ระบบบำบัดทางชีวภาพ


การบำบัดน้ำเสียทางชีวภาพ

 

ความรู้เกี่ยวกับระบบบำบัดทางชีวภาพ

                ก่อนนำน้ำเสียเข้าบำบัดในระบบชีวภาพต้องคำนึงถึงพารามิเตอร์ที่สำคัญดังนี้

    1)  อุณหภูมิ น้ำที่ก่อนเข้าสู่ระบบบำบัด ควรจะมีอุณหภูมิไม่สูงเกินไป เช่น ถ้าอุณหภูมิสุงกว่า 40 0ซ ปฏิกิริยาในการย่อยสลายก็ไม่ดี อุณหภูมิที่พอเหมาะคือ 350

                2)  ความเป็นกรดด่าง (ph) น้ำทิ้งที่จะเข้าสู่ระบบบำบัดควรจะมีพีเอชอยู่ในช่วงที่เหมาะสม ถ้าต่ำเกินไป (น้อยกว่า 4) ก็จะมีกรดแร่หรือกรดแก่ จุลินทรีย์ก็อาจไม่เจริญเติบโต หรือพีเอชสูงกว่า 10 ก็อาจมีพวก Hydroxide จุลินทรีย์ก็อาจอยู่ไม่ได้เช่นกัน ดังนั้นพีเอชที่เหมาะสมที่สุดควรเป็น 7-8

  3)โลหะหนัก โลหะหนักต่างๆ ถ้ามีอยู่ในน้ำทิ้งปริมาณมากก็จะเป็นพิษต่อจุลินทรีย์ ดังนั้นโรงงานบางชนิดที่ปริมาณโลหะหนักอยู่สูงก็จะต้องแยกส่วนนี้ไปบำบัดก่อนที่จะเข้าส่วนบำบัดรวม เป็นต้น

 นอกจากนี้โรงงานบางประเภทอาจเติมสารเคมีบางชนิดเพื่อฆ่าเชื้อโรค เช่น คลอรีน ดังนั้นก่อนเข้าระบบบำบัดทางชีววิทยาก็ต้องทำการกำจัดสารเหล่านี้ก่อน เป็นต้น

                4)  สิ่งที่สำคัญมากในระบบบำบัดทางชีวภาพก็คือ ธาตุอาหาร คือ อัตราส่วน บีโอดี : ไนโตรเจน: ฟอสฟอรัส (BOD: N : P ) ควรจะมีอัตราส่วนที่เหมาะสม คือ  100 :5 :1 เพื่อที่จุลินทรีย์จะได้ย่อยสลายได้อย่างสมบูรณ์ ดังนั้นถ้าในกรณีที่แร่ธาตุบางชนิดไม่เพียงพอไม่ว่าจะเป็นไนโตรเจน หรือฟอสฟอรัสก็ตามก็จะต้องมีการเติมแร่ธาตุให้อยู่ในอัตราส่วนที่เหมาะสม

                น้ำทิ้งที่อยู่ในระบบบำบัด (ถังเติมอากาศ) ต้องคำนึงถึงปัจจัยที่สำคัญเพื่อที่จะให้ระบบบำบัดมีประสิทธิภาพ มีดังนี้

                1)  ประมาณออกซิเจนละลาย ในระบบบำบัดทางชีวภาพ โดยเฉพาะในระบบเอเอส (Activated Sludge) ต้องมีปริมาณออกซิเจนเพียงพอที่จุลลินทรีย์ใช้ในการย่อยสลายสารอินทรีย์ ปริมาณออกซิเจนละลายที่เหมาะสมควรจะไม่น้อยกว่า 2.0 มก./ล. เพราะถ้าเกิดการขาดออกซิแจน ก็จะทำให้เกิดการเน่าและถ้าประมาณออกซิเจนละลายน้อยมาก เช่น น้อยกว่า 0.5 มก./ล. ก็จะทำให้จุลินทรีย์ย่อยสลายอย่างไม่ประสิทธิภาพอาจทำให้เกิดลอยตัวของสลัดจ์ได้ดังนั้นจึงต้องตรวจวิเคราะห์หาปริมาณออกซิเจนในถังเติมอากาศประจำอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง

                2)  ของแข็งแขวนลอย หรือ SS ถ้าอยู่ในถังเดิมเติมอากาศเราจะเรียกว่า MLSS (Mixed Liquor Suspended Solids) ต้องมีเอเอส แล้ว MLSS ควรจะมีค่าประมาณ 2,000 มก./ล. ระบบจึงจะมีประสิทธิภาพดี นอกจากนี้จะต้องตรวจวัดปริมาตรสลัดจ์ (Sludge Volume, SV30 ) โดยการปล่อยให้ สลัดจ์ตกตะกอนใน 30 นาที โดย SV30  มีหน่วยเป็น มล./ล. โดยระบบเอเอส ค่า SV30  ควรจะเป็น 500 มล./ล. และถ้าเมื่อใดค่าของ SV30   เพิ่มมากขึ้น แต่ค่า MLSS  ไม่เพิ่มขึ้นแต่กลับลดลง จะสังเกตได้ว่าจะเกิดปัญหาสลัดจ์จะลอยในถังตกตะกอน ซึ่งอาจเกิดจากสาเหตุดังนี้

              ก)  ไม่มีการระบายสลัดจ์ส่วนเกินออก จึงทำให้มีสลัดจ์แก่และทำให้จุลินทรีย์ตายเพิ่มขึ้น การย่อยสลายจึงไม่สมบูรณ์

              ข)  อาจเกิดจากปริมาณออกซิเจนในถังเดิมอากาศไม่พอ

               ค)  พีเอชในถังเติมอากาศต่ำเกินไป ซึ่งจะทำให้เกิดเชื้อราหรือพวก  Mycelium Bacteria เกิดขึ้น 

                ง)  ปริมาณของน้ำเสียเพิ่มขึ้นมากกว่าปกติ

    นอกจากนี้แล้ว SVI ก็มีความสำคัญมากเพราะค่า SVI ที่เหมาะสมคือระหว่าง 50-100 ประสิทธิภาพของระบบบำบัดก็จะดี และค่า SVI ยังเป็นปัจจัยในการที่จะควบคุมปริมาณของการหมุนเวียนสลัดจ์กลับอีกด้วย

    อีกปัจจัยหนึ่งที่สำคัญในการควบคุมระบบบำบัด คือค่า F/M Ratio ก็คืออัตราส่วนของอาหารต่อมวลจุลินทรีย์ หรือคิดจากอัตราส่วนของบีโอดีเข้าสู่ถังเติมอากาศต่อMLVSSในถังเติมอากาศถ้าระบบบำบัดที่ดีสามารถลดค่าบีโอดีมากกว่าร้อยละ 90 แล้วควรจะมีค่า F/M Ratio ไม่เกิน 0.4 เป็นต้น

          ดังนั้นพอสรุปได้ว่าดัชนีที่สำคัญในการควบคุมระบบบำบัดชีวภาพก็คือ  PH   SS  MLSS MLVSS   SV30   SVI   BOD   COD   TKN  และ   Total   P

 

 

ที่มา : ตำราระบบบำบัดมลพิษทางน้ำ  กรมโรงงานอุตสาหกรรม (2545)

 

หมายเลขบันทึก: 186204เขียนเมื่อ 4 มิถุนายน 2008 19:47 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 02:02 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

วันสิ่งแวดล้อมโลก : 5 มิถุนายน ของทุกปี

3331

สวัสดีคะ ผอ. ใช่แล้วคะ เราต้องช่วยกันลดโลกร้อนคะ...ช่วยกันคนละนิด ตอนนี้จะพยายามไม่ใช้ถุงพลาสติกคะ...อย่างน้อยถ้าทุกคนช่วยกันก็ OK นะคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท