เป็นเบาหวาน+ดูแลตัวเองดีๆ ป่วยหนักลดลง 34%


คนไข้ส่วนหนึ่ง (13.4%) ได้รับการอบรม หรือเข้าชั้นเรียนเพื่อให้ความรู้เรื่องโรคเบาหวาน และวิธีการดูแลตนเอง

 

...

คุณหมอท่านหนึ่งเล่าให้ผู้เขียนฟังว่า มีอาจารย์แพทย์ท่านหนึ่งชอบดื่มเบียร์ และไม่ค่อยออกกำลัง พอเกษียณแล้วตรวจพบเบาหวาน ท่านจึงเลิกดื่มเบียร์ หันไปถีบจักรยานตอนเย็น... ถีบๆๆๆ จนผลเลือดกลับมาอยู่ในเกณฑ์ปกติ

เจ้าหน้าที่โรงพยาบาลท่านหนึ่งเล่าให้ผู้เขียนฟังเช่นกันว่า คนไข้เบาหวานตำบลหนึ่งที่อำเภอเกาะคา ลำปางหันไปถีบจักรยานกันตอนเย็นๆ ซึ่งน่าจะทำให้ผลการรักษาดีขึ้นมาก

...

ท่านอาจารย์ดอกเตอร์เจซซิกา เอ็ม. รอบบินส์ (Dr. Jessica M. Robbins) และคณะ แห่งสำนักงานสาธารณสุขฟิลาเดลเฟีย ทำการศึกษาเกี่ยวกับคนไข้เบาหวานในเมือง (urban diabetes study)

ท่านติดตามคนไข้เบาหวาน 18,404 คนไปเฉลี่ย 4.7 ปี

...

คนไข้ส่วนหนึ่ง (13.4%) ได้รับการอบรม หรือเข้าชั้นเรียนเพื่อให้ความรู้เรื่องโรคเบาหวาน และวิธีการดูแลตนเอง

เมื่อติดตามไป 4.7 ปีพบว่า คนไข้ส่วนหนึ่งป่วยหนักจนต้องเข้ารับการรักษาเป็นคนไข้ในของโรงพยาบาลรวม 31,653 ครั้ง (visit)

...

ท่านผู้อ่านอาจจะสงสัยว่า ทำไมจำนวนครั้ง (visit) ของการเข้าโรงพยาบาล (31,653 ครั้ง) จึงมากกว่าจำนวนคนไข้ (18,404 คน)

คำตอบคือ คนไข้บางคนป่วยหลายครั้ง ทำให้จำนวนครั้งของการเข้าโรงพยาบาลมากกว่าจำนวนคนไข้

...

ผลการศึกษาพบว่า คนไข้เบาหวานที่ได้รับการอบรมความรู้เรื่องเบาหวานในชั้นเรียนอย่างน้อย 1 ครั้งดังตาราง (จำนวนครั้งของการเข้าโรงพยาบาลมีหน่วยที่แปลกประหลาดมากคือ จำนวนครั้งต่อคนต่อ 100 ปี)

การอบรมความรู้เรื่องเบาหวาน จำนวนครั้งของการเข้าโรงพยาบาล (ครั้ง/คน/100 ปี)
ผ่านการอบรม 25
ไม่ผ่านการอบรม 38.1

...

การศึกษานี้พบว่า คนไข้ที่ผ่านการอบรมเรื่องเบาหวานในชั้นเรียนเข้าโรงพยาบาลน้อยกว่าคนที่ไม่ผ่านการอบรมฯ มากถึง 34% การอบรมโดยนักโภชนาการ หรือนักกำหนดมีส่วนช่วยลดการป่วยหนักได้ดีกว่าการอบรมเรื่องเบาหวานทั่วๆ ไป หรือการอบรมโดยนักสุขศึกษา

เมื่อคิดเป็นเงินดอลลาร์สหรัฐฯ ที่กำลังตกต่ำลงทุกเดือนพบว่า ค่าใช้จ่ายในการรักษาลดลงประมาณ 11,571 ดอลลาร์ฯ หรือ 358,701 บาทในช่วงประมาณ 5 ปี (4.7 ปี) หรือประมาณปีละ 76,319.36 บาท (คิดที่ 31 บาทต่อ 1 ดอลลาร์ฯ)

...

อาจารย์รอบบินส์กล่าวว่า การรักษาโรคเรื้อรัง โดยเฉพาะเบาหวานนั้น การดูแลตนเองของคนไข้มีผลต่อตัวโรคมากที่สุด

วิธีที่ดีวิธีหนึ่งคือ การส่งเสริมคนไข้ให้มีความรู้ความเข้าใจ และปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เพื่อลดภาวะแทรกซ้อนระยะยาว โดยเฉพาะ "ตา-หัวใจ-ไต-ตีน" (อาจารย์แพทย์ท่านเรียงศัพท์แบบนี้เพื่อให้เกิดสัมผัส และจำง่าย)

...

คนไข้เบาหวานที่มีความรู้ และดูแลตนเองดี จะลดโอกาสเกิดโรคต่อไปนี้ให้น้อยลงได้แก่

  • ตา > ต้อกระจก (เลนซ์ตาขุ่น) จอตาเสื่อมสภาพ ตาบอด
  • หัวใจ > เส้นเลือดหัวใจอุดตัน หัวใจเสื่อมสภาพ หัวใจวาย
  • ไต > ไตเสื่อมสภาพ ไตวาย
  • ตีน (เท้า) > ประสาทรับความรู้สึกเสื่อมสภาพ แผลที่เท้า แผลติดเชื้อ โอกาสถูกตัดนิ้วเท้า เท้า หรือขา 

...

โรคภัยไข้เจ็บยุคใหม่นั้น... ความรู้ ความเข้าใจ และการใส่ใจสุขภาพ เช่น ควบคุมอาหาร ออกแรง-ออกกำลัง ฯลฯ มีผลไม่น้อยกว่าการใช้ยาเลย

เรียนเสนอให้พวกเราหันมาใส่ใจสุขภาพกัน เพื่อจะได้มีโอกาสอายุยืนอย่างมีคุณภาพไปนานๆ ครับ

...

ที่มา                                                  

  • Thank Reuters > Diabetes education linked to fewer hospitalization > [ Click ] > April 30, 2008. // source: J Diabetes Care. April 2008.
  • ข้อมูลและการอ้างอิงในบล็อก "บ้านสุขภาพ" เป็นไปเพื่อส่งเสริมสุขภาพ และป้องกันโรค ไม่ใช่รักษาโรค
  • ท่านที่มีโรคประจำตัวควรปรึกษาหมอ พยาบาล เภสัชกร หรืออนามัยที่ดูแลท่านก่อนนำข้อมูลไปใช้
  • ขอขอบคุณอาจารย์ณรงค์ ม่วงตานี + อาจารย์เบนซ์ iT ศูนย์มะเร็งลำปาง > สนับสนุนเทคนิค iT.
  • นพ.วัลลภ พรเรืองวงศ์ > 1 พฤษภาคม 2551.
หมายเลขบันทึก: 180048เขียนเมื่อ 1 พฤษภาคม 2008 18:45 น. ()แก้ไขเมื่อ 8 เมษายน 2012 20:25 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

"ตา-หัวใจ-ไต-ตีน" จำง่ายดีค่ะ เหมาะกับการระวังเรื่องเบาหวาน จะนำไปฝากคุณพ่อค่ะอาจารย์

ขอบคุณค่ะ

ขอขอบพระคุณอาจารย์จันทวรรณ...

  • ขอขอบพระคุณที่แวะมาเยี่ยมเยียน
  • ขออนุโมทนาในกุศลเจตนาของอาจารย์ที่ดูแลคุณพ่อดีมากๆ ครับ... สาธุ สาธุ สาธุ

ขอบคุณมากครับคุณหมอ ยิ่งกว่าหน้าที่ เพราะมีความรับผิดชอบและดูแลครับคุณหมอ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท