หมอเจ๊ คนสวย แซ่เฮ
พ.ญ. ศิริรัตน์ เอกศิลป์ สุวันทโรจน์

มาบอกเพิ่มเรื่องที่ขอความช่วยเหลือไว้.......พร้อมกับคำขอบคุณค่ะ.....สนใจโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพคิดอย่างไรเชิญที่นี่ค่ะ


เรื่องอาหารไม่ใช่เรื่องหมูๆ...เลยค่ะ

เมื่อมีโจทย์ถามว่า จะเอาอะไรตัดสินผักว่าสด หรือไม่สด  โดยใช้ฐานความรู้ แทนการอิงความรู้สึก การตัดสินว่าสด หรือไม่สดในที่นี้ เป็นการตัดสินก่อนนำมาปรุง  สามารถบอกเกณฑ์ได้โดยคนฟังไม่ขัดความรู้สึกว่า เป็นไม้หลักปักเลนว่าไปตามอารมณ์งั้นๆเอง  เลยต้องมาค้นหาว่า มีเกณฑ์อะไรที่จะใช้อ้างอิงได้  จึงได้ขอความช่วยเหลือมายังกลุ่มชาวเฮ  เผื่อว่าจะมีองค์ความรู้ในตัวคนที่ให้คำแนะนำได้  

 

จะเล่ากระบวนการภายในให้รับทราบก่อนว่า ร.พ.ทำยังไงอยู่     การได้ผักดิบมาปรุงอาหาร ร.พ.ให้นโยบายหาผักปลอดสารพิษมาปรุง   ดำเนินการเริ่มแรกให้แม่ครัวไปซื้อ แล้วพัฒนาต่อมาขอปรึกษาเกษตรจังหวัดข้อมูลแหล่งปลูกและประสานแหล่งปลูก   เกษตรจังหวัดก็ใจดี ช่วยส่งสารให้เกษตรกรรับรู้    แต่ผลผลิตมีส่งบ้าง   ส่วนใหญ่นำไปขายที่ตลาดสดมากกว่า   ต่อมาร.พ.จึงใช้วิธีหาผู้ประมูลการจัดหาให้   โดยให้หลักการว่าขอให้จัดส่งอาหารปลอดสารพิษมาให้ตามที่ต้องการ  แล้วร.พ.ก็เพิ่มกระบวนงานภายในเพื่อป้องกันการสอดไส้จากการประมูล คือ ครัวร.พ. ตรวจสารพิษในผักทุกชนิดก่อนปรุง เพื่อกันเอาผักปนเปื้อนสารพิษทิ้งไปก่อนปรุง  หากมีพบมาก็ยกเลิกการประมูล เพราะผิดเงื่อนไข   ตั้งแต่นั้นมาปัญหาผักปนเปื้อนสารพิษไม่เคยพบมีสอดไส้   ถูกหลักอนามัยตามหลักเกณฑ์อาหารปลอดภัยทุกวัน  

 

เรื่องราวต่อมาเป็นเรื่องของอาหารสัตว์ที่อาจมีสารปนเปื้อน  เป็นไปได้ที่จะเผลอปนเข้ามาให้ก่อนปรุง  ก็เช่นเดียวกันมีกระบวนการเพิ่มให้ ตรวจสารพิษก่อนปรุง   แล้วมีวันหนึ่งเกิดพบเจอสารพิษเปื้อนปนมา ก็เป็นเรื่องใหญ่ที่ต้องเพิ่มกระบวนงานอีก  เนื่องจากพบว่า  อาจจะคลาดเคลื่อนทางเทคนิค   สิ่งที่แก้ไข คือ ประเมินเทคนิคการตรวจ (QC การตรวจ)   การประเมินนี้ใช้หลักเดียวกับQC ห้องทดลอง ในเรื่องการแปลผล   จุดเน้นสำคัญหนึ่งก่อนที่จะบอกว่าผลลัพธ์เชื่อถือได้กระบวนการตรวจเชื่อถือได้ ต้องมีการควบคุมคุณภาพสิ่งส่งตรวจ   ร.พ.จึงนำจุดนี้มาใช้  ใช้แล้วพบว่า ถ้ามีการตรวจคุณภาพอาหาร ในมุมตรวจสารพิษ สิ่งส่งตรวจที่ไม่เหมาะจะให้ผลบวกลวงได้ อาหารที่ตรวจก็คือสิ่งส่งตรวจในประเด็นนี้   

 

ประสบการณ์ที่เคยมี  คือ การตรวจฟอร์มาลินที่ปนเปื้อนในเนื้อปลา  หากเลือกเนื้อปลาที่มีสีแดงมาตรวจละก็จะพบผลบวกแน่นอนหนา  เมื่อเลือกส่วนอื่นของปลาตัวเดียวกันมาตรวจ ผลที่ตรวจกลับไม่พบการปนเปื้อน  อย่างนี้แปลว่า  ผลบวกที่พบมันลวง แล้วถ้าร.พ.เอาผลนี้ไปยกเลิกประมูล   ก็เห็นทีจะเจ็บนาน  ด้วยมันก่อความรู้สึกด้าบลบจากการถูกกล่าวหาของประชาชนที่มาประมูล    โชคดีที่มีการทำ QC ยืนยันซ้ำ ร.พ.เลยไม่ช้ำจากการถูกประณาม ผู้ประมูลก็ไม่ช้ำจากคนซ้ำเติม   คนทำงานก็แจ้งใจว่า ตนมีส่วนต่อชื่อเสียงร.พ.และคุณภาพงานของตนมีผลต่อความเชื่อถือของคนกินที่ไปมอบอาหารไว้

 

คราวนี้มาถึงเรื่องของผักอีกที   หมดเรื่องสารพิษ ก็เป็นเรื่องความสดใหม่  ที่หมอเบิร์ดให้ข้อมูลผักนำเข้าจากจังหวัดใกล้คียงนั้นรู้อยู่  แต่คราวนี้ที่ต้องรู้ ถ้าจะตรวจความสดใหม่  เหตุผลอะไรที่ใช้ตัดสินจึงยุติธรรม  ประชาชนที่เกี่ยวข้องที่ได้ช่วยจัดหามาจะไม่ถูกทำให้ติดลบทั้งๆที่ไม่มีเจตนา   ร.พ.นั้นให้บริการสาธารณะ  ไม่ควรชอกช้ำกับเจตนาดีที่ทำให้คน    คนทำงานนั้นก็ตั้งใจทำงานจึงไม่ควรมีมุมลบจากความระแวง   ประชาชนจะได้ช่วยอำนวยความสะดวกร.พ.และตั้งใจมอบสิ่งดีๆให้ร.พ.ต่อไป   

 

มุมมองของการตรวจสารพิษในปลากระตุกให้ได้คิดว่า  ก่อนจัดการอะไรต้องมีเหตุมีผล  ณ เวลานี้มีผลมาบอกกล่าวเป็นข่าวเบื้องต้น  คือ มีผู้บอกว่า ผักไม่สดใหม่   มีคนกินที่ไม่ได้บอกแต่เก็บไว้ในใจ   และมีคนกินที่กล้าบอก เพราะรู้ว่าเจตนาทำดี  จึงอยากให้ได้ดีอย่างที่ตั้งใจ  ทุกคนที่มาบอกล้วนมีความห่วงใยในการทำดีให้ได้ดี    จึงควรมีวิธีที่ทำให้ทุกส่วนเข้าใจกัน  การใช้ความรู้สึกแก้ไขความเข้าใจในบางเรื่องไม่ได้   บางเรื่องก็ต้องใช้ความรู้เข้ามาจัดการ ตัวอย่างเห็นๆจากที่เล่าเรื่องการตรวจปลา  

 

แหละนี่คือที่มาของเรื่องที่เข้ามาถามหาความรู้  มาขอคำแนะนำจากผู้รู้ทั้งหลายค่ะ   คุณสะมะนึกบอกว่า ให้บอกมาเป็นชนิดผักน่าจะช่วยง่าย พอไปลองหาข้อมูลชนิดผักเพื่อให้ง่ายกับคนแนะนำ    ก็ได้เรียนรู้อีกว่า  จริงๆ   เออ! จริงด้วยนา ผักมีมากมาย  แนะนำยากจริงๆ    ฉันลองแวะไปหาในเน็ต  เผื่อจะช่วยได้ด้วย   แล้วก็พบว่าไม่ใคร่มีเรื่องแนะนำเทคนิคการเลือกผักสดใหม่ไว้เลยค่ะ   ที่พบว่ามีก็จะพบอยู่ที่นี่ค่ะ

http://www.tistr-foodprocess.net/vegetable_fresh.html

http://www.hunsa.com/2005/view.php?cid=32485&catid=87

 

นอกนั้นจะเป็นวิธีเก็บผักหลังซื้อมาแล้วจากแหล่งขาย   เห็นว่ามีประโยชน์ เลยเอามาเผยแพร่ สนใจเข้าไปอ่านได้ที่นี่นะค่ะ

http://www.212cafe.com/freewebboard/view.php?user=knitthis&id=278

http://pakkob2006.is.in.th/?md=news&ma=show&id=2http://www.link-pu.com/thai/html/modules/news/article.php?storyid=10http://www.pantown.com/board.php?id=11579&area=1&name=board3&topic=219&action=view

http://www.janjaras.com/html/ace_pack_th.htm

 

ฉันได้ลองจัดผักเป็นกลุ่มไว้เผื่อใครถนัดอะไร  จะได้ช่วยผ่องถ่ายความรู้เพิ่มมาให้ฉันได้บ้าง    ผักที่ร.พ.ใช้ส่วนใหญ่พอจัดกลุ่มได้ดังนี้ค่ะ

1.    ผักประเภทหัวที่ใช้บ่อย    เช่น หัวมันเทศ   หัวแครอท   หัวไชเท้า   หัวเผือก (มีทั้งมาทั้งหัวและปอกหั่นมาแล้ว)   หอมใหญ่

2.    ผักประเภทผล   เช่น  ฟัก แตงกวา มะเขือเทศ   มะละกอ (ปอกหั่นมาแล้ว)   ฟักทอง   

3.    ผักประเภทใบ  เช่น ผักกาดขาว(มาทั้งต้น)   ตำลึง (เด็ดใบมาแล้ว)  คะน้า   

4.    พืชที่ใช้ปรุงรส   เช่น   มะนาว   ตะไคร้   มะกรูด   พริก   กระเทียม  หอม 

 

ช่วยฉันหน่อยนะค่ะ เพราะโจทย์คราวนี้อยู่ที่ให้ตรวจอาหารสด-ผักสดก่อนปรุงเพื่อแก้ข่าวลือค่ะ

เรื่องนี้ทำยากเหมือนน้องจอมเล่าเรื่องการหาหอยก้างปลา หรือ หอยหวี ตัวนี้มาเก็บสะสมเลยค่ะ

หอยก้างปลา

หมายเลขบันทึก: 181443เขียนเมื่อ 9 พฤษภาคม 2008 17:31 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 19:02 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

สวัสดีครับ

มาอ่านข้อมูลเพิ่มเติมครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท