การจัดการงานวิจัยของภาควิชา


 

          ผมพยายามค้นหาและสอบถามผู้รู้ ว่ามีใครหรือหน่วยงานใดกำหนดมาตรฐานการจัดการงานวิจัยของภาควิชาไว้บ้างหรือไม่    ทั้งในประเทศและในต่างประเทศ    ปรากฎว่าหาไม่ได้


          เมื่อไม่มี ก็ต้องสร้าง    เป็นโอกาสแล้วที่ผมจะลองสร้างสรรค์เรื่องนี้    แต่สร้างแล้วจะดีหรือไม่ เป็นอีกเรื่องหนึ่ง    แต่ผมมั่นใจว่ามันจะเป็น “ก้อนหินก้อนแรก” ที่นำไปสู่การช่วยกันพัฒนา “มาตรฐานการจัดการงานวิจัยของภาควิชา” ขึ้นในสังคมไทย

 
          ผมคิดเรื่องนี้บนฐานของคณะแพทยศาสตร์ ที่มีธรรมชาติหรือฐานวัฒนธรรมเป็นหน่วยบริการและสอนเป็นงานหลัก   งานวิจัยเป็นงานรองมาช้านาน   ถ้าจะเอาแนวคิดที่เสนอนี้ไปใช้กับภาควิชาในคณะอื่นๆ ก็ต้องประให้เข้ากับสถานการณ์ของคณะนั้นๆ

 
๑. ตั้งเป้าหรือ core value ของงานวิจัยให้ชัด   วิธีคิดเรื่องเป้าหมายของงานวิจัยในภาควิชา ให้แยกงานวิจัยออกเป็น ๒ แบบ   คืองานวิจัยที่เน้นการสร้างความรู้ใหม่ (Generative Research)  กับงานวิจัยที่เน้นการใช้ความรู้ (Translational Research) 
     งานวิจัย ๒ แบบนี้มีความสำคัญและศักดิ์ศรีไม่ยิ่งหย่อนกว่ากัน    แต่มีวิธีจัดการต่างกันโดยสิ้นเชิง    โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การจัดการเชิงโครงสร้าง


๒. จัดโครงสร้างพื้นฐานของงานวิจัย  ซึ่งองค์ประกอบที่สำคัญที่สุดคือคน หรือนักวิจัย ซึ่งในกรณีนี้หมายถึงอาจารย์ หรือผู้ทำหน้าที่สร้างสรรค์งานวิจัย    ซึ่งที่จริงเรื่องนี้คือ HRM ของอาจารย์นักวิจัยนั่นเอง


๓. หากต้องการเน้นงานวิจัยแบบสร้างความรู้ใหม่ ต้องรื้อโครงสร้างที่มีอยู่ในปัจจุบัน และสร้างโครงสร้างใหม่ ดังนี้ 


- ต้องมีอาจารย์ที่ผ่านการศึกษาระดับปริญญาเอก และ postdoc จำนวนไม่น้อยกว่าครึ่งหนึ่งของอาจารย์ทั้งหมด   และเลือกรับอาจารย์โดยเน้นว่าจะให้เข้ามาสร้างสรรค์งานวิจัยตามจุดเน้น (โฟกัสประเด็น) ที่กำหนด
- มีอาจารย์ที่ไม่ใช่แพทย์เข้ามาร่วม (หรือนำ) งานวิจัย   โดยมีพื้นฐานความรู้และเทคนิคพื้นฐานดี และไม่ต้องทำงานบริการผู้ป่วย จึงมีเวลาทุ่มเทต่องานวิจัยได้เต็มที่  
- มีการกำหนดจุดเน้น (โฟกัสประเด็น) วิจัยของภาควิชา   ไม่ใช่ปล่อยให้เป็นอิสระของอาจารย์แต่ละคน
- กำหนดตัวชี้วัดผลงานวิชาการเป็น publication ในวารสารวิชาการนานาชาติ    ให้ความสำคัญต่อ impact factor
- ต้องมีระบบนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา (เน้นที่ปริญญาเอก) ขึ้นรองรับ 
- ต้องมีระบบฝึกอบรม postdoc 
- กำหนดผลงานวิชาการในการเข้าสู่ตำแหน่งวิชาการให้สอดคล้อง คือเน้น publication และ impact factor

 
๔. หากต้องการเน้นงานวิจัยแบบใช้ความรู้  ใช้โครงสร้างที่มีอยู่แล้วในปัจจุบัน    นำมาปรับปรุงให้เหมาะสมขึ้น

  
- อาจารย์ส่วนใหญ่ (เกือบทั้งหมด) ผ่านการฝึกแบบเน้นวิชาชีพ อย่างในปัจจุบัน    คัดเลือกโดยเน้นความสามารถด้านวิชาชีพและความเป็นครูแพทย์ 
- ปล่อยให้จุดเน้นของงานวิจัยเป็นการสนองงานบริการวิชาชีพ   และการเรียนรู้ของนักศึกษา   (ควรส่งเสริมงานวิจัยด้านแพทยศาสตร์ศึกษาให้เข้มแข็งขึ้น) 
- การกำหนดโฟกัสของงานวิจัยไม่ต้องเข้มข้นมาก   เพราะเน้นสนองงานบริการและการเรียนการสอน
- ตัวชี้วัดผลงานวิจัยคือผลงานวิจัยที่มี application impact    ไม่เน้น international publication   ไม่เน้น impact  factor แต่ต้องพัฒนาเกณฑ์วัด application impact ขึ้นมาใช้
- กำหนดเกณฑ์วัด application impact สำหรับใช้พิจารณาผลงานเข้าสู่ตำแหน่งวิชาการ


๕. ระบบ data management ของภาควิชา  ที่จะช่วยให้งานบริการ (และงานการเรียนการสอน) เป็นฐานข้อมูลที่มีคุณภาพต่อการวิจัย


๖. ระบบ leadership ของภาควิชา  เกณฑ์ในการสรรหาให้เป็นหัวหน้าภาควิชา


๗. ระบบค่าตอบแทน   อาจารย์ในภาควิชาที่เน้นงานวิจัยแบบสร้างความรู้ได้รับค่าตอบแทนส่วนใหญ่จาก research grant

 
๘. ระบบทุนวิจัย   งานวิจัยแบบเน้นสร้างความรู้ต้องได้รับทุนจากภายนอกแบบแข่งขัน (competitive research grant)  

          เอามาบันทึกไว้ เพื่อแลกเปลี่ยน   และจะได้มีคนนำไปคิดต่อ และลองนำไปปรับใช้

 

วิจารณ์ พานิช
๓๑ พ.ค. ๕๑

                         

หมายเลขบันทึก: 185933เขียนเมื่อ 3 มิถุนายน 2008 14:32 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 00:21 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

กราบเรียน ท่านอาจารย์หมอวิจารณ์

  • ขออนุญาต เล่า ลปรร ครับ
  • สมัยเป็นหัวหน้าภาควิชารังสีวิทยา ภาคเรามีการกำหนดมาตรฐานการวิจัยครับ
  • เราเริ่มด้วยการ ค้นหา ตัวตนของเรา ว่าในอดีตภาคเรามีผลงานอะไร เรามีจุดแข็งในด้านใด
  • วางแผนร่วมกันว่า ใครจะเป็นหัวหน้าทำวิจัยเรื่องอะไร ต้องการใครเป็นผู้ช่วย ต้องการทรัพยากรอะไรเพื่อให้งานนั้นสำเร็จ เช่น คน เวลา เงิน
  • สุดท้าย จะมีการติดตามรายงานผลตามแผนที่วางไว้ และนำเสนอภาควิชา ตามที่ตกลงไว้ล่วงหน้า
  • Key Figure Indicator ที่ สกอ และ ม.ข กำหนด คือ ผศ.ต้องมี ๑ paper ต่อ ปี ต่อ คน รศ. ต้องมี ๒ paper ต่อปี ต่อ คน
  • ภาคยังได้วางแผน ส่งอาจารย์ไปเรียนรู้กระบวนการวิจัย ทั้งระยะยาว ระดับ ป.โท และ ระยะสั้น ๔ เดือน อย่างต่อเนื่อง และ ต้องกลับมาเป็นแกนหลักในการพัฒนางานวิจัยด้วยครับ
  • ทำเล็กๆครับ ไม่กว้างเท่านที่อาจารย์ลิขิต

ขอบคุณค่ะได้แนวคิดนำไปใช้จัดการงานวิจัยใด้ดีขึ้นมากเลยค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท