ขับรถอย่างไร ลดคอเคล็ด(whiplash-วิพแลช)จากอุบัติเหตุ


อุบัติเหตุบนท้องถนนมีส่วนทำให้พวกเราหลายคนชอกช้ำมาแล้วไม่มากก็น้อย ความชอกช้ำบริเวณคอที่พบบ่อยอย่างหนึ่งคือ "วิพแลช (whiplash)" หรือความชอกช้ำจากการที่

...

อุบัติเหตุบนท้องถนนมีส่วนทำให้พวกเราหลายคนชอกช้ำมาแล้วไม่มากก็น้อย ความชอกช้ำบริเวณคอที่พบบ่อยอย่างหนึ่งคือ "วิพแลช (whiplash)" หรือความชอกช้ำจากการที่

วันนี้มีผลการศึกษาที่พบว่า ผู้หญิงมีโอกาสคอเคล็ดบริเวณด้านหลัง (whiplash) มากกว่าผู้ชาย 3 เท่ามาฝากครับ

...

เวลารถชนทางด้านหน้า หรือด้านหลังจะทำให้ส่วนหัว คอ และอกของคนเรากระดอน หรือเคลื่อนไปมาในแนวหน้าหลังหลายครั้ง

นอกจากนั้นอุบัติเหตุแบบนี้ยังมีการเคลื่อนที่พิเศษบนเบาะนั่งรถยนต์คือ เวลาส่วนหัว และลำคอเคลื่อนไปทางด้านหลังจะมีการ "ยืด" ส่วนคอขึ้นสูงในแนวดิ่งเล็กน้อย ทำให้คอเคล็ดไปนานขึ้น

...

คณะนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยอูเมีย (Umea) สวีเดนทำการศึกษาข้อมูลจากการบาดเจ็บรถยนต์ 400 ครั้งในช่วงปี 1990s หรือ พ.ศ. 2533-2542

ผลการศึกษาพบว่า ปัจจัยสำคัญที่เพิ่มความเสี่ยงต่อภาวะคอเคล็ดแบบวิพแลชปรากฏดังตาราง

...

ปัจจัยเพิ่มความเสี่ยง ความเสี่ยงเพิ่มขึ้น
เพศหญิง 3 เท่า
นั่งด้านคนขับ 2 เท่า

...

อาจารย์ที่ทำการศึกษาวิจัยกล่าวว่า สาเหตุที่ผู้หญิงหรือคนรูปร่างเล็กมีความเสี่ยงต่อภาวะบาดเจ็บชนิดนี้เพิ่มขึ้น เนื่องจากผู้หญิงหรือคนรูปร่างเล็กนั่งใกล้พวงมาลัยมากกว่า ทำให้โอกาสกระแทกทางด้านหน้าสูงกว่า

เวลากระแทกแรงๆ ไม่ว่าจะเป็นด้านหน้าหรือด้านหลัง... คอของคนเราจะถูกเหวี่ยงไปด้วย ทำให้คอเคล็ดได้ง่าย

...

การป้องกันอุบัติเหตุส่วนลำคอจากรถชนทางด้านหน้า หรือด้านหลังดีขึ้นหลังมีการพัฒนาพนักรองส่วนหัวเหนือที่นั่ง ทำให้ส่วนหัวและส่วนคอหงายไปด้านหลังน้อยลง

รถยนต์บางรุ่นมีการพัฒนาพนักรองส่วนหัวเหนือที่นั่งให้สูงขึ้น ซึ่งมีส่วนช่วยลดการเคลื่อนของส่วนหัวในแนวดิ่ง (เคลื่อนสูงขึ้น) เมื่อหัวและคอหงายไปด้านหลัง

...

อาจารย์ท่านแนะนำว่า เวลาขับรถ... ควรปรับพนักพิงศีรษะ(ส่วนหัว)เหนือที่นั่งให้อยู่ใกล้หัว เพื่อลดโอกาสการเคลื่อนที่ไปทางด้านหลังไม่ให้มากเกินไป(เวลาถูกชน)

การปรับพนักพิงให้สูงขึ้นหน่อยมีส่วนช่วยลดการเคลื่อนที่ของส่วนหัวและคอในแนวดิ่งได้ในช่วงการหงายหลัง ทว่า... ต้องเช็คให้ดีว่า พนักพิงล็อคไว้เป็นอย่างดีทุกครั้ง

...

และอย่าลืมเรื่อง "เมาไม่ขับ+ง่วงไม่ขับ" ซึ่งจะช่วยให้พวกเราปลอดภัยขึ้นด้วย

ถึงตรงนี้... ขอให้พวกเรามีสุขภาพดีไปนานๆ ครับ

...

หมายเหตุ                                            

  • ถ้าตัวอักษรเล็กเกิน > เรียนเสนอให้เพิ่มขนาดที่ view > text size > เพิ่มขนาด
  • หรืออ่านที่ OKnation blog > [ Click - Click ]

ที่มา                                                  

  • Thank BBC > Women 'face raised whiplash risk' > [ Click ] > May 18, 2008.
  • Thank HIH > NIND > NIND whiplash information page > [ Click ] > May 20, 2008.
  • Thank BBC > Dr. Tricha Macnai > Ask the doctor > Whiplash injury > [ Click ] > May 20, 2008.
  • Thank Wikipedia > Whiplash (medicine) > [ Click ] > May 20, 2008.
  • ข้อมูลและการอ้างอิงในบล็อก "บ้านสุขภาพ" เป็นไปเพื่อส่งเสริมสุขภาพ และป้องกันโรค ไม่ใช่รักษาโรค
  • ท่านที่มีโรคประจำตัว หรือมีความเสี่ยงต่อโรคสูง... ควรปรึกษาหมอ พยาบาล เภสัชกร หรืออนามัยที่ดูแลท่านก่อนนำข้อมูลไปใช้
  • ขอขอบคุณอาจารย์ณรงค์ ม่วงตานี + อาจารย์เบนซ์ iT ศูนย์มะเร็งลำปาง > สนับสนุนเทคนิค iT.
  • นพ.วัลลภ พรเรืองวงศ์ > 20 พฤษภาคม 2551.

 

...

หมายเลขบันทึก: 183469เขียนเมื่อ 20 พฤษภาคม 2008 17:56 น. ()แก้ไขเมื่อ 29 พฤษภาคม 2012 18:30 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

สวัสดีคะ อาจารย์หมอวัลลภ

หนูแวะมาเรียนรู้คะ เพื่อป้องกันไว้ก่อน ตอนนี้ยังขับมอร์เตอร์ไซต์อยู่เลยคะ รอให้มีรถยนต์ขับเมื่อไหร่จะได้ป้องกัน หรือว่าจะไปนั่งรถยนต์ของเพื่อนจะได้ระวังคะ

อาจารย์ค่ะ ไม่แน่ใจว่าอาจารย์หมอวัลลภเห็นบันทึก แนะนำบล็อกด้านสุขภาพ  ของหนูรึยังคะ หนูเขียนแนะนำให้สมาชิกท่านอื่นได้ตามอ่าน เพื่อเป็นประโยชน์คะ

ขอบคุณมากคะ

สวัสดีค่ะ ท่านอาจารย์หมอวัลลภ

- ขอบพระคุณมากค่ะ เป็นคนตัวเล็กแต่ต้องขับรถ จะนำคำแนะนำไปใช้ค่ะ

- ติดตามผลงานของท่านเป็นประจำค่ะ

ขอขอบคุณอาจารย์มะปรางเปรี้ยว...

  • ต่อไป... gotoknow น่าจะมีการออกนิตยสารออนไลน์ ซึ่งน่าจะเป็นรูป pdf

นิตยสารออนไลน์นี้น่าจะมีโฆษณา หรือกิตติกรรมประกาศ (acknowledgement) ผู้บริจาค เพื่อให้ gotoknow มีรายได้ในระยะยาว

  • วารสารหนึ่งน่าสนใจคือ PLoS One... ดูจะมีแต่ฉบับออนไลน์

ขอขอบพระคุณอาจารย์จตุรัส...

  • ขอขอบพระคุณที่ติดตามอ่าน "บ้านสุขภาพ"...

การทิ้งร่องรอย หรือการให้คอมเมนต์ (comment) มีผลต่อคนเขียนมากๆ ครับ

  • ทำให้มีกำลังใจที่จะเขียนต่อไป...
  • ทำให้ผู้เขียนตามไปสืบค้นว่า ผู้อ่านเป็นใคร... คล้ายกับการทำวิจัยทางด้านการตลาดไปในตัว

ขอขอบพระคุณครับ...

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท