คุรุสภาเผย "ชาวไทย-ต่างชาติ" ผ่านมาตรฐานวิชาชีพครูน้อย


นี่เป็นความเห็นส่วนตัว ... จะไม่ยอมโต้เถียงกับใครให้มากความ

อ่านข่าวจากหนังสือพิมพ์มติชน วันอังคารที่ 27 พฤษภาคม 2551 คอลัมน์การศึกษา

 

++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

 

คุรุสภาเผย "ชาวไทย-ต่างชาติ" ผ่านมาตรฐานวิชาชีพครูน้อย

 

" ....

นายจักรพรรดิ วะทา เลขาธิการคุรุสภา เปิดเผยว่า จากที่สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา เปิดโอกาสให้ผู้ที่เรียนจบปริญญาตรีในสาขาที่ไม่ใช่ทางด้านการศึกษา อาทิ บริหารธุรกิจ คอมพิวเตอร์ เป็นต้น มีโอกาสประกอบวิชาชีพครู โดยเปิดรับสมัครทั้งชาวไทย และชาวต่างประเทศให้เข้ามาทดสอบเพื่อรับรองความรู้ตามมาตรฐานความรู้ที่กำหนดในข้อบังคับคุรุสภา ว่าด้วยมาตรฐานวิชาชีพและจรรยาบรรณของวิชาชีพ พ.ศ.2549


เมื่อช่วงเดือนเมษายนนั้น มีผู้สมัครเข้ารับการทดสอบมาตรฐานความรู้ทั้งสิ้น 2,612 คน แบ่งเป็น ชาวไทย 2,535 คน และชาวต่างชาติ 77 คน ปรากฎว่า มีผู้สอบผ่านในแต่ละมาตรฐานน้อยมาก

วิชา "การวัดผลและประเมินผลการศึกษา" ไม่มีผู้สอบผ่านการประเมินเลย

วิชา "ความเป็นครู" มีผู้สอบผ่านเพียง 1 คน

วิชา "จิตวิทยาสำหรับครู" สอบผ่าน 2 คน


ส่วนมาตรฐานความรู้ที่มีผู้สอบผ่านมากที่สุด คือ

วิชา "การบริหารจัดการในห้องเรียน" จำนวน 374 คน

วิชา "การวิจัยทางการศึกษา" จำนวน 118 คน

วิชา "นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษา" จำนวน 59 คน


"จากตัวเลขผู้ที่ผ่านการทดสอบความรู้ตามมาตรฐานครูของคุรุสภาดังกล่าว แสดงให้เห็นว่า เกณฑ์มาตรฐานความรู้ของคุรุสภาเข้มเข้น ดังนั้น ขอให้สังคมและผู้ปกครองเลิกห่วงใยว่า การที่คุรุสภาเปิดโอกาสให้ผู้ที่ไม่จบปริญญาตรีทางการศึกษาเข้ามาเป็นครู จะทำให้จัดการศึกษาไม่ได้คุณภาพ เพราะผู้ที่จะเข้ามาประกอบวิชาชีพครู ซึ่งเป็นวิชาชีพควบคุมทางการศึกษา ต้องมีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ โดยเฉพาะผู้ที่ไม่มีวุฒิทางการศึกษา หากจะเข้ามาเป็นครูต้องผ่านการทดสอบมาตรฐานความรู้ทางวิชาชีพ หากไม่มีความรู้จริงก็ไม่สามารถสอบผ่านได้ จึงไม่ใช่ใครอยากจะเข้ามาเป็นครูก็เป็นได้ง่าย ๆ" นายจักรพรรดิ กล่าว

... "

 

+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

 

ข่าวนี้ ถือว่า ได้รับข้อมูลการศึกษาโดยตรงจากคุรุสภา เกี่ยวกับ การสอบขอใบประกอบวิชาชีพครูของคนที่ไม่ได้เรียนสายครู แสดงให้เห็นมาตรฐานของข้อสอบ ... แต่ไม่ได้แสดงมาตรฐานของผู้สอบ

ผลที่ออกมาจึงน่าตกใจมากกว่าที่มีวิชาที่ผู้สอบไม่ผ่านเลย อย่างวิชา "การวัดผลและประเมินผลการศึกษา"

 

อยากให้ความรู้ สักหน่อยเกี่ยวกับวิชาที่สอบนั้น ถ้าหากผู้ที่เรียนวิชาชีพครูมา

  • วิชา "การวัดผลและประเมินผลการศึกษา" มักจะสังกัดสาขาวิชา "วัดผลและวิจัยการศึกษา" มีชื่อวิชาว่า "หลักการวัดและประเมินผลการศึกษา"
  • วิชา "ความเป็นครู" มักจะสังกัดสาขาวิชา "หลักสูตรและการสอน" หรือ "การศึกษานอกระบบ" หรือ คณะฯ เป็นผู้คัดเลือกอาจารย์ผู้อาวุโสมาสอนวิชานี้ (แต่ที่มหาวิทยาลัยผม มีให้อาจารย์ที่ไม่มีคาบจะสอนมาสอน ซึ่งเป็นเรื่องที่ไม่เหมาะสมอย่างยิ่ง อันมาจากความไม่รอบรู้ของผู้เป็นคณบดี และรองวิชาการ) มีชื่อวิชา "ความเป็นครู"
  • วิชา "จิตวิทยาสำหรับครู" มักจะสังกัดสาขาวิชา "จิตวิทยาและการแนะแนว" หรือ "หลักสูตรและการสอน" มีชื่อวิชา "จิตวิทยาสำหรับครู"
  • วิชา "การบริหารจัดการในห้องเรียน" มักจะสังกัดสาขาวิชา "หลักสูตรและการสอน" มีชื่อวิชา ".... "เทคนิคและทักษะการสอน"
  • วิชา "การวิจัยทางการศึกษา" มักจะสังกัดสาขาวิชา "วัดผลและวิจัยการศึกษา" มีชื่อวิชาว่า "การวิจัยการศึกษา"
  • วิชา "นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษา" มักจะสังกัดวิชา "เทคโนโลยีการศึกษา" และ "คอมพิวเตอร์ศึกษา" เป็นการเรียนในหลาย ๆ วิชา เช่น "เทคโนโลยีการศึกษา" , "เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษา" , "นวัตกรรมการศึกษา" เป็นต้น

 

คุรุสภาได้เลือกวิชาครูบังคับทั้งหมดมาเป็นข้อสอบขอใบรับรองวิชาชีพครู ทำให้ผู้สอบที่เรียนครู 4 ปี ครู 5 ปี ได้เรียนมาแน่นอนอยู่แล้ว เพราะครูบังคับ หมายถึง ต้องได้อย่างน้อย D ห้ามตก จึงจะถือว่า ผ่านเกณฑ์วิชาชีพ

สำหรับผู้ที่ไม่ได้จบสายครู แล้วเรียนต่ออีก 1 ปี ในหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพครูนั้น ในระยะเวลา 1 ปี ต้องเรียนวิชาเหล่านี้ให้ครบ แล้วจึงจะนำไปเทียบโอนรายวิชาที่คุรุสภาอีกที

 

ผมเองก็ไม่สามารถเข้าใจหลักสูตรได้อย่างถ่องแท้ และไม่ใช่ผู้รู้จริง ๆ ในเรื่องนี้ เพียงแต่อยู่ในแวดวงการผลิตครู จึงพอทราบบ้างเท่านั้น

กฎหมายครูหลายฉบับมีการปรับเปลี่ยนตามการเปลี่ยนของรัฐบาล ถ้ารัฐบาลไหนมาเฟียมากหน่อย ก็ต้องตามใจผู้นำรัฐบาลชุดนั้น ทำให้ระบบการศึกษาของประเทศเละไม่มีชิ้นดีจนถึงปัจจุบัน

นี่เป็นความเห็นส่วนตัว ... จะไม่ยอมโต้เถียงกับใครให้มากความ

ขอบคุณครับ :)

หมายเลขบันทึก: 185028เขียนเมื่อ 29 พฤษภาคม 2008 00:20 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 พฤษภาคม 2012 12:05 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (17)

ผมไม่ได้อยู่ในสายครู แต่มาอ่านบันทึกของ อ.WAS ก็เห็นกระบวนการ "คัดความเป็นครู" ผ่านมาตรฐานวิชาชีพ

หากระบบการประเมินผลแบบนี้ได้ผลจริงๆ ระบบการศึกษาคงพัฒนาขึ้นในภาพรวม

ขอให้ข้อสังเกตเพียงเท่านี้ครับ อ่านเพื่อเข้าใจ อ่านเพื่อรับทราบ

ขอบคุณครับผม

-------------------

ให้กำลังใจครับผม

สวัสดีตอนเช้าคะ...เป็นกำลังใจให้กบ "ว่าที่ครู" ตัวจริงทุกท่านคะ

อรุณสวัสดิ์ค่ะ ท่านอาจารย์

* เมื่อท่านจบด้วยประโยคนี้

นี่เป็นความเห็นส่วนตัว ... จะไม่ยอมโต้เถียงกับใครให้มากความ

* ข้าน้อยก็แค่มาแวะ มิบังอาจ แทะ แต่ประการใด :)

ด้วยคารวะ - - แฟนพันธุ์แทะ 

ขำๆภาพคุณปูครับ

:)

ภาพคุณปูตลกดีค่ะ

เข้ามาอ่าน ข้อมูลในวงการศึกษาค่ะ...

ขอบคุณ ท่าน ผอ.นายประจักษ์ ที่แวะเยี่ยมเยือนครับ

ขอบคุณ คุณ poo ที่แวะมาแทะครับ :)

ลงท้ายแบบใจร้ายเกินไปหรือเปล่าครับ

ไม่ได้เจตนาหนา เพราะว่าไม่ลึกซึ้งจริง ๆ ด้วยล่ะ :)

ขอบคุณพี่ศศินันท์ Sasinanda  ที่แวะมาให้กำลังใจเสมอ ครับ :)

:) หน่อยน่าค่ะ ท่านอาจารย์เสือยิ้มแล้ว

... จริงๆ แล้ว ลึกซึ้งค่ะ  ... ลึกซึ้งมาก

... อาจารย์เสือยิ้ม ใจดีออก ถามนศ.ดูได้

มา แทะ และแถม ให้อีกภาพ .. .  ทานข้าวให้เยอะๆ อย่างเอร็ดอร่อยนะคะ อย่าลืมทานเผื่อปูด้วยล่ะ

... นอนหลับฝันดีนะคะ  ราตรีสวัสดิ์ล่วงหน้าค่ะ ...

ครับ คุณ poo

ขอบคุณที่มาแทะอีกแล้ว 555

จะสอบวิจัยการศึกษาและนวัตกรรมวันที่28มิย.นี้แล้วอยากได้แนวข้อสอบคะ

ขอบคุณมากค่ะ

คุณครูนก ครับ ... ผมว่า แนวข้อสอบอยู่ในร้านหนังสือครับ เห็นขายกันเยอะแยะเลย อีกอย่างคุณครูนกต้องเคยเรียนตอน ป.ตรี มาก่อนแน่ ๆ เลยครับ หรือว่าลืมไปแล้ว

ให้กำลังใจครับ ;)

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท