เศรษฐกิจพอเพียงเน้นการพึ่งตนเอง วิสาหกิจชุมชนเป็นเศรษฐกิจชุมชนพึ่งตนเอง


การพึ่งตนเอง ในทางพุทธศาสนา ?

การพึ่งตนเอง    

นาถกรณธรรม ๑๐ คือธรรมะที่สอนให้ทำตน ให้เป็นที่พึ่งของตนได้   พร้อมที่จะรับผิดชอบตนเองได้    ไม่ทำตัวให้เป็นปัญหา หรือเป็นภาระถ่วงหมู่คณะ  หรือหมู่ญาติ  ด้วยการประพฤติธรรม สำหรับสร้างที่พึ่งแก่ตนเอง  มี  ๑๐ ประการ คือ

            ๑. ศีล  ประพฤติดีมีวินัย    คือ  ดำเนินชีวิตโดยสุจริต  ทั้งทางกาย  ทางวาจา  มีวินัย และประกอบสัมมาชีพ

                ๒.พาหุสัจจะ   ได้ศึกษาสดับมาก  คือ ศึกษาเล่าเรียนสดับตรับฟังมากอันใดเป็นสายวิชาของตน  หรือตนศึกษาศิลปวิทยาใด  ก็ศึกษาให้ช่ำชอง  มีความเข้าใจกว้างขวางลึกซึ้ง  รู้ชัดเจนและใช้ได้จริง

                ๓. กัลยาณมิตตา  รู้จักคบคนดี  คือ  มีกัลยาณมิตร  รู้จักเลือกเสวนาเข้าหาที่ปรึกษาหรือผู้แนะนำสั่งสอนที่ดี  เลือกสัมพันธ์เกี่ยวข้องและถือเยี่ยงอย่างสิ่งแวดล้อมทางสังคมที่ดี  ซึ่งจะทำให้ชีวิตเจริญงอกงาม

                ๔. โสวจัสสตา  เป็นผู้ที่พูดกันง่าย  คือ ไม่ดื้อรั้นกระด้าง  รู้จักรับฟังเหตุผลและข้อเท็จจริง พร้อมที่จะแก้ไขปรับปรุงตน

                ๕. กิงกรณียสุ ทักขตา  ขวนขวายกิจของหมู่  คือ เอาใจใส่ช่วยเหลือธุระ  และกิจการของชนร่วมหมู่คณะ  ญาติ  เพื่อนพ้อง  และของชุมชน   รู้จักใช้ ปัญญาไตร่ตรองหาวิธีดำเนินการที่เหมาะ  ทำได้  จัดได้  ให้สำเร็จเรียบร้อยด้วยดี

                ๖. ธรรมกามตา  เป็นผู้ใคร่ธรรม   คือรักธรรม ชอบศึกษา  ค้นคว้า  สอบถามหาความรู้หาความจริง  รู้จักพูด   รู้จักรับฟัง   สร้างความรู้สึกสนิทสนมสบายใจ   ชวนให้ผู้อื่นอยากเข้ามาปรึกษาและร่วมสนทนา

                ๗. วิริยารัมภะ   มีความเพียรขยัน    คือขยันหมั่นเพียร   พยายามหลีกละความชั่ว   ประกอบความดี   บากบั่น  ก้าวหน้า  ไม่ย่อท้อ  ไม่ละเลยทอดทิ้ง  ธุระหน้าที่

                ๘. สันตุฏฐี  มีสันโดษรู้พอดี    คือ ยินดี   พึงพอใจแต่ในลาภผล  ผลงานและผลสำเร็จต่าง    ที่ตนสร้างหรือแสวงหามาได้ด้วยเรี่ยวแรง ความเพียร  พยายามของตนเองโดยทางชอบธรรม  และไม่มัวเมาเห็นแก่ความสุขทางวัตถุ

                ๙. สติ  มีสติคงมั่น    คือ  รู้จักกำหนดจดจำ    ระลึกการที่ทำ  คำที่พูด  กิจที่ทำแล้ว  และที่ต้องทำต่อไปได้   จะทำอะไรก็รอบคอบ  รู้จักยับยั้งชั่งใจ  ไม่ผลีผลาม  ไม่เลินเล่อ  ไม่เลื่อนลอย ไม่ประมาท  ไม่ยอมถลำลงในทางผิดพลาด  ไม่ปล่อยปละละเลยทิ้งโอกาสสำหรับความดีงาม

                ๑๐. ปัญญา   มีปัญญาเหนืออารมณ์  คือ มีปัญญาหยั่งรู้เหตุผล  รู้ดี  รู้ชั่ว  คุณโทษ  ประโยชน์มิใช่ประโยชน์  มองสิ่งทั้งหลายตามความเป็นจริง  รู้จักพิจารณาวินิจฉัยด้วยใจเป็นอิสระ  ทำการต่าง ๆ ด้วยความคิดและมีวิจารณญาณ

                คนเรา  ถ้าปฏิบัติได้ตาม หลักธรรมข้อที่ว่า นาถกรณธรรม ๑๐ ได้แล้ว น่าจะสามารถพึ่งตนเองได้จริง แท้แน่นอน

แต่ถ้าในตัวเกษตรกรเอง ยังไม่เข้าใจ หลักธรรมข้อนี้  แนวทางการปฏิบัติเพื่อให้เข้าถึงหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ในประเทศไทย  คงต้องใช้หลักต่อไปนี้คือ

การอยู่รอด  พอเพียง   ยั่งยืน ตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

หมายเลขบันทึก: 179632เขียนเมื่อ 30 เมษายน 2008 09:03 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 พฤษภาคม 2012 12:36 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

สวัสดีค่ะ อาจารย์สมพงศ์

  • ครูอ้อยเข้ามาทักทาย และตั้งใจอ่านบันทึกที่มีคุณค่า  สมควรเก็บไว้ นำไปปฏิบัติ ในการปฏิบัติงานค่ะ
  • ขอบคุณมากค่ะ  หากว่างเรียนเชิญที่....ระบบกับน้ำใจ

สวัสดีครับ ....คุณครูอ้อยครับ....ยินดีต้อนรับครับ เป็นเพียงการบันทึกเรื่องฐานคิดของ การเรียนรู้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ว่าแนวพุทธศาสนาเรามีมานานแต่อธิบายเป็นรูปธรรมไม่ชัดเจน จึงต้องอาศัยพระราชดำรัสของในหลวงมาเป็นแนวทางปฏิบัติ 3 ขั้นตอน คือ พึ่งตนเอง , พึ่งพากันเอง และเชื่อมทุนกับภายนอก ครับ

มาเยี่ยม

ดีมากครับ ได้ช่วยกันเผยแผ่สิ่งที่ล้ำค่านะ ฮิ ฮิ ฮิ

สวัสดีครับ..อาจารย์ยูมิ ครับ

ขอบคุณครับ อาจารย์ที่ช่วยเผยแพร่ครับ สบายดีนะครับอาจารย์ เพราะฝนตก ระวังสุขภาพครับ....

  • ตามมาทักทายอาจารย์
  • ถ้าพบผู้สนใจ
  • จะรีบบอกให้มาอ่านนะครับ
  • นักศึกษาจากมหาวิทยาลัยชีวิต
  • มีมากจังเลย
  • อาจารย์สบายดีหรือเปล่าครับ

สวัสดีครับ...อาจารย์ขจิตครับ

ขอบคุณครับ ผมสบายดีครับ ขอบคุณอาจารย์มากครับ อย่างไรก็รักษาสุขภาพนะครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท