สิทธิเด็ก เป็นสิทธิสากล (Universal Rights) และเป็นสิทธิเด็ดขาด (Absolute Rights) ที่ต้องได้รับการรับรองและคุ้มครอง อนุสัญญาฯ ฉบับนี้ไม่ได้ใช้เพื่อการเรียกร้องสิทธิเด็ก แต่ใช้เพื่อการพัฒนาเด็กทั้งร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคม สติปัญญา ให้เจริญเติบโตรอบด้านเต็มศักยภาพ และไม่เลือกปฏิบัติด้วยการผนึกกำลังร่วมกันในทุกสถานบันทั่งโลก
ไม่เลือกปฏิบัติ ทุกเชื้อชาติ ศาสนา สถานะทางสังคม วรรณะ เพศ ผิว
อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก เป็นผลมาจากการทำงานของคณะกรรมาธิการด้านสิทธิมนุษยชนขององค์การสหประชาชาติ และได้ประกาศใช้ครั้งแรกในปีพุทธศักราช 2533 และประเทศไทยได้ลงนามเมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ พุทธศักราช 2535 ซึ่งมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 26 เมษายน พุทธศักราช 2535
อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิ มีทั้งสิ้น 54 ข้อ โดย 40 ข้อแรก เป็นสาระสำคัญด้านสิทธิขั้นพื้นฐานของเด็ก 4 ประการ 14 ข้อหลัง เป็นส่วนที่เกี่ยวกับกระบวนการพันธกรณีที่ระบุไว้
เด็กในความมุ่งหมายของอนุสัญญานี้ หมายถึง มนุษย์ทุกคนที่มีอายุต่ำกว่า 18 ปี ยกเว้นผู้ที่แต่งานถูกต้องตามกฎหมายของประเทศ
สิทธิขั้นพื้นฐานของเด็ก 4 ประการ
1. สิทธิในการอยู่รอด (Right of Survival)
- สิทธิในการมีชีวิตรอดและส่งเสริมชีวิต
- ได้รับโภชการที่ดี
- ได้รับความรักความเอาใจใส่จากครอบครัวและสังคม
- ได้รับการบริการด้านสุขภาพ
- การให้ทักษะชีวิตที่ถูกต้อง
- การให้ที่อยู่อาศัยและการเลี้ยงดู
2. สิทธิในการปกป้องคุ้มครอง (Right of Protection)
- การคุ้มครองจากการเลือกปฏิบัติ
- การล่วงละเมิด การทำร้าย การกลั่นแกล้งรังแก
- การถูกทอดทิ้ง ละเลย
- การลักพาตัว
- การใช้แรงงานเด็ก
- ความยุติธรรมต่อผู้เยาว์
- การเอารัดเอาเปรียบทางเพศ
3. สิทธิในการพัฒนา (Right of Development)
- ได้รับการศึกษาทั้งใน/นอกระบบ
- เข้าถึงข่าวสารที่เหมาะสม
- เสรีภาพในความผิด มโนธรรม และศาสนา
- พัฒนาบุคลิกภาพ ทั้งทางสังคมและศาสนา
- พัฒนาบุคลิกภาพ ทั้งทางสังคมและจิตใจ
- พัฒนาสุขภาพร่างกาย
4. สิทธิในการมีส่วนร่วม (Right of Participation)
- แสดงทัศนะของเด็ก
- เสรีภาพในการติดต่อข่าวสารข้อมูล
- มีบทบาทในชุมชน
- แสดงความคิดเห็นในเรื่องที่มีผลกระทบต่อเด็ก
ไม่มีความเห็น