80 เรื่องของในหลวงที่เราไม่เคยรู้ (1)


มีหลายเรื่องเกี่ยวกับพระองค์ท่านที่เราไม่เคยรู้ พระองค์ทรงเป็นพระราชาแห่งราชาทั้งปวง..+

        ด้วยจิตสำนึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์อย่างล้นพ้นแก่พสกนิกรชาวไทย  จึงอยากถ่ายทดความรู้สึก หรือทุกสิ่งทุกอย่างเกี่ยวกับพระองค์ “ในหลวงของเรา” ให้กับทุกคนได้ทราบ ข้อมูลที่ได้มานี้ ได้มาจาก FW ขอบคุณคนที่รวบรวมสิ่งดีดีไว้ให้...

 

80 เรื่องของในหลวงที่เรา (อาจ) ไม่เคยรู้

เมื่อทรงพระเยาว์

 

1.    ทรงพระราชสมภพเวลา 08.45 น.

2.    นายแพทย์ผู้ทำคลอดชื่อ ดับลิว สจ๊วต วิตมอร์ มีน้ำหนักแรกประสูติ 6 ปอนด์

3.    พระนาม "ภูมิพล" ได้รับพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7

4.    พระยศเมื่อแรกประสูติ คือ พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้า ภูมิพลอดุลยเดช

5.    ทรงมีชื่อเล่นว่า เล็ก หรือ พระองค์เล็ก

6.    ทรงเคยเป็นศิษย์เก่าโรงเรียนมาแตร์เดอี เพราะช่วงพระชนมายุ 5 พรรษา ทรงเคยเข้าเรียนที่ โรงเรียนแห่งนี้ 1 ปี มีพระนามในใบลงทะเบียนว่า "H.H Bhummibol Mahidol" หมายเลขประจำตัว 449

7.    ทรงเรียกสมเด็จพระราชชนนีหรือสมเด็จย่า อย่างธรรมดาว่า "แม่"

8.    สมัยทรงพระเยาว์ทรงได้ค่าขนมอาทิตย์ละครั้ง

9.    แม้จะได้เงินค่าขนมทุกอาทิตย์ แต่ยังทรงรับจ้างเก็บผักผลไม้ไปขาย เมื่อได้เงินมาก็นำไปซื้อเมล็ดผัก มาปลูกเพิ่ม

10. สมัยพระเยาว์ทรงเลี้ยงสัตว์หลายชนิดทั้งสุนัข กระต่าย ไก่ นกขุนทอง ลิง แม้แต่งูก็เคยเลี้ยง ครั้งหนึ่งงูตายไปก็มีพิธีฝังศพอย่างใหญ่โต

11. สุนัขตัวแรกที่ทรงเลี้ยงสมัยพระเยาว์เป็นสุนัขไทย ทรงตั้งชื่อให้ว่า "บ๊อบบี้"

12. ทรงฉลองพระเนตร (แว่นสายตา) ตั้งแต่พระชันษายังไม่เต็ม 10 ขวบ เพราะครูประจำชั้นสังเกต เห็นว่าเวลาจะทรงจดอะไรจากกระดานดำจะต้องลุกขึ้นบ่อยๆ

13. สมัยพระเยาว์ทรงซนบ้าง หากสมเด็จย่าจะลงโทษจะเจรจากันก่อนว่า โทษนี้ควรตีกี่ที ในหลวงจะทรงต่อรอง 3 ที มากเกินไป 2 ทีพอแล้ว

14. ระหว่างประทับอยู่ สวิตเซอร์แลนด์ โดยระหว่างพี่น้องจะทรงใช้ภาษาฝรั่งเศส แต่จะใช้ภาษาไทยกับสมเด็จย่าเสมอ

15. ทรงได้รับการอบรมให้รู้จัก "การให้" โดยสมเด็จย่าจะทรงตั้งกระป๋องออมสินเรียกว่า "กระป๋องคนจน" หากทรงนำเงินไปทำกิจกรรมแล้วมีกำไร จะต้องถูก "เก็บภาษี" หยอดใส่กระปุกนี้ 10% ทุกสิ้นเดือน สมเด็จย่าจะเรียกประชุมเพื่อถามว่าจะเอาเงินในกระป๋องนี้ไปทำอะไร เช่น มอบให้โรงเรียนตาบอด มอบให้เด็กกำพร้าหรือทำกิจกรรมเพื่อยากจน

16. ครั้งหนึ่งในหลวงกราบทูลสมเด็จย่าว่าอยากได้รถจักรยาน เพราะเพื่อนคนอื่นๆ เขามีจักรยานกัน สมเด็จย่าก็ตอบว่า "ลูกอยากได้จักรยาน ลูกก็ต้องเก็บค่าขนมไว้สิ หยอดกระป๋องวันละเหรียญ ได้มากค่อยเอาไปซื้อจักรยาน"

17. กล้องถ่ายรูปกล้องแรกของในหลวง คือ Coconet Midget ทรงซื้อด้วยเงินสะสมส่วนพระองค์ เมื่อพระชนม์เพียง 8 พรรษา

18. ช่วงเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 ทรงปั่นจักรยานไปโรงเรียนแทนรถพระที่นั่ง

 

พระอัจฉริยภาพ

 

19. พระอัจฉริยภาพของในหลวง มีพื้นฐานมาจาก "การเล่น" สมัยพระเยาว์ เพราะหากอยากได้ของเล่นอะไร ต้องทรงเก็บสตางค์ซื้อเอง หรือประดิษฐ์เอง ทรงเคยหุ้นค่าขนมกับพระเชษฐาซื้อชิ้นส่วนวิทยุทีละชิ้นๆ แล้วเอามาประกอบเองเป็นวิทยุแล้วแบ่งกันฟัง

20. สมเด็จย่าทรงสอนให้ในหลวงรู้จักการใช้แผนที่และภูมิประเทศของไทย โดยโปรดเกล้าฯ ให้โรงเรียนเพาะช่างทำแผนที่ประเทศไทยเป็นรูปตัวต่อ เลื่อยเป็นชิ้นสี่เหลี่ยมเล็กๆ เพื่อให้ทรงเล่นเป็นจิ๊กซอว์

21. ทรงเครื่องดนตรีได้หลายชนิด เช่น เปียโน กีตาร์ แซกโซโฟน แต่รู้หรือไม่ เครื่องดนตรีชิ้นแรกที่ทรงหัดเล่นคือ หีบเพลง (แอกคอร์เดียน)

22. ทรงสนพระทัยดนตรีอย่างจริงจังราวพระชนม์ 14-15 พรรษา ทรงซื้อแซกโซโฟนมือสองราคา 300 ฟรังก์มาหัดเล่น โดยใช้เงินสะสมส่วนพระองค์ครึ่งหนึ่งและอีกครึ่งหนึ่งสมเด็จย่าออกให้

23. ครูสอนดนตรีให้ในหลวง ชื่อ เวย์เบรชท์ เป็นชาว อัลซาส

24. ทรงพระราชนิพนธ์เพลงครั้งแรก เมื่อพระชนม์พรรษา 18 พรรษา เพลงพระราชนิพนธ์แรกคือ "แสงเทียน" จนถึงปัจจุบันพระราชนิพนธ์เพลงไว้ทั้งหมด 48 เพลง

25. ทรงพระราชนิพนธ์เพลงได้ทุกแห่ง บางครั้งไม่จำเป็นต้องใช้เครื่องดนตรีช่วย อย่างครั้งหนึ่งทรงเกิดแรงบันดาลพระทัย ทรงฉวยซองจดหมายตีเส้น 5 เส้นแล้วเขียนโน้ตทำนองเพลงขึ้นเดี๋ยวนั้น กลายเป็นเพลง "เราสู้"

26. รู้ไหม...? ทรงมีพระอุปนิสัยสนใจการถ่ายภาพเหมือนใคร : เหมือนสมเด็จย่าและ รัชกาลที่5

27. - - - -

28. นอกจากทรงโปรดการถ่ายภาพแล้ว ยังสนพระทัยการถ่ายภาพยนตร์ด้วย ทรงเคยนำภาพยนตร์ส่วนพระองค์ออกฉายแล้วนำเงินรายได้มาสร้างอาคารสภากาชาดไทย ที่ รพ.จุฬาฯ โรงพยาบาลภูมิพล รวมทั้งใช้ในโครงการโรคโปลิโอและโรคเรื้อนด้วย

29. ทรงพระราชนิพนธ์เรื่อง "นายอินทร์" และ "ติโต" ทรงเขียนด้วยลายพระหัตถ์ แล้วให้เสมียนพิมพ์แต่พระมหาชนกทรงพิมพ์ลงในเครื่องคอมพิวเตอร์

30. ทรงเล่นกีฬาได้หลายชนิด แต่กีฬาที่ทรงโปรดเป็นพิเศษได้แก่ แบดมินตัน สกีและเรือใบ ทรงเคยได้เหรียญทองจากการแข่งขันเรือใบประเภทโอเค ในกีฬาแหลมทอง (ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น"กีฬา ซีเกมส์") ครั้งที่ 4 ปี พ.ศ.2510

31. ครั้งหนึ่งทรงเรือใบออกจากฝั่งไปได้ไม่นานก็ทรงแล่นกลับฝั่งตรัสกับผู้ที่คอยมาเฝ้าฯว่า เสด็จฯกลับเข้าฝั่งเพราะเรือแล่นไปโดนทุ่นเข้า ซึ่งในกติกาการแข่งเรือใบถือว่าฟาวส์ ทั้งๆ ที่ไม่มีใครเห็น แสดงให้เห็นว่าทรงยึดกติกามากแค่ไหน

32. ทรงเป็นพระมหากษัตริย์พระองค์แรกของโลกที่ได้รับสิทธิบัตรผลงานประดิษฐ์คิดค้นเครื่องกลเติมอากาศที่ผิวน้ำหมุนช้าแบบทุ่มลอย หรือ "กังหันชัยพัฒนา" เมื่อปี 2536

33. ทรงเป็นผู้ริเริ่มการพัฒนาเชื้อเพลิงน้ำมันจากวัสดุการเกษตรเพื่อใช้เป็นพลังงานทดแทน เช่น แก๊ส โซฮอล์, ดีโซฮอลล์ และน้ำมันปาล์มบริสุทธิ์ต่อเนื่องเป็นเวลากว่า 20 ปีแล้ว

34. องค์การสหประชาชาติ ได้ถวายรางวัลความสำเร็จสูงสุดด้านการพัฒนามนุษย์ แด่ในหลวงเมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม 2549 เพื่อสดุดีพระเกียรติคุณพระราชกรณียกิจด้านการพัฒนาชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนชาวไทย โดยมีนายโคฟี อันนัน เลขาธิการสหประชาชาติเดินทางมาถวายรางวัลด้วยตนเอง

 

เรื่องส่วนพระองค์

 

35. พระนามเต็มของในหลวง : พระบาทสมเด็จพระปรมินทรามหาภูมิพลอดุลยเดช มหิตลาธิเบศรรามา ธิบดี จักรีนฤบดินทร สยามินทราธิราช บรมนาถบพิตร

36. รักแรกพบของในหลวงและหม่อมสิริกิติ์เกิดขึ้นที่สวิสเซอร์แลนด์ แต่เหตุการณ์ครั้งนั้น สมเด็จพระบรมราชินีนาถฯทรงให้สัมภาษณ์ว่า "น่าจะเป็นเกลียดแรกพบมากกว่ารักแรกพบ"  เนื่องเพราะรับสั่งว่าจะเสด็จถึงเวลาบ่าย 4 โมง แต่จริงๆ แล้วเสด็จมาถึงหนึ่งทุ่ม ช้ากว่าเวลานัดหมายตั้งสามชั่วโมง

37. ทรงหมั้นกับ ม.ร.ว.สิริกิติ์ กิติยากร เมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม 2492 และจัดพระราชพิธีราชาภิเษกสมรสที่วังสระปทุม เมื่อวันที่ 28 เมษายน 2493 โดยทรงจดทะเบียนสมรสเหมือนคนทั่วไป ข้อความในสมุดทะเบียนก็เหมือนคนทั่วไปทุกอย่าง ปิดอากรแสตมป์ 10 สตางค์ เสียค่าธรรมเนียม 10 บาท

38. หลังอภิเษกสมรสทรง"ฮันนีมูน" ที่หัวหิน

39. ทรงผนวช ณ พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดารามในพระบรมมหาราชวัง เมืองวันที่ 22 ตุลาคม 2499  และประทับจำพรรษา ณ วัดบวรนิเวศวิหาร เป็นเวลา 15 วัน

40. ระหว่างทรงผนวชพระอุปัชฌาย์และพระพี่เลี้ยง คือ สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช

41. ของใช้ส่วนพระองค์นั้นไม่จำเป็นต้องแพงต้องแบรนด์เนม ดังนั้น การถวายของให้ในหลวงจึงไม่จำเป็นจะต้องเป็นของแพงอะไรที่มาจากน้ำใจจะทรงใช้ทั้งนั้น

42. เครื่องประดับ : ในหลวงไม่ทรงโปรดสวมเครื่องประดับ เช่น แหวน สร้อยคอ ของมีค่าต่างๆ ยกเว้น นาฬิกา

43. พระเกศาที่ทรงตัดแล้ว : ส่วนหนึ่งเก็บไว้ที่ธงชัยเฉลิมพลเพื่อมอบแก่ทหาร อีกส่วนหนึ่งเก็บไว้สร้างวัตถุมงคล เพื่อมอบแก่ราษฎรที่ทำคุณงามความดีแก่ประเทศชาติ

44. หลอดยาสีพระทน ทรงใช้จนแบนราบเรียบคล้ายแผ่นกระดาษ โดยเฉพาะบริเวณคอหลอด ยังปรากฏ รอยบุ๋มลึกลงไปจนถึงเกลียวคอหลอด ซึ่งเป็นผลจากการใช้ด้ามแปรงสีพระทนช่วยรีด และกดเป็นรอยบุ๋ม

45. วันที่ในหลวงเสียใจที่สุด คือวันที่สมเด็จย่าเสด็จสวรรณคต มีหนังสือเล่าไว้ว่า วันนั้นในหลวงไปเฝ้าแม่ถึงตีสี่ตีห้า พอแม่หลับจึงเสด็จฯ กลับถึงวัง ทางโรงพยาบาลก็โทรศัพท์มาแจ้งว่า "สมเด็จย่าสิ้นพระชนม์แล้ว" ในหลวงรีบกลับไปที่โรงพยาบาล เห็นแม่นอนหลับตาอยู่บนเตียง ในหลวงคุกเข่าเข้าไปกราบที่อกแม่ ซบหน้านิ่งอยู่นาน ค่อยๆเงยพระพักตร์ขึ้นมาน้ำพระเนตรไหลนอง

   โปรดอ่านต่อ (ตอนที่ 2) นะคะ

 

หมายเลขบันทึก: 181771เขียนเมื่อ 11 พฤษภาคม 2008 17:50 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 19:02 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

อ่านตอน2   แล้ว ต้องค้นหาตอนที่ 1อ่าน

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท