วิจัย ๒ ขา


 

          ผมเริ่มมีแนวความคิดเรื่องมหาวิทยาลัยวิจัยของประเทศไทยว่าควรมีการทำวิจัย ๒ แนว    คือแนววิจัยเน้นสร้างความรู้ (Knowledge Generation Research)    กับแนววิจัยเน้นใช้ความรู้ (Translational Research)


          การวิจัย ๒ แนวนี้ต้องมีการจัด infrastructure และsuprastructure ต่างกัน   

 
          Suprastruscture ที่สำคัญคือระบบความก้าวหน้าในวิชาชีพอาจารย์นักวิจัย   หรือระบบเข้าสู่ตำแหน่งวิชาการ    จะต้องมีการพัฒนาระบบประเมินคุณค่าของงานวิจัยแบบ research for improvement หรือ research for development ขึ้นมาเคียงคู่ระบบ publication และ impact factor


          อาจจะต้องมีการพัฒนาระบบการตีพิมพ์ผลงานวิจัยแบบ translational research หรือ research for improvement


          แต่ผมก็เห็นมีอาจารย์นักวิจัยหลายคนทำวิจัยแบบ research for improvement แต่ตีพิมพ์ในวารสารวิชาการแบบมี impact factor ได้สบายมาก   แสดงว่า ถ้าเราเก่งจริง งาน research for improvement ก็เข้าไปอยู่ในกลุ่มผลงานวิจัยสร้างความรู้ใหม่ได้ด้วย    วงการวิจัยในมหาวิทยาลัยไทยน่าจะหาทางพัฒนาระบบนี้    พัฒนา concept, skill, และชุมชนนักวิจัยแนวนี้


          น่าจะมีคน/หน่วยงาน จัดการประชุมวิชาการ    นำเสนอผลงานวิจัยแบบ translational research ที่ตีพิมพ์ในวารสารวิชาการที่มี impact factor ได้ด้วย    และเผยแพร่วิธีคิด วิธีตั้งโจทย์วิจัย และทำความรู้จักวารสารวิชาการที่มี impact factor ที่รับตีพิมพ์ผลงานวิจัยแบบนี้ 

 

 

วิจารณ์ พานิช
๓๑ พ.ค. ๕๑

      
               

หมายเลขบันทึก: 187314เขียนเมื่อ 10 มิถุนายน 2008 14:45 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 00:29 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

รับความรู้ครับ อาจารย์หมอ

ขอบคุณครับ :)

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท