เสียงสะท้อนเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง


ความแตกต่างระหว่างประเทศร่ำรวยกับประเทศยากจน
ที่มา : มีคนส่งให้ผ่านอีเมล์ครับ

เสียงสะท้อนเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง

 

ความแตกต่างระหว่างประเทศด้อยพัฒนา กับประเทศที่พัฒนาสูงสุดแล้ว

ไม่ได้อยู่ที่ความเก่าแก่ของอารยธรรมของประเทศนั้น ๆ

 

สามารถดูได้จากประเทศอย่างอินเดีย  อียิปต์

ซึ่งมีอารยธรรมมานานกว่า 2000 ปี  แต่ก็ยังยากจน

 

ในขณะเดียวกัน  แคนาดา  ออกเตรเลีย  นิวซีแลนด์

ที่เคยเป็นประเทศเล็ก ๆ  ไม่มีศากยภาพเมื่อ 150 ปีที่แล้ว

แต่วันนี้กลับพัฒนาจนกลายเป็นประเทศพัฒนาร่ำรวยได้

 

และความแตกต่างระหว่างประเทศเจริญแล้วที่ร่ำรวย 

กับประเทศด้วยพัฒนาที่ยากจน

ก็ดูเหมือนไม่ได้อยู่ที่ ทรัพยากรของประเทศอีกนั่นล่ะ

 

ญี่ปุ่นเป็นประเทศที่มีพื้นที่ทำกินน้อยมาก

80%  ของพื้นที่เป็นภูเขา  ไม่เหมาะในการทำเกษตรกรรม

แต่ญี่ปุ่นกลับเป็นประเทศที่ส่งออกสินค้าการเกษตรที่สำคัญของโลก

และยังเป็นเหมือนโรงงานกลางที่รับเอาวัตถุดิบจากที่ต่าง ๆ

ของโลกมาผันเป็นสินค้าส่งออกกลับไปทั่วโลก

 

อีกตัวอย่างหนึ่งคือสวิสเซอร์แลนด์  ที่ไม่มีการทำไร่โกโก้เลย

แต่กลับเป็นประเทศที่ขึ้นชื่อด้านการทำช็อคโกแล็ตของโลก

ทั้ง ๆ ที่พื้นที่ ๆ ทำการเกษตรมีอยู่เล็กมาก ๆ และ

อากาศหนาวจัดจนทำเกษตรได้เพียง 4 เดือนใน 1 ปี

และสวิสเซอร์แลนด์ยังนำเอาความมีระบบระเบียบของคน

และบ้านเมืองมาใช้ประโยชน์  จนได้รับการยอมรับให้เป็น

ธนาคารโลก

 

นักบริหารจากประเทศที่เจริญแล้วยืนยันกับคู่ค้าของเขา

ในประเทศที่ด้วยพัฒนาว่า   ไม่เห็นมีความแตกต่างด้าน

สติปัญญาของแรงงานเลย

สีผิวและเผ่าพันธุ์ก็ไม่ใช่เหตุผลอีกนั่นแหละ   เพราะเมื่อ

แรงงานที่เคยขี้เกียจในประเทศของตนย้ายไปอยู่และหา

กินในประเทศที่เจริญแล้ว  กลับกลายเป็นแรงงานที่ขยันด้วยซ้ำไป

 

แล้วอะไรที่ทำให้แตกต่าง

 

สิ่งที่แตกต่างคือ ทัศนคติ  ที่ฝังรากลึกมานานปี

ผ่านระบบการศึกษาและการอบรมปลูกฝัง

 

จากการวิเคราะห์พฤติกรรมของคนในประเทศพัฒนาแล้ว 

พบว่า   คนส่วนใหญ่ดำเนินชีวิตอยู่บนหลักปรัชญาเหล่านี้

 

1. ใช้จริยธรรมนำทางชีวิต (Ethics as the basic principle)

2. ความซื่อสัตย  (Integrity)

3. ความรับผิดชอบในบทบาท หน้าที่ (Responsibility)

4. การเคารพต่อกฏระเบียบ (Respect to the law and rules)

5. การเคารพต่อสิทธิของผู้อื่น (Respect to the rights of other citizens)

6. ความรักในงาน (Work Loving)

7. ความสนใจในการอดออมและลงทุน (Strive for saving and investment)

8. แรงผลักดันสูง สู่ความเป็นที่หนึ่ง ( Will of super action)

9. การตรงต่อเวลา (Punctuality)

 

ในประเทศด้อยพัฒนา มีคนเพียงจำนวนน้อยที่ใช้หลัก

ปรัชญาเหล่านี้ในการดำเนินชีวิต

 

ประเทศเรายังไม่เป็นประเทศพัฒนา ไม่ใช่เพราะเราขาด

ทรัพยากร หรือมีภัยธรรมชาติเป็นปัญหา

แต่เรายังไม่พัฒนาไปได้ดีกว่านี้ เพราะเราขาดทัศนคติ

และแรงผลักดันที่สอดคล้องไปตามหลักปรัชญาการ

ดำเนินชีวิตที่กล่าวมาแล้ว

 

ถ้าคุณไม่ส่งต่อเมลล์นี้

คุณจะไม่ถูกสาปแช่งใดๆ

คุณจะไม่ล้มป่วย

คุณจะไม่ทะเลาะกับแฟน

คุณจะไม่ถูกไล่ออกจากงาน

 

แต่ถ้าคุณรักประเทศไทย และอยากเห็นประเทศของเรา

เปลี่ยนเป็นประเทศพัฒนาเต็มขั้น

เริ่มที่ตัวคุณเอง พัฒนาสังคมใกล้ตัวคุณ ในบ้าน ที่ทำงาน

และอย่าลืมช่วยกันส่งข้อความนี้ต่อให้คนรอบข้างคุณให้มากที่สุด

หวังว่าจะได้เป็นส่วนช่วยผลักดันให้คนไทยลุกขึ้นคิด วิเคราะห์

พฤติกรรมการใชช้ชีวิตของเราเพื่อนำาประเทศไทยไปสู่

การแก้ไข ปรับเปลี่ยน และพัฒนาเต็มขั้น

หมายเลขบันทึก: 181750เขียนเมื่อ 11 พฤษภาคม 2008 16:13 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 มิถุนายน 2012 22:26 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
  • สวัสดีดีค่ะ
  • คิดว่ามันแต่ละประเทศมีความแตกต่างกันเยอะค่ะ
  • อย่างน้อยสิ่งที่เป็นปัจจัยหลักเลยคือ..คุณภาพของประชากรในประเทศ
  • จะเป็นประเทศใหญ่หรือเล็ก ทรัพยากรมากหรือน้อย แต่ถ้าประชากรมีคุณภาพ ก็สามารถพัฒนาประเทศไปไกลค่ะ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท