ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ


ความสัมพันธ์กับต่างประเทศสมับรัตนโกสินทร์ตอนต้น

ความสัมพันธ์กับต่างประเทศสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

จุดมุ่งหมายในการดำเนินความสัมพันธ์ระหว่างประเทศสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น สรุปได้ดังนี้

1. เพื่อรักษาเอกราชให้พ้นจากภัยการคุกคามของพม่า
2.
เพื่อรักษาความมั่นคงของราชธานี
3.
เพื่อฟื้นฟูบ้านเมืองให้กลับคืนสู่ความเจริญรุ่งเรือง
4.
เพื่อผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจและการค้า

ความสัมพันธ์กับล้านนา
ในสมัยรัชกาลที่ 1-3 ลักษณะความสัมพันธ์ยังเป็นมิตรที่ดีกับล้านนา

สัมพันธไมตรีอันดีที่ไทยสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นมีอย่างต่อเนื่องกับล้านนา ทำให้รัชกาลที่ 5 สามารถผนวกล้านนาเข้าเป็นดินแดนส่วนหนึ่งของราชอาณาจักรไทยได้ง่ายขึ้น

ความสัมพันธ์กับพม่า
สมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น โดยเฉพาะรัชกาลที่ 1 ไทยต้องรับมือกับการถูกบุกโจมตีอย่างหนักจากพม่า ถึงแม้ในบางช่วงพม่าจะส่งฑูตมาเจรจาขอเป็นไมตรีกับไทย แต่ก็ไม่ได้มีความจริงใจ เพียงต้องการตรวจสอบความพร้อมรบของฝ่ายไทยเท่านั้น

สงครามครั้งใหญ่ที่สุดระหว่างไทยกับพม่าสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น คือ สงครามเก้าทัพ ในปี 2328 สมัยรัชกาลที่ 1 พม่าได้ส่งกองทัพเข้ามาโจมตีไทยพร้อมๆ กันหลายทาง แต่ผลักดันกองทัพพม่าให้ถอยกลับไปได้

สมัยรัชกาลที่ 2 และสมัยรัชกาลที่ 3 แม้ความสัมพันธ์จะยังเป็นศัตรูกัน แต่การทำสงครามก็ค่อยๆ ลดน้อยลงตามลำดับเพราะพม่ามีปัญหาภายในต้องทำสงครามต่อสู้กับอังกฤษ

ในปลายปี 2352 ตรงกับสมัยรัชกาลที่ 2 พม่าได้ยกทัพเข้ามาโจมตีหัวเมืองภาคใต้ ได้แก่ตะกั่วป่า ตะกั่วทุ่ง ถลาง ระนอง กระบี่ ชุมพร แต่กองทัพไทยจากกรุงเทพฯ และกองทัพจากนครศรีธรรมราชมาช่วยกันขับไล่พม่าออกไปได้สำเร็จ

สมัยรัชกาลที่ 3 ไทยก็ยังคงทำสงครามกับพม่าอยู่บ้าง แต่เป็นสงครามขนาดเล็ก เพื่อแย่งชิงการมีอิทธิพลเหนือหัวเมืองทางเหนือ คือ สงครามเมืองเชียงรุ่ง ในปี 2386 และสงครามเมืองเชียงตุงในปี 2392

ผลจากการที่ไทยดำเนินความสัมพันธ์กับพม่าอย่างแข็งกร้าว ไม่ยอมจำนนต่อการรุกรานอย่างหนักจากพม่า นอกจากจะสามารถปกป้องราชอาณาจักรไว้ได้แล้ว ยังช่วยทำให้ผู้คนเกิดความมั่นใจว่าไทยสามารถจะรับมือกับการคุกคามจากพม่าได้ และพม่าจะไม่เป็นภัยต่อความมั่นคงของราชอาณาจักรอีกต่อไป

ความสัมพันธ์กับมอญ
ในช่วงสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น จะมีความสัมพันธ์แบบผูกไมตรี ช่วยเหลือมอญให้พ้นจากการถูกกดขี่ข่มเหงของพม่า

สมัยรัชกาลที่ 1 ทรงนำกองทัพไทยไปช่วยพระยาทวายรบกับพม่าที่ครอบครองเมืองทวายเอาไว้ หลังจากปิดล้อมเมืองอยู่ชั่วระยะเวลาหนึ่งก็โปรดเกล้าฯ ให้ยกทัพกลับ เพราะทรงมีพระราชดำริว่า ถึงตีเมืองทวายได้ก็คงรักษาเมืองไว้ได้ไม่นาน เนื่องจากอยู่ห่างไกลจากกรุงเทพฯ ตอนยกทัพกลับได้พาครอบครัวชาวมอญมายังกรุงเทพฯ ด้วย

สมัยรัชกาลที่ 2 ชาวมอญไม่พอใจการปกครองอย่างกดขี่ของพวกพม่า ได้อพยพครอบครัวเข้ามาในราชอาณาจักรไทย เมื่อปี 2357 และ 2358 รัชกาลที่ 2 ทรงให้ความอุปถัมถ์ โปรดเกล้าฯ ให้ชาวมอญที่เดินทางเข้ามาใหม่ ออกไปตั้งถิ่นฐานอยู่กับชุมชนมอญเดิมที่แขวงเมืองนนทบุรี ปทุมธานี และเมืองนครเขื่อนขันธ์ (พระประแดง)

ความสัมพันธ์กับหัวเมืองมอญยุติลงในสมัยรัชกาลที่ 3 เมื่อเมืองมะริด ทวาย ตะนาวศรี ได้ตกไปอยู่ในอำนาจของอังกฤษ ไทยจึงหลีกเลี่ยงไม่เข้ายุ่งเกี่ยวกับหัวเมืองมอญ

ผลจากความสัมพันธ์กับหัวเมืองมอญ นอกจากไทยจะได้กำลังผู้คนและความจงรักภักดีจากชาวมอญแล้ว ไทยยังได้หัวหน้ามอญไว้ใช้ในราชการและได้รับอิทธิพลทางวัฒนธรรมบางประการจากชาวมอญมาด้วย

ความสัมพันธ์กับเขมร
ในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับเขมรจะเป็นด้านการทำสงครามและด้านการเมือง เพื่อขยายอิทธิพลเข้าไปครอบครอง ทั้งนี้เขมรจะเป็นดินแดนที่ไทยกับญวนต่างแข่งขันแย่งชิงอำนาจเข้าไปดูแลกันตลอดมา เขมรจึงเป็นเหมือนรัฐกันชนระหว่างไทยกับญวน

สมัยรัชกาลที่ 1 ไทยมีบทบาทอย่างสำคัญในการจัดการดูแลปกครองเขมรให้เรียบร้อย โดยเป็นผู้แต่งตั้งกษัตริย์ที่ขึ้นครองเขมร ในปี 2325 เกิดความไม่สงบในเขมร พระยายมราช (แบน) จึงพานักองเอง รัชทายาทเขมรลี้ภัยการเมืองเข้าพึ่งพระบรมโพธิสมภารของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ซึ่งก็ทรงรับอุปการะชุบเลี้ยงอย่างดี เมื่อเหตุการณ์ในเขมรสงบ ราชสำนักไทยได้แต่งตั้งเจ้าพระยาอภัยภูเบศร์ (เลื่อนบรรดาศักดิ์จากพระยายมราช) ไปเป็นผู้สำเร็จราชการชั่วคราว เมื่อนักองเองเจริญวัย ทางกรุงเทพฯ ก็แต่งตั้งให้เป็นกษัตริย์เขมร ในปี 2337 ทรงพระนามว่า สมเด็จพระนารายณ์รามาธิบดี ต่อมาเมื่อสิ้นพระชนม์ได้แต่งตั้งนักองจันทร์เป็นสมเด็จพระอุทัยราชาขึ้นครองราชย์สืบไป

สมัยรัชกาลที่ 2 ลักษณะความสัมพันธ์ได้เปลี่ยนแปลงไปอีก เมื่อพระอุทัยราชาได้หันไปสนิทสนมกับญวนและแสดงท่าทีไม่ยอมรับอำนาจจากกรุงเทพฯ ทางราชสำนักไทยจึงแต่งตั้งนักองสงวนเป็นพระมหาอุปโยราช (เทียบได้กับตำแหน่งวังหน้า) เพื่อไว้ถ่วงดุลอำนาจทางการเมืองของเขมร ซึ่งเขมรในระยะนี้ต้องส่งเครื่องราชบรรณาการให้กับไทยและญวน

สมัยรัชกาลที่ 3 ไทยพยายามแผ่อิทธิพลเข้าไปในเขมรอีก โดยเจ้าพระยาบดินทรเดชยกทัพไปตีเขมร ในปี 2376 และปี 2383 สามารถยึดเมืองหลวงที่พนมเปญไว้ได้ แต่ก็ถูกเจ้านายเขมรที่นิยมญวนได้ไปร่วมมือกับญวนทำการรบต่อต้านไทย ทำให้ไทยกับญวนต้องทำสงครามสู้รบกันต่อมาอีกหลายปี ในที่สุด ไทยกับญวนได้ร่วมมือกันแก้ไขข้อพิพาทร่วมกัน ตั้งนักองด้วงหรือพระหริรักษ์รามาธิบดีขึ้นเป็นกษัตริย์เขมร และให้เขมรจัดส่งบรรณาการให้ไทยกับญวนอย่างเท่าเทียมกัน ปัญหาเรื่องเขมรจึงยุติลง

ความสัมพันธ์กับล้านช้าง (ลาว)
ล้านช้างหรือลาว ซึ่งนับว่าเป็นบ้านพี่เมืองน้องกันนั้น ลักษณะความสัมพันธ์ที่ไทยมีต่อล้านช้างมีอยู่หลายลักษณะผสมผสานกัน คือ มีทั้งด้านความสัมพันธ์ในด้านการเมืองที่ไทยพยายามขยายอิทธิพลเข้าไปครอบงำ มีการผูกมิตรไมตรี และในบางช่วงมีความสัมพันธ์ด้านการทำสงครามทำศึกกัน

สมัยรัชกาลที่ 1 เชื้อพระวงศ์ของล้านช้างแย่งชิงอำนาจกันเอง และแตกแยกออกเป็น 3 ฝ่าย คือเวียงจันทน์ หลวงพระบาง และจำปาศักดิ์ แต่ละฝ่ายต่างเป็นอิสระต่อกัน แต่ทั้งหมดขึ้นตรงกับกรุงเทพฯ การที่ล้านช้างแตกแยกเป็น 3 ฝ่าย ทำให้ไทยสามารถสร้างความสัมพันธ์ด้วยการขยายอิทธิพลเข้าไปครอบงำได้ง่ายขึ้น ผสมผสานกับการผูกมิตรไมตรี เพื่อให้เกิดความจงรักภักดีอย่างยินยอมพร้อมใจ

สมัยรัชกาลที่ 2 ไทยมีความสัมพันธ์อันดีกับเวียงจันทน์ โดยราชสำนักไทยเห็นว่าเจ้าอนุวงศ์ผู้ครองเมืองเวียงจันทน์มีความจริงใจและจงรักภักดีกับไทย จึงบำเหน็จความชอบให้เจ้าราชบุตร บุตรของเจ้าอนุวงศ์ไปครองเมืองสำคัญ คือ เมืองจำปาศักดิ์ ส่งผลให้เจ้าอนุวงศ์มีกำลังเข็มแข็งมาก

สมัยรัชกาลที่ 3 ได้เกิดเหตุการณ์กระทบต่อความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับล้านช้างอย่างรุนแรง เมื่อเจ้าอนุวงศ์ซึ่งมีความคิดจะรวมเอาเวียงจันทน์ หลวงพระบาง และจำปาศักดิ์ กลับมาเป็นอาณาจักรเดียวกัน แล้วปกครองตนเองอย่างอิสระไม่ขึ้นกับไทย ได้ยกทัพมากวาดต้อนผู้คนจากหัวเมืองทางอิสานของไทยใน ปี 2369

เหตุการณ์ครั้งนี้จึงทำให้เกิดวีรสตรีคนสำคัญคือ คุณหญิงโม ซึ่งภายหลังได้รับพระราชทานนามว่า ท้าวสุรนารี คือ เมื่อกองทัพของเจ้าอนุวงศ์มาถึงนครราชสีมา ก็ได้กวาดต้อนผู้คนและทรัพย์สินเพื่อจะนำกลับไปเวียงจันทน์ ขณะนั้นเจ้าเมืองนครราชสีมาไปราชการที่อื่น แต่ชาวเมืองก็ได้คุณหญิงโมเป็นผู้นำชาวเมืองรวบรวมกำลังผู้คนต่อสู้กับทหารลาวจนแตกพ่ายไป ขณะเดียวกันทางกรุงเทพฯ ก็จัดส่งกองทัพขึ้นมาปราบ ช่วยปลดปล่อยหัวเมืองภาคอีสานที่ถูกทหารเจ้าอนุวงศ์ยึดไว้และตามไปโจมตีจนถึงดินแดนลาว สามารถเข้ายึดเมืองเวียงจันทน์ไว้ได้

สำหรับเจ้าอนุวงศ์ซึ่งหลบหนีไปอยู่กับญวน ภายหลังในปี 2370 ได้หวนย้อนนำกำลังมาโจมตีทหารไทยที่อยู่รักษาเมืองเวียงจันทน์แต่พ่ายแพ้และถูกจับกุมตัวได้

การก่อกบฏของเจ้าอนุวงศ์ในปี 2369 ทำให้ทางกรุงเทพฯ ดำเนินการปรับปรุงความสัมพันธ์กับล้านช้างใหม่ โดยเข้าไปกำกับดูแลอย่างใกล้ชิดมากขึ้น

ความสัมพันธ์กับญวน (เวียดนาม)
สมัยรัชกาลที่ 1 ผลจากการที่ไทยให้การอุปการะและช่วยเหลือองเชียงสือมาตลอด ภายหลังเมื่อองเชียงสือขึ้นเป็นกษัตริย์ญวน จึงทำให้สัมพันธไมตรีกับญวนดำเนินไปด้วยดี

ในปี 2326 องเชียงสือได้ทูลขอให้ไทยช่วยส่งกำลังไปปราบกบฏ ซึ่งรัชกาลที่ 1 ก็ทรงให้ความอนุเคราะห์ จึงส่งทหารไทยไปรบกับพวกไกเญิน ถึงแม้จะปราบไม่ได้ แต่ก็ทำให้องเชียงสือสำนึกในบุญคุณของไทย ดังนั้น เมื่อองเชียงสือรวบรวมแผ่นดินญวนได้เป็นปึกแผ่นและตั้งตนเป็นกษัตริย์ จึงทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับญวนในช่วงนี้ดำเนินไปอย่างราบรื่น

สมัยรัชกาลที่ 2 ตอนต้นรัชกาล ไทยกับญวนก็ยังมีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน จนกระทั้งถึงสมัยพระเจ้ามินหมาง ญวนได้ขยายอิทธิพลเข้าไปยังเขมรอีก จึงทำให้เกิดความขัดแย้งกับไทย แต่ยังไม่ถึงขั้นต้องทำสงครามกัน

ในสมัยรัชกาลที่ 3 ปัญหาเขมรขยายตัวลุกลามมากขึ้น ทั้งนี้เพราะญวนมีเป้าหมายที่จะครอบครองเขมรเพื่อกลืนชาติ รวมทั้งแสดงท่าทีแข็งกร้าวกับไทย ความสัมพันธ์กับญวนจึงเปลี่ยนมาเป็นศัตรู ทำสงครามต่อสู้กัน โดยไทยส่งทหารบุกไปตีเขมรยึดพนมเปญไว้ได้ในปี 2376 และเลยไปตีเมืองไซ่ง่อนด้วย

ปัญหาการแย่งชิงอำนาจในการครอบครองเขมร ทำให้ไทยต้องทำศึกสงครามกับญวนต่อมาอีกหลายปี โดยไม่มีฝ่ายใดได้ชัยชนะอย่างเด็ดขาด ภายหลังเมื่อญวนเกิดข้อพิพาทกับฝรั่งเศส จึงได้เปิดการเจรจากับไทย สามารถยุติสงครามระหว่างกันได้ในปี 2388 หลังจากนี้ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับญวนก็ยุติลงอย่างเป็นทางการ เพราะญวนได้ตกไปเป็นอาณานิคมของฝรั่งเศส

 

ความสัมพันธ์กับหัวเมืองมลายู
สมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น ลักษณะความสัมพันธ์จะเป็นทางด้านการเมือง โดยไทยพยายามขยายอิทธิพลเข้าไปครอบครองทั้งทางด้านการผูกมิตรไมตรี และการทำสงครามในบางครั้ง

สมัยรัชกาลที่ 1 ไทยได้หัวเมืองมลายูบางเมืองมาเป็นเมืองขึ้น คือ ไทรบุรี กลันตัน ตรังกานู และปัตตานี ซึ่งหัวเมืองเหล่านี้ได้เข้าขออ่อนน้อมต่อไทยในปี 2328 รัชกาลที่ 1 จึงโปรดเกล้าฯ ให้ผู้ครองเมืองเดิมปกครองเมืองสืบต่อไป และมีอิสระในการบริหารกิจการบ้านเมืองของตน เพียงแต่ต้องแสดงความจงรักภักดีด้วยการส่งเครื่องราชบรรณาการ และต้นไม้เงิน ต้นไม้ทองมาให้ทางกรุงเทพ ทุกๆ 3 ปี สำหรับการกำกับดูแลหัวเมืองดังกล่าว ทรงใช้การถ่วงดุลอำนาจมอบให้เมืองนครศรีธรรมราชดูแลไทรบุรีกับกลันตัน และมอบให้เมืองสงขลาดูแลเมืองปัตตานีกับตรังกานู แต่สถานการณ์ในหัวเมืองมลายูก็มิได้สงบเรียบร้อยดีนัก โดยในปี 2334 เจ้าเมืองปัตตานีได้ส่งกองกำลังเข้าไปโจมตีเมืองสงขลา จนไทยต้องส่งกำลังไปปราบ และเพื่อมิให้ปัตตานีมีอำนาจมากเกินไป จึงแบ่งปัตตานีออกเป็น 7 เมือง ได้แก่ ปัตตานี หนองจิก สายบุรี ยะหริ่ง ยะรา รามันห์ และระแงะ ให้ทุกเมืองขึ้นตรงกับสงขลา

ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับหัวเมืองมลายูตลอดสมัยรัชกาลที่ 2 และ 3 ก็มิได้ราบรื่นดีนัก ทั้งนี้เพราะหัวเมืองมลายูบางเมือง ถ้ามีโอกาสก็จะตั้งตนเป็นอิสระ ในตอนปลายสมัยรัชกาลที่ 2 เจ้าพระยาไทรบุรี (ปะแงรัน) ก็ได้ตั้งตนเป็นอิสระ ทางกรุงเทพจึงมอบให้เจ้าพระยานครศรีธรรมราชยกทัพไปปราบ เจ้าพระยาไทรบุรีได้หลบหนีไปอยู่ที่เกาะหมาก (ปีนัง) ซึ่งไทรบุรีให้อังกฤษเช่า โดยที่ทางกรุงเทพฯ ไม่ทราบเรื่องราวการให้เช่าเกาะหมากมาก่อน อย่างไรก็ตาม อังกฤษก็ได้ส่งฑูตมาเจรจาเรื่องนี้กับไทยใน ปี 2365

สมัยรัชกาลที่ 3 เมืองไทรบุรีได้ก่อกบฏขึ้นอีก 2 ครั้ง ใน ปี

หมายเลขบันทึก: 180170เขียนเมื่อ 2 พฤษภาคม 2008 11:29 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 พฤษภาคม 2012 19:42 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ใช้ได้เลยอะ ขอบคุง น๊

อิอิ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท