เน้นหลักการ "ให้ชุมชนมีบทบาทร่วมในการจัดการศึกษา"


เราจะร่วมมือพัฒนาคุณภาพการศึกษาระดับเขตพื้นที่การศึกษาได้อย่างไร

......วันนี้(22 เมษายน 2551)ได้ไปเป็นวิทยากรในการสัมมนาเรื่องเราจะร่วมมือกันพัฒนาคุณภาพการศึกษาของเขตพื้นที่การศึกษานนทบุรี เขต 2 ได้อย่างไร  ได้เสนอแนะยุทธศาสตร์ในการพัฒนาคุณภาพระดับเขตพื้นที่การศึกษา ให้ผู้เข้าร่วมสัมมนาจัดประชุมกลุ่มย่อย ร่วมเสนอแนวทางการพัฒนาที่เป็นรูปธรรม ในที่สุดมีความเห็นว่า สิ่งที่ต้องพัฒนาเร่งด่วนคือ 

1)   การจัดตั้งกองทุนพัฒนาการเรียนรู้ระดับสถานศึกษาและระดับเขตพื้นที่การศึกษา ด้วยการระดมทุนจากผู้ปกครองวิธีต่าง ๆ เช่น ทำบุญ   วันเกิดคนละ 100 บาท/ปี(จะมีเงินทุน ปีละ 80 ล้านบาท)  ออมวันละบาทเพื่อพัฒนาคุณภาพการเรียนรู้ (หยอดกระปุกวันละบาทต่อครอบครัว จะได้เงินปีละ 120 ล้านบาท) เป็นต้น

      กองทุนนี้จะนำมาใช้เพื่อการพัฒนาสื่อ นวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ของโรงเรียนในเขตพื้นที่การศึกษา

 

2)   การพัฒนาแหล่งเรียนรู้ ภูมิปัญญาท้องถิ่น  โดยมีการสำรวจแหล่งเรียนรู้หรือภูมิปัญญาท้องถิ่น จัดทำสื่อเพื่อการเรียนรู้เกี่ยวกับแหล่งเรียนรู้ต่าง ๆ  จัดทำฐานข้อมูลแหล่งเรียนรู้ แผนที่ภูมิศาสตร์แหล่งเรียนรู้ในท้องถิ่น(GIS รวมถึง แผนที่คนดีศรีเมืองนนท์)

 

3)   การเตรียมความพร้อมของเด็กตั้งแต่อยู่ในครรภ์และในช่วง 6 ปีแรกของชีวิต โดยความร่วมมือระหว่างองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (เช่น เทศบาล อบต.) และส่งเสริมให้ครอบครัวมีบทบาทร่วมในการพัฒนาเด็กในวัยเรียน ด้วยการทำกิจกรรมต่าง ๆ อาทิ

     -จัดทำคู่มือการดูแลตนเองขณะตั้งครรภ์ มอบแก่มารดาที่ตั้งครรภ์ทุกคนในเขตพื้นที่ตำบล(โดยการสนับสนุนของ อบต./องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น)

     -จัดทำคู่มือ  VCD เรื่อง การเลี้ยงดูบุตรที่ได้มาตรฐาน มอบ

       แก่ครอบครัวพร้อมชุดรับขวัญเด็กในเขตตำบล(โดยการสนับสนุนขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น)

     -จัดทำคู่มือพ่อแม่ เพื่อการพัฒนาเด็กปฐมวัย(โดยการสนับสนุนขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น)

     -จัดทำคู่มือผู้ปกครองเพื่อการพัฒนาศักยภาพเด็กในวัยเรียน

       ช่วงชั้นที่ 1-2 และช่วงชั้นที่ 3-4(ให้พ่อแม่จัดกิจกรรมที่บ้าน)

 

4)   การจัดตั้งสโมสรเยาวชนระดับตำบล โดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้การสนับสนุนด้านงบประมาณและจัดทำแผนพัฒนาเยาวชนระดับตำบล ควบคู่ไปกับการวางแผนพัฒนาเยาวชนในระบบโรงเรียนโดยเขตพื้นที่การศึกษา  เพื่อให้เยาวชนได้รับการพัฒนาทั้งในขณะเรียนในรายวิชา  อยู่ในห้องเรียนประจำชั้น  ในโรงเรียน  ที่บ้าน  และในชุมชน(บริบทรอบตัวนักเรียนได้รับการส่งเสริมและพัฒนาแบบรอบตัว)

 

5)   การสร้างเครือข่ายพัฒนาการศึกษาจังหวัดนนทบุรี เพื่อให้มีบทบาทหน้าที่ในการกำหนดยุทธศาสตร์ แนวทางการพัฒนา ส่งเสริมการพัฒนา และประเมินความก้าวหน้าในการพัฒนาเยาวชนเป็นระยะ ๆ

-จัดตั้งสมาคมผู้ปกครองนักเรียน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา

 นนทบุรี เขต 2 (ในอนาคตจะขยายเป็น

 เครือข่ายผู้ปกครองจังหวัดนนทบุรี)

-จัดตั้งสภาเครือข่ายองค์กรเพื่อพัฒนาการศึกษาจังหวัดนนทบุรี

 

........เราเชื่อว่า การพัฒนาคุณภาพการศึกษาด้วยกิจกรรมหรือยุทธศาสตร์ดังกล่าวข้างต้นนี้ จะช่วยให้คุณภาพการศึกษาจังหวัดนนทบุรี ก้าวสู่ความเป็นเลิศได้อย่างแน่นอน.......

 

 

หมายเลขบันทึก: 178244เขียนเมื่อ 23 เมษายน 2008 06:11 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 23:42 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

สวัสดีค่ะ ค่ะ อ. สุพักตร์

สร้างชุมชนเป็นแหล่งเรียนรู้ เราก็ได้เรียนรู้โดยการลงมือปฎิบัติ ได้ล้อมวงพูดคุยกัน

สวัสดีครับ คุณ berger

-ถ้านักเรียนมีโอกาสเรียนจากชุมชน โดยการลงมือปฏิบัติจริง จะยอดเยี่ยมที่สุดเลยครับ การใช้ชุมชนเป็นฐานเพื่อการเรียนรู้(Community Based Leatrning)น่าจะเป็นทางเลือกที่ดีมาก ๆ ในการจัดการศึกษา ถ้าเด็กเรียนเรื่อง "ระบบนิเวศ" โดยดูแลแหล่งน้ำ หนองน้ำ ใกล้โรงเรียน(โดยมีงบประมาณหนุนจากชุมชน/ท้องถิ่น) หรือ ดูแลสวนพฤกศาสตร์ที่อยู่ใกล้โรงเรียน จะถือเป็นการเรียนรู้ที่สุดยอดครับ แล้วเด็กจะรักท้องถิ่นด้วย การศึกษาของเราขณะนี้ยังไปไม่ถึงครับ เรายังเน้น "เรียนหนังสือ" ไม่ใช่ "เรียนชีวิตจริง"

กราบเรียนคุณครูที่เคารพ

การให้ผู้เรียนได้ทำการศึกษาแหล่งเรียนรู้ในชุมชน ทำให้ได้อะไรเยอะแยะเกินที่คาดคิดหรือตั้งเป้าหมายไว้ครับ ทางกลุ่มโรงเรียนเครือข่ายที่ผมรับผิดชอบได้ดำเนินการในปีการศึกษาที่ผ่านมา พบว่า เด็กได้ความอบอุ่นจากปู่ย่า ตายาย ลุง ป้า น้า อา ที่เป็นภูมิปัญญาในท้องถิ่นที่เขาอาศัยและ ปู่ ย่า ตา ยาย ฯ เห็นความสำคัญของการศึกษา ช่วยกันเสริมความรู้ต่าง ๆ ให้แก่เด็ก ให้ความร่วมมือกับโรงเรียนเป็นอย่างดี เด็ก ๆ ก็ไม่หนีไปเรียนที่อื่น ๆ ทำให้เกิดความรัก ความสามัคคี ในท้องถิ่นที่เขาอาศัยอยู่ครับ เรียนรู้วัฒนธรรม ขนบธรรมเนียม ประเพณี ความเป็นอยู่แบบวิถีชาวบ้านเดิม ๆ มากมายครับ

สวัสดีค่ะพี่สุพักตร์

ในการสอนนักเรียนเรื่อง "ระบบนิเวศ" ได้ให้นักเรียนหอวัง เรียนจากของจริงโดยศึกษาแหล่งน้ำที่สร้างขึ้นมา ในโรงเรียนและดูสวนพฤกศาสตร์ที่อยู่ในโรงเรียน และสร้างระบบนิเวศจำลองมาประกอบเพื่ออธิบายการเปลี่ยนแปลงระบบ และการทำลายระบบนิเวศ จำวิธีการสอนที่อาจารย์ มข. เน้น "สอนคน" ไม่ใช่ "สอนหนังสือ"และปฏิบัติอยู่เสมอค่ะ

เคารพเสมอ น้องตา

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท