ความชื้น: สำคัญมากกว่าที่เราเข้าใจ


ที่เฮฮาศาสตร์ 4 ภูเก็ตผมนั่งฟังเด็กนักเรียนสตรีภูเก็ตบรรยายเรื่องราวที่เธอทำการศึกษาวิจัยเบื้องต้นเกี่ยวกับต้นไม้ ผมประทับใจ ผมเองก็สนใจเรื่อง ต้นไม้ การเกษตร และ สิ่งที่เกี่ยวข้องทั้งหลาย อยากจะแนะนำเรื่องความชื้นสัมพัทธ์ให้เป็นองค์ประกอบในการศึกษาครั้งต่อไปด้วย 

 

ช่วงที่นักเรียนบรรยายจบก็ไปคุยกับอาจารย์ผู้ดูแลเด็กว่า แนะนำเรื่องความชื้นสัมพัทธ์ และสัญญาว่าจะจัดส่งโปรแกรมมาให้ เพื่อพิจารณานำไปใช้ประโยชน์ต่อไป  โปรแกรมที่กล่าวถึงคือการคำนวณหาความชื้นสัมพัทธ์ของบรรยากาศ แต่ต่อมาพบว่าโปรแกรมที่ผมมีเสียหายใช้ไม่ได้ จึงไปขอท่านอุตุนิยมวิทยาเมืองมุกดาหารใหม่ ท่านก็บอกว่า เข้าไปใน Web ของกรมอุตุนิยมวิทยาที่ชื่อ www.tmd.go.th เลยในนั้นมีรายละเอียดอื่นๆด้วย

 

ความชื้นสัมพัทธ์คืออะไร?  ขอสรุปสั้นๆว่า คือ อัตราส่วน (เป็นร้อยละ) ของจำนวนไอน้ำที่มีอยู่ในอากาศในขณะนั้น ต่อจำนวนไอน้ำที่อาจจะมีอยู่ได้ เมื่ออากาศนั้นอิ่มตัวด้วยไอน้ำที่อุณหภูมิเดียวกัน หรือ คำอธิบายยาวๆ คือ อัตราส่วนโดยมวลของไอน้ำในอากาศในขณะหนึ่ง(ที่อุณหภูมิหนึ่ง) ต่อ ไอน้ำสูงสุดที่อากาศ (ที่อุณหภูมินั้น) สามารถแบกรับไว้ได้ การที่เรามีอากาศหนึ่งที่มีความชื้นสัมบูรณ์เป็น 100% จะหมายความว่าอากาศนั้นได้ "อิ่มตัว" (Saturated) และไม่สามารถรับไอน้ำไว้ได้อีกต่อไป ถ้าเราพยายามใส่ไอน้ำเป็นปริมาณเกินกว่าที่อากาศสามารถแบกรับไว้ได้แล้ว ไอน้ำส่วนที่เกินนั้นจะ "กลั่นตัว" (Condense) ออกมาเป็นหยดน้ำเหลือไว้แต่เพียงปริมาณไอน้ำที่ยังคงอิ่มตัวและมีความชื้นสัมพัทธ์เป็น 100% อยู่ เราคุ้นเคยกับปรากฏการณ์นี้ว่าการเกิดฝนนั้นเอง   

ความชื้นสัมพัทธ์มีประโยชน์อย่างไรบ้าง? : ในกระบวนการทาง ไบโอเทคโนโลยี (Biotechnology) ความชื้นสัมพัทธ์มักเป็นองค์ประกอบที่สำคัญ เช่น เทคโนโลยีการหมัก (Fermentation Technology) เป็นกระบวนการหมักในระบบอุตสาหกรรมที่จะต้องควบคุมความชื้นสัมพัทธ์ให้คงที่ เป็นต้น 

 

นักป่าไม้กล่าวว่า ความชื้นสัมพัทธ์ในบริเวณป่าต่างๆเป็นตัวบ่งชี้หนึ่งของชนิดป่านั้นๆด้วย 

 

ในอุตสาหกรรมเส้นใย ยิ่งมีความสำคัญยิ่งในการควบคุมความชื้นสัมพัทธ์ในการผลิตเส้นใยและการถักทอเส้นใยต่างๆ  และอื่นๆอีกมากมาย

 

ในเรื่องนี้ ชาวบ้านที่อำเภอคำชะอีสรุปให้ฟังว่า การทำนาในหุบเขาหนึ่งของอำเภอนี้พบว่าข้าวพันธุ์เดียวกันซึ่งนักส่งเสริมการเกษตรแนะนำ ปลูกในช่วงเวลาเดียวกันที่ตำบลหนึ่งซึ่งอยู่ในหุบเขามักเกิดโรครา และก่อให้เกิดความเสียหายแก่ผลผลิต ในขณะที่ตำบลอื่นๆที่อยู่นอกหุบเขาไม่เกิดโรครา และไม่กระทบต่อผลผลิตข้าวแต่อย่างใด  ชาวบ้านท่านนั้นยังกล่าวต่อไปว่า ผมลองเปลี่ยนพันธุ์ข้าวเป็นเบามากขึ้น(ข้าวอายุสั้น) พบว่าไม่เป็นโรคราแต่อย่างใด

 

นี่เป็นเพียงตัวอย่างเล็กๆที่ชาวบ้านผู้ช่างสังเกตต่อปรากฏการณ์ธรรมชาตินั้นเล่าให้นักเกษตรฟัง เมื่อนักเกษตรเฝ้าตรวจสอบพื้นที่ดังกล่าวในฤดูกาลผลิตต่อมาพบว่า ในหุบเขานั้นมีความชื้นสัมพัทธ์สูงกว่าพื้นที่อื่นๆ เขาจึงเฉลียวใจขึ้นมาว่า บรรพบุรุษใช้พันธุ์ข้าวพื้นบ้านเดิมพันธุ์อะไร  แล้วแนะนำให้เกษตรกรนำพันธุ์ข้าวดั้งเดิมมาใช้ทำการผลิตแทนพันธุ์ข้าวที่ทางราชการส่งเสริม..? ซึ่งพบว่าไม่พบเชื้อราแต่อย่างใดอีกเลย

 

นี่เป็นอีกเรื่องหนึ่งที่พิสูจน์ภูมิปัญญาชาวบ้านดั้งเดิมนั้นสอดคล้องกับวิถีชีวิตและที่ตั้งชุมชนนั้นๆมากกว่าวิชาการสมัยใหม่ ดังนั้นนักวิชาการเกษตรและอื่นๆ พึงระมัดระวังการนำความรู้สมัยใหม่เข้าไปสู่ชุมชน โดยไม่เข้าใจสภาพเฉพาะของท้องถิ่น” !!!

 

การศึกษาความชื้นสัมพัทธ์นี้ เราสามารถทำเป็นกิจกรรมร่วมระหว่างเกษตรกรและองค์การบริหารส่วนตำบลที่มีระบบคอมพิวเตอร์หมดแล้ว  โดยให้เกษตรกรผู้สนใจทำการบันทึกการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิ เมื่อครบระยะเวลาหนึ่งเช่น 1 สัปดาห์ 1 เดือน ก็เอาบันทึกนั้นไปให้ อบต.ช่วยเข้าระบบเครื่องคำนวณความชื้นสัมพัทธ์ให้ได้ ขออธิบายเป็นขั้นตอนต่อไปนี้

 

 

จัดหาเทอร์โมมิเตอร์ที่มีสองตุ้ม ฟังดูแปลกๆนะครับศัพท์ทางอุตุนิยมวิทยาเขาเรียกตุ้มแห้งตุ้มเปียกครับ มีขายที่ร้านขายเครื่องเขียนขนาดใหญ่ ผลิตในไต้หวันราคาประมาณ 260 บาท(ที่มุกดาหาร)  

 

วิธีใช้ เอาน้ำใส่ในกระเปาะตุ้มเปียก แล้วแขวนไว้ในที่ร่ม แล้วอ่านค่าปรอทของตุ้มแห้งและตุ้มเปียก บันทึกไว้ในสมุดบันทึก ที่อาจทำมาในแบบที่เหมาะสมกับผู้ใช้ การจดค่าปรอททั้งตุ้มแห้งและเปียกนี้จดในเวลาไหน นักอุตุฯ อธิบายว่า ทุกวันควรจดสามครั้งคือเวลา 7.00 น. เวลา 13.00 น. และ 18.00 น. หรืออาจคลาดเคลื่อนเวลาจากดังกล่าวไปบ้างก็ไม่เป็นไร

 

เมื่อบันทึกค่าปรอทของตุ้มแห้งและเปียกแล้ว ก็เอาค่านั้นไปคำนวณในระบบคอมพิวเตอร์ โดยเปิดไปที่ web www.tmd.go.th  หน้าตาจะเป็นอย่างนี้ครับ

 

หน้าตานี้ท่านสามารถศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับอุตุนิยมวิทยาของเมืองไทยมากมายครับ เช่น พยากรณ์อากาศประจำวัน พยากรณ์อากาศ 7 วัน รายงานอากาศต่างประเทศ อุตุนิยมวิทยาเพื่อการเกษตร พยากรณ์คลื่นทะเล เรดาร์ตรวจอากาศ ภาพถ่ายดาวเทียม แผนที่อากาศ ข้อมูลลุ่มน้ำ NWP Model, จนกระทั่ง เตือนภัย เส้นทางเดินพายุ รายงานแผ่นดินไหว ข้อมูล GIS การเฝ้าระวังปรากฏการณ์เอลนีโญ-ลานีญา พยากรณ์อากาศ 3 เดือน คาดหมายอากาศฤดูฝน พายุหมุนเขตร้อนที่เคลื่อนตัวเข้าสู่ประเทศไทย ฯลฯ ข้อมูลเหล่านี้ล้วนมีประโยชน์แก่เกษตรกร พ่อค้า นักศึกษา นักวิชาการ และผู้สนใจทั่วไป

  

 เมื่อเราต้องการคำนวณเราก็ไปที่เครื่องคำนวณ ซึ่งอยู่ทางด้านซ้ายมือ (ตรงลูกศรสีแดงชี้)

 

 

 

เมื่อเราคลิกที่เครื่องคำนวณจะพบหน้าต่างเป็นอย่างนี้

 

 

เราก็ไปคลิกที่ หัวข้อความชื้น หัวข้อย่อย Dewpoint และ Relative Humidity

 

 

 

จะได้หน้าต่างดังต่อไปนี้

 

 

 

จากนั้นเราเลือกที่หัวข้อใหญ่ชื่อ Dewpoint & RH. เราจะพบแถวบรรทัดที่เรียกว่าตุ้มแห้ง และตุ้มเปียก

 

 

 

จากนั้นเราก็เอาค่าปรอทที่บันทึกได้ของตุ้มแห้งและตุ้มเปียกมีหน่วยเป็นเซลเซียส ใส่ลงไปในช่อง  แล้วกดคำนวณ  เราก็จะได้ผลลัพธ์ออกมาดังภาพ

 

 

 

ตัวเลขที่ปรากฏนั้นเป็นค่าจริงที่ผู้บันทึกลองบันทึกเมื่อเวลา 17.00 น. วันที่ 24 พ.ค. 2551 ที่ขอนแก่น ค่าที่ได้คือ ค่าความชื้นสัมพัทธ์ร้อยละ 92

 

---------------------------------------

 

ที่ดงหลวงเราร่วมกับผู้นำชาวบ้านเริ่มทำการบันทึกความชื้นสัมพัทธ์ โดยสรุปดังนี้

 

1: โครงการซื้อเทอร์โมมิเตอร์ชนิดที่มีสองตุ้มให้ผู้นำเกษตรกรที่สนใจเข้าร่วมกิจกรรมนี้

 

2: ให้ผู้นำเกษตรกรนั้นๆ ทำการบันทึกอุณหภูมิลงในตารางที่เราจัดทำขึ้นแบบง่ายๆ พร้อมกับบันทึกข้อสังเกตต่างๆตามธรรมชาติที่เกิดขึ้นในแต่ละวัน  เช่น  มีฝนตก มาก น้อย มีหมอกลง  มีแมลงบางชนิดปรากฏ พบเห็ดชนิดนี้เกิดขึ้น ฯลฯ

 

3: เจ้าหน้าที่นำบันทึกอุณหภูมิที่เกษตรกรทำไว้มาคำนวณความชื้นสัมพัทธ์ ทุกสัปดาห์ แล้วนำข้อมูลนี้กลับคืนส่งเกษตรกรทั้งหมดเพื่อเรียนรู้ซึ่งกันและกันต่อไป

 

 

แหล่งข้อมูล: ความชื้นสัมพัทธ์ - วิกิพีเดีย -

                  http://www.tanapolvanich.com/html/Relative_Humidity_th.htm

                  ความชื้นสัมบูรณ์และความชื้นสัมพัทธ์

หมายเลขบันทึก: 184370เขียนเมื่อ 24 พฤษภาคม 2008 22:47 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 19:05 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (41)

แจ๋วมากค่ะพี่บางทราย

โดนสุดๆเพราะเบิร์ดกำลังสงสัยเรื่องหมอกในสวนป่าของพ่อครูฯพอดีเลยค่ะ...และสนใจว่าพืชแต่ละชนิดเค้าต้องการน้ำแบบไหน และช่วงไหนบ้างก็พ่อทำแปลงทดลองระบบน้ำอยู่หน้าบ้านนี่คะ เสียอย่างเดียวเบิร์ดไม่รู้จักพืชมากนักเลยเกาหัวเพราะไม่รู้ว่าต้นไหนเป็นอะไร และต้องการน้ำแบบไหน แหะ แหะ

เดี๋ยวพรุ่งนี้จะเข้าไปลองเล่นดูค่ะ แต่วันนี้ขอไปนอนก่อนนะคะ ^ ^

  • น่าสนใจ น่าสนใจค่ะพี่
  • เรื่องของพันธุ์ข้าว สะกิดให้คิด เรื่องเชื้อรา
  • ที่ร.พ.หมอเจ๊...มักจะพบว่าใครพักในร.พ. แล้วเก็บกล้องไว้ กล้องมักจะขึ้นรา......ความชื้นสัมพัทธในอากาศนี่เองที่มีผลให้เกิด
  • ขอบคุณค่ะพี่ที่ทำให้หูตากว้างขึ้นอีกโข

น้องเบิร์ดครับ P 1. เบิร์ด

แจ๋วมากค่ะพี่บางทราย

โดนสุดๆเพราะเบิร์ดกำลังสงสัยเรื่องหมอกในสวนป่าของพ่อครูฯพอดีเลยค่ะ...และสนใจว่าพืชแต่ละชนิดเค้าต้องการน้ำแบบไหน และช่วงไหนบ้างก็พ่อทำแปลงทดลองระบบน้ำอยู่หน้าบ้านนี่คะ เสียอย่างเดียวเบิร์ดไม่รู้จักพืชมากนักเลยเกาหัวเพราะไม่รู้ว่าต้นไหนเป็นอะไร และต้องการน้ำแบบไหน แหะ แหะ

เดี๋ยวพรุ่งนี้จะเข้าไปลองเล่นดูค่ะ แต่วันนี้ขอไปนอนก่อนนะคะ ^ ^

 

จริงๆมันเป็นเรื่องใกล้ตัวเราเองนะน้องเบิร์ดนะครับ  แต่เราไม่เข้าใจเท่าไหร่นัก ข้อมูลส่วนใหญ่เป็นข้อมูลทางอุตสาหกรรมการผลิตขนาดใหญ่  อย่างอุตสาหกรรมสิ่งทอนั้น เขาควบคุมความชื้นสัมพัทธ์ในห้องการผลิตที่แตกต่างกันระหว่างห้องต่อห้อง มีตัวเลขละเอียดยิบเลย

ทาง Biotech ก็ก้าวหน้ามากๆในเรื่องนี้

แต่ในทางการเกษตร หรือชีวิตในชนบทนั้น พี่ไม่เห็น ที่ใดรวบรวมข้อมูลความชื้นสัมพัทธ์นี้ที่เกี่ยวข้องกับการเติบโตของพืช การเกิดโรคของพืช การชงักการเจริญเติบโต ฯลฯ เพื่อการจัดการพืชที่ดีกว่าในสภาพชาวบ้านนะครับ

งานพัฒนาชนบทมีงานให้ทำมากมายจริงๆครับน้องเบิร์ดครับ

น้องหมอเจ๊ครับ P 2. หมอเจ๊ คนสวย แซ่เฮ

  • น่าสนใจ น่าสนใจค่ะพี่
  • เรื่องของพันธุ์ข้าว สะกิดให้คิด เรื่องเชื้อรา
  • ที่ร.พ.หมอเจ๊...มักจะพบว่าใครพักในร.พ. แล้วเก็บกล้องไว้ กล้องมักจะขึ้นรา......ความชื้นสัมพัทธในอากาศนี่เองที่มีผลให้เกิด
  • ขอบคุณค่ะพี่ที่ทำให้หูตากว้างขึ้นอีกโข

กระเป๋าสตรี ของคนข้างกายพี่ หากเก็บไว้ที่บ้านนานๆโดยไม่ได้หยิบมาใช้ พอเข้าไปดู โอยเชื้อราขึ้นเต็มเลยครับ

กระเป๋าคอมเก่าที่ไม่ได้ใช้แล้วเพราะมันพัง(ยังเก็บไว้) พบว่าเชื้อราขึ้นเต็ม

เมื่อพี่ไปทำงานที่มุกดาหารใหม่ๆ ก็เช่าห้องโรงแรม ซึ่งติดกับสวนออกกำลังกายของจังหวัด ซึ่งมีคูน้ำล้อมรอบ และติดกับโรงแรมที่พัก  พักไปสักสองเดือนพบว่าเข็มขัดที่ไม่ได้ใช้วางอยู่ในตู้เสื้อผ้าขึ้นราเต็มเลย  เพราะความชื้นที่มาจากคูน้ำติดโรงแรมนั่นเอง  พี่เลยย้ายไปที่อื่นครับ

เรื่องกล้องที่น้องหมอเจ็กล่าวถึง  พี่ก็พบเหมือนกันครับ มีกล้องกิจิตอลของพี่ที่เสีย เลยวางไว้เฉยๆในตู้หนังสือ เพียงสามเดือนเท่านั้น เริ่มมีเชื้อราขึ้นครับ

เมื่อเราไม่มีข้อมูลเรื่องความชื้นสัมพัทธ์ที่เกี่ยวกับการเกษตรในชนบทอย่างที่พี่กล่าวกับน้องเบิร์ด พี่ก็เลยให้ชาวบ้านเริ่มเก็บข้อมูลครับ เริ่มแต่วันนี้ อาจจะช่วยอะไรได้บ้าง หากบันทึกข้อมูลการเปลี่ยนแปลงสิ่งแวดล้อมกำกับไว้ด้วยครับ

ผมแนะนำสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตรครับ

ประเทศของเรา ภูเขาไม่สูงพอที่จะดักเก็บความชุ่มชื้นในอากาศเปลี่ยนเป็นต้นน้ำโดยตรง จำเป็นต้องช่วยกันสร้างความชุ่มชื้นขึ้นมาด้วยป่า และฝายชลอน้ำขนาดเล็กครับ

ได้ยินมาจากผู้ใหญ่ที่ผมนับถือว่าเดิมที ฝายมีต้นทุน 1200 บาท พอชาวบ้านสร้างไปหลายๆฝาย ต้นทุนลดเหลือ 0 (มีแต่ค่าข้าวไปกินระหว่างสร้าง และค่าแรงซึ่งชาวบ้านทำให้ฟรี) ใช้ไม้ที่ล้มแล้วกับหินซึ่งหาได้ในท้องถิ่นมาทำฝาย

แต่ถ้ารัฐบาลตั้งงบ ก็จะเป็นอีกเรื่องหนึ่งเลยครับ

  • ชาวบ้านแนะนำให้เกษตรกรนำพันธุ์ข้าวดั้งเดิมมาใช้ทำการผลิตแทนพันธุ์ข้าวที่ทางราชการส่งเสริม ยอดเยี่ยมค่ะพี่บางทราย ค่ะนักวิชาการสมัยใหม่ ควรเข้าใจ ศึกษาขุมชน อย่างถ่องแท้ ค่ะ
  •  ขอบคุณสำหรับความรู้ ด้านความชื้นสัมพัทธ์ นะคะ
  • และขอบคุณสำหรับคำชมที่ให้กับน้อง แข็งนอก แต่อ่อนข้างใน  ใจปลาซิว แก้ไม่หายเจ้าค่ะ อิอิ

อ้าว P 5. Conductor  เปลี่ยนรูปอีกแล้ว อิอิ เปลี่ยนไปเถอะ อย่าเปลี่ยนคุรภาพ Conductor ก้แล้วกัน อิอิ

 

ขอบคุณมากครับที่แนะนำ web ให้ เข้าไปชมแล้วครับ ข้อมูลเพียบเลย

เรื่องฝายกั้นน้ำที่เรียกว่า ฝายแม้ว หรือ check dam นั้นพี่ก็ทำอยู่ครับ เราสนับสนุนถุงทรายให้ชาวบ้านออกแรงทำเอง บางหมู่บ้านเราก็เพิ่มอาหารกลางวันเป็นกับข้าวชาวบ้านเอาข้าวเหนียวมาเอง อร่อยมาก ข้าวกลางป่าครับ

แน่นอนครับบางจุดก็ใช้หินครับ

น้องนิดครับ P 6. พี่นิด  พี่เห็นอย่างนั้นจริงๆครับ ก็เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตน ดูแล้วคล่องแคล่ว ปรู๊ดปราดดี เป็นลักษณะเด่นนะครับ เห็นแต่ต่วมเตี้ยม เตาะแตะ ไม่ทันกิน อิอิ..

สวัสดีเจ้าค่ะ ลุงบางทรายจ๋าๆๆๆๆ

ลุงจ๋าๆๆๆๆๆๆๆๆ คิดถึงงงงงงงงงงงงง กอดดดดดดดดดดดดดด รักษาสุขภาพด้วยนะเจ้าค่ะ หลานเป็นห่วง แต่หลานกลัวผี รักลุงที่สู๊ดดดดดดดดดด

เป็นกำลังใจให้เจ้าค่ะ ----> น้องจิ ^_^

สวัสดีครับพี่

ขอบพระคุณพี่มากเลยครับ ได้รับแจ้งทางจดหมายและได้รับแผ่นซีดีแล้ว นำข้อมูลไปแจ้งอาจารย์ทางสวนพฤกษศาสตร์แล้วครับ นี่จะเป็นสิ่งที่มาช่วยงานสวนพฤกษศาสตร์ของโรงเรียนให้โดดเด่นมากยิ่งขึ้นไปอีก ครับ

อรุณสวัสดิ์ค่ะ พี่ท่านลูกช้าง

* มาแปะไว้ ขอไปอ่านก่อนนะคะ

* มีความสุขกับวันอาทิตย์สบายๆ ค่ะ

* คิดถึงนะคะพี่ท่าน

น้องลูกช้าง

 

สวัสดีครับท่านบางทราย

ผมได้ของเล่นใหม่อีกแล้วครับ ขอบคุณสำหรับ แนวความคิดระหว่างความชื้นในบรรยาการกับการเจริญเติบโตของเชื้อรา และจุลินทรีย์ในธรรมชาติ

สวัสดีหนูจิ P 9. โก๊ะจิจัง แซ่เฮ ^๐^!

  • สวัสดีตอนเช้า ลุงตื่นนานแล้ว ไปช่วยป้าเขา เขายุ่งกับการเตรียมเอกสารเสนอโครงการแก่กรมส่งเสริมอุตสาหกรรมอยู่ครับ
  • Tip การเรียนวันนี้: วิธีการเรียนที่ดีอย่างหนึ่งที่ผู้ประสบผลสำเร็จมักใช้คือ การศึกษาตำราล่วงหน้า หากได้เอกสารมาแล้วว่าเราต้องเรียนอะไรบ้าง ให้ใช้เวลาส่วนใหญ่ของเรา(เวลาของนักศึกษาต้องศึกษา)ทำการศึกษาก่อน ทำ โน้ตสั้นๆที่เป็น key word อย่างที่ท่านครูบาท่านทำใน blog หากเข้าใจดีก็เอาสิ่งนี้ไปแลกเปลี่ยนกับเพื่อนๆว่าเขาคิดเรื่องนี้อย่างไร หากไม่เข้าใจก็ไปถามรุ่นพี่ หรือปรึกษาอาจารย์ที่ท่านรับผิดชอบวิชานี้นะครับ
  • ลุงเป็นกำลังใจให้หนูจินะครับ

สวัสดีครัีบพี่บางทราย

    ขอบคุณมากๆนะครัีบ ข้อมูลดีๆ ค่าเหล่านี้สำคัญมากๆ นะครัีบ น่าสนใจนะครัีบ เอาค่าที่เราคุ้นๆเคยแต่เราคิดว่ามันคือเรื่องไกลตัว เอามาพูดบอกเล่าให้รับทราบกัน นำไปสู่การวิจัยชุมชนและเพิ่มผลผลิตเชิงคุณภาพ

    โมเดลทางอากาศหรือทางอุตุฯ นั้น จะส่งผลในทุกๆ เรื่องเลยครับ ชีวิตความเป็นอยู่ การเรียนรู้ การตลาด ความปลอดภัย สาธารณสุข แทบทุกอย่างเลยนะครับ...

พี่สบายดีนะครัีบ

ขอบคุณมากครัีบ

สวัสดีครับท่านอัยการชาวเกาะ P 10. อัยการชาวเกาะ

ขอบพระคุณพี่มากเลยครับ ได้รับแจ้งทางจดหมายและได้รับแผ่นซีดีแล้ว นำข้อมูลไปแจ้งอาจารย์ทางสวนพฤกษศาสตร์แล้วครับ นี่จะเป็นสิ่งที่มาช่วยงานสวนพฤกษศาสตร์ของโรงเรียนให้โดดเด่นมากยิ่งขึ้นไปอีก ครับ

ขออภัยที่บันทึกลงช้าไปหน่อย  ไปติดเฮฮาศาสตร์ 5 สวนป่าอยู่ครับ หากจะดีก็ติดต่อกับนักอุตุนิยมวิทยาในจังหวัดภูเก็ตโดยตรงเลยครับ ท่านสามารถมาบรรยายให้เด็ก หรือครู อาจารย์ได้ละเอียดมากกว่าที่ผมอธิบาย และสามารถแลกเปลี่ยนสอบถามได้โดยตรง

เครื่องมือที่เป็นเทอร์โมมิเตอร์ที่ผมแนะนำมันไม่ละเอียดเท่าของกรมอุตุนิยมวิทยาที่เป็นขนาดใหญ่ ซึ่งมีความละเอียดมาก แต่ที่แนะนำก็ใช้ได้แบบฉบับง่ายๆ ชาวบ้านทำการศึกษาบันทึกได้ และเราช่วยเรื่องการคำนวณ

ความจริงตารางที่ตัวเทอร์โมมิเตอร์นั้นก็มีตารางบอกค่าความชื้นอยู่ แต่ไม่ละเอียด หากค่าอุณหภูมิของตุ้มแห้งตุ้มเปียกต่างกันมาก ตารางที่ตัวมิเตอร์จะบอกค่าไม่ได้  ต้องใช้เครื่องคำนวณจากโปรแกรมดังกล่าวครับ

ความจริงที่กล่องใส่เทอร์โมมิเตอร์ก็มีตารางทีละเอียดมากกว่าที่ตัวเทอร์โมมิเตอร์ก็สามารถใช้ได้ครับ อาจจะไม่สะดวกในการใช้

ที่ภูเก็ตน่าที่จะมีหน่วยงานทางทะเล มี่ศึกษาเรื่องนี้อยู่ เช่น หน่วยงานของทหารเรือ ตำรวจน้ำ เป็นต้น น่าที่จะหาข้อมูลเพิ่มเติมได้

ความรู้ที่ทางราชการมีแต่เก็บเอาไว้ นักเรียนสามารถไปศึกษาเพิ่มเติมเรื่องนี้ได้ เช่น

  • เอาปริมาณน้ำฝน 30 ปีย้อนหลังมา plot curve ดูการเปลี่ยนแปลงของปริมาณน้ำฝนที่ตกลงมา และจำนวนวันที่ฝนตก ช่วงเดือน สัปดาห์ที่ฝนตก ซึ่งข้อมูลเหล่านี้มีกระทบโดยตรงต่อการเกษตร อาชีพทำสวนยาง สวนไม้ผล และการเปลี่ยนแปลงของป่าไม้ด้วยครับ
  • เอาข้อมูลความชื้นสัมพัทธ์ที่กรมอุตุนิยมวิทยาในท้องถิ่นมีมา plot curve ก็จะทราบการเปลี่ยนแปลงของความชื้นสัมพัทธ์ของท้องถิ่นในช่วง 30 ปีที่ผ่านมา ซึ่งหากจะเอาข้อมูลนี้ไปศึกษาภาคสนามกับเกษตรกรก็อาจจะพบความสัมพันธ์อะไรที่น่าสนใจมากขึ้นครับ  เป็นการกระตุ้นให้นักเรียนอยากเป็นนักวิทยาศาสตร์ หรือเป็นคนมีเหตุมีผลมากขึ้น และคิดต่อในการนำมาใช้ประโยชน์ต่างๆด้วยครับ
  • กรมอุตุนิยมวิทยาเขายินดีให้ข้อมูลต่างๆเหล่านี้อยู่แล้ว และเจ้าหน้าที่ของเขาก็น่ารักมากครับ ต้อนรับดีมาก
  • ผมเองอยากดัดแปลงข้อมูลเหล่านี้มาใช้ในระดับชาวบ้านน่ะครับ

โรงเรียนสตรีภูเก็ตมีศักยภาพมากๆๆๆๆ ที่มีอาจารย์สนใจด้านนี้ มีคณะกรรมการที่เข้มแข็งมีทุน และมีท่านอัยการชาวเกาะผู้รักความก้าวหน้าของเด็กๆสนับสนุน หากมีลูกมีหลานก็อยากให้มาเข้าศึกษาที่นี่ครับท่านอัยการครับ

ปูน้องรัก P 11. poo

  • การช่วยส่งเสริมสนับสนุนให้สังคมโดยรวมดีขึน เราก็ดีขึ้นไปด้วย  ความจริงข้อนี้น้องปุรู้ดีอยู่แล้ว มิเช่นนั้นก็ไม่มาทำงานแบบที่น้องปูทำอยู่ใช่ไหมครับ
  • พี่ก็เช่นกัน การทำงานพัฒนาสมัยก่อนเป็นแค่อาสาสมัคร  แต่ปัจจุบันเป็นอาชีพได้ครับ ก็พออยู่พอกินไม่ร่ำรวยใดๆหรอก ใครอยากรวยก็ไปทำอาชีพอื่นนะน้องปูนะ
  • มันพึงพอใจ และมีความสุขเช่นนี้ก็พอแล้ว อย่าไปเป็นตัวเร่งสังคมให้หมดไหม้เพราะเราอีกคนเลยเน๊าะปูเน๊าะ
  • อ้าว กลายเป็นการบ่นให้น้องฟังไปซะแหล่ว...
  • เออ..พี่เป็นเขยตรังนะเนี่ยะน้องปู
  • คนข้างกายพี่เขาเป็น รอง ผอ.สถาบันวิจัยและพัฒนาสังคม มข. ผ่านมาทางนี้ก็แวะคุยกันนะครับ 

สวัสดีครับ P 12. ลุงพูน

ผมได้ของเล่นใหม่อีกแล้วครับ ขอบคุณสำหรับ แนวความคิดระหว่างความชื้นในบรรยาการกับการเจริญเติบโตของเชื้อรา และจุลินทรีย์ในธรรมชาติ

โอย...ยินดีรู้จักลุงพูนมากๆเลยครับ  เราจะได้แลกเปลี่ยนกันบ้างครับ ผมแอบไปศึกษาประวัติลุงพูนแล้วสนใจคนที่ตกผลึกชีวิตอย่างนี้น่ะน่าสนใจครับ

สิ่งที่ผมนำเสนอนี้ผมติดค้างท่านอัยการชาวเกาะท่านไว้ว่าจะบันทึกลง แต่ไม่ได้ทำสักที เพราะงานอื่นมาแซงหน้าไปก่อนครับ

ความจริงเรื่องนี้ ผู้รู้ดีอีกท่านหนึ่งคือ น้องเม้ง เยอรมัน ลุงพูนคงรู้จักนะครับ น้องเม้งข้ามน้ำข้ามทะเลไปศึกษาวิทยายุทธ์ถึงเยอรมัน และนำเสนอเรื่องน่าสนใจทั้งนั้น โดยเฉพาะเกี่ยวข้องกับเกษตรกรบ้านเรา ที่เราต้องเอาวิชาความรู้ต่างๆมาช่วย มาสนับสนุนทั้งแบบดั้งเดิม แบบสมัยใหม่ที่เหมาะสม

เรื่องความชื้นนี้ก็เป็นเรื่องหนึ่งที่เราไม่ค่อยมีบันทึกความรู้ มีแต่ประสบการณ์ มีข้อสังเกตุต่างๆที่ชาวบ้านเล่าต่อๆกันมา เราในฐานะคนทำงาน คิดว่าน่าที่จะช่วยเรื่องการบันทึกได้น่ะครับ หากเราทำได้ และเกิดผลก็จะสร้างประโยชน์แก่เกษตรกรโดยรวมด้วย 

เรื่องอาจใช้เวลาบ้าง อาจผสมผสานระหว่างความรู้ดั้งเดิม กับความรู้ใหม่ครับ

ผมเคยเรียนรู้ว่าในภาคอีสานนั้น ชายขอบลำน้ำโขงปริมาณน้ำฝนมากกว่าพื้นที่ส่วนใหญ่ของภาค และที่จังหวัดชัยภูมิและบริเวณใกล้เคียงเป็นเขตอับฝน  ผมเดินทางไปขอข้อมูลปริมาณฯฝน 30 ปีย้อนหลังจากกรมอุตุนิยมวิทยา กรุงเทพฯ ท่านก็ให้อย่างดี ปึกเบ่อเริ่มเลย เป็นกระดาษปรินท์เอ้าท์ A3 เอาข้อมูลมาลงโปรแกรม Excel แล้ว plot curve แบบต่างๆดู โอยน่าตกใจครับว่า trend ปริมาณน้ำฝนมันลดลงในบางจังหวัด และจำนวนวันที่ฝนตกก็เปลียนแปลงไปจาก pattern เดิมๆ สิ่งเหล่านี้มันส่งสัญญาณต่ออาชีพการเกษตร

แล้วเอามาใช้ในการวางแผนส่งเสริมการเกษตร การป้องกัน การแก้ไข การเตรียมการเสี่ยงต่างๆได้  ทำไมไม่ทำ  ทำไมไม่เอาข้อมูลเหล่านี้มาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดเล่า.. ไม่มีใครทำเราทำเอง  ข้อมูลเหล่านี้ส่วนใหญ่อยู่ในมือนักวิชาการในมหาวิทยาลัยแต่ไม่ลงไปถึงเกษตรกรข้างล่าง  หรือลงแต่ไม่สามารถนำไปใมช้ประโยชน์อย่างเต็มที่ ต่อเนื่อง...

เรื่องความชื้นสัมพัทธ์ก็เช่นกัน มันมีผลโดยตรงต่อ เห็ดที่จะออกมา การออกดอกของไม้ผล การเน่าเสียของผลไม้  โดยเฉพาะพืชอาหารของคนและสัตว์

ยิ่งปัญหาโลกร้อนตามมานะลุงพูนนะ  เรื่องความชื้นยิ่งจำเป็นมากๆเลยครับ  วิถีเกษตรจะค่อยๆเปลี่ยนไป  และจะส่งผลกระทบมากมายต่อพืชพันธุ์พืช ฯลฯ และกระทบถึงคนในที่สุด ท่านอาจารย์อรรถชัยแห่งคณะเกษตร มช. เขียนเรื่องนี้ลงบ่อยๆลุงพูนตามไปดูด้วยนะครับใน Blog ของ g2k นี่แหละครับ

โอย คุยแล้วเพลินนะครับลุงครับ เราติดชาวบ้านจึงเห็นสิ่งเหล่านี้ครับ.. ขอบคุณลุงพูนมากนะครับ

น้องเม้ง P  14. เม้ง สมพร ช่วยอารีย์

    ขอบคุณมากๆนะครัีบ ข้อมูลดีๆ ค่าเหล่านี้สำคัญมากๆ นะครัีบ น่าสนใจนะครัีบ เอาค่าที่เราคุ้นๆเคยแต่เราคิดว่ามันคือเรื่องไกลตัว เอามาพูดบอกเล่าให้รับทราบกัน นำไปสู่การวิจัยชุมชนและเพิ่มผลผลิตเชิงคุณภาพ

    โมเดลทางอากาศหรือทางอุตุฯ นั้น จะส่งผลในทุกๆ เรื่องเลยครับ ชีวิตความเป็นอยู่ การเรียนรู้ การตลาด ความปลอดภัย สาธารณสุข แทบทุกอย่างเลยนะครับ...

พี่สบายดีนะครัีบ

ขอบคุณมากครัีบ 

 

น้องเม้ง รู้เรื่องนี้มากกว่าพี่มากมายนัก อย่างที่พี่คุยกับลุงพูนข้างบนน่ะครับ ข้อมูลมากมายเราเอามาใช้ประโยชน์ได้ แต่ทำได้ไม่มากนัก หน่วยงานราชการเก่งในเรื่องจัดเก็บข้อมูล และประกาศให้ทราบเท่านั้น  แต่ประโยชน์มากมายกว่านั้นหลายเท่าตัวนัก  เราต้องหยิบเอามาขยายลงไปใช้ในพื้นที่

ทำให้ง่ายและใช้ประโยชน์ได้ นี่คือเป้าหมายของเรา  เม้งเตือนมาตลอดเรื่องเหล่านี้ พี่ติดตามอยู่และคิดต่อในระดับชาวบ้านครับน้องเม้ง คงมีโอกาสได้ร่วมมือกันครับ

กลับมาเมื่อไหร่คงตั้งวงที่สวนป่าคุยกันสามวันสามคืนแน่ อิอิน้องเม้งครับ

  • คารวะอ.บางทรายค่ะ สุดยอดค่ะข้อมูลปึ๊ก(อีกแล้ว)
  • อ่านแล้วชัดเจนเรื่องความชื้นสัมพัทธ์
  • ตอนเป็นนักเรียนไม่ค่อยได้สนใจเท่าไหร่ เด็กผู้หญิงจะชอบท่องคำศัพท์ภาษาอ. มากกว่า เด็กผู้ชายจะสนใจเรื่องวิทย์ ฯ คำนวณ
  • บันทึกนี้ช่วยเติมเต็มความทรงจำในเรื่องของความชื้นสัมพัทธ์ค่ะ
  • ขอบคุณมากนะคะ

สวัสดีค่ะ พี่ท่านบางทราย

 

...  น้องไม่ค่อยเข้าใจเรื่องทางวิทย์ หรอกนะคะพี่ท่าน ศิลปิ๊น ศิลปิน ปานนี้ อิ อิ ..

 

... นี่เป็นอีกเรื่องหนึ่งที่พิสูจน์ภูมิปัญญาชาวบ้านดั้งเดิมนั้นสอดคล้องกับวิถีชีวิตและที่ตั้งชุมชนนั้นๆมากกว่าวิชาการสมัยใหม่  ดังนั้นนักวิชาการเกษตรและอื่นๆ พึงระมัดระวังการนำความรู้สมัยใหม่เข้าไปสู่ชุมชน โดยไม่เข้าใจสภาพเฉพาะของท้องถิ่น” !!!

 

  น้องเห็นด้วย กรณีนี้อย่างมากมายค่ะ  ... เพราะได้ประสบจากการงานว่า เวลาเราลงพื้นที่ ... เราจะต้องใช้การระดมสมอง ทำcommunity mapping กับชาวบ้านในชุมชน โดยต้องเน้นที่ความต้องการจริงๆ ซึ่งสอดคล้องกันภายในชุมชน เพราะเคยพบคือ สิ่งที่เราให้ ไม่ใช่สิ่งที่เขาต้องการ ... เป็นงั้นไป ..

 

... น้องสงสัยว่า ตัวเจ้า GIS เกี่ยวข้องกับ GPS อย่างไรค่ะ .. เพราะมีเพื่อนเค้าเคยไปเดินป่า ... ขนาดใช้เครื่องมือยังหลงได้เลยค่ะ  จนเดือดร้อนจนท. ป่าไม้ไปตามหา ..

 

...  ขอบคุณนะคะ บันทึกพี่ช่วยสร้างสีสันในชีวิตได้มากทีเดียวค่ะ ...

 

น้องเอื้องแซะครับ

หากจังหวะเหมาะพี่คุยกับคนข้างกายว่าจะเดินทางมาแม่ฮ่องสอน ผ่านแม่สะเรียง ขุนยวม ออกปายหาน้องเอก น้องหมอ kmsabai แม่หอยโข่งและทุกคนที่นั่นแล้วไปกินยำใบเมี่ยงที่ป่าแป๋

ไม่ได้มานานแล้วครับ เราเคยลุยมาทะลุหมดแล้ว มารื้อฟื้นความทรงจำหน่อย อิอิ  ฝันไว้ก่อนครับ

น้องสาว P 20. poo

...  น้องไม่ค่อยเข้าใจเรื่องทางวิทย์ หรอกนะคะพี่ท่าน ศิลปิ๊น ศิลปิน ปานนี้ อิ อิ ..

ไม่เป็นไรครับ บางเรื่องอยู่นอกเหนือการเรียนรู้ของเรา เป็นปกติ พี่เองก็ไม่รู้มากกว่าที่รู้ครับน้องปู

......

 

  น้องเห็นด้วย กรณีนี้อย่างมากมายค่ะ  ... เพราะได้ประสบจากการงานว่า เวลาเราลงพื้นที่ ... เราจะต้องใช้การระดมสมอง ทำcommunity mapping กับชาวบ้านในชุมชน โดยต้องเน้นที่ความต้องการจริงๆ ซึ่งสอดคล้องกันภายในชุมชน เพราะเคยพบคือ สิ่งที่เราให้ ไม่ใช่สิ่งที่เขาต้องการ ... เป็นงั้นไป ..

 

มีมากมายครับ สิ่งที่เรามีให้ไม่ใช่สิ่งที่เขาต้องการ เราจึงต้องการโครงการ หรือกิจกรรมที่ยืดหยุ่นมากๆ เพราะเงื่อนไขชุมชนนั้นมีมากมาย มิใช่เสื้อโหลที่จัดสรรแล้วต้องใส่เสื้อนั้นๆ มันตลกมากๆ

 

... น้องสงสัยว่า ตัวเจ้า GIS เกี่ยวข้องกับ GPS อย่างไรค่ะ .. เพราะมีเพื่อนเค้าเคยไปเดินป่า ... ขนาดใช้เครื่องมือยังหลงได้เลยค่ะ  จนเดือดร้อนจนท. ป่าไม้ไปตามหา ..

อิอิ น้องจ๋า GIS คือ  Geographic Information System ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ เป็นองค์ความรู้ว่าด้วยการนำข้อมูลสารสนเทศมาจัดทำเป็นแผนที่ของพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่งผ่านระบบ Computer ซึ่งสามารถเอารายละเอียดต่างๆใส่เข้าไปในแผนที่นี้ได้ ตั้งแต่ เส้น Contour แผนที่ระดับความสูงต่ำ แม่น้ำ ถนน ที่ตั้งหมู่บ้าน แหล่งน้ำอื่นๆ ละเอียดลงไปจนถึงแปลงนา และสามารถ links ไปสู่ฐานข้อมูลอื่นๆ เช่น เมื่อเอา Pointer ชี้ไปที่แปลงนา ก็สามารถทราบประวัติข้อมูลของเจ้าของที่นาคนนั้นได้หมด ละเอียดยิบ  มากน้อยก็ขึ้นอยู่กับฐานข้อมูลที่เรามีอยู่  แผนที่นี้ สามารถระบุที่ตั้งสถานที่สำคัญต่างๆได้ จึงมีความสำคัญทางการทหาร เพราะสามารถระบุจุดตั้งที่เป็นเส้นรุ้งเส้นแวงได้ นี่เองเครื่องบินจึงสามารถทิ้งระเบิดได้อย่างถูกต้อง ฯลฯ น้องเม้ง และท่านอื่นๆสามารถอธิบายได้ดีกว่าพี่ครับ

ส่วน GPS คือ Global Positioning System  คือเครื่องมือที่ใช้ระบุตำแหน่งที่เครื่องมือนั้นวางอยู่ โดยระบบจะติดต่อกับดาวเทียมถึง 7 ดวง เช่น หากเรามีแผนที่ทหารอยู่ในมือ และมีเครื่อง GPS อยู่ในมือเราก็สามารถตรวจสอบได้ว่าจุดที่เรายืนอยู่นั้นอยู่ตรงไหนของแผนที่ เพราะ GPS จะระบุเส้นรุ้งเส้นแวง หรือ Latitude และ Longtitude ที่เราเรียกสั้นๆว่า Lat-Long เราก็ตรวจสอบตัวเลขในแผนที่ได้  ในทางตรงกันข้าม  หากเรา ถือ GPS ในมือ แล้วนั่งรถไป ทุกๆ 1 กม.เรากด GPS ให้จำ Lat-Long ที่เราผ่านมา เมื่อสิ้นสุด เรา Load ความจำนี้ลงในระบบ GIS เราก็สามารถ plot ถนนที่เราผ่านมาได้ว่าอยู่ตรงไหนของแผนที่....  สมมุติว่าเราต้องการทิ้งระเบิดสำพานแห่งหนึ่ง ก็ให้คนเดินไปที่สะพานแล้วกดหน่วยความจำ แล้วส่งข้อมูลนี้ไปที่ศูนย์ข้อมูลเอาลงในแผนที่ เครื่องบินสามารถบินไปทิ้งระเบิดได้โดยไม่ผิดเลย

ประโยชน์มีมากมายครับ พี่เองก็เอามาใช้ในการทำแผนที่ และการวางแผนงานบางเรื่องครับโดยเฉพาะเกี่ยวกับที่ดิน ป่าไม้ เส้นทาง ฯลฯ

ทั้งหมดนี้ น้องเม้ง และท่านอื่นๆอธิบายได้ดีกว่าพี่นะครับ

 

 

...  ขอบคุณนะคะ บันทึกพี่ช่วยสร้างสีสันในชีวิตได้มากทีเดียวค่ะ ...

จำใจมาตรวจการบ้านท่านบางทราย ( ฝีมือสุดยอด )

คราวหน้าให้ท่านบางทรายกับอุ๊ยจั๋นตา ( อาจารย์ที่เคารพ ) เป็นคนจัดการอบรมดีกว่าครับ  อิอิ

 

 

คุณหมอคนชอบวิ่งครับ

  • มิบังอาจครับ
  • ผมทราบข้อจำกัดมากมายที่คุณหมอเผชิญ เข้าใจ และยอมรับ แม้ใครจัดก็ต้องเผชิญเช่นนั้นครับ
  • ผมต้องการสะท้อนสองมุมครับ
  • มุมที่ดียอดเยี่ยมนั้นมีมากมาย เช่น
  • การเตรียมตัว คุณหมอทุ่มเทพลังงานมากเหลือเกินที่จัดเตรียมสิ่งเหล่านี้ ผมเชื่อว่าไม่มีใครทำได้เทียบเท่าเพราะต่างมีภาระกิจมากมายและไม่มีทักษะมากเพียงพอครับ
  • การจัดการนั้นต้องมีทีมงานที่รู้ใจและมากเพียงพอที่จะจัดการเหล่านี้ได้ ไม่มีใครทำได้หรอกครับ โดยเฉพาะภายใต้เวลาที่จำกัดเช่นนี้ ผมเองยังทึ่งว่า ภายใต้เวลาเช่นนี้ทำได้อย่างไร เยี่ยมจริงๆครับ นี่แสดงถึงความเป็นมืออาชีพจริงๆครับ
  • การประสานงานที่สามารถเอาอาจารย์ทั้งสองท่านมาได้ ถือว่าสุดยอดของงานนี้ครับ ผมไม่รู้จักมาก่อน และเมื่อรู้จักน้องมนตรี ก็มิได้หมายความว่าจะจัดอะไรได้ เพราะคุณหมอมีความสัมพันธ์กับอาจารย์วิศิษย์ วังวิญญูมาก่อน
  • ทีมงานสามารถเข้าทีมกับวิทยากรทั้งสองท่านอย่างดีมากๆ ทำให้โปรแกรมราบรื่น ยิ่งนัก แอบชมครับ
  • ผมไม่มีปัญญาทำอะไรหรอกครับคุณหมอ ได้แต่เขียนแสดงความคิดเห็นไปตามหลักการ แนวคิดเพื่อทำให้ดีขึ้นน่ะครับ เพราะไม่มีใครจัดแบบนี้แล้วไม่เกิดปัญหาหรอกครับ เพราะเป็นปัจจัยที่ควบคุมไม่ได้น่ะครับ
  • คุณหมอได้โปรดเข้าใจเจตนาผมนะครับ
  • หากผมกล่าวอะไรที่มิสมควรก็กราบขออภัยด้วยครับ

ท่านบางทรายนี่เคร่งเครียดจริงนะครับ  หยอกเล่นน่ะครับ

ฝีมือการจัดดงหลวงก็สุดยอด  รู้ๆกัน  อยากได้ความเห็นทุกๆด้านครับ  เพราะเป็นประโยชน์ต่อทุกๆคนครับ

ตอนนี้ไล่ตรวจการบ้านครับ  ใครไม่ส่งการบ้าน  เดี๋ยวจะแวะไปหา  ระวังตัวกันไว้  อิอิ

พูดเล่น  แต่ทำจริง  555555

 

คุณหมอครับ ผมตกใจหมดเลย  หน้ายังซีด ไม่หายเลยนิ..

มายกมือตอบรับคุณหมอคนชอบวิ่งค่ะ

ถ้าจัดอบรมครั้งต่อไป อุ้ยจั๋นตาขออาสารับงานที่หนักที่สุด...คือแบกครกไปตำน้ำพริกอ่องค่ะ..คราวหน้าจะทำน้ำพริกมังสะวิรัติด้วยค่ะ คราวที่ผ่านมาตั้งหลักไม่ทันไม่ได้ซื้อเต้าหู้ไปด้วย

ส่วนงานอื่นๆ เช่นเป็นวิทยากรหรือจัดหลักสูตร..ยกให้คุณหมอคนชอบวิ่งไป...(ของมันแน่อยู่แล้ว...อิอิ)

พี่บางทรายรับหน้าที่ถ่ายรูปและอื่นๆตามที่ได้รับมอบหมายนะคะ (แอบแบ่งงานล่วงหน้าเลย...อย่าว่ากันนะคะ...555)

แวะมาอ่านและลงชื่อไว้ครับ

น้องสร้อยครับ P 27. จันทรรัตน์ 

 พี่ยินดีเป็นตากล้องถ่ายรูปทุกอริยาบท ชอบ ชอบครับ อิอิ

สวัสดีครับ น้อง P 28. กวิน

แวะมาอ่านและลงชื่อไว้ครับ

ด้วยความยินดีครับร้องกวินครับ

สวัสดีครับ

Pบางทราย (คนเข็นครก ขึ้นภูเขา)

  • ความชื้น เมื่อชื้นบ่อย ๆ ก็ขึ้นรา
  • จิตใจก็เหมือนกัน
  • ถ้าชื้นบ่อย ๆ ก็ขึ้นรา
  • ราคะ

 

สวัสดีครับ พี่บางทราย

        คิดถึงก็เลยเข้ามาเยี่ยมครับ ^__^

        เห็นชื่อบันทึกแล้วชอบใจทันทีเลย  เพราะไม่ใช่เพียงแต่เรื่องทางเกษตร และชีวิตประจำวันเท่านั้น แม้แต่อุตสาหกรรมก็เกี่ยวครับ เลยอยากบันทึกเอาไว้แถวๆ นี้ซะหน่อย

        เหตุเกิดที่โรงงานผลิตล้อแม็ก (ฝรั่งเรียกว่า alloy wheel) แห่งหนึ่งครับ เขาซื้อเครื่องหล่อโลหะแบบฉีดใช้ความดัน (pressure die casting) จากญี่ปุ่น เอาแบบ turn key คือ ยกมาทั้งหมดเลย ทั้งเครื่อง ทั้งเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้อง ราคาก็หลายล้านอยู่

        ตอนที่ลองเครื่องที่ญี่ปุ่นนี่ ทุกอย่างก็ทำงานราบรื่นดี ก็เลยขนย้ายมาเมืองไทย

        แต่พอมาถึงนี่...นิ่งครับ...แก้เท่าไรก็ไม่หาย ขนาดใช้ผู้เชี่ยวชาญจากบริษัทผู้ผลิต ผู้เชี่ยวชาญญี่ปุ่นยืนยันว่า เขาทำทุกอย่างถูกต้องตามคู่มือทุกประการ แล้วทำไมเครื่องจึงไม่ทำงานหนอ..อะโหน่...

        แก้ไป-แก้มารู้สึกจะหลายเดือนอยู่ เกือบๆ ครึ่งปีเห็นจะได้ จนในที่สุดก็พบว่า ปัญหาคือ บ้านเรามีความชื้นสัมพัทธ์สูงกว่าที่ญี่ปุ่นครับ ทำให้อิเล็กทรอนิกส์มีปัญหา! แค่นั้นเลย! ;-)

        นี่คือสิ่งที่ผู้เชี่ยวชาญไม่มีวันคิดถึง เพราะเป็นเรื่องของสภาพแวดล้อม & ยืนยันบันทึกนี้ว่า ความชื้น สำคัญมากกว่าที่เราเข้าใจมากนักครับ

ขอบคุณครับ

ปล.

1. ผมมีบล็อกเกี่ยวกับ ลมฟ้าอากาศ เช่น ชวนดูเมฆ : ชายผู้หลงรักมวลเมฆ

2. เรื่องหนังสือไอน์สไตน์ที่ผิดพลาด ตอนนี้ทางอมรินทร์ยอมรับแล้วครับ : บ. อมรินทร์ ระงับการพิมพ์เพิ่มหนังสือ (บางเล่ม) ของ ทพ.สม เพราะมีข้อผิดพลาดมาก

       

       

       

สวัสดี (อีกครั้ง) ครับพี่บางทราย

       เมื่อคืนไปนอนนึกๆ ดู สงสัยว่าความจำบางส่วนจะเสื่อม คือ ปัญหาที่เกิดขึ้นนี่อาจจะเป็นว่า ล้อแม็กที่ผลิตออกมามีรูพรุนเล็กๆ ที่เรียกว่า ตามด (pinhole) เต็มไปหมด แต่สาเหตุเกิดจากความชื้นที่สูงเกินไปนั่นแหละครับ

       ส่วนความชื้นที่ทำให้อิเล็กทรอนิกส์เสียนี่เกิดในห้องแล็บที่ทำงานของผมเอง...แหะ..แหะ (เรื่องสับสนเล็กน้อย)

       เป็น "นิสัยถาวร" ของนักวิทยาศาสตร์ครับ พอรู้สึกว่าให้ข้อมูลผิดๆ ไปนี่ มันคันๆ สมองยังไงชอบกล  ไว้คุยกันใหม่ครับ

สวัสดีครับครูโย่ง

เข้าใจหยิบคำว่า "ราคะ" มาใช้นะครับ ขอบคุณครับครูโย่ง

สวัสดีครับอาจารย์ครับ P  33. บัญชา ธนบุญสมบัติ

 

ขอบคุณเป็นอย่างสูงที่เข้ามาเยี่ยมยามกันครับ ผมเองต้องขอโทษที่มาต้อนรับอาจารย์ช้าไป มัวตั้งท่าอยู่นาน มีเรื่องด่วนเข้ามาดึงเวลาไปตลอดเลยครับ

ขอบคุณอาจารย์เป็นอย่างสูงที่เอาตัวอย่างมาสนับสนุนในเรื่องความชื้นสัมพัทธ์ที่มีผลต่อกิจกรรมต่างๆ

เนื่องจากผมทำงานกับชาวบ้าน และส่วนหนึ่งต้องเกี่ยวข้องการปลูกพืชเศรษฐกิจในพื้นที่พิเศษ เช่นพื้นที่สูบน้ำด้วยไฟฟ้า จำเป็นต้องเอาพืชใหม่ๆแปลกๆ ที่ไม่ใช่พืชท้องถิ่น มาปลูก ทั้งทดลองและส่งเสริม ซึ่งส่วนหนึ่งพยายามเก็บข้อมูลว่าความชื้นสัมพัทธ์ มาผลอย่างไรบ้างต่อระบบการปลูกพืชนั้นๆ  และพยายามจะให้ชาวบ้านรู้จักเก็บข้อมูลพื้นฐานเหล่านี้ พร้อมๆกับบันทึกปรากฏการณ์ธรรมชาติที่เกิดขึ้นในแต่ละวัน แต่ละช่วง

เพียงเริ่มต้นเท่านั้นครับ เรื่องเหล่านี้ต้องใช้เวลาและความพยายาม ใจรักจริงๆจึงทำได้

ผมขอนำเอากรณีตัวอย่างที่อาจารย์ได้กรุณาอธิบายมานั้นไปเล่าให้พี่น้องฟังกันครับ เพื่อประกอบการชี้ให้เห็นความสำคัญของเรื่องความชื้นนี้...

ขอบคุณเป็นอย่างสูงมากครับอาจารย์ครับ 

 

ผมยังติดอาจารย์เรื่อง องศาของการเปลี่ยนแปลงตอนที่สองอยู่ครับ ต้องขอเวลาหน่อยครับ

คิดถึงพี่ท่านบางทรายจังเลยค่ะ

* ช่วงนี้น้องคิดว่า ... ความชื้นในบล็อกคงลดลงค่ะ

* เพราะ หัวบันได แห้งๆ  ... เงียบๆ ไม่ค่อยมีเหมือนเดิม

* ... ส่งผลให้ความชื้นของจิตใจแปรผัน ขาดน้ำหล่อเลี้ยง เช่นกันค่ะ 

* :)  ... เอ เกี่ยวกันไหมคะ ... มาอ่านเรื่อง alloy wheel , pressure die casting เลยคิดถึง

* allie whole , pleasure duo connection ค่ะ ... ?

 

สวัสดีครับน้องปู

      สังคมเปลี่ยนแปลงเป็นเรื่องปกติครับ ตามเงื่อนไขต่างๆที่เข้ามา พี่เรียกว่า "การปรับตัว ตามเหตุตามผล"

       โดยแกนแก่นของการสร้างสมดุลใหม่คือ เหตุผลที่เหมาะสมแก่สังคมนั้นๆ เมื่อเปลี่ยนไปแล้วยังไม่สมดุล ก็มีแรงกระทำให้ขับเคลื่อนต่อไปจนกว่าจะมีความสมดุลมากที่สุด  แต่ก็ไม่หยุดนิ่งกับที่ เพราะ เซลล์ภายในนั้นมีชีวิตและทำงานต่อเนื่องต่อไป

       เราขอสนับสนุนความสมดุลที่เหมาะสม เพราะจุดสมดุลที่สุดคือสภาวะที่อยู่กันได้ครับน้องปูครับ  เรื่องการปรับตัวเป็นเรื่องที่เป็นปรากฏการณ์การรวมตัวของกลุ่มคนทั้งในระดับเล็กและใหญ่

         บทเรียนเรื่องนี้มีมากมาย  หากเราเรียนรู้บทเรียนเหล่านี้เราก็สามารถร่วมกันสร้างดุลยภาพได้ครับ น้องปูครับ..  

มาเยี่ยม..อ่านค่ะ

น้องสาวคนเก่งของพี่มาแล้ววววว

เธอเขียนบันทึกเมื่อไหร่ก็บอกพี่บ้างนะครับ หรือแนะนำ Blog ใน OKnation บ้างก็แล้วกัน

ขอบคุณครับน้องสาว

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท