ความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด
ยาเสพติดให้โทษ หมายความว่า สารเคมี หรือวัตถุชนิดใด ซึ่งเมื่อเสพเข้าสู่ร่างกายไม่ว่าจะโดยรับประทาน ดม สูบ ฉีด หรือด้วยประการใดๆ แล้ว ทำให้เกิดผลต่อร่างกายและจิตใจในลักษณะสำคัญ เช่น ต้องเพิ่มขนาดการเสพขึ้นเป็นลำดับ มีอาการถอนยาเมื่อขาดยา มีความต้องการเสพตั้งร่างกายและจิตใจอย่างรุนแรงอยู่ตลอดเวลา และสุขภาพโดยทั่วไปจะทรุดโทรมลง
เสพ หมายความว่า การรับยาเสพติดให้โทษเข้าสู่ร่างกาย ไม่ว่าด้วยวิธีใดๆ
ยาเสพติดให้โทษ แบ่งออกเป็น 5 ประเภท คือ
1. ประเภท 1 ยาเสพติดให้โทษชนิดร้ายแรง เช่น เฮโรอีน
2. ประเภท 2 ยาเสพติดให้โทษทั้งไป เช่น มอร์ฟีน โคคาอีน ฝิ่นยา
3. ประเภท 3 ยาเสพติดให้โทษที่มีลักษณะเป็นตำรับยาและมียาเสพติดให้โทษในประเภท 2 ผสมอยู่ด้วย
4. ประเภท 4 สารเคมีที่ใช่ในการผลิตยาเสพติดให้โทษประเภท 1 หรือประเภท 2 เช่นอาเซติกแอนด์
5. ประเภท 5 ยาเสพติดให้โทษที่มิได้เข้าอยู่ในประเภท 1 ถึง ประเภท 4 เช่นกัญชา พืชกระท่อม
ความผิดฐานยาเสพติด
เสพติดกัญชา
ตาม พ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 92 บัญญัติว่า “ผู้ใดเสพยาเสพติดให้โทษประเภท 5 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ”
ดังนั้นผู้ใดเสพกัญชา ไม่ว่าด้วยวิธีการใดๆ เช่น เอากัญชาผสมบุหรี่แล้วสูบ หรือเสพกัญชาโดยใช้บ้องกัญชา ถือว่าผู้นั้นมีความผิดฐานเสพยาเสพติดให้โทษประเภท 5 ซึ่งมีโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 20,000 บาท
เสพยาบ้าหรือเฮโรอีน
ตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 91 บัญญัติว่า “ผู้ใดเสพยาเสพติดให้โทษประเภท 1 ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 6 เดือน ถึง 3 ปี หรือปรับตั้งแต่ 10,000 บาท ถึง 60,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ”
ดังนั้นผู้ใดเสพยาติดให้โทษประเภท 1 เช่น ยาบ้า เฮโรอีน ไม่ว่าโดยวิธีการสูดดมจากการรมควัน หรือฉีดเฮโรอีนเข้าเส้นเลือด หรือสูดดมเข้าทางจมูก ถือว่าผู้นั้นมีความผิดฐานเสพยาเสพติดให้โทษประเภท 1 ซึ่งมีโทษจำคุกหนักกว่าเสพกัญชา
เสพสารระเหย
สารระเหย หมายความว่า สารเคมีหรือผลิตภัณฑ์ที่รัฐมนตรีประกาศว่าเป็นสารระเหย เช่น กาวต่างๆ
ผู้เสพสารระเหย หมายความว่า ผู้ซึ่งต้องใช้สารระเหยบำบัดความต้องการของร่างกายและจิตใจเป็นประจำ
คามผิดฐานเสพสารระเหยนั้น ตาม พ.ร.ก. ป้องกันการใช้สารระเหย พ.ศ. 2533 มาตรา 17 บัญญัติว่า “ห้ามมิให้ผู้ใดสารระเหยบำบัดความจ้องการของร่างกายหรือจิตใจ ไม่ว่าโดยวิธีสูดดม หรือวิธีอื่นใดหากผู้ใดฝ่าฝืนมีโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ”
ความผิดฐานครอบครองยาเสพติดให้โทษ
ความผิดฐานครอบครองยาบ้าหรือเฮโรอีน ตาม พ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 15 บัญญัติว่า “ห้ามมิให้ผู้ใดผลิต นำเข้า ส่งออก จำหน่าย หรือมีไว้ในครอบครองซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 โดยไม่ได้รับอนุญาต ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 1 ปี ถึง 10 หรือปรับตั้งแต่ 20,000 บาท ถึง 200,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ หากผู้ใดครอบครองยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 ประเภทยาบ้าเกิน 15 เม็ด กฎหมายสันนิษฐานไว้ก่อนว่าผู้นั้นได้ครอบครองยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 ไว้เพื่อจำหน่าย ซึ่งมีอัตราโทษจำคุกตั้งแต่ 4 ปี ถึงตลอดชีวิต”
ความผิดเกี่ยวกับ พ.ร.บ. จราจรทางบก และ พ.ร.บ. รถยนต์
ผู้ขับขี่รถยนต์หรือรถจักรยานยนต์ จะต้องได้รับอนุญาตจากเจ้าหน้าที่นายทะเบียนเสียก่อน โดยกล่าวคือ ต้องมีใบขับอนุญาตขับรถหรือใบอนุญาตขับขี่รถยานยนต์ ซึ่งออกให้โดยนายทะเบียน มิฉะนั้นจะมีความผิดตามพระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ. 2522 มาตรา 42 ซึ่งบัญญัติว่า “ผู้ขับรถต้องได้รับใบอนุญาตขับรถและต้องมีใบอนุญาตขับรถ และสำเนาภาพถ่ายใบคู่มือจดทะเบียนรถในขณะขับรถ” และมาตรา 34 บัญญัติว่า “ผู้ใดขับรถโดยไม่ได้รับอนุญาตขับรถ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 เดือน หรือปรับไม่เกิน 1,000 บาทหรือทั้งจำทั้งปรับ
นอกจากนี้ขณะขับรถหรือขับขี่รถจักรยานยนต์ สภาพร่างกายของขับขี่จะต้องปกติ สมบูรณ์ไม่มีอาการหย่อนความสามารถในการขับขี่ หรือมีอาการเมาสุรา หรือของเมาอย่างอื่น มิฉะนั้นผู้ขับขี่จะต้องมีความผิดตาม พ.ร.บ. จราจรทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 160 วรรคสาม ซึ่งมีโทษจำคุกไม่เกิน 3 เดือน หรือปรับตั้งแต่ 2,000 บาท ถึง 10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
นอกจากนี้การขับขี่หรือแข่งรถในทางสาธารณะก็ถือว่ามีความผิด หากไม่ได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจากเจ้าพนักงานจราจร ซึ่งมีโทษจำคุกไม่เกิน 3 เดือน หรือปรับตั้งแต่ 2,000 บาท ถึง 10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ นอกจากนี้ศาลมีอำนาจที่จะสั่งพักใช้ใบอนุญาตขับขี่ของผู้นั้น มีกำหนดไม่น้อยกว่า 1 เดือน หรืออาจจะเพิกถอนใบอนุญาตขับขี่ก็ได้
สำหรับกลุ่มบุคคลที่ไปยืนดูการแข่งรถในทางสาธารณะและผู้ที่ซ้อนท้ายผู้ขับแข่งก็ถือว่ามีความผิดในฐานะผู้สนับสนุนหรือส่งเสริมให้มีการแข่งขันรถในทางสาธารณะ ซึ่งได้ต้องโทษเช่นเดียวกับผู้ขับขี่หรือผู้แข่งรถในทางสาธารณะ
ความผิดเกี่ยวกับ พ.ร.บ. อาวุธปืน
อาวุธปืน หมายความว่า ตลอดถึงอาวุธทุกชนิด ที่ใช้ส่งเครื่องกระสุนปืน โดยวิธีระเบิด หรือกำลังดันของแก๊ส หรืออัดลม หรือเครื่องกลไกอย่างใด ซึ่งต้องอาศัยอำนาจของพลังงานและส่วนหนึ่งส่วนใดของอาวุธนั้นๆ
ความผิดฐานมีอาวุธปืนในความครอบครอง ตาม พ.ร.บ. อาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิดดอกไม้เพลิงฯ พ.ศ. 2490 มาตรา 7 บัญญัติว่า “ห้ามมิให้ผู้ใดทำ มี ซื้อ ใช้ สั่งหรือนำเข้าซึ่งอาวุธปืน หรือเครื่องกระสุนปืน เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากนายทะเบียนท้องที”
เช่น ปืนปากกา ซึ่งถือว่าเป็นอาวุธปืนชนิดหนึ่ง และเป็นอาวุธที่นายทะเบียนไม่สามารถออกทะเบียนให้ได้ ผู้ใดมีไว้ในความครอบครองถือว่ามีความผิด
ความผิดฐานพกพาอาวุธปืน ตาม พ.ร.บ. อาวุธปืนฯ มาตรา 8 ทวิ บัญญัติว่า “ห้ามมิให้ผู้ใดพกพาอาวุธปืนติดตัวไปในเมือง หมู่บ้าน หรือทางสาธารณะโดยไม่ได้รับอนุญาตให้มีอาวุธปืนติดตัว เว้นแต่เป็นกรณีที่ต้องมีติดตัวเมื่อมีเหตุจำเป็นและเร่งด่วนตามสมควรแก่พฤติการณ์
ความผิดฐานพกพาอาวุธปืน นั้น เป็นกรณีที่ผู้กระทำความผิดพกพาอาวุธปืนติดตัวไป เช่น พกปืนปากกาติดตัวไปในทางสาธารณะ หรือเข้าห้างสรรพสินค้า หรือพกไปยังโรงเรียน หรือแม้กระทั่งอาวุธปืนที่มีทะเบียนและถูกกฎหมาย เช่น เป็นอาวุธปืนของบิดาหรือผู้ปกครอง หากไม่ได้รับอนุญาตจากนายทะเบียนท้องที่ให้มีอาวุธปืนติดตัวแล้ว ผู้นั้นก็มีความผิดฐานพกพาอาวุธปืนฯ ซึ่งมีโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกิน 10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ความผิดข้อหาพกพาอาวุธปืนนั้น หากพกพาโดยเปิดเผย เช่น ถืออาวุธปืนหรือเหน็บ
ที่เอวกางเกงซึ่งผู้อื่นสามารถเห็นได้ หรือพกพาไปในชุมชนที่จัดให้มีขึ้น เพื่องานนมัสการ งานรื่นเริง หรืองานมหรสพ ผู้ที่พกพาดังกล่าว จะต้องรับโทษหนักขึ้น คือ จำคุกตั้งแต่ 6 เดือน ถึง 5 ปี และปรับตั้งแต่ 1,000 บาท ถึง 10,000 บาท
และแม้ผู้ได้รับอนุญาตจากนายทะเบียนท้องที่ให้มีอาวุธปืนติดตัว แต่ปรากฎว่าผู้นั้นพกพาอาวุธปืนโดยเปิดเผย หรือพกพาไปในชุมชน ซึ่งจัดให้มีขึ้นเพื่องานมัสการ งานรื่นเริง หรืองานมหรสพ
ผู้นั้นก็ยังมีความผิด ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 2,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ปืนผิดมือ
ถึงแม้จะเป็นปืนที่นายทะเบียนอนุญาตให้มีไว้มรความครอบครอง เมื่อผู้อื่นนำอาวุธปืนดังกล่าวไปพกพา หรือมีไว้ในความครอบครอง ก็มีความผิดเช่นเดียวกันตามที่กล่าวมาข้างต้น ซึ่งเรียกว่า การครอบครองปืนผิดมือ
ไม่มีความเห็น