควรจะมีอิสรภาพในการสอนโดยใช้ลีลาการสอนเฉพาะตน  ครูต้นแบบมีบทบาทในการนิเทศติดตามครูใหม่  และจัดให้มีความสมดุลระหว่างหลักสูตร  การสอนการวัดและประเมินผล  นักเรียน  และชุมชน

แนวคิดและความเชื่อในอดีต

                แนวคิดและความเชื่อในอดีตเกี่ยวกับความสามารถ  ความถนัดของมนุษย์และปัญญาที่มีผลต่อการพัฒนามนุษย์  คือ

                1.  การเน้นปัญญาด้านใดด้านหนึ่งแต่เพียงอย่างเดียว  เช่น  ด้านตรรก  หรือการคิดอย่างมี  เหตุผลเป็นสิ่งดี  แต่ไม่ใช่สิ่งเดียวที่ควรเน้น

                2.  การทดสอบ  หมายถึง  การทดสอบทางจิตวิทยาที่วัดความสามารถ  ความพร้อมและการจัดอันดับบุคคล  การทดสอบน่าจะเน้นในเรื่องความเป็นมนุษย์ให้มากกว่าการวัดแต่ความสามารถและความพร้อมของบุคคลหรือการจัดอันดับบุคคลเท่านั้น

                3.  ความเป็นเลิศ  ความเป็นเลิศไม่ได้หมายถึงสิ่งที่ดีที่สุด  และฉลาดที่สุด  แต่ความเก่ง     ควรเป็นการผสมผสานหลายสิ่งเข้าด้วยกัน  ไม่ใช่ความเก่งด้านใดด้านหนึ่งแต่เพียงอย่างเดียว

                จากแนวความเชื่อในอดีตทั้ง  3  ประการที่กล่าว  การ์ดเนอร์เชื่อว่า  นักการศึกษาควรพิจารณาว่าจะทำอย่างไรให้มีการตระหนักและเห็นแนวทางการพัฒนาความถนัดหรือปัญญาของมนุษย์ได้อย่างสมบูรณ์  ไม่ใช่การพัฒนาเพียงส่วนใดส่วนหนึ่ง  ดังนั้นการพัฒนาพหุปัญญา  จึงควรมีการพัฒนาด้านหัวใจ  จิตใจ  และสมอง  ควบคู่กันไปโดยในอนาคตควรมีการพัฒนาจิตใจ  5  ประการ  ดังนี้

                1.  จิตใจที่มีวินัย  คนที่มีจิตใจที่มีวินัย  ควรมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้  คือ  การคิดแบบมีวินัย  ควรมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้  คือ  การคิดแบบมีวินัย  การเชื่อในความเป็นจริง  การเข้าใจบทบาทของมนุษย์ในสังคม  การมีความเป็นเหตุเป็นผล

                2.  จิตที่สังเคราะห์  คนที่มีจิตใจที่สังเคราะห์  ควรมีคุณสมบัติคือ  การมีจิตใจที่รับรู้ สิ่งต่าง   รับรู้ข้อมูล  แล้วนำมาสังเคราะห์ข้อมูล  และสรุปว่าสิ่งใดดี  ไม่ดี

                3.  จิตใจที่สร้างสรรค์  คือ  ความสามารถของจิตใจในการสร้างสรรค์สิ่งใหม่   คนที่มีจิตใจสร้างสรรค์  ควรมีคุณสมบัติคือ  การมีความสามารถในการทำสิ่งต่าง ๆ  ได้อย่างหลากหลาย  ความสามารถในการสังเคราะห์สิ่งที่รู้แล้ว  ความสามารถในการปฏิบัติได้นอกเหนือจากการเข้าใจข้อมูล  ความสามารถในการคิดคำนวณ  ความสามารถในการถามที่แปลกใหม่  ความสามารถในการตัดสินใจ

                4.  จิตใจที่นอบน้อม  เคารพ  คนที่มีจิตใจที่นอบน้อม  เคารพ  ควรมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้  ความเข้าใจถึงความหลากหลายในชีวิตว่าเป็นความจริง  การมีความอดทนอดกลั้น  การเข้าใจผู้อื่นทั้งด้านอารมณ์  แรงจูงใจ  และความเป็นตัวตนของผู้อื่น  ซึ่งครู  ผู้บริหาร  พ่อแม่  ต้องมีบทบาทร่วมกันในการพัฒนาจิตใจของเด็ก

                5.  จิตใจที่มีคุณธรรม  คนที่มีจิตใจที่มีคุณธรรม  ควรมีคุณสมบัติ  คือ  ความเป็นเลิศ  มีความถนัด  มีคุณภาพสูง  มีคุณธรรมจริยธรรม  รับผิดชอบต่อสังคม  มีความหมาย  มีแรงจูงใจจากภายในที่จะทำความดี

                แนวความคิด  หลักการเกี่ยวกับการพัฒนาทางปัญญาควบคู่กับการพัฒนาจิตใจ  จำเป็นอย่างมากต่อการนำมาใช้ในการพัฒนาวงการศึกษา  โดยเริ่มตั้งแต่ระบบปฐมวัยเพราะสังคมสมัยนี้เราต้องการคนดี  คนที่มีคุณธรรมจริยธรรมเป็นอันดับแรก  และตามมาด้วยความเก่ง  การนำทฤษฎีพหุปัญญามาใช้ในการจัดกระบวนการเรียนรู้นั้น  มีวิจัยที่ยืนยันว่าสามารถพัฒนาผู้เรียนได้ตามแนวทางของการเป็นผู้เรียนเป็นสำคัญ   คำนึงถึงความสามารถและปัญญาของผู้เรียน  ซึ่งมีอยู่อย่างหลากหลายเราจะยืนยันได้อย่างไรก็อยู่ที่การนำไปปฏิบัติต่อไป

  

สมองกับการเรียนรู้

                สมองเริ่มต้นทำงานจากการรับข้อมูล  ซึ่งเป็นข้อมูลที่เข้ามาทางประสาทสัมผัสโดยผ่านทางหู  ตา  จมูก  ลิ้น  ผิวหนัง  มือ  เท้า  และความรู้สึก  จะส่งผ่านระบบของสมองต่าง   สมองแต่ละส่วน จะมีการกลั่นกรองข้อมูล  ข้อมูลใดไม่สำคัญ  ไม่มีความหมาย  ก็จะถูกตัดออกไป  ไม่เข้าไปสู่ระบบการเรียนรู้ด้วยกระบวนการกลั่นกรองนี้  ในสมองจึงไม่มีข้อมูลรกรุงรังเต็มไปหมด  ในทำนอง     เดียวกัน  ถ้าข้อมูลใดพบครั้งเดียว  ไม่นำมาใช้อีกเลย  ข้อมูลนั้นก็จะหายไป  เรียกว่า  การลืม  มีผู้วิจัยได้เสนอผลการวิจัยทางสมองที่นำมาใช้ในการเรียนรู้  ซึ่งสรุปหลักการสำคัญไว้  6  ประการคือ

                1.  สมองเป็นลักษณะเฉพาะตัวไม่เหมือนกันแต่สำคัญเท่ากัน  ผลการวิจัยทางสมองสรุปว่า  ไม่มีสมอง  2  สมองใด ๆ  ที่เหมือนกันทั้งหมด  เพราะสมองมีการพัฒนาขึ้นจากเดิมที่ต่อมาเรียกว่ากรรมพันธุ์   และสิ่งที่กระทบต่อสมอง  เรียกว่า  สิ่งแวดล้อม  เมื่อรวมกันแล้วก็จะเป็นผลการพัฒนาของสมอง  เนื่องจากการทำงานของสมองของแต่ละคนต่างกัน  การรับรู้ของแต่ละคนก็ต่างกัน  ดังนั้นผลรวมจึงต่างกัน  แม้แต่คู่แฝดแท้  ก็ยังต่างกันไม่เหมือนกัน  100  เปอร์เซ็นต์  แต่อย่างไรก็ตามสมองแต่ละสสมองก็ควรได้รับการยอมรับเท่าเทียมกันตามหลักความเสมอภาคของมนุษย์

                2.  อารมณ์เป็นส่วนสำคัญในการเรียนรู้ทุกขั้นตอน  ข้อมูลที่สมองรับไปจะผ่านด่านการกรองความรู้สึกก่อน  ดังนั้นอารมณ์จึงสัมพันธ์กับการเรียนรู้  เริ่มตั้งแต่  การรับรู้  การรับข้อมูลหรือความยินดีในการเรียน  ถ้าเรื่องที่จะเรียนไม่ติดมากับอารมณ์เชิงบวก  น่าสนุก  น่าสนใจ    ความยินดีในการเรียนก็จะมีน้อยไม่อยากเรียน  ไม่อยากรู้หรือไม่สนใจเรียน

                3.  ความปรารถนาสูงสุดของจิต  คือ  การได้กำหนดทิศทางตนเอง  ความต้องการพื้นฐานของมนุษย์   คือ  ความอิสระ  ได้คิด  ได้ตัดสินใจเองได้  ใช้ความสามารถสูงสุดของตนเอง  ดังนั้นการจัดการเรียนรู้จึงต้องตอบสนองความปรารถนาสูงสุดข้อนี้  การเรียนรู้จะเกิดขึ้นได้ดีตามหลักการข้อนี้ก็ต่อเมื่อกิจกรรมการเรียนรู้มีลักษณะที่ผู้เรียนเป็นผู้เลือกเอง  ผู้เรียนเป็นผู้ประเมินตนเอง  ผู้เรียนใช้ความรู้เดิม วิธีการเดิมมาเพิ่มพูน  ผู้เรียนค้นพบลีลาของตนเองแล้วแลกเปลี่ยนกันและผู้เรียนช้าต้องฝึกวิธีการเรียน

                4.  กระบวนการและลีลาการเรียนแบบต่าง ๆ  ล้วนเป็นวิธีการที่นำสู่ความรู้  ซึ่งมีความสำคัญในตัวเองและจะเป็นสิ่งที่ติดตัวผู้เรียนไปยาวนาน  รูปแบบการเรียนรู้จึงต้องมีความหลากหลาย        ไม่จำกัดอยู่เพียงวิธีเดียวรูปแบบเดียว   การปฏิบัติของครูตามแนวทางการพัฒนาสมองคือ

-          คำตอบผิดเป็นจุดเริ่มต้นของการเรียนรู้

-          สมองมองหาแบบแผนเพื่อการเรียนรู้และจำได้ดี

-          ทุกสิ่งทุกอย่างต้องทบทวนตรวจสอบเสมอ

5.   การเรียนรู้ที่ดีที่สุดง่ายที่สุด  คือ  การลงมือทำจริง  การเรียนรู้ทั้งหลายจะต้องใช้ร่างกาย

หมายเลขบันทึก: 187872เขียนเมื่อ 13 มิถุนายน 2008 15:04 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 23:46 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

ดีมากเลยคะ พอดีรับผิดชอบงานศูนย์เด็กเล็กน่าอยู่ อยู่พอดีเลย สามารถนำความรู้นี้ไปแนะนำครูศูนย์เด็กเล็กได้

นักวิชาการสาธารณสุข

ดีค่ะ พอดีเลยค่ะดิฉันได้ทำงานกับเด็กววัยนี้

แต่ช่วยที่ได้ไมค่ะว่าเด็กปฐมวัยจำเป็นที่จะต้องเรียนเป้นรายวิชาหรือเปล่าค่ะ

เพราะว่าดิฉันได้รับหน้าที่สอนเด็กปฐมวัยแต่ได้สอนแบบ 8 กลุ่มสาระค่ะ

ที่ได้เรียนมาเขาให้สอนแบบบูรณาการ

ครูบ้านนอก......... ขอบคุณค่ะ

เป็นประโยชน์สำหรับการเรียนการสอนของครู และนักเรียนนักศึกษาที่กำลังศึกษาอยู่ในขณะนี้ค่ะ

นางสาวกิ่งกาญจน์ พันมะวงค์

สวัสดีค่ะอาจารย์ดร.ดารารัตน์ อุทัยพยัคฆ์

ดิฉันนางสาวกิ่งกาญจน์ พันมะวงค์ เลขที่ 8 หมู่ที่1 นักศึกษาป.บัณฑิตรุ่นที่ 13 ม.ราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง

ดิฉันชอบบทความตรงที่ดิฉันสามารถนำยุทศาสตร์การส่งเสริมพัฒนาเด็กปฐมวัย ในช่วงอายุ 3 -5 ปี ไปปรับใช้กับหลานของดิฉัน

ปีใหม่นี้ขอให้อาจารย์มีสุขภาพแข็งแรง และมีความสุขมากๆในปีกระต่ายนะค่ะ

จากลูกศิษย์อาจารย์ค่ะ

เป็นสิ่งที่มีประโยชน์มากๆค่ะ สำหรับการพัฒนาเด็กปฐมวัยให้มีคุณภาพประสิทธิภาพ เพราะการพัฒนาเด็กในระดับนี้เป็นการเริ่มต้นที่ดีมาก อีกทั้งยังส่งผลให้เด็ก มีการพัฒนาทางด้านร่างกายและจิตใจ รวมถึงความคิดสร้างสรรค์ไปในทางที่ดีเพิ่มมากขึ้น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท