ทฤษฎีโลกใบเล็กกับเว็บ 3.0 (Six degree of separation and Web 3.0)


นักวิจัยหลายท่านไม่สามารถอธิบายได้ชัดเจนว่า ผลงานวิจัยของตนจะถูกนำไปใช้อย่างไร เราจะรู้ว่ามันเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อมันเกิดขึ้นมาแล้ว

สวัสดีครับ เมื่อวันก่อนพี่สมสกุล เผ่าจินดามุขจาก Nationgroup มาขอสัมภาษณ์ผมเกี่ยวกับความคิดเห็นในเรื่อง Social network แล้วเราก็เลยคุยกันไปถึง "อนาคตของเว็บจะเป็นเช่นไร?" ผมเลยอยากจะนำบางส่วนที่น่าสนใจมารวมกับทฤษฎีตัวหนึ่งที่เรียกว่า "ทฤษฎีโลกใบเล็ก" หรือ Six degree of separation มาเล่าให้ฟังกันครับ

คุณสุทธิชัย หยุ่น เคยพูดในรายการชีพจรโลกในตอน "Web 2.0" ว่าวันนี้สำหรับผู้ใช้อินเทอร์เน็ตชาวไทยคงมีน้อยคนนักที่ไม่เคยได้ยินคำๆ นี้ เว็บ 2.0 ถือเป็นยุคแห่งการแลกเปลี่ยนเรียนรู้(ลปรร.) และผลลัพธ์ของมันทำให้ธุรกิจและอุตสาหกรรมต่างๆ ให้ความสนใจกับอินเทอร์เน็ต การพัฒนาของเว็บ และการก้าวไปสู่เว็บ 3.0 ยุคที่เครื่องคอมพิวเตอร์สามารถคุยกันเองได้ เคยมีคนนิยามไว้ว่า เว็บ 1.0 คือ read only web เว็บ 2.0 คือ read and write web ส่วนเว็บ 3.0 ก็คือ read/write and related web ความสัมพันธ์ที่เพิ่มขึ้นมาทำให้คอมพิวเตอร์คุยกันได้อย่างไรนั้น เรื่องนี้ยังคงเป็นประเด็นเปิดที่รอนักวิจัยให้เข้าไปศึกษาอยู่

ที่ผ่านมาอาจจะพูดได้ว่า การที่ Tim O'Reilly บัญญัติคำว่า "Web 2.0" ขึ้นเป็นศึกษาการพัฒนาการของเว็บจากตัวอย่างเว็บที่อยู่รอดผ่านวิกฤตการณ์ Dot com ล่มสลายในช่วงปี 2000 มาได้ มันเป็นการศึกษาจากสิ่งที่เกิดขึ้นมาแล้ว พอถึงวันนี้ทุกคนนับเลขเป็นครับ ทุกคนรู้ว่า เว็บ 1.0 มา เว็บ 2.0 ต่อไปก็ต้องเว็บ 3.0 แน่นอน แต่ไม่มีใครรู้แน่ชัดว่าในยุคที่กำลังจะมาถึงนี้จะเป็นอย่างไร นักวิจัยหลายท่านไม่สามารถอธิบายได้ชัดเจนว่า ผลงานวิจัยของตนจะถูกนำไปใช้อย่างไร เราจะรู้ว่ามันเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อมันเกิดขึ้นมาแล้ว แต่ทุกคนก็พยายามจะสร้างสรรค์และหยิบศาสตร์ที่ตนเองถนัดมาใส่ในนิยามใหม่ของ "Web 3.0"

ที่มาภาพจาก http://gridinoc.name/b.noise/2007/10/16/sw-rubik.png

คีย์เวิร์ดที่สำคัญในยุคนี้ก็ได้แก่ Semantic web, Artificial intelligence (AI), 3D, Pervasive web จะเห็นได้จากตัวอย่างที่ Tim Berners-Lee เคยพูดไว้ในปี 2001 เป็นเรื่องราวสมมุติของเด็กผู้หญิงที่ชื่อ Lucy ซึ่งต้องการช่วยคุณแม่ในการติดต่อแพทย์เฉพาะทาง สิ่งที่ Lucy สามารถทำได้ในยุคเว็บ 3.0 คือการที่เธอสั่ง Semantic web agent ผ่าน web browser ทางโทรศัพท์ จากนั้นเจ้า agent ตัวนี้ก็จะไปค้นหารายชื่อแพทย์ซึ่งอยู่ในรัศมีไม่เกิน 20 ไมล์จากบ้านเธอและที่สำคัญคือจะต้องเป็นแพทย์ที่เธอสามารถเบิกค่ารักษาพยาบาลจากบริษัทประกันได้ นอกจากนี้เจ้า agent ยังสามารถทำตารางนัดหมายอัตโนมัติโดยตรวจสอบเวลาของแม่กับเวลาของแพทย์ให้ตรงกัน ทั้งนี้ตารางเวลาดังกล่าวจะต้องเป็นสิ่งที่แพทย์อนุญาตให้สามารถเข้าถึงได้อีกด้วย จะเห็นได้ว่าสิ่งที่พูดมาทั้งหมดในช่วงปี 2001 เป็นสิ่งที่ฟังแล้วค่อนข้างจะน่ามหัศจรรย์ สามารถสั่งการเว็บจากที่ไหนด้วยอุปกรณ์อะไรก็ได้ (pervasive web) มี agent ที่รอบรู้สามารถเข้าถึงข้อมูลต่างๆ ในเซิร์ฟเวอร์ต่างๆ (semantic web) และเข้าใจได้ด้วยตนเอง (AI) แต่ในปี 2008 นี้เราเริ่มจะเห็นโครงร่างของสิ่งที่พูดไว้เหล่านั้นแล้ว

มีการกำหนดมาตรฐาน Resource Description Framework(RDF) และ Web Ontology Language (OWL) ขึ้นมา คำศัพท์ 2 คำที่โปรแกรมเมอร์จะถูกสอนตั้งแต่เริ่มเรียนการเขียนโปรแกรมใหม่ๆ คือ syntax และ semantic นอกจากเขียนโปรแกรมต้องให้ถูกไวยกรณ์และต้องให้ถูกความหมายให้อ่านรู้เรื่อง มาวันนี้ semantic เป็นมากกว่า ความหมายที่คนเข้าใจ แต่มันหมายถึงความหมายที่ทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์เข้าใจอีกด้วย

มาถึงจุดนี้ ถ้าถามว่าเว็บ 3.0 มีความจำเป็นหรือยัง ก็ต้องหันกลับมามองที่ข้อด้อยของเว็บ 2.0 หาก killer application ของยุค เว็บ 2.0 คือ social network service ที่ผมเคยบอกว่า "น่าเบื่อจัง" ด้วยสาเหตุ 3 ประการคือ ไม่สามารถแชร์ข้อมูลร่วมกันได้, ข้อมูลของเรากลายเป็นเครื่องมือสำหรับนักการตลาด, ความสัมพันธ์ในเครือข่ายไม่มีความหมายไม่มีประโยชน์ เว็บ 3.0 จะเข้ามาทะลายกำแพงของสิ่งเหล่านี้ (ยกเว้นข้อ 2 เพราะยังไงนักการตลาดก็จะพยายามใช้ประโยชน์จากอินเทอร์เน็ตต่อไป) link แต่ละ link ใน social network ต่างๆ จะมีความหมายที่คอมพิวเตอร์สามารถเข้าใจได้และทำให้ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตอย่างเราได้ประโยชน์เพิ่มขึ้นอีกด้วย ดังนั้นทฤษฎีที่เรียกว่า Six degree of seperation จึงน่าจะเข้ามาเกี่ยวข้องกับเครือข่ายยุคใหม่นี้

ที่มาภาพจาก http://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/9/94/Six_degrees_of_separation.png

จากการสืบค้นใน gotoknow ดร. บัญชา ธนบุญสมบัติ ได้อธิบายรายละเอียดของทฤษฎีนี้ไว้ได้ดีมากอยู่แล้ว สามารถเข้าไปอ่านต่อเพิ่มเติมได้เลยครับ ส่วนผมขออนุญาตอธิบายสั้นๆ ว่า "ทุกคนบนโลกใบนี้สามารถหาเส้นทางที่เชื่อมกันได้โดยไม่เกิน 6 link" แน่นอนหากมันเป็นจริงคนในไซเบอร์สเปซก็จะมีจุดเชื่อมที่ไม่เกิน 6 link และถ้าแต่ละ link มีการใส่ความหมายของความสัมพันธ์ลงไป เช่น เพื่อนร่วมงาน เพื่อนเรียน พี่ น้อง พ่อ แม่ ฯลฯ จะทำให้เราเข้าใจความสัมพันธ์ของคนในโลกเสมือนที่เทียบเท่าคนในโลกแห่งความเป็นจริง ทำให้เราเข้าใจเครือข่ายธรรมชาติและเครือข่ายที่มนุษย์สร้างขึ้นอีกมาก ปรากฎการณ์นี้จะทำให้โลกของเราเล็กลงในทันตาอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน

ว่าแล้วเลยมีคนได้ทำการทดสอบใน Facebook โดยคุณ Karl Bubyan เขาได้ชักชวนคนมาร่วมการทดลองนี้ จากการกลุ่มที่สนใจซึ่งมีขนาดประมาณ 300,000 คน ปรากฏว่าค่าเฉลี่ยของ Degree of separation อยู่ที่ 4.67 ทำให้คุณ Ryan Dosetareh สามารถเชื่อมโยงกับทุกคนในเครือข่ายได้โดยไม่เกิน 5 link แล้วถ้าประชากรบนโลกจริงมีอยู่ราว 6 พันกว่าล้านคนเมื่อนำตัวเลข 6 พันล้านมาถอดรากที่ 6 จะมีค่าอยู่ประมาณ 43 กว่าๆ ดังนั้นถ้าเราเอา 44 มายกกำลัง 6 มันจะได้ 7,256,313,856 คำถามคือ คุณมีคนรู้จักมากกว่า 44 คนไหม? ถ้าใช่ก็แปลว่า "คุณสามารถรู้จักคนทั้งโลกนี้ได้โดยไม่เกิน 6 link" แล้วมันจะมีประโยชน์อย่างไร สามารถนำมาประยุกต์อะไรต่อได้ไหม เราพร้อมที่จะรู้จักคนทั้งโลกแล้วหรือยัง แล้วคุณหละคิดอย่างไร How do u think?

 

หมายเลขบันทึก: 182426เขียนเมื่อ 15 พฤษภาคม 2008 12:37 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 มิถุนายน 2012 10:13 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

P

TheInk

 

ไม่ค่อยคุ้นเคยเรื่องทำนองนี้ แต่จากการอ่านพอสรุปได้ว่า

  • Web 1.0 = read only web
  • Web 2.0 = read and write web
  • Web 3.0 = read/write and related web

เฉพาะ Web 3.0 ทำให้นึกถึงแนวคิดเรื่องคลื่นโลกที่สี่ ซึ่งเคยอ่านนานแล้ว เค้าบอกว่า ต่อไปคอมพิวเตอร์จะติดต่อกันเอง เช่น

อาตมาไปจำวัดหาดใหญ่สองสามคืน พอกลับมาที่กุฏิ คอมพิวเตอร์ประจำกุฏิก็จะรายงานว่า.. เมื่อวานมีฝนตกลมแรง ทำให้กิ่งไม้หล่นลงบนหลังคา และกระเบื้องแตก ๓ แผ่น ได้ติดต่อไปยังร้านข้างวัดแล้ว เค้าบอกว่า ถ้าทางร้านส่งช่างมาซ่อมเองราคา... ถ้าเพียงเอาอุปกรณ์มาส่งราคา... หรือถ้าไปรับอุปกรณ์เองที่ร้านราคา... จะเลือกข้อไหนหรือปล่อยทิ้งไว้ก่อน โปรดระบุ....

ตอนที่อ่านหนังสือเล่มนี้ ก็ยังไม่เข้าใจนัก เพราะตอนนั้นยังไม่มีคอมพิวเตอร์ใช้... แต่ตอนนี้คิดว่าน่าจะเป็นไปได้ตามแนวคิด Web 3.0 นั่นคือ web ติดต่อและคุยปรึกษากันเอง

สงสัยต่ออีกนิดว่า Web 4.0 จะมีหรือไม่ และจะเป็นอย่างไรหนอ ? (5 5 5...)

เจริญพร

 

555 นมัสการครับหลวงพ่อ

ยกตัวอย่างได้เข้ากับบริบทไทยๆ เลยครับ เห็นผมชัดเจนครับผม

มีข้อท้วงติงอยู่นิดหนึ่งครับ....

ต้องระบุด้วยว่าจะต้องเป็นคนที่รู้จักที่ไม่ซ้ำกันเลยถึงจะได้เลขที่ยกกำลังแล้วถูกต้อง

หรือใครว่าอย่างไรครับ.....

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท