OPD 3 in one


แบ่งการบริหารงานออกเป็น 3 หอผู้ป่วย 14 หน่วยงาน

 หน่วยผู้ป่วยนอก  โรงพยาบาลสงขลานครินทร์

 

หน่วยผู้ป่วยนอก   ตั้งอยู่ที่ชั้น 1 และชั้น Basement  ของโรงพยาบาลสงขลานครินทร์อาคารที่เกี่ยวข้องกับการรักษาพยาบาล มีทั้งหมด  8 หลัง อาคารทุกหลังเชื่อมต่อถึงกัน  แบ่งการบริหารงานออกเป็น  3 หอผู้ป่วย   14  หน่วยงาน   มีห้องตรวจทั้งหมด 137 ห้องตรวจ   193 โต๊ะแพทย์ตรวจ   97 เตียงตรวจ   32   เตียงหัตถการ   มีห้องทำหัตถการส่วนกลาง   1 ห้อง  ห้องทำหัตถการเฉพาะโรคของคลินิก  6 ห้อง  ที่เด็ก  อายุรกรรม   ตา   หู คอ จมูก  ห้องเฝือก  ศัลยกรรม   ห้องตรวจการได้ยิน 2 ห้อง  ตรวจ BSER  1 ห้อง  ห้องฝึกพูด 1 ห้อง ห้องสังเกตอาการผู้ป่วยรถนอน  2 ห้อง ที่ ศัลยกรรมและอายุรกรรม    จำนวนผู้ป่วยเฉลี่ย  2250  คน / วัน    มีศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศทางการแพทย์ที่สนับสนุนข้อมูลทางการแพทย์ของหน่วยงานต่าง ๆ ด้วยระบบสารสนเทศโรงพยาบาล (Hospital Information System , HIS) และมีระบบสื่อสารผ่านทาง intranet และ internet ทั่วทั้งโรงพยาบาล

ก.      ความมุ่งหมาย ( purpose)

1.    ด้านการรักษาพยาบาลผู้ป่วยนอก   ให้บริการที่เป็นเลิศ มุ่งสู่ระดับนานาชาติ  โดยการจัดการรักษาผู้ป่วยนอกอย่างมีคุณภาพ  และประสิทธิภาพ  พัฒนาหน่วยผู้ป่วยนอกให้มีศักยภาพระดับสูงสุดของประเทศ  ในการดูแลผู้ป่วยโรคซับซ้อน  มาตรฐานเทียบเท่าสหรัฐอเมริกา อาศัยค่านิยมหลัก 4 ประการคือ การมุ่งเน้นคุณภาพ (quality focus) การมุ่งเน้นผู้รับบริการ (customer focus) การทำงานเป็นทีม (teamwork) จิตสำนึกด้านความเสี่ยงและความปลอดภัย  (risk and safety awareness)

2       โดยให้การรักษาพยาบาลผู้มารับบริการทั้งประชาชนจากจังหวัดสงขลา และจังหวัดใกล้เคียงในด้านต่างๆครบทุกสาขา

3        บริการด้านสนับสนุนการเรียนการสอนให้กับนักศึกษาวิทยาศาสตร์สุขภาพ  แพทย์  พยาบาล ทั้งระดับก่อนปริญญา  ปริญญา  และหลังปริญญา

4       สนับสนุนงานวิจัยกับบุคลากร   นักศึกษาวิทยาศาสตร์สุขภาพ  แพทย์  พยาบาล ทั้งระดับก่อนปริญญา  ปริญญา  และหลังปริญญา

5       ชี้นำสังคมด้านการส่งเสริมสุขภาพของประชาชน ส่งเสริมความฉลาดทางอารมณ์ เชาว์ปัญญาในเด็กก่อนวัยเรียน    ด้านการป้องกันโรค มีการค้นหา ตรวจมะเร็งปากมดลูก และให้คำแนะนำในการตรวจมะเร็งเต้านมด้วยตนเอง   สำหรับโรคไม่ติดต่อมีการให้ความรู้ในเรื่องโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคหัวใจ     ด้านการฟื้นฟูสุขภาพ  ทำงานร่วมกับศูนย์การดูแลผู้ป่วยต่อเนื่องที่บ้านหรือโรงพยาบาลใกล้บ้าน  มีการฟื้นฟูสุขภาพผู้ป่วยเรื้อรัง เช่น   การฟื้นฟูสภาพแผลเรื้อรัง  ผู้ป่วยที่เป็นอัมพาต/ อัมพฤกษ์ มีการกระตุ้นพัฒนาการเด็กที่มีพัฒนาการช้า

ข. ขอบเขตบริการ (Scope of service)

·        ครอบคลุมการบริการดังนี้

1)           ให้บริการตรวจรักษาพยาบาลแบบผู้ป่วยนอก   เปิดให้บริการเวลาราชการตั้งแต่วันจันทร์-วันศุกร์ ตั้งแต่เวลา 07.30 น.- 16.30 น. รับผู้ป่วยทั่วไป ผู้ป่วยโรคยาก ซับซ้อน ทุกรายที่ไม่มีอาการฉุกเฉิน จัดบริการแบบคลินิกทั่วไปและคลินิกเฉพาะโรคตามความเชี่ยวชาญของแพทย์เฉพาะสาขา 12 หน่วยบริการคือ คลินิกเด็ก  อายุรกรรม  ศัลยกรรม   กระดูกและข้อ  ตา   หู คอ จมูก จิตเวช  ฝากครรภ์  นรีเวช และคลินิกทั่วไป  ยกเว้นคลินิกผิวหนังเปิดบริการเฉพาะวันจันทร์  พุธ  ศุกร์  เวลา 07.30 น.- 12.30 น.  คลินิกเฝือก เปิดให้บริการเวลาราชการตั้งแต่วันจันทร์-วันศุกร์ ตั้งแต่เวลา 07.30 น.- 16.30 น.ยกเว้นวันพุธ

2)           ให้บริการทำหัตถการ ทำแผล-ฉีดยา   โดยเปิดให้บริการที่ห้องทำแผล-ฉีดยา ทุกวัน ไม่เว้นวันหยุดราชการและวันหยุดนักขัตฤกษ์ เวลา 08.00-16.30 . รับทำหัตถการที่ส่งจากคลินิกต่างๆ ทั้งผู้ป่วยนัดและผู้ป่วยใหม่ ที่เป็นหัตถการทางการพยาบาล   หากเป็นหัตถการที่แพทย์ทำแพทย์เจ้าของไข้จะตามมาทำเอง   ในวันหยุดราชการรับทำแผล-ฉีดยาในผู้ป่วยนัดที่ไม่ซับซ้อน ไม่รับผู้ป่วยรายใหม่จากห้องฉุกเฉินหรือหน่วยบริการอื่นๆเนื่องจากไม่มีแพทย์ประจำห้องหัตถการ

3)           ให้บริการคัดกรองเบื้องต้นและแนะนำผู้ป่วยบริเวณด่านหน้า    ให้บริการตั้งแต่ เวลา  07.30 น.- 12.00 น.  ทุกวันราชการ  โดยทำงานร่วมกับหน่วยบริการด่านหน้าอื่นๆ เช่นหน่วยบริการลูกค้าสัมพันธ์  หน่วยรักษาความปลอดภัย  หน่วยขนย้ายผู้ป่วย  หน่วยเวชระเบียน   มีหน้าที่คัดกรองผู้ป่วยเบื้องต้น  แนะนำผู้ป่วยเพื่อส่งต่อขอรับบริการที่จุดบริการตรวจต่างๆ  แนะนำการนัดตรวจคลินิกนอกเวลาราชการ   นัดตรวจล่วงหน้า หรือประสานงานเพื่อขอรับบริการที่หน่วยฉุกเฉิน   จุดนี้ไม่มีแพทย์ประจำ  มีพยาบาลประจำการ 1 คน   ลูกจ้าง  3 คน

4)           ให้บริการฉีดวัคซีนในคลินิกเด็กดี   โดยให้บริการในวันอังคารเวลา 13.00-16.30 . ใช้สถานที่ที่คลินิกผิวหนังซึ่งเป็นสถานที่ชั่วคราว   จุดนี้ไม่มีแพทย์ประจำ   หากมีปัญหาให้ปรึกษาแพทย์เจ้าของไข้ที่คลินิกเด็ก

5)           ให้บริการให้เลือดแบบผู้ป่วยนอกในเด็กโรคเลือด   โดยให้บริการในวันจันทร์   ตั้งแต่เวลา 11.00-20.00 . มีผู้รับบริการ 40- 65 รายต่อวัน   มีแพทย์ประจำ 1 คน   หมุนเวียนพยาบาลมาให้เลือดและสังเกตอาการหลังให้เลือดวันละ   5 คน   ลูกจ้าง 7 คน  ใช้สถานที่ชั่วคราวที่ชั้น 8  อาคาร 13 ชั้น   และให้บริการให้เลือดในผู้ใหญ่คลินิกอายุรกรรมโรคเลือดในวันพุธและวันพฤหัสบดี ที่ห้องสังเกตอาการคลินิกอายุรกรรมมีผู้รับบริการ 2-6รายต่อวัน 

6)            ให้บริการแจ้งผลการตรวจทางไปรษณียบัตร   ในกลุ่มผู้ป่วยตรวจสุขภาพประจำปี   ตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก   เป็นต้น

7)           ให้บริการปรึกษาทางโทรศัพท์   โดยให้บริการเฉพาะสาขาผู้รับบริการสามรถโทรศัพท์ได้ทุกวันเวลาราชการ

·                    ไม่ครอบคลุมการให้บริการแบบผู้ป่วยนอกที่โรงพยาบาลมอบหมายให้มีหน่วยงานหรือมีผู้รับผิดชอบโดยตรงหรือเปิดบริการพิเศษอื่นๆแต่มีการประสาน / ส่งต่อผู้ป่วยซึ่งกันและกันเช่น

1)           การบริการพิเศษคลินิกนอกเวลาราชการ  โรงพยาบาลได้แยกระบบบริหารจัดการออกจากระบบปกติ มีผู้จัดการนอกเวลาราชการและคณะทำงานรับผิดชอบโดยตรง แต่ขอใช้สถานที่บริเวณหน่วยผู้ป่วยนอกในการเปิดบริการ

2)           การบริการผู้ป่วยที่มีภาวะฉุกเฉิน /วิกฤติทุกประเภท  เพื่อความปลอดภัยของผู้ป่วยทางโรงพยาบาลได้จัดช่องทางให้ใช้บริการที่หน่วยฉุกเฉิน

3)           บริการการให้ยาเคมีบำบัดแบบผู้ป่วยนอก  เพื่อความปลอดภัยของผู้ป่วยทางโรงพยาบาลได้จัดช่องทางให้ใช้บริการที่ศูนย์ให้ยาเคมีบำบัด   ยกเว้นการให้ยาเคมีบำบัดในเด็กโรคเลือดวันจันทร์ยังใช้บริการที่ห้องทำแผลฉีดยา  เนื่องจากโรงพยาบาลมีข้อจำกัดเรื่องปริมาณผู้ป่วยมาก  ศูนย์ให้ยาเคมีบำบัดไม่สามรถรับได้  นับว่ายังเป็นจุดเสี่ยงสำหรับผู้บริการ  ผู้รับบริการ  ญาติและผู้ป่วยรายอื่น

4)           การบริการรังสีรักษา ซึ่งรับผิดชอบโดยภาควิชารังสีวิทยา

5)           การบริการตรวจรักษาทางทันตกรรม

6)           การบริการทางเวชศาสตร์นิวเคลียร์

7)           การบริการทางกายภาพบำบัด

8)           การบริการคลินิกฝังเข็ม

9)           การบริการที่หน่วยPCU,DSC ,OR Minor ,Home Health Care, NKC , ศูนย์โรคหัวใจ และการบริการของหน่วยต่างๆที่สังกัดภาควิชา

 

 

 

ประเภทของผู้ป่วย

1 .ผู้ป่วย Walk in คือผู้ป่วยที่มารับบริการที่คลินิกโดยไม่มีใบนัด มีทั้งผู้ป่วยใหม่และผู้ป่วยเก่า ผู้ป่วยใหม่ยื่นทำบัตรใหม่ที่งานเวชระเบียน ส่วนผู้ป่วยสามารถยื่นบัตรได้โดยตรงที่คลินิกเดตั้งแต่เวลา 7.30-11.30น.ของทุกวันหรืออาจโทรจองคิวตรวจทางโทรศัพท์ล่วงหน้าได้ที่งานเวชระเบียนก่อนมาตรวจก็ได้  

2 .ผู้ป่วยนัด คือ ผู้ป่วยที่แพทย์นัดมาเพื่อติดตามอาการหลังได้รับการตรวจรักษา หมายรวมถึงผู้ป่วยในที่ได้จำหน่ายออกจากการนอนโรงพยาบาลหลังได้รับการรักษาจนอาการดีขึ้นแล้วและผู้ป่วยของคลินิกเฉพาะโรค ผู้ป่วยกลุ่มนี้จะได้รับคำแนะนำให้มายื่นบัตรก่อนเวลานัดหมาย 15-30 นาทียกเว้นผู้ป่วยที่ต้องส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการก่อนพบแพทย์จะให้มาส่งตรวจก่อนถึงเวลานัด 2ชั่วโมงและให้มาติดต่อที่คลินิกเพื่อลงทะเบียนก่อนเวลานัด 15- 30นาที

3.  ผู้ป่วย Refer คือผู้ป่วยที่ส่งตัวมาจากสถานบริการสุขภาพอื่นทั้งของหน่วยราชการและเอกชนโดยสามารถแบ่งผู้ป่วยเหล่านี้เป็น2ประเภทคือ

3.1  ผู้ป่วย Refer มาเพื่อตรวจที่คลินิกผู้ป่วยนอก ทางคลินิกจะเปิดให้บริการถึงเวลา 15.00 น.ทุกวันราชการ

3.2  ผู้ป่วย Referมาเพื่อเข้ารับการรักษาต่อในโรงพยาบาล ในทางปฏิบัติแพทย์ผู้ที่จะ Refer ผู้ป่วยจะโทรติดต่อกับแพทย์ผู้รับ Refer  ก่อน เพื่อแจ้งรายละเอียดเกี่ยวกับประวัติของผู้ป่วยตลอดจนการรักษาที่ให้แก่ผู้ป่วย หากมีเตียงว่างแพทย์สามารถส่งผู้ป่วยมาได้ทันที ในกรณีที่ไม่มีเตียงแพทย์ผู้รับเรื่องจะติดต่อจองเตียงที่หอผู้ป่วยไว้ และให้ติดต่อสอบถามเตียงใหม่ในวันรุ่งขึ้น 

4.   ผู้ป่วย Consult คือผู้ป่วยที่แพทย์แผนกอื่นส่งมาเพื่อปรึกษาปัญหาทางด้านเฉพาะโรคต่างๆ   โดยคลินิกจะเปิดรับ Consult ตามเงื่อนไขของแต่ละภาควิชา

 

12-06-2551

ระบบการทำงานแบบOPD 3 in one

 

   

 

                 จากภาพจะเห็นได้ว่าหน่วยผู้ป่วยนอกเป็นหน่วยงานที่ใหญ่แบ่งเป็น 3 OPD แต่ละ OPD มีหน่วยงานย่อยอีกหลายหน่วย แต่ละหน่วยทำงานด้านบริการทางคลินิกร่วมกับ PCT ของภาควิชา ทำให้เกิดการจัดระบบบริการที่หลากหลาย    ทำให้เกิดปัญหาแนวปฏิบัติงานของบุคลากรแต่ละคลินิก   ปัญหาการส่งต่อระหว่างจุดที่ให้บริการผู้ป่วยนอก การส่งต่อระหว่างผู้ป่วยนอกและหน่วยฉุกเฉิน การส่งต่อระหว่างผู้ป่วยนอกเพื่อเป็นผู้ป่วยใน ซึ่งมีแนวทางดังนี้

            การประสานงานภายในเพื่อจัดระบบบริการผู้ป่วยนอกทั้ง 3 OPDให้เป็นทิศทางเดียวกัน(OPD 3 in one) การจัดระเบียบปฏิบัติงาน /ข้อตกลงภายในหน่วยงาน การหมุนเวียนการปฏิบัติงาน เรื่องแจ้งต่างๆมีแนวทางดังนี้

§    ประชุมประสานงานระหว่างหัวหน้าหอผู้ป่วยนอก1-2-3  หัวหน้าคลินิกต่างๆ สรุปเป็นแนวปฏิบัติ จัดทำเป็นคู่มือ / หนังสือเวียนแจ้ง

§        ประสานงานด้วยวาจา / หนังสือเวียนแจ้ง  / ติดบอร์ดประกาศ

§        ผ่านทาง e- mail

§        ประชุมบุคลากรทุกระดับและเปิดโอกาสให้แสดงความคิดเห็น

การประสานงานภายนอกหน่วยผู้ป่วยนอกมีแนวทางดังนี้

§        เกี่ยวกับการพัฒนาระบบการให้บริการผู้ป่วยนอกที่ครอบคลุมทุกระบบจะประสานงานผ่านที่ประชุม OPD COMMITTEE ซึ่งประกอบด้วยหัวหน้างาน / ตัวแทนจากผู้บริหารโรงพยาบาล

ธุรการโรงพยาบาล หน่วยลูกค้าสัมพันธ์  ศูนย์รับข้อร้องเรียน  หน่วยขนย้ายผู้ป่วย หน่วยรักษาความปลอดภัย เวชระเบียน การเงิน สิทธิประโยชน์ เภสัชกร รังสีฯ พยาธิฯและหน่วยทันตกรรมเป็นต้น

§        กรณีเป็นปัญหาใหญ่/ปัญหาที่เกี่ยวกับนโยบาย/การขอความร่วมมือจากหน่วยงานภายนอกจะจัดทำเป็นบันทึก/รายงานผ่านผู้ตรวจการพยาบาลเพื่อพิจารณาประสานงานตามลำดับขั้น

§        กรณีปัญหาเล็กน้อย / ปัญหาประจำวัน / เรื่องทั่วไปจะประสานงานด้วยวาจา หนังสือเวียนแจ้ง   ติดบอร์ดประกาศ  หรือผ่านทาง e- mail โดยจะพิจารณาเป็นเรื่องๆไป

§     ด้านการพัฒนาคุณภาพการรักษาพยาบาล และการป้องกันความเสี่ยงทางคลินิกจะประสานงานผ่าน PCT

§     ประชุมประสานงานเฉพาะเรื่อง / หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเช่นการพัฒนาระบบบริการเพื่อรองรับระบบจ่ายตรง   การลดขั้นตอนการ admit  การประชุมประสานงานการส่งต่อOPD &ER   การพัฒนาโปรแกรมการลงหัตถการผู้ป่วยนอกเป็นต้น

 

 

ความภาคภูมิใจของหน่วยงานในรอบปี2550

 กิจกรรมทบทวน

1)       ตามรอยคุณภาพระบบการให้เลือดเด็กโรคเลือด

2)       ทบทวนขั้นตอนการส่งเลือด ขั้นตอนการเช็คเลือด

3)       ทบทวนการrefer  / ดูแลเด็กแพ้เลือด

4)       ทบทวนระบบการให้เลือดเด็กโรคเลือด

5)       ทบทวนการจัดอัตรากำลังห้องให้เลือดเด็กโรคเลือดทั้งในผลัดปกติและผลัด BD

6)       ทบทวนปัญหา / แนวทางพัฒนาระบบ Paperless  OPD  Card

7)       ทบทวนระบบการให้บริการผู้ป่วยนอก

8)       ทบทวนระเบียบการปฏิบัติงานของหน่วยผู้ป่วยนอก / คู่มือปฐมนิเทศเจ้าหน้าที่ใหม่

9)       ทบทวนการเขียนแบบประเมินตนเองของหน่วยงาน

10)   กิจกรรมหัวหน้าพาทำคุณภาพคลินิกอายุรกรรม  เด็ก  ผิวหนัง

11)   ทบทวนการ float อัตรากำลังตามภาระงานในช่วงบ่าย

หมายเลขบันทึก: 187569เขียนเมื่อ 11 มิถุนายน 2008 22:39 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 19:09 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)

ดีใจค่ะที่เห็นบันทึกของพี่ลักษมี เอ! เราเคยเจอกันในงานบล็อกเกอร์ มอ. ปีที่แล้ว ใช่ไหมค่ะ :)

พี่หมีติดเครื่องแล้วแบบนี้ อย่าหยุดนะคะ คนคณะแพทย์เองยังไม่รู้อะไรอีกหลายเรื่องเลยค่ะ จะตามเป็นแฟนบล็อกนะคะพี่

ถ้าอยากปรึกษาพี่ ทำไงค่ะ หรือว่าอยากทราบรายละเอียดเกี่ยวกับการให้ให้บริการ ต้องทำไงค่ะ

ได้ใช้บริการของมอ.แล้วยอมรับหมอบางท่านดีมากบางท่านก็ไม่ดีเลยเจอกับตัวเองโดยตรงที่ว่าบริการเป็นเลิศนั้นคงต้องปรับปรุงอีกค่ะในวันที่ 27/7/09 มีผู้ป่วย 1 ท่านถูกส่งตัวมาจากต่างจังหวัดโดยไม่มีการจองเตียงไปถึง มอ.ประมาณเที่ยงคืน และผู้ป่วยรายนี้ได้รับการผ่าตัดจากมอ. และอยู่ในระหว่างการให้เคมีบำบัดหลังการให้เคมีบำบัดก็มีอาการติดเชื้อ โรงพยาบาลใกล้บ้านไม่มียารักษาจำเป็นต้องส่งตัว โดยให้ผู้ป่วยมาเอง เมื่อเข้ารักษาโดยไปที่ ห้องฉุกเฉินหมอทำการรักษาให้ ให้น้ำเกลือ 2 ถุงเพื่อให้ความดันขึ้น ฉีดยาฆ่าเชื้อ 1 เข็ม เจาะเลือดเพื่อเพาะเชื้อ ผู้ป่วยมีอาการดีขึ้นบ้างแต่ก็ยังจัดว่าแย่ หมอห้องฉุกเฉินส่งตัวกลับไปยังโรงพยาบาลประจำจังหวัด เพราะแจ้งว่าเตียงไม่มี ทั้งที่ญาติแจ้งว่าผู้ป่วยแย่มากจำเป็นต้องพบแพทย์ผู้ที่ทำการให้เคมีบำบัดแล้วแต่หมอที่ห้องฉุกเฉินคืนนั้นพูดว่า ญาติคุยไม่รู้เรื่อง ญาติจำเป็นต้องกลับกว่าจะถึงโรงพยาบาลประจำจังหวัดใช้เวลา ประมาณ 4 ชั่วโมงมาตั้งแต่ตี 4 ของวันที่ 27/7/09 ไปถึง 8 โมงเช้าวันที่ 28/7/09 พบหมอที่ รพ.มหาราช คุณหมอเขาพูดว่า มอ.ส่งมาได้อย่างไรผู้ป่วยแย่แล้ว และหมอได้ขอเบอร์มอ.และโทรไปจองเตียง และได้คำตอบจากพยาบาลว่าเต็มในวันนั้นแต่ในวันรุ่งขึ้น วันที่ 29 ไร้วี่แววทาง มอ.แจ้งกลับว่ามีเตียง ญาติทนไม่ไหวเพราะวันที่ 29/7/9 ไม่มีหมอมาตรวจผู้ป่วยเลยผู้ป่วยก็แย่ถ่ายเหลว 20 กว่าครั้งจำลูกไม่ได้แล้วไม่รู้วันเวลาแล้ว ญาติก็โทรไปตามระเบียบ และแจ้งว่าแพทย์ให้โทรมาผู้ป่วยแย่แล้ว พยาบาลแจ้งว่าเขาจะโทรกลับแล้วเขาก็โทรกลับมาบอกเตียงไม่มี ญาติเสียความรู้สึกมากได้พูดกับพยาบาลว่าโยนกันไปโยนกันมาหรือสักพักเขาก็บอกว่าเขาบอกหมอให้แล้วจะโทรกลับแต่ก็เหมือนเดิมไม่โทรกลับมาแจ้ง ว่ามีเตียงต้องโทรไปเอง ทางมอ.จึงบอกว่ามีเตียงมาได้เลยแต่ต้องไม่เกินเที่ยงคืนมาช้ากว่าเที่ยงคืนส่งกลับ ทางมอ.ส่งกลับ นี่หรือคือความเป็นเลิศของ มอ. เขียนไว้ทำไม บัญญัติของโรงพยาบาล เขียนไว้ประดับหรือค่ะ ผู้ป่วยมีสิทธิในการขอการรักษาโดยเท่าเทียมกันถามว่าหากวันนั้นเป็นญาติของหมอเองหมอไม่ไล่กลับรพ.มหาราชอย่างแน่นอน อย่าบอกเลยว่าหมอท่านชื่ออะไร อายแทน มอ.ค่ะเพราะหมอบางท่านดีเยี่ยมค่ะ และได้มาเจออีกค่ะหมอคนนั้นที่ตึกอายุรกรรมชาย 1 ค่ะ ยังพูดจาเหมือนเดิมค่ะมะนาวไม่มีน้ำค่ะ อยากบอกว่าผู้ป่วยและญาติผู้ป่วยมีหัวใจค่ะลองญาติของหมอเป็นแบบนี้แล้วโดนแบบนี้บ้างหมอจะรู้สึกอย่างไร แต่สำหรับพวกเราบอกกได้คำเดียวค่ะ ว่าเจอหมอมาก็มากไม่เคยเจอหมอแบบคุณเลยค่ะ บุคลากรคคือหน้าตาของ มอ.เช่นกันค่ะ อย่าคิดว่าตาสีตาสาไม่รู้เรื่องอ่านหนังสือไม่ออกค่ะ ขอบคุณมากค่ะที่มีพื้นที่สำหรับติชม

ครับผมเป็นอีกคนที่อยากจะระบายความจริงที่พบเจอมา คล้ายๆกับคุณข้างบน(คห.ที่5) ที่คล้าย หรืออาจจะเป็นหมอคนเดียวกันก็ไม่แน่ คือ หมอแผนก อายุรกรรมชาย 5 (ที่ว่าคนเดียวกันอาจจะเปลี่ยนเบอร์ห้อง) เรื่องของเรื่อง คือ ผมเป็น ตำรวจอยู่พื้นที่ จ.ยะลา เมื่อ วันที่ 14/2/2553 ผมออกเวรและก็กลับบ้านที่ อ.หาดใหญ่ ทางญาติที่ จ.พัทลุง โทรมาบอกว่า คุณตาที่ไปรักษาตัวอยู่ที่ รพ.อำเภอหนึ่งของ จ.พัทลุง อาการไม่ดีขึ้น จึงให้ผมไปรับตามาตรวจดูอาการที่ รพ.มอ ผมก็ไปรับแล้วก็พาตาไป รพ.มอ.วันนั้นเลย แต่ วันที่ 14 เป็นวันอาทิตย์ ผมจึงพาตาไปที่ตึกฉุกเฉิน และพบกับคุณหมอผู้หญิงซึ่งใจดีมาก คุณหมอสอบถามอาการของตาจากตาโดยตรงและมีผมกับน้าสาวอีกคนที่คอยให้ข้อมูลเพิ่มเติม หลังจากนั้นคุนหมอก็นัดให้มาพบหมอเฉพาะทาง คือแผนกอายุรกรรมชาย(เริ่มเข้าประเด็นแล้ว ) ในวันอังคารที่ 16/2/2553 ซึ่งช่วงนั้นผมก็ต้องขออนุญาตจากผู้บังคับบัญชาเพื่ออยู่ต่อ จากนั้นก็มาพบหมอตามใบนัด ครั้งแรกที่เจอหมอถามประโยคแรกว่าทำไมใบประวัติคนไข้มีใบเดียว ผมจึงอธิบายว่ามาจากตึกฉุกเฉินและรายเอียดต่างๆ จากนั้น หมอคนดังกล่าวได้โทรศัพท์(ภายใน)ไปหาคาดว่า น่าจะเป็นคุณหมอผู้หญิงที่รับตัวไว้วันแรกที่ตึกฉุกเฉิน โดยโทรไปต่อว่าแบบประมาณว่าไม่ไช่คนไข้ของเขาแต่มักจะโยนมาให้เขาประมาณนั้น โดยไม่ไว้หน้ากัน(ไม่อยากเขียน เพราะสงสารคุณหมอผู้หญิง)ต่อหน้าคนไข้คือตาและญาติคนไข้คือผมกับน้าสาวโดยไม่คิดถึงความรู้สึกของคนไข้หรือญาติคนไข้เลย จากนั้นก็ต่อสายไปหาคล้ายๆว่าน่าจะเป็นเลขา หรือลูกน้องนี่แหละ บอกว่าให้จดชื่อ นามสกุล คุณหมอผู้หญิงไว้เพื่อจะได้เอาเข้าที่ประชุมประมาณนั้น ตลอดการโทรศัพท์ทั้ง 2 ครั้ง ผมกับตาและน้าสาวก็อยู่ตรงนั้น จากนั้นหมอก็ให้ตายกแขนแล้วสบัดไปมา แล้วก็วินิจฉัยแบบเดียวกับคุณหมอผู้หญิง โดยไม่ถามอาการของตาเลย แล้วหมอก็บอกผมว่าเดี๋ยวจะให้ไปเอ็กซ์เรย์สมอง ค่าใช้จ่าย 8,000 บาท ญาติรับไหวมั้ย ผมก็ถามว่าแล้วการเอ็กซ์เรย์สมอง ทำระบบจ่ายตรงได้หรือเปล่า หมอไม่ตอบ แล้วบอกว่าเสร็จแล้ว จากนั้นก็ไปห้องเอ็กซ์เรย์ และนัดวัน และเวลา ได้ วันที่ 2/3/2553 ก็มาเอ็กซ์เรย์ ตามนัด เสร็จจากการเอกซ์เรย์ จนท.ก็นัดให้มาเจอหมอในวันที่ 16/3/2553 ตัวผมเองไม่ว่างเพราะติดภาระกิจงานศพ จ่าเพียร ผกก.สภ.บันนังสตา ก็ให้น้องสาวไปกับน้าสาวตามวันนัดแทน หมอก็ให้ยามากินตามปกติแต่ผมไม่ได้สอบถามรายละเอียดกับน้าสาว แต่ทราบว่าหมอถามว่าจะให้หมอนัดอีกมั้ย น้าสาวบอกว่าก็แล้วแต่หมอ หมอบอกว่ถ้าอย่างนั้น ให้กินยาแล้วดูอาการอีสักอาทิตย์ แล้วก็นัดอีกทีวันที่ 23/3/2553 ซึ่งแต่ละครั้งที่หมอนัดผมหรือน้องสาวแล้วแต่ใครจะว่างต้องไปรับตาที่ จ.พัทลุง มีค่าใช้จ่ายแต่ไม่เป็นไรเพราะถือว่าทำเพื่อตา จากนั้น เมื่อ วันที่ 23/3/2553 พีชายผมอีกคนที่ช่วงนี้ว่างเพราะ รร.ปิดเทอม (คุณครู) จึงไปรับตาไปพบหมอตามนัด ครั้งนี้พี่ชายผมเจอเข้าเอง เพราะก่อนหน้านี้ผมเคยเล่าพฤติกรรมของหมอคนนี้ให้พี่ชายฟัง พี่ชายบอกว่า หมอถามว่าแล้วจะให้หมอนัดอีกมั้ย พี่ชายบอกว่าก็แล้วแต่หมอ แต่ถามหมอกลับไปว่าถ้าอาการดีขึ้นจะกลับไปรับยาที่ รพ.ที่ตัวอำเภอ ได้หรือเปล่า สิ่งที่ไม่คาดคิด หมอบอกว่า "แล้วคุณมา มอ.ทำไม ผมเสียเวลากับคุณไปเท่าไหร่" พี่ชายก็ตอบว่าไม่ไช่ครับ คือถ้าตัวยาที่โน้นกับที่นี่มันเหมือนกันก็จะสะดวกในการรับยา ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย ไอ้หมอคนนี้ตอบว่ายังไงรู้มั้ย "ผมว่าทรุด อาการทรุดแน่ หรือไม่อาจจะดีก็ได้" พูดอย่างนี่ถ้าเป็นผมวันนั้นนะ ไม่รู้ล่ะ..... ผมเป็นคนหนึ่งที่ยอมรับการทำงานการบริการของ รพ.มอ.มีประสิทธิภาพช่วยเหลือผู้ตกทุกข์ได้ยากมานักต่อนัก แต่เมื่อมาเจอแบบนี้ ผมว่าหมอที่ดีๆมีเยอะแต่ทำไมผมและคุณข้างบนต้องมาเจอแล้วจะมีอีกสักกี่คนที่ต้องเจอแบบนี้ คนเป็นหมอก็เข้าใจว่าต้องเจอคนไข้มากมายต้องทนรับหลายสิ่งหลายอย่างเพราะทุกคนที่เข้าไปหาหมอทุกคนไม่ไปแบบสะบาย แต่คุณก็ต้องทนจรรยาบรรณการเป็นหมอเป็นแพทย์มันต้องมี เช่นเดียวกันผม เป็นตำรวจ อยู่ พื้นที่ 3 จชต. มันเสี่ยง ต้องแบกรับภาระหลายๆด้าน ต้องเผชิญภาวะความเครียดหลายๆอย่างแต่เราก็ต้องทน เพราะเป็นหน้าที่ ต้องปกป้องประเทศชาติ จริงๆแล้วตาของผมแก เป็นโรคอัลไซเมอร์ อายุ 90 ปี ช่วยเหลือตัวเองไม่ค่อยได้แล้ว แถมอยู่กับยายที่ จ.พัทลุง อาการก็พอๆกัน พวกผมมีหน้าที่ก็ช่วยดูแลห่างๆเพราะต่างคนต่างมีภาระหน้าที่ อีกอย่างคนแก่เขาก็รักบ้านไม่ยอมไมไหนง่ายๆหรอก ก็อยากฝากไว้แล้วกัน ผมเล่ายาว แต่ก็เพื่อให้ครบถ้วนทุกประเด็น หากถ้าเกิดว่าใครเคยเจอก็ร่วมแสดงความคิดเห็นได้ แต่ก็นั้นแหละช่องทางต้องนี้เข้าถึงคนส่วนใหญ่ยาก ดีไม่ดี ผมอาจจะไปเขียนในสื่ออื่นๆก็ไม่แน่ เช่น ช่อง สทท.11 รายการของคุณวิชาญ ผมว่าคุณวิชาญ คงชอบ เรื่องแบบนี้ ขอบคุณมากมายที่ให้โอกาส

อยากขอคำปรึกษางานลูกค้าสัมพันธ์เพื่อพัฒนางานในแผนกให้ดีขึ้นเช่นลงทะเบียนแบบ one stop serveic และสามารถบริการงานในด้านแบบไหนได้บ้าง ช่วยแนะนำด้วยค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท