ปุถุชน-อริยชนกับสัมมาทิฏฐิ


อริยชน ท่านจะเข้าใจว่า สุขก็สักแต่ว่าสุข ทุกข์ก็สักแต่ว่าทุกข์ เป็นสภาวะธรรม ที่เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และก็ดับไป ไม่ใช่ตัวตนของเราเขา เป็นอนิจจัง ไม่ควรเข้าไปยึดมั่นถือมั่น เมื่อเกิดสุขท่านก็ให้พิจารณาอย่างนั้นเพื่อฝึกจิตฝึกใจ เมื่อเกิดทุกข์ท่านก็ให้นำมาพิจารณาอย่างนั้นเพื่อฝึกจิตฝึกใจเช่นเดียวกัน

วันนี้ก่อนนอน ก็พยายามเล่าธรรมะให้เจ้าภูตะวัน (ลูกชาย)ฟัง เหมือนทุกคืนที่ผ่านมา แต่วันนี้นึกอยู่ตั้งนานว่า จะเล่าธรรมะเรื่องอะไรดี ? นึกคิดอยู่พักหนึ่ง ก็เลยตัดสินใจจะเล่าเกี่ยวกับ "ปุถุชน-อริยชนกับสัมมาทิฏฐิ" ตามที่เข้าใจมาจากการฟังธรรมเทศนาของท่านหลวงปู่ชา สุภัทโท http://www.dhammathai.org/sounds/playsound1.php?sound=cha/cha5/052.wma ดังนี้

พ่อ: ...ภู ไหนลองทบทวน ธรรมะ ที่เล่าวันก่อนให้ฟังหน่อย

ลูก:    จำไม่ได้ครับ

พ่อ:  งั้นอธิบายความหมายของ มรรค กับ สัมมาทิฏฐิ ให้ฟังหน่อย

ลูก:  ก็จำไม่ได้เหมือนกัน

พ่อ: ไม่เป็นไร วันนี้จะเล่าใหม่อีกรอบก็ได้

....

พ่อ:  ...ก่อนอื่นต้องเข้าใจคน 2 แบบนี้ก่อน คนแบบแลกคือ ปุถุชน คนอีกแบบคือ อริยชน

ปุถุชน คือ คนส่วนใหญ่ทั่วไป ที่ยังไม่เข้าใจธรรมะมากนัก

ส่วน อริยชน คือ คนที่เข้าใจและฝึกธรรมะมาแล้วอย่างดี

ปุถุชน จะแบกทุกข์ แบกสุข แบกโลกเอาไว้ เพราะเข้าใจชีวิตแบบโลก ๆ ชอบแต่สุข ไม่ชอบความทุกข์

ส่วนอริยชน จะเข้าใจโลก เข้าใจธรรม อยู่เหนือโลก ไม่แบกโลก (เคยสอนเรื่องแบกโลกกับปล่อยวางโลกมารอบหนึ่งแล้ว)


พระท่านว่า ปุถุชนมีสุขมาก็ทุกข์มาก เช่น ถ้ามีบ้านหลังใหญ่ก็ดีใจ มีรถคันสวยก็ดีใจมาก แต่เมื่อบ้านไฟไหม้ รถพังหรือหายไป ก็เป็นทุกข์มากเหมือนกับสุขมากก็ทุกข์มาก นี่เป็นเรื่องธรรมดาของปุถุชนทั่วไป

ซึ่งจะแตกต่างจาก อริยชน ท่านจะเข้าใจว่า สุขก็สักแต่ว่าสุข ทุกข์ก็สักแต่ว่าทุกข์ เป็นสภาวะธรรม ที่เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และก็ดับไป ไม่ใช่ตัวตนของเราเขา เป็นอนิจจัง ไม่ควรเข้าไปยึดมั่นถือมั่น เมื่อเกิดสุขท่านก็ให้พิจารณาอย่างนั้นเพื่อฝึกจิตฝึกใจ เมื่อเกิดทุกข์ท่านก็ให้นำมาพิจารณาอย่างนั้นเพื่อฝึกจิตฝึกใจเช่นเดียวกัน

 

หมายเลขบันทึก: 182560เขียนเมื่อ 16 พฤษภาคม 2008 00:59 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 มกราคม 2014 13:22 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท