การพัฒนาคุณภาพงานให้เกิดความสุข


การพัฒนาคุณภาพงาน
สวัสดีค่ะพี่น้องชาวยาเสพติดทุกท่าน วันนี้เป็นโอกาสดี จึงอยากจะขอแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์เรื่องการพัฒนาคุณภาพงานที่ทำอยู่ให้มีความสุข เกิดความภาคภูมิใจทั้งตัวผู้ป่วยเอง ผู้ปฏิบัติงาน และครอบครัวผู้ป่วยในเวลาเดียวกันจึงทบทวนดูแล้วว่าน่าจะเริ่มจากชมรมที่ฉันสนใจในกิจกรรมทางเลือก (Alternative Activity) ตรงช่วงรอยต่อผู้ป่วยรับใหม่ที่ยังไม่สามารถลงชมรมใดได้จะมีเวลาว่างทำให้ผู้ป่วยเกิดความคิดฟุ้งซ่าน มูลเหตุในการพัฒนา 1.ผู้ป่วยรับใหม่ยังไม่มีความพร้อมในการบำบัดรักษา 2.มีข้อจำกัดในการออกชมรมต่างๆเนื่องจากระยะเวลายังไม่ถึงกำหนด 3.กระตุ้นให้ผู้ป่วยใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ 4.เพิ่มคุณค่าในตัวผู้ป่วยเองให้เกิดความภาคภูมิใจในชิ้นงาน 5.กระตุ้นให้ผู้ป่วยมีความเป็นผู้นำในการถ่ายทอดความรู้ วิธีดำเนินการ 1. จัดสถานที่ให้เหมาะสมและรวบรวมผู้ป่วยรับใหม่ที่ยังไม่ได้ลงชมรมต่างๆเพื่อสร้างบรรยากาศและจัดสิ่งแวดล้อมเพื่อการรักษา (Healing Environment) 2.ผ้าเช็ดมือ 2.1 จัดเตรียมผ้าขนหนูขนาดเล็ก,ไหมพรมสีต่างๆ, และเข็มถักโครเชท์ 2.2 สอนให้ผู้ป่วยรู้จัก ถักริมผ้าขนหนูเหมือนอย่างที่ทำริมผ้าเช็ดหน้าและเพิ่มชั้นขึ้นเรื่อยๆจนถึงระดับที่ต้องการ อาจต่อด้วยห่วงพลาสติกเพื่อแขวนเป็นผ้าเช็ดมือที่มีความสวยงาม เพิ่มสีสันให้บ้านได้งดงาม 3. ผ้าพันคอ 3.1 นำเศษฟิวเจอร์บอร์ด ขนาดสูงประมาณ 2.5 นิ้ว ยาว 6 นิ้ว มาจัดเป็นรวบสี่เหลี่ยมผืนผ้าด้านบนเจาะเป็นรูปกำแพงเมืองจีนห่างกันช่องละ 1 ซม.ดังในภาพ หลังจากนั้นนำไหมพรมมาทำเป็นห่วงลงในช่องกำแพงเมืองจีนทำไปเรื่อยๆโดยรอบได้ความยาวตามที่ต้องการ สิ่งที่ออกมาอย่างน่ามหัศจรรย์คือผ้าพันคอที่อ่อนนุ่ม น่า ทะนุถนอม และเพิ่มความน่ารักตรงชายครุยทั้งสองข้าง ซึ่งเป็นผลงานที่รวดเร็วเห็นผลภายใน 2 วัน ผลลัพธ์ที่เกิดจากกการพัฒนางาน 1. มีการจัดตั้งชมรม HAND MADE ขึ้น 2. ผู้ป่วยได้ใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ 3. ผู้ป่วยเกิดความภาคภูมิใจในตนเองที่สามารถทำสิ่งต่างๆได้สำเร็จ ดังคำพูดของผู้ป่วยคนหนึ่งพูดว่า “ตั้งแต่เกิดมา หนูไม่เคยทำอะไรสำเร็จเลย หนูไม่คิดว่าหนูจะทำได้” และจะมอบงานฝีมือที่ทำนี้ให้กับคนที่ตนรัก เป็นสิ่งยึดเหนี่ยวทางใจ ญาติและครอบครัวผู้ป่วยชื่นชมในผลงานของผู้ป่วยด้วย เจ้าหน้าที่และทุกคนรอบข้างมีความสุขในการทำงาน มีรอยยิ้มทำให้องค์กรมีชีวิตชีวา (Humanize Organization) 4. ผู้ป่วยให้ความร่วมมือในการรักษาไม่หลบหนี ซึ่งดูได้จากตัวชี้วัดไม่มีผู้ป่วยหลบหนีขณะจัดตั้งชมรม 5. ฝึกให้ผู้ป่วยมีสมาธิ จิตใจจดจ่อกับงานที่ทำ 6. ใช้ประโยชน์จากผลงานของตนเอง ข้อควรระวัง 1. ผู้ปฏิบัติงานต้องควบคุมเวลาให้ทำเฉพาะเวลาว่างที่เป็นของชมรมกิจกรรมนั้นๆ เพื่อไม่ให้ไปรบกวนในชั่วโมงกิจกรรมอื่น 2. อุปกรณ์ต่างๆ เช่นเข็มถักโครเชท์ต้องจัดเก็บให้รัดกุมเรียบร้อยภายหลังใช้แล้วทุกครั้งโดยทำเป็นสมุดเบิกคืนของใช้ทุกครั้ง ขอจบการพัฒนาคุณภาพงานผู้ป่วยเสพติดหญิงตึกมุกไว้เพียงเท่านี้ก่อนนะคะ โอกาสหน้าจะมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ใหม่ค่ะ
หมายเลขบันทึก: 181012เขียนเมื่อ 7 พฤษภาคม 2008 11:36 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 พฤษภาคม 2012 10:26 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท